ตอน ยี่สิบสี่ ผนวก ๔ – ว่าด้วยบทสวดแปล หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ
(หนฺท มยํ อานาปานสติปาฐํ ภณาม เสฯ)
อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรติฯ
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์.
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา,
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญให้มากแล้ว.
สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปูเรนฺติฯ
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.
สตฺต โพชฺฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา,
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว.
วิชฺชาวิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติฯ
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
กถํ ภาวิตา จ ภิกฺขเว อานาปานสติ, กถํ พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า,
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ?
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้.
อรญฺญคโต วา,
ไปแล้วสู่ป่า ก็ตาม,
รุกฺขมูลคโต วา,
ไปแล้วสู่โคนต้นไม้ ก็ตาม
สุญฺญาคารคโต วา,
ไปแล้วสู่โคนต้นไม้ ก็ตาม ;
นสีหติ ปลลลงฺกํ อาภุชิตฺวา ;
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ;
อุชํ กายํ ปณิธาย, ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ;
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ;
โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ;
ภิกษุนั้น เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า ; มีสติอยู่ หายใจออก ;
[๑] ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ ;
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้ ;
ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ;
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้ ;
[๒] รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ ;
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ;
รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ;
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้ ;
[๓] สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๔] ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
(จบ จตุกกะที่หนึ่ง)
[๕] ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติจักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๖] สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขจักหายใจเข้า ดังนี้ ;
สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๗] จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๘] ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;
(จบ จตุกกะที่สอง)
[๙] จิตฺตปฏิสํเวทึ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
จิตฺตปฏิสํเวทึ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออกดังนี้ ;
[๑๐] อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๑๑] สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
[๑๒] วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออกดังนี้.
(จบ จตุกกะที่สาม)
[๑๓] อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๑๔] วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๑๕] นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
[๑๖] ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
(จบ จตุกกะที่สี่)
เอวํ ภาวิตา โข ภิกกขเว อานาปานสติ, เอวํ พหุลีกตา ;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ;
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ;
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ;
อิติ ฯ
ด้วยประการฉะนี้แล.
https://sites.google.com/site/smartdhamma/smartdhamma.googlepages.compart24_anapan