ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – วิมุติตาณัตตะนะ
ทีนี้มันยังมีดีกว่านั้นถึงอาจจะไม่เคยได้ยินก็ต้องให้เขาเรียกว่าทางวิมุติตาณัตตะนะทางที่จะติดต่อกับวิมุติ คำว่าภิกษุฟังธรรมอยู่ก็ดี เมื่อบุคคลฟังธรรมอยู่ก็ดี แสดงธรรมอยู่ก็ดี สาธยายธรรมอยู่ก็ดี คิดนึกธรรมอยู่ก็ดี เจริญภาวนาอยู่ก็ดี 5 อย่างนี้มันเป็นทางแห่งวิมุติ ข้อแรกเมื่อภิกษุฟังธรรมเข้าใจธรรม ซึมทราบในธรรม เกิดปราโมทย์ เกิดปิติ เกิดสุข เกิดสมาธิ ตามลำดับเกิดสมาธิ เกิดยะถาโพธะญาณทัศนะเห็นธรรมตามที่เป็นจริงถึงที่เป็นทาน เป็นราคะ เป็นวิมุติภิกษุเป็นผู้ฟังธรรม บุคคลฟังธรรมจิตไปตามแนวนั้นทีนี้ ถ้าบุคคลแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟังอยู่ไม่ใช่ฟังธรรมแต่เป็นผู้แสดงซะเอง แสดงไปคิดนึกไปอย่างลึกซึ้งมันถึงจุดที่ว่าเข้าใจธรรมที่แสดงพอใจมีปราโมทย์ มีปิติ มีความสุข มีสมาธิขึ้นมาโดยความพอใจ แล้วก็มียะถาโพธะญาณทัศนะเห็นธรรมที่เป็นจริงเพราะจิตเป็นสมาธิแล้วก็เกิดปิติถา เบื่อหน่าย ราคะ กายหนัก และจิตจะหลุดพ้นจากสิ่งที่ยึดถือนี่อย่างที่ 2 เป็นผู้แสดงธรรมอย่างที่ 3 สาธยายธรรมเมื่อเขาสาธยายธรรมอยู่ซึมทราบในธรรมมะนั้นโดยเฉพาะเกิดความ ปิติ ปราโมทย์ ก็เป็นสุขชนิดที่ทำให้เกิดจิตเป็นสมาธิ สมาธิมันเห็นตามที่เป็นจริงคือยะถาโพธะญาณทัศนะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้นเมื่อสาธยายธรรมอยู่แท้ๆก็เป็นโอกาสที่บุคคลมีจิตชนิดนั้นที่แจ่มแจ้งโดยธรรมมีปราโมทย์ มีปิติ มีสุขมีสมาธิแล้วก็มียะถาโพธญาณทัศนะมีมีพิทาน มีราคะ และก็มีวิมุติ

ส่วนคิดธรรมมะ วิปัสสนา ภาวนาจะไม่พูดถึงเพราะมันยังไม่เกี่ยวกันทีนี้ว่าเราฟังธรรมก็ดีเราแสดงธรรมเองก็ดี เราสาธยายธรรมอยู่ก็ดี 3 อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดโอกาสสำหรับเรื่องจิตใจที่จะรวมกันเป็นสมาธิเห็นธรรมตามที่เป็นจริงแล้วก็เกิดวิมุติได้ทีนี้ในการทำวัตรเช้าวัตรเย็นนี่มันมีสาเหตุมาขยายถือว่าบทสวดของเรามันเป็นบทขยายก็จะต้องทำให้เป็นการสาธยายที่ดีด้วยจิตที่สำรวมดีคือนั่งให้ดีสำรวมจิตให้ดีตั้งสติให้ดีแล้วก็สาธยายด้วยความรู้สึกที่สมบูรณ์ก็เป็นการสาธยายที่ดีให้ปะเหมาะมันซึมทราบในบทสาธยายนั้นเข้าใจในธรรมมันก็พอใจแล้วก็ปราโมทย์มันก็ปิติก็ปัสสะทิวิกฤตสงบลงไปแล้วก็เป็นความสุขมันก็เกิดสมาธิเกิดยะถาโพธิญาณทัศนะเราจึงถือว่าในโอกาสทำวัตรเช้าเย็นนี่มัน ก็มีการสาธยายธรรมรวมอยู่ด้วยสาธยายนั้นก็เป็นทางแห่งวิมุติทางหนึ่งใน 5 ทางก็ทำให้ดีที่สุดมันก็เพิ่มความสว่างไสวแจ่มแจ้งมากขึ้นในขณะที่ทำวัตร สาธยายบททำวัตรหรือบทมนต์ บทมนต์พิเศษบทอะไรก็ตามคือนี่มันก็ได้เพิ่มขึ้นไปอีกแหละก็จิตมันก็เป็นสมาธิเป็นสติอยู่ในบทที่สวดนั้นแล้วไม่ต้องกลัวเรื่องกิเลสมันต้องกลัวว่าจะเกิดความคิดประเภทบุคคล ตัวตน เราเขาอะไรขอให้เอาจิตผูกพันลงไปในบทที่สวดสาธยายนี่เป็นประการที่หนึ่งที่เรียกว่าทำวัตรสวดมนต์นะมันมีความหมายอย่างนี้ นี้ประการที่ 2 จะเรียกว่าเป็นธรรมสมาธิน้อยๆในระดับน้อยเป็นสมาธิในระดับน้อยเป็นหมู่ๆก็ได้ทั้งหมู่เลยคนที่จะสวดออกไปอย่างถูกต้องมันต้องมีสมาธิต้องมีจิตเป็นสมาธิ สมาธิในสิ่งที่สวด ในเสียงที่สวด ในเสียงที่ได้ยินจิตก็ไม่ฟุ้งซ่านหนีไปอื่นถ้าเราทำได้ในเรื่องนี้ก็คือการปฏิบัตินี้ฝึกจิตให้แน่วแน่อยู่กับสิ่งที่สวดเธอนั่งสวดปากเธอว่าแต่ใจเธอไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้อย่างนี้ไม่ๆมีสมาธิพอจิตอยู่กับบทที่สวดจนตลอดซิอย่าให้ไปไหนในระหว่างที่สวด หนีไปเที่ยวที่โน่นที่นี่ปากมันว่าได้เพราะมันเคยชินอย่างนี้ไม่มีสมาธิไอ้ปากที่ว่าต้องว่าด้วยจิตที่เป็นสมาธิอยู่ในบทที่ว่าตั้งแต่ต้นจนจบอย่าให้ปากมันว่าอยู่ว่าตามความเคยชินแต่จิตไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้สังเกตดูให้ดีถ้าใครมันอยู่ในลักษณะอย่างนี้มันก็ให้รู้เหอะว่ายังไม่พอยังไม่ถูกก็จัดการกันเสียใหม่ปรับปรุงตัวเองเสียใหม่ให้เป็นว่าตั้งแต่ลงมือทำวัตรจนจบทำวัตรนี่จิตไม่เคยหนีไปไหนอยูแต่กับบทที่สวดนี่ ทั้งนั้นนี่เขาเรียกว่าทำสมาธิในตัวเป็นสมาธิอัตโนมัติไอ้เรื่องสมาธินี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยๆเป็นเรื่องครึ่งหนึ่งเข้าไปแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญาขอให้ได้ผลชัดเจนลงไปว่าเมื่อทำวัตรสวดมนต์นี่ก็เป็นการทำสมาธิชนิดหนึ่งรวมอยู่ด้วยทำกันเป็นหมู่เลยทั้งหมู่เลยต่างส่วนก็ต่างกำหนดส่วนที่สวดเสียงที่สวดไม่ฟุ้งซ่านไปไหนก็เป็นสมาธิได้เหมือนกันแม้จะเป็นสมาธิน้อยๆมันก็เป็นปัจจัยที่จะทำให้ได้สมาธิที่มากขึ้นไปสูงขึ้นไปขึ้นไปได้นั่นก็ควรตั้งจิตให้ดีตั้งแต่ลงมือสวดจนกว่าจะสวดเสร็จ จงเป็นสมาธิในเสียงที่สวดนั่นตลอดเวลาอย่าให้จิตหนีไปเที่ยวหรือที่อื่นตั้งหลาย 10 แห่งกว่าจะสวดทำวัตรจบอาจสวดไปได้ตลอดแต่จิตหนีไปเที่ยวที่อื่นตั้งหลาย 10 ครั้งอย่างนี้ล้มละลายไม่ได้อะนิสงฆ์ส่วนที่เรียกว่าสมาธินี่เป็นเรื่องที่2 ทีนี้เรื่องที่ 3 ขอให้สวดทำวัตรนี่เป็นพุทราแล้วสติเพราะว่าเมื่อเรารู้คำแปลของบทที่สวดทราบในพระคุณของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงอย่างคล่องแคล่วอยู่แล้วปากของเราว่าพระคุณนั้นออกไปอะระหังก็ดีสัมมาสัมพุทโธก็ดีวิชาจะระณะสัมปันโนก็ดีสุตะโตก็ดี โลกะวิทูก็ดี

ขอให้รู้สึกในคุณของพระพุทธเจ้าอย่างนั้นจริงๆมีพระคุณของพระพุทธเจ้ามาอาบรดอยู่ที่จิตใจของเราได้หรือว่าเรามีความหนักแน่นแน่นแฟ้นลงไปในเรื่องของพระธรรมบทนั้นยิ่งๆขึ้นไปทุกๆที่เราสวดบทพระธรรมคุณอย่างนี้ก็ได้หรือว่าเราสวดบทของพระสงฆ์ก็ให้รู้จักพระคุณของสงฆ์คือมนุษย์ธรรมดาสามารถเปลี่ยนอริยะบุคคลได้นั่นแหละมีคุณสมบัติเป็นพระโสดากสินาคาอนาคาได้เพื่อว่าจะได้รู้สึกว่าแม้เราก็เหมือนกันไม่อยู่นอกวิสัยไม่เหลือวิสัยที่เราจะเป็นเช่นนั้นได้เราสวดบทสังฆคุณเพราะฉะนั้นจิตใจของเราก็จะแจ่มแจ้งชัดเจนในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณยิ่งๆขึ้นไปหรือว่าถ้าทำได้มากกว่านั้นพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็จะมาอาบย้อมจิตใจของเราให้เยือกเย็นนี่จึงเป็นเหมือนว่าเราเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทุกเวลาที่เราทำวัตรเช้าเย็นนี่ก็เยอะแยะไปหมดแล้วมันจึงสูงสุดนั้นคุณค่าที่เราได้ประพฤติปฏิบัติเราสวดมนต์ทำวัตรที่บ้านไม่สะดวกทำไม่ได้ดี เมื่อรอโอกาสหลีกออกมามันเป็นชีวิตอย่างนี้เราต้องทำได้ดีดังนั้นเราอย่าได้ระโอกาสอันนี้เสียจงพยายามควบคุมสติสัมปชัญญะและจิตทำให้มีการทำวัตรสวดมนต์ที่ดีที่สุดเต็มร้อยเปอร์เซ็นเลยเหมือนว่าเราพบพระพุทธเจ้าทั้งเช้าทั้งเย็นอาบรดด้วยพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งเช้าทั้งเย็นระลึกได้ทำสมาธิในเสียงของพระธรรมในคุณของพระธรรมของพระสงฆ์ทั้งเช้าทั้งเย็นและเราก็ได้สาธยายท่องจำบทพระธรรมต่างๆที่ควรจะสาธยายงั้นขอให้ทำได้เรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3อย่างนี้ที่ว่ามาแล้วคือเป็นการสาธยายที่ว่ามานี่เป็นโอกาสให้จิตใจอดระงับได้มีโอกาสทำสมาธิในเสียงที่สวดในธรรมมะที่นึกระลึกนึกถึงมี่ 2 สามก็ให้อาบรดด้วยพระคุณของพรระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราสวดบทพระพุทธคุณถ้าเราสวดธรรมมะบทอื่นๆก็ต้องรอให้เป้าหมายของธรรมมะนั้นเจริญขึ้นในใจของเราฝังแน่นลงไปในใจของเราแน่นๆขึ้นไปนี่เพียงแต่ทำวัตรเช้าเย็นที่ทำกันจริงจังถูกต้องเนี่ยก็มีประโยชน์มหาศาลนั้นขอให้เธอพยายามทำวัตรเช้าเย็นในลักษณะอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะหมดโอกาสจะลาสิกขาลาสิกถ้าจะทำก็จะพอให้ทำดีที่สุด 100 เปอร์เซ็นแล้วมันจะเปลี่ยนจิตใจของเธอให้เป็นอย่างคนละคนเลยแล้วมันจะให้ผลตอบแทนกับเธอจึงมีความสุขด้วยมีความรู้ยิ่งๆขึ้นไปด้วยสามารถบังคับตัวเองเหมือนกับที่บังคับตลอดเวลาไปตลอดชีวิตเลยสามารถควบคุมจิตบังคับสติบังคับกิเลส บังคับอะไรต่างๆได้ยิ่งๆขึ้นไปตลอดชีวิตเลยเพียงเท่านี้ก็เป็นประโยชน์มหาศาลที่เราจะได้รับจากพระพุทธศาสนาหรือที่จะได้รับจากความเป็นพุทธบริษัทเราเป็นพุทธบริษัท

หน้าที่ 2 – พุทธมามะกะ
ทั้งทีเราควรจะจะได้รับประโยชน์อันนี้หรือนับถือพุทธศาสนาเป็นพุทธมามะกะก็ให้ได้รับประโยชน์อันนี้แม้หยุดมาเป็นมนุษย์ไม่เสียดายที่เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ต้องได้เป็นมนุษย์ที่ดีคือควบคุมความทุกข์ได้อย่างในความทุกข์มาเกิดแก่เราให้จิตใจของเรามันอยู่สูงเหนือความทุกข์มันก็สมชื่อว่าเป็นมนุษย์คือผู้ที่มันมีจิตใจสูงอยู่เหนือความทุกข์มันต้องมานั่งเป็นทุกข์ร้องไห้ยินดียินร้ายหัวเราะร้องไห้สลับกันไปเหมือนกับคนบ้าไอ้นั้นมันต้องตัดออกไปอาการแห่งคนบ้าเดี๋ยวยินดีเดี๋ยวยินร้ายหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้มันไม่ใช่อาการแห่งๆของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงคือมนุษย์เป็นอย่างนั้นไม่ได้นั่นเป็นคนธรรมดามากเกินไปเอาละเป็นอันว่าเมื่อเธอบวชเข้ามาทางวัดปฏิบัติอยู่อย่างนี้ก็ขอให้มันเป็นการปฏิบัติทุกวินาทีทุกอิริยาบถทุกทาง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจพอถึงเวลาที่จะทำวัตรสวดมนต์เธอก็ทำให้ได้ผลอย่างที่ว่ามา 3 ประการนั้นเวลาที่จะเดินศึกษาก็ให้ได้ประโยชน์คุ้มค่ากันเวลาพักผ่อนก็พักผ่อนด้วยจิตที่สงบไม่มีนิวรณ์มากวน แม้แต่จะกินอาหารจะอาบน้ำจะถ่ายอุจจะระปัสสะวะจะทำอะไรก็เต็มอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะเต็มอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะอย่าให้เกิดช่องว่างโง่ว่าเป็นตัวกูของกูอย่างนั้นอย่างนี้กินอร่อยบ้างกินไม่อร่อยบ้างอาบน้ำสบายบ้างอาบน้ำไม่สบายบ้างแม้แต่จะถ่ายอุจจาระปัสสะวะก็เกิดอารมณ์ร้ายอารมณ์ชุนเชียวอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ดั่งใจแต่เดิมเป็นเรื่องผิดทั้งนั้นถ้ามันปกติอยู่ได้เย็นอยู่ได้ด้วยจิตปกติอยู่ได้ละก็ถูกแล้วนั้นเมื่อถึงเวลาจะทำอะไรในระหว่างนี้จงทำให้ดีที่สุดเวลาที่จะทำวัตรเช้าวัตรเย็นก็ดีเวลาที่จะฟังบรรยายก็ดี เวลาที่จะไปทำกิจส่วนตัวก็ดีแม้จะต้องไปทำงานต่ำๆ ถ้ามันจำเป็นจะต้องทำจะไปเก็บ กวาด ล้าง ถูอะไรก็ต้องมีจิตใจที่เยือกเย็นมีสติสัมปชัญญะไม่ยินดียินร้ายเหมือนที่เคยมีแต่การก่อนนี้เราตั้งใจจะพูดในวันนี้ก็เพียงเฉพะเรื่องทำวัตรสวดมนต์อย่างไรจึงจะเป็นการปฏิบัติธรรมมะที่สมบูรณ์

ขอให้ตั้งใจทำงานอย่างนั้นนั่งให้ถูกต้องคือให้มันสะดวกให้มันมั่นคงสำหรับที่จะมีจิตใจมั่นคงสำหรับที่จะดำรงสติแล้วก็ทำวัตรหรือสวดมนต์หรือถ้าจะยักไปเป็นผู้ฟังไม่สวดก็ยังได้เราจะไม่สวดเองเราจะนิ่งฟังด้วยจิตเป็นสมาธิแน่วแน่อย่างที่ว่ามาแล้วนั้นมันก็ได้เหมือนกันถ้าจะสวดก็ได้จะสวดหรือจะไม่สวดก็อย่าฟุ้งซ่านอย่าใจลอยให้มีสมาธิแน่วแน่อยู่ในเสียงที่ได้ยินเป็นการสวดรู้ความหมายแห่งถ้อยคำนั้นแล้วก็ซึมทราบใจของเราเพราะว่าเป็นเรื่องของพระคุณของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม และของพระสงฆ์บางทีหยุดฟังเขาสวดมันก็ได้ผลลึกซึ้งกว่าก็ได้จะสวดเองก็ได้ถ้ามีสติสัมปชัญญะมันก็ไม่เสียหายอะไรมันสวดก็ได้ทางจิตกำหนดในการสวดเป็นสมาธิก็ได้ซึมทราบในข้อความนั้นพร้อมกันไปก็ได้แต่ในวันแรกๆคงจะทำอยากหน่อยพอทำไปหลายๆวันมันก็ทำได้พร้อมกันไปในหลายความหมายอย่างนี้เป็นการสาธยายความจำก็ได้ เป็นการทำสมาธิก็ได้เป็นการดื่มด่ำในรสของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ได้ขอให้มีการทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นที่เป็นประโยชน์สูงสุดอย่างนี้ จนกว่าจะถึงวันลาสิกขาสิงที่ตังใจจะพูดวันนี้เวลานี้ก็มีเรื่องเดียวคือว่าให้ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นนี้ให้ดีให้รับประโยชน์และขอยุติการบรรยายและเพื่อเธอทั้งหลายจะได้ทำการสวดมนต์ทำวัตรเย็นต่อไป อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม พระธรรมเป็นธรรมที่ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆพระสงฆ์สาวกของผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ ข้าพจ้านอบน้อมพระสงฆ์ หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสสัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบนอ้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะเส ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลป์ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต ข้อกิตติศักดิ์อันงามของผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้พูดไปแล้วอย่างนี้ว่า อิติปิ โส ภะคะวา เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถือพร้อมด้วยวิชชาจะระณะ สุคะโต เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี โลกะวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สามารถฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า สัตถาเทวะมะนุสสานัง เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม ภะคะวาติ เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกคำสั่งสอนสั่งดังนี้ หันทะ มะยัง พุทธาภิคิติง กะโรมะ เส พุทธาวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันต์คุณเป็นต้น สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์ โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบานดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน วันทะมะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า พุทธัสสาหัสมิ ทาโสวะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะวิธาตา จะ หิตัสสะ เม พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า วันทันโตหัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้านัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง สรณะอื่นของข้าพจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวะเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน ด้วยการกล่างคำสัตย์นี้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระศาสดา พุทธัง เม วันทะมาเนนะยัง ปะสุตัง อิธะ ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา มัง กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระพุทธเจ้าทรงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ เพื่อการสำรวมระวังในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมเป็นสิ่งที่ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว สันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง อะกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลดีไม่จำกัดการ เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่างกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด โอปะนะยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ไดเฉพาะตนดังนี้ หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เสสวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณคือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรมจากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้นอันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า ธัมมัสสาหัสมิ ทาโสวะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะวิธาตา จะ หิตัสสะ เม พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แก่พระธรรม วันทันโตหังจะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาระเน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของศาสดา ธัมมัง เม วันทะมาเนนะยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสาวา ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ธัมมัง กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษร่วงเกินอันนั้น กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรมในการต่อไป หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติเป็นเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว ยะทิทัง ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรสักการะที่เขานำมาบูชา ปาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน อัญชะลีกะระณ๊โย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง ฌลกัสสะติ เป็นเนื่อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้ หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความประพฤติดีเป็นต้น โยฏัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ เป็นหมู่แห่งพระอริยะบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก สีลาธิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต มีกายและจิตอันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น อันบวร วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่ง พระอริยะเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธ์ด้วยดี สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระนัง เขมะมุตตะมัง พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย ตติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า สังฆัสสาหัสมิ ทาโสวะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า สังโฆทุกขัสสะ ฆาตา จะวิธาตา จะ หิตัสสะเม พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวีตัญจิทัง ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์ วันทันโตหัง จะริสสามิ สังฆัสโส ปะฏิปันนะตัง ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความประพฤติดีของพระสงฆ์ นัตถิเม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ข้าพจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระศาสดา สังฆัง เม วันทะมาเนนะยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้ สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์ สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ในกาลต่อไป

http://www.vcharkarn.com/varticle/33041

. . . . . . .