คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ทรงคุ้นเคยมาทั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาโตเป็นผู้ไม่ปรารถนาลาภ ยศ สมณศักดิ์ใดๆ เมื่อเรียนรู้พระปริยัติมาแล้วก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญและไม่รับเป็นฐานานุกรม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ พระมหาโตได้ทูลขอตัวมิยอมรับตำแหน่ง หรือเลี่ยง โดยออกธุดงค์ไปตามวัดในชนบทห่างไกลทุกคราวไป จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอด จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาโตจึงยอมรับพระมหากรุณา

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี มีอัธยาศัยมักน้อยเป็นปกติ ลาภสักการะที่ได้มาในทางเทศนาก็นำไปสร้างสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนา จึงมีผู้นับถือศรัทธามาก บางคนเรียกท่านว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอย่างไรก็ทำตามความพอใจไม่ถือตามความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่

…หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ อายุ ๑๒ ปีแล้ว ก็เริ่มปฏิบัติธรรมทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ศึกษาค้นคว้าแตกฉานเร็วมากด้วยเหตุแห่งการสั่งสมบารมีมามากเป็นเอนกอนันตชาติ และทรงทราบว่าพระองค์มาจุติหรืออุบัติขึ้นเพื่อเจริญพระศาสนา จึงเร่งศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานแยกแยะความถูกต้องและผิดพลาดจากการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เร่งฝึกวิปัสสนาพระกรรมฐานความรู้แจ้งเห็นจริงก็ปรากฏขึ้นในดวงจิตที่มุ่งมั่นสะอาดและบริสุทธิ์ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ได้ตลอดทุกคัมภีร์ ได้เรียนคัมภีร์ปริยัติธรรมได้อย่างแตกฉาน ครั้นเดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ.๑๑๙๕ พ.ศ. ๒๓๔๐ เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลที่ ๑ สามเณรโตอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์

ด้วยความที่ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่พระพุทธศาสนิกชนกล่าวขวัญถึง ในชื่อ “สมเด็จฯโตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ที่มีความรอบรู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติ ความเป็นเลิศในการเทศนา ได้รับการยกย่องสรรเสริญในสติปัญญาและ ปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลม เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม โดยคติธรรมคำสอนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในการดำเนินชีวิต

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาตร เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีการไปเทศน์ก็ไปเทศน์ตามที่นิมนต์ไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้มีใครเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาการศึกษาเล่าเรียน เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกไปจากกุฏิหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใด ๆ ทั้งสิ้น

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
1. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
2. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
3. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐานดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเราเพื่อฝึกจิตรให้เข้มแข็ง

ทางแห่งความหลุดพ้น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้นใครประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสาวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำชำระร่างกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้จิตใจของมนุษย์เศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมแก่งแย่งความชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ทรงคุ้นเคยมาทั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาโตเป็นผู้ไม่ปรารถนาลาภ ยศ สมณศักดิ์ใดๆ เมื่อเรียนรู้พระปริยัติมาแล้วก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญและไม่รับเป็นฐานานุกรม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ พระมหาโตได้ทูลขอตัวมิยอมรับตำแหน่ง หรือเลี่ยง โดยออกธุดงค์ไปตามวัดในชนบทห่างไกลทุกคราวไป จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอด จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาโตจึงยอมรับพระมหากรุณา

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี มีอัธยาศัยมักน้อยเป็นปกติ ลาภสักการะที่ได้มาในทางเทศนาก็นำไปสร้างสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนา จึงมีผู้นับถือศรัทธามาก บางคนเรียกท่านว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอย่างไรก็ทำตามความพอใจไม่ถือตามความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่

…หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ อายุ ๑๒ ปีแล้ว ก็เริ่มปฏิบัติธรรมทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ศึกษาค้นคว้าแตกฉานเร็วมากด้วยเหตุแห่งการสั่งสมบารมีมามากเป็นเอนกอนันตชาติ และทรงทราบว่าพระองค์มาจุติหรืออุบัติขึ้นเพื่อเจริญพระศาสนา จึงเร่งศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานแยกแยะความถูกต้องและผิดพลาดจากการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เร่งฝึกวิปัสสนาพระกรรมฐานความรู้แจ้งเห็นจริงก็ปรากฏขึ้นในดวงจิตที่มุ่งมั่นสะอาดและบริสุทธิ์ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ได้ตลอดทุกคัมภีร์ ได้เรียนคัมภีร์ปริยัติธรรมได้อย่างแตกฉาน ครั้นเดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ.๑๑๙๕ พ.ศ. ๒๓๔๐ เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลที่ ๑ สามเณรโตอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ด้วยความที่ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่พระพุทธศาสนิกชนกล่าวขวัญถึง ในชื่อ “สมเด็จฯโตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ที่มีความรอบรู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติ ความเป็นเลิศในการเทศนา ได้รับการยกย่องสรรเสริญในสติปัญญาและ ปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลม เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม โดยคติธรรมคำสอนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในการดำเนินชีวิต

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาตร เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีการไปเทศน์ก็ไปเทศน์ตามที่นิมนต์ไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้มีใครเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาการศึกษาเล่าเรียน เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกไปจากกุฏิหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใด ๆ ทั้งสิ้น

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
1. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
2. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
3. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐานดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเราเพื่อฝึกจิตรให้เข้มแข็ง

ทางแห่งความหลุดพ้น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้นใครประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสาวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำชำระร่างกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้จิตใจของมนุษย์เศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมแก่งแย่งความชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

แต่งใจ

ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้… ใจของเราละ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางานให้กายแท้ ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโต เป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ

กรรมลิขิต

เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างศัตรูบ้างแต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่ ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

นักบุญ

การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฎฐิมานะทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเขาสร้างโบสถ์เป็นหลัง ๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอบุญบังหน้าในการเสวยสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข

ดังนั้นบุญที่เขาทำมานี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้นจึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เราเป็นคนตระหนี่ รูจักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

อย่าเอาเปรียบเทวดา

ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์เรารู้ว่าสิ่งทีเราทำนี้เป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง กรทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ทุกคนจงอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์ แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใคร และของเรื่องราวนั้น ๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตน ๆ นั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

บุญบริสุทธิ์

การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้นก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิ์เป็นขั้นที่หนึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากมนุษย์โลกไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้หำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

สั่งสมบารมี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้นเป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

เมตตาบารมี

การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้แต่สักว่าให้เขาท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่า ไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนานั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

แผ่เมตตาจิต

ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรมหรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ทุกคนก็จะไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

อานิสงส์การแผ่เมตตา

ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไปเมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคนเมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขา ๆ ก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุก ๆ วัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุก ๆ ดวง ดวงวิญญาณทุก ๆ ดวง ย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้วคือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

ประโยชน์จากการฝึกจิต

ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่าง ๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่าง ๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่าง ๆ จะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม
(คัดลอกจากหนังสือเรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี)

แปลคติธรรมในท่านั่ง

จากท่านั่งของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่กำมือไว้ทั้งสองไว้ระหว่างอกนั้น เป็นการสร้างปริศนาให้ทุกท่านที่มีความเคารพและศรัทธา ในองค์ท่านได้ขบคิดปริศนาธรรม ทำไม่ท่านทำท่าเช่นนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปริศนาธรรมนี้ มีความหมาย 2 ประการ สองมือที่กำซ้อนกันอยู่นั้น หมายถึงกรรม 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว การที่ท่านยกขึ้นไว้ใกล้กับหัวใจนั้น หมายถึง ใจเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้นการกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ต้องใคร่ครวญเสียก่อนว่า ที่จะทำ จะพูด จะคิดนั้น ถูกหรือผิด จะดีหรือจะชั่วต้องมีสติอย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตได้คิดและใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อน แล้วจึงกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและสมควร

คติธรรมที่ท่านประทานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สาธุชนผู้นำไปปฏิบัติ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม

คติธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี

“ ลูกเอ๋ยบุญเจ้าไม่สร้าง แล้วใครจะช่วยเจ้า ”

“ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยไปขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนล้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดิน จะช่วยเอง… ”

“จงจำไว้นะ… เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลาทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”

ขอขอบคุณ : http://www.watsatue.com/view_article.php?token=f08aea08ea4f03fe6772d7838e62dd90

. . . . . . .