อนิจจลักษณ์-ทุกขลักษณ์ โดย ท่านพุทธทาส

อนิจจลักษณ์-ทุกขลักษณ์ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – สังขาร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ

ณ บัดนี้ จะได้วิปัสสนาพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ วิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลายที่เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า

ตามทางแห่งพระพุทธศาสนาของพระบรมพระศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาในวันนี้เป็นไปตามธรรมดาของระเบียบประเพณีแห่งการเข้าพรรษาในครั้งแรกของพรรษานี้ได้แสดงเรื่อง พระรัตน 3 ทั้งต่อมาได้แสดงเรื่อง ศึกษา 3 ครั้งต่อมาอีกได้แสดงเรื่อง โลกุตระธรรม 3 ส่วนในวันนี้จะได้แสดงติดต่อกันไปโดยลำดับ เรื่อง สามัญลักษณะ 3 คือเรื่องอนิจจัง สุขขัง อนัตตา ในนี้จะพูดถึงสามัญลักษณะ 3 ประการ ที่เป็นเรื่องของ สติปัญญา ความละเอียดสุขุม มองสิ่งต่างๆ ได้ดี เมื่อมีสติสัมปชัญะอยู่ แล้วก็จะรับรองว่าไฟจะเกิดขึ้นไม่ได้ สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะที่เป็นสามัญคือทั่วไปแก่สิ่งทั้งปวงโดยเฉพาะประเภทที่เรียกว่าสังขาร ลักษณะ 3 อย่างนี้ คือทั่วๆไปแก่สังขารทั้งปวง

สังขารนั้นคือสิ่งที่มันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง แล้วเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยนั้น ยกเว้นพระนิพพานสะอย่างเดียวเขาเรียกว่าสังขารนั้น นึกถึงสิ่งที่มันเป็นปัญหานั้น นึกถึงสิ่งที่ไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่นิพพานก็คือไม่เย็น ไม่เย็นก็คือไม่ดับ ไฟมันยังไม่ดับ ถ้าไฟมันดับแล้วมันก็หมดเรื่องหมดปัญหา ไม่มีเรื่องที่จะต้องทำอะไร เห็นว่าไฟมันยังไม่ดับ มันก็ยังมีเรื่องมีปัญหา นั้นคือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เรียกว่า สังขาร ก็จะต้องดูให้ดีว่ามันมีลักษณะอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ไปทำให้มันเกิดเป็นไฟหรือว่าเป็นความทุกข์ขึ้นมา รู้จักพิจารณาสังขารให้เห็นตามที่เป็นจริงว่าประกอบอยู่ในลักษณะอย่างไรบ้าง เรียกว่าเป็นผู้ที่มีปัญญาไม่ประมาท ลักษณะ 3 ประการ คือ อนิจจัง สุขขัง อนัตตา พูดกันได้ชินปากสำหรับคนสมัยโบราณคนสมัยโบราณเขาอาจจะพรั้งปากออกไปว่า อนิจจัง สุขขัง อนัตตา ได้ง่าย เพราะมันชินอยู่ในความคิดความนึก หรือแม้จะเกิดจากการฟัง ฟังมาก คนสมัยนี้ แม้จะเป็นพระ เป็นเณร สมัยนี้เมื่อดูไม่เคย จะพรั้งปากขึ้นมาว่า อนิจจัง สุขขัง อนัตตา คนแก่ๆ สมัยโน้น

แม้แต่ชาวบ้าน ก็ยังพรั้งปากออกมาว่า อนิจจัง สุขขัง อนัตตา ในหลายๆ กรณี ก็คิดดูเถอะว่า นี้คนทั้งสองจำพวกนี้คนไหนจะอยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามากกว่ากัน ถ้าคนสนใจอยากจะฟัง ทุกขัง อนัตตา กันอย่างจริงจังแล้ว มันจะดีกว่านี้ ดีกว่าสภาพที่มันเป็นอยู่เวลานี้ อย่างมากมายอย่างที่จะเปรียบกันไม่ได้ เดียวนี้มันมีแต่คนหลับหูหลับตา ต่อเรื่องนี้ มันจึงมีความเห็นแก่ตัว ยึดมั่นถือมั่นจนเกิดกิเลศ จนเบียดเบียนกัน เป็นอยู่ด้วยความเบียดเบียนกันไปตลอดทั้งวันทั้งคืน เพราะไม่เห็นความจริงของสังขารที่เป็นอนิจจัง สุขขัง อนัตตา ที่จะไม่เบื่อหน่ายต่อการยึดถือ เพราะไม่เกิดกิเลศ มันก็ไม่ร้อน ไม่เบียดเบียนกัน เรามาลองพิจารณากันดูว่ามันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ทำไมท่านจึง ตรัสไว้ว่า สัมเพ สังขารา อนิจจา ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ เมื่อใดเห็นตามที่เป็นจริง ด้วยปัญญาว่าสังขารเป็นของไม่เที่ยง อะถะ นิพพินทะติทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา

เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั้นคือหนทางแห่งความบริสุทธิ์ ถ้าเห็นอนิจจัง มันจะเบื่อต่อสิ่งที่เป็นทุกข์ได้อย่างไร แต่ว่าการเห็นนั้นจะเป็นหนทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจดได้อย่างไร อนิจจัง ความกลัวนั้นถือว่าไม่เที่ยง อะว่าไม่นิด ว่าเที่ยง อนิจจังก็แปลว่าไม่เที่ยง จะดูกันยังไง ว่ามันไม่เที่ยง ดูกันหยาบๆ กันก็ได้ ก็เห็นในสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างชัดเจนตรงนี้ แต่บางอย่างมันไม่ได้แสดงอย่างสายตาธรรมดาจะมองเห็นได้ ความเปลี่ยนแปลงของก้อนหินอย่างนี้ เด็กๆ ก็ไม่มองเห็นได้ว่ามันไม่เที่ยง หรือว่าถ้ามันเป็นเยี่ยงทางนามธรรม ทางจิตใจล้วนๆ มันก็ยังดูกันลำบาก คงสับสน ในบางอยากมันรู้สึกว่าเป็นอย่างนั้นทุกที แต่เห็นว่าเป็นของเที่ยงไปเสีย ทีนี้ต้องรู้จักดูว่า สิ่งที่เรียกว่าสังขารทั้งปวงนี้มันไม่ได้เป็นอิสระหรือมีอะไรเด็ดขาดอยู่ได้ในตัวมันเอง มันต้องมีเหตุปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้มันเกิดขึ้นมา ไม่ว่าอะไรที่เรียกว่าสังขารทั้งหลายนี้มันจะต้องมีเหตุปัจจัยเพื่อทำให้เกิดขึ้นมา แม้แต่ว่าก้อนหินนี้ มันก็มีเหตุปัจจัยที่ทำให้มันมาเป็นก้อนหินและมาอยู่ในสภาพอย่างนี้

ส่วนของที่เห็นได้ง่ายเช่นต้นไม้ก็เห็นอยู่ว่ามันต้องอาศัยเม็ดผลไม้ อาศัยอาหาร อาศัยดิน อาศัยแสงแดด อาศัยนั้นสิ่งต่างๆ จึงเป็นต้นไม้ขึ้นมา จนอยู่ไปเปลี่ยนแปลงไป แม้แต่จิตใจของคน แม้แต่ร่างกายของคนหรือของสัตว์ จึงเห็นว่ามันมีเหตุปัจจัยยิ่งไปเสียกว่าต้นไม้ มีบิดามารดาเป็นแรงเกิด อาศัยเจริญเติบโตด้วยอาหาร เป็นเหตุปัจจัยเด่นชัด แม้ว่าเป็นร่างกายของคนก็ตามของสัตว์ก็ตามล้วนแต่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมาแล้วก็ เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยนั้น เมื่อเรากินอาหารเข้าไป กินข้าวสุก แกงตับอะไรก็ตาม อาหารนี้มันต้องเปลี่ยนไป บำรุงร่างกายเนื้อหนังได้ ก็มีเปลี่ยนต่อไปอีก เพื่อให้เป็นอุจจาระ เป็นอุจสาระเป็นอะไรต่อไป ร่างกายมันก็ต้องเปลี่ยน

นับตั้งแต่ว่ามีอาหารเข้ามาบำรุงร่างกาย อาหารมันเปลี่ยนร่างกายมันก็เปลี่ยน มันก็เปลี่ยนตามๆกันไปหมด ที่เห็นได้ง่ายเพราะว่าเป็นวัตถุ เมื่อเป็นเรื่องทางจิตใจ ความคิด ความนึก ก็มีเหตุปัจจัยที่ทำให้คิดให้นึกคิด เป็นธรรมดาของนึกคิดไม่มีเรื่องไม่ได้ มันต้องมีเรื่อง โดยเรื่องนั้นมันก็ต้องมาจากเหตุปัจจัยของมันเอง ด้วยมาจากเหตุปัจจัยของมันเองอีกเป็นลำดับทยอยๆ เข้ามากระทบจิตใจของเราจนทำให้เกิดความรู้สึก เกิดความคิดนึก เกิดความต้องการ เกิดความเร่าร้อน จนทุกข์ทรมารได้ในจิตใจเหล่านี้เพราะมันมีเหตุมีปัจจัย นั้นเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย นั้นเขาเรียกว่ามันเป็นทุกข์

มันเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง มีข้อความสั้นๆ 2 ข้อ มันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งข้อหนึ่ง และมันเปลี่ยนไปตามอำนาจของเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งอีกข้อหนึ่ง 2 ข้อนี้เขาเรียกว่า อนิจจัง เพียงพอแล้ว ทีนี้ดูกันอีกทีหนึ่งให้เห็นเป็นหลักเกณฑ์มากขึ้นที่เรียกว่า สังขาร นี้ แบ่งไว้เป็นสองพวกด้วยกัน คือหนึ่ง คือมีจิตมีวิญญาณพวกหนึ่งไม่มีจิตไม่มีวิญญาณคือพวกหนึ่ง เดี่ยวนี้ยุติกันได้ทีแล้วว่า สังขารที่ไม่มีจิตไม่มีวิญญาณ เช่นก้อนหิน ก้อนดิน อย่างนี้เป็นต้น สังขารที่ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณ ไม่ได้มีพืชพันธุ์ต้นไม้มีชีวิตแต่ไม่มีความรู้สึก มีวิญญาณไปตามระดับต้นไม้ สัตว์เดรัจฉานมีจิตวิญญาณ คนก็มีจิตวิญญาณ อย่างนี้เรียกว่าสังขารพวกที่มีจิตหรือมีวิญญาณ มีสังขารอยู่ 2 พวกอย่างนี้

เมื่อมันมีการเปลี่ยนมันก็ต้องเปลี่ยนไปตามสัดส่วนที่มันมี และสังขารที่ไม่มีจิตวิญญาณมันก็เปลี่ยนไปในส่วนรูปธรรม ส่วนวัตถุมันก็เปลี่ยนไปมันเปลี่ยนอย่างเดียว และสังขารที่มันมีจิตวิญญาณมันก็เปลี่ยนทั้ง 2 ส่วน คือเปลี่ยนทั้งทางรูปธรรมและทั้งทางนามธรรม ร่างกายล้วนๆ วัตถุล้วนๆ มันก็เปลี่ยน เนื้อหนัง กระดูก เอ็น นี้ ผม ขนในตา มันก็เปลี่ยน ส่วนรูปธรรม ทั้งส่วนจิต ส่วนวิญญาณ ส่วนนามมันก็เปลี่ยน เราจะเห็นได้ว่าสังขารที่มีใจครองอยู่มันเปลี่ยนน่ากลัวกว่า ถึงเปลี่ยนถึง 2 เท่า เปลี่ยนทั้งทางรูปธรรมนาม สังขารที่ไม่มีใจครองนี้มันเปลี่ยนเป็นเท่าเดียวส่วนเดียวคือเปลี่ยนเฉพาะส่วนรูป คือปัญหานี้มันมีแต่สังขารพวกที่มีจิตวิญญาณรู้สึกนึกคิดได้

สิ่งที่ไม่มีจิตไม่มีวิญญาณไม่มีสิ่งนึกคิดได้มันก็ไม่มีปัญหา เช่นก้อนหินอย่างนี้มันไม่มีปัญหา ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ความเจ็บไม่ต้องพูดถึงก็ได้ แต่ว่าเราจะดูกันอีกทางหนึ่งว่าความเปลี่ยนของมันนี้ มันถ้าต่อรถอย่างไรบ้าง ส่วนสังขารที่ไม่มีจิตใจอย่างต้นไม้มันก็ไม่มีปัญหา ต้นไม้มันจะมีปัญหาเหมือนกับคนเรา

มีปัญหาจะอยู่บ้างจะตายบ้าง มันดิ้นรนเพื่อจะอยู่ ต่อสู้เหมือนกัน ยิ่งศึกษาไปยิ่งพบว่าต้นไม้นี้มันก็มีความรู้สึกดิ้นรนต่อสู้เพื่อจะอยู่ เพียงแต่ว่ามันเคลื่อนไหวเร็วๆ ไม่ได้ มันแสดงได้อย่างเปิดเผยไม่ได้ มันแสดงอย่างลึกซึ้ง โดยมีเครื่องมือรับความเปลี่ยนแปลงภายในต้นไม้ที่เป็นส่วนความรู้สึกก็วัดได้ มีความหวั่นไหวมากอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้นเหมือนกัน วัดที่เครื่องวัดที่ทำขึ้นเฉพาะ เอาเป็นว่าต้นไม้นี้ก็มีความรู้สึก มันก็มีปัญหา ถ้ามันจะตายมันก็ต่อสู้อย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ ถึงสัตว์เดรัจฉานเห็นง่ายมันต่อสู้เพื่อจะอยู่ ทีปัญหามันต่อสู้มากไปกว่าต้นไม้เสียอีก ถึงคนยิ่งไปกว่านั้นอีก เป็นไปตามอำนาจของอวิชาล้วนแล้วก็ยิ่งมีปัญหามาก ทีนี้ก็มาดูกันว่าความเปลี่ยนแปลงไปนี้มันมีผลอย่างไร ถ้าว่าเราเห็นความเปลี่ยนแปลงก็จะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมันไม่มีอะไรที่จะเป็นอิสระโดยตนเองต้องเปลี่ยนแปลง ทีนี้ก็อย่าไปยึดถือให้มันมาก เช่นอย่าไปโกรธเมื่อมันมีไม่ได้ตามที่ต้องการ อย่าไปเสียใจในเมื่อมันไม่ได้ตามที่ต้องการ และอย่าไปเป็นทุกข์เป็นร้อนเมื่อมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เพราะว่ามันต้องเปลี่ยน

แล้วจะให้คนที่เรารักพอใจอยู่ตลอดเวลามันก็ไม่ได้ เพราะว่ามันต้องเปลี่ยน ล้วนสิ่งที่เราพอใจ รักใคร่ให้มันอยู่กับเราตลอดเวลา นี้มันก็ไม่ได้ มันก็ต้องเปลี่ยน เพราะแม้แต่ตัวคนนั้นเองมันก็เปลี่ยน ร่างกายมันก็เปลี่ยนจิตใจมันก็เปลี่ยนเป็นไปทุกๆ ครั้ง ทุกหน ทุกๆ แห่ง เป็นอย่างนี้ซะบ้าง มันก็จะหยุดเอง จะหยุดหลงใหล่รักใคร่ ยึดถือได้เอง เห็นอนิจจังความเปลี่ยนแปลงเรื่อยของสังขารทั้งหลาย จะเกิดความรู้สึกอย่างไรลองเทียบเคียงดู เพราะคนเป็นหนึ่งที่ไม่เห็นมันโง่ โง่เหลือแต่โง่มันไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงนี้เลย มันจะเอาแต่ความรู้สึกของตนเองไปคิด แล้วมันจะรู้สึกอย่างไร มันต้องทำ มันต้องการอย่างที่กิเลศปัญหาจะพาไปด้วยความโง่

จนไม่มีปัญญาเห็นอนิจจังโดยแท้จริง มันก็ไม่โง่ ถ้ามันต้องการอะไรบ้างปรารถนาอะไรบ้างมันก็จะปรารถนาด้วยความรู้สึกที่ไม่โง่ เพราะนั้นมันจึงไม่ปรารถนาไปในทางที่ผิด ที่ต้องทำตัวเองให้เป็นทุกข์ คนที่ฉลาดมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารอยู่เสมอของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราอยู่เสมอ มันก็ไม่มีที่จะไปจดจ่อ ว่าจะเอาจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ภาษาบาลีเขาเรียกว่า อวินิดตะ คือไม่มีนิมิตที่หมายมั่น แต่เราเห็นอะไรสักอย่างที่มันมีแต่ไหลไปเรื่อยโดยที่ไม่หยุด แล้วจะไปหมายมั่นอะไรที่ตรงไหนได้ เพราะว่าเห็นอยู่แต่ความไหลเรื่อยแล้วไม่มี ความหมายจะไปจดไปจ่อ ลงที่ตรงนั้นที่ตรงนี้ว่าเป็นเราเป็นของเราอย่างนี้ ความคิดมันก็ปราศจากความหลงผิดไปตามยึดมั่นถือมั่น นั้นมันก็ดูเสียว่ามันบริสุทธิ์ มันเป็นจิตบริสุทธิ์หรือไม่ เพื่อจะเป็นโง่ทั่วไปเพื่อให้เห็นอนิจจัง มันก็หมายมั่นอยู่ตรงนั้น หมายมั่นอยู่ตรงนี้ หมายมั่นอย่างนั้น หมายมั่นอย่างนี้ อย่างนี้มันเรียกว่ามี อะวินิต ที่เป็นที่จดจ่อแห่งใจจดจ่อลงไปว่ากูจะเอา กูจะเอาที่ตรงนั้นที่ตรงนี้อยู่อย่างนี้ มันมีอะวินิตก็ไม่เห็นว่าเพื่อน มันต้องให้ได้ดั่งใจ ต้องอยู่กับเรา ต้องเป็นของเครื่องใช้แน่นอนอยู่กับเรา เมื่อเขาเห็นก้อนหินตอนที่ เคลื่อนมันก็จะอยู่กับเรา มันก็เป็น อะวินิต

ถ้าอะวินิตเป็นที่จดจ่อแห่งจิตก็จะเอามันก็ติดมันก็ไม่บริสุทธิ์ ก็มันโง่มันหลง มันไม่หลุดพ้นเพราะเห็นความไม่เที่ยงไหลอยู่เป็นเกลียวอย่างนี้ไม่อาจจบลงที่ไหนได้ นี้เรียกว่าไม่มีวินิด มันก็หลุดพ้นอยู่ในตัวโดยอัตโนมัติ เขาเรียกภาวะอย่างนี้ว่า อะวินิตอะนิโมบ นิโมบคือความหลุดพ้น จิตไม่มีอะไรพัวพัน โดยมากจิตนั้นไม่มีวินิตเพราะว่ามันเห็น อนิจจังคือความไหลเป็นเกลียวอยู่ตลอดเวลาของสังขารทั้งปวง โดยไม่รู้ว่าจะไปจบที่ตรงไหน ว่าจะเอาเป็นเราหรือว่าเป็นของเรา ความรู้สึกเป็นอิสระ และลักษณะเช่นนี้เขาเรียกว่า อะวินิดอะนิโมบ ความหลุดพ้นเพราะไม่มีวินิจมีผลเกิดมาจากการเห็นอนิจจัง สังขารทั้งปวงอยู่ จะไปรักในสิ่งที่ไม่เที่ยงได้อย่างไร อย่างที่กล่าวว่า อะถะ นิพพินทะติทุกเข อย่างนั้นจะเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์

หวังว่าจะเอาจะเป็น เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ นั้นย่อมเป็นหนต่างแห่งความบริสุทธิ์หมดจดอย่างนี้ นี้คือประโยชน์ของการเห็นอนิจจัง ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ข้อที่ 2 ทุกข์ขัง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ นี้ก็เหมือนกันมันต้องเล่งถึงว่าสังขารไหน สังขารที่มีจิตไปครองนี้เป็นสังขารที่ 1 มีจิตใจครอง แม้ว่าคำพูดนี้จะกล่าวรวบหมดขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วจะต้องเรียกว่าเป็นทุกข์ทั้งนั้น แต่เมื่อสังขารมันไม่เหมือนกัน สังขารบางอย่างมีจิตใจครอง สังขารบางอย่างไม่มีจิตใจครอง นั้นเป็นทุกข์ก็มีความหมายแยกออกจากกันบ้างเป็นหลายอย่าง นี้ก็ต้องดูให้ดี แต่ละอย่างที่พูดมามันเป็นทุกข์ มันก็พูดได้ในความหมายหนึ่ง ในระดับหนึ่ง

แต่ในระดับหนึ่งมันไม่เป็นอย่างนั้น เช่นว่าก้อนหินเนี้ยเป็นสังขาร แล้วก้อนหินจะเป็นทุกข์อย่างไร ความทุกข์มันต้องมีความหมายอย่างอื่น จากคำว่าทุกข์ ที่คล้ายกับสังขารที่ไม่มีความรู้สึกคิดนึก ถึงแม้ว่าสังขารที่ไม่มีความรู้สึกคิดนึกอย่างคนเราเนี่ยแหละบางคนก็ว่าเป็นทุกข์ มันไม่ต้องแยกเป็น สามสี่สามสี่ อยู่นั้นเอง ว่าสังขารเป็นทุกข์ อย่างธรรมดาสามัญเพราะว่ามันไปโง่ไปยึดถือว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา ทีนี้มันก็เป็นทุกข์แบบทรมานอย่างหนึ่ง ทีนี้สังขารที่เป็นร่างกาย หรือขันอันบริสุทธิ์ของพระอรหันต์มันเป็นทุกข์หรือว่าเป็นสุข มันก็เป็นทุกข์อีกนั้นแหละเพราะว่ามันเป็นของไม่เที่ยงในส่วนนั้น มันเป็นทุกข์ความหมายหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นว่าถ้าเป็นทุกข์นี้มันหลายซับหลายซ้อนความหมายดูให้ดี ทีนี้ก็ต้องศึกษาบาลีกันบ้างมันง่าย ง่ายหน่อย หรือที่ว่าทุกข์ ทุกขะ ทุกขัง อะไรก็ตาม มันแปลได้หลายอย่าง หลายสถาน แต่ที่จำเป็นจะต้องรู้กันในครั้งนี้ ก็มีสี่อย่างก็พอ อย่างหนึ่งเมื่อมันทนยากทุกขังแปลว่าทนและยากคือระบุว่าลำบากประมาณนั้นแหละ มันมีแต่ความรู้สึก นั้นก็มีแต่สังขารที่มีแต่ความรู้สึก คือสังขารที่มีใจครอง คือสิ่งที่มีชีวิตมีความรู้สึกแล้วมันก็ยึดถือสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา ก็เกิดความทน ทนยากจนเป็นความทุกข์ทรมานขึ้นมา ทุกข์อย่างนี้แปลว่าทนยาก

เมื่อมีแต่ความรู้สึกของสิ่งที่มีแต่ความรู้สึก ได้แก่สังขารที่มีจิตมีใจครอง ความหมายที่สองของคำว่าทุกข์แปลว่าน่าเกลียด ดูแล้วมันน่าเกลียด ทุกข์แปลว่าน่าเกลียด จิตขะ อะขะ แปลว่า ดู ดูแล้วน่าเกลียด ดูน่าเกลียด น่าเกลียดเพราะอะไร ก็เป็นมายาหลอกลวงเปลี่ยนแปลงเรื่อย ไหลเรื่อยคือหลอกกันเรื่อย นั้นน่าเกลียดแต่ตา ตาดูเห็นว่ามันหน้าจะเกลียด คือสังขารชนิดไหนมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเรื่อย

สังขารนั้นจะมีลักษณะความน่าเกลียด น่าเบื่อหน่าย น่าระอา ความทุกข์นี้มันไม่ได้เกี่ยวกับการทรมาน หรือไม่ทรมาน แต่ตามันดูเห็นแล้วมันรู้สึกได้ว่ามันน่าเกลียด สำหรับโลกนี้มันไม่เคยมีและมันมีแล้วมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนไปมันจะแตกดับลงวันหนึ่ง ถ้าเรามองเห็นอย่างนี้ คือทีเดียวตลอดสายเราก็รู้สึกว่ามันหลอกลวง มันเป็นมายามันน่าเกลียด ไม่น่าพอใจอะไรเลย สังขารเป็นทุกข์ก็คือมีลักษณะส่อความน่าเกลียดอยู่ด้วยเป็นได้ทั้งสองสังขาร แต่ถ้าเป็นทุกข์ทรมานนั้นเป็นได้แต่สังขารที่มีใจครอง และความหมายที่สาม มันแปลว่าว่าง อย่างน่าเกลียด คือไม่มีตัวตน มันเป็นของเคว่งคว้างไปตามความเปลี่ยนแปลงมีแต่ความเปลี่ยนแปลง เงินไม่มีกินที่ตรงไหน เครื่องใช้อย่างเดียวที่ตรงไหนไม่มีอิสระที่ตรงไหน ไม่มี ส่วนที่จะเข้าไปจับฉวยเอาเลย อย่างนี้เรียกว่ามันว่างจากส่วนที่ควรจะจับฉวย เพราะเป็นการว่างอย่างน่าเกลียด นี้เป็นคำแปลที่ พระอัตถาอาจารย์โบราณณาจารย์บางคน อธิบายว่าแต่ไม่ทั่วไป คือเขาจะไม่สนใจกันถึงขณะนี้โดยมาก จะได้พบได้เห็นว่าพระอัตถาจารย์บางคนท่านพยานแนะอีกแห่หนึ่งว่าทุกขัง นี้ แปลว่าว่าง ทุกข์แปลว่าน่าเกลียด ทุกข์แปลว่ามันว่างอย่างน่าเกลียด นี้มันแป็นแก่ธรรมชาติทั้งหลาย มันอยู่ที่ธรรมชาติ ทั้งหลาย รูปธรรม นามธรรมที่เรามองเห็น

แล้วเรามองดูโลกในแง่ของความเปลี่ยนแปลงไหลเรื่อยแล้วมันจะเห็นว่ามันว่างอย่างน่าเกลียด อย่างนี้ก็เป็นไปได้ในสองสังขารได้เหมือนกัน สังขารไม่มีจิตใจครองเป็นก้อนหินก็ว่างอยู่อย่างน่าเกลียด สังขารที่มีใจครองอย่างต้นไม้อย่างสัตว์อย่างคนนี้มันก็ว่างอยู่อย่างน่าเกลียด นี้คือทุกขังแปลว่าว่างอย่างน่าเกลียดอย่างนี้ก็มี ถึงความหมายที่สี่ เป็นความหมายพิเศษ ทุกขังก็แปลว่านำมาซึ่งความทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์แก่บุคคลผู้อาวิถี สังขารในความหมายไหนก็ตาม มันไม่เที่ยง มันจะมี มันจะเป็นทางที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ นั้นสิ่งทั้งปวงนี้มันเริ่มจะมีภาวะอย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็นทุกข์ คือมันจะนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อเข้าไปยึดถือมัน เพราะว่าเมื่อเข้าไปยึดถือมันนี้จะต้องเข้าใจดีๆว่าเราอย่ามองข้าม เช่นเมื่อเรามีความเจ็บปวดผิวเนื้อผิวหนังนี้

หน้าที่ 2 – การทรมาน
เมื่อมีแต่ความรู้สึกของสิ่งที่มีแต่ความรู้สึก ได้แก่สังขารที่มีจิตมีใจครอง ความหมายที่สองของคำว่าทุกข์แปลว่าน่าเกลียด ดูแล้วมันน่าเกลียด ทุกข์แปลว่าน่าเกลียด จิตขะ อะขะ แปลว่า ดู ดูแล้วน่าเกลียด ดูน่าเกลียด น่าเกลียดเพราะอะไร ก็เป็นมายาหลอกลวงเปลี่ยนแปลงเรื่อย ไหลเรื่อยคือหลอกกันเรื่อย นั้นน่าเกลียดแต่ตา ตาดูเห็นว่ามันหน้าจะเกลียด คือสังขารชนิดไหนมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเรื่อย

สังขารนั้นจะมีลักษณะความน่าเกลียด น่าเบื่อหน่าย น่าระอา ความทุกข์นี้มันไม่ได้เกี่ยวกับการทรมาน หรือไม่ทรมาน แต่ตามันดูเห็นแล้วมันรู้สึกได้ว่ามันน่าเกลียด สำหรับโลกนี้มันไม่เคยมีและมันมีแล้วมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนไปมันจะแตกดับลงวันหนึ่ง ถ้าเรามองเห็นอย่างนี้ คือทีเดียวตลอดสายเราก็รู้สึกว่ามันหลอกลวง มันเป็นมายามันน่าเกลียด ไม่น่าพอใจอะไรเลย สังขารเป็นทุกข์ก็คือมีลักษณะส่อความน่าเกลียดอยู่ด้วยเป็นได้ทั้งสองสังขาร แต่ถ้าเป็นทุกข์ทรมานนั้นเป็นได้แต่สังขารที่มีใจครอง และความหมายที่สาม มันแปลว่าว่าง อย่างน่าเกลียด คือไม่มีตัวตน มันเป็นของเคว่งคว้างไปตามความเปลี่ยนแปลงมีแต่ความเปลี่ยนแปลง เงินไม่มีกินที่ตรงไหน เครื่องใช้อย่างเดียวที่ตรงไหนไม่มีอิสระที่ตรงไหน ไม่มี ส่วนที่จะเข้าไปจับฉวยเอาเลย อย่างนี้เรียกว่ามันว่างจากส่วนที่ควรจะจับฉวย เพราะเป็นการว่างอย่างน่าเกลียด นี้เป็นคำแปลที่ พระอัตถาอาจารย์โบราณณาจารย์บางคน อธิบายว่าแต่ไม่ทั่วไป คือเขาจะไม่สนใจกันถึงขณะนี้โดยมาก จะได้พบได้เห็นว่าพระอัตถาจารย์บางคนท่านพยานแนะอีกแห่หนึ่งว่าทุกขัง นี้ แปลว่าว่าง ทุกข์แปลว่าน่าเกลียด ทุกข์แปลว่ามันว่างอย่างน่าเกลียด นี้มันแป็นแก่ธรรมชาติทั้งหลาย มันอยู่ที่ธรรมชาติ ทั้งหลาย รูปธรรม นามธรรมที่เรามองเห็น

แล้วเรามองดูโลกในแง่ของความเปลี่ยนแปลงไหลเรื่อยแล้วมันจะเห็นว่ามันว่างอย่างน่าเกลียด อย่างนี้ก็เป็นไปได้ในสองสังขารได้เหมือนกัน สังขารไม่มีจิตใจครองเป็นก้อนหินก็ว่างอยู่อย่างน่าเกลียด สังขารที่มีใจครองอย่างต้นไม้อย่างสัตว์อย่างคนนี้มันก็ว่างอยู่อย่างน่าเกลียด นี้คือทุกขังแปลว่าว่างอย่างน่าเกลียดอย่างนี้ก็มี ถึงความหมายที่สี่ เป็นความหมายพิเศษ ทุกขังก็แปลว่านำมาซึ่งความทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์แก่บุคคลผู้อาวิถี สังขารในความหมายไหนก็ตาม มันไม่เที่ยง มันจะมี มันจะเป็นทางที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ นั้นสิ่งทั้งปวงนี้มันเริ่มจะมีภาวะอย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็นทุกข์ คือมันจะนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อเข้าไปยึดถือมัน เพราะว่าเมื่อเข้าไปยึดถือมันนี้จะต้องเข้าใจดีๆว่าเราอย่ามองข้าม เช่นเมื่อเรามีความเจ็บปวดผิวเนื้อผิวหนังนี้

เราไม่รู้ว่าเราได้ยึดถือว่ามันเป็นเนื้อหนังของเราหรือความเจ็บของเรา เพราะมันเป็นความยึดถือโดยอัตโนมัติ โดยธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกตัว ตั้งแต่เราเกิดมาเราก็รู้สึกยึดถือ สังขารร่างกายเป็นเราเป็นของเราอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่รู้สึกว่าเรายึดถือ เพราะว่าบอกว่าใจมันยึดถืออยู่ นั้นมันก็ไม่เที่ยง ก็ไม่ได้มองเห็นในตัวการยึดถือไม่อยู่เป็นธรรมดาให้หมด จึงยึดถืออย่างเป็นธรรมดาไปหมด จึงมีความทุกข์ทันทีเมื่อว่าสิ่งที่เรายึดถือมันเกิดเปลี่ยนแปลงขึ้นมาหรือมันเจ็บปวดขึ้นมา พอเนื้อหนังมันไม่สบายเจ็บปวดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ทันที ก็มันยึดถือกันเป็นธรรมดาแล้ว

ทีนี้มันก็นำมาซึ่งความทุกข์ ที่เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือบ้างหรือเพราะว่ามีความยึดถืออยู่แล้วตลอดเวลาบ้าง สังขารที่ใกล้ชิดที่สุดคือเนื้อหนังร่างกายของเราที่ยึดถือมากแน่นแฝ้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนความรู้สึกคิดนึกมันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือเหมือนกัน แต่ว่ามันกลับไปกลับมา มันกลับกลอกเร็ว อย่างเห็นได้ยาก แต่แล้วมันก็มีไว้สำหรับยึดถือเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ยึดถืออยู่ตลอดเวลา สังขารทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ เพราะว่ามันนำมาซึ่งความทุกข์แก่บุคคลที่ยึดถือ มันเป็นได้อย่างนี้ทั้งสองสังขาร

สังขารที่ไม่มีจิตใจครองอย่างก้อนหินลองไปรักก็เสมือนกับว่ามีความทุกข์มีไฟเกิดขึ้นในใจ อย่างเขาจัดก้อนหินสวยๆ ลองไปเตะของเขาให้กระจาย เขาอาจจะตีหัวแตก เพราะว่าเจ้าของเขารักก้อนหินเหล่านั้น หรือว่าเพชรพลอยที่คนโง่ๆ เอามาแขวนไว้ตามหู ตามคอเนี่ย ลองไปทำอะไรเขาดู เขาก็โกรธ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ทั้งที่มันเป็นเพียงก้อนหินที่คนเขาชินตาด้วยความหลงอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนี้ก็นำมาซึ่งความทุกข์ มันจะเป็นสังขารที่ไม่มีใจครอง ถ้ามันเป็นสังขารที่ไม่มีใจครองเช่นบุตร ภรรยา สามี นี้ลองเป็นก็จะมีเรื่องมากว่านี้อีก นั้นจะว่าสังขารมันเป็นทุกข์มันความหมายที่สี่มันนำมาซึ่งความทุกข์แก่คนที่ยึดถือ ความหมายนี้สำคัญที่สุดเรียกว่าเป็นความหมายพิเศษต้องจดจำไว้ให้ดี เพราะปัญหามันอยู่ที่นี้

ถ้าไม่ยึดถือก็ไม่เป็นไร พอยึดถือก็มีความทุกข์ แต่แล้วมันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ มันยั่วให้ยึดถือ แล้วมันก็ยึดถือมาจนชินตั้งแต่เกิดมา นี้เป็นความหมายที่สี่ที่เกิด นี้เป็นเรื่องราวที่ไม่มองเห็นว่าสังขารเป็นทุกข์ เรากลับมองเห็นว่าน่ารักน่าพอใจ หรือว่าเป็นสุข มีเพชรนิลจินดาก็เป็นสุข มีเงินมีทองก็เป็นสุข มีภรรยาสามีก็เป็นสุข อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นสุขตรงกันข้ามความทุกข์ มองเห็นเป็นสุขกลับตรงกันข้ามกันอยู่อย่างนี้ มันก็เกิดเป็นที่ตั้งที่อาศัยของความยึดถือขึ้นมา เป็นที่ตั้งที่อาศัยว่าจะสุขนี้เอง มันเป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตที่จะเข้าไปอาศัยว่าจะสุขที่ตรงนี้ จะมีอย่างนี้เป็นความสุข

มันไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ มันตรงกันข้ามกับความสุขจนเกิดเป็นที่ตั้งที่อาศัยขึ้นมา ถ้ามันมีปัญญาศึกษามาดีก็มองเห็นว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น มันตรงกันข้ามที่มันเป็นทุกข์ ในความหมายใดในความหมายหนึ่ง อย่างนี้ทั้งสี่ความหมาย เพราะว่าเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์เสียแล้วมันก็ไม่มีที่ตั้งที่อาศัยของจิต ที่จะเข้าไปตั้งอาศัยแก่สิ่งนั้นในสิ่งนั้นเพื่อสิ่งนั้น จิตก็เป็นอิสระจากสิ่งนั้นภาวะอย่างนี้เขาเรียกว่า อัปนินิตะนิโมบ ที่เป็นนิพพานชนิดหนึ่ง โดยมีการ อัปนินิตะ แปลว่าไม่มีที่ตั้งที่อาศัย จะไปเกิดที่ไหนก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น มันไปเกิดที่ไหนมันเป็นไฟทั้งนั้น แล้วจะไปตั้งอาศัยอยู่ตรงไหนได้อย่างไร

สังขารทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นอย่างนั้น ไปเกิดที่สังขารไหนก็เป็นไฟทั้งนั้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น จิตก็ถอยห่างจากสิ่งที่ไปตั้งอาศัยในสังขารใดๆ หมด ภาวะอย่างนี้เขาเรียกว่า อัปนินิตะนิโมบ คือหลุดพ้น เพราะไม่มีที่ตั้งอาศัย พอจิตมองเห็นความไม่มีที่ตั้งที่อาศัยในสังขารทั้งปวงจะเห็นความเป็นทุกข์ จิตนี้ก็จะเป็น อัปนินิตะนิโมบ ก็จะหลุดพ้นความทุกข์ด้วยเหมือนกัน และสิ่งหนึ่งที่หลุดพ้นด้วย อัปอวินิจอนิโมบ เห็นไม่เที่ยงก็ได้ แต่หน้าจะหลุดพ้นด้วย อัปนินิตะนิโมบ เห็นเป็นทุกข์ ไม่เข้าใจที่ตรงไหนไม่เข้าไปแตะที่ตรงไหน ไม่มีที่ตั้งที่อาศัยที่จะไปยึดเอาความสุขหรือมีความสุข เพราะเห็นความทุกข์ในสังขารทั้งปวง อัตนิตินทุกเข

เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ เอสะมังโควิสุทธิยา อันก็เป็นทางแห่งความหมดจด ทีนี้มาถึงเรื่องลักษณะที่สาม มาดูลักษณะที่สามเรียกว่า อนัตตา อนัตตานี้อธิบายกันตามพอใจมากเกินไปจนไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ทีนี้ก็เลยคาราคาซังกันอยู่อย่างนั้นโดยมากเอาคำกวมมีจริงแล้วก็ต้องว่าไม่ใช่ อัตตา อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ อัตตา อะแปลว่าไม่หรือไม่ใช่ อัตตาแปลว่าอัตตา

ถ้าแปลอัตตาอีกทีก็แปลว่าตน ทีนี้อนัตตาก็แปลว่า ไม่ใช่ตน เป็นอะไรก็ไม่ช่างหัวมัน มันจะเป็นอะไรก็ตามใจมัน เพราะมันไม่ใช่ตนก็พอแล้ว มันไม่ใช่ตนมันมีเยอะแยะไปมันมีเกิดดับอยู่อะไรอยู่ล้วนแต่ไม่ใช่ตน ต้องบอกว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา กว้างไปถึงสังขารแบบมีสังขาร จะเป็นสังขารก็ดีหรือไม่ใช่สังขารก็ดี ล้วนแต่ไม่ปลง ถือว่าตนเพราะมันไม่ใช่ตน ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตน บางทีก็แพล่งออกไปว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงคือกลิ่นทั้งหลายทั้งปวง สัจธรรมก็ดี อสัจธรรมก็ดี ล้วนอนัตตาไม่ใช่ตน จะมองดูว่าไม่ใช่ตนเป็นข้อแรก ก็เลยรู้ว่าไอ้ที่ว่าตนนั้นคืออย่างไร จากความรู้สึกทั่วไปของคนและสัตว์ทั่วไป

ถ้าว่าเป็นคนเป็นตัวกูเป็นของกู มันก็คงจะเป็นตัว เป็นตน เป็นตัวกู ได้ไปตามที่ตัวกูต้องการ เมื่อตัวกูทำไมไม่อยู่ในอำนาจของตัวกู กลับเป็นปฎิปัก ตรงกันข้าม ถ้าร่างกายนี้เป็นของกู ตัวกู กูคิดอย่างนี้เป็นต้น มันก็เลยไหลหมด ร่างกายนี้มันก็ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิต แต่จิตนี้ก็ไม่ตรงกับร่องกับรอย ก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของตัวเอง มันไม่ส่วนไหนที่เรียกว่าเป็นตัวตน ตัวกูหรือตัวเรา มันมีแต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ ทางจิตนั้น ถึงแม้แต่จิตนั้นเอง มันก็ไม่ต้องการทางจิตนั้น เพราะว่ามันไม่ใช่ตนอยู่ที่จิตนั้นแล้ว แต่สิ่งที่จิตนั้นต้องการก็ยิ่งไม่ใช่ตนอีก โทษทีโทษทีคนบ้า สิ่งที่คนบ้าต้องการ ก็ยิ่งบ้ากันใหญ่ เราจะรู้ว่าทั้งข้างนอกข้างใน ทั้งตัวจิต ทั้งตัวร่างกาย ไม่มีส่วนไหนที่เรียกว่าเป็นของตนหรือเป็นตัวตนได้ ไม่ใช่ตนหมายความอย่างนี้ พอมันเริ่มกันมาเป็นของตน

แต่จิตไม่ใช่ตน ทั้งจิตและร่างกายก็ไม่ใช่ตน ของร่างกาย แต่จิตที่นึกคิดได้มันเอาตัวเองเป็นตน เอาร่างกายเป็นของตนบ้างทีนี้ก็ลมๆ แล้งๆ อนัตตาแปลว่า ที่มีอยู่ทั้งหลายทั้งปวงนั้นแหละไม่ใช่ตน และความไม่มีทุกข์ความดับทุกข์มันเป็นธรรมชาติของธรรมชาติ ไม่เป็นตัวตนของใคร ตามหลักพระพุทธศาสนาสอนให้ถืออย่างนี้คิดอย่างนี้ แต่ลัทธิอื่นศาสนาอื่นอาจจะสอนให้ดับทุกข์ได้ภาวะนั้นตัวตนของตนอย่างนี้ก็มี

แต่พระบาลีในพุทธศาสนาชัดอยู่แล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตน สังขารก็ดีไม่มีสังขารก็ดี ไม่ใช่ตน ทั้ง สังจธรรมก็ดี อสังจธรรมก็ดีไม่ใช่ตน ความทุกข์ก็ไม่ใช่ตน ความดับทุกข์ก็มิใช่ตน จิตที่คิดนึกอะไรก็ไม่ใช่ตน สิ่งที่จิตคิดนึกได้ก็มิใช่ตน การเลือกกันของสิ่งทั้งสองก็มิใช่ตน ปฏิกิริยาอะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาก็มิใช่ตนมันปฏิเสธหมดอย่างนี้ไม่ใช่ตน มีแต่สิ่งที่มิใช่ตน มีแต่สิ่งที่ไม่ใช่ตน มียอมรับว่ามีเปลี่ยนแปลงก็ตามไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ตน หรือไม่ก็สิ่งที่ตนเรียกว่าตนจะมีอย่างไหนอย่างไรอีกกี่อย่างก็ล้วนแต่ไม่ควรที่จะเรียกว่าตน เรียกว่าอนัตตา จะขยายความออกไปให้กว้างกว่านี้เท่าไรก็ได้ แต่ใจความสำคัญมันมีอยู่เท่านี้ คือมี มีมีไปหมดอะไรซักอย่างหนึ่งมีเท่าไรตามใจแต่ทุกอย่างไม่ควร ไม่มีสิ่งไหนควรเรียกว่าตน

มีแต่สิ่งที่ไม่ควรเรียกว่าตน นั้นทุกสิ่งไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรา บาลีเมตังมามะ ไม่ใช่ของเรา เหมือนของยืมชั่วคราว คนที่ไปยืมของเขามาเป็นคนมีซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกง สักวันต้องเอาไปคืน อย่างนี้ก็เหมือนของยืมชั่วคราว ไม่ใช่เป็นเรา บาลี ว่าเนโสธัมจะนิ นั้นมิใช่เป็นเรา มันเหมือนรู้สึกในความฝัน มันบ้าไปพักหนึ่ง เมื่อยังเป็นความฝันอยู่ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นตัวเป็นตน

พอตื่นขึ้นมาจากฝัน ตื่นขึ้นมาทันที มันก็ไม่มีอย่างที่เคยจะเป็นตัวเราเป็นเรานั้นเลยหายไปหมดเสมือนกับว่ามัน เหมือนขอในฝันว่านั้นไม่ใช่ตัวตนของเรานี้รวบหมดเลยทั้งที่ไม่ใช่ตัวตนและทั้งที่ไม่ใช่ของเรา นะเมโสอัตตา นะเมโสอัตตานั้นมิใช่ตนของเรา เพราะว่ามันไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา ถ้าเป็นเรา ถ้าเป็นตัวตนของเรา มันต้องอยู่ในอำนาจของเรา นี้ตัวเราเองมันก็ไม่ได้มีตัวตน มันก็ไม่ได้มีอำนาจอะไร ก็เลยเคว้งคว้างคือว่างกันไปหมด คือเห็นอย่างคือเห็น อนัตตา ทุกอย่างอย่าว่าแต่ไอ้ที่ เนื้อหนังร่างกาย แม้แต่จิตใจที่คิดนึกได้ก็ไม่ใช่ตน หรือความดับของสิ่งทั้งหมดที่เรียกว่านิพพานคือไม่ยึดถืออะไรเลยเป็นสิ่งที่ว่างจากการยึดถือ หรือภาวะที่ว่างจากการยึดถือนั้นก็ไม่ควรมาเรียกว่าตัวตน นี้เรียกว่ามันว่าง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่าง ว่างจากอะไรว่างจากความหมายของความเป็นตน ว่างจากความหมายของความเป็นของของตน

เขาเรียกว่าว่างจากอัตตา ว่างจากอัตนิยา ว่างจากตัวตน ว่างจากของตน เมื่อเห็นว่างอย่างนี้ จิตโตปราศจากความยึดถือ อย่างที่ตรัสว่าโลก เมื่อเห็นโลกโดยความเป็นของว่าง จากตัวตนหรือจากของของตน เมื่อนั้นจิตก็ไม่ยึดถืออะไร จิตในภาวะอย่างนี้เขาเรียกว่า สูญตะนิโมบ คือความหลุดพ้น ใช้อำนาจของการเห็น สูญวิตา คือความว่าง ที่จริงคืออนัตตานั้นเอง อนัตตาคือว่างจากตัวตน จิตนั้นหลุดพ้นจากความผูกพันทั้งปวงเพราะว่ามันเห็นความว่างจากตัวตนในสิ่งทั้งปวง อย่างนี้เป็นความหลุดพ้นเพราะ อำนาจของการเห็นความว่าง เป็นหลักสุดท้ายเป็นหลักสำคัญทั่วไปเป็นสิ่งหลุดพ้นกันจริงๆ อย่างมีรากฐานกระบวนก็เป็นเรื่องการเห็นอนัตตา เรียกว่า สูญตะนิโมบ

แต่ไม่รวมถึงนิโมบมันก็ได้ทั้งนั้น ถ้าเห็นอนิจจังก็ย่อมจะเห็นสูญตา เพราะว่าอนิจจังไปหมดเห็นตัวตนที่ไหน ถ้าเห็นทุกขังมันก็เห็นว่างไปหมดเหมือนกัน มันไม่มีอะไรมันมีแต่ความทุกข์ มันไม่มีตัวตน มันก็เห็นสูญตา เห็นว่างด้วยเหมือนกัน มันก็ตั้งต้นขึ้นมา จากการเห็นไม่เที่ยง คือเห็นความไม่เที่ยงนี้เป็นรากฐานของความหลุดพ้นได้ แต่บางคนเขาไม่ถนัด หรือไม่สะดวก หรือไม่พร้อมที่จะเป็นอย่างนั้น มันมีโอกาสจะเห็นความทุกข์มันก็เห็นความทุกข์ แล้วมันก็หลุดพ้นได้เหมือนกัน ที่บางคนเขามีปัญญามากกว่านั้น มองเห็นอนัตตา ลึกลงไปมันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นมันก็หลุดพ้นเหมือนกัน นั้นควรจะถือว่าการเห็น อนิจจังก็เอาตัวรอดได้ การเห็นทุกขังก็เอาตัวรอดได้ การเห็นอนัตตาก็เอาตัวรอดได้ อาตมาพูดอย่างนี้อาจจะผิดเป็นบทที่อื่น หรือคนเขาพูดก็ได้ เห็นพูดตามเหตุผลที่มีอยู่ในตัว ไม่มีหลักฐานเบ็ดเตล็ดมายืนยันอีกว่าคนสมัยโบราณ ก็ยอมรับว่าพระนิพพานมีสามอย่าง อย่างนี้ ทั้งในภาพสมุดข่อยหรือในภาพผนังโบสถ์ในสมัยโบราณนั้นเขาเขียนรูปพระนิพพานเสร็จเป็นแก้วสามดวง ดวงหนึ่งเรียกว่า อวินิจอนิโมบ ดวงหนึ่งเรียกว่า อัปนินิปนิโมบ ดวงหนึ่งเรียกว่า สูญวิตนิโมบ

เรามองดูจะเห็นจริง เพราะว่าถ้ามองเห็นอนิจจังจริงๆ มันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น เห็นทุกขขังจริงๆ มันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น เห็นอนัตตาจริงๆ มันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วแต่ว่าอุปนิสัย จิตใจ โอกาส ความสามารถของคน คนหนึ่งมันเหมาะที่จะเห็นมาทางไหน เพราะว่าทุกคนไม่ได้ยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกัน เพราะว่าตั้งตนในที่ ที่ต่างกัน แต่มาสู่จุดหมายเดียวกันคือความหลุดพ้น นี้ก็เห็นอยู่ว่าไม่ใช่ตัวตนอย่างนี้มันก็เบื่อหน่ายในสิ่งที่เคยคิดว่าตัวตน อะถะ นิพพินทะติทุกเข นี้ก็มีขึ้นมาเริ่มเบื่อหน่ายในความทุกข์ที่เคยหลง เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี้เป็นหนทางแห่งความหมดจดคือนิพพานด้วยกันทั้งนั้น เห็นอนิจจัง เห็นทุกขขัง เห็นอนัตตา ล้วนแต่เป็นหนทางแห่งความหมดจดด้วยกันทั้งนั้น นี้เรียกว่าไตรลักษณ์ ลักษณะสามประการ เห็นแล้วก็จะเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่เคยหลงเอามายึดถือไว้ว่าตัวตนว่าของของตนว่าของรักของตนว่าของเกลียดของตนต่างๆ เห็นเป็นทางแห่งความวิสุทธิ วิสุทธิคือความหมดจดจากสิ่งเศร้าหมอง สิ่งเศร้าหมองเป็นกิเลศ คือราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้ก็มี มีสิ่งเศร้าหมองมากไปกว่านั้นก็คือ ความหมักดองสะสมแห่งกิเลศ ที่เรียกว่า อาสะวะบ้าง อนุสัยบ้างอย่างนี้ก็เศร้าหมองเหมือนกัน นี้ก็เรียกว่าเป็นความทุกข์ ตัวความทุกข์เป็นตัวเศร้าหมองอย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน ทางแห่งความบริสุทธิ์ มันก็คือหมดจดจากกิเลศหรือว่าจากอาสะวะหรือว่าจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงแล้วแต่จะเรียก นี้คือผลของการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ทีนี้ก็อยากจะแนะให้สังเกตุอีกสักอย่างหนึ่งว่า เดียวนี้คนเขาไม่สนใจเรื่องนี้ พอได้ยินว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เขาว่าเป็นเรื่องของคนโบราณ ว่าเป็นเรื่องของคนโบราณยังไม่นานจะว่าเป็นเรื่องของคนโง่ เพราะมันโง่เอง โง่เหนือประมาณ โง่ที่แสนจะโง่ ว่าเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเรื่องของคนโง่ นี้เท่าที่พูดมาแล้วขอให้คิดดู พิจารณาดู คำนวณดูเป็นเรื่องของคนโง่ จะมองเห็นได้อย่างไร คนโง่มันจะมองเห็นได้อย่างไร มันต้องมีปัญญาสักกี่มากน้อย

มันถึงจะมองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทีนี้ก็ต้องถือว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ไม่ใช่เรื่องของคนโง่ เพราะว่ามีคนสมัยนี้ถือว่าเป็นเรื่องของคนโง่ มันก็เป็นเรื่องของคนสมัยนี้ที่โง่เกินกว่าโง่ ที่จะไปหลงรักในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความหลงรัก เพื่อทรมานตัวเองให้มันเจ็บจดให้มันสาสม เรียกว่ามันโง่เกินกว่าที่จะโง่ แล้วมันก็หาว่าไอ้คนที่ไม่เป็นอย่างนั้นคลายเป็นคนโง่ เพราะว่าเขาชอบอยู่อย่างหนึ่ง คือว่าถ้าจะมองดูกันอีกทางหนึ่งด้วยความหวังดี ก็จะมองเห็นว่าถ้าคนเรามีความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนเราไม่เบียดเบียนกันอย่างนี้ จะไม่เบียดเบียนตัวเองให้เป็นทุกข์เป็นร้อนเหมือนตกนรกทั้งเป็นอย่างนี้

แล้วจะไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้ใครเดือดร้อนระสัมระสายทุกโหระแหงอย่างนี้ไม่หยุดไม่มีหย่อน เหมือนกับกำลังทำอยู่ในโลกเวลานี้ เพราะว่ามันไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกศาสนาอาจจะสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่แล้วโดยรู้สึกตัว ที่เห็นชัดๆ คือศาสนาพุทธ ศาสนาที่อยู่เครือเดียวกัน พระพุทธศาสนาพยายามสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างยิ่ง แต่ในศาสนาอื่นเขาก็สอนอยู่โดยอ้อม มีผลอย่างเดียวกัน คือไม่สอนให้ถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นของตัว ไม่ให้เห็นแก่ตัว มันมีผลอย่างเดียวกัน กับการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเดียวนี้พุทธบริษัทต้องการจะให้เห็นง่ายขึ้นเร็วขึ้นชัดขึ้น ทันความต้องการมากขึ้น จึงสอนระบุลักษณะสามประการนี้ว่ามีอยู่อย่างนี้ เมื่อคนมองเห็นจริงๆ แล้วก็จะหมดความเห็นแก่ตัว เมื่อหมดความเห็นแก่ตัว มันก็ไม่เบียดเบียนตัวเองทำให้ใครเดือดร้อน คนเราเบียดเบียนตัวเองเดือนร้อนด้วยความโลภความโกรธ ความหลง พอเห็นลักษณะสามนี้แล้วมันไม่อาจจะเกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง

มันก็เลยไม่เบียดเบียนตัวให้เดือนร้อน นี้เป็นข้อแรกที่ได้ก่อน เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้มันก็เบียดเบียนคนอื่นไม่ลง เอาเปรียบคนอื่นไม่ลง หรือว่าเห็นเป็นของบ้าๆ บอๆ เสียอีกที่จะไปเบียดเบียนคนอื่น พอตัวเองไม่มีความทุกข์แล้วก็ควรจะพอใจแล้วก็เลยไม่เบียดเบียนคนอื่น ผู้ที่เห็นธรรมมะนี้เรียกว่าจะไม่การเบียดเบียนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

เดี๋ยวนี้เป็นของครึคระของคนโบราณเป็นของคนโง่ไปเสียโดยไม่รู้จักตัวเองว่าเป็นคนโง่ โลกนี้ล้วนเต็มไปด้วยคนโง่ที่ไม่รู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มากขึ้น มากขึ้น โลกนี้ก็ต้องเป็นไฟ ถูกเผาผลาญโดยมากของกิเลสมากขึ้น เป็นธรรมดา ถ้าใครยังมีปัญญาอยู่ ซื่อตรงสุจริตอยู่รีบมองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วมันยังเป็นสิ่งที่ยังใช้ได้แม้กระทั่งในสมัยนี้ ในการที่จะช่วยบำบัดความทุกข์ยากลำบากทั้งหลายทั้งปวง นี้เป็นเรื่องไตรลักษณ์ คือลักษณะสามประการ เพราะได้พูดเรื่องรัตนสามประการ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็พูดเรื่อง สุขขาสามประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และก็พูดเรื่องโลกุสตะระธรรมสามประการคือ มรรค ผล นิพพาน

แล้ววันนี้ก็ได้พูดถึงเรื่องลักษณะสามประการ ซึ่งเมื่อบุคคลเห็นแล้วก็จะได้ชื่อว่าเดินไปตามทางของความบริสุทธิ์เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน จะทำให้ทุกอย่างง่ายเข้าคือการดับทุกข์ทั้งปวงเป็นเรื่องหนึ่งในบรรดาเรื่องทั้งหลาย ที่จะเอามาซักซ้อมความเข้าใจให้แจ่มแจ้งขึ้นไว้ในโอกาสแห่งการเข้าพรรษา ทุกๆ พรรษาของพุทธบริษัททั้งหลาย ขวนขวายในการปฏิบัติอย่างนี้ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ตามพระพุทธประสงค์ ตามที่ว่าตัวเองนั้นดับทุกข์ให้แก่ตัวเอง โดยอาศัยธรรมมะเหล่านี้ ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลาเอวันก็มีแต่ปาระฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35476

. . . . . . .