ท่านพุทธทาสภิกขุ : สวนโมกขพลาราม

136 ท่านพุทธทาสภิกขุ : สวนโมกขพลาราม

สวนโมกขพลาราม
สำนักปฏิบัติธรรม โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ
บริเวณรับแขกในสวนโมกข์ปัจจุบัน ม้านั่งตัวกลางนั้น
อาจารย์พุทธทาสเคยใช้รับแขกและสนทนาธรรมกับผู้มาเยือน

ที่มาของชื่อ ” สวนโมกข์พลาราม ” : เราว่าไปคนเดียว คิด คิด คิดไปตามกฎเกณฑ์ หรือตามถ้อยคำที่มีไช้อยู่
และเพื่อขบขันบ้าง เรามันมีนิสัยฮิวเมอริสท์อยู่บ้าง ฟลุคที่ว่ามันมีต้นโมก และต้นพลา
ที่สวนโมกข์เก่านั้น เอาโมกกับพลามาต่อกันเข้า มันก็ได้ความหมายเต็มว่า
” กำลังแห่งความหลุดพ้น ” ส่วนคำว่าอาราม แปลว่า ที่ร่มรื่น ที่รื่นรมย์ เมื่อมันฟลุคอย่างนี้มันก็ออกมาจริงจัง
ตรงตามความหมายแท้จริงของธรรมะ มีความหลุดพ้น เรียกว่า ” โมกข-พลาราม ”
เป็นชื่อสำนักป่าที่จัดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมวิปัสนาธุระ

ท่านพุทธทาส ภิกขุ
ภาพ : www.buddhadasa.org
สวนโมกขพลาราม ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๖๘ หมู่ ๑ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
อยู่บริเวณเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณกิโลเมตรที่ 134
เดิมชื่อวัดธารน้ำไหล มีท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เพื่อเป็นสถานที่
แสวงหาความสงบและศึกษาธรรม มีโรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยภาพศิลป์ บทกวี
คติธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ภาพพุทธประวัติ ภาพจำลองจากภาพหินสลัก
เรื่องพุทธประวัติในอินเดีย รอบบริเวณร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจ
และศึกษาพุทธศาสนา

มีการสอนฝึกสมาธิแก่ชาวต่างประเทศ ทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือน
และสำหรับคนไทย ทุกวันที่ 20-27 ของทุกเดือน ตั้งแต่เวลา 8.30-17.00 น.

ติดต่อรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 7743 1552, 0 7743 1597 หรือ www.suanmokkh.org
และใกล้ ๆ กับสวนโมกขพลารามมี สวนรุกขชาติเขาพุทธทอง เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่มีค่าไว้มาก

โรงมหรสพทางวิญญาณ
มักเรียกกันว่า โรงหนัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นแหล่งบันเทิงทางจิตวิญญาณของผู้เข้าชม
เป็นอาคารคอนกรีต ด้านในเป็นโถงโล่ง มีระเบียงเป็นทางเดินวนได้ทั้งสองชั้น
ด้านนอกมีภาพแจกดวงตาแห่งธรรม ประดับที่ผนังอาคาร นอกจากนี้ยังมีภาพปริศนาธรรมอีกหลายภาพ
ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ในช่วงแรก ๆ ที่เปิดให้เข้าชม ท่านพุทธทาสจึงต้องทำหน้าที่บรรยายภาพดังกล่าว ปัจจุบันมีพระสงฆ์มาทำหน้าที่ บรรยายภาพตั้งแต่เช้าถึงบ่ายภาพปริศนาธรรมที่น่าสนใจ

ลานหินโค้ง มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 โดยใช้ก้อนหินจัดเรียงเป็นแนวโค้งบนลานดิน
ที่กว้างขวางภายใต้ร่มไม้ใหญ่นานาพรรณ บริเวณนี้เป็นที่ฉันอาหาร ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์
และผู้มาปฏิบัติธรรม และฝึกนั่งสมาธิ เวลา 13.00-14.00 น. ในแต่ละวัน ยกเว้นวันโกนและวันเสาร์
นอกจากนี้ทุกวันเสาร์ เวลา 08.00 น. จะมีการสาธิตการตักบาตรเลี้ยงพระจำนวนมากในสมัยพุทธกาล
โดยพระสงฆ์จะนั่งที่พื้น แล้วชาวบ้านจะตักอาหารใส่บาตร นำไปประเคนให้พระฉันในบาตร
และมีการบรรยายธรรมในเวลา 14.00-16.30 น.

นอกจากนี ยังมีห้องเรียนธรรมะ ห้องเรียนธรรมชาติ เรียนรู้อยู่กับพื้นดิน
ใต้ร่มไม้ใบใหญ่ ไม่ต้องมีตึกอาคารใหญ่โต เป็นการเรียนรู้ข้างในตัวเอง
ไม่ใช่เรียนรู้ข้างนอก ท่านพุทธทาสสอนมห้ดูตัวเองเห็นตัวเอง
เข้าใจตัวเอง วิจัยวิจารณ์ตัวเองเสียก่อน แล้วจึงไปศึกษาเรื่องภายนอก

ข้อมูลและภาพจาก : www.dhammathai.org, www.nairobroo.com, www.buddhadasa.org

http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=188.10;wap2

. . . . . . .