สมเด็จโตกับการเลิกทาส

สมเด็จโตกับการเลิกทาส

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) กับการเลิกทาส

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) มารดาชื่อ เกตุ (ธิดานายไชย) เดิมเป็นชาวบ้าน ต.ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์) ส่วนบิดาจะมีนามใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่าเป็นชาวเมืองอื่น แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็น “ราชสกุลวงษ์” ต่อมาการทำนาไม่ได้ผลเพราะฝนแล้งมาหลายปี โยมมารดาท่านจึงคิดย้ายภูมิลำเนาโดยการออกทำมาค้าขายโดยทางเรือและตามหาโยมพ่อด้วย จนกระทั่งเดินทางมาถึง บ้านไก่โจน (ต่อมาแผลงเป็น “ไก้จ้น”) ตำบลไก่จ้น อำเภอนครน้อย (อ.ท่าเรือ) แขวงเมืองกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา) จึงได้จอดเรือในคลองป่าสัก ใต้ต้นสะตือ ที่ริมตลิ่งหน้าวัดท่างาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสะตือ) โยมเกตุได้คลอดบุตรเป็นชาย ณ ที่แห่งนั้น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๕๐ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลาบิณฑบาต ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๗ ปี) และตั้งชื่อว่า “โต” เมื่อท่านเกิดแล้ว (ยังเป็นทารกแบเบาะ) มารดาก็พาท่านไปอยู่ที่ตำบลไชโย จ.อ่างทอง จนกระทั่งท่านนั่งได้ มารดาก็พามาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร จนกระทั่งยืนเดินได้ (ภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ ที่ตำบลทั้งสาม)

การก่อสร้างพระพุทธไสยาสน์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๓ ก่อนที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต จะมรณภาพ ๓ ปี (สมเด็จฯโตมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ ที่กรุงเทพฯ) ได้มาทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางพุทธไสยาสน์ ณ หมู่บ้านที่ถือกำเนิดที่วัดท่างาม ปัจจุบันคือ วัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระนอนใหญ่มีขนาด ยาว ๑ เส้น ๖ วา สูง (ตั้งแต่พื้นถึงรัศมี) ๘ วา ฐาน ยาว ๑ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๔ วา ๒ ศอก หรือ ยาว ๕๒ เมตร กว้าง ๙ เมตร สูง ๑๖ เมตร องค์พระโปร่ง เบื้องพระปฤษฎางค์ ทำเป็นช่องกว้าง ๒ ศอก สูง ๑ วา สถานที่ก่อสร้างองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ณ ที่ริมคูวัด ด้านตะวันออก ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก

การก่อสร้างพระนอนวัดสะตือ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมะเมีย เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ ให้พวกทาสในตำบลไก่จ้น และตำบลอื่น ซึ่งเป็นทาสเชลยศึกที่ตกค้างถูกต้อนมาจากเวียงจันทร์ มีนิวาสถานอยู่ในตำบลไก่จ้นและตำบลใกล้เคียงมานาน(ข้อเท็จจริงจากสำเนียงชื่อบ้าน เพราะคำว่า “ไก่จ้น”ไม่ใช่สำเนียงภาษาไทยภาคกลางแต่เป็นสำเนียงภาษาไทยภาคอีสาน ซึ่งมีภาษาพูดสำเนียงคล้ายภาษาลาวเวียงจันทร์ ไก่จ้นมีความหมายตามภาษาไทยภาคกลางว่า “ไก่ใหญ่มีลักษณะอ้วนสมบูรณ์ ”ไทยภาคอีสานเรียกไก่ประเภทนี้เล่น ๆ ติดปากว่า“ไก่บักจ้น”)ช่วยกันสร้าง ก่อเตาเผาอิฐกันเองที่บริเวณลานวัด ใกล้ต้นมะขามใหญ่ ปัจจุบันต้นมะขามใหญ่ยังอยู่ หน้าพระนอน เจ้าประคุณสมเด็จโต ให้พวกทาสใช้แรงงานก่อเตาเผาอิฐ การก่อสร้างใช้ระยะเวลารวดเร็วสร้างอยู่ประมาณ ๒ ปีจึงแล้วเสร็จ
เมื่อสร้างองค์พระนอนเสร็จแล้ว ลุถึงปีพุทธศักราช ๒๔๑๔ เป็นวันอิสรภาพของบรรดาทาสที่เข้าช่วยมาสร้างองค์พระนอนให้เป็นอิสรภาพ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เป็นธุระติดต่อกับทางราชการ ดำเนินการปลดปล่อยพวกทาสให้พ้นจากความเป็นทาส ความปรารถนาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผลสำเร็จดังประสงค์ทุกประการ การกระทำครั้งนั้นนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่เอี่ยม เหนือแผ่นดินสยาม คงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ควรคู่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพราะผู้คนยุคนั้นเกือบทั้งโลก นิยมระบบทาสค่อนข้างเหนียวแน่นและกว้างขวาง ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศเลิกทาสครั้งแรกในโลก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๖ แต่ก่อนที่สังคมสหรัฐจะยอมรับนโยบายนี้ ได้เกิดสงครามกลางเมืองเกี่ยวกับทาส อย่างดุเดือดรุนแรงเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ ผู้ริเริ่มในการประกาศเลิกทาส ถูกฝ่ายไม่เห็นด้วยลอบยิงถึงแก่ความตายในโรงละครแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย สมัยดำรงพระยศ เป็นพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเป็นศิษย์หัวแก้วหัวแหวนของท่านประคุณสมเด็จฯ ได้เรียนอักขรสมัย ในสำนักของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ศิษย์กับอาจารย์ ๒ ท่านนี้สนิทสนมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อพระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว พระองค์ในฐานะเป็นศิษย์เอกในสมเด็จท่านเจ้าประคุณฯ ก่อนทรงปฏิบัติงานใหญ่ระดับประเทศ คือการประกาศเลิกทาสคงต้องปรึกษาหารือทางหนีทีไล่ ตลอดทั้งขอความคิดเห็นและแนะนำเพื่อศึกษาลู่ทางจนเกิดความมั่นพระทัย เพื่อเป็นการหยั่งปฏิกิริยาของชาวบ้าน ครั้นปฏิบัติการทดลองได้ผล ไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรงเป็นที่วิตก พระองค์จึงดำเนินการทันที
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๗ หลังท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯผู้เป็นอาจารย์สร้างพระนอนเสร็จ ๒ ปี (พระนอนสร้างแล้วเสร็จแล้ว ปี พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นวันที่บรรดาทาสที่ก่อสร้างพระนอนไดรับการปลดปล่อยอิสรภาพ) ประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศเลิกทาสครั้งแรกในโลก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๖
การประกาศเลิกทาสในเมืองไทย เบื้องแรกเป็นไปอย่างขลุกขลัก เพราะเจ้าของทาสส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกว่าจะยินยอมกันได้ ก็เสนอข้อต่อรองมากมายหลายประการ สงครามกลางเมืองทำท่าว่าจะเกิดขึ้น แต่เพราะพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีวิจารณญาณรอบคอบ ดำเนินพระบรมราโชบายอย่างสุขุมและประนีประนอม แบบผ่อนสั้นผ่อนยาว เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำท่าว่าไม่ค่อยดีแต่แรกจึงสงบราบคาบเป็นปกติ กว่าจะยอมรับกันได้กินเวลานานถึง ๓๖ ปี คือการประกาศเลิกทาสได้เด็ดขาดสิ้นเชิง เมื่อวันที่ ๑๑ มกรคม พ.ศ. ๒๔๕๔ อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และข้อสังเกตว่า ทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือน ณ วัดสะตือ ซึ่งเป็นสถานที่ปลดปล่อยทาสครั้งแรกมาแล้วนั้น
การปลดปล่อยทาส ๒ ตำบลให้เป็นอิสรภาพ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ณ วัดสะตือ ตำบลไก่จ้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้จะไม่เป็นทางการ แต่ก็เป็นผลดีทางอ้อม คือเป็นแรงกระตุ้นเตือนให้มีการปลดปล่อยทาสทั่วประเทศในกาลต่อมา อนึ่งการกระทำของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ครั้งกระนั้น ยึดหลักอหิงสา มีเมตตาธรรมเป็นเบื้องหน้า ดำเนินกุสโลบายสุขุมลุ่มลึก ประกอบด้วยเหตุผลตามขั้นตอน จึงปราศจากอุปสรรคขัดขวางเป็นปวิมุต เพราะท่านมีสิ่งที่คนอื่นไม่มี ท่านสามารทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ ท่านเป็นพระที่มีบุญบารมีมากล้นยากจะหาผู้อื่นใดทัดเทียม (คัดลอกจากหนังสือตำนานพระเครื่องสมเด็จและปฐมอัครกรรม รวบรวมโดยพระศรีวิสุทธิโสภณ (เที่ยง อคคธมโม ป.ธ. ๙ ) วัดระฆังโฆสิตาราม)

ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๗ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาส ตลอดรัชกาลได้ทรงพระราชกาลได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสหลายฉบับ ออกบังคับใช้ในมณฑลต่างๆ ให้ลูกทาสเป็นไท ประกาศประมวลกฎหมายลักษณะอาญากำหนดบทลงโทษแก่ผู้ซื้อขายทาสให้มีความผิดเช่นเดียวกับโจรปล้นทรัพย์ ทรงกระทำเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเจ้านายและขุนนางในการบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคพระราชทรัพย์ในการไถ่ถอนทาส

ทาสที่กระทำความผิดถูกลงโทษพร้อมพระราชทานที่ทำกินเป็นผลให้ระบบทาสที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี ก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดสิ้น ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะ เป็นเวลาถึง ๓๐ ปีก็ทรง ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จในพุทธศักราช ๒๔๔๘ สมตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้

พระราชกรณียกิจสำคัญนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของพลเมืองจากทาสมาเป็นสามัญชน มีอิสรภาพทางสังคมเท่าเทียมกัน โดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ ๘ ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพันเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้คนขายตัวเป็นทาส จึงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย และขยายระบบการศึกษาให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้น

ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศเพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยนั้นได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้นตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย ๑๔ ตำลึง หญิง ๑๒ตำลึง แล้วไม่มีการลดต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ ๔๐ หญิงอายุ ๓๐จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้อายุทาสถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย ๑ ตำลึง หญิง $ บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีจะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติจึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิดชายมีค่าตัว ๘ ตำลึง หญิงมีค่าตัว ๗ ตำลึงเมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ ๒๑ ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง

ข้าทาสและไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิมได้กลายเป็นราษฎร
สยามและต่างมีโอกาสประกอบ อาชีพหลากหลายพอถึงปี ๒๔๔๘ ก็ได้ออกระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้นเรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔” (พ.ศ.๒๔๔๘) เลิกเรื่องลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาดเด็กที่เกิดจากทาสไม่เป็นทาสอีกต่อไปการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญาส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้วให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ ๔ บาท จนกว่าจะหมดและนี่ก็เป็นพระมหากรุณาทิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงให้มีการเลิกทาสนับตั้งแต่นั้นมา

การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช”
สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป
กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย ๑๔ ตำลึง หญิง ๑๒ ตำลึง แล้วไม่มีการลด ต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ ๔๐ หญิงอายุ ๓๐ จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้ อายุทาสถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย ๑ ตำลึง หญิง ๓ บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว ๘ ตำลึง หญิงมีค่าตัว ๗ ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ ๒๑ ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง
พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.๑๒๔” (พ.ศ. ๒๔๔๘) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ ๔ บาท จนกว่าจะหมด..
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. ๒๔๑๑) รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ (๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา

ขอขอบคุณ : http://www.watsatue.com/view_article.php?token=02aaf0aef308a56febb96d046cea068f

. . . . . . .