การศึกษาและการรับปริญญาพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

การศึกษาและการรับปริญญาพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – การศึกษาและการรับปริญญา
ท่านที่เป็นครูบาอาจารย์ นักเรียน นักศึกษาทั้งหลาย ขอแสดงความยินดีที่ให้การขวนขวาย เพื่อมาสู่สถานที่นี้ เพื่อศึกษาสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ เลยคิดว่า จะพูดเรื่อง การศึกษาเกี่ยวกับการรับปริญญา พูดกันให้ชัดเจน ให้ถี่ถ้วน สักครั้งหนึ่ง แยกพูดเป็น 2 เรื่อง คือ การศึกษาและการรับปริญญา ในพระพุทธศาสนา

พูดอย่างนี้ก็แปลกสำหรับคนทั่วไป อาจจะคิดไปในทางที่ว่าแกล้งพูด โยกโย่ ที่เขาบอกว่าเป็นการพูดตรงตามเรื่องที่มีอยู่ในพระบาลี คือมีทั้งการศึกษาและมีทั้งการรับปริญญา หมายความว่า บุคคลศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาครบถ้วนแล้ว ปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว ก็มีการรับปริญญา ยิ่งถ้าไม่ค่อยได้ฟัง ก็จะบอกว่า ให้ฟัง บอกให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่า พระภิกษุทั้งหลาย ปริญญามีอยู่ 3 อย่าง 3 อย่าง คืออะไร 3 อย่างคือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

นี้คือ ปริญญา 3 โดยท้าวเงื่อนก็พอจะมองเห็นแล้วว่า เมื่อได้ศึกษาในศีลสิกขา จิตตะสิกขา ปัญญาสิกขา ถึงที่สุดด้วยการปฏิบัติ เพราะคำว่าสิกขาหรือศึกษาแนวทางธรรมะทั้งหลายต่าง ๆ โดยการปฏิบัติเป็นตัวการศึกษา เมื่อศึกษาศีล สมาธิ ปัญญา ครบถ้วนแล้ว ถึงจะมีผลแห่งการปฏิบัติ คือ ความสิ้นไฟแห่งราคะ ความสิ้นไฟแห่งโทสะ ความสิ้นไฟแห่งโมหะ ที่เรียกว่า ปริญญานั่นเอง ขอให้ทราบท้าวเงื่อนโดยย่อของเรื่องอย่างนี้ก่อน เห็นว่าควรเอามาพูดสำหรับนักศึกษา ครูบาอาจารย์ ที่มีการศึกษาและมีการรับปริญญา ทีนี้ก็จะรู้ว่า น่าจะมีชื่อเรียกเหมือนกัน แต่ตัวจริงนั้นไม่ได้เหมือนกัน เรื่องการศึกษาของชาวโลกก็เป็นอย่างหนึ่ง การศึกษาทางธรรมะในพระพุทธศาสนาก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง การรับปริญญา แผ่นการกระดาษที่รับกันตามแบบชาวโลกนั่นมันก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง การรับปริญญาทางธรรมในพระพุทธศาสนาก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และเราจะได้เปรียบเทียบกันดู จะพูดถึงคำว่าการศึกษาก่อน ที่ท่านทั้งหลายศึกษากันในชั้นต้น ก็เรียนหนังสือ เรียนอักษรศาสตร์ แล้วก็เรียนวิชาชีพโดยเฉพาะ เฉพาะวิชา เมื่อจบการศึกษาก็จะได้รับปริญญา การศึกษานี้มันก็มีแต่เรื่องเรียนหนังสือ แล้วก็เรียนวิชาชีพ แล้วมันก็จบ ส่วนการศึกษาในทางธรรมะนั้น ให้ถือเอาคำพูดคำนี้เป็นหลัก คือคำว่า สิกขา ในภาษาบาลี หรือว่าศึกษาในภาษาสันสกฤต หรือว่าศึกษาในภาษาไทย ออกเสียงเพี้ยนกันบ้าง แต่เป็นคำเดียวกัน เอาคำบาลีเป็นหลักว่า สิกขา แล้วคำว่าสิกขานี้ประกอบขึ้นด้วยคำ สะ กับ อิจถะ สะ คำหนึ่ง อิจถะ คำหนึ่ง สะ แปลว่า เอง เอง เองในทุกความหมาย คำว่าอิทถะ อิทถะนี่แปลว่า เห็น ที่นี้รวมกันเป็น สิกขา สะ อิทถะ รวมกันเป็นสิกขะ ออกเสียงเป็น สิกขา เป็นรูปศัพท์ที่เป็นอิทถีลิง มันก็แปลความหมายได้หลายทาง เช่นว่า เห็นซึ่งตนเอง มีแต่ได้ เห็นโดยตนเอง มีแต่ได้ เห็นเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง มีแต่ได้ แล้วยังได้มากกว่านี้อีก เอาแค่สามความหมายนี้ก็พอ เห็นซึ่งตนเอง

นี้ก็พิจารณาดูว่าเห็นอะไร สิ่งที่สมมติเรียกกันว่า ตนเอง นั้นก็คือ อรรตภาพนี้ ซึ่งมีทั้งร่างกาย มีทั้งจิตใจ ที่รวมเรียกว่า ชีวิต ชีวิต เห็นซึ่งตนเอง ก็คือเห็นตัวเอง เห็นชีวิตของตัวเอง มองดูลงไปที่ตัวเอง แล้วก็เห็นตัวเอง คนไม่เคยศึกษามันก็มองเห็นยาก ว่ามันเป็นอย่างไรบ้าง มองดูตัวเองก็เห็นแต่ร่างกาย ไม่รู้สึกจิตใจได้บ้าง ว่ามันคิดนึกอะไรได้

แต่ตอนแรกไม่ได้เห็นส่วนที่ลึกกว่านั้น มีการปรุงแต่งต่าง ๆ นานา ภายในร่างกายนี้ เห็นซึ่งตนเองพิศจารนัยกันโดยละเอียดแล้วก็จะมีว่า เห็นว่า ตัวเองประกอบอยู่ด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ รวมเป็น 6 อย่าง 6 ประการด้วยกัน คือ 6 ธาตุ เห็นจริงยิ่งขึ้นไปอีก จะเห็นว่าไอที่มันเป็นรูปธรรม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้น ประกอบกันขึ้นเป็น เนื้อหนังร่างกาย เป็นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก้อนลูกตาพร้อมทั้งประสาทตา นี่มันก็เป็นวัตถุ ประกอบขึ้นด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ นี้ คือการปรุงแต่งอย่างหนึ่ง หูประกอบด้วยประสาทหู ที่นี้มันก็เป็นส่วนของดินน้ำลมไฟประกอบกันขึ้นเป็นระบบหู จมูกก็เหมือนกันพร้อมทั้งประสาท อาศัยดินน้ำลมไฟ ประกอบกันเป็นระบบจมูก ลิ้นก็เอาอาศัยดินน้ำลมไฟ ประกอบกันเป็นระบบลิ้น กาย ผิวหนังทั่วไปทั้งกาย อาศัยดินน้ำลมไฟ ประกอบกันเป็นกาย เป็นร่างกาย เป็นผิวหนัง ทั่วไปทั้งกาย นี่คือการปรุงแต่งในอรรถภาพนี้ ที่นี้ส่วนจิตหรือใจ ที่ประกอบไปด้วยวิญญาณธาตุ

วิญญาณธาตุเป็นระบบที่รู้สึกได้ในทางฝ่ายจิตใจหรือฝ่ายนามธรรม นี้เป็นระบบพิเศษ 5 อย่างขั้นต้น คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นเป็นฝ่ายกายหรือฝ่ายวัตถุ จิตใจ หรือมโน เป็นฝ่ายนามธรรม ที่ประกอบกันเข้าเป็นอรรถภาพนี้ ส่วนอากาศธาตุ หรือที่ว่าง หมายถึงว่า มันมีที่ว่างอยู่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งด้วย และสิ่งต่าง ๆ ก็อาศัยอยู่ในที่ว่างนั่นเอง มีที่ว่างร่างกายนี้มันก็มีอยู่ได้ ถ้าไม่มีที่ว่างร่างกายนี้มันจะอยู่ได้กับอะไร ร่างกายทั้งหมดก็ต้องอาศัยอยู่ธาตุว่างหรือความว่าง ที่ว่าง ในจิตมันก็อาศัยอยู่ในธาตุว่างอันละเอียด แล้วก็มีอยู่เป็นระบบจิต นี้แปลว่า ธาตุที่รวมกันเป็นกายและเป็นใจนั้น ตั้งอาศัยอยู่บนธาตุว่าง

ถ้าใจคำว่าว่าง ทั่วไปทั้งสากลจักรวาล มันมีส่วนที่เป็นที่ว่าง ในส่วนที่เป็นความว่าง แล้วก็ไอ้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุสิ่งของใด ๆ ที่อาศัยอยู่ในที่ว่างอันนั่น ถือว่าไอความว่างเป็นเครื่องรองรับ และรองรับทั้งหมด สิ่งต่าง ๆ ตั้งอยู่บนความว่าง บนธาตุว่าง ความว่างเป็นที่รองรับสิ่งทั้งปวง นี่จะเห็นว่ามันประกอบกันอยู่ลักษณะอาศัยซึ่งกันและกันอยู่อย่างนี้ ที่นี้เรามองซึ่งตนเอง มองตัวเอง มองซึ่งตัวเองถึงอรรถภาพนี้ ชีวิตนี้ ร่างกายยาวประมาณวาหนึ่ง แล้วก็ยังมีชีวิตเป็น ๆ อยู่นี้ ก็มองดูที อรรถภาพนี้ ก็จะมองเห็นอย่างที่กล่าวมาแล้วว่าประกอบอยู่ในธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ ประกอบกันอยู่อย่างเหมาะสมจนทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้ ส่วนกายนั้นเป็น 5 ระบบ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่สำหรับจะรู้สึกอารมณ์มากระทบ รูป เสียง กลิ่น รส ระบบจิต ระบบใจ ระบบมโน นี้ เราจะรู้สึกด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางจิต นี่คือว่า เห็นซึ่งตนเอง เห็นซึ่งตนเอง

ขอให้ทุกคนมองซึ่งตนเอง แล้วก็เห็นซึ่งตนเอง ว่าประกอบกันอยู่อย่างนี้ มีการปรุงแต่งอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ด้วยเหตุด้วยปัจจัยทุกอย่างทุกประการ ที่ทำให้มีลักษณะเป็นของเป็น มีชีวิต และมีกาย แล้วมันยังสามารถที่จะรับอารมณ์ทุกอย่างที่จะมีให้ในโลกนี้ ได้แก่ รูป ซึ่งจะรู้สึกได้ด้วยตา เสียงที่จะรู้สึกได้ด้วยหู กลิ่นซึ่งจะรู้สึกได้ด้วยจมูก รสซึ่งจะรู้จักได้ด้วยลิ้น และโกถะภะที่จะกระทบผิวหนังอันจะรู้สึกได้ด้วยระบบประสาทของผิวหนังทั่วไปทั้งกาย นี้มองดูในส่วนที่เป็นรูปธาตุ หรือฝ่ายตายอย่างนี้ แล้วก็มองฝ่ายที่เป็นจิต เป็นวิญญาณ หรือเป็นน้ำ จะเห็นว่ามีจิต แล้วแต่จะเรียกเป็นวิญญาณธาตุ เป็นวิญญาณธาตุกันอยู่ เมื่อทำหน้าที่คิดหรือนึก ก็เรียกว่า จิต เมื่อทำหน้าที่รู้สึกก็เรียกว่ามโน ส่วนคำว่าใจ นั่นเป็นภาษาไทย เล็งถึงมโน เมื่อดูซึ่งตนเอง จะเห็นซึ่งตนเอง ว่าประกอบกันอยู่ด้วยส่วนประกอบเหล่านี้ ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่พึงจะมี จนกล่าวได้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีชีวิต เป็นตัวชีวิตดำรงอยู่นี้เรียกว่าเห็นซึ่งตนเอง ดูที่ตนเองแล้วเห็นซึ่งตนเอง โดยลักษณะง่าย ๆ เบื้องต้น

ที่นี้ก็ดูต่อไปให้ละเอียด ให้ลึกซึ้งลงไป ว่ามันยังมีกลไกซับซ้อนกันอยู่หลายชั้น พูดเรื่องตาก่อน ตาเป็นอวัยวะในระบบประสาทสำหรับเห็นได้ แล้วข้างนอกก็มีลูก มีลูกต่าง ๆ พอเข้ามากระทบตา คือว่าไอลูกกับตาน่ะ ถึงกันเข้ามันก็เกิดวิญญาณทางตา คือวิญญาณธาตุ ทำหน้าที่ของวิญญาณทางตา เรียกว่าวิญญาณทางตาหรือจักษุวิญญาณ นี้เป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง ตาเห็นลูกเกิดจักษุวิญญาณคือการเห็นแจ้งในทางตา นี้ขั้นตอนหนึ่ง เมื่อวิญญาณธาตุทำหน้าที่เป็นวิญญาณทางตา เห็นรูปอยู่อย่างนี้ก็เรียกว่าถักษะ ถักษะ แปลว่า กระทบ ก็คือว่าวิญญาณธาตุ วิญญาณทางตากระทบกันกับลูก รู้สึกอยู่หรือเห็นอยู่ เรียกว่าอักษะ มันก็เป็นถักษะทางตา

นี้ก็ต้องดูให้เห็น ซึ่งเป็นส่วนของตนเอง เมื่อมีอักษะอย่างนี้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกออกมาเป็นเวทนา เช่นว่า รูปนั้นสวย ถูกใจ ก็เกิดความรู้สึกพอใจ ถ้ารูปนั้นไม่สวย ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจ มันก็ไม่พอใจ หรือถ้าไม่มีความหมายในสองอย่างนั้น มันเฉย ๆ มันก็เป็นกลาง ๆ อยู่ ก็เรียกว่า มิใช่พอใจหรือมิใช่ไม่พอใจ ก็เรียกว่า อทุกขมาสุข ถ้าพอใจก็เรียกว่า สุขเวทนา ถ้าไม่พอใจก็เรียกว่า ทุกขเวทนา ถ้าว่าไม่เป็นทั้งสองอย่างก็เรียกว่า อทุกขมาสุขเวทนา เวทนาจะเกิดขึ้นทุกคราวที่มีการสัมผัส นี้ก็คือตัวเรา คือเรื่องในตัวเรา คือลักษณะการปรุงแต่ง ปรุงแต่งอยู่ในตัวเรา เรียกว่า ตอนนี้เรียกว่า เวทนา

เมื่อความรู้สึกที่เป็นเวทนาเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว มันก็มีความรู้สึกต่อไป คือสำคัญหมั้นหมาย สำคัญหมั้นหมายว่าเป็นเวทนาเช่นไร มีอะไร เป็นอย่างไร เป็นสุข เป็นสุขก็เรียกว่าสุขสัญญา สำคัญหมั้นหมายว่าสุข เป็นทุกข์ก็เรียกว่าทุกขสัญญา สำคัญหมั้นหมายว่าเป็นทุกข์ อทุกขมาสุขสัญญา สำคัญหมั้นหมายว่าไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ มีความรู้สึกว่าเป็นสัญญาอย่างไร เพราะมันเคยเกิดขึ้นและรู้สึก เกิดขึ้นและรู้สึกมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก

มันจึงจำได้ว่าอย่างนี้คือสุขสัญญา อย่างนี้ ทุกขสัญญา รวมความว่า ความจำได้ว่ามันเป็นอะไร และหมั้นหมายว่ามันเป็นอะไร นี้ก็เรียกว่า สัญญา สัญญาเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอรรถภาพนี้ ในร่างกาย ในชีวิตนี้ ทีนี้เมื่อสัญญาถึงที่สุดแล้ว ก็ปรุง คิดนึกขึ้นมา จะทำอะไรกับสิ่งเหล่านั้น เป็นความคิดนึก เรียกว่า สังขาล ถ้ามีความหมั้นหมายว่าสวย ความคิดนึกก็ปรุงขึ้นมาเป็นความคิดว่าจะเอา ถ้าไม่สวยก็ปรุงความคิดนึกขึ้นมาว่าจะไม่เอา หรือจะทำลายเสีย ถ้ามันไม่เป็นทั้งสองอย่าง คือมิใช่สวยหรือมิใช่ไม่สวย มันก็ยังสงสัย ข้องใจอยู่นั่นเอง นี้เรียกว่าเป็นสังขาล ที่นี้สิ่งที่เรียกว่า สังขาลนี้มีหลายขั้นตอน มีความอยากจะได้ที่มันสวย น่ารัก น่าพอใจ มีความอยากที่จะทำลายเสีย ซึ่งส่วนที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ ความอยากมันก็ได้เกิดขึ้น ความอยากนี้ก็เรียกว่าเป็นสังขาลเหมือนกัน ถ้าความอยากเป็นไปถึงที่สุดแล้ว มันก็ปรุงต่อไปอีก

ปรุงให้เกิดความรู้สึกสำคัญหมั้นหมายว่ามีตัวเรา มีตัวกู ซึ่งเป็นผู้อยาก แล้วก็อยากจะเอามาเป็นของกู เรียกว่า ปรุงถึงที่สุดจนเป็น อุปาทาน เป็นอุปาทาน รวมอยู่ในคำว่า สังขาล 5 แปลว่าถ้าแจกเป็นห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาล วิญญาณนั้นมันก็มีเพียง 5 แต่ถ้าเกิดแจกไปให้มันมาก เป็นแบบ 70 กว่าบาท มันก็แจกไปได้ถึง 11 อย่าง 12 อย่าง แต่เรื่องนั้นไม่เป็นไร

เอาแต่เพียงว่ามันปรุงอย่างไร รู้สึกอย่างไร นับตั้งแต่ตาเห็นลูก มันก็ปรุงจักษุวิญญาณเกิดขึ้น วิญญาณ จักษุวิญญาณทำหน้าที่อยู่ สิ่งที่เรียกว่า ถักษะก็เกิดขึ้น ถักษะเกิดขึ้นแล้วก็ปรุงให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าเวทนา เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เวทนาเกิดขึ้นแล้วก็ปรุงให้เกิดความรู้สึกเป็นสัญญา สำคัญหมั้นหมายว่าอย่างไร ว่าสุขสัญญา ว่าทุกขสัญญา แล้วแต่ว่ามันจะรู้สึกคิดนึก ถ้าเป็นสัญญาอย่างนี้แล้วมันก็ปรุงต่อไปเป็นสังขาล คือความคิดนานาประการ โดยสมควรแก่สัญญานั้น จนคิดว่าจะได้ เกิดความอยากขึ้นมาว่าจะได้ ความอยากนี้เป็นปัญหา

มีปัญหาถึงที่สุดอย่างนี้แล้วก็ปรุง ไอ้ความรู้สึกว่าตัวกูเป็นผู้อยาก ซึ่งเรียกว่า อุปาทาน มันจะมีความรู้สึกว่าตัวกู หรือของกู ตามสมควรแก่กรณี เมื่อเกิดความรู้สึกเป็นตัวตนเช่นนี้ ความโง่เขลา อะไร ๆ ก็เอาเข้ามาเป็นตัวตน มันก็เป็นของหนัก หนักใจ จิตใจนั่นเอง เหมือนกับว่าเราจับเอาอะไรขึ้นมาหิ้วไว้ ถือไว้ ชูไว้ มันก็เป็นของหนัก ถ้าเป็นของหนักนั่นเรียกว่าเป็นความทุกข์ อย่างนี้มีอยู่ในตนเอง ในตัวเอง ก็มองดูให้เห็นซึ่งตนเอง เห็นซึ่งตนเอง ดูซึ่งตนเอง เห็นซึ่งตนเอง นี่เรียกว่า สิกขา ศึกษา ศึกษา ศึกษาตนเอง เห็นอะไร ๆ ที่มีอยู่ในตนเอง ถึงเรื่องตา อย่างที่ว่ามาแล้ว เรื่องหูก็เหมือนกันอีก เมื่อเสียงมันถึงกันเข้ากับหู ก็เกิดการได้ยินทางหู เรียกว่า วิญญาณทางหู วิญญาณทางหู รู้สึกต่อเสียงนั่นอยู่ด้วยหู ด้วยระบบหู ก็เรียกว่า ถักษะทางหู ถักษะก็เกิดเวทนา สุขหรือทุกข์ เกิดเวทนาแล้วค่อยเกิดสัญญาสำคัญหมั้นหมายว่าเป็นอะไร แล้วก็เกิดสังขาลความคิด ว่าเราอยากจะเอา เราอยากจะได้ อยากจะได้สิ่งที่น่าพอใจ

อยากจะทำลายที่มันไม่น่าพอใจ เมื่อความอยากนี้เป็นไปถึงที่สุดแล้ว ก็คือมีความรู้สึกว่ามีตัวตน มีตัวกูผู้อยาก อย่างนี้เหมือนกับเรื่องตากับรูป เรื่องหูกับเสียงก็เหมือนกัน เรื่องจมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่มากระทบกายก็เหมือนกัน มีหลักเกณฑ์อันเดียวกัน นี้เรียกว่าที่เป็นของอยาก ทางรูปธรรมทางกาย มีอยู่ 5 ชุดด้วยกัน มีอยู่ในตนเอง ในส่วนจิตลึก ๆ เข้าไป เพราะว่ามันได้อารมณ์ เช่นมีสัญญาแล้วก็มีเวทนาเป็นต้น มโนหรือใจสัมผัสในเวทนา แล้วก็รู้สึกเป็นเวทนาอันใหม่ขึ้นมาอีก แล้วก็เกิดสัญญา เกิดสังขาลอย่างเดียวกันอีก มากมายถึงขนาดนี้นะที่เรียกว่า ศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับในเรื่องของตน ในภายในของตน นี่ดูซิศึกษานี้เป็นอย่างไร มันต่างกันลิบ กับศึกษาในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย เรียนอักษรศาสตร์ เรียนวิทยาศาสตร์ เรียนวิชาชีพ มันคนละแบบ แต่เรียกว่าศึกษาเหมือนกัน นี่เป็นการศึกษาซึ่งตนเอง ดูแล้วก็ติตนเอง แล้วก็เห็นด้วยตนเอง ตนเองต้องศึกษาเอง อย่างนี้ก็เห็นซึ่งตนเอง และการเห็นนี้ก็เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ แล้วแต่มันจะเกิด ก็แต่ตนเอง คำว่า ศึกษาหรือสิกขา จึงมีความหมายได้รอบครบถ้วนอย่างนี้ ดูที่ตนเอง เห็นซึ่งตนเอง แล้วก็การเห็นด้วยตนเอง ตนเองนะ มาดูแทนไม่ได้ แล้วสิ่งเหล่านี้ถ้าทำไปแล้ว มันมีผลแก่ตนเอง คำว่า สิกขา ศึกษา มีความหมายอย่างนี้ ที่นี้เมื่อได้มองเห็นว่า เกิดกิเลส เกิดความอยาก

เกิดความยึดถือว่าตัวตนขึ้นมาแล้วมันเป็นความทุกข์ ก็ศึกษาถึงอาการที่เป็นทุกข์ ศึกษาถึงลักษณะที่เป็นความทุกข์ จนพบรายละเอียดอีกมากมาย โดยย่อก็เช่นว่า เห็นได้ว่า พอมีความรู้สึกที่เป็นความอยาก หรือที่เรียกว่าตัณหาเกิดขึ้น มันก็มีอุปาทาน จับฉวยเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตน เป็นของหนัก แล้วก็เป็นทุกข์ เป็นตัณหา เป็นอุปาทานไม่ให้เกิดทุกข์ เรียกทีเดียวว่าตัณหาให้เกิดทุกข์ก็ได้เหมือนกัน แล้วแต่จะพิจารณากันอย่างหยาบ ๆ หรืออย่างละเอียด เดี่ยวนี้เห็นว่าเพราะมีตัณหา ถึงมีทุกข์โดยผ่านทางอุปาทาน มีตัวตน รู้สึกมีตัวตนแล้วอะไร ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตนก็กลายเป็นเรื่องเกี่ยวกับตน ยึดถือเอามาเป็นของตน เช่นมีความรู้สึกว่าได้อะไรไป เสียอะไรไป มีความรู้สึกต่อเนื่องกันไปถึงว่า เป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ เป็นผู้ได้ เป็นผู้เสีย หรือแม้ที่สุดแต่ว่าอาศัยการที่เป็นตามธรรมชาติ เนื่องอยู่ในอรรถภาพนี้ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นต้น ก็ล้มเอามาว่าเป็นของตน ความเกิดเป็นของตนก็มีปัญหา ยุ่งยากลำบากแก่ความเกิด ความแก่เอามาเป็นของตนก็เกิดปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับความแก่

ความเจ็บเอามาเป็นของตน ก็เกิดปัญหายุ่งยากกันเกี่ยวกับความเจ็บ ความตายซึ่งเป็นของธรรมชาติ ตามธรรมดา ก็เอามาความตายของตน คือของจิตที่มันโง่ คำว่าตนในที่นี้ คือ จิตที่มันโง่ไปเองว่าเป็นตัวตน ความตายก็เป็นของตน เดือดร้อนอยู่มากมายหลายขั้นตอนที่เกี่ยวกับความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นี่มันมีอยู่ในอรรถภาพนี้ ในชีวิตนี้ เราศึกษา ศึกษา ตรงลงไปในอรรถภาพนี้ ร่างกายนี้ ซึ่งยาวเพียงสักวาหนึ่งนี้ มันก็มีอะไรอยู่มากมายอย่างนี้ จะศึกษาให้รู้จัก ให้ทั่วถึง โดยเฉพาะที่มันเกี่ยวกับเรื่องความทุกข์

ที่มันให้เกิดรู้สึกว่าเป็นทุกข์ ก็ต้องศึกษากันอย่างละเอียด ทีนี้ก็ทบทวนโดยย่อทีว่า ในกรณีของตาเป็นตัวอย่าง ตาเห็นรูป แล้วก็เกิดจักษุวิญญาณ เกิดวิญญาณทางตา วิญญาณทางตาทำหน้าที่อยู่ เรียกว่า ถักษะทางตา ถักษะทำหน้าที่ให้ ถักษะแล้วก็ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นเวทนา รู้สึกพอใจ ไม่พอใจ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เวทนานี้ค่อยเกิดความอยาก ความต้องการนั่นแหละคือกิเลส เมื่อเวทนานั่น น่ารัก น่าพอใจ ก็เกิดความอยากจะได้ นั่นล่ะคือความโลภ หรือว่า ราคะ ความตระหนัก พอใจ นี่เป็นกิเลส ถ้าว่ามันไม่ปลง ความพอใจหรือว่าไม่พอใจ มันก็เกิดกิเลส คือ โทสะ โกรธ ประทุษร้าย เรียกว่าโทสะบ้าง เรียกว่า โกธะ บ้าง ถ้าว่าไม่ชัดลงไปว่า น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ มันก็เกิดความสงสัย ความมัวเมา พัวพัน สงสัย ว่าจะเป็นตัวตน หรือจะเป็นอะไร เป็นอย่างไรอยู่ นี่เรียกว่า กิเลส คือ โมหะ โลภะ หรือ โทสะ หรือ โมหะ มันเกิดขึ้นได้ในใจอย่างนี้ ศึกษาให้ละเอียด ชัดเจนว่ามันเกิดอย่างไร โลภะ ราคะ เกิดอย่างไร โทสะหรือโกธะ เกิดอย่างไร โมหะเกิดอย่างไร ในเมื่อเกิดกิเลส เกิดกิเลสอย่างนี้แล้วก็เป็นความทุกข์ ทีนี้มันยังมีละเอียดลึกซึ้งมากไปกว่านั้นอีก เกิดกิเลสครั้งหนึ่ง เป็นทุกข์ก็เป็นไปเถอะ แต่ว่าเกิดกิเลสขึ้นมาครั้งหนึ่งนั่นน่ะ มันสะสมความเคยชินที่จะเกิดกิเลสเช่นเดียวกันนั่นแหละ

……… ครั้งหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งด้วย เรียกว่า อนุสัย กิเลสเกิดขึ้นอย่างไร แล้วมันก็สร้างอนุสัย คือความเคยชินที่จะเกิดอย่างนั้นไว้ในสันดาน เกิดความโลภครั้งหนึ่งมันก็สะสมความเคยชินที่จะโลภต่อไปข้างหน้าเข้าไว้หน่วยหนึ่ง ส่วนนี้เรียกว่า อนุสัย ถ้าเกี่ยวกับความโลภเรียกว่า ราคานุสัย ถ้าเกี่ยวกับความโกรธ เรียกว่า ปฎิภานุสัย

ถ้าเกี่ยวกับความโง่ ความล้ม ก็เรียกว่า อวิชชานุสัย นี่ลึกลับซับซ้อนอย่างยิ่งในชีวิตนี้ กับภาพในสังขาล ในร่างกายนี้ ซึ่งมีทั้งกายและใจนี้ เรื่องลึกลับซับซ้อนอย่างนี้ อนุสัยคือความเคยชินที่จะเกิดกิเลสอย่างนั้นอีก นี้พอเกิดกิเลสครั้งที่สอง ก็เพิ่มอนุสัยเข้าไว้อีกทีหนึ่ง

ครั้งที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ก็เพิ่มอนุสัยไว้ทุกทีที่เกิดกิเลส เพิ่มความเคยชินที่จะเกิดกิเลสไว้มากเข้า มากเข้า ไอความกดดันที่จะดันออกมันก็มีมาก มันก็มีมาก ส่วนนี้เรียกว่า อาสวะ อาสวะที่ไหลออกมาเป็นกิเลส ตามชนิดของมัน จะมีความโลภแล้วก็มีอนุสัยแห่งความโลภ เรียกว่า ราคานุสัย อนุสัยนี้มีมากเข้า มากเข้า ทำให้ดันออกมันก็มีมากเข้า มันจึงง่าย ง่ายนิดเดียวที่จะเกิดความโลภ เราจึงเกิดความโลภได้ง่ายที่สุด เกิดความโกรธได้ง่ายที่สุด เกิดความโง่ ความหลง ได้ง่ายที่สุด เพราะว่าเก็บกักอนุสัยไว้ในสันดานมากนั่นเอง

หน้าที่ 2 – สมาธิกับจิต
ที่นี้ความลับยังมีต่อไปอีกที่จะต้องมองให้เห็นว่า ถ้าว่าเราบังคับกิเลสได้ กิเลสมันจะเกิดแล้วบังคับไม่ให้มันเกิด สำหรับความโลภมันจะเกิด มันควรจะเกิดความโลภ แล้วบังคับไว้ได้ไม่ให้เกิดความโลภที่หนึ่งมันก็ลดอนุสัยที่สะสมไว้แต่ก่อน อนุสัยที่จะโลภที่สะสมไว้มาก ๆ มันจะลดลงไปหนึ่ง ลดลงไปหนึ่ง ลดลงไปหนึ่ง ทุกคราวที่บังคับกิเลสได้ นี่เรื่องความโกรธก็เหมือนกัน เมื่อมันจะโกรธ มันจะโกรธอย่างยิ่ง มันจะบังคับไว้ได้ ไม่ให้มันโกรธ มันก็ลดความเคยชินที่จะโกรธ จนหน่วยหนึ่ง ลดอนุสัยสำหรับจะโกรธ จะหน่วยหนึ่ง โง่ก็เหมือนกัน ไม่โง่ซักทีหนึ่ง ก็ลดอนุสัยความโง่ไว้หน่วยหนึ่ง มันก็มีอนุสัยน้อยลง น้อยลง

ถ้ามันอย่างนี้ ไอความเคยชินที่จะโลภ จะโกรธ จะหลง ในสันดาน มันก็ลดลง ลดลง ลดลง แล้วมันก็ลดลง แล้วก็ไม่มีที่จะไหลออกมา ถ้าเผอิญกระทำไปจนถึงที่สุด มันหมดอนุสัย หมดที่อาสวะที่จะไหลออกมา มันก็ไม่มีกิเลสอะไรที่จะออกมาอีก ก็เป็นบุคคลพิเศษ เรียกว่าผู้หลุดพ้น เป็นพระอรหันต์ ไม่มีอนุสัยที่จะเกิดกิเลส ไม่มีอาสวะที่จะเป็นกิเลส ที่จะไหลออกมา มันก็สิ้นกิเลส สิ้นอาสวะ ความซึ่งความเคยชินที่จะเกิดกิเลส นี่เรื่องมากมายอย่างนี้ สำหรับตัวท่านก็จะต้องดูให้เห็น ที่จะศึกษา ศึกษา สิกขา ก็ต้องดูให้เห็นซึ่งตัวเองอย่างนี้ เป็นเรื่องของกิเลส ทีนี้ไอเรื่องที่จะต้องศึกษาเพื่อตนเอง นั่นก็คือว่า การที่จะควบคุมไม่ให้โกรธ ไม่ให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้ ก็มีการศึกษานี้ ส่วนหนึ่งซึ่งจะต้องปฏิบัติ ที่จะปฏิบัติศีลได้เป็นนิสัย ปฎิบัติศีลให้ได้เป็นศีลสิกขา มันก็ทำให้โกรธ มันก็ทำให้เกิดกิเลส

…………………. ศึกษาเรื่องสมาธิกับจิต ไว้ได้ตามที่ต้องการ มันก็จะเกิดกิเลสได้ยากเข้า ถ้ามันเกิดเวทนาแล้ว มันจะเกิดกิเลส ถ้ารู้เท่าทัน บังคับจิตได้ มันก็ไม่เกิด นี่เรียกว่า จิตสิกขา ทีนี้ก็มีปัญญาที่จะรู้ รอบคอบทั่วถึง ควบคุมมันไว้ให้ได้ มันก็เกิดไม่ได้ยิ่งขึ้น ในศีลสิกขาก็ดี จิตสิกขาก็ดี ปัญญาสิกขาก็ดี มันก็ล้วนแต่จะป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส แม้การเกิดครั้งแรก แม้การที่จะเพิ่มอนุสัย มันก็ไม่มี นี่การศึกษาในทางธรรมมันเป็นอย่างนี้ ศึกษาให้รู้จักธรรมชาติ ทุกอย่าง ทุกประการที่ตั้งอาศัย ปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลงอยู่ภายในอรรถภาพหรือชีวิตนี้

ทีนี้เมื่อศึกษาได้อย่างทั่วถึงอย่างนี้มันก็ปรุงได้ ควบคุมไม่ให้เกิดกิเลส แล้วก็ลดอนุสัย อาสวะก็สิ้นไป มันก็ไม่มี พอมาถึงขั้นนี้ มาถึงขั้นที่ว่า รู้เท่าทัน ควบคุมได้ มันอาจจะเกิดกิเลสได้จนอนุสัยสิ้นไป อาสวะก็ไม่มี นี่คือรับปริญญา นี้เป็นตอนที่รับปริญญา ปริญญาว่าราคะภะโย การสิ้นไฟแห่งราคะ โทสะภะโย ปริญญาว่าการสิ้นไปแห่งโทสะ โมหะภะโย ปริญญาว่า การสิ้นไปแห่งโมหะ คำว่าปริญญานี้เป็นความรู้แจ้ง ประจักษ์แก่ใจ ภายในใจว่ามันเป็นอย่างนี้ ว่าความสิ้นราคะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ความสิ้นแห่งโทสะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ความสิ้นแห่งโมหะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ รู้จักในใจอย่าง

…….ทราบด้วยดี ทีนี้เราไม่รู้นี่ ได้แต่ฟังเค้าว่า อ่านหนังสือมีแต่เรื่อง ไม่รู้จักด้วยใจจริง อย่างนั้นมันยังไม่ใช่ปริญญา ปริญญาต้องเห็นด้วยใจจริง รู้สึกด้วยใจจริง ว่าเป็นความสิ้นไฟแห่งราคะ โทสะ โมหะอย่างไร นี้คือรับปริญญา พวกเราที่เรียนหนังสือ เรียนวิชารับปริญญาแผ่นกระดาษ แล้วก็ทำพิธีกันใหญ่โต ขนเอาพ่อแม่ไปร่วมดูด้วย เป็นสิ่งวิเศษ ประเสริฐสูงสุด มันก็เป็นปริญญาของชาวบ้าน แต่ปริญญาของพระพุทธเจ้านั่นกระทำจนรู้สึกด้วยตนเองว่า ราคะไม่มี โทสะไม่มี โมหะไม่มี ถ้าถึงขนาดนี้ก็เรียกว่าเป็นพระอรหันต์ แต่พระอรหันต์ไม่ต้องการให้เอาปริญญากระดาษมาเขียนว่าเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องการรับแผ่นกระดาษที่ลงชื่อให้ว่าเป็นพระอรหันต์ แต่รู้สึกด้วยตนเองว่าราคะไม่มี โทสะไม่มี โมหะไม่มี ถ้าไม่ถึงขนาดที่เรียกว่า สิ้น หมดสิ้น สิ้นเชิง สิ้นไปเป็นบางส่วน เขาเรียกโดยชื่อที่ลดหลั่งกันลงมา เช่นเป็น อนาคามี เป็นปฏิทาคามี เป็นโสดาบัน โสดาบันพูดถึงกระแสแห่งปริญญา ก็ยังไม่ได้รับปริญญา

…….ก็ถึงกระแสแห่งกัน แห่งปริญญา แห่งการรอบรู้ พระโสดาบันนี่ละกิเลส ละอนุสัยได้ตามสมควร แต่ไม่หมดสิ้น ชั้นแรกเรียนปริญญา แล้วก็ละได้มากขึ้นไปกว่านั้นอีก เรียกว่า ปฏิทาคามี ละได้มากไปกว่านั้นอีก เรียกว่า อนาคามี ละสุดท้ายก็เรียกว่า พระอรหันต์ รายละเอียดมีอยู่ในหนังสือหนังหา ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไปหาอ่านดูได้ แล้วมันก็มากเป็นกรรมทูต

……………….มันพูดไม่ไหว แต่ขอให้รู้เป็นหลัก เป็นหลัก เป็นเกณฑ์ไว้ว่า เรานี้เกิดมาจากท้องบิดามารดา แล้วก็มีร่างกาย มีชีวิตออกมาเป็นทารกออกมา นี้ยังไม่มีปัญหา เพราะจิตยังคิดนึกอะไรไม่ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ยังไม่ทำงาน แต่พอออกมาจากท้องแม่เป็นเวลาอันสมควรแล้ว ก็เกิดความรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจเองได้ มันจะเริ่ม เริ่มปัญหา เริ่มต้นของปัญหา เด็กทารก ซึ่งไม่เคยได้มีปัญหา อยู่ในท้องไม่มีปัญหา คลอดมาวันแรกก็ยังไม่มีปัญหา แต่พอมันเจริญ เจริญ เจริญขึ้น ระบบประสาทเจริญขึ้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีระบบประสาทที่เจริญขึ้น

ที่มันได้เห็นรูปทางตา ได้ยินเสียงทางหู ได้กลิ่นทางจมูก ได้รสทางลิ้น ได้สัมผัสผิวหนังทางผิวหนัง ได้รู้สึกคิดนึกเรื่องในทางจิตใจด้วยใจ ทีนี้จะมีปัญหา ก็ปัญหาอย่างที่ว่า นี่เป็นครั้งแรกของทารกนี้ เค้าได้รับความรู้สึกที่อร่อย เช่น จะต้องนึกถึงที่ว่ากินนมแม่ก่อน กินนมแม่รู้สึกอร่อย แล้วก็รู้สึกเรื่องไม่อร่อย รู้สึกว่าได้มากพอตามที่ต้องการ ได้ไม่มากพอตามที่ต้องการ อย่างนี้เป็นต้นมันก็เกิดความรู้สึกเป็นเวทนา เป็นพอใจหรือไม่พอใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจมันก็โกรธ

มันก็ร้องจ้าไป ถ้าได้อย่างพอใจมันก็สงบสติ เด็กเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ จนสมบูรณ์ทางอายตนะ สมบูรณ์ทางอายตนะด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำหน้าที่ได้เต็มที่ ได้เต็มที่ เรื่องที่จะรักมันก็มีถึงที่สุด เรื่องที่จะโกรธมันก็มีถึงที่สุด เรื่องที่จะรู้สึกถึงอะไร ๆ มันก็มีถึงที่สุดในตัวตน ในตัวคน ในตัวเรา ในคนเรามีการเกิดขึ้นอย่างนี้ มีการปรุง ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ปรับปรุง ปรุงแต่งกันอย่างนี้ จนกระทั่งมาเป็นตัวเราในบัดนี้ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ไวต่อความรู้สึกคิดนึก ปรุงแต่งเป็นกิเลสได้เหมือนกับสายฟ้าแลบ ก็ควรจะรู้เรื่องนี้ด้วยการศึกษา ศึกษาด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ศึกษาทางศีลโดยสรุปความ

แล้วก็มีความเป็นอยู่ที่ถูกต้อง สำหรับจะมีจิตถูกต้อง จะมีสมาธิถูกต้อง มีสมาธิศึกษา มีจิตถูกต้อง มีปัญญาถูกต้อง สำหรับจะศึกษา สอดส่องดูลงไปในระยะที่กล่าวมาแล้ว มีปัญญาเพียงพอแล้วก็มองเห็นสิ่งเหล่านี้อย่างที่ว่ามา ปัญญาที่ได้มาอบรมมาดี เพียงพอแล้วก็ได้เห็นซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เห็นเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส

…………… กรรมารมณ์ เห็นเรื่องมาถึงกันเข้าแล้วเกิดวิญญาณ เมื่อวิญญาณทำหน้าที่อยู่ก็เรียกว่า ถักษะ ครั้นมีถักษะแล้วก็มีเวทนา เห็นด้วยปัญญา เห็นด้วยปัญญาทุกขั้นตอน เกิดเวทนาแล้วจะเกิดปัญญาหรือสังขาล หรือว่าเกิดปัญญาแล้วก็จะเกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นภพ เป็นชาติไป ก็แล้วแต่จะมอง ทุกวันนี้ให้มองหมดดั่งที่กล่าวนี้ ถ้ามองเป็นขันธ์ 5 แค่ 5 อย่าง ก็อาจจะเห็นเป็นขันธ์ 5 ถ้ามองเป็นสาย เป็นปฏิจักษุบาท เป็น 11 อย่าง 12 อย่าง มันก็เป็นปฏิจักษุบาท มีรายละเอียดตามเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจะหามาศึกษาดูได้

ในวันนี้เพียงแต่บอกให้รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ มันมีหลักการ หลักเกณฑ์อย่างนี้ ถ้าเราศึกษารู้ความจริงอันนี้ หรือธรรมชาติอันนี้ แล้วก็ควบคุมไว้ได้ แล้วก็ควบคุมไว้ได้จนไม่เกิดกิเลส กิเลสมันก็หมด ก็ได้รับปริญญา ปริญญาของพระพุทธเจ้า ปริญญามี 3 อย่าง ปริญญาคือความสิ้นแห่งราคะ ปริญญาคือความสิ้นแห่งโทสะ ปริญญาคือความสิ้นแห่งโมหะ เรื่องมันก็จบ ตั้งต้นด้วยความโง่ ความไม่รู้อะไร ได้รับอารมณ์แล้วก็ปรุงแต่งเป็นกิเลส เกิดกิเลสเป็นทุกข์ทรมานอยู่เป็นเวลานาน เป็นระยะยาว จนกว่าจะโชคดี รู้สึกคิดนึกได้ ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระอริยเจ้า เอามาศึกษา เอามาปฏิบัติ รู้เรื่องนี้โดยแท้จริงแล้วควบคุมไว้ได้แล้วมันก็เปลี่ยน

นี่แหละมีการเปลี่ยน เปลี่ยนจากการที่จะไหลไปหาความทุกข์ มันจะหยุดที่จะไม่ไหลไปหาความทุกข์ นี่มันเป็นวิวัฒนาการทางจิตใจอันประณีต อันละเอียด อันสุขุมอย่างยิ่ง ถ้าได้พูดนี่เป็นเรื่องหัวใจของธรรมะล้วน ๆ เรื่องปลีกย่อยทั้งหลายไม่ได้เอามาพูด พูดแต่เรื่องที่มันเป็นหลักเกณฑ์ ที่เป็นชิ้น เป็นอันอย่างยิ่ง ว่ากันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ ถ้าจะศึกษาพุทธศาสนาหรือพระธรรมในพุทธศาสนา แล้วก็ต้องศึกษาเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งแรกที่จะต้องศึกษา ศึกษาถึงรูป เสียง กลิ่น รส

……………. อารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 อย่างนี้อยู่ข้างในตัวเรา ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส ประทะ อารมณ์ อยู่ข้างนอกตัวเรา ทีนี้มันเป็นคู่ ๆ กัน จับคู่กันทีไรแล้วมันมีเรื่อง เช่น ตาจับคู่กับรูป เกิดวิญญาณ เกิดถักษะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดอุปาทานและเป็นทุกข์ เสียงจับคู่กันกับหู เกิดวิญญาณ เกิดถักษะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดอุปาทานและเป็นทุกข์ กลิ่นจับคู่กับจมูก เกิดวิญญาณ เกิดถักษะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดอุปาทานและเป็นทุกข์ รสจับคู่กันกับลิ้น เกิดวิญญาณ เกิดถักษะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดอุปาทานและเป็นทุกข์ กาย ผิวกายที่เต็มไปด้วยระบบประสาทนี่จับคู่กันกับสิ่งที่มากระทบกาย เกิดวิญญาณ เกิดถักษะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดอุปาทานและเป็นทุกข์ ทีนี้ใจมันมาทีหลัง หลังจากที่มันได้รู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายมากพอแล้ว เป็นอารมณ์ในอดีต เอามาเป็นอารมณ์ของใจ เช่น เวทนาต่าง ๆ ที่เคยสัมผัสรู้สึกมาแล้วแต่ต้น นี้มันเป็นอารมณ์ของมโนวิญญาณ หรือ ถักษะทางมโน มีเวทนา มีตัณหา มีอุปาทาน แล้วก็เป็นทุกข์ ในเรื่องมันมีอยู่อย่างนี้

แล้วก็มีเพียงเท่านี้ด้วย เรื่องจริง เรื่องแท้ เรื่องสำคัญที่สุดของธรรมะมีเพียงเท่านี้ ในเรื่องปลีก เรื่องฝอย เรื่องย่อย พูดให้มันมากเรื่องไป ก็เป็นภูเขาเหล่ากา จะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าพูดเรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เรื่องตายเกิด ตามไม่เกิด เกิดเป็นอะไร เกิดเป็นยังไง เรื่องกรรม เรื่องอะไรมากมาย มันไม่ต้อง ถ้าว่าจะดับทุกข์แล้วก็มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญาเพียงพอ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ อายตนะภายใน เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส

……….. อารมณ์ เกิดวิญญาณ เกิดถักษะ ตอนนี้มีสติ มีปัญญา โดยสตินำมาอย่างถูกต้อง ได้รับเวทนาแล้วก็ไม่จูงเป็นปัญหาใด ๆ ก็ไม่เกิดอุปาทานและไมเกิดทุกข์ เรื่องมันก็มีเท่านี้ ทีนี้เรามาสอนกันในเรื่องปลีกย่อย เรื่องฝอยมากเกินไป จนไม่ได้มารู้เรื่องหัวใจหรือเรื่องแท้จริงนี้ ศึกษาพระพุทธศาสนามาจนแก่จะเข้าโรงอยู่แล้ว ก็ยังไม่รู้เรื่องอันแท้จริงของธรรมะที่แท้จริง ของพุทธศาสนาที่แท้จริง ตัวอย่างเช่นว่า อยากจะทำบุญให้ทาน อยากไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ในวิมาน แล้วก็หารู้ไม่ว่า ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ในวิมานนั่นนะ มันก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้สัมผัสอารมณ์ ได้รู้สึกต่ออารมณ์แล้วก็เป็นทุกข์ เกิดกิเลสตัณหาเช่นเดียวกันนี้

นี่มันเสียเวลาอย่างนี้นะ ไม่เจาะจงลงไปที่เราจะดับทุกข์ยังไง อ้อมค้อมไปว่าจะมีความสุขสนุกสนานเบิกบานบันเทิงอย่างไรในสวรรค์ชั้นนั้น ในสวรรค์ชั้นนี้ ในพรหมโลกชั้นนั้น ในพรหมโลกชั้นนี้ ซึ่งเขาก็ว่าดี ดี แต่เรื่องเสียเวลานั้น ได้เนิ่นช้าแก่การจะดับทุกข์ ดังนั้นวันนี้จึงพูดแต่เพียงว่า ศึกษาแล้วก็รับปริญญา อย่าให้เรื่องมันมากไปกว่า 2 เรื่องนี้ ศึกษาซึ่งตนเอง ดูตนเอง แล้วก็เห็นซึ่งตนเอง โดยตนเอง เพื่อตนเอง รู้เรื่องที่เป็นตนเองทั้งภายในทุกอย่าง ทุกประการแล้ว ก็รู้จักควบคุมไม่ให้เกิดกิเลส ไม่เกิดกิเลสก็ไม่เกิดทุกข์ ไม่เกิดกิเลส จนกิเลสหมดสิ้นไปทั้งกิเลสและทั้งความเคยชินของกิเลส เหมือนกับได้รับปริญญา เป็นผู้สิ้นราคะ เป็นผู้สิ้นโทสะ เป็นผู้สิ้นโมหะ นี่ปริญญา เรื่องมันมีอยู่เท่านี้

แล้วเป็นอันว่า วันนี้ได้พูดเรื่อง สรุปให้มันสั้นที่สุดของเรื่องทั้งหมด ทั้ง 84,000 ขันธ์ กี่ปีเมื่อไหร่ถึงจะหมด ไม่รู้จักจบหรอก ไม่รู้จักจบมันก็พูดอย่างนี้แหละ พูดกันชั่วโมงเดียวก็จบ เห็นมั้ย เอาล่ะ เป็นอันว่า ขอให้กำหนด จดจำไอเรื่องที่เป็นหลัก เป็นเกณฑ์ เป็นความลับของธรรมชาติ แล้วก็มีอยู่เพียงเท่านี้ รู้เรื่องการปรุงแต่งในภายใน ที่ตั้งต้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เกิดกิเลสและความทุกข์ ทีนี้ก็รู้จักทำให้มันเกิดสติปัญญา มัวแต่กระทบกันกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ควบคุมไว้ให้ได้ แล้วไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดเป็นทุกข์ เรื่องมันจบ ขอให้ทุกคนกำหนด จดจำ ไอเรื่องที่เป็นหัวใจของเรื่อง หัวใจของเรื่องคือ หัวใจล้วน ๆ ไม่มีฝอย

…………. มันมีเพียงเท่านี้ แล้วก็พยายามทำ ปฏิบัติให้ได้ตามหลักเกณฑ์อันนั้น ควบคุมกิเลสไม่ให้เกิด ก็ไม่มีอนุสัย สำหรับจะเกิดกิเลสต่อไปข้างหน้า หรือว่าถ้ามันมีกิเลส มีอนุสัยมาแล้วตั้งแต่เล็ก เพราะเราไม่รู้เรื่องอะไร ตั้งแต่เล็กมันมีแล้ว ต่อไปนี้ก็ควบคุม อย่าให้เกิดกิเลส โลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี อย่าให้เกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วมันจะลดอนุสัยที่สะสมมาไว้แต่แรกเกิด นี่เรียกว่าอนุสัยมีแล้ว มากพออยู่แล้วในสันดาน อาสวะไหลออกมาอยู่เรื่อย ๆ ทีนี้มาตั้งต้นว่าจะระวังไม่ให้เกิดกิเลสเมื่อมันควรจะเกิด

ระวังได้ทีหนึ่งมันก็ลดอนุสัยได้หน่วยหนึ่ง ระวังไม่โลภทีหนึ่งก็ลดราคานุสัยได้หน่วยหนึ่ง ระวังไม่ให้โกรธทีหนึ่งก็ลดปฏิทานุสัยได้หน่วยหนึ่ง ระวังไม่ให้โง่หลงทีหนึ่งมันก็ลดอวิชชานุสัยได้หน่วยหนึ่ง มันก็ลด ๆ ๆ ๆ จนกระทั่งว่ามันหมด รับปริญญา ถึงแม้ว่าจะยังไม่ถึงกับรับปริญญา มันก็ยังเป็นผลดี คือ มีความทุกข์น้อยกว่าธรรมดา มันไม่ทุกข์มากเต็มที่เหมือนกับที่ว่าไม่มีการประพฤติ ไม่มีการศึกษา ไม่มีการรู้จักควบคุมเอาซะเลย เอาล่ะเป็นอันว่าคงจะเข้าใจเรื่องการศึกษาและผลสุดท้ายคือการรับปริญญาของพระพุทธเจ้าตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา จำเอาไป แต่สำหรับเครื่องกำหนด กฎหมาย ใช้เป็นหลักสำหรับประพฤติปฏิบัติอยู่ตามสมควรแก่อรรถภาพของตน ของตน มันจะมีผลคือ ลดความทุกข์ ลดกิเลส แล้วก็ลดความทุกข์

ถ้าตั้งใจทำ ตั้งใจทำให้มันจริง ๆ ถึงที่สุด มันก็ถึงที่ว่าสิ้นกิเลส สิ้นความทุกข์โดยประการทั้งปวงได้ เป็นยอดสูตร ถ้ายังไม่ถึงยอดสูตรก็ยังมีกิเลสและความทุกข์น้อยมาก น้อยจนไม่ค่อยจะมีเนื้อหาอะไร การบรรยายนี้ก็สมควรแก่เวลาแล้ว หวังว่าจะจดจำเอาไปเป็นเงื่อนต้น เป็นเงื่อนต้น เพื่อศึกษาให้ ย้ายออกไปกันครบถ้วน สิ้นเชิง

http://www.vcharkarn.com/varticle/35244

. . . . . . .