ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๕)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๕)

ทุกขเวทนา

ระยะ 2 – 3 คืนแรก ที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำนี้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านรู้สึกปลอดโปร่งเย็นกายเย็นใจมีความสำราญอาจ

หาญร่าเริงในธรรมะ จะพิจารณาอะไรก็ลุล่วงแตกฉานไปด้วยธรรมปัญญาน่าพิศวง ทำให้ท่านพึงใจคิดที่จะอยู่ถ้ำนี้ต่อไปนานๆ

แต่พอคืนที่ 4 ต่อมา เหตุผิดปกติก็ปรากฏขึ้นนั่นคือโรคเก่าของท่านได้กำเริบ

ขึ้นมาเฉยๆ เป็นโรคเจ็บท้องเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ที่เคยเป็นมาประจำขันธ์เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหายเอาแน่ไม่ได้? ทั้งนี้เพราะสืบเนื่องมาจาก

การขบฉันอาหารไม่สม่ำเสมอ

บางวันก็ได้ฉันอาหาร บางครั้ง 4 – 5 วันถึงได้ฉันก็มีอยู่บ่อยๆ ทำให้กระเพาะอาหารพิการไปตามเรื่องตามราวของมัน อาการเจ็บปวดเสียด

แสยงท้องไส้ครั้งนี้ ไม่เหมือนทุกครั้งพอเริ่มเจ็บก็ทวีอาการกำเริบเสิบสานขึ้นอย่างรุนแรง จนถึงขั้นขับถ่ายออกมาอย่างนั้น

ได้รับทุกขเวทนาเป็นที่สุดเรี่ยวแรงกำลังวังชาก็อ่อนล้าแทบจะทรงกายไว้ไม่ไหวอาการเจ็บปวดคราวนี้หนักจริง ๆ ?ทำให้พระอาจารย์มั่น

เฉลียวใจคิดวิตกถึงคำตักเตือนของชาวบ้านที่ว่า มีพระธุดงค์ขึ้นมาตายในถ้ำนี้หลายองค์ ?

เราอาจจะเป็นองค์ต่อไปที่มาตายในถ้ำนี้ละกระมัง โยมชาวบ้านขึ้นไปถ้ำเพื่อดูว่า พระอาจารย์มั่นยังอยู่เป็นปกติดีล่ะหรือ

เมื่อพบว่าท่านกำลังป่วยไข้หนักก็พากันวิตกเป็นอันมาก แสดงความหวาดกลัวอิทธิฤทธิ์ผีหลวงเฝ้าถ้ำ เข้าใจไปว่า

ที่พระอาจารย์มั่นเจ็บป่วยในครั้งนี้จะต้องเป็นเพราะการกระทำของผีร้ายแน่นอน จึงรีบนิมนต์ท่านให้ลงไปจากถ้ำเสียโดยเร็ว

ถ้าเดินไม่ไหวพวกเขาก็จะช่วยกันหามไปเอง เพื่อพาไปรักษาตัวในหมู่บ้าน

แต่ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ตกลงด้วย ยืนยันจะอยู่ที่ถ้ำนี้ต่อไปได้ขอร้องโยมชาวบ้านเหล่านั้นให้พาท่านเข้าไปในป่าหาเก็บสมุนไพร

ประเภทรากไม้ แก่นไม้เอามาต้มฉันบ้าง ฝนใส่น้ำฉันบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลอะไรอาการมีแต่ทวีกำเริบทุกเวลานาที กำลังกายก็อ่อนเพลีย

ลดน้อยถอยลงกำลังใจก็ปรากฏว่าลดลงผิดปกติ

ยาอมตะ

ท่านจึงหยุดฉันยาและพิจารณาด้วยปัญญา ก็พอจะรู้ว่าอาการของโรคกำเริบนี้ รักษาด้วยยาไม่หายแน่ เพราะฉันยาเข้าไปอาการมีแต่

กำเริบรุนแรงเข้าทุกที จำจะต้องหยุดฉันยาเสียแล้วรักษาด้วย ยาอมตะ นั่นคือ ธรรมโอสถ ถ้ารักษาด้วยยาธรรมโอสถไม่หาย

จะตายก็ให้มันตายไป ไม่อาลัยเสียดายแก่ชีวิต

เราได้บำเพ็ญเพียรทางใจมาพอสมควรจนเห็นผลและแน่ใจต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นลำดับ ทำไมจะขี้ขลาดอ่อนแอ

ในเวลาเกิดทุกขเวทนาเพียงเท่านี้ ก็เพียงทุกข์เกิดขึ้นเพราะโรคเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านี้ เรายังสู้ไม่ไหวกลายเป็นผู้อ่อนแอ

กลายเป็นผู้แพ้อย่างยับเยินเสียแต่บัดนี้แล้ว เมื่อถึงคราวจวนตัวเวลาขันธ์จะแตกธาตุจะสลาย ทุกข์ยิ่งจะโหมกันมาทับธาตุขันธ์และ

จิตใจจนไม่มีที่ปลงวาง แล้วเราจะเอากำลังจากที่ไหนมาต่อสู้

เพื่อเอาตัวรอดไปได้โดยสุคโตไม่เสียท่าเสียทีในสงครามล้างอาสวะกิเลสเล่า พระอาจารย์มั่นรำพึงกับตนเอง? เมื่อพระอาจารย์มั่น

ทำความเข้าใจกับตนเองด้วยเหตุผลปัญญาแล้วเช่นนี้ ก็หยุดฉันยาในเวลานั้นทันที และเริ่มทำสมาธิภาวนาเพื่อใช้อำนาจสมาธิจิต

โอสถรักษาความเจ็บป่วยอันทุกข์ทรมานและเป็นกำบำบัดบรรเทาจิตที่อ่อนแอลง

เพราะธาตุขันธ์เป็นเหตุ ท่านเริ่มปล่อยวางไม่อาลัยเสียดายในชีวิตร่างกายอันเป็นธาตุขันธ์สมมติตัวตน ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดา

สังขารเป็นของไม่เที่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครเลี่ยงพ้น

ในขณะเดียวกันก็ดำเนินสติปัญญาหยั่งลงในทุกขเวทนา แยกแยะส่วนต่างๆ ของธาตุขันธ์ออกพิจารณาด้วยปัญญาอันแหลมคม

ใคร่ครวญไม่ลดละ ไม่สนใจคำนึงต่ออาการของโรคที่กำลังกำเริบเจ็บปวด ยกทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนา คือทุกข์ภายใน

ทั้งส่วนสัญญาที่หมายกายส่วนต่าง ๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่า ส่วนนี้เป็นทุกข์ส่วนนั้นเป็นทุกข์ ขึ้นสู่เป้าหมายแห่ง

การวิปัสสนา

ท่านทำการพิจารณาขุดค้นคลี่คลายด้วยสติปัญญาอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่พลบค่ำจนถึงเที่ยงคืน ในที่สุดก็ลงเอยกันได้ จิตมีกำลังขึ้น

มาอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดหมดสงสัยถึงทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบจากโรคในท้อง

พลันโรคก็ระงับลงอย่างสนิท จิตรวมลงสู่ความสงบอันเยือกเย็น

โรคก็ดับทุกข์ก็ดับ ความฟุ้งซ่านของใจก็ดับ พอจิตรวมสงบลงถึงที่แล้ว (จตุตถฌาน) ก็ถอนจิตออกมาอยู่ที่ขั้นอุปจารสมาธิ

?

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1523:2010-02-08-18-58-21&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .