การสังคมคืออะไร โดย ท่านพุทธทาส

การสังคมคืออะไร โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ทัศนะของพุทธบริษัท
การสังคม ในครั้งที่1 ได้กล่าวถึงการศึกษาว่าเป็นอะไรในทัศนะของพุทธบริษัท ในครั้งที่ 2 ได้กล่าวถึงการงานว่าเป็นอะไรฐานะในทัศนะของพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายต้องสนใจในคำที่ว่าในทัศนะของพุทธบริษัท หมายความว่า เราจะมองดูสิ่งนั้นๆตามทัศนะของพระพุทธศาสนาซึ่งพุทธบริษัทได้พากันถือเป็นหลักอยู่ ส่วนพวกอื่นหรือทัศนะของพวกอื่นจะเป็นอย่างไรนั้นก็ตามใจเขา เราจะต้องรู้ตามพุทธบริษัทเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามที่พุทธบริษัทต้องการอย่างครั้งที่ 1 ได้พูดถึงการศึกษาว่าการศึกษาคืออะไรในทัศนะของพุทธบริษัทในครั้งนั้นก็สรุปใจความได้ว่า คือสิ่งที่ทำความก้าวหน้าอย่างถูกต้อง

เพื่อมนุษย์ได้สิ่งที่ดีที่สุดในทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีคนหลายพวกให้ความหมายของการศึกษาไว้เป็นอย่างอื่นกระทั่งว่าการศึกษานี้เพื่อประชาธิปไตยอย่างนี้เป็นต้น และก็เห็นกันอยู่แล้วว่าการศึกษาในความหมายอย่างนั้นได้ทำให้เกิดอะไรขึ้นมาในโลกนี้ การศึกษาที่ไม่มีจุดมหมายไปที่สิ่งที่ควรจะเป็นจุดหมายจะทำให้ประชาชนผู้ได้รับการศึกษานั้นๆเป็นอย่างไรดังนี้เป็นต้นเราต้องการให้การศึกษาเป็นสิ่งที่ทำชีวิตนี้ให้ก้าวหน้าจนเต็มตามความหมายของคำว่าชีวิตซึ่งแสดงอยู่แล้วในตัวว่าเป็นมนุษยือย่างเต็มตามความหมายของคำว่ามนุษย์ได้ด้วยการศึกษานั้นเอง ที่เรียกว่ามองตามทัศนะของพุทธบริษัท

ในเรื่องที่ 2 คือ เรื่องการงานเราก็มองตามทัศนะของพุทธบริษัทมองเห็นว่าการงานนั้นเป็นตัวความก้าวหน้าในทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์เรามนุษย์เรามีความก้าวหน้าเป็นสู่จุดหมายของการเป็นมนุษย์ด้วยสิ่งที่เรียกว่าการงานดังนั้นจึงเป็นสิ่งสูงสุดเป็นสิ่งที่ถ้าพูดตามโวหารธรรมดาอีกอย่างหนึ่งก็จะพูดว่าเป็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจที่สุดไม่ควรจะผิดพริ้ว หรือเห็นเป็นการงานน่าเบื่อหน่ายพุทธบริษัทที่มีธรรมะตามแบบของพุทธบริษัทจะมองเห็นการงานเป็นการปฏิบัติธรรมมะอยู่ในตัวการงานที่สูงสุดเท่าไร ยิ่งมีธรรมะสูงสุดอย่างนั้นและมีธรรมมะครบถ้วนมากยิ่งๆขึ้นไป จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์ นี่ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเรามองอะไรในทัศนะของพุทธบริษัทนั้น มันต่างจากการมองคนอื่นอย่างไรดังนี้เป็นต้น ณ บัดนี้ เราจะได้พูดกันถึง สิ่งที่เรียกกันว่า สังคม ต่อไป และเป็นการมองตามทัศนะของพุทธบริษัทอีกอย่างเดียวกัน ท่านทั้งหลายรู้จักคำว่า การศึกษา และรู้จักคำว่า การงาน และรู้จักคำว่าการสังคมมาแล้วไม่มากก็น้อยและจะมองเห็นว่าเป็นคำธรรมดาสามัญที่เราใช้พูดกันอยู่ทั่วไป

แต่มันยังมีปัญหาอยู่ว่าเราเข้าใจสิ่งเหล่านั้นเต็มตามความหมายของคำคำนั้นหรือแล้วหรือยังเราได้ใช้สิ่งเหล่านั้นให้แก่ความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ที่สุดแล้วหรือยังเมื่อเรายังไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นอย่างเต็มที่มันก็ไม่ต้องโทษใครนอกจากจะโทษความไม่รู้ ไม่เข้าใจของตนของตนนั้นเองโดยเฉพาะพุทธบริษัทยังมีลู่ทางที่ลึกซึ้งตามความหมายของคำว่าพุทธบริษัทซึ่งแปลว่า สังคมของบุคคลผู้รู้บริษัทก็แปลว่า พวกที่นั่งกันอยู่รอบๆอุดมคติย่างเดียวกันตามตัวหนังสือนั้นเรียกว่าบริษัทแปลว่านั่งกันเป็นวงรอบๆ รอบอะไรรอบสิ่งที่ตนชอบจึงถือว่าเป็นสิ่งสูงสุดในลักษณะที่เป็นอุดมคติเมื่อเรารวมกันถืออุดมคติอย่างไรอย่างหนึ่งรวมกันก็เรียกคนกลุ่มนั้นว่าเป็นบริษัท เดี๋ยวนี้เรามีพระพุทธเจ้าเป็นอุดมคติเหมือนตัวเรานั่งแวดล้อมองค์พระพุทธเจ้าอยู่จึงเรียกตัวเราเองว่าเป็นพุทธบริษัท พระพุทธเจ้าเป็นคนผู้ที่ประกอบไปด้วย ปัญญา ทรงทราบทุกสิ่งทั้งปวงที่เป็นจริง แล้วก็ทรงสอนบริษัทให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นตามที่เป็นจริงจึงได้เว้นจากโทษและได้รับประโยชน์ตามที่ควรจะได้รับมากถึงที่สุดอย่างไรเดี๋ยวเราจะมองกันลงไปถึงสิ่งที่เรียกว่าการสังคม ซึ่งจะให้พูดอย่างภาษาธรรมดาๆก็เรียกว่า การคบหาสมาคม ในฐานะที่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เช่นเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า การศึกษา และการงานเป็นต้นเราจะมองดูตามตัวหนังสือหรือตามตัวพยัญชนะก่อนคำว่า สังคม ที่เป็นภาษาบาลีตามตัวหนังสือก็แปลว่า ไปด้วยกัน ถ้า ถือว่ามาจากคำว่า สมาคม ก็แปลว่า มาร่วมกัน มารวมหัวกัน คิดตามตัวหนังสือ

ถ้าถือความหมายของตัวหนังสือนั้นๆก็หมายความถึงการที่เกี่ยวข้องกัน หรืความสัมพันธ์กันนั้นเอง บางที่เราก็เรียกว่า สหาย ซึ่งแปลว่า ไปด้วยกัน หรือเรียกว่า มิตรภาพ ภาวะแห่งการเป็นมิตรนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า สังคม หรือสมาคม เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินคำว่าเกี่ยวข้องกันหรือมาด้วยกันไปด้วยกัน กระทำร่วมกัน ก็ย่อมจะมองเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำกันอยู่ เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรับรู้คือต้องทำและต้องทำให้ถูกต้องและสมบูรณ์ถ้าไม่มีการกระทำก็เป็นการขัดขวางต่อความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของมนุษย์เราเมื่อต้องทำก็ต้องทำให้ถูกต้องตามความจริงหรือตามสัจธรรมของคำคำนี้และไม่เพียงแต่บางส่วนจะต้องทำให้ถูกต้องจนสมบูรณ์ด้วย

ดังนั้นเราควรจะเข้าใจเรื่องนี้ให้ครบถ้วนให้สมบูรณ์แต่ความหมายทั้งหมดตามที่ทราบและตามที่ควรจะทำได้อย่างไรถ้าพูดกันในฐานะที่เป็นสัจธรรมก็จะพูดได้ว่าการสังคมกันนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นสิ่งที่จะต้องทำเพื่อความอยู่เป็นผาสุกมีความเจริญยิ่งๆขึ้นไปของหมู่มนุษย์นั้นเองแต่ถ้าพูดในฐานะที่เป็นธรรมสัจจะก็พูดถึงกริยาอาการที่จะต้องทำคือจะทำอย่างไรถึงจะต้องได้ประโยชน์ตามความหมายที่จะทำนั้นๆว่ามันเป็นสิ่งที่จะต้องทำและก็จะทำอย่างไรจึงจะได้รับผลตามความมุ่งหมายอันนั้นในที่นี่เราจะมองดูตัวการคบหาสมาคมด้วยการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างนี้ว่ามีความจำเป็นสำหรับมนุษย์เราอย่างไร

ข้อนี้ควรจะดูให้ลึกซึ้งลงไปถึงธรรมชาติอันสูงสุด และแม้แต่ธรรมชาติอันสูงสุดก็มีความหมายแห่งการเกี่ยวข้องกัน หรือที่เรียกว่า สังคมกันคือเป็นไปด้วยกันหรือมาด้วยกันตามความหมายของคำนั้นๆที่ว่าธรรมชาติอันสูงสุดนี้ก็อยากจะให้ดูให้ดีถึงส่วนใหญ่ที่สุดก่อนที่เรียกกันว่าระบบจักรวาลหนึ่งๆซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นประธานและก็มีดวงดาวฤกษ์ต่างๆแวดล้อมดวงอาทิตย์อยู่ได้พระเคราะห์ต่างๆแวดล้อมดวงอาทิตย์อยู่เป็นดวงจันทร์โลกนี้ดาวพฤหัส ดาวอังคาร ดาวพระพุธ ดาวอะไรก็ตามซึ่งได้ยู่กันเป็นระบบต่อไปด้วยกัน ผูกพันกันอยู่ด้วยอำนาจของอะไรก็เหลือที่จะมองเห็นหรือเข้าใจได้อย่างง่ายๆจึงได้พูดว่าด้วยอำนาจดึงดูดของกันและกันมีดวงอาทิตย์นั้นเป็นประธานทำให้ดาวพระเคราะห์เหล่านั้นอยู่รอบๆดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มหนึ่งเหมือนครอบครัวหนึ่งไม่เคยทอดทิ้งจากกันเลยและยังมีการสัมพันธ์กันยิ่งไปกว่านั้นก็คือระหว่างจักรวาลโดยถือว่าสุริยะจักรวาลนี้มีมากอยู่กันเป็นระเบียบอย่างนี้จนเขียนเป็นแผนที่ลงไปได้เลยว่ามีระบบไหนอยู่กันอย่างไรเป็นการสัมพันธ์กันอย่างน่าประหลาดด้วยอำนาจของอะไรก็บอกไม่ได้ใครถือพระเจ้าก็บอกอำนาจของพระเจ้า ถ้าถือธรรมชาติเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็บอกเป็นอำนาจของธรรมชาตินั่นเองส่วนเราพุทธบริษัทนี้ก็บอกว่าเป็นไปตามธรรมชาติของกฎของธรรมที่เรียกว่าอริยะศันตาเป็นต้น เป็นประธานด้วยอำนาจของกฎ อริยะศันตา ทำให้สิ่งทั้งหลายนั้นเป็นอยู่และเป็นไปในลักษณะอย่างนี้เมื่อมองดูการสังคมหรือสมาคมกันของดวงดาวทั้งหลายในสุริยะจักรวาลกลุ่มๆหนึ่งแล้วก็เป็นของน่าอัศจรรย์หรือประมาณมีอำนาจเหนือประมาณจึงทำให้มองถึงสืบไปได้การสัมพันธ์สืบข้องกันอย่างนี้เป็นเจตนารมณ์ของธรรมชาติ

แม้ว่า จะไม่มีความรู้สึกคิดนึกแต่ก็มีอำนาจอันใดอันหนึ่งซึ่งทำให้เกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กันในลักษณะสังคมกันเป็นอำนาจอันเฉียบขาดของธรรมชาติและเราจะหลีกเลี่ยงอำนาจอันนี้ได้อย่างไรสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลกที่เป็นส่วนน้อยๆที่หมุนอยู่รอบดวงอาทิตย์สังคมอยู่กับดวงอาทิตย์ในลักษณะอย่างนี้เราจะต้องมีกฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นคือการสังคมกันเกี่ยวข้องระหว่างสิ่งที่สังคมกันทั้งในส่วนใหญ่ส่วนย่อยทั้งในส่วนภายในและภายนอกทั้งโดยร่างกายและจิตใจซึ่งถือเสียได้ว่าเราไม่สามารถจะละเว้นกันได้เกี่ยวข้องกันหรือการสังคมนั้นได้ในชั้นแรกนี้ก็ให้ถือได้ว่าการที่จะเกี่ยวข้องกันสังคมกันนั้นเป็นกฎของธรรมชาติอันเด็ดขาดซึ่งจะไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้จึงได้แต่การตั้งหน้าศึกษาความรู้ความเข้าใจให้สำเร็จประโยชน์ในส่วนที่เป็นธรรมสัจจะคือการจะสังคมกันได้อย่างไร

ต่อไปที่นี่จะดูให้เข้าอาตมาในหมู่มนุษย์ในโลกนี้เราจะเห็นได้ว่าการสังคมนั้นเป็นสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้และการสังคมกันนั้นเองที่ทำให้ต้องเกิดระบบหรือระเบียบเกี่ยวกับการสังคมเช่นระบบการเมืองเป็นต้นนี้ก็มีขึ้นมาเพื่อการที่มนุษย์จะได้สังคมกันอย่างมีประโยชน์ที่เป็นภายในประเทศหนึ่งๆก็ดีเกี่ยวข้องระหว่างประเทศนอกประเทศก็มีหรือจะต้องเกี่ยวข้องกันไปทั้งโลกก็ดีอย่างนี้ก็มีถ้าทำถูกก็ดีไปถ้าทำผิดก็เกิดผลร้ายมนุษย์กลัวเกิดผลร้ายจึงทำให้มีความถูกต้องในระบบการเมืองอย่างทีใครๆก็เห็นกันอยู่ว่าเรื่องของการเมืองนี้พ้นไปจากเรื่องของสังคมตามจะเป็นสังคมเรื่องสังคมใหญ่จึงเห็นได้ว่าการสังคมกันก็เป็นต้นตอของระบบการเมืองเป็นเหตุให้มีระบบการเมืองขึ้นมาสำหรับถือปฏิบัติกันในหมู่ชนนั้นๆที่ถ้าจะมองดูกันตามแง่ของศาสนาในทางศาสนาก็มีบทบัญญัติมากมายหลายอย่างหลายประการด้วยกันทุกศาสนาที่ให้สังคมอยู่กันเป็นผาสุก

ขอให้พยายามศึกษาศาสนาอื่นดูบ้าง ไมควรแต่จะศึกษาแต่พระพุทธ ศาสนาของเราเอง ถ้าอย่างนั้นก็จะพบแต่อย่างหนึ่งว่า ศาสนาเกิดขึ้นมาในโลกนี้ก็เพราะสังคมในที่นั้นๆ ปั่นป่วนไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสงบสุขทั้งทางกายและทางจิตใจคือไม่เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่สังเคราะห์กันรักใคร่กัน ไม่มีเมตตากรุณากัน พระศาสดาจึงเป็นผู้ให้กำเนิดศาสนานั้นๆ จึงได้บัญญัติบทธรรมะของศาสนาขึ้นเมื่อประชาชนเหล่านั้นพวกยังโง่เขลาเกินไปบางศาสนาพระศาสดาจะต้องใช้อำนาจกำลัง บังคับประชาชนเหล่านั้น ให้รับเคารพบทบัญญัติเหล่านั้นเพื่อจุดที่แท้ก็เพื่อประโยชน์แก่สังคมนั้นนั่นเอง ขอให้มองเห็นและถือเป็นหลักได้ว่าพระศาสดาในทุกศาสนาไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง ไม่เพื่อสูบเลือดสังคมหรือประชาชน แต่กลับทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือสังคม หากแต่ว่าถ้าความโง่ของประชาชนมีมากเกินไปก็ต้องบังคับกันบ้างในฝ่ายพระพุทธศาสนานี้ไม่มีความจำเป็นถึงอย่างนั้นได้แต่อาศัยการชี้ชวน การสั่งสอนให้มีแต่ความรู้สึกเมตตากรุณายินดีที่จะทำหน้าที่ ที่จะสงเคราะห์ซึ่งกันและกันสร้างสังคมให้อยู่กันเป็นผาสุกโดยให้อุดมคติสูง ต่ำต่างๆกัน แล้วแต่การตรัสรู้ของพระศาสดาองค์นั้นๆจะเห็นว่าจะว่างอุดมคติรวบยอดกับเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไรอย่างในพระพุทธศาสนาเรามีอุดมคติให้ลึกซึ้งถึงที่สุดว่าสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย

ล้วนแต่เป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ให้ขยายวงให้กว้างไกลออกไปถึงนอกวงของมนุษย์ไปถึงวงของสัตว์เดรัจฉาน ว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิต ที่เป็นเพื่อน เกิด แก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เท่านั้นยังไม่พอให้ถือไกล ไปถึงว่า แม้หญ้าบอนทั้งหลาย พฤกษาชาติทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งหลายที่มีชีวิตก็ควรนับถือว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตเป็นสิ่งที่ควรจะถือว่าเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน บทบัญญัติจึงมีสำหรับ ภิกษุ หรือ บรรพชิตนั้นๆ จะไม่ต้องทำลายพฤกษาชาติ

อย่างนี้ก็มี ทั้งนี้ก็จะเพื่อปลูกฝั่งอุดมคติที่มีสูงสุดที่ว่าที่มีชีวิตนี้มีเพื่อนกัน ให้มีความรู้สึกสังคมกันก็จะเป็นไปด้วยความไม่เบียดเบียนแต่จะเป็นไปเหมือนประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันในฐานะที่เป็นมิตร ในที่สุดบทบัญญัติเหล่านี้ ก็มาอยู่ในรูปที่ปฏิบัติกันอยู่จนชิน จนเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ผู้มีการศึกษาดี มีการอบรมดี ถือหลักการไม่เบียดเบียนเป็นใหญ่ โดยให้ยอมรับโดยทั่วๆไปว่าเราจะอยู่คนเดียวตามลำพังไม่ได้ นี่แหละขอให้พิจารณาดูให้ดี ในข้อที่ว่าสิ่งที่มีชีวิตนี้มันอยู่ตามลำพังคนเดียวหรือตัวเดียวไม่ได้ มันมีอะไรอยู่หลายอย่างหลายประการที่ธรรมชาติกำหนดมาในตัวแล้วว่าจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

แม้ที่สุดจะอยู่รอดด้วยการมีอาหารกินก็ยังต้องเนื่องอยู่ด้วยกันและกันในกรณีที่ตนเองไม่ช่วยตนเองได้ต้องมีผู้ช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจกันกิริยาอาการอย่างนี้สังเกตุได้แม้ในหมู่สัตว์เดรัจฉานมีความเป็นอยู่ที่รวมกันร่วมกันเป็นฝูงอย่างนี้มีความปลอดภัยกว่าที่จะแยกกันอยู่เหมือนกับช่วยกันระมัดระวังอันตรายช่วยกันป้องกันอันตราย ช่วยกันต่อสู้อันตราย จึงเกิดมีระบบสังคมต่างๆขึ้น แม้ระบบเดรัจฉานแม้แต่ต้นไม้นี้ก็เถิดถ้าเรามองดูสักนิดเราก็จะเห็นว่าการที่เราจะร่วมอยู่กันอยู่กลุ่มนั้นต้านทานอัตรายเช่นพายุเป็นต้นได้ดี หรือว่ามันจะเก็บความชื่นอาหารหรือน้ำได้ดีกว่าที่เป็นต้นโดดเดี่ยวไกลๆเราจึงเห็นป่าไม้หนาแน่นอยู่กันอย่างปลอดภัยอย่างเจริญงอกงามกว่าต้นไม้ที่จะอยู่ตามลำพังได้หรือโดดเดี่ยวอย่างนี้เรียกว่ามันรวมอยู่ในกฏเกณฑ์ที่เรียกว่า อยู่ตามลำพังคนเดี่ยวไม่ได้เกิดเป็นธรรมเนียมเกิดเป็นวัฒนธรรมประจำสิ่งที่มีชีวิตขึ้นมาเองกล่าวคือการสังคมกันนั้น

ถ้าจะมองดูให้ชัดลงไปอีกถึงระบบต่างๆที่สังคมกันนี้อย่างน้อยก็จะมองเห็นได้ว่าระบบแคบๆและระบบที่กว้างขวางการสังคมกันแต่ภายในครอบครัวอย่างนี้เรียกว่ามันแคบการสังคมนอกครอบครัวออกไปจนไม่มีขอบเขตอย่างนั้นเรียกว่ามันเป็นระบบที่กว้างขวางและมีความจำเป็นที่กระทำให้ถูกต้องด้วยกันทั้งนั้น ถ้าท่านทั้งหลายไม่เข้าใจความหมายของคำว่า สังคม อาจจะไม่มองเห็นการไม่สัมพันธ์กันในครอบครัวก็เป็นการสังคม เพราะว่าภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่นี้มันดิ้นได้หรือกำกวมถ้าจะเอาความหมายที่แน่นอนก็ถือว่าถ้ามันมากกว่าหนึ่งคนแล้วก็มีทางที่ใช้ว่าสังคมได้ สำหรับการกระทำต่อกันหมายความว่าถ้ามันมากกว่าหนึ่งคนแล้วก็มีโอกาสหรือลู่ทางที่สังคมถึงมีการสังคมกันได้แม้ในครอบครัว

การที่ผู้หญิงกับผู้ชายจะสมรสแต่งงานกันก็เป็นจุดตั้งต้นของสังคมครอบครัวจะต้องประพฤติกระทำให้ถูกต้องและจะต้องมีบุตรมีหลานเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ต้องกระทำให้ถูกต้อง แม้พระพุทธองค์จะไม่ได้เป็นนักสังคมสงเคราะห์แต่ก็ทรงบัญญัติเกี่ยวกับธรรมะของสังคมในครอบครัวนี้ไว้อย่างละเอียดละออ ซึ่งท่านทั้งหลายก็เคยได้ยินได้ฟังมาเป็นอันว่าพระศาสดาที่สอนธรรมะสูงสุดเป็น โคตระ ก็ทรงชี้แจ้งเกี่ยวกับธรรมะขั้นพื้นฐานก็เกี่ยวกับสังคมทั่วไป

สำหรับประชาชนเหล่านั้นได้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นพื้นฐานให้ได้เสียก่อน จึงจะมีความก้าวหน้าสูงขึ้นไป ในธรรมะที่เป็นระดับ โคตระ เราจะถือว่าอันนี้เป็นวัฒนธรรมพื้นฐานกล่าวคือการประพฤติต่อกันและกันให้ถูกต้องในทางสังคม ถึงจะดูต่อไปอีกสักหน่อยหนึ่งว่าขอบเขตของสังคมในหลายๆระดับนั้นมันมีอยู่อย่างไรตอนนี้ของให้ใจในที่กล่าวมาแล้วว่าแม้พืชอันพฤกษายังมีการสังคมสัตว์เดรัจฉานยังมีการสังคมคนหรือระบบมนุษย์นี้ก็มีระบบการสังคมที่ดีหรือสูงขึ้นไปกว่านั้นมาก

ถึงแม้ธรรมชาติทั้งหลายก็ยังมีการสังคมอย่างที่กล่าวถึงเป็นอันแรกว่าในระบบสุริยะจักรวาลหนึ่งๆดวงอาทิตย์และดาวพระเคราะห์ทั้งหลายอยู่กันอย่างสังคมไม่เคยแยกจากกันไม่เคยแวงการเกี่ยวข้องกันยังมีการสัมพันธ์กัน ในระหว่างดาวพระเคราะห์หนึ่งๆก็ยังมีระบบสังคมอย่างว่าดวงอาทิตย์มีต่อโลกอย่างไรหรือดวงจันทร์มีต่อโลกนี้อย่างไรดวงอาทิตย์เป็นตัวแม่ยกเว้นเสียก็ได้ตัวลูกๆอย่างดวงจันทร์กับโลกก็มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ท่านทั้งหลายก็มีความประหลาดใจที่ความสัมพันธ์เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ จนเราสามารถว่างระบบปฏิทินได้เป็นการถาวรเป็นการล่วงหน้าและยังมีอิทธิพลต่อกันและกันถ้าว่าปราศจากซึ่งดวงจันทร์แล้วในโลกนี้ก็จะไม่มีน้ำขึ้นหรือน้ำลงดังนี้เป็นต้น หรือถ้าปราศจากอะไรบ้างอย่างแล้วก็จะไม่มีฤดูกาลอย่างนี้เป็นต้นมีความสำคัญต่อการเป็นอยู่หรือการรอดอยู่ได้ของสิ่งเหล่านี้ก็คือการสัมพันธ์อย่างถูกต้องของธรรมชาตินั้นเอง

สรุปใจความว่าแม้แต่ธรรมชาติเองแท้ๆก็ต้องสัมพันธ์กัน คนก็ต้องสัมพันธ์กัน สัตว์ก็ยังจะต้องสัมพันธ์กัน พืชพรรณพฤกษาก็ยังต้องสัมพันธ์กัน การที่จะต้องสัมพันธ์กันเราจึงเรียกว่า สังคม หรือการคบหาสมาคม ก็เลยมีการต่อเนื่องกันรายละเอียดทั้งหมดนี้บอกให้ถึงสัจธรรมคือความจริงหรือบอกเป็นกฎเกณฑ์เป็นหลักที่มีอยู่ในสิ่งเหล่านี้ที่ก็จะบอกดูกันในสิ่งที่เป็นธรรมสัจจะคือการประพฤติที่จะต้องกระทำกันต่อไปเมื่อมีกฎเกณฑ์อันตายตัวให้ถูกต้องมันก็มีความถูกต้องกันอย่างไรความถูกต้องนี้เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันนักในหมู่นักภาษาศาสตร์หรือนักปรัชญาจนไม่รู้จะเอาความถูกต้องที่ไหนมีเหตุผลทางตรรกษะก็ดี ทางนะยะหรือทางปรัชญาก็ดีล้วนแต่ค้านได้ ส่วนพุทธบริษัทเราจะถือทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักคือการแสดงความมีประโยชน์เห็นได้ชัดว่านี้คือความถูกต้อง ประโยชน์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ตาม

ถ้าสิ่งใดทำเกิดประโยชน์การกระทำนั้นเรียกว่าถูกต้องไม่ต้องพิสูจน์ทางกรรตะวิทยาหรือปรัชญาให้เสียเวลาหรือการตายตัวลงไปว่ามีความเป็นประโยชน์ก็ถือว่าถูกต้อง ใครต้องประพฤติให้มันถูกต้องและสำเร็จประโยชน์ในการสังคมกันของมนุษย์นั้น การที่จะประพฤติให้สำเร็จประโยชน์การสังคมกัน ข้อแรกที่สุดให้ระลึกถึงอุดมคติของพุทธบริษัทข้อแรกหรือข้อใหญ่ที่สุดกว้างขว้างที่สุดถือหลักเกณฑ์ที่ว่าถือว่ามนุษย์ สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแก่ เจ็บตาย เป็นเพื่อนกันทั้งสิ้นเดี๋ยวนี้เราจะเห็นว่ากันอย่างนั้นคือไม่ถือตามศาสนาต่างๆที่เคยสั่งสอนไว้ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นบางศาสนาก็ใช้คำว่า เป็นพี่น้องกันเหมือนกับว่าเกิดมากับบิดามารดาเดียวกันในพุทธศาสนาเราให้ความหมายเป็น เพื่อน

ในฐานะที่เป็นเพื่อนที่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีการปรุงแต่งมาตามกฎเกณฑ์แห่งพิริยะปัตตา ด้วยกันเป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ ด้วยกายด้วยกันเพราะต้องเป็นอย่างเดียวกันเพราะมีปัญหาเหมือนกันจึงไม่มีจิตใจที่จะเบียดเบียนกันหรือทำลายกันมีแต่จะช่วยกันดังนี้ทุกศาสนาก็สอนให้มีความหมายอย่างนี้โลกสมัยหนึ่งก็เคยยึดหลักเกณฑ์ดังนี้

ในสมัยนั้นคนในโลกมีความเห็นแก่ตัวน้อย เพราะสิ่งที่มายั่วให้ชั่วก็มีน้อยเดี๋ยวนี้และโลกนี้มีสิ่งที่ยั่วให้คนเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้นจนเกินประมาณ สิ่งที่ยั่วให้เห็นแก่ตัวนั้นก็คือสิ่งที่ให้ความเอร็ดอร่อยเป็นสุขเวทนาทางเนื้อทางหนังนั้นเอง สุขเวทนาทางเนื้อหนังครอบงำจิตใจคนผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็จะเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้นเท่านั้นยิ่งมีสิ่งที่ยั่วความสนุกสนานเอร็ดอร่อยทางเนื้อหนังมาขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งเพาะปลูกความเห็นแก่ตัวในจิตใจของคนเรามากขึ้นเท่านั้นนี่คือเหตุปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากเพิ่มขึ้นเรียกสั้นๆว่า สุขเวทนา ทางเนื้อหนังเป็นเครื่องสร้างความเห็นแก่ตัวเมื่อโลกยิ่งเจริญเท่าใด สิ่งปัจจัยเหล่านี้ขึ้นมาคนในโลกก็หลงใหลในเหตุปัจจัยนั้นก็เห็นแก่ตัวมากขึ้น ยิ่งมีคนจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งทำให้รู้สึกว่าตัวจะไม่ได้ จะไม่พอใช้ก็จะยิ่งแข่งขันกัน แย่งชิงกัน จนไม่มีเวลาจะนึกถึงผู้อื่น

นึกถึงเรื่องของตัวก็ยังไม่พอยิ่งนึกถึงการแข่งขันขันแย่งชิงกันแล้วก็ยังไม่พอจึงไม่นึกถึงแก่ใคร จึงไม่มีเวลานึกถึงจิตใจของผู้อื่นจึงมีความเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นของให้พิจารณาดูเถอะว่าการสังคมกันนั้นจะเป็นอย่างไรถ้าคนมีอายุซัก 70-80ปี ก็จะมองเห็นว่าเมื่อก่อนนี้มนุษย์จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันซักเท่าไรต่อเพื่อนบ้านเรือนเคียง แต่เดี๋ยวนี้มนุษย์ต่อเพื่อนบ้านเรือนเคียงกันซักกี่มากน้อยจะเห็นได้ชัดว่ามันแตกต่างกันมากเพียงชั่วอายุคน หรือทันตาเห็นของเพียงแค่ชั่วอายุคนเดียว พร้อมกันก็จะมองเห็นด้วยความเจริญก้าวหน้าตามแบบใหม่ที่ทำให้คนหลงใหลเอร็ดอร่อย สวยงามซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาทางเนื้อหนังทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอแก่ตนเองทั่วไปจึงไม่มีส่วนเหลือสำหรับไปช่วยผู้อื่นหรือเอื้อเฟื้อเจือจางผู้อื่น ทำให้ความหมายของคำว่าเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันนั้นสูญหายไปแทบหมดสิ้น เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟังคำว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหมือนกับสมัยบิดามารดาปู่ย่า ตายาย ที่จะได้ยินได้ฟังคำนี้บ่อยๆ นั้นแหละถือเป็นเครื่องวัดที่แน่นอนว่าสังคมได้เปลี่ยนไปอย่างไรโดยทางจิตใจ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ว่าเราเป็นเพื่อนกัน ถือว่าเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายด้วยกัน

เดี๋ยวอยู่กันด้วยความรู้สึกที่ว่า ตัวใครตัวมันด้วยโอกาสให้ใครทำด้วยความพอใจตัวเองได้เต็มที่ในก็คือประชาธิปไตยอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกันนั่นแหละแต่ขอให้คิดให้ดีว่า ประชาธิปไตยสำหรับเอาเปรียบกันนั้นมันจะมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไรทำไมเราจึงไม่มีประชาธิปไตยขนาดที่เรียกว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนเกิดแก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นแล้วประพฤติอนุโลมให้คล้ายกันอย่างนี้ ความเห็นแก่ตัวเป็นต้นเหตุของความทุกข์ในทุกๆประการ

ทุกๆความหมายทำตัวให้บุคคลนั้นต้องเป็นทุกข์ถึงที่สุดด้วย ให้เกิดกิเลสที่แผดเผาบุคคลนั้นนั่นเองเป็นข้อแรกก่อนแล้วก็จะกระทบกระเทือนออกไปถึงคนข้างเคียงทำให้ผู้อื่นต้องกลายเป็นทุกข์ด้วยท่านก็ไม่พยายามที่จะแก้ปัญหาด้วยการทำลายความเห็นแก่ตัวแต่ได้ให้มากให้ยิ่งๆขึ้นไปจึงไม่มีความประพฤติที่จะกระทำที่เหมาะสมที่มนุษย์จะได้มีการสังคมกันอย่างที่เรียกว่าเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย วิธีการที่ประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธศาสนานั้นที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีอยู่ว่าถ้าเห็นว่าดีกว่าเราหรือเก่งกว่าเราสามารถกว่าเราก็ให้เคารพเชื่อฟังเค้าเอาแบบอย่างเค้า ไม่ต้องไปอิจฉาริษยาเค้า มีพวกหนึ่งถ้าเห็นว่าเลวกว่าเราต่ำกว่าเราหย่อนสมรรถภาพกว่าเราก็ให้ช่วยเหลือเค้า ให้สงสารเค้า อีกพวกหนึ่งถ้าเห็นว่าเสมอกันเท่าๆกันก็ควรจะรักใคร่กลมเกลียวกันในฐานะที่เป็นผู้เสมอกันถ้าเรียกสั้นๆว่าถ้าดีกว่าเราก็เคารพนับถือเค้า

ถ้าเลวกว่าเราก็ช่วยเหลือเค้า ถ้าเสมอภาคกับเราก็เป็นเพื่อนกันนี้เป็นหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาทีพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้จึงเห็นได้ว่าเราไม่มีทางที่จะอิจฉาริษยาเราไม่มีทางที่จะเฉยเมยทอดทิ้งกัน ก็เลยประพฤติตามหลักเกณฑ์ที่ว่ามานั้น และก็จะสร้างสังคมอันใหม่ขึ้นมามีแต่มิตรสหายในส่วนเดียวไม่มีศัตรูมีแต่พวกผู้ที่ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกันสุดแต่สังคมนี้จะเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ทั้งโลกเค้าขึ้นกันอย่างนี้หรือป่าวมีข้อที่ควรสังเกตอยู่ข้อหนึ่งคือคำๆหนึ่งซึ่งเป็นชื่อของพระพุทธเจ้าแห่งศาสนาที่จะมาถึงในอนาคตที่เรียกว่า พระศรีอริยเมตไตย คำว่า เมตไตย นั้นมีความหมายถึงความเป็นมิตร อริยเมตไตย คือความเป็นมิตรอย่างประเสริฐสูงสุด หมายความว่ามีความประเสริฐสูงสุด ในทางความเป็นมิตรกันเมื่อศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ในมาถึงโลกนี้ก็คงมีลักษณะตามชื่อนั้นว่าการเป็นมิตรกันอย่างประเสริฐสูงสุดถึงสุดจึงเป็นเบื้องหน้าซึ่งก็ต่างกับสมัยปัจจุบันนี้ซึ่งมนุษย์ไม่มีความเป็นมิตรกันอย่างสูงสุด คือไม่ได้ถือความเป็นมิตรกันอย่างสูงสุดนั้นถึงจุดที่มุ่งหมาย ถ้าว่าการศึกษาและการอบรมหรือหน้าที่การงานที่เราประพฤติกระทำกันอยู่ไม่ได้เล้งถึงจุดหมายปลายทางอันนี้เลย

ล้วนแต่สร้างการแข่งขันกันและกัน ถ้าเขาดีกว่าเราก็อิจฉาริษยากันจะทำร้ายเค้าเสีย ถ้าเขาอ่อนแอกว่าเราก็จะเอาเปรียบเขาทำนาบนศรีษะเขาด้วยซ้ำ ถ้าเสมอกันก็มุ่งหวังทำร้ายกันให้พ่ายแพ้กันไปเสีย ฝ่ายหนึ่งอย่าให้มาเป็นผู้ขัดขวางความประสงค์ของตน

ทุกอย่างจึงเป็นไปด้วยความเบียดเบียนโดยส่วนเดียว ศาสนาสอน พระศรีอริยเมตไตย นั้น แสดงถึงความหมายของสังคมที่ขึ้นถึงความหมายสูงสุดของความเป็นมนุษย์คือ ความเมตตา ความอารีย์ ความรักใคร่กัน เป็นสังคมที่ประเสริฐที่สุด ซึ่งหวังกันอยู่อย่างนี้ด้วยกัน ทุกๆระบบของศาสนาในพระพุทธศาสนาก็มี พระศรีอริยเมตไตย ที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่ในศาสนาพรามณ์ หรือฮินดู ก็มีพระเจ้าอีกองค์หนึ่งมาในรูปแบบเดียวกัน ในศาสนาคริสเตียนก็มีพระศาสดาอีกองค์หนึ่งก็จะมาแต่พวกคริสเตียนถือกันว่าพระเยซูเป็นพระศาสดาองค์นั้น ตอนนี้ก็มีความสมจริงอยู่มาก เพราะพระเยซูก็ได้สอนธรรมะเกี่ยวกับเมตตากรุณานี้ถึงขนาดสูงสุด

แต่พวกยี่ก็ไม่ยอมรับเพื่อพระเยซูยังไม่ใช่ศาสดาองค์นั้นเขารอไปต่อก่อน ถ้าเรามองดูตามพระเยซูก็เป็นพระศาสดาที่อุบัติขึ้นเพื่อสอนความรักความเมตตาอย่างแท้จริงมีคำกล่าวของท่านเปรียบเทียบว่าเมื่อก่อนนี้เขาสอนกันว่าให้กระทำต่อศัตรูอย่างศัตรู ให้กระทำกับมิตรอย่างมิตร เดี๋ยวเราสอนว่าให้กระทำกับศัตรูอย่างมิตรคือไม่มีศัตรูไม่มีความคิดว่าจะฆ่าเขา เพียงแต่มีความคิดว่าจะฆ่าเขาก็ให้ถือว่ามีความผิดบาปเท่ากับไปฆ่าเขาแล้วอย่างนี้เป็นต้นเมื่อเขาตบหน้าเราข้างหนึ่งยินดีให้เขาตบอีกข้างหนึ่งคือจะไม่โกรธเขา ถ้าเขาขโมยเสื้อไปแล้วก็จะไม่โกรธเขาจะเอาผ้าห่มตามไปให้เขาอีกอย่างนี้เป็นต้น ล้วนสั่งสอนเพื่อความมีมิตรภาพอันสูงสุดด้วยเหมือนกัน ขอให้สังเกตดูว่าพระศาสดาทุกศาสนามุ่งหวังอย่างนี้ที่ควรจะถือปฎิบัติกันอย่างยิ่ง สำหรับทุกคน ก็เช่นที่พระเยซูก็สอนไว้ ถึงแม้แต่พระศาสนาในขงจื้ออย่างนี้ก็สอนไว้การที่จะจุดธูปเทียนบูชาพระหรือออกนามของพระเจ้านั้นให้สำรวจสักก่อนว่าในจิตใจกำลังโกรธหรือเกลียดใครอยู่ หรืออิจฉาริษยาใครอยู่ถ้ารู้สึกว่ามีการโกรธกันอยู่กับเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องคนใดก็รีบกลับไปบ้านไปทำความตกลงทำความเข้าใจให้เป็นมิตรที่ดีต่อกันและกันเสียก่อนเราค่อยจึงกลับมาที่วัด ที่โบสถ์ ที่จะมาจุดเทียน จุดธูป มาร้องว่า นะโมตะสะ ภะคะวะโต หรือพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

หน้าที่ 2 – วิธีปฏิบัติ
เพื่อมาร้องอย่างนี้เป็นต้น นี่แหละท่านควรจะนึกถึงว่ามันเป็นวิธีปฏิบัติที่จะล้างสิ่งสกปรกในสังคมนี้ให้หมดไป คือความอาฆาต ริษยา จองเวรจองกรรม ก็ถือเป็นหลักทั่วๆไปก่อนก็ได้ว่าถ้าจะจุด ธูป จุดเทียนบูชาพระ หรือจะไม่จุดธูปจุดเทียนแต่จะบูชาพระด้วยปากเฉยๆก็ดีแต่ก่อนจะทำอย่างนั้นก็ให้เสียก่อนว่ามีเวรมีภัยต่อใครบ้าง ให้รีบไปจัดการกับเวรภัยนั้นก่อนจึงจะมาจุดธูปจุดเทียน จึงจะร้องบูชาพระไม่ใช่จะพูดไปว่าไป พุทธังสะระณังคัจฉามิ เป็นและก็ชกต่อยกัน ตีรั้งฟันแทงกันบ้างแม้ในหมู่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่อยู่ในวัดก็ยังด่ากันอย่างนี้ มันไม่ถูกกับหลักเกณฑ์อันนี้

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าธรรมชาติก็ไม่ต้องการให้อยู่กันอย่างเป็นศัตรู คู่อาฆาตคู่จองเวร นั้นทุกๆวันหรือจะทุกๆคืนก่อนจะนอนหรือตื่นนอนขึ้นมาจนนึกถึงข้อที่ว่า เราจะไม่มีการจองเวรกับบุคคลใดหรือแม้แต่สัตว์ตัวใดอย่างนี้ให้ได้เป็นพื้นฐานด้วยกันทุกๆคนเถิดจึงเรียกว่าปฏิบัติถูกต้องต่อธรรมะที่ควรจะปฏิบัติต่อสังคมเป็นธรรมสัจจะอย่างยิ่ง สำหรับสิ่งที่เรียกว่าสังคมธรรม สังคมธรรม คือธรรมะสังคมนั้นเอง ที่นี้จะพูดถึงเหตุปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้เกิดสังคมธรรมที่ดีก็คือว่าทุกคนถ้ายอมรับหลักเกณฑ์อันนี้แล้วก็จะอธิฐานจิต สมาทานศีลขึ้นมาสักข้อหนึ่งว่า เราจะไม่แตะต้อง บริโภคใช้สอยส่วนเกิน ที่จะถือศีลไม่แตะต้องส่วนเกินอะไรที่เกินความจำเป็นสำหรับการเป็นมนุษย์แล้วก็ถือว่าเป็นส่วนเกินเราก็ไม่เตะต้องส่วนเกินนั้น การกินดีเกินแพงเกิน การแต่งตัวดีเกิน แพงเกิน การเป็นอยู่ในบ้านเรือนดีเกิน แพงเกิน หรืออะไรก็ตามที่มันเป็นการไม่จำเป็นด้วย ดีเกิน แพงเกิน ก็ถือว่าเป็นส่วนเกิน จึงทำให้เกิดกิเลสและเห็นแก่ตัว ส่วนเกินเหล่านี้ควรเว้นเสียไม่เท่าไรก็จะมีอะไรเหลือ เหลือสำหรับจะสงเคราะห์ผู้อื่น เดี๋ยวนี้เราไม่มีอะไรเหลือสำหรับสงเคราะห์ผู้อื่น เพราะว่าเราไม่ถือการเกลียดส่วนเกินเราชอบส่วนเกิน ราจะขยายการกินให้ดีให้อร่อยยิ่งๆขึ้นไปจะขยายการแต่งเนื้อแต่งตัวให้ดีให้งามให้แพงยิ่งๆขึ้นไป คนที่มีบ้านมีบ้านราคาหมื่นบาทก็ยากมีบ้านราคาหลายหมื่นบาท แสนบาท ล้านบาท

เดี๋ยวนี้เขาอยู่บ้านราคา 2-3 ล้านบาทกันก็มีเขาจะได้อะไร ได้ประโยชน์อะไรจากบ้าน 2-3ล้านบาทมากว่าบ้านที่ราคา 2-3หมื่นบาท ก็ไปคิดดูเอง ถ้าเขามีรถยนต์ราคาไม่กี่หมื่นบาทก็ยากได้รถยนต์ที่มีราคาหลายแสนบาทกระทั่งราคาหลายล้านบาทเดี๋ยวนี้ก็มีขายแล้วเมื่อเขาแพ่งจองที่ขยับขึ้นไปอย่างนี้แล้วจะมีอะไรเหลือเป็นส่วนเกินสำหรับช่วยเหลือสังคม พุทธบริษัทถือบทบัญญัติที่ไม่บูชาส่วนเกินไม่แตะต้องส่วนเกินจึงทำให้มีส่วนเหลือสำหรับช่วยเหลือสังคม อาตมาได้อธิบายหลายครั้งแล้วแม้ว่าอุบาสกจะถือ ศีล 8 คือศีลห้ามการบริโภคอาหารส่วนเกินห้ามการใช้ประคบประงม บำรุงบำเรอส่วนเกินห้ามใช้เครื่องมือเครื่องใช้ไม้สอยส่วนเกินอยู่อย่างถือศีล 8 ศีลอุบาสกแล้วไม่มีทางที่จะทำไรให้เกินแล้วจึงมีส่วนที่เหลือจะช่วยผู้อื่นหรือจะช่วยบำรุงพระศาสนา หรือแม้แต่จะเป็นเครื่องชวยตัวเองช่วยครอบครัวตัวเองอย่าให้อยู่ในสภาพที่เหมือนตกนรกทั้งเป็นเพียงแต่หยุดกินเหล้าเสียดูดบุหรี่เสีย คนที่เงินเดือนไม่พอใช้ก็จะพอใช้ขึ้นมาอย่างนี้เป็นต้นถ้าหยุดให้มากไปกว่านั้นเงินก็จะเหลือใช้สำหรับเป็นหลักทรัพย์เวลาเลียวแรงเหลือพอสำหรับไปช่วยเหลือผู้อื่น

เดี๋ยวนี้เขามุ่งหมายให้ด้วยความเห็นแก่ตัวกินเกิน ใช้เกิน ประพฤติกระทำอยู่ด้วยส่วนเกิน มันก็ผิดหลักเกณฑ์ที่ว่าเราจะอยู่กันอย่างช่วยเหลือผู้อื่นด้วย เพราะว่าเราไปใช้ไปกินเสียจนไม่มีส่วนเหลือสำหรับเก็บช่วยใครได้แม้แต่จะเลี้ยงแมวซักตัวหนึ่งก็ไม่ค่อยจะมีจะใจขอให้ลองคิดดูกันให้ดีเถิดว่าการสังคมของเรากำลังเป็นอย่างไร แล้วบาปความเลวร้ายให้เกิดขึ้นแล้วมันจะได้แก่ใคร ก็ได้แก่พวกเราทุกคน

ขอให้เราถือเอาหลักธรรมะเกี่ยวกับการสังคมนี้มาสรุปและปฏิบัติ ในรายละเอียดที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันผูกพันสังคมนั้นในพระพุทธศาสนานี้ได้มีหลักธรรมอยู่หลายหมวดด้วยกัน ยกตัวอย่างมาสักหมวดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สังคหวัตถุ คือสิ่งที่ใช้สำหรับสังเคราะห์เพื่อผูกพันกัน สังคหวัตถุ สำหรับวัตถุเพื่อการสังเคราะห์ วัตถุไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของมีความหมายเหมือนกับตัวเรื่องตัวราวซึ่งเป็นนามธรรมก็ได้ เป็นวัตถุธรรมก็ได้

วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำจึงเป็นหลักเกณฑ์เป็นอุดมคติเป็นอย่างนี้ก็ได้ สังคห นี้แปลว่าถือด้วยดีแต่เราให้ความหมายว่าเมตตากรุณาเอ็ดดูและสงเคราะห์คำว่าสงเคราะห์นี้ไม่ได้แปลว่าเอ็นดูหรือว่ากรุณาอย่างที่เรารู้กันอยู่ทั่วๆไป คำนี้แปลว่าไปถือได้ด้วยดีที่แตะลูกรำได้ด้วยดีก็เรียกว่าสงเคราะห์ถ้าเราจะสงเคราะห์เขาคำว่าไปแตะต้องเขาเป็นอย่างดี สังคหวัตถุมีอยู่ 4 อย่าง คือ ทาน ปิยะวาจา สมานัตตา อัตถะจริยา ทา คือการเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่โดยหลักเกณฑ์ที่ว่าเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ปิยะวาจา คือการพูดจาด้วยความรักในจิตใจมีความรักจึงจะพูดออกไปเพราะไม่เพราะไม่เป็นประมาณแต่พูดจาออกไปด้วยความรักก็ย่อมจะเป็นไพเราะเป็นธรรมดา ถ้าไม่เพราะด้วยวาจาก็ย่อมจะไพเราะด้วยความหมายขอให้พูดจาออกไปด้วยใจที่ประกอบอยู่ด้วยความรักก็เรียกว่าเป็น ปิยะวาจา ได้ สมานัตตาทำตนเป็นผู้เสมอกันไม่ยกตนข่มเขาว่าเรามีอะไรดีกว่าตอนนี้จะเอาอะไรมาเป็นหลักเสมอกัน ก็ใช้หลักเดิมๆอย่าเราว่านั้นแหละว่าทุกคนเป็นเพื่อน ทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน มีความทุกข์อย่างเดียวกัน มีกิเลสอย่างเดียวกัน มีหัวอกเดียวกัน เราเสมอกันอย่างนี้เถอะและเราก็จะไม่ยกตนข่มท่านทำตนเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ก็เรียกว่า สมานัตตา แปลว่ามีตนอันเสมอกัน อัตถจริยา นั้นแปลว่าประพฤติประโยชน์ที่หมายถึงหน้าที่ ถ้ารู้สึกอย่างนี้แล้วก็ไม่อยู่เฉยๆกระทำหน้าที่ตามความรู้สึกอันนั้นทันทีจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันสิ่งใดเป็นประโยชน์กับเพื่อนมนุษย์แล้วสิ่งนั้นจะต้องทำเมื่อกระทำกันออกไปนั้นก็คือการสงเคราะห์เป็นสังคม มธรรม คือธรรมะที่ต้องประพฤติต่อสังคมมีกันอยู่4อย่างด้วยกันอย่างนี้

ขอให้ช่วยกันสักหน่อย ที่ต้องพูดว่าสักหน่อยไม่ได้หมายความว่าให้ช่วยกันสักนิด สักหน่วยนี้มันหมายความว่าหายไปหมดแล้ว ช่วยดึงให้มันกลับมาอย่างน้อยก็ให้มันกลับมาว่าสังคมของเหล่าพุทธบริษัทโดยเฉพาะนี้ มีทาน คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีปิยะวาจา มีการพูดจาด้วยความรัก สมานัตตา มีตนเสมอกันเพราะเป็นเพื่อน ทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน มีอัตถจริยาประพฤติประโยชน์ต่อกันและกันไม่ทนนิ่งดูดายได้ แม้ว่ากรณีใดๆ ก็จะเปลี่ยนสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ผิดไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้แน่นอน ในคนชนเผ่าอื่นอื่น ลักธิอื่น

เขาทำกันอย่างไรก็ตามใจเขาเราพุทธบริษัทเราถือธรรมะพระพุทธเจ้ามีหลักเกณฑ์ที่วางไว้อย่างนี้ว่าเราจะประพฤติต่อสังคมอย่างนี้ ที่นี้ก็จะมองดูต่อไปอีกว่าข้อเท็จจริงที่มันเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นมันมีการแตกต่างกันอยู่สำหรับคำว่าสังคมก็มีปัญหาสังคมในแง่ของการเมืองถือว่าในแง่ของศีลธรรม หรือพูดใหม่ว่าการประพฤติปฎิบัตินี้ไปในฐานะที่เป็นการเมืองหรือว่าทำไปในฐานะที่เป็นศีลธรรมคนในปัจจุบันหายใจเป็นการเมืองเพราะมันเนืองกันกับประโยชน์เฉพาะหน้า

ถ้าพูดถึงศีลธรรมยังไม่รู้ว่าประโยชน์มันอยู่ที่ไหนโลกนี้ใช้การเมืองเป็นหลักค้ำประกันเพื่อประโยชน์ ใครมีอำนาจก็ใช้ อำนาจนั้นแสวงหาประโยชน์ในทางการเมืองคือไม่ใช้ทางศาสนา ทางธรรมะ ทางศีลธรรม และหาประโยชน์อย่างผู้ที่มีกิเลส ต้องการจะหาอย่างนี้เป็นเรื่องทางการเมือง ถ้าเป็นเรื่องของศีลธรรมเป็นเรื่องตรงกันข้ามไม่มีใครคิดหาประโยชน์ด้วยประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตัว มีแต่หวังให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์จนตนยอมเป็นผู้ขาดแขลนอย่างนี้ก็ยังมี ให้ยึดมั่นถือมั่น ในหลักธรรมจริงแล้วย่อมเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมส่วนได้มากยิ่งกว่าเห็นแก่ประโยชน์ตน เดี๋ยวนี้เราได้ยินแต่คำพูดว่าเห็นแก่ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนตัวเราได้ยินแต่คำพูดเราไม่ค่อยได้เห็นการกระทำขอให้ถือเป็นเป้าหมายไว้ว่าเรายังถือหลักอยู่ว่าเราจะเห็นประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตัวราจะยอมทุกข์ยากลำบากเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไม่หนี้ไปหาประโยชน์

หน้าที่ 3 – ออฟฟิต
ส่วนตัวโดยเราไม่รู้ถึงความยากลำบากของส่วนรวมนี้เป็นธรรมะอย่างสูงสุดที่จะสร้างสังคมให้ดีให้เป็นสังคมที่สมกับความหมายของคำว่า ออฟฟิต การทำสังคมสงเคราะห์นั้นต้องทำในรูปแบบของศีลธรรม ไม่น่าจะทำในรูปแบบของการเมือง ที่เป็นเรื่องกรอบโกยประโยชน์ สังคมสงเคราะห์ในรูปแบบการเมืองที่พูดถึงกันมาก บางทีก็เอามาสรรเสริญกันอยู่มากกว่าประเทศนั้นประเทศนี้ที่สังคมสงเคราะห์กันอยู่สูงสุดแต่เมื่อไป พิจราณาก็จริง ก็เห็นว่าเขาเก่งภาษีแพงที่สุด เอาเงินนั้นมาสังเคราะห์สังคมมีประโยชน์ไปรั่วไหลไปอย่างอื่นอีกมากมายอย่างไม่เรียกว่าเป็นการสังคมสังเคราะห์ในความหมายของศีลธรรมเพราะไม่ได้ทำไปเพื่อการสังเคราะห์โดยแท้จริงไม่ได้ทำอาศัยธรรมของศาสนาแต่เป็นการลงทุนทางการเมืองซักมากกว่าจึงไม่นับรวมไว้ในธรรมะของสังคมนั้นตามที่กำลังกล่าวมานี้เมื่อสังคมที่ถูกต้องนี้จะต้องสังเคราะห์กันอยู่นั้นเมื่อเจอด้วยความคดโก่งใดปัญหาจึงเกิดมันเป็นการเมืองหรือเป็นศีลธรรม อะไร ๆ ก็ดูมีปัญหาอย่างนี้ไปเสียสักหมดแล้วว่ามันเป็นการเมือง หรือว่ามันเป็นศีลธรรม เราช่วยกันสักหน่อยว่าพยายามให้ทุกอย่างเป็นเรื่องของศีลธรรม

อย่าให้เป็นเรื่องของการเมือง ถ้าเป็นเรื่องของการเมืองก็เป็นเรื่องของการเมืองที่มีศีลธรรม คือทำการเมืองให้เป็นศีลธรรมเสียก่อนก็ได้แต่มันยังทำไม่ได้เพราะคนทั้งโลกไม่ยอมรับการอันนี้ คือไม่ยอมรับรับหลักเกณฑ์การเมืองนี้เป็นสิ่งที่เป็นศีลธรรมได้ ก็จะมองเห็นว่าการเมืองนี้เป็นเครื่องแสวงหาประโยชน์ไปเสียโดยท่าเดียว

เรื่องการเมืองจึงไม่สร้างสันติสุขและสันติภาพ เพราะถ้ามีสังคม มธรรม ที่เป็นไปในทางของศีลธรรมมีความเข้าใจถูกต้องและมีสัมมาทิฐิถูกต้องต่อกันและกันให้ถูกต้องจริงๆ ถูกต้องต่อสัจธรรมของธรรมชาติ เป็นส่วนใหญ่และไม่มีผิดแปลกไปไหน เวลาที่เหลืออยู่อีกหน่อยหนึ่งนี้จะแสดงถึงอานิสงค์ ของการที่มีสังคมอย่างถูกต้องมีสังคม มธรรม คือธรรมที่ประพฤติต่อสังคมอย่างถูกต้อง ว่าถ้าเรามีสังคมธรรมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้วในโลกนี้ก็มีแต่มิตรภาพตามที่กล่าวมาแล้วเราอยู่คนเดียวไม่ได้ หรือว่าเราจะตรัสรู้เองไม่ได้ เราจะต้องมีสังคมมีการสังคมกับครูบาอาจารย์ เหมือนกับเดี๋ยวนี้เราก็พูดได้ว่าเรามีการสังคมกันกับพระพุทธ พระพุทธเจ้า เรามีโอกาสที่จะได้เล่าเรียนศึกษาปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์อยู่มากแม้กระทั่งทุกวันนี้ นี่ก็เรียกว่ามีการสังคมกันกับพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยานิมิตเราจึงจะเดินทางตามพระพุทธองค์อยู่ทุกวันนี้ก็เรียกว่าเราได้เดินตามประธรรม ที่ไปสู่การบรรลุนิพพานได้ของให้ถือว่าเราจะอยู่คนเดียวไม่ได้ ถือว่าเราจะดีไปคนเดียวก็ยังไม่เห็นทาง เราจะต้องหาสายกลางสติปัญญาของผู้ที่มีสติปัญญา เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบต่อไปแม้ว่าจะยู่ด้วยกันแบบเพื่อนสาวกเพื่อนพุทธบริษัททั้งหลายที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นได้กันโดยง่ายดายและก้าวหน้าไปสังคมของพุทธบริษัทที่นี่

ถ้ามองเห็นประโยชน์ที่ยิ่งไปกว่านั้นอีกก็จะมองต่อไปว่า การอยู่ได้ของพระศาสนา โดยเฉพาะของพุทธศาสนาเราก็ด้วยการมีสังคมที่ดีในหมู่พุทธบริษัทนั้นถ้าในหมู่พุทธบริษัทไม่มีการสังคมที่ดีก็จะมีการแตกร้าวทำลายล้างกันเองพระพุทธศาสนาก็พลอยหมดไปตามกันแตกสลายของสังคมพุทธบริษัทด้วย ถ้าเป็นไปมากสุดเหวี่ยงแล้วคำว่าหลังก็จะมีมากจนถึงกับทำลายโลกนี้ให้สูญสิ้นไป ทำลายโลกแผ่นดินนี้และให้สูญสิ้นไปด้วยอะไรก็ตามแต่ต่อไปนี้ก็เป็นการง่ายนิดเดียว ที่เขาจะมีอาวุธอะไรทำลายโลกนี้ให้แหลกลานไป เมือไม่การสังคมกันอย่างผู้มีธรรมะหรือมีศาสนาโลกผืนแผ่นดินนี้ก็ดี สัตว์สังขารอะไรเหล่านี้ก็คอยหมดสูญสิ้นไป

ขอให้สนใจคำว่า สังคม คือการอยู่ด้วยกันอย่างถูกต้องในลักษณะนี้เถิด มันมีความหมายตั้งแต่ต้นจนเกิดลาย ตั้งแต่ต้นแม้แต่ความรอดอยู่คนๆหนึ่งต้องอาศัยสังคมที่ถูกต้อง อย่างชีวิตจะรอดอยู่ได้ มันก็เป็นการสังคมอย่างถูกต้องของอวัยวะต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็น ร่างกาย เขาจะเรียกว่า ร่างกายนี้ครบ 32 หรืออะไรมากไปกว่านั้นก็ไปสังเกตดู ถามหมอดู จะบอกว่าร่างกายจะเป็นอยู่รอดได้ต้องมีการสังคมกันเป็นอย่างดี ระหว่างอวัยวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกาย ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ สภาพก็เป็นอย่างนี้จะรอดอยู่ได้เป็นสังคมธรรม ในระหว่างส่วนประกอบนั้นเป็นอย่างดี

ถ้าให้เข้าใจอย่างนี้ก็ถือเป็นสำคัญว่าการสังคมเป็น การสมาคม กันนั้นเป็นหน้าที่ทีเราจะต้องกระทำ และจะต้องกระทำให้ถูกต้อง เมื่อทุกอย่างถูกต้องแล้วทุกอย่างก็รอดอยู่ได้ นับตั้งแต่คนๆหนึ่งเดี๋ยวนี้คนทั้งโลกถือว่าอายอะไรที่มีอยู่ในโลกก็จะรอดอยู่ได้เพราะการประพฤติกระทำต่อกันและกันอย่างถูกต้อง สังคมธรรมจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าหลักเกณฑ์ที่ประพฤติต่อกันและกันให้ถูกต้อง นี่แหละเป็นสิ่งที่คู่กันมากับสิ่งที่เรียกว่า การศึกษา หรือ การงาน และการสังคม นี้เป็นเรื่องที่ 3 ที่อาตมานำกล่าวกับท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นการปรารภเป็นการฟื้นการ รู้สึกนึกคิด มากกว่าที่จะเป็นการสั่งสอนอะไรให้แปลกให้มากให้สูงขึ้นไป ฟังดูเถิดไม่ได้พูดเรื่องที่แปลกที่สูงออกไป พูดเรื่องการศึกษา พูดเรื่องการทำงาน พูดเรื่องการคบหาสมาคม ที่มีการคบหาสมาคมกันอย่างถูกต้อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามทำนองของพุทธบริษัทก็เป็นอันว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยดีทำในชีวิตนี้ คือธรรมที่เราจะมองเห็น ถ้าคนอื่นเขาไม่เอาด้วยเราก็ยังทำด้วยเราได้มีผลที่เราจะมองเห็นได้ว่าเป็นการกระทำที่ถูกและควรจะทำและไม่มีสิ่งอื่นที่ควรจะทำอย่างนี้ยิ่งไปอีกแล้ว ขอให้มีการคบหาสมาคมกันในระหว่างวัตถุและบุคคลให้ตรงตามธรรมสัจจะและคำ ๆ นี้อยู่ทุกๆเมือเถิด

http://www.vcharkarn.com/varticle/35245

. . . . . . .