บรรลุอนาคามี
ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต
(ตอนที่ ๒๑)
ขณะที่พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีธรรมอยู่ที่ถ้ำสาลิกานี้ ปรากฏว่า ในบางคืนมีพระอรหันตสาวก เสด็จมาแสดง
ธรรมให้ท่านฟังตามทางอริยประเพณี โดยมาปรากฏในทางสมาธินิมิต เมื่อพระอรหันตสาวกแสดงธรรมให้ท่านฟังจากไปแล้ว
ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญอีกต่อหนึ่ง โดยแยกแยะออกเป็นแขนง ไตร่ตรองดูด้วยความละเอียด
ทุกครั้งที่พระอรหันต์สาวกแต่ละองค์เสด็จมาแสดงธรรมสั่งสอน ท่านได้อุบายต่าง ๆ จากการสดับธรรมของพระอรหันต์
ทั้งหลายที่มาอบรมสั่งสอนแต่ละครั้งแต่ละองค์ ช่วยส่งเสริมกำลังใจกำลังสติปัญญาตลอดมา?
ธรรมที่พระอรหันตสาวกแสดงให้ฟัง ท่านรู้สึกว่า
ประหนึ่งได้ฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ใจรู้สึกอิ่มเอิบและเพลิดเพลินไปตามเหมือนโลกธาตุขันธ์ไม่มีกาล
เวลามาบีบบังคับเลย ปรากฏว่ามีแต่จิตล้วน ๆ ที่สว่างไสวไปด้วยอรรถด้วยธรรมเท่านั้น
พอจิตถอนออกจากสมาธินิมิต จึงทราบว่าตนมีภูเขาอันแสนหนักทั้งลูก คือร่างกายอันเป็นที่รวมแห่งขันธ์ ซึ่งแต่ละขันธ์ล้วนเป็น
กองทุกข์อันแสนทรมาน แล้วธรรมะอันเป็นที่แน่ใจได้ปรากฏขึ้นแกท่านในถ้ำนี้ ธรรมะนี้คือ พระอนาคามีผล
ในพระปริยัติกล่าวไว้ว่าเป็นภูมิธรรมขั้น 3 ต้องละสังโยชน์ได้ 5 อย่างคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะ
ปฏิฆะ ผู้บรรลุธรรมขั้นนี้ เป็นผู้แน่นอนในการไม่ต้องกลับมาอุบัติเกิดในมนุษย์อีกต่อไป ไม่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ที่มีธาตุสี่คือ
ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเรือนร่างอีกต่อไปหากแต่ยังไม่เลื่อนชั้นขึ้นถึงพระอรหันตภูมิในอัตตภาพนั้น
ผู้บรรลุภูมิธรรมอนาคามีเวลาตายแล้วก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 5 ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่งตามภูมิธรรมที่ผู้นั้นได้บรรลุ
พรหมโลก 5 ชั้น คือ
อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระอนาคามีบุคคล ตามลำดับแห่งภูมธรรมที่มีความละเอียด
ต่างกัน(พรหมพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ก็คือพรหม 5 ชั้นนี้ หาได้ทรงภูมิธรรมขั้นสูงเทียบเท่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกแต่อย่างใดไม่…ผู้เขียน)
การทำสมาธิภาวนาบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกาท่านเล่าว่า เกิดความอัศจรรย์หลายอย่างที่ไม่คาดฝันว่าจะเป็นไปได้ในชีวิต
แต่ก็ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างประจักษ์ใจติด ๆ กันทุกคืน คือจิตเป็นสมาธิที่ละเอียดสุขุมมากเป็นพิเศษ นับตั้งแต่ได้บรรลุภูมิธรรม
อนาคามี ความรู้เห็นทางภายใน(จิต) และ ภายนอก (อภิญญา) ได้ปรากฏขึ้นมากมายเป็นพิเศษ ถึงกับน้ำตาร่วงไหลออกมา
ด้วยเห็นโทษแห่งความโง่เขลาของตนในอดีตที่ผ่านมา และความเห็นคุณของความเพียรของตนที่ตะเกียกตกายมาจนได้เห็น
ธรรมอัศจรรย์ขึ้นเฉพาะหน้าความเห็นในคุณของพระพุทธเจ้าผู้มีพระเมตตาประสิทธิ์ประสาทธรรมไว้พอเห็นร่องรอยได้ดำเนิน
ตาม และความรู้สลับซับซ้อนแห่งกรรมของตนและผู้อื่น
ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายอย่างประจักษ์ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยตรงตามธรรมบทว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นของตน เป็นต้น อันเป็นบทธรรมที่รวมความสำคัญของศาสนาไว้แทบทั้งมวล
พระอาจารย์มั่นได้เตือนตนว่า แม้ท่านจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว ได้ประสบความอัศจรรย์หลายอย่างมากมายควร
แก่ภาคภูมิใจ แต่ก็หาได้ถึงซึ่งทางแห่งความพ้นทุกข์ไม่
ท่านจะต้องทุ่มเทกำลังสติปัญญาและความพากเพียรทุกด้านอย่างเต็มสติกำลังอีกต่อ
ไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรมให้บรรลุขั้นสูงสุดอันเป็นทางรอดปลอดจากทุกข์โดยเด็ดขาดสิ้นเชิง นั่นคือบรรลุอรหันต์ตผล
และท่านก็มั่นใจว่า ตนจะต้องบรรลุถึงธรรมแพนพ้นทุกข์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันหนึ่งแน่นอน
(การบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกานี้ เป็นสมัยเดียวกันกับที่ประอาจารย์มั่นได้พบกับขรัวตาที่ถูกท่านพูดดักใจที่เล่าไว้ในตอนต้น ๆ)
มุ่งเชียงใหม่
พระอาจารย์มั่นขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอิสานเสมอ บางเที่ยวก็โดยสารรถไฟบางเที่ยวก็เดินด้วยเท้า ที่กรุงเทพฯ
ท่านพักและจำพรรษาที่วัดสระปทุม (หน้ากรมตำรวจ) สมัยนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล (หนู) เป็นเจ้าอาวาสและเป็น
พระธุดงค์ชาวอุบลฯ ด้วยกันมาก่อน
ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล มีความเคารพนับถือในตัวพระอาจารย์มั่นมาก ขณะจำพรรษาอยู่วัดสระปทุม พระอาจารย์มั่น
หมั่นไปศึกษาอรรถธรรมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่วัดบรมนิวาสเสมอ
ครั้นเมื่ออกพรรษาแล้วหน้าแล้ง ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ จะไปเชียงใหม่ ได้นิมนต์พระอาจารย์มั่นไปด้วย
พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอสมควรแล้ว ท่านก็กราบลาท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ
เพื่อไปเที่ยวธุดงค์แสวงหาที่วิเวกตามอำเภอต่าง ๆ ในเขตเชียงใหม่ที่มีป่าเขามาก
การธุดงค์บำเพ็ญเพียรเที่ยวนี้ เป็นการบำเพ็ญเพียรขั้นแตกหัก เพื่อที่จะได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดให้จงได้ จะเป็นหรือจะตาย
ก็จะได้รู้กันคราวนี้เป็นแม่นมั่น เพราะจิตท่านทรงอริยธรรมขั้น 3 อย่างเต็มภาคภูมิมานานแล้ว (เป็นพระอนาคามี)
แต่ไม่มีเวลาได้เร่งความเพียรตามใจชอบ เพราะต้องมีภารกิจไปยุ่งเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนหมู่คณะมากมีตลอดมา
?
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2975:2011-03-10-13-52-11&catid=39:2010-03-02-03-51-18