ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – เรื่องกลางดิน
ท่านผู้เป็น อคัณตุกะทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันอยู่ที่นี้ บัดนี้เป็นโอกาสกำหนดไว้ ที่จะมีการพูดจากัน และก็บังเอิญมาพร้องกันหลายระดับ เป็นชนขั้นทางจิตจิต ทางวิญญาณชนิดที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องด้วยทุกระดับจึงจะได้ ถ้าพูดถึงระดับต่ำ ระดับเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ก็สนใจฟัง โดยพื้นความหมายที่มันสูงกว่านั้น หรือว่าเป็นการศึกษาเรื่องของ วัยเด็ก รุ่นเด็ก สำหรับเด็ก พร้อมกันไปก็ได้ ถ้าไม่อย่างนั้น มันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรกันได้ จะมีประโยชน์น้อยเกินไปก็ได้ ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรกันได้ จะมีประโยชน์น้อยเกินไปก็ได้ ไม่คุ้มค่ามา จึงขอให้ทุกคนเด็กเล็กที่สุด ก็พยายามทำให้ดี ฟังให้ได้ ถ้าสู้ไม่ไหวก็หลับไปเสียเลย จะได้หมดปัญหา

เดี๋ยวนี้เรามานั่งกันกลางดิน ข้อแรกที่สุดก็จะพูดเรื่องกลางดิน เราเชื่อว่าหลายคนที่ยังไม่รู้ความหมายขอคำว่ากลางดิน และก็มีความรู้สึกนึกคิด ที่ไม่ชอบนั่งกลางดิน ชอบที่นั่งบนที่จัดตบแต่งไว้ เป็นอย่างที่เคยนั่งกันมาเคยชินจนเป็นนิสัย พอมานั่งกลางดิน ก็ถือว่าเป็นการลดอะไรกันมากทีเดียว ก็หงุดหงิดเสียก่อน และก็ฟังไม่รู้เรื่องนี้แน่นอน จึงอยากจะพูดเรื่องกลางดินนี้หมดปัญหาไปเสียทีก่อน โดยถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้นั่งกลางดิน มาที่สวนโมกมีโอกาสได้นั่งกลางดิน ถ้าไปที่อื่นก็คงจะไม่ได้นั่ง ทั่ว ๆ ไปก็จะไม่ได้นั่งกลางดิน เดี๋ยวนี้เรามีที่นั่งกลางดิน ไว้ให้นั่งด้วยเจตนา ที่มีที่นั่งกลางดินไว้นั่งกลางดิน รู้ความหมายของการนั่งกลางดินให้ดีและก็มีจิตใจเข้ากันได้กับเรื่องนั่งกลางดิน ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมะ หรือพระพุทธศาสนา พูดคราวเดียวหมด ก็พูดว่าพระพุทธศาสนานั่งเกิดกลางดิน เกิดจากดิน พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน และพระพุทธเจ้าก็ตรัสรูกลางดินและก็มีโอกาสไปเที่ยวสั่งสอนไปนั่งกลางดิน ที่อยู่อาศัยของท่านก็พื้นดินในที่สุดท่านก็นิพานหรือตายกลางดิน ก็ต้องคำนึงถึงข้อนี้ก่อน ว่าเกิดกลางดิน ตรัสรูกลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน ตายกลาง เหมือนพระไตรปิฎกที่เป็นคำสอนทั้งหมด ก็เกิดมาจากดิน เกิดมาจากการนั่งกลางดิน และก็ตรัสรู้และก็ได้เรียนต่อ ๆ กันมา เป็นที่เชื่อได้ว่าการทำสังคยานาหลาย ๆ องค์ก็นั่งกลางดินทั้งนั้น ไปดูที่อินเดียก็ได้ว่าท่านนั่งกลางดินกันทั้งนั้น นี้เป็นเรื่องของกลางดิน ที่นี้มองอีกแง่หนึ่ง ธรรมะเป็นเรื่องของธรรมชาติเป็นความรู้เรื่องตัวธรรมชาติ เรื่องผลที่เกิดมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง ธรรมะคือเรื่องธรรมชาติ ต้องอยู่กับธรรมชาติ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงประสูติกลางดิน ไม่อย่างไปนั่งสถานเริงรมสวยงามต่าง ๆ อยากจะอยู่สวรรค์วิมานนั้น ที่มันมีความหมายอย่างสวรรค์วิมาน ถ้าไม่ชอบธรรมชาติไม่ชอบนั่งกลางดิน เพื่อเป็นเกลอกับธรรมชาติ เดี๋ยวนี้มานั่งกลางดินอย่างนี้ ก็ควรจะรู้สึกว่าเป็นเกลอกับธรรมชาติ เมื่ออยู่กับธรรมชาติจิตใจมันเหมาะสมที่จะรู้จักกับธรรมชาติ เป็นพื้นฐานของธรรมะทั้งหลายคือเรื่องธรรมชาติ นี้ควรจะสนใจเรื่องกลางดิน ก็ขอทำเดียวนี้ ก็มานั่งกลางดิน นี้ก็ขอทำใจให้นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดินสอนกลางดิน อยู่กลางดิน ตายกลางดิน ถ้าทำได้ก็เป็นพุธทานุสติ ซึ่งเป็นธรรมฐานชนิดหนึ่งอย่างยิ่งเลย ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าทุกแง่ทุกมุม เดี๋ยวนี้เมื่อก่อนและนึกถึง พอรู้สึกว่าได้มานั่งกลางดินได้มาอยู่กลางดิน แล้วจิตใจมันรู้สึกอย่างไร เมื่อคุ้งมันอยู่ที่กรุงเทพ แล้วจิตใจมันเป็นอย่างไร และมานั่งกลางดินอย่างนี้แล้วจิตใจมันรู้สึกอย่างไร เมื่อมานั่งกลางดินอย่างนี้แล้วจิตใจมันเป็นอย่างไร ถ้าสามารถเปรียบเทียบกันได้ นั้นแหละจะเป็นกรรมฐาน คือพุธทานุสติ ว่าพระพุทธเจ้ามีจิตใจเป็นอย่างไร ก็พลอยไปถึงการตรัสรู้ของพระองค์ รู้ถึงสิ่งที่พระองค์ทรงได้ตรัสรู้ นั้นก็จะสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ นี้เป็นเรื่องของคนนั่งกลางดินไม่ใช่เป็นเรื่องของคนที่จะหรูหราอยู่สนุกสนาน ตามแบบของคนหนุ่มที่สำเร็จศึกษามาจากมหาวิทยาลัย ไม่ใช่สำเร็จการศึกษามาจากกลางดินเหมือน

หน้าที่ 2 – อย่าลำเอียงอย่าเข้าข้างตนเอง
พระพุทธเจ้า ถึงอย่างไร ๆ ก็ต้องเปรียบกันแล้ววันนี้ ว่าคนที่ศึกษามาจากกลางดิน กับที่ศึกษามาจากวิทยาลัยมันรู้อะไรต่างกันอย่างไร อย่าลำเอียงอย่าเข้าข้างตนเอง และก็จะไปเปรียบเทียบกันดู ว่าเรื่องที่เราศึกษาโรงเรียนมหาวิทยาลัย เพื่ออะไรและในที่สุดมันให้ผลอย่างไร ที่นี้จะมาศึกษาเรื่องกลางดิน เรื่องที่เกิดขึ้นกลางดิน อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จากธรรมชาติทั้งหลาย เหล่านี้มันต่างกันอย่างไรทำไมจึงไม่คิดอย่างนั้น เดี๋ยวนี้การนั่งกลางดิน นี้แหละก็ขอให้ทำเป็นใจดีว่า จิตของคนที่นั่งกลางดิน ของคนที่นั่งอยู่บนเย้าบนเรือนที่ประดับประดาตบแต่งอยู่อาคารราคาล้าน ๆ นี้ นั่งอยู่บนนั้นจิตใจเป็นอย่างไร และมานั่งอยู่บนดินอย่างนี้จิตใจมันเป็นอย่างไร ลองเปรียบเทียบกันดู โดยหลักทั่วไปที่มีอยู่ว่า จิตใจจะเย็นกว่า จิตใจไหนจะเป็นอิสระกว่า จิตใจไหนที่จะรู้ธรรมชาติได้จริงกว่าอย่างนี้เป็นต้น

และในที่สุดเราก็จะรู้อะไรที่เรายังขาดอยู่ หรือที่มนุษย์มันยังขาดอยู่ ก็ได้จากการที่ความเลวร้ายในบนโลกนี้มีอยู่เพียงใด ก็เป็นอันกล่าวได้ว่า ก็ยังขาดความรู้อยู่เพียงนั้น การศึกษาทั่วโลกมันไม่ขจัดความเลวร้ายเหล่านั้น ถ้านึกได้อย่างนี้ก็จะวิ่งกันกลางดินและมานั่งกลางดิน มาสนใจเรื่องกลางดิน ของพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าเรื่องแรกที่สุดคือเรื่องนั่งกลางดิน ในฐานะที่มีที่นั่งกลางดิน เป็นเครื่องต้อนรับท่านทั้งหลาย ไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง ไม่มีพรมนั่ง ไม่มีอะไรทั้งนั้น มีแต่กลางดินให้นั่ง และต้อนรับในทางวัตถุ หรือในทางนี้ต่ำสุดเลย ไม่มีอะไรต่ำกว่านี้ เรามีหลักต่ำ ๆ นั้นแหละเราจะไปสูง ถ้าอยู่สูงก็มีแต่จะตกลงมาต่ำ ถ้ามีอยู่อย่างต่ำนี้ มันก็จะมีการกระทำ หรือความเป็นไปอย่างสูง ๆ ขึ้นไป จนเริ่มตั้งต้นการศึกษาด้วยการนั่งการดิน เพื่อว่าจะได้รู้จักพื้นฐาน หรือรากฐานต่ำสุดของสิ่งทั้งปวง และจะได้รู้ไปตามลำดับ อย่าหาว่าท้าทาย แต่อยากให้รู้ว่าให้เรียนจบปริญญาเอก ในทั้งโลก แล้วมันก็โง่กันอยู่นั้นแหละ เพราะเราไม่ได้นั่งกลางดิน ขอให้มานั่งกลางดินให้เรียนรู้กฎธรรมชาติ หน้าที่ของกฎธรรมชาติ และก็เห็นด้วยของการตามมา ของท่านทั้งหลายต่อการมาสู้สถานที่นี้ โดยจะเชื่อว่าท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่า ยังขาดความรู้ชนิดกลางดิน จึงต้องมาที่นี้และก็มานั่งกลางดิน เป็นเกลอกับธรรมชาติ เป็นเกลอกับต้นไม้ต้นไร่ เหล่านี้ล้วนแต่สอนทั้งนั้น แต่ว่าคนมันหูหนวก ตาบอดเอง มันไม่ได้ยินว่าธรรมชาติสอนอย่างไร ธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้มันสอน แสดงความเปลี่ยนแปลงว่าเป็นอนิจ ไปเที่ยวเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงก็ขอให้ดูด้วย ไอ้คนมันก็ตาบอด มันก็ไม่เห็นในความไม่เที่ยง หรืออนิจจังของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง มันส่งเสียงร้องตะโกนว่าอย่าเที่ยวหลงใหลกันอยู่ นั้นแหละ และมันก็มากไปด้วยความหลงใหล มันจึงหาความสุขไม่ได้ ยิ่งเรียนมันก็ยิ่งไม่รู้เรื่องนี้เพราะว่ามันไม่ได้เรียนเรื่องนี้ การเล่าเรียนในโลกมันได้เรียนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นสิ่ง เรียนแต่จะสร้างนั้นสร้างนี้ จะอยู่กินอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่เคยไม่ยินอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น จึงเป็นการสมควรที่ว่า จะต้องเรียนศึกษาเรื่องที่กำลังขาดอยู่ ที่ไม่เคยได้เรียนไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก็จะได้เรียน เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเรื่องความจริงของธรรมชาติ ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น แล้วมันแสดงอาการอย่างนั้นให้เห็นอยู่ และมันคล้าย ๆ ว่ามันตะโกนบอกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นอย่างนั้น แล้วมันแสดงอาการอย่างนั้นให้เห็นอยู่ และมันคล้าย ๆว่ามัน ตะโกนบอกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นอย่างนั้น แต่เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง ไม่ได้เข้าใจ มันก็ทำไปในทางที่มันตรงกันข้าม มันกลับตรงกันข้าม อย่างที่ทำกันอยู่อย่างนี้ ทำอย่างกับว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นของเที่ยง ได้อย่างต้องการเป็นสุข ไม่เห็นทุกข์ไดตามอัตราได้เป็นของกูได้อย่างที่กูต้องการ มันคิดนึกกันอยู่อย่างนี้เพราะไม่ได้เรียนความรู้ที่เป็นเรื่องจริงของธรรมชาติ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสรู และได้นำมาสอน เมื่อไม่ได้รู้ตามที่เป็นจริงว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นอย่างไร

หน้าที่ 3 – ชีวิตจิตใจเป็นอย่างไร
ชีวิตจิตใจเป็นอย่างไร อะไรเป็นอย่างไร ก็ปฏิบัติผิดต่อสิ่งเหล่านี้ ทั้งปวงหมดเลย โตขึ้นมายิ่งโง่ โตขึ้นมายิ่งโง่ ยิ่งเกิดมาจากท้องแม่ไม่ทันจะโง่ พอโตขึ้นมาก็ยิ่งโง่ ยิ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ก็ยิ่งโง่ ยิ่งหลงก็ยิ่งทำผิด ในสิ่งทั้งปวงที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บอกเรื่องเด็กกันเสียก่อนจะดีกว่า

ถ้าเด็ก ๆ จะฟังบ้างก็ดีจะมีประโยชน์ เมื่ออยู่ในท้องแม่นึกถึงอะไรไม่ได้ เลยไม่มีกิเลส เลยไม่มีความทุกข์ไม่รู้จักความหมายแห่งความทุกข์และก็ไม่มีกิเลสไม่มีความผิดไม่มีความถูก ไม่มีความดีไม่มีความชั่ว ไม่มีอะไรอยู่ในท้องแม่ เพราะว่าอวัยวะต่าง ๆ ของทารกที่ยังเป็นทารกตอนแรก ๆ ที่อยู่ในครรภ์ ไม่มีทางที่จะรู้สึกอะไรได้เลย จนกว่าจะโตกว่าจะคลอดออกมาจากท้องแม่นี้ อวัยวะต่าง ๆ ก็เริ่มทำงานได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ทันได้นึกคิดให้เป็นกิเลสได้ เด็กคลอดออกจากท้องแม่ตาก็เห็นได้ หูก็ได้ยินได้ จมูกก็ได้กลิ่นได้ ลิ้นก็รู้รสได้ ผิวหนังก็รู้สึกสัมผัสได้ จิตก็พอรู้สึกได้ แต่ยังไม่ได้นึกคิด คิดไม่เป็น คิดให้เป็นกิเลสไม่ได้ คิดให้เป็นความดีความชั่วไม่ได้ ไม่รู้จักว่าดีว่าชั่ว เด็กทารกคลอดออกมาไม่รู้จักคำว่าดีคำว่าชั่ว จนคลอดมาแล้วนี้ เวลาล่วงมา ๆ ได้ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ นี้มันทำหน้าที่ ได้ดีขึ้น ๆ ทางตารู้จักของสวยของไม่สวย ทางหูรู้จักของไพเราะไม่ไพเราะ จมูกรู้จักของหอมของไม่หอมลิ้นรู้จักอร่อยไม่อร่อย ผิวหนังรู้จักความนิ่มนวลหรือความแข็งกระด้าง จิตก็มีความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจเด็กก็มีอายุหลายวันหรือหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน แล้วก็ค่อย ๆ มีความคิดที่เป็นกิเลสหรือเป็นสุขคือมันรู้จักพอใจละไม่พอใจขึ้นแรกเกิดใหม่ ๆ ไม่รู้จักหลอกพอใจไม่พอใจนั้นไม่รู้แล้วก็ค่อย ๆรู้ ค่อย ๆรู้ ขึ้นมา พอรู้ว่าอร่อยหรือไม่อร่อย ค่อย ๆ รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มันรู้จักเยอะแยะ ออกเป็นความรู้สึกสองฝ่าย คือน่ารักไม่น่ารัก น่ายินดีไม่น่ายินดี นี้มันหลงรักหรือไม่หลงรัก หลงยินดีหรือหลงไม่ยินดี มากขึ้น ๆ นี้คือยิ่งโตยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งโง่ โง่ที่ไปหลงรักไอ้ที่น่ารัก ไปหลงเกลียด ไอ้ที่มันน่าเกลียด พอใจและไม่พอใจ โกรธบ้างกลัวบ้างอะไรบ้าง ความรู้สึกนี้ก็มีขึ้นยิ่งโตมันก็ยิ่งโง่ จนเป็นวัยรุ่นเป็นหนุ่มเป็นสาวมันก็ยิ่งโง่ มันหลงรักหลงเกียจมากกว่าแต่ก่อน ไปเทียบดู เด็กวัยรุ่นจะรู้จักพอใจไม่พอใจเรื่องรัก เรื่องโกรธ มากกว่าเด็กทารก เป็นหนุ่มสาวก็จะรู้มากเต็มขีดเต็มอัตรา รู้จักพอใจหรือไม่พอใจนี้ หลงรักหรือหลงเกียจหรือหลงกลัว หรือหลงวิตกกังวน อาไรอาวอน อิจฉาริษยามันมากขึ้น ๆ ตอนนี้มันไม่มีความรู้มาแต่ในท้อง พอใครเกิดมาใครสอนไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่เดา มันไม่เดาแต่มันเหมือนกับเดา มันรู้สึกขึ้นมาเองตามธรรมชาติ พออร่อยก็ชอบกิน พอไม่อร่อยก็ไม่ชอบกิน เพราะรู้จักแยกแยะว่าอร่อยหรือไม่อร่อย เพราะมันรู้จักแยกแยะหมดทางตาก็รู้จักแยกแยะ มันสวยหรือไม่สวย ได้รับการอบรมให้โง่ขึ้นไปอีกสวยอย่างพิถีพิถัน ไอ้อย่างนี้ก็มีอีกต่างหากไพเราะหรือไม่ไพเราะมันก็รู้จักรักที่ไพเราะเกียจที่ไม่ไพเราะ จมูกก็รู้เรื่องเหม็น ลิ้นก็รู้รสอร่อยไม่อร่อย ผิวหนังก็รู้จักนิ่มนวลอ่อนโยน กับแข็งกระด้าง นี้มันก็หลงใหลไปอีกฝ่ายหนึ่ง และเกลียดชังไปอีกฝ่ายหนึ่ง ก็รู้จักพอใจไม่พอใจแรงขึ้น ๆ นี้คือยิ่งโตยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งโง่ ก็เพราะว่าความลุ่มหลง รัก หลงรายาหึงหวง มันก็เป็นคนนอนหลับยาก ยิ่งมีอายุมากเข้ามันก็รู้สึกรุนแรงมาก จนเป็นคนนอนหลับยาก และก็ตายเข้าโรง มันก็ไม่ได้พบกับจิตชนิดที่มันเกลี้ยง จิตชนิดที่ไม่รักไม่โกรธ ไม่เกียจไม่กลัว ไม่วิตกกังวน ไม่อาไรอาวอน ไม่อิจฉาริษยา ไม่ห่วงอะไรต่าง ๆ ไม่ ไม่เคยพบ ตรงนี้จะต้องดูให้ดีว่า เราเรียนพระพุทธศาสนาทำไม เรียนธรรมะทำไม เพราะเราไม่เคยพบกับจิตที่เกลี้ยงที่ว่างที่เย็นที่อิสระ เราพบแต่จิตชนิดอย่างนี้ ว่ารัก โกรธเกียจ กลัวเร้าร้อน สกปรก และก็มืดมัวไป เป็นกิเลส เป็นทาสของสิ่งที่มากระทบ ถ้ามันมากระทบให้รักอย่างเป็นทาสให้เป็นของรัก ถ้ามันมากระทบให้โกรธให้กลัวมันก็เป็นทาสของจะโกรธจะกลัว มันปลดออกไปไม่ได้ มันก็จะตกเป็นทาส นี้มันจึงเป็นทาส

หน้าที่ 4 – แบบอริยะเจ้าหรือพระพุทธเจ้า
ของสิ่งที่ทำให้รักโกรธ เกียจ กลัว วิตกกังวน อาไรอาวอน ไม่มี อิสรภาพ ไม่มีเสรีภาพ จิตตกเป็นทาส ของสิ่งเหล่านั้น จะมีความทุกข์อยู่เสมอ ที่พูดเสรีภาพทางการเมืองนั้น เสรีภาพสมมุติกับเสรีภาพ ทางเอกราชทางการเมือง นั้นมันเสรีภาพทางด้านนอก และก็เป็นเรื่องที่ว่าเอาเอง ส่วนที่เป็นทาสอย่างยิ่งอยู่ภายใน เป็นทาสของกิเลส นั้นไม่รู้จักจะเอากันอย่างไร จะเอากันอย่างนั้นต่อไปก็ได้จนตายเข้าโรงก็ได้ ก็เป็นคนธรรมเรียกว่าเป็นบุพชน ถ้าจะไปเป็นคนลืมหูลืมตา

ตามแบบอริยะเจ้าหรือพระพุทธเจ้า แล้วมันต้องศึกษากันใหม่ ศึกษาจนรู้ว่าเดี๋ยวนี้มันอยู่ในลักษณะที่ตรงกันข้ามหมด มีจิตใจเร้าร้อนด้วยความทุกข์ มีจิตใจมืดมัวด้วย อวิชชา มีจิตใจสกปรกด้วยกิเลส ไปเป็นท่านเพราะการยึดมั่น ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ มันเป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งที่มันจะเกิดมาสวย เกิดมารวย เกิดมาเป็นอย่างไรก็ตาม มันก็มีสมบัติเหมือนกับแข่งกับพวกเทวดาได้ มันก็มีจิตเป็นอย่างนี้ ไปดูคนธรรมดาเถอะ มันก็ยังมีรัก โกรธ เกียจ กลัววิตกกังวล อาลัยอาวอน อิจฉาริษยาอย่างนี้ มันก็มีจิตใจที่เร้าร้อน มืดหม่น เป็นทาสของอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ แล้วมันก็ได้ทะเลาะวิวาท ฆ่าฟันกัน เพราะเหตุอย่างนี้ อันธพาลทั้งหลายที่มัน อันธพาลเลวร้าย เพราะมันหลงในสิ่งเหล่านี้ หรืออันธพาลครอบโลกรบกันระหว่างโลกระหว่างชาติ เพราะว่ามันหลงในการที่จะได้สิ่งเหล่านี้ เป็นของตนเสียหมดทั้งโลก นั้นแหละความโง่ของตนทำให้เกิดผลร้าย และก็ทำให้โลกนี้ปั่นป่วนวิปริต ไปทั้งโลก และเราก็อยู่ในโลกชนิดนั้น โดยไม่ต้องรู้สึกสำนึก โดยไม่มีความคิด ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้พ้นออกมา จากโลกชนิดนั้น ที่นี้ถ้าใครต้องการให้พ้นออกมา เสียโลกชนิดนั้น แล้วจะเกิดความต้องการความรู้ของพระพุทธเจ้า จะแสวงหาธรรมะ ซึ่งเป็นการตรัสรูของพระพุทธเจ้า จะแสวงหาธรรมะ ซึ่งเป็นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามาศึกษา มาทำจิตใจกันเสียใหม่ อย่าให้มันเลวร้ายถึงขนาดนั้นอย่างให้มันโง่ร้ายถึงขนาดนั้น อย่างให้มันเป็นทุกข์เสียขนาดนั้น อย่าให้มันเร้าร้อนถึงขนาดนั้น อย่าให้มันมืดมัวถึงขนาดนั้น ถ้าเป็นชีวิตที่อิสระจะเบาสบาย เดี๋ยวนี้มันรู้จักแต่ทางข้างนอก เรื่องเสรีภาพอย่างโลก ๆ แต่ให้ความเป็นทาสเลวร้ายข้างใน มันไม่สนใจเลย จะเสรีภาพอะไรสักนิดกันก็ใหญ่โตเป็นวักเป็นเวรมันสงวนสิทธิมนุษย์ชนเหล่านี้เป็นต้น ทั้งที่ไม่ได้ดูตัวเองเลยว่าไม่มีเสรีภาพอะไรเลยแม้แต่สักนิดเดียว ถ้าต้องการที่จะได้เสรีภาพ หรือชีวิตที่สงบเย็นเป็นอิสระหรือเป็นชีวิตที่เบาสบาย จะต้องคำนึงถึงพระพุทธเจ้าและก็ต้องวิ่งไปหาความรู้ของพระพุทธเจ้า ผู้เกิดกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน เป็นอยู่กลางดิน ตายกลางดินนั้น ที่เคยถูกคนจำนวนหนึ่ง ว่า ว่าไร้สาระ ดูถูกการศึกษาในธรรมะ ของพุทธศาสนาเราว่าไร้สาระ ไปเรียนในมหาลัยไปเรียนเมืองนอกเมืองนาไปเรียนอะไรกันอย่างนั้น วิเศษประเสริฐที่สุดยิ่งกว่าสิ่งใด ถ้ามันมารู้เห็นผลสุดท้ายว่า การศึกษาแบบโลก ๆ นั้นมันไม่มีอะไร นอกจากให้มันไปเพิ่มโง่ ลึกให้มันทุกข์ขึ้นไปอีก และก็ทำให้เสียอิสรภาพ มีชีวิตอยู่นั้นระดับนั้นเป็นภาระหนักของชีวิตเป็นชีวิตที่เป็นภาระหนัก หนักไปด้วยทุกสิ่ง อย่าง แม้จะเป็นอยู่ด้วยร่างกาย ด้วยตัวเองนี้ก็เป็นภาระหนัก ทรัพย์สมบัติ ข้าวของ บุตรภรรยาสามี ทุกอย่างเป็นภาระหนักเป็นของหนัก เกี่ยวกับสังคมก็เป็นภาระหนัก ทุกอย่างเป็นภาระหนัก สามารถปลดปลงภาระหนักนี้ ให้ลดลง ๆน้อยลง ๆ จนไม่หนักจนเบา ให้เป็นประโยชน์ที่สุดแล้วมันจะไม่หนักมันจะเบา นั้นแหละเขาเรียกว่ามนุษย์ที่เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ที่ไม่มีทุกข์เลย และก็เป็นคนที่มีประโยชน์ที่สุด คือพระอรหันต์ ตรงกันข้ามกับบุพชน ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เป็นชีวิตที่แบกภาระหนัก แล้วก็ชวนกันหลงอยู่ในภาระอย่างนั้นเป็นเรื่องของจมอยู่ในกองทุกข์ จมอยู่ในวัตสงสาร มันคืออย่างนั้น อย่าไปดูถูกคำว่าวัตสงสาร มันคืออย่างกิเลสและความทุกข์ โดยที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร

หน้าที่ 5 – วัฎสงสารกิเลสความทุกข์
ถ้าคุณไปรู้เรื่องวัฎสงสารกิเลสความทุกข์กันอย่างดี แล้วจะรู้สึกเป็นภาระหน้าที่กันทันทีเลย ที่จะศึกษาขจัดสิ่งนี้ออกไปเสีย ให้มันไม่มีชีวิตที่เวียนว่ายอยู่ในวัตสงสารคือความทุกข์ชนิดที่ว่ามาแหละ มีชีวิตใหม่มีจิตใจใหม่อย่างที่กล่าวมาแล้วมันไม่มืดด้วยความโง่ มันไม่ร้อนด้วยความทุกข์ มันไม่สกปรกด้วยกิเลส และมันก็ไม่เป็นทาสของสิ่งใด ๆ โดยการยึดมั่นถือมั่นก็จะเป็นอย่างไรจิตใจชนิดนี้จะเป็นอย่างไรขอให้ลองคิดดู ถ้าว่าทุกคนเป็นไปได้อย่างนี้โลกนี้จะเป็นอย่างไรมันก็มีแต่ความทุกข์เท่านั้นเองแต่ไม่รู้จักคำว่าความทุกข์ ความทุกข์เกิดมาจากการยึดมั่นถือมั่น

เป็นตัวตนบ้างเป็นของอื่นบ้างถ้าเดือดจัดขึ้นมาก็เป็นตัวกูบ้างเป็นของกูบ้าง ความรู้สึกอะไรที่มันมีความหมายมีลักษณะเป็นตัวกูเป็นของกูดูว่ามันหนักเท่าไร มันร้อนเท่าไร มันสกปรกเท่าไร มันร้อนร้นเท่าไรก็ขอให้ดูกันดี ๆ ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นอย่างนั้น นี้คือตัวธรรมะตัวพุทธศาสนาที่จะทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นอย่างนั้น จึงเป็นชีวิตที่ไม่มีความหนักความร้อนไม่มีความมืดไม่มีความสกปรก ไม่มีความเป็นทาสของสิ่งใด มีแต่อิสระเสรี ถ้าจะเรียนกันก็ควรเรียนเรื่องนี้ ถ้าจะสอนกันก็ควรจะสอนเรื่องนี้ พระพุทธเจ่าท่านทรงตรัสอย่างนี้ถ้าเราจะเรียนอะไรกันบ้างก็ควรเรียนเรื่องนี้ เรื่องออกมาจากความทุกข์ เดี๋ยวนี้เราเรียนเพ้อเจ้อมันไม่เข้ามาในวงของการขจัดความทุกข์เหล่านี้ โลกนี้ก็เต็มไปด้วยปัญหา มีแต่ความทุกข์ จนดู ๆ เป็นของธรรมดาไปเสียหมด หรือเป็นทุกข์เหมือนกันไปหมด เป็นทาสเหมือนกันไปหมด มีกิเลสเหมือนกันไปหมดจนไม่รู้จักจะไประอายใคร ถ้าจะคิดว่าเกิดมาทีจะไม่เสียชาติเกิด จะต้องได้สิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้ และก็ควรศึกษากันเสียใหม่ มีการศึกษาให้รู้ทั้ง ๒ ทาง ทั้ง ๒ ฝ่าย ก็เลือกเอาฝ่ายที่มีอิสระหรือหลุดพ้น คำว่าหลุดพ้นไม่ใช่คำพูดของคนโง่ ที่เด็กสมัยนี้จะเอาไปล่อเล่น มันเป็นคำที่มีความหมายของมนุษย์ที่มีปัญญามากที่สุด ที่จะทำให้ชีวิตจิตใจให้มันหลุดพ้น จากการบีบบังคับของสิ่งที่เรียกว่ากิเลสหรือสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ เดี๋ยวจะดีเกินไปเสียอีกถ้าไม่ความทุกข์ เพราะหลาย ๆ คนยังชอบความทุกข์ยังชอบสนุก ชอบการร้องไห้ มันเป็นคนบ้าชนิดหนึ่ง เป็นความบ้าทางจิตใจ ทางกามอารมณ์ชนิดนั้นแล้วต้องมี มันยังชอบความทุกข์อยากจะอยู่ด้วยความทุกข์ ไม่อยากจะหมดจดจากทุกข์ อย่างนี้ก็มี เพราะมันไม่รู้ว่าความทุกข์มันเป็นอย่างไร ถ้าว่าเอากันถึงขนากที่พระพุทธศาสนาต้องการ และก็ต้องไม่เป็นทุกข์ เราต้องไม่เป็นทุกข์ และเป็นคนมีประโยชน์ที่สุด ให้ทุกคนไปคิดเอาเอง ว่าทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์ และมีประโยชน์ที่สุด ไปคิดเอาเองไม่ต้องไปพึ่งพระพุทธเจ้า ไม่ต้องไปหาพระพุทธเจ้า ไม่ได้ไปพึ่งคำสอนพระพุทธเจ้า ทุกคนไปคิดเอาเองว่าทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นทุกข์และมีประโยชน์ที่สุดนั้นแหละถูกแล้ว น่าจะตรงตามที่พระพุทธเจ้าประสงค์ ตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน ก็จะช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ อย่าให้ชีวิตนี้มันมีความทุกเลย และพร้อมกันนั้นก็มีการทำประโยชน์เป็นประโยชน์แก่คนและทุกฝ่าย ที่นี้ก็มาพูดถึงตัวพระพุทธศาสนาตัวธรรมะว่าทำอย่างไร ถึงจะไม่เป็นทุกข์เลย ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นทุกข์เลย นี้ข้อแรกจะอยู่อย่างมีประโยชน์ที่สุดนั้นไม่ว่าที่หลัง ความสุขเกิดมาจากความโง่ กันข้อแรกโง่เป็นลำดับมา จนเป็นที่ยึดมั่นถือมั่นหมายมั่น ของตัวตนเป็นของตนก็ต้องเป็นทุกข์เหมือนกับในตัวของเด็กทารกที่เล่ากันมาแล้ว ที่เกิดมาจากท้องแม่ไม่มีความทุกข์ไม่เป็นจนกว่าเด็กคนนั้นจะเที่ยวไปสัมผัสทางตาหู จมูก ลิ้น ทางใจ รู้จักของอร่อยไม่อร่อย พอใจและหลงใหล ในสิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นทุกข์ ต้องอาศัยความโง่หรือวิชามากถึงขนาดนั้นจึงจะเป็นความทุกข์จะพูดโดยหลักสักนิดหนึ่ง ก็ได้ จะฟังหรือไม่ฟัง เข้าใจหรือไม่เข้าใจ ไม่ทราบว่าเรามี ตา หู จมูก ลิ้น กายใจนี้ดู ถ้าไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กายใจ นี้มันก็จะไม่มีความรู้สึกอะไร เหมือนกับว่าโลกนี้มันก็ไม่มีเท่านั้นแหละ

หน้าที่ 6 – วิปัสสนากรรมฐาน
มันก็เหมือนว่าโลกนี้มันไม่มีถ้าคนเราไม่มี ตา จมูก หู ลิ้น กายใจ สำหรับการรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ เพราะเรามี ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มันก็จะมีสิ่งที่มากระทบ ออกมารู้แจ้งว่าอะไรเป็นอะไร รู้แจ้งทางตา รู้แจ้งทางหู รู้แจ้งทางจมูก รู้แจ้งทางลิ้น ทางการทางใจว่าเป็นอะไร ที่เรียกว่าวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะการกระทบทางข้างนอกคือ รูป รส กลิ่น เสียง มันเข้ากันเป็นคู่ ๆ เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก ทางลิ้นทางกายนี้

ขณะที่สัมผัสอยู่ทางตานั้น คนนั้นหรือสัตว์นั้นมันไม่มีความเรื่องอะไรเลย มันก็หลงไปตามสัมผัสนั้น มันเป็นสัมผัสที่ไม่มีสติปัญญา เพราะมันไม่ได้ศึกษาตั้งแต่อยู่ในท้อง เพราะมันไม่ได้ศึกษาเลย มันก็ปล่อยไปตามความไม่รู้ มันก็คือเวทนา ที่จะทำให้รู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ หรือเฉย ๆ นี้ก็เรียกว่าเวทนาด้วยเหมือนเวทนาโง่ เวทนาที่ไม่มีสติปัญญา เวทนานี้ มันทำให้เกิดความอยากโง่ ถ้าเป็นที่น่าพอใจมันก็อยากเอาอยากมีอยากได้ อยากเป็น ถ้าไม่เป็นที่น่าพอใจ มันก็อยากจะฆ่าเสีย มันก็อยากจะทำลายเสีย อยากจะไม่มีอะไรก็ตาม นี้ก็ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู และก็มันหนักในปัญญาตัวกูของกู ทนทุกข์ทรมานอยู่ในสิ่งนั้น ขยายความออกไปว่ามันมีอุปทาน ว่าตัวตนว่าของตน อยากได้มาเป็นของตนมีความคิดความในจิตชนนิดนี้ ก็เรียกว่าเป็นคนขึ้นมาแล้ว ด้วยความคิดเท่านั้นแหละไอ้ว่าภพไอ้ว่าชาติด้วยความคิด เมื่อรู้สึกว่าตัวตนขึ้นมาอะไรก็เป็นของตน ในสิ่งที่ตนพอใจ ส่วนที่ไม่พอใจก็อยากจะฆ่ามันไปเสียทำลายไปเสีย ส่วนต่าง ๆที่อยู่ตามธรรมชาติเอามาเป็นของตน เช่นการเกิด การแก่ การเจ็บ การตายเป็นต้น ของธรรมชาติก็เอามาเป็นของตน จนเป็นทุกข์เกิดขึ้นมา เพราะมีการยึดถือว่าตัวตน ถ้าจะให้ไม่มีความทุกข์เลย ต้องไม่มีการยึดถืออย่างนี้ ทำอย่างไรถึงจะไม่มี นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนเท่านั้น ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ วิญญาณ รู้เท่าทันอัสสะ อย่าให้อัสสะมันโง่ ให้มีสติสัมปชัญญะ อันนี้เป็นเหตุที่ทำให้เราศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ฝึกให้มีสติให้มีวิชาไว้มาก ๆ ให้มาทันเวลาที่มีอัสสะ อัสสะฉลาดแล้ว เวทนาก็จะฉลาดมันก็ไม่เกิดความอยาก ตัณหามันก็ไม่เกิด อุปทานไม่เกิดตัวกูของกูมันก็ไม่มีความทุกข์เพราะมันเดินคนละทาง ทางหนึ่งมันเดินไปด้วยความโง่มันก็มีแต่ความทุกข์ ทางหนึ่งด้วยปัญญา ความฉลาดมันก็ไม่เป็นทุกข์ มันก็มีแค่นี้ จะทำได้หรือไม่ได้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คนโดยมากไม่ต้องการ เพราะอยากอยู่กับความทุกข์ อยากแลกเอาด้วยความทุกข์ แลกเอาอร่อยกับความทุกข์ อย่างที่เป็น ๆ กันอยู่ โดยไม่ต้องพูด อยากแลกไอ้สิ่งที่น่ารักน่าพอใจ ด้วยความทนทุกข์ มันก็เป็นอย่างนี้กันทั้งโลก ถ้าไม่ต้องการอยากเป็นทุกข์ มันก็ต้องทำกันอย่างตรงกันข้าม ทำอย่างพระพุทธเจ้าแหละ ทำให้ตรงตามความรู้ ขึ้นมานั่งกลางดินในธรรมชาติ ก็จะรู้เอาชนะความทุกข์ได้ ถ้าปฏิบัติตามนี้ก็จะไม่มีความทุกข์เลย จนกว่าจะตาย ไอ้ที่ทนทุกข์มาแล้วรุ่นหลัง ที่เป็นเด็กโง่ ๆ มาจนบัดนี้มันก็เป็นทุกข์ เพราะมันไม่รู้ แต่ต่อไปนี้มันจะรู้ และมันก็จะไม่เป็นทุกข์ยิ่งขึ้น และก็จะไม่เป็นสุขเลยตลอดชีวิต รู้จักการดำรงชีวิต ที่ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น ดำรงชีวิตไว้ทางสายกลาง คำว่าสายกลางนี้มันก็เหมือนกัน ไม่ใช่เป็นคำที่เอาไว้หัวเราะเยาะกันเล่น เป็นของวัดวาอารามฉันไม่ต้องการไอ้สายกลาง เพราะมันรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอย่างไร มันก็ไม่หลงรักหลงเกียจ ทางสายกลางอย่างนี้ คุณก็คงไม่เคยได้ยิน อย่างนี้มาก็ได้ แต่จับใจความให้ถูกนะ มันชอบอย่างนั้น มันชอบความทุกข์อย่างนั้น ก็มีอุปมาอีกคือความทุกข์ เปียกเราเรียกกามอารมณ์ว่า เปียก เป็นการทนทรมานทุกข์อย่างไหม้เกรียม อย่าให้เปียกและอย่าให้ไหม้เกรียม นั้นแหละคือให้มันอยู่ตรงกลาง พูดอย่างนี้ ฟังอย่างธรรมดา ๆ ง่าย ๆ อย่างนี้ดีกว่า ได้อยู่ตรงกลางระหว่างกลาง พูดทางวิทยาศาสตร์สักหน่อยว่า ไม่โพทีป แต่เป็นเน็กทีป แต่อยู่ตรงกลาง ไม่เป็นความรัก

หน้าที่ 7 – จิตมันไม่มีความทุกข์เลย เป็นอิสระเป็นพระอรหันต์
ไม่เป็นความชังอย่างนี้ ที่เรียกว่าผู้ตรงกันข้าม เช่นว่าแพ้กับชนะ เป็นคำคู่ เราไม่อยู่แพ้หรือชนะ แต่อยู่ตรงกลาง คำว่าขาดทุนหรือกำไลนี้ ก็เป็นคำคู่อีกคู่หนึ่ง เราไม่ขาดทุนหรือกำไร แต่เราอยู่ตรงกลาง จนกระทั่งระเอียดสูงสุดขึ้นไปว่าไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เอาทั้งดีและก็ไม่เอาทั้งชั่ว คืออยู่ตรงกลาง คือไม่สุขไม่ทุกแต่อยู่ตรงกลาง ไม่บุญไม่บาปแต่อยู่ตรงกลาง คือไม่ยึดมั่นถือมั่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้มันเป็นตัวตนขึ้นมา มีจิตใจอยู่ตรงกลางนี้ เขาเรียกว่ามีจิตมันว่าง ความดับทุกข์มันเข้าถึงความว่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ๆ โดยความเป็นของตน เรื่องมันมีอยู่อย่างนี้ จะทำได้หรือไม่ได้ จะชอบหรือไม่ชอบ แต่แล้วมันก็น่าหัวที่จะลงทุนศึกษาพระพุทธศาสนากันทำไม แล้วข้างที่อยู่ในระดับที่ว่าชอบ ชอบดีไม่ชอบชั่ว แต่ชอบดีก็แบกดีไป จนกว่าไม่เอาทั่งชั่วทั่งดี มันจะอยู่ตรงกลาง ถึงจะไม่เป็นทุกข์เลย ถ้ายังไปเกี่ยวข้องทั้งชั่วและดีอยู่ มันก็จะเป็นทุกข์ ไปตามแบบของมัน จะไม่เป็นทุกข์เลยนั้นจะต้องอยู่เหนือความหมายที่เป็นคู่ ๆ เหล่านี้หมด คือไม่ได้ไม่เสีย ไม่แพ้ ไม่ชนะ ไม่ขาดทุน ไม่กำไร ไม่ดีไม่ชั่วไม่บุญไม่บาป ไม่สุขไม่ทุกข์ กระทั่งว่าไม่มีความเป็นหญิงไม่มีความเป็นชาย เหล่านี้ทั้งหมดเลยทุกคู่ทุกคู่ นี้เรียกว่าจิตมันไม่มีความทุกข์เลย เป็นอิสระเป็นพระอรหันต์ มันมากเกินไปลงมาเป็นชาวบ้าน แต่ขอให้มีความทุกข์น้อยมีสติสมบูรณ์ไม่หลงรักหลงเกียจแค่นั้นก็พอ มันจะมีความทุกข์น้อย มีสติคอยระวังตนเสมอ ไม่หลงรักในสิ่งที่ยั่วให้รัก ไม่หลงเกลียด ในสิ่งที่ยั่วให้เกลียด ไม่โกรธไม่กลัวไม่ทุกข์เลยมันก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง ข้อนี้มันหมายความว่าผู้ที่ไม่มีอุปทาน คือไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นของตนและไม่เห็นแก่ตัวเดี๋ยวนี้เรากำลังมีจิตที่เห็นแก่ตัว หรือรักในสิ่งที่ได้มาเป็นประโยชน์ของตน

ที่ว่ารักชาติโกหกกันทั้งนั้นแหละ มันหวังเอาชาติเป็นประโยชน์ของตัวมัน จึงได้รักชาติ มันไม่ได้รักโดยแท้จริง มันไม่ได้รักพ่อแม่อะไรโดยแท้จริง มันหวังเพื่อประโยชน์สิ่งนั้น มันจึงรัก เพราะมันมีความเห็นแก่ตัว จิตใจมันเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว พอไม่มีความเห็นแก่ตัวนี้ซิมันจึงจะรักจริง เพราะมันไม่มีความเห็นแก่ตัว มันจึงรักคนอื่นได้ รักบิดามารดาได้ และก็จะรักได้ทั้งหมดแหละ เมื่อมันรักผู้อื่นได้อย่างอัตโนมัติ อย่างนี้มันก็จะทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่ต้องสงสัย มันจะเคลื่อนไหวในทางที่เป็นประโยชน์ตนเองหรือประโยชน์ผู้อื่น เพราะมันไม่มีความเห็นแก่ตัว ไอ้คนเห็นแก่ตัวมันยังคิดว่านอนเสียดีกว่า จะไปทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นให้เหนื่อยทำไม คนขี้เกียจนี้เป็นเรื่องขิงคนที่เห็นแก่ตัว ถ้ามันไม่เห็นแก่ตัวมันก็สนุก ในการทำงานที่เป็นประโยชน์ นั้นก็ทำประโยชน์ทุกเวลานาที ตัวเองไม่มีความสุข ก็เป็นประโยชน์แก่ทุกคนทุกฝ่าย เรื่องมันก็จบ ถ้าพูดอย่างอย่างคายเพื่อให้มันประหยัดเวลา พูดสั้น ๆ ตรง ๆ ถ้าพูดอย่างเทศน์ อย่างธรรมะ หรือพูดกันอย่างอื่น เดี๋ยวนี้ต้องพูดเพื่อประหยัดเวลา เพราะมันมีเวลาน้อย ก็เพราะว่าท่านทั้งหลาย เห็นว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ไม่อยากให้เสียเวลา จัดเวลาให้ศึกษาธรรมะนิดเดียวแหละ ไปจัดเวลาอย่างอื่นเสียมากกว่า มันจึงต้องพูดลัดพูดสั้นอะไรกันบ้าง เดี๋ยวนี้มานั่งกลางดิน ก็เพราะว่าธรรมะมันเกิดมาจากดิน พระพุทธเจ้าท่านก็นั่งกลางดิน และก็รู้เรื่องทุกข์ เรื่องที่มันเกี่ยวกับธรรมชาติ ท่านก็มาศึกษาเรื่องธรรมชาติ เรื่องกฎของธรรมชาติ เรื่องหน้าที่ของธรรมชาติ เรื่องผลเกิดจากหน้าที่ ที่นี้คงจะชอบดินกันบ้าง ชอบนั่งกลางดินกันบ้าง ดินมันจะได้พูดกลอกหู ให้ฟังว่า อย่าหลงใหลกันไปมากนัก อย่าโลภมากนัก อย่าโกรธมากนัก แผ่นดินมันจะพูดอย่างนั้น ต้นไม้จะพูดอย่างนั้น ก้อนหินจะพูดอย่างนั้น แต่พอไปสถานเริงรม กลับไม่มีใครพูดอย่างนี้ มันพูดให้หลงใหลมากขึ้น เมื่อชอบธรรมชาติคือชอบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ที่เอาเนื้อตัวของเราเป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ เป็นหน้าที่ของธรรมชาติ เป็นผลของธรรมชาติ ทั้งเนื้อทั้งตัวมันมีอยู่ ๔ อย่าง นี้มันก็จะเจริญงอกงามเต็มที่ เลือดเนื้อโลหิตนี้ก็เป็นธรรมชาติ

หน้าที่ 8 – ความเห็นแก่ตัว
และกฎธรรมชาติที่ว่า อวัยวะนั้นต้องทำอย่างนั้น อวัยวะนี้ต้องทำอย่างนี้ อวัยวะนี้ต้องหดเท่านี้ต้องขยายเท่านี้ มันเป็นกฎของธรรมชาติ ที่นี้มันก็มีการทำหน้าที่ของอวัยวะทุกอวัยวะทั้งหมดของคนนี้ คือหน้าที่ของธรรมชาติ ก็จะไม่มีความทุกข์ ถูกต้องแล้วไม่มีความทุกข์ มีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์เลย และก็เป็นประโยชน์ มากที่สุด เพราะว่าจิตมันสูงขึ้นมาขนาดนี้แล้วมันไม่มีความเห็นแก่ตัว จึงเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เป็นศัตรูร้ายกาจที่สุดของมนุษย์

ไอ้ความเห็นแก่ตัว มันก็จะเห็นแก่ผู้อื่นโดยอัตโนมัติเอง ความเห็นแก่ตัวมันรัดไว้มันดึงไว้ ไม่ให้เห็นแก่ผู้อื่น พอความเห็นแก่ตัว มันหมดไปมันก็เห็นแก่ผู้อื่นโดยอัตโนมัติ มันก็จะทำประโยชน์ให้แก่กันและกัน อยากจะพูดว่าสันชาติญาณบ้างอย่าง ที่มันถูกต้องอย่างนี้ มันก็ต้องการจะช่วยผู้อื่น แต่สันชาติญาณนั้น เต็มไปด้วยกิเลส มันก็จะไม่ทำตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่าสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เดียรฉานนี้ มีการช่วยซึ่งกันและกัน สัตว์เดียรฉานมีการยึดมั่นถือมั่นน้อย เพราะมันโง่มันยึดถือไม่เป็น ดังนี้มันจึงมีความเห็นแก่ตัวน้อย ถ้าไก่ตัวหนึ่งมีเห็บตัวหนึ่ง เกาะหงอนมันก็จะให้ไก่ตัวอื่นจิก คุณไม่เคยเลี้ยงไก่ คุณไม่เคยเห็น แต่ที่นี้เราเห็นทุกวัน ไก่ทุกตัวจะไม่มีเห็บที่หงอน มันจิกเอาไม่ได้หลอก นอกจากจะมีไก่ตัวอื่นจะคอยจิกให้ แม้แต่สัตว์เดียรฉาน ที่มีความเห็นแก่ตัวน้อย มันก็ยังทำประโยชน์ ให้แก่ผู้อื่น ในขนาดนี้แหละ เรากำจัดศัตรูร้ายกาจที่สุดของมนุษย์คือความเห็นแก่ตัว โลกนี้ก็จะมีสันติภาพ อย่าให้สนใจสิทธิมนุษยชนอะไรกันให้มากนัก สนใจความเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว ให้มันมากขึ้นหน่อยเถอะ มันจะเข้ารูปเข้ารอยกับธรรมชาติ มันจะเป็นไปด้วยการสลายออกไปของกิเลส ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มันก็ไม่มีความสุข ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น อย่าไปสนุกไปเลย โลกนี้คือโลกที่อยู่ในเป้าหมาย เดี๋ยวนี้คนในโลกไม่มีเป้าหมายอย่างนี้ แม้แต่องกรสหประชาชาติ ก็ไม่เคยนึกอย่างนี้ แต่อย่าพูดมากไปเลย มันจะเป็นการกล่าวดูหมิ่นผู้อื่น พูดแต่เพียงว่าคนในโลกแม้แต่องค์กรที่มีปัญญามีอำนาจก็ไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้ มีแต่ทำลายความเห็นแก่ตัว ในจิตของมนุษย์ ให้หมดไปเสียจากโลก และก็ได้พูดมาพอสมควรแล้ว ตามโอกาสที่มี ก็ขอแสดงความยินดีที่ได้มานั่งกลางดินพูดกัน และขอบคุณทุกคนที่สนใจฟัง

http://www.vcharkarn.com/varticle/32372

. . . . . . .