สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านสร้างพระสมเด็จวัดระฆังขึ้นหลังจากที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง 2 ปี โดยนายช่างสิบหมู่เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายเป็นที่ค่อนข้างจะเชื่อได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ท่านสร้าง สมเด็จวัดระฆังของท่านไปเรื่อยๆ จนท่านอาจจะมีการดูฤกษ์เป็นกรณีพิเศษ แล้วท่านก็สร้างขึ้นมาท่านมีกำหนดว่า จะสร้างกี่องค์ ท่านก็สร้างขึ้นมา แต่มั่นใจว่าท่านไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เพื่อแจกไว้นานๆ

วันไหนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กำหนดจะสร้างพระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะเอาปูนเอาส่วนผสมต่างๆ มาตำได้เนื้อพระสมเด็จมาก้อนหนึ่ง แล้วปั้นเป็นแท่งสี่เหลียม ตัดออกเป็นชิ้นๆ ในสมัยก่อนเรียกว่า ชิ้นฟัก

แล้วนำเนื้อสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวนกดเนื้อพระ กับแม่พิมพ์ให้แน่น นำเอาไม้แผ่นมาวางทับด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง แล้วใช้ไม้หรือของแข็ง เคาะที่ไม้ด้านหลังเพื่อไล่ฟองอากาศ และกดให้เนื้อพระสมเด็จแน่นพิมพ์

จึงจะเอาไม้แผ่นด้านหลังออก จึงปรากฏรอยกระดานบ้าง รอยกาบหมากบ้างบนด้านหลัง ขององค์สมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นจุดสำคัญและเป็นหัวใจของการดูพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพระบนพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัด ตอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ใช้มีดเพราะเป็นพระไม่ควรใช้ของมีคม วิธีตัดตอกนั้นตัดจากด้านหลัง ไปด้านหน้า โดยเข้าใจว่าในแม่พิมพ์พระสมเด็จ ที่เป็นหินชนวนนั้น จะบากเป็นร่องไว้สำหรับนำร่องการตัดตอก

เพราะพระสมเด็จวัดระฆัง บางองค์ที่ขอบมีเนื้อเกินจะเห็นเส้นนูนของร่องไว้ให้สังเกต การตัดตอกพระสมเด็จวัดระฆัง จากด้านหลังไปด้านหน้า จึงเกิดร่องรอยปรากฏ ที่ด้านข้างขององค์พระ และรอยปริแตกขององค์พระ ด้านหลังที่ลู่ ไปตามรอยตอก ที่ลากลงร่องรอยต่างๆ

เมื่อผ่านอายุร้อยกว่าปีมาแล้ว การหดตัวขององค์พระสมเด็จฯ การแยกตัวของการปริแตกตามรอยตัด กลายเป็นตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่สำคัญที่สุด เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพิมพ์สร้างพระสมเด็จฯ จนหมดเนื้อแล้วก็คงหยุด คงไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต นำมาสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง แน่นอนที่สุด อันดับแรก ประกอบด้วยปูนเปลือกหอย คือเอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว

ในสมัยก่อนมีปูนเปลือกหอยมาก แต่ปัจจุบันหาไม่ค่อยมีแล้ว อันดับสอง คือส่วนผสมของน้ำมัน ตังอิ๊ว เพราะเคยเห็นมากับตา เวลาพระสมเด็จวัดระฆัง ชำรุดหักจะเห็นเป็นน้ำมันตังอิ๊ว เยิ้มอยู่ข้างในเนื้อพระเป็นจุดๆ

อันดับที่สาม มีปูนอีกชนิดหนึ่งเขาเรียกว่า ปูนหิน มีน้ำหนักมากไม่ทราบว่าทำมาจากอะไร ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตว่าตามโรงงิ้วพวกงิ้วจะเอาแป้งจากปูนหินสีขาวๆมาพอกหน้า เป็นพื้นแล้วจะติดแน่น

เอาเนื้อสามส่วนนี้เป็นหลักมาผสมกัน ยังมีมวลสารชนิดหนึ่งเป็นเม็ดสีเทาๆมองเหมือนก้อนกรวดสีเทา แต่ไม่ใช่ เพราะเนื้อนิ่มเวลาเอามีดเฉือนจะเฉือนเข้าง่าย จึงไม่ทราบว่าเป็นมวลสารอะไรและเคยเจอผ้าแพรสีเหลือง เข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูป แล้วเวลาเก่า หรือชำรุด แทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูป มีผู้คนกราบไหว้ มากมายไปทิ้ง

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้ แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมด เมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง

นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง วัสดุอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือมีเม็ดแดงเหมือนอิฐผสมอยู่ในเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง เม็ดแดงนี้ขอยืนยันได้เลยว่า เป็นเศษเนื้อพระซุ้มกอตำให้ละเอียดแล้วผสมไว้กับมวลสารที่จะสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง

เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมี เม็ดพระธาตุมาก จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล

จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สำคัญที่สุด สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว ไม่กลืนกันภายหลัง แยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง

แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่า อาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทองให้ พุทธศาสนิกชน กราบไหว้บูชา เป็นร้อยเป็นพันปี บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย จึงต้องลอกเอาปูนขาว ออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ ให้พระสมบูรณ์ เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชา ในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสาร ของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบัน อายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น

วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆ เม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆังแท้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียน เป็นตัวอักขระ บนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผงวิเศษ ๕ ชนิด คือ ปถมัง,อิธะเจ,มหาราช,พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ การเกิดผงวิเศษทั้ง ๕ นี้ นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริการพระคาถา เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการตั้งจิต บริกรรมพระเวทย์ในขณะที่เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ ในแต่ละบทกำหนดไว้ ขั้นผงที่ได้ออกมา เป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ “ ปถมัง ”

เมื่อได้ผง “ ปถมัง ” แล้ว นำผงนี้มาปั้นเป็นดินสอ ตากแห้ง แล้วนำแท่งดินสอชอล์ดที่เกิดจากผงปถมัง มาเขียนสูตรพระเวทย์อีกบทหนึ่งเขียนแล้วลบ ทำซ้ำกันตามจำนวนครั้งที่พระเวทย์บทใหม่กำหนด จนเกิดผงชอล์ด ครั้งใหม่ ที่เรียกว่า “ ผงอิธะเจ ” แล้วก็ผงอิธะเจมาปั้นเป็นแท่งชอล์ด เขียนสูตรพระเวทย์อีก เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเช่นนี้จนได้ ผงมหาราช แล้วก็ผงมหาราช กระทำเช่นเดียวกับขั้นตอนการทำตอนการผงอื่นๆ หากแตกต่างกันที่สูตรในการเขียน อักขระเลขยันต์ และจำนวนครั้งที่ถือเป็นเฉพาะแต่ละสูตรจนได้ ผงพุทธคุณ และสุดท้ายคือ ผงตรีนิสิงเห อันเกิดจากหลอมรวมสูตรทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียวจากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) จึงนำผงวิเศษนี้มาผสมรวมกันกับเปลือกหอยที่บดหอยที่บดละเอียด อันเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ก็จะมีข้าวสุก ดินสอพอง กล้วย โดยมีน้ำตังอิ๊วเป็นตัวประสานส่วนผสมเหล่านี้ จากนั้นจึงนำพระ ที่ผสมเสร็จแล้วนั้น กดลงในแม่พิมพ์ซึ่งแกะพิมพ์โดยช่างสิบหมู่

นอกจาก ผงปถมังซึ่งมีอานุภาพทางคงกะพัน, ผงอิทธิเจ มีอานุภาพทางเสน่ห์เมตตา, ผงตรีนิสิงเหอันมีอานุภาพ ทางป้องกันคุณไสย ภูติผีปีศาจและอาถรรพ์ต่างๆ, ผงมหาราช มีอานุภาพทางมหานิยม อำนวยความเจริญรุ่งเรือง และผงพุทธคุณ อันมีอานุภาพคุ้มครองป้องกันและเมตตามหานิยม แล้วยังมีดิน 7 โป่ง, ดิน 7 ตีนท่า, ดิน 7 หลักเมือง, ผงธูปบูชาพระประธานในโบสถ์, ดอกกาหลง, ยอดสวาท, ยอดรักซ้อน, ไคลเสมา เป็นต้น นอกจากนั้น นักนักเล่นพระรุ่นเก่ายังเคยพบเศษจีวร, ผงถ่าน, ก้านธูป, เศษอาหารซึ่งท่านฉันคำไหนอร่อย ก็จะคายออกมาและนำไปตากแห้ง โดยมีน้ำมันตังอิ้ว, กล้วย, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อยและเยื่อกระดาษ เป็นตัวประสาน ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกด้วย

การสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการสร้างไปแจกไป มิได้เก็บลงกรุ โดยประมาณว่ามีการสร้างถึง ๘๔ , ๐๐๐ องศ์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์

พระสมเด็จวัดระฆัง ถูกจำแนกออกไปเป็น ๕ พิมพ์ใหญ่ด้วยกันคือ
๑ พิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่
๒ พิมพ์ทรงเจดีย์
๓ พิมพ์เกศบัวตูม
๔ พิมพ์ฐานแซม
๕ พิมพ์ปรกโพธิ์

๑. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน หรือที่นิยมเรียกว่า พระพิมพ์ใหญ่ เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับ ความนิยมสูงที่สุดในบรรดาพระสมเด็จวัดระฆังทั้ง ๔ พิมพ์ ด้วยความงดงามสง่าผ่าเผย ขององค์พระ และความสมบรูณ์สมส่วนขององศ์ประกอบโดยรวมขององค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด ประกอบกับจำนวนพระที่มีปริมาณ เหมาะสม จึงส่งผลให้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานนี้ นับเป็นสุดยอดของพระในตะกูลสมเด็จทั้งหมด

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูนในพระพิมพ์นี้ สามารถแยกแยะออกเป็น ๓ โครงสร้างใหญ่ด้วยกันโดยถือเอารูปร่างขององค์พระ เป็นตัวกำหนด

พระพิมพ์ ๑ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา พระพักตร์ค่อนข้างกลมใหญ่ หรือเรียกว่า ( เอวหนา หน้าใหญ่ )
พระพิมพ์ ๒ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา ส่วนพระพักตร์นั้น จะเรียวอูมตรงกลาง และรูปพระพักตร์นั้นยาวกว่าพิมพ์แรก หรือที่เรียกว่ารูปพระพักตร์แบบ “ ผลมะตูมใหญ่ ” ( เอวหนา หน้ากลาง )
พระพิมพ์ ๓ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์บาง คอดหายไปตรงส่วนปลายรูปพระพักตร์จะเรียวอูมรีเล็กกว่าทุกพิมพ์ ที่เรียกว่า “ ผลมะตูมเล็ก ” ( เอวบาง หน้าเล็ก )

เนื่องจากแม่พิมพ์ของพระเป็นการสร้างด้วยมือ และมีหลายอัน จึงทำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ยังคงเค้าโครงหลักดังกล่าวมาแล้ว ถึงกันนั้นความแตกต่างในส่วนของเค้าโครงก็มิได้มีผล ต่อความแตกต่างเรื่องค่านิยม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในค่านิยมคือ ความสมบรูณงดงามขององค์พระ นับเป็นปัจจัยหลัก

๒. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ นี้นับได้ว่าเป็นพระที่มีลักษณะโดยรวมของลำพระองค์ ( ลำตัว ) ขององค์พระที่หนากว่าทุกพิมพ์ และรูปทรงทั้งหมดจากพระเกศถึงฐานชั้นล่างสุด จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ พระพิมพ์นี้สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ
พระพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะพบว่าส่วนของพระพักตร์ จะมีลักษณะอูมเกือบกลม ด้านข้างของพระพักตร์ จะมีเส้นพระกรรณ ( หู ) ติดอยู่ไรๆ ไม่ชัดเจนเท่าพิมพ์เกศบัวตูม สำหรับพระที่ยังคงความสมบรูณ์ และการกดในช่วงแรกของการทำ ก่อนที่แม่พิมพ์จะเริ่มลบเลือน ส่วนลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะล่ำ เอวหนา และวงพระกร ( วงแขน ) จะสอบเข้าหาลำตัว ( วงพระกรแคบ )
พระพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีลักษณะโดยรวมผอมบางกว่าพิมพ์แรก พระพักตร์ ( หน้า ) จะเรียวกว่า ปลายพระเกศจะสั้น หลายองค์ที่พบเห็นพระเกศจะไม่จรดซุ้มด้านบน ลำพระองค์จะหนาเป็นรูปกระบอก ( แต่เว้าเอวเล็กน้อย ) ลำพระกร ( ลำแขน ) ช่วงบนจะหนาอูมแบบแขนนักกล้าม และวาดลำพระกรแคบ ( วงแขนแคบ ) มากกว่าสมเด็จทุกพิมพ์ ในพระที่มีความสมบรูณ์ จะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน
พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หากมีความสมบรูณ์ เท่ากัน แต่พิมพ์ทรงเจดีย์เล็กอาจจะมีค่าความนิยมสูง หากความสมบรูณ์ชัดเจนมากกว่าพิมพ์เจดีย์ใหญ่

๓. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองมาจากพิมพ์พระประธาน ความนิยมนับว่าใกล้เคียงพิมพ์เจดีย์ แต่ความล่ำสันขององค์พระ และปริมาณที่พบน้อยกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ จึงทำให้ลำดับความนิยมสูงกว่าทรงพิมพ์เจดีย์เล็กน้อย
สาเหตุที่เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “ เกศบัวตูม ” นั้นเนื่องมาจากรูปพระพักตร์ของพระพิมพ์นี้ จะมีความกว้างของหน้าผาก แล้วเรียวลงมาสู่ลูกคางเล็กน้อย และจะมีความมุ่นเมาลีเหนือพระเคียร เป็นกระเปาะเล็กน้อย ก่อนที่จะถึงส่วนปลายของพระเกศคล้ายรูปดอกบัวคว่ำ ที่สำคัญจะปรากฏเส้นพระกรรณ ( หู ) ที่ยาวเกือบจรดพระอังสา ( บ่า ) แทบทุกองค์
พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูมนี้ แบ่งตามโครงสร้างของโดยรวมของลำพระองค์ได้เป็น ๒ ประเภทคือ
• พิมพ์เกศบัวตูมใหญ่ จะมีลักษณะลำพระองค์หนา บางองค์เกือบเป็นรูปทรงกระบอก พระพักตร์ใหญ่ ค่อนข้างกลม รูปของลำพระกร ( ท่อนแขน ) จะล่ำหนา
• พิมพ์เกศบัวตูมเล็ก มีลักษณะของลำพระองค์ที่เรียบบางกว่าพิมพ์แรก ( เอวคอด ) รูปพระพักตร์เกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ( คางมน ) ลำพระกร ( ท่อนแขน ) จะบางเล็ก จะเด่นของพระพิมพ์นี้คือจะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน พาดผ่านลำพระองค์โดยตลอด นับเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์ที่มีความคมลึก และรายละเอียดชัดเจนมาก}}
ค่าความนิยมของพระพิมพ์นี้ขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์คมลึกของรายละเอียดที่รวมอยู่ในองค์ พระเป็นหลัก

๔. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม เป็นพระที่ได้รับความนิยมรองมาจากทุกพิมพ์ที่กล่าวมาข้างต้น สาเหตุที่เรียกพิมพ์นี้ว่า “ พิมพ์ฐานแซม ” เนื่องจากมีเส้นแซมที่ใต้องค์พระกับฐานชั้นบนสุด และระหว่างฐานชั้นบนสุดกับฐานชั้นกลาง
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม สามารถแบ่งตามโครงสร้างของพระองค์ได้ ๓ ประเภทคือ
พิมพ์ที่ ๑ จะมีลักษณะรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่อูมรีใหญ่ ลำพระองค์จะหนาเกือบเป็นทรงกระบอกจนบางองค์แทบไม่มีเส้นโค้งข้างลำพระองค์เลย
พิมพ์ที่ ๒ จะมีลักษณะของรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) เรียวและอูมน้อยกว่าพิมพ์แรก ลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะเล็กกว่าพิมพ์แรกมีเส้นเอวให้เห็นชัดเจนขึ้น พระที่กดพิมพ์ชัดเจนจะปรากฏเส้นคอให้เห็นด้วย
พิมพ์ที่ ๓ จะมีลักษณะพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่เรียวยาวมากกว่าสองพิมพ์แรก เส้นพระกรรณ ( หู ) ข้างพระพักตร์จะติดชัดเจน ลำพระองค์ ( ลำตัว ) บาง เอวคอด ในพระที่มีความคมชัดจะปรากฏเส้นสังฆาฏิพาดลำพระองค์ชัดเจนมากขึ้น
สำหรับความแตกต่างในด้านค่านิยมทั้ง ๓ พิมพ์ แทบจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ความสวยงาม ความสมบรูณ์ คมชัด เป็นสิ่งที่กำหนดความแตกต่างของค่านิยมพระพิมพ์นี้

๕. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์

พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึงไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง

ขอขอบคุณ : http://somdejjakapad.com/construct_1.html

. . . . . . .