สติรู้ลมหายใจ สมเด็จพระญาณสังวร ?สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สติรู้ลมหายใจ

สมเด็จพระญาณสังวร ?สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ?วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอร

หันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำ

สมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม ?จิตนี้ย่อมดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย รักษายากห้ามยาก แต่บุคคลผู้ทรงปัญญา

ย่อมทำจิตให้ตรงได้ เหมือนอย่างช่างศรดัดลูกศร เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงสมควรเป็นผู้ทรงปัญญา และมีสติคอยดัดจิตของตนให้ตรง

เพราะว่าจิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่ายนี้ ก็คือดิ้นรนไปในอารมณ์ คือเรื่องทั้งหลาย ที่เข้ามาทางตาทางหูเป็นต้น ตลอด

จนถึงคิดนึกทางใจอยู่ตลอดเวลา บรรดาเรื่องทั้งปวงเหล่านี้ บางอย่างก็เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี

คือเป็นชนวนให้เกิดความยินดี บางอย่างก็เป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย คือเป็นชนวนให้เกิดความยินร้าย เพราะฉะนั้น หากไม่ทรงปัญญา

ไม่มีสติ จิตนี้ก็จะดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย ?อันคำว่าจิตคดหรือจิตตรงนี้ ก็โดยที่มีธรรมะคือคุณที่เกื้อกูล สิ่งที่ถูกต้องก็โดยเป็น

คุณที่เกื้อกูลนั่นแหละเป็นหลัก ??เมื่อจิตดำเนินไปตรงสู่ธรรมะคือความถูกต้อง ก็ย่อมเป็นจิตที่ตรง แต่ถ้าจิตดำเนินไปสู่อธรรม คือสิ่ง

ที่เป็นอธรรมไม่ถูกต้อง ก็เป็นจิตที่คด เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องทรงปัญญารู้ว่า อะไรเป็นธรรมคือถูกต้อง อะไรเป็นอธรรมคือ

ไม่ถูกต้อง ??บุคคลทั่วไปซึ่งได้มีมารดาบิดาเป็นบุรพาจารย์ คืออาจารย์คนแรกสั่งสอน ให้เว้นจากความชั่วประพฤติความดีความงาม

ก็ย่อมจะเริ่มรู้จักว่า อะไรดี อะไรชั่ว มาตั้งแต่มารดาบิดาสั่งสอน และเมื่อมาถึงครูอาจารย์ ครูอาจารย์ก็สั่งสอนอีก เมื่อมาพบพระพุทธ

ศาสนา ได้ศึกษาเล่าเรียนรู้ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็ย่อมจะรู้จักดีรู้จักชั่วตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ

ฉะนั้น อันความรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ทุกคนจึงมีอยู่น้อยหรือมากอยู่ด้วยกัน แต่ว่าจิตที่ลุอำนาจต่ออารมณ์ ลุอำนาจต่อกิเลส ย่อมไม่

คำนึงถึงสิ่งดีสิ่งชั่ว ที่มารดาบิดาครูบาอาจารย์ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เพราะว่ากำลังของอารมณ์ กำลังของกิเลสแรงกว่า จึงดึงไป

ในทางที่ชั่วที่ผิดต่างๆ แบบภาษิตไทยที่ว่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เป็นไปอยู่ดั่งนี้โดยมาก?ความประมาทปัญญา

เพราะฉะนั้น ความรู้จักดีชั่วจึงไม่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ก็เพราะว่า มิได้ฝึกหัดทำสติให้มั่นคง มิได้ฝึกปัญญาให้มีกำลัง เรียกว่าเป็นผู้

ประมาทปัญญา หรือผู้เผลอปัญญา ขาดความเพ่งพินิจพิจารณาให้ความจริงปรากฏแก่จิตใจ และให้จิตใจนี้รับรู้ ให้จิตใจนี้

เชื่อฟัง อันความขาดพินิจพิจารณา จึงเรียกว่าประมาทปัญญา เผลอปัญญา ด้วยเหตุที่ปัญญามีอยู่ก็ไม่ใช้เพ่งพินิจพิจารณา ด่วนที่จะ

เชื่อ ด่วนที่จะถือตามคำสั่งของกิเลส อันมีเครื่องชักจูงต่างๆ ให้เกิดความเห็นผิด ถือเอาผิด อันเป็นตัวโมหะคือความหลง เป็นมิจฉา

ทิฏฐิคือความเห็นผิด บุคคลเป็นอันมากย่อมเป็นไปอยู่ดั่งนี้ และเมื่อมีผู้มาตักเตือนอบรมก็แก้บอกว่าห้ามจิตไม่ได้

หรือว่าแก้ตัวไปโดยทางอื่น เป็นการที่แสดงตนยอมพ่ายแพ้ต่อจิตใจของตนเอง อันความพ่ายแพ้ต่อจิตใจของตนเองในลักษณะ

นี้ย่อมเป็นโทษมาก เพราะฉะนั้น จึงได้มีคำกล่าวที่เป็นสุภาษิต ว่าผู้ที่ปฏิบัติตามใจของตัวเองนั้น เป็นผู้ปฏิบัติก่อให้เกิดทุกข์

ตามใจกิเลสจึงเป็นทุกข์

คราวนี้จึงต้องทำความเข้าใจว่า ทำไมปฏิบัติตามใจของตัวเองจึงเป็นทุกข์ ก็เพราะว่าที่เรียกว่าตามใจของตัวเองนั้น ก็คือตามใจ

กิเลส ตามใจตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ตามใจราคะหรือโลภะ ตามใจโทสะ ตามใจโมหะ เพราะว่าจิตใจนี้ถูกตัณหาถูก

ราคะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ เพราะฉะนั้นตามใจตัวเองก็คือตามใจกิเลสดังกล่าวนั้นเอง จึงเป็นสิ่งที่มีโทษมีทุกข์ และใจที่

ถูกกิเลสครอบงำดั่งนี้ ย่อมเป็นเหมือนว่ากิเลสกับใจเป็นอันเดียวกัน คือใจเป็นตัวกิเลส กิเลสเป็นตัวใจ ทั้งนี้ก็เพราะว่ากิเลสเข้ามา

ผสม เหมือนอย่างเป็นอันหนึ่งเป็นอันเดียวกันกับใจ

เมื่อใจชอบขึ้นมาแล้วก็จะต้องเห็นว่าสิ่งที่ชอบนั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ จึงได้บังเกิดความติดใจยินดีในสิ่งนั้น แต่ถ้าเป็น

บุคคลหรือสิ่งที่ไม่ชอบ ก็ทำให้เห็นว่าสิ่งนั้นบุคคลนั้น น่าชังน่าเกลียดน่ากลัวไปต่างๆ จิตใจย่อมลำเอียงไปตามอำนาจของกิเลสดั่ง

นี้ สติปัญญาที่เคยมีอยู่ก็หลบซ่อนไปหมด ทั้งทำให้เข้าใจว่าตัวกิเลสนั้นเป็นตัวสติเป็นตัวปัญญาไปด้วยทีเดียว ฉะนั้น อาการที่ใจชอบ

หรือชังนั้นจึงต้องเป็นของที่ถูก ไม่ใช่เป็นของที่ผิด เห็นไปอย่างนั้น เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็ไม่ยอมที่จะพินิจพิจารณา ไม่ยอมที่จะแยกใจ

ของตัวเองออกมาเป็นกลาง แล้วก็สอบสวนทั้งฝ่ายที่สนับสนุนทั้งฝ่ายที่คัดค้าน เพราะว่าได้บังเกิดความเชื่อดิ่งลงไปเสียแล้ว เป็น

ความเชื่อที่ผิด จึงทำให้การปฏิบัติทุกอย่างผิด ทั้งที่ตนเองเข้าใจว่าถูกว่าชอบ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าแพ้อารมณ์แพ้กิเลส แพ้อย่าง

ราบคาบไม่มีอะไรที่จะต่อต้าน

แต่อันที่จริงนั้น ทุกคนมีผู้ช่วยสำหรับที่จะรักษาตนอยู่พร้อมแล้ว เป็นต้นว่าสติปัญญาดังที่กล่าวนั้น สติปัญญานั้นบางทีก็เป็น

สติปัญญา คือเป็นตัวปัญญาที่เล่าเรียนศึกษามาเป็นอย่างดี ได้รับอบรมมาเป็นอย่างดี บางทีก็เป็นสติปัญญาได้มาจากพ่อแม่ครูบา

อาจารย์ ตลอดถึงพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนอบรม แต่ว่าก็ไม่คำนึงถึงและไม่ยอมที่จะรับฟัง มาสำหรับที่จะพินิจพิจารณา เมื่อเป็นดั่ง

นี้บรรดาผู้ช่วยทั้งหลายที่เป็นภายในดังกล่าวมานี้ ก็ไม่สามารถจะช่วยได้ เพราะจิตนี้ไม่รับ ไม่ฟังไม่คำนึงถึง ไม่ต้องกล่าวถึงผู้ช่วย

ภายนอก คือบรรดาผู้ที่หวังดีทั้งหลาย ก็ไม่สามารถที่จะพูดจาแนะนำอบรมได้ ดั่งนี้แหละเป็นความเห็นที่ดิ่งผิดลงไป อันทำให้ถือผิด

ปฏิบัติผิด น้อยหรือมาก จนถึงมากที่สุด ดิ่งลงไปสู่หายนะคือความเสื่อมต่างๆ โดยที่กล่าวได้ว่าตนเองนี้แหละเป็นผู้นำตัวเองลงไป

ไม่ใช่ใครอื่น ?เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเตือนไว้ว่า จิตดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่ายรักษายากห้ามยาก เพื่อเป็น

เครื่องสะกิดใจของบุคคล ว่าจิตมีลักษณะเป็นดั่งนี้ และก็เป็นสิ่งที่รักษายากห้ามยาก ในเมื่อขาดสติปัญญา หรือว่ามีสติปัญญาอยู่ก็ไม่

นำมาใช้พินิจพิจารณา ยอมแพ้กิเลสแพ้อารมณ์อย่างราบคาบ เข้าใจว่าดีแล้วถูกแล้วชอบแล้ว มักจะเป็นกันไปอยู่ดั่งนี้ หากมาสะกิด

ใจถึงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน และฟังที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไป ว่าผู้ทรงปัญญาย่อมจะทำจิตให้ตรง เหมือนอย่างช่างศร

ดัดลูกศร สะกิดใจตนเองว่า ที่ว่ารักษายากห้ามยากนั้น ไม่ได้หมายความว่ารักษามิได้ห้ามมิได้ จิตเป็นสิ่งที่รักษาได้ห้ามได้

สติระลึกดูจิต ?แต่ถ้าหากว่าไม่ทรงปัญญา คือประมาทปัญญา ทิ้งปัญญาเสีย ไม่เอาปัญญามาทรงไว้ มาเพ่งพินิจพิจารณา หรือกล่าว

อีกว่าขาดสติจึงจะรักษายากห้ามยาก แต่ถ้าทรงปัญญา คือว่าจับเอาปัญญาขึ้นมาทรงไว้ คือมาพินิจพิจารณา ?มีสติระลึกสำนึกอยู่ ดู

จิตนี้เองว่าเป็นอย่างไร และดูเรื่องที่จิตยึดถือว่าเป็นอย่างไร ตั้งจิตนี้ไว้ให้เป็นกลางมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ บอกจิตว่าอย่าเพ่อ

รับรองในสิ่งที่ยึดถือนั้นว่าน่าชอบหรือน่าชัง เอามาเพ่งพินิจพิจารณาดูกันก่อน

แล้วก็จับพินิจพิจารณาดู ก็ย่อมจะเห็นได้ว่าจิตประกอบด้วยตัณหา จิตประกอบด้วยราคะหรือโลภะ จิตประกอบด้วยโทสะ จิตประกอบ

ด้วยโมหะ เป็นจิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่ายไปตามกิเลส ก็ย่อมจะเห็นจิตตามเป็นจริง ว่าเป็นเช่นนี้ๆ และก็เพ่งพินิจพิจารณาดู

ว่า จิตที่เป็นเช่นนี้นั้นเป็นอย่างไร เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มีโทษหรือไม่มีโทษ ก็ย่อมจะรู้ได้ กิเลสที่ถูกจิตเพ่งดูด้วยปัญญากับสติดั่งนี้

กิเลสย่อมจะอ่อนกำลังลง เพราะว่ากิเลสนี้ไม่ชอบให้ดู ไม่ชอบให้รู้ ไม่ชอบให้เห็น ชอบแต่ที่จะแฝงตัวอยู่ ฉะนั้นหากนำจิตเข้ามาเพ่ง

ดู ดูให้เห็น ดูให้รู้ กิเลสก็จะปรากฏสัญชาติของกิเลสออกมาเอง พร้อมทั้งผลที่เป็นตัวความทุกข์

วิธีปฏิบัติทำจิตให้ตรง

ตัวดูตัวรู้ตัวเห็นนี่แหละเป็นตัวเริ่มต้นของปัญญา จะได้ปัญญาขึ้นมาพร้อมทั้งสติดีขึ้นชัดขึ้น และเมื่อเป็นดั่งนี้แล้วกิเลสก็จะอ่อนกำลัง

ที่จะรังควาญที่จะรบกวน การที่จะมาปฏิบัติทำจิตให้ตรงก็สะดวกขึ้น สติปัฏฐานของพระพุทธเจ้าก็เป็นวิธีปฏิบัติทำจิตให้ตรงนั้นเอง

ฉะนั้นหากได้กำราบจิตของตน ให้สงบจากอารมณ์และกิเลสที่จะชักนำให้คดเคี้ยวเลี้ยวลด แต่ให้กลับมาสู่ทางตรงได้ และมาจับ

ปฏิบัติทำสติปัฏฐาน อันเป็นเครื่องดัดจิตให้ตรง ย่อมสามารถจะปฏิบัติได้ดีขึ้น

ในปัพพะคือข้อแรกที่ตรัสสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออก

มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก หายใจเข้าออกยาวก็รู้ หายใจเข้าออกสั้นก็รู้ ได้มีอธิบายตั้งแต่ในคัมภีร์เบื้องต้น ว่าเมื่อได้ตั้งสติ

กำหนดให้รู้ลมหายใจดั่งนี้ชัดเจน คือเข้าออกยาวหรือสั้นตามที่เป็นไปจริง ก็เป็นอันว่าจิตได้รวมเข้ามาสู่เครื่องดัดให้ตรง และเมื่อรวม

เข้ามาได้ก็จะเริ่มได้ฉันทะคือความพอใจ และด้วยอำนาจแห่งฉันทะคือความพอใจ ลมหายใจเข้าออกยาวหรือสั้นก็จะละเอียดเข้า ต่อ

จากนี้ก็จะได้ปราโมทย์คือความบันเทิง เมื่อได้ปราโมทย์คือความบันเทิง ลมหายใจเข้าออกยาวหรือสั้นก็จะละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก

จนถึงจิตนี้กลับจากลมหายใจเข้าลมหายใจออก อุเบกขาคือความเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ก็ตั้งขึ้นในภายใน จิตก็สงบอยู่ในภายใน อันนับว่า

เป็นขั้นของการปฏิบัติที่เป็นไปเอง

บุคคลผู้ปฏิบัติให้ตั้งสติกำหนดประคองจิตอยู่ในลมหายใจเข้าลมหายใจออก ยาวหรือสั้น อันหมายความว่าลมหายใจเข้าออกยาว

หรือสั้นนั้น ปรากฏอยู่ในตัวสติที่กำหนดในจิต ปรากฏชัดว่าหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏชัดว่ายาวหรือสั้นตามที่เป็นไปจริง เหมือน

อย่างมองเห็นเป็นตัวเป็นตนชัดเจน รวมเข้ามาได้ดั่งนี้ก็จะได้ฉันทะความพอใจ ได้ปราโมทย์คือความบันเทิง อันทำให้ลมหายใจเข้า

ออกละเอียดเข้าๆ จนถึงจิตกลับจากลมหายใจเข้าลมหายใจออก อุเบกขาคือความเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ในภายในก็ตั้งขึ้น สงบอยู่ใน

ภายใน

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความไม่จบสมบูรณ์ แต่ไม่เสียความ

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/2379-2010-06-05-08-21-41

. . . . . . .