เมื่อหลวงปู่แหวนผจญผีกองกอย

เมื่อหลวงปู่แหวนผจญผีกองกอย

เรื่องของหลวงปู่ต่างๆที่มีจริยวัตรอันงดงาม..และได้ปฏิบัติธรรมในสถานที่ ต่างๆ จนได้พบกับปาฏิหารย์ต่าง และนี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งของรอยตะวันที่จะเล่าเรื่องผีกองกอยให้ฟัง

..หลวงปู่แหวนผจญผีกองกอย ชาวป่าข่าระแด

มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญอีกครั้งหนึ่ง ได้เขียนไว้ในหนังสือ พระธาตุปาฏิหาริย์ ของนิตยสารโลกทิพย์ ซึ่งขอนำมากล่าวโดยสรุปดังนี้ : –

เมื่อหลวงปู่แหวน กับ หลวงปู่ตื้อ จาริกมาถึงเทือกเขาใหญ่ทิศใต้ แขวงเมืองคำม่วน เป็นป่าดงเย็นอืมครึม เชื่อมโยงลงไปถึงสุวรรณเขต
ในตอนเย็น พบสถานที่เหมาะจึงปักกลดพักภาวนาที่หุบเขาใต้เงื้อมผาแห่งหนึ่ง ทั้งสององค์ปักกลดห่างกันพอสมควร คืนนั้นต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรอยู่ในกลดเป็นปกติ ประมาณ 3 ทุ่ม ในป่าดงเช่นนั้นดูเงียบสงัดวังเวง ก็ได้ยินเสียงประหลาดคล้ายเสียงนกกลางคืนร้อง “ก๋อย ก๋อย ก๋อย”
เสียงนั้นดังใกล้เข้ามา แล้วดังรับกันล้อมรอบไปทั่วทิศ เสียงบีบเข้ามา “ก๋อย ก๋อย ก๋อย” และมีแสงคบไฟนับสิบๆ ดวงมาจากเสียงนั้น ทำให้มองเห็นตัวผู้ถือได้ถนัด
ร่างนั้นเป็นมนุษย์ร่างประหลาด ขนาดเด็กอายุ 13-14 ปี ผอม พุงโร ผิวคล้ำ ผมเผ้ารุงรัง จมูกแบน บ่งบอกว่าเป็นคนป่า ทุคนมีอาวุธประจำตัวคือ “หน้าทึ่น” คล้ายธนูแต่เล็กกว่า ใช้คล่องตัวในป่า พวกเขาสะพายกระบอกไม้ไผ่ใส่ลูกดอกอาบยาพิษ

คนป่าร่างเล็กนั้นส่งเสียงรับกันเป็นทอดๆ โอบล้มกลดธุดงค์เข้ามา พอได้ระยะก็พากันยกหน้าทึ่นเล็งเข้ามายังกลดทั้งสอง หลวงปู่ตื้อร้องบอกพอได้ยินว่า “ท่านแหวนระวัง” แล้วทั้งสององค์ก็กำหนดจิตหลับตาเข้าฌานทันที เป็นไปโดยอัตโนมัติ ปรากฏว่าลูกดอกอาบยาพิษที่ระดมยิงมานั้นตกร่วงพรูห่างจากกลดทั้งสองเป็นวา เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง
พวกชาวป่าต่างแปลกใจ ร้อง “ก๋อย ก๋อย ก๋อย” ดังกระหึ่ม แล้วระดมยิงลูกดอกอีก 2-3 รอบ ก็ปรากฏผลเช่นเดิม คือลูกดอกตกลงดินก่อนจะไปถึงกลด ทำเอาพวกเขาตกใจกลัว ร้อง “ก๋อย กุ๋ย ก๋ย” แล้วต่างก็วิ่งหนีหายไป ในความมืด

เมื่อคนป่าหนีกลับไปหมดแล้ว หลวงปู่ทั้งสอง จึงได้ออกมานอกกลด หลวงปู่ตื้อ ถามว่า “เป็นไงท่านแหวน ตับไตไส้พุงของท่านยังดีอยู่หรือ?”
หลวงปู่แหวน ตอบไปว่า “ผมนั่งรออยู่ในกลด ให้พวกเขาเอาตับไตไส้พุงผมไปกิน ทำไมมันไม่เอาก็ไม่รู้” ทั้งสององค์ได้เดินจงกรมไปจนดึก แล้วเข้าสมาธิต่อภายในกลดไปจนสว่าง

ตอนเช้าพวกคนป่ากลุ่มนั้นเข้ามาด้อมๆ มองๆ ด้วยความเกรงกลัว หลวงปู่ แสดงท่าให้พวกเขาเข้ามา ต่างค่อยๆ เข้ามาด้วยเนื้อตัวสั่นเทา มาหมอบนิ่งเอาหัวซุกดินคล้ายสำนึกผิด และขอขมา
พวกเขาเป็นพวก ข่าระแด เป็นคนป่ากลุ่มหนึ่ง ชอบล่ามนุษย์เผ่าอื่นที่ล่วงล้ำเข้ามา แล้วเอาเนื้อแบ่งกันกิน

พวกข่าระแด ได้นิมนต์หลวงปู่ทั้งสองไปยังที่พักของพวกเขา จัดอาหารป่ามาถวาย ก็มีเนื้อย่าง 2 ก้อน ได้ความว่าเป็นเนื้อของคนแก่ซึ่งยอมสละชีวิตของตนเองให้เป็นอาหารของลูกหลาน

หลวงปู่ อยู่โปรดพวกชาวป่าหลายวัน ทรมานและสอนพวกเขาให้เลิกการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เมื่อเห็นว่าพวกเขาเชื่ออย่างจริงใจแล้ว ท่านทั้งสองก็ออกเดินทางต่อไปด้วยความอาลัยอาวรณ์ของพวกเขายิ่งนัก
(อ่านเรื่องโดยละเอียดใน พระธาตุปาฏิหาริย์ ของนิตยสารโลกทิพย์)

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

คติธรรมและคำสอน ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวง ปู่แหวนเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของประเทศไทย คำสอน วิธีการปฏิบัติ ตลอดจนเครื่องลางของขลังและอภินิหารของหลวงปู้แหวนถูกนำออกมาตีพิมพ์เผยแพร่ กันอย่างแพร่หลาย ท่านเป็นพระอาจารย์สมถวิปัสสนา เป็นที่เคารพรักและศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนชาวเหนืออย่างกว้างขวาง มีผู้กล่าวถึงหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม และมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ นานา หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้หยุดชีวิตธุดงควัตรของท่านเพื่อพำนักอย่างจริงจังในวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีผู้นิยมเลื่อมใส และศรัทธาในวัตถุมงคลของท่านมาก ต่างก็พยายามหามาไว้เป็นสิริมงคลแก่ตัว เพราะต่างร่ำลือในความขลังจากการปลุกเสกของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
ให้ตั้งสัจจะ…หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
การ ปฏิบัติเราจะเดินก็ให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหวเราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริงๆ
กำหนด ตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัจจะว่าจะภาวนาเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนด ระวังรักษาจิตใจของเรา ให้แช่มชื่นเบิกบานไม่ปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม
อย่า ละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกัน จะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอน อย่างนี้ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละ ให้ผ่องใสตลอดไป
พยายามรักษาความดีความขยันหมั่นเพียร
ให้ พยายามรักษาความดีความหมั่นความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง
เรา ต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจอาศัย ความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสีย ให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียรความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน
เรา ต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตนิ่งเฉยเกียจคร้าน
เรา ต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยการอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบ ในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร
ถ้า เราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือน ด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน
จิต ของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
ให้ ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียร ไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม
ถ้า เราไม่หมั่นหาอุบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส
ให้ ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะ ตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิรยะ ความพากความเพียร ในภาวนาในคุณความดี ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร
ให้ ตั้งความสัจจ์ความเพียรไว้ อย่าเป็นคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสั่งสอนเราให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้
เปิดประวัติ พระ”หลวงปู่แหวน” วัตถุมงคลดัง เหรียญหลวงปู่แหวน
หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หรือที่รู้จักกันในนาม “พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม” มีนามเดิมว่า “ญาณ” โยมบิดาชื่อ นายใส โยมมารดาชื่อ นางแก้ว อาชีพทำนาและตีเหล็ก เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านหนองบอน หมู่ 2 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพี่น้อง 2 คน ท่านเป็นคนที่ 2 ให้ พยายามรักษาความดีความหมั่นความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง
เรา ต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจอาศัย ความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสีย ให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียรความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน
เรา ต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตนิ่งเฉยเกียจคร้าน
เรา ต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยการอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบ ในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร
ถ้า เราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือน ด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน
จิต ของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
ให้ ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียร ไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม
ถ้า เราไม่หมั่นหาอุบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส
ให้ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะ ตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิรยะ ความพากความเพียร ในภาวนาในคุณความดี
ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร
ให้ ตั้งความสัจจ์ความเพียรไว้ อย่าเป็นคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสั่งสอนเราให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้
กามกิเลส
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

การ ต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง ความพอใจ ก็คือกิเลส ความไม่พอใจ ก็คือกามกิเลส กามกิเลสนี้ อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความพอใจให้อยู่ที่ใจนี่
กาม ตัณหา เปรียบเหมือนแม่น้ำ ไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที อันนี้ฉันใด ความอยากของตัณหามันไม่พอ ต้องทำความพอจึงจะดี เราจะต้องทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิก็ดี ทุกอย่างเราทำความพอดี ความพอใจก็นำออกเสีย ความไม่พอใจก็นำออกเสีย เวลานี้เราจะพักจิต ทำกายของเรา ทำใจของเราให้รู้แจ้ง ในกายในใจของเรานี้ รู้ความเป็นมา วางให้หมด วางอารมณ์ วางอดีต อนาคตทั้งปวงที่ใจนี่แหละ

ญาปู่คูอาจารย์มั่น ย้ำ จริง ๆ ผู้เฒ่า จะไปเอาที่ไหนจะออกจากกายจากใจไปที่ไหน เอาขนาดนั้นมันก็ยังไม่ค่อยจะเอาหนาจิตนี่…ความหลงไม่ใช่น้อยหนา จำจริง ๆ เอาอยู่อย่างนั้น เอาเข้า ๆ มันมีหลายตัวหนา กิเลส กิเลสความพอใจ ความไม่พอใจ ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ ทั้ง ๒ หู ๒ ตา ๒ แขน ๒ ขา ลิ้น กาย ของดีมันอยู่นี่แหละ
ผู้ ปฏิบัติต้องน้อมเข้าหาสมมติให้เกิดเป็นวิมุตติ พิจารณาให้รู้แจ้งสมมติให้เกิดวิมุตติของเก่านั่นแหละ นักปฏิบัติของเราต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน สงสัยมันก็สงสัยอันนี้แหละ ของเก่านี่แหละ เอาเข้า ๆ กิเลสมันปรุงขึ้น
โอ…ความ พอใจไม่พอใจมันอยู่นี่แหละ มันเกิดขึ้นนี่แหละ มันเกิดมันดับอยู่นี่แหละ ไม่รู้เท่ามัน ถ้ารู้เท่ามันก็ดับไป มันเกิดขึ้นมาแล้ว เกิดดีเกิดชั่ว เกิดผิดเกิดถูก มันก็ดับไป ถ้ารู้เท่าทันมัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย แขน ขา มันก็อยู่นี่แหละ มันจะไปไหน ปัจจุบันจะมีอยู่กี่ตนนักปฏิบัติ ความหลง ความโลภ มันก็เกิดอยู่นี่แหละ ราคะ โมหะ มันก็เกิดอยู่นี่แหละ ความโกรธ ความหลง ความโลภ มันก็เกิดอยู่นี่ ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยได้กำลัง ของเก่านั่นแหละ
คิด ถึงคูบาญาปู่มั่นท่านว่า มันอยู่นี่ จะไปหาที่ไหน จะไปหอบไปหาบเอาที่ไหน มันอยู่นี่ อยู่ในตัวเรานี่ ร้องใส่อย่างนี้แล้ว ก็หัวหนาผู้เฒ่า แต่ก่อนผู้เฒ่าปรารถนาพุทธภูมิ ผู้เฒ่าตัดออกหมด ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ในภายใน รู้ภายนอกภายในหมดแล้ว มันก็หยุด มันก็สบาย
อดีต ก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป
เกร็ดประวัติของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หรือที่รู้จักกันในนาม “พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม” มีนามเดิมว่า “ญาณ” โยมบิดาชื่อ นายใส โยมมารดาชื่อ นางแก้ว อาชีพทำนาและตีเหล็ก เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านหนองบอน หมู่ 2 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพี่น้อง 2 คน ท่านเป็นคนที่ 2
ท่านออก บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี โดยมีจิตมุ่งมั่นจะอยู่ในสมณเพศ ตามแนวความคิดของมารดาเมื่อครั้งยังมีชีวิต เมื่อออกบรรพชาเป็นสามเณรนั้นได้บวชในฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แหวน” สามเณรแหวนสนใจปฏิบัติธรรมและเรียนรู้ในตำราต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง แม้ด้วยวัยเพียง 13 ปี ท่านก็สามารถอ่านตำราในใบลานได้ทั้งภาษาขอม และภาษาล้านนาจนแตกฉาน ในด้านความประพฤติตนของสามเณรแหวนนี้เป็นที่น่าเลื่อมใสและก่อศรัทธาแก่ผู้ พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านขยันเจริญสมาธิ ฉันอาหารเพียงมื้อเดียว และไม่เสพเนื้อสัตว์ บุคลิกลักษณะสุขุม พูดน้อย ดูเคร่งขรึมสมกับการครองเพศสมณะ

อาจารย์อ้วน ผู้มีศักดิ์เป็นอาของสามเณรแหวน ได้พิจารณาส่งเสริมความตั้งใจศึกษาของหลานเป็นอย่างดี ได้นำไปฝากเรียนธรรมและวิชาการอื่นๆ ที่สำนักสงฆ์วัดนาสัก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และได้ไปเรียนต่อ ณ สำนักสงฆ์วัดสร้างถ่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ณ วัดนี้ ได้มีพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทางภาษาบาลี ภาษาไทย ทำให้ได้เข้าใจและรู้แจ้งในธรรมะขึ้นอีก ความใฝ่รู้ของท่านทำให้รู้และเริ่มเชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ประกอบไปด้วย

เมื่อ อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดสร้างถ่อนอก (ห่างจากวัดสร้างถ่อเล็กน้อย) บวชในฝ่ายมหานิกายเช่นเดิม ได้ศึกษาธรรมวินัย ธรรมปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผู้รอบรู้ทั้งปริยัติธรรมตลอดจนถึงวิชาอาคมอย่างกว้างขวาง จากความที่ท่านเป็นผู้ชอบแสวงและใฝ่หาความรู้นั้นเอง จึงเกิดความคิดที่จะออกเสาะหาอาจารย์ผู้ที่จะประสิทธิ์ความรู้ให้แก่ท่านต่อ ไปอีก จึงได้ออกเดินทางธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ขณะที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เริ่มออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมขธรรมนั้นอายุได้ประมาณ 30 ปี บ่อยครั้งจากการธุดงค์ได้พบสหายธรรมจากที่ต่างๆ บ้างก็เป็นพระสงฆ์ในแนวมหานิกายด้วยกัน บ้างก็เป็นสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่ก็มีความผูกพันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดกระทั่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดต่างๆ แก่กันเสมอ ผู้ที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ สนิทสนมด้วยเป็นพิเศษ และได้คบหากันต่อมาก็คือ หลวงปู่ตื้อ อาจลธรรมโม ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งกำลังเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึงว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และกำลังออกสั่งสอนธรรมปฏิบัติอยู่ทางภาคอีสานขณะนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้พบและฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น บังเกิดความซาบซึ้ง และทราบว่าเป็นทางแห่งการแสวงหาธรรมตามที่ประสงค์

หลังจากหลวงปู่ แหวนได้พบพระอาจารย์มั่น และได้เดินทางธุดงค์ไปกับหลวงปู่ตื้อ โดยเดินทางไปจากภาคอีสานไปสู่ประเทศลาว เขมร เวียดนาม พม่า จนกระทั่งทะลุผ่านกลับสู่ประเทศไทย ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วกลับมาสู่อีสานแล้ว ต่อมาอีกไม่นาน (ประมาณอายุ 33 ปี) หลวงปู่แหวนได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอุมาลีคุณปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ไปจำพรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้หลวงปู่แหวนได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกครั้ง พร้อมทั้งได้ขอรับเป็นพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุมาลีคุณปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์

นับแต่นั้น หลวงปู่แหวนก็ได้ออกธุดงคกรรมฐานหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ตลอดมา จวบจนได้พบวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ และได้ทำการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปถึงทุกวันนี้

ปี พ.ศ.2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยาบาลอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้น แต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้

นับ แต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยาบาลอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วยเพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

ปี พ.ศ.2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมา ที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

เมื่อหลวงปู่ แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว

ส่วนท่านจะอยู่ใน ฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้น หลวงปู่แหวน จะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะ สำหรับท่าน

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋งได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2528 สิริอายุ 98 ปี

http://board.palungjit.org/

. . . . . . .