ธรรมะจากดวงพระวิญญาณบริสุทธิ์ หลวงปู่ทวด ( เหยียบน้ำทะเลจืด )
ผ่านญาณ ( ร่าง ) อาจารย์สุชาติ โกศลกิติวงศ์
“พุทธะ” อยู่ในกายมนุษย์
อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือไม่ยอมสนใจค้นในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่รียกว่า “พุทธะ” นั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่า “พลัง” ชนิดหนึ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า ทำไมเราจึงถามว่าเหตุใดองค์สมณโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ มีอนาคตังสญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้
หลักของการปฏิบัติอย่างหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คำว่า “กรรมฐาน” นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังของจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนไดอารมณ์แห่งการปิติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา “วิปัสสนา” คือให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา “อนัตตา” คือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราจึงจะไปสุ่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้ ( ไม่ใช่อัตตา)
เหนือธรรมชาติ
กฎแห่งกรรมมีอยุ่ว่า มนุษยืทุกคนจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่รุ้จักกี่ภพไม่รู้จักกี่ชาติ ไม่มีที่สิ้นสุดแห่งการเป็นมนุษย์ เมื่อไม่มีที่สิ้นสุดแห่งการเป็นมนุษย์มันก็เวียนอยู่นี่ วนอยุ่นี่โดยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะหลุดออกจากคลื่นอันนี้ มันแสนจะลำบาก แสนจะเหนื่อยยาก จึงหาวิธีการปฏิบัติ พูดง่ายๆก็คือ ธรรมชาติเคลื่อนไปสู่ธรรมชาติ แต่เราจะบำเพ็ญไปสู่นิพพาน คือสามารถทำจุดใดจุดหนึ่งให้เหนือธรรมชาติ นี่คือภาษาของหลักแห่งธรรมะ ซึ่งฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ เมื่อผู้ใดปฏิบัติ ผู้นั้นจะรู้เอง
สิ่งใดที่เราแทงทะลุปรุโปร่งมีจุดเริ่มแรกจุดหนึ่งซึ่งเรียกว่าจิตได้ฌาน เมื่อจิตได้ฌานแล้ว เราจะทำสิ่งใดเราก็สามารถรู้โดยจิตที่ได้ฌาน คือสภาวะแห่งธรรมชาติอันนั้นมีให้เราใช้เพราะอะไรเล่า เพราะธรรมชาติมีกฎของมัน กฎแห่งการลงโทษ กฎแห่งการปลดปล่อย กฎแห่งความอิสระ ฉันใดก็ฉันนั้นวิธีการอันนี้แหละจึงทำให้รู้ว่า การที่จะเดินตามรอยองค์สมณโคดมที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตำราไม่ใช่อยู่ที่เป็นนักพูด เราพูดมากแล้วเราเก่ง หาใช่สิ่งเหล่านี้ไม่
เดินตามรอยองค์สมณโคดม
ถ้าจะเดินตามรอยองค์สมณะโคดม ขั้นแรกแห่งการเป็นปุถุชนก็ต้องปฏิบัติในหลักศีล เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้วก็ให้ปฏิบัติในหลักแห่งความเป็นสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วให้ขึ้นสูงจุดแห่งปัญญา คือ เอาสติพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ถึงพลังแห่งความสำเร็จของมัน สิ่งนี้ถ้าเปรียบเทียบกับทางโลกก็มีอยู่สองทาง
สุดยอดของนิพพานคือละจนถึงที่สุด สุดยอดของความรักคือเพิ่มกิเลสจนถึงที่สุด ทั้งสองทางนี้รวมกลุ่มเดินของมันแข่งกันไป ถ้าสภาวะนั้นผู้นั้นจิตอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถึงจุดอันหนึ่งมันก็เป็นความสำเร็จของมัน คือสำเร็จทางโลกียะ หรือโลกุตระ เหล่านี้แหละเป็นสิ่งที่แท้จริงขององค์สมณโคดม
ผู้ที่จะเดินตามรอยองค์สมณะโคดม ต้องละหลง ละโกรธ ละชอบ ละโน่นละนี่ ละเสียงกลิ่นรส ละโภชนาฉันอาหารได้ทุกอย่าง “เหลืออยู่แต่ความสามารถรักษาอารมณ์แห่งจิตนั้นให้เป็นจิตนิ่ง แล้วใช้จิตแห่งการปิตินิ่งนี้พิจารณาทั้งของการจุติและของสรรพสัตว์ทางโลก นั้นแหละจะถึงจุดแห่งความสำเร็จ คือเป็นผู้ที่เดนตามรอยองค์สมณะโคดม” เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงก็ควรจะปฏิบัติในกฎแห่งการ
พิจารณากายในกาย
พิจารณาธรรมในธรรม
พิจารณาวิญญาณในวิญญาณ
นั่นแหละคือสานุศิษย์อันแท้จริงขององค์สมณะโคดม
โลกียะหรือโลกุตระ
คนที่จะเดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกียะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกียะ ย่อมจะสำเร็จทางดลกุตระได้ยากเพราะอะไร ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกียะและโลกุตระง่ายแล้ว ทำไมองค์สัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิทั้งธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นทั้งมหาจักรพรรดิทั้งธรรมราชาไม่ดีกว่าหรือ แต่มันเป็นไปไม่ได้ โลกของโลกุตระและโลกียะเดินคู่ขนานกันเราต้องตัดสิน ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญ
ไม่ยึดติดเสียง
ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ก็คือ ต้องสุขุมรอบคอบ และจะต้องไม่ยึดติด “เสียง” เป็นหลัก “เสียง” นี่ไม่มีตัวตน แต่เสียงสามารถทำให้มนุษย์ฆ่ากันได้ เสียงสามารถทำให้มนุษย์รักกันได้ถ้ามนุษย์ผู้ใดคิดจะทำงานเพื่อส่วนรวมก็ดี จะอวดตนเป็นผู้ใหญ่ก็ดีควรจะต้องไม่ติด “เสียง” เป็นจุดแรกก่อน
ทีนี้การเป็นคน ท่านยึดเสียงหรือไม่ ท่านยึดคำพูดดีหรือไม่ ท่านยึดคำพูดเลวหรือไม่ ถ้าท่านยังยึดสิ่งเหล่านี้แล้วท่านจะเป็นนักพรตที่ดีไม่ได้ มนุษย์ถ้ายังติดเสียง ติดคำชมและด่า มนุษย์ผู้นั้นยังมีใจไม่ถึงธรรม “สัจธรรมเป็นธรรมอันประเสริฐ” เป็นสิ่งที่แน่แท้ก็เพราะว่าความจริงย่อมเป็นความจริง สื่งที่เลวก็เป็นความจริงแห่งความเลว สิ่งที่ดีก็เป็นความจริงของความดีที่จะกล่าวต่อไปในยุคต่างๆ ของมันเองโดยไม่มีอะไรแปรเปลี่ยน ธรรมชาติของโลกียะและโลกุตระมันเดินของมันเอง เราจะชนะความเลวด้วยความดี เราต้องมีอุเบกขา
อุเบกขา
ธรรมะข้อ “อุเบกขา” สำคัญอย่างไร สำคัญเพราะหมายถึงปลงตกโดยยอมรับสภาพความจริงตามกฎธรรมชาติกฎแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเราต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่กำลังจะเสื่อมลง เราต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่สลาย เราต้อง “อุเบกขา” ต่อการเกิดแก่เจ็บตาย เราต้อง “อุเบกขา” ต่ออายตนะที่เข้ามาทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เราต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่มากระทบ เราต้อง “อุเบกขา” ต่อวันเวลาที่ผ่านไป
เราต้องอุเบกขาต่อความตายที่ตามเรามาทุกขณะ เราต้อง “อุเบกขา” ที่พร้อมที่จะตาย และเราต้อง “อุเบกขา” ที่ตายแล้ว ไปใช้กรรมที่ไหน แล้วเราต้อง “อุเบกขา” พร้อมที่จะไปอยู่นรกหรือสวรรค์ ถ้าเราเข้าถึงธรรมะข้ออุเบกขาอย่างถ่องแท้ได้แล้ว เราก็มีความสุข มีความสุขโดยไม่ต้องมีความเสียดาย ไม่มีความเสียใจ ไม่มีความพอใจ ไม่มีความชอบ ไม่มีความเกลียดชัง ไม่มีความว่าจะต้องทำและไม่มีความว่าไม่ต้องทำ นั่นคืออารมณ์แห่งความอุเบกขาที่แท้จริง แต่ถ้าเราเข้าไม่ถึงตัวอุเบกขาแล้วเราย่อมปล่อยให้อารมณ์อ่อนไหวไปตามการมาของอายตนะ เราย่อมปล่อยให้อารมณ์เป็นไปตามการเข้าออกของโทสะ โลภะ โมหะ ความพอใจ ความไม่พอใจ
จิตนิ่ง
เมื่อเราจะมาเป็นลูกศิษย์พระโพธิสัตว์กันแล้วก็ควรจะมี “จิตแห่งความนิ่ง” เสียบ้าง คือไม่มีการถืออารมณ์ใดๆเป็นหลัก อารมณ์ของการชมไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดี คำชมก็จับออกมาดูไม่ได้ เพียงแต่เป็นอารมณ์ของอายตนะที่ผ่านไปว่าเป็นคำชม หรือคำด่าก็จับออกดูไม่ได้ เพียงแต่เป็นอารมณ์ของอายตนะที่ผ่านไปว่าเป็นคำด่า เพราะฉะนั้นคำสรรเสริญหรือคำนินทา ถ้าเรายึดไว้เป็นหลักแล้ว จิตก็ย่อมไม่สงบ ถ้าเราไม่ยึดคำสรรเสริญ คำนินทาเป็นหลัก เราก็มีความสงบของจิตได้ เมื่อจิตสงบได้ดีก็เกิดความประภัสสร เมื่อเกิดความประภัสสรก็เกิดปัญญา ปัญญาที่ดีก็ทำให้จิตอิ่มเอิบ จิตอิ่มเอิบก็ทำให้จิตผ่องใส ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน
ดังที่ทุกวันนี้เกิดความทุกข์ความร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่น ยึดนี่ ยึดพวก ยึดพ้อง ยึดหมู่ ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม ถ้าเป็นอาตมาแล้วมีความเห็นว่าสากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรม จึงมาเกิดเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุกคนจะต้องใช้กรรมตามวาระตามกรรม ถ้าทุกคนจะถืออารมณ์ก็เกิดการเข่นฆ่า เกิดการฆ่าฟันกันเพราะอารมณ์แห่งการยึดอายตนะ
สิ่งเหล่านี้แหล่ มนุษย์ไม่สอนไม่พูดไม่พิจารรากัน จึงทำให้เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นในโลกมนุษย์มากขึ้นเพราะฉะนั้น ถ้าอยากเป็นคนที่มีอายุ วรรณะ ผิวพรรณผ่องใสก็อย่าไปถืออารมณ์ของคนอื่นมาปรุง จะต้องพิจารราให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้วสัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือหลักความจริงของธรรมะ
http://dhamma-free.blogspot.com/2011/08/blog-post.html