ความกระหายต่อธรรม : ธัมมกามยตา โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ความกระหายต่อธรรม : ธัมมกามยตา โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – สัตตา
ในครั้งที่แล้วมาได้พูดถึงสิ่งที่เราพากันมองข้ามมาตามลำดับและคงเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นว่า เป็นสิ่งที่มองข้ามอย่างไร แล้วก็จะเข้าใจต่อไปโดยง่ายแต่ความที่เราเป็นเสมือนโง่อย่างหลับหูหลับตา มองข้ามสิ่งที่ไม่ควรจะมองข้าม นี่เป็นอันตรายอย่างยิ่งก็มี เป็นการทำให้ไม่ก้าวหน้าในทางธรรมตรงนี้ ไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ควรจะได้รับก็มี แต่ขอทบทวนสำหรับผู้ที่มาใหม่ แต่หัวข้อ อีกซักครั้งหนึ่งว่าสิ่งที่พากันมองข้ามนั้น

สิ่งแรกก็คือ ความจริงที่มนุษย์จะสิ้นสุดมนุษยธรรมตัวโลกทั้งโลกกำลังหมดความเป็นมนุษย์ยิ่งๆขึ้นทุกที มัวไปสนใจอยู่ในสิ่งที่ทำจิตใจให้ต่ำทรามไม่สนใจในสิ่งที่ทำจิตใจให้สูงให้สมกับความเป็นมนุษย์ และสิ่งถัดมาที่พากันมองข้ามก็คือว่าโลกพระศรีอานนั้น อยู่แค่ปลายจมูก คือเมื่อใดมนุษย์มีศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ว่ารักผู้อื่นเท่านั้นเองปฏิบัติต่อกันในฉันเป็นผู้ที่รักใคร่แก่กันและกันฆ่ากันไม่ได้ขโมยกันไม่ได้ร่วมของรักกันไม่ได้ โกหกลอกหลวงกันไม่ได้ ไม่มึนเมา แม้แต่เพื่อนยังรำคาญ โลกนี้ก็เป็นโลกพระศรีอาน คือไม่มีความทุกข์ อยู่กันด้วยความสามัคคี
เพราะมีช่วยเหลือกันทุกเมื่อ สิ่งที่ 3 ที่พากันมองข้ามนั้นก็คือการทำภาวนา คนสมัยใหม่เกลียดคำว่าภาวนาเพราะเขาไม่รู้ ว่าภาวนาที่แท้จริงนั้นคืออะไร เพราะนั้นเป็นเพียงพิธีรีตองของคนโง่เขล่า นั่งภาวนาอยู่อึมอัมอึมอัมไม่ได้รับประโยชน์อะไร จึงไม่รู้จักทำภาวนาการกระทำภาวนาที่ถูกต้องจึงหายไปจากมนุษย์เหล่านี้ จนไม่มีสิ่งที่เรียกว่าภาวนา ภาวนา แปลว่า สิ่งที่ทำผิดให้เจริญ หมายความว่า ผิดไม่อาจเจริญโดยวิธีอื่นได้นอกจากการทำภาวนา สมัยโบราณเป็นของที่นิยมกันมาก จึงมีจิตใจสูงเพราะการทำภาวนา สิ่งที่ 4 เรียกว่า จิตประภัสสรหรือชีวิตโดยพื้นฐาน เรามีชีวิตโดยพื้นฐาน ด้วยจิตประภัสสร ด้วยจิตที่ว่างจาก กิเลศ เราไม่ทะนุถนอม รักษาสิ่งๆ นี้ ซึ่งไม่รู้จักจิตโดยพื้นฐาน คือสงบจากกิเลศ ไปรู้จักจิตที่กำลังหนาไปด้วยกิเลศ จนถือเอาความมีกิเลศนั้นเป็นของธรรมดาไป โดยตั้งต้นไม่ถูก คือการตั้งต้นที่จะอบรมจิตพลิกชีวิตให้สูงขึ้นไปนั้นไม่ถูก ข้อที่ 5 คือความรักผู้อื่น เราอยู่ในโลกที่แวดล้อมไปด้วยสิ่งที่ทำให้เห็นแก่ตัวมากขึ้นจนไม่มีความรักผู้อื่นเหลืออยู่ในโลกนี้ ขอให้ไปพิจารณาดูให้ดี ว่าในโลกนี้มันมีความรักผู้อื่นเหลืออยู่ที่ไหน แม้ในบ้านเมืองเรานี้ จะหาความรักผู้อื่นได้โดยยาก บางที ในวงแคบๆ หมู่คณะ ก็หาความรักผู้อื่นไม่ได้ มีแต่ต่างฝ่ายต่างเห็นแก่ตัวเห็นแก่ประโยชน์ของตัว จนกล่าวได้ว่า ความรักผู้อื่นนั้นในโลกปัจจุบันนี้หายาก จนแม้แต่หามาทำยายอดตาก็จะไม่พอ มีแต่รักลูกรักเมีย รักผัว รักเพื่อนกินเหล้า รักเพื่อนเล่นสนุกสนานอย่างนี้มีมากแต่นี้ไม่ใช่รักผู้อื่น มันเป็นรักตัวในรูปแบบอื่น ข้อที่ 6 สัตตา ความรู้ จักที่เป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง นั้นจึงไม่แปลกใจไม่หลงรักสิ่งใดไม่หลงเปลี่ยนสิ่งใดมีจิตใจเป็นปกติ แม้แท้ความเจ็บความพ่ายความตาย ก็เห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นเองไม่ได้สะดุ้งกลัว แม้ความสุขสนุกสนานความร่ำรวยจะมีมา ก็ไม่ได้ไปหลงใหล โดยเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง นี้ถ้าใครเห็นมีสติปัญญาหรือความเห็นแจ้งในข้อนี้ คนนั้นจะไม่มีความทุกข์เลย แต่หากคนทั้งหลายพากันมองข้ามไปเสีย แค่เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นเองมันจะทำประโยชน์อะไรได้ คนจึงโง่ในเรื่องนี้ถึงขีดสุด โง่ขนาดไม่เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายหรือสังขารทั้งปวงมันเป็นเช่นนั้นเอง ในครั้งต่อมาอีกก็จะบอกว่าธรรมะนั้นแหละคือพระเจ้า ว่านี่คือสิ่งที่จะทำให้ทุกคนมีสิ่งสูงสุดเป็นเครื่องยึดถือ คนบางพวกหรือบางศาสนา ก็มีพระเจ้าอย่างชัดเจนก็ยึดถือในพระเจ้าในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดคอยกำกับบุคคลเหล่านั้นไว้ไม่ให้ทำชั่วไม่ให้ทำเลว

หน้าที่ 2 – ทุกขบริสัต
มีแต่ให้ทำดีตามความประสงค์ของพระเจ้า ทุกขบริสัตเหล่านี้ก็มีพระเจ้า แต่มิได้กล่าวไว้ในฐานะเป็นบุคคลอย่างนั้น พระเจ้าทุกขบริสัตคือธรรมะอันสูงสุด ธรรมที่เป็นอำนาจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเป็นสิ่งที่จะบันดาลสิ่งทั้งหลายให้เป็นไป ในครั้งที่ 8 ที่แล้วมาได้บอกถึงหลักพื้นฐานสำหรับเยาวชน นี่ก็ได้เปลี่ยนเรื่องมาเป็นเรื่องเฉเพาะเยาวชน เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับเยาวชนเป็นการบอกให้ทราบว่าไม่ได้รับการอบรมโดยบทพื้นฐานให้เด็กๆมีหลักพื้นฐานที่ดีได้เติบโตเป็นมนุษย์ที่ดีถูกต้องและสมบูรณ์ พ่อแม่ทั้งหลายไม่สนใจถึงขนาดนี้ มัวไปสนใจอะไรก็สุดแท้ และก็มักจะข้อแก้ตัวว่า

เดี๋ยวนี้เรื่องมันมากโลกสมัยนี้เรื่องมันมากไมมีโอกาสจะไปเอาใจใส่กับเด็กหรือทำให้ลูก เด็กๆมีหลักพื้นฐานที่ดีทางธรรมได้ ในที่สุดก็ต้องทนรับบาปกรรม เพราะการทำผิดในข้อนี้ คือมีเด็กๆจับบิดามารดาของตนลงไปในนรกมากขึ้นทุกที หมายความว่าเด็กๆ ทำความยากลำบากใจทุกข์ทนทรมานให้แก่บิดามารดามากขึ้นทุกที เพราะว่าเขาไม่มีหลักพื้นฐานในทางธรรมนั้นเอง ส่วนในครั้งนี้ยกเอาสิ่งที่เรียกโดยบาลีว่า ธัมมกามยตา ขึ้นมาเป็นหัวเรื่องสำหรับบรรยาย ธัมมกามยตา แปลว่า ความกระหายต่อธรรมะ เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายพากันมองข้าม หรือว่าคนทั่วไปในโลกก็ได้พากันมองข้าม นั้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เราควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนี้ ให้ชัดเจน ให้เพียงพอ จนถึงกับว่ามันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นทางที่ดีที่งามในที่พึงปรารถนา ธัมมกามยตา แปลว่าความใคร่ต่อธรรมะหรือความกระหายต่อธรรมะ ขยายความหมายออกไป ถึงว่าความน้อมเพียงในทางของธรรมะ ก็ได้แก่การจิตใจมีความประสงค์ กระหายต่อสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ท่านทั้งหลายทุกคนเหล่านี้ จงสังเกตทดสอบดูจิตใจของตัวเองว่ามีความกระหายต่อธรรมะหรือไม่ หรือว่าท่านกำลังกระหายต่ออะไรอยู่ ทุกคนก็ย่อมจะรู้ได้เป็นของตัวเอง ความกระหายต่อธรรมะนั้นเป็นไปได้ในระดับของปริยัติระดับปฏิบัติระดับปฏิเวชคือเป็นไปได้ในระดับที่เป็นความรู้เป็นธรรมที่ตรัสรู้ อุตสาห์ศึกษาเหล่าเรียนใฝ่รู้จดจำ กระหายต่อปริยัติธรรมนี้ก็มีอยู่ระดับหนึ่ง ที่ความกระหายต่อปฏิบัติธรรมก็คืออยากจะปฏิบัติ มีความต้องการอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติ ชอบปฏิบัติ กระหายต่อการปฏิบัตินี้มันก็มีที่อยู่ระดับหนึ่ง จากนั้นไปก็กระหายต่อผล ที่ต้องการปฏิบัติที่เรียกว่า ปฎิเวชธรรมได้รับความสุขจากการปฏิบัติธรรม แม้ในขั้นต่ำๆเป็นความสงบสุขเย็นใจที่นี่ หรือสูงขึ้นไปจนถึงมรรคผลนิพพาน ถ้าสหายต้องการในผล ต้องการปฏิบัติอย่างนี้แล้วก็เรียกว่า ความกระหายต่อธรรมะในระดับสูงคือระดับปฏิเวช สรุปความว่า ความกระหายต่อธรรมะนั้น มีได้ทั้งในส่วนของปริยัติทั้งในส่วนของปฏิบัติทั้งในส่วนของปฏิเวช ที่ใครกระหายธรรมะดังที่กล่าวมานี้บ้าง ภิกษุสามเณร อุตสาห์เรียนนักธรรมเรียนบาลี อดตาหรับอดตานอน เป็นการกระหายต่อธรรมะแม้ในขั้นปริยัติหรือเปล่า อาตมาว่าเปล่าพระเณรเหล่าไม่ได้กระหายต่อพระปริยัติธรรม แต่กระหายต่อผลที่สอบไล่ได้ ที่อุตสาห์อดตาหลับขับตานอน เรียนนั้นเพื่อเอาผลที่การสอบไล่ได้ การสอบไล่ได้ทำให้มีผลเป็นวัตถุได้ที่ตัวต้องการอย่างนี้ไม่ใช่กระหายต่อปริยัติธรรม ถ้ามีความกระหายอยากจะรู้พระปริยัติธรรมจริงๆล้วนๆนั้นแหละจึงจะเรียกว่าการกระหายต่อธรรมถึงแม้ในธรรมปริยัติ พวกชาวบ้าน นักที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา เป็นนักคุยขี้โวที่คุยธรรมะทั่วๆไป อุตส่าห์ไปไถ่ถามคนนั้นคนนี้ว่า หลักธรรมะเรื่องนั้นเรื่องนี้เป็นอย่างไรทนลำบากไปศึกษาเพื่อที่จะไปเอามาโม้ อย่างนี้เขาไม่เรียกว่ากระหายต่อปริยัติธรรมแต่ประการใด ใครบ้างที่อยากจะรู้หลักธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็ไปสังเกตดูเอาเถอะ ใครที่ไปถามไปศึกษาพระธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจนี่เรียกว่ามีความกระหายต่อธรรมปริยัติ

หน้าที่ 3 – ปฏิเวช
ในส่วนการปฏิบัตินั้นจะดูไปในส่วนปฏิบัติศีล ปฏิบัติธุดงค์ก็ปฏิบัติให้เกิดสมาธิและก็ปฏิบัติสมาธิให้เกิดปัญญา ใครกระหายที่จะปฏิบัติแบบนี้บ้าง มันเคยมีแต่ในลักษณะที่ว่า ต้องการจะเป็นคนเก่งเป็นคนมีฤทธิ์ มีเดช มีอะไรพิเศษจึงได้พากันปฏิบัตินั้นปฏิบัตินี่ด้วยความต้องการในผลอย่างโลภๆซึ่งไม่ใช่ธรรมะ

ในที่สุดก็กลายเป็นคนบ้า เสียสติไปเป็นอันมาก นี้คือโทษของการไม่กระหายไม่ปฏิบัติอันแท้จริง คือปฏิบัติเพื่อดับทุกข์แต่ว่าต้องการปฏิบัติเพื่ออวดคน เพื่อให้ผลเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนอื่น ที่มีฤทธิ์มีเดชมีปาฏิหาริย์ คนอย่างนี้น่าจะพยายามปฏิบัติ ก็ไม่เรียกว่าผู้กระหายต่อพระธรรม ในส่วนที่เป็นการปฏิบัติโดยบริสุทธิ์ นี่ก็มาถึงเรื่องปฏิเวช คือผลของการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมรรคผลนิพพาน คนทั่วไปสมัยนี้ไม่เข้าใจว่าคืออะไรก็ไม่ได้กระหายหรือต้องการ ถ้ามีคนกระหายหรือต้องการบ้างก็เป็นเรื่องเห่อๆกันไปตามที่เขาว่าดีว่าสูงว่าประเสริฐนี้ก็มีอยู่มาก คนที่เห่อพระนิพพานนั้นมีอยู่มาก แต่คนที่กระหายต่อพระนิพพานโดยความเข้าใจถูกต้อง เป็นต้องมาทิฐินั้นหายาก เพราะเหตุว่าเพราะมันจมอยู่ในโลกที่สนุกสนานเอร็ดอร่อยเป็นที่พอใจ ยิ่งกว่าพระนิพพาน นั้นอาจจะเป็นไปได้ เพียงแต่ว่า พอพูดว่านิพพานก็หมายถึงความสนุกสนานความเอร็ดอร่อยโดยพอใจเคยหวังอย่างนั้นไปซะอีก มันก็เป็นเรื่องที่น่าเวทนา จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาดูอีกที ว่าความกระหายต่อธรรมะนั้น มันถูกมองข้ามไปมันจึงไม่มี สิ่งใดที่ถูกมองข้ามไปแล้วมันก็ไม่ถูกหยิบขึ้นมาศึกษาและปฏิบัติ มันก็เท่ากับไม่มี ก็ขอกล่าวย้ำอีกทีนึงว่า ในนี้หัวใจของใครบ้างที่กระหายต่อธรรมะ เหมือนคนกระหายน้ำ กระหายอาหาร หิวข้าวหิวน้ำ เขากระหายกันอย่างนั้น ถ้าว่าเรายังไม่มีการกระหายธรรมะ ธรรมะก็จะมีในหมู่พวกเราไม่ได้ ในโลกนี้จะมีธรรมะไม่ได้ถ้ามนุษย์ไม่ต้องการธรรมะ ไม่ปฏิบัติธรรมะเหมือนธรรมะในแง่ปฏิบัติปฏิเวช จึงเป็นหน้าที่ ที่ทุกคนจะต้องกระทำ ทีนี้ก็อยากจะชักชวนซึ่งกันและกัน เข้าใจและต้องการกระหายในสิ่งที่เรียกว่าธรรมะนั้น ความกระหายในธรรมะนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไกลหรือนอกเหนือออกไปจากความรู้สึกของมนุษย์ ถ้ามนุษย์มีความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้องตามลำดับแล้ว ความสูงขึ้นแห่งการเป็นมนุษย์นั้น ล้วนเป็นมาจากการต้องการธรรมะอันนั้น คือพูดง่ายๆว่า คือ ถ้ามนุษย์มันอยากเป็นมนุษย์ให้มากยิ่งขึ้นไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องการธรรมะมากขึ้นเท่านั้น คือต้องการที่จะรู้วิธีที่จะทำให้มีความเป็นมนุษย์มากยิ่งๆขึ้นไปนั้นเอง มนุษย์เหล่านั้นจึงแสวงหาว่าอะไร คือสิ่งที่ทำให้เป็นมนุษย์มากขึ้น ความรู้อะไร การกระทำอย่างไร เป็นอยู่อย่างไรจึงทำให้เป็นมนุษย์มากขึ้น สิ่งที่เขารู้ว่าธรรมะมีอยู่ เขาก็กระหายต่อการมีธรรมะนั้น อาตมาก็อยากจะขอร้องให้ช่วยกันสังเกตดูในเรื่องนี้ให้ดีๆ ว่า ความกระหายต่อธรรมะนี้มันก็มีรากฐานตั้งอยู่บนสัญชาติญาณของสัตว์สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย คือสัญชาติญาณแห่งการอยากดี มันก็เป็นเรื่องชีวิตยามากสักหน่อยก็ต้องศึกษากันในแง่ของชีวิตยามันเป็นวิทยาศาสตร์มากมายเหลือที่จะกล่าวให้หมดจดในที่นี้ได้ แต่ขอสรุปความตามที่วิชานี้ได้มีอยู่ว่า ถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนแต่มีสัญชาตณานหลายรูปแบบ นับตั้งแต่สัญชาติญาณอยากมีชีวิตอยู่ สัญชาติญาณแห่งการหาอาหาร สัญชาติญาณแห่งการต่อสู้ สัญชาติญาณแห่งการสืบพันธุ์ อะไรก็ตามมันเป็นไปได้แห่งความรู้สึกสามัญธรรมดา ไม่ต้องมีใครสอนสัญชาติญาณที่ต้องการในที่นี้ก็คือ สัญชาติญาณแห่งการอยากดี พยายามเชื่อหรือไม่ยอมเชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วโดยธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตมันก็อยากดี ตอนนี้ก็ต้องขอรวบรัดเอาสักหน่อยว่า สิ่งที่เรียกกันว่าวิวัฒนาการของโลกนั้น มันคือกิริยาที่สูงขึ้นดีขึ้นในแง่ของวัตถุ มันมีอะไรก็ไม่รู้ที่ทำให้เกิดความอยากความต้องการ แล้วก็เกิดสิ่งใหม่ๆเกิดออกมาๆ กว่าที่จะละความเป็นสัตว์จากสัตว์ในน้ำมาเป็นสัตว์บนบก

หน้าที่ 4 – วิวัฒนาการ
เนี่ยมันก็นานหรือยาวนาน มันก็ด้วยความต้องการของสัตว์ที่อยู่ในน้ำอยากจะดีกว่าเดิม จึงอยากจะขึ้นบก จนได้มาเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และสัตว์เหล่านี้มันอยากจะดีขึ้นไปอีกจนเป็นสัตว์บกอยู่บกพื้นดิน และสัตว์เหล่านี้มันอยากจะดีขึ้นต่อไปอีก มันจึงมีวิวัฒนาการ เป็นสัตว์ที่บินไปได้ในอากาศ ความรู้สึกส่วนลึกที่อยากจะดีกว่าเก่าไม่ต้องรออยู่ นี่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ

แต่ความสำคัญอยู่ที่อยากดี และในสิ่งที่ต่ำลงไปหรือว่าสิ่งที่เดินไปอีกสายหนึ่งได้แก่พืชศึกษาชาติทั้งหลาย มันก็มีความรู้สึกที่จะอยู่รอด ในทางที่จะหาอาหารในทางที่จะต่อสู้ในทางที่จะสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงไม่พ้นไปจากการที่ต้องการจะดียิ่งๆขึ้นไปกว่าเดิม วิวัฒนาการในส่วนศึกษาชาติก็จะเกิดขึ้น เรียกว่ามันก็อยากดี เราจะมองเห็นสัญชาติญาณข้อนี้กันหรือไม่ ถ้ามองเห็นแล้วอาจจะใช้เป็นเดิมพันสำหรับคุณธรรมอันสูงสุดกล่าวถึงการกระหายต่อธรรม สัญชาติญาณแห่งการอยากดีดูที่สุนัข ที่แมว ที่ไก่ แล้วก็พอเห็นได้ว่ามันไม่ได้ต้องการที่จะเพียงกินอาหารให้อิ่มมันก็ต้องการอยากจะดี มันกระโดดขึ้นไปบนก้อนหินแล้วก็ตีปีกแล้วก็ขันแสดงอาการความเด่นความดีความพอใจในความเด่นความดีของตัว แล้วก็รู้สึกว่าเป็นความสุข แม้แต่ไก่มันก็ยังมีความอยากดีอย่างนี้แล้วทำไมคนมันจะโง่มากไปกว่านั้น ในความอยากดีนี้หาพบได้ง่ายในความรู้สึกของทุกคนเพราะว่ามันมาจากสัญชาติญาณของพื้นฐาน ยิ่งทุกคนอยากดีเว้นซะแต่ว่ามันตีความหมายของคำว่าดีนั้นแตกต่างกัน เช่นคนพาลนั้นเอาเรื่องเลวๆนะเป็นของดีนั้นก็อยากจะทำเลววิจิตดีตามแบบของคนพาล ที่เป็นบัณฑิตก็เป็นตามแบบของคนดี ทำความดีตามแบบของคนดี แต่ความมุ่งหมายมันก็รวมอยู่ที่อยากดีอยากจะดีด้วยการขโมย ปล้น จี้ เอาของบุคคลอื่น เอามาเป็นตัวก็คิดว่าดี ในความอยากดีมันมีอยู่แต่มันไปแตกต่างตรงที่ว่า ความดีนั้นมันมีความหมายกันคนละอย่าง เราจะสังเกตอาการเหล่านี้ได้ว่า สัตว์มีชีวิตมันก็อยากให้คนชอบ คนรัก คนชม อาตมาสังเกตเห็นสุนัขทุกตัวมันเป็นอย่างนั้น มันอยากให้อาตมาชอบ แม้แต่ไก่ก็ยังเป็นอย่างนั้น มันอยากให้อยู่ใกล้ชิด อยากให้ชมหรือชอบมันก็อยู่ในพวกที่อยากดี แม้แต่ไก่เนี่ยถ้ามันมีโอกาสมันจะบินขึ้นบนของสูงกิ่งไม้สูงๆ ก้อนหินสูงๆ แล้วก็ร่าเริงอยู่บนนั้น มันอยากสูงแล้วอยากดี มันอยากจะออกจากที่มืดออกไปสู่ที่โล่งแจ้ง มีลักษณะแห่งอิสรภาพมันไม่ต้องการที่จะกักขังอยู่ที่มืด มันต้องการที่จะออกสู่ที่โล่งแจ้ง แล้วก็ร่าเริงกันเป็นการใหญ่ นี้เรียกว่า เป็นการอยากดี มีรากฐานอยู่บนสัญชาติญาณของความอยากดี มีสัญชาติญาณอันนี้ต้องมีการมาปรับปรุงซะใหม่ให้กลายเป็นพาวิทณานคือความรู้ที่สูงขึ้น มากขึ้น มีประโยชน์มากขึ้นเพราะการกระทำของคนเรา สรุปความว่าการกระหายธรรมนั้นไม่ใช่ของแปลกประหลาดหรือวิสัยอะไรที่ไหน แต่มันก็มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต แต่ว่าอยู่ในลักษณะเริ่มแรกระยะต้นมากเกินไป จนเราไม่เรียกว่าการกระหายต่อธรรม เรียกสั้นๆว่าความอยากดีก็แล้วกัน ให้ถือของความอยากดีของสิ่งมีชีวิตนั้นแหล่ะมาเป็นเมล็ดพืช ของความกระหายต่อธรรมในระยะหลังๆ ทีนี้ก็มามองดูถึงคนสมัยนี้กระหายต่อธรรมกันหรือไม่และมีสัญชาติญาณอยากดี และความอยากดีของเรานั้นได้วิวัฒนาการไปถึงไหน จิตใจคนสมัยนี้ มีจิตใจแอ่นน้อมไปทางเอร็ดอร่อยทางตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ น้อมไปหลงใหล ในเหตุในปัจจัยแห่งความเอร็ดอร่อยทางตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ เพราะเหตุใดเพราะเหตุว่าโลกนี้มันหมุนถึงจักราษี อย่างที่เก่งในทางผลิตวัตถุผลิตวัตถุยั่วใจ ล่อตา ล่อใจ ชนะใจคนได้เป็นอย่างมาก มากขึ้นๆ จนดึงเอาจิตใจของคนให้ลุ่มหลงอยู่ในธรรมเอร็ดอร่อยเหล่านี้ตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าจะเปรียบเทียบกันกับครั้งพุทธกาลโบราณโน้นพอที่จะเชื่อได้ว่า ในสมัยพุทธกาลนั้นไม่มีการผลิตสิ่งที่ยั่วยวนใจคนได้มากขนาดนี้ คือปล่อยไว้ตามธรรมชาติ อาหารการกินก็ไปตามธรรมชาติ นุ่งห่มก็ตามธรรมชาติ ที่อยู่ที่อาศัยเครื่องใช้สอยบำรุงบำเรอก็ตามธรรมชาติมันมาเพิ่มอะไรให้มากมายไม่สิ้นสุด ให้มนุษย์ได้รู้จักพอ รู้จักเบื่อ รู้จักหยุด ในสิ่งยั่วยวนมันจึงมีเวลาเหลือในบั่นปลายของชีวิตมาสนใจในสิ่งที่เรียกว่าธรรม

หน้าที่ 5 – บูชากามารมณ์ฟรี ลัทธิที่ฟรีทางเพศ
อีกประการหนึ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือวัฒนธรรมสมัยนั้น มีการชี้แจงชักจูงซึ่งกันและกัน ให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่าธรรม ไม่ให้มาลุ่มหลงอยู่ในวัตถุ คนสมัยนู้นจึงมีความกระหายต่อธรรมตามลำดับๆ มาได้จนถึงขีดสุด จนคนสมัยนี้มาติชมอยู่ในเรื่องความเอร็ดอร่อยทางวัตถุซึ่งไม่มีวันที่จะหยุด หรือไม่มีวันที่จะทำให้เบื่อ มันก็หลงความเอร็ดอร่อยนี้ทางวัตถุไปจนตาย จนตายเข้าโลงก็ไม่หยุดกับความหลงใหลอันนี้ ระยะเวลาที่จะให้กระหายต่อธรรมะมันยืดไม่มี มันมีน้อยมากจนเรียกได้ว่าไม่มี ไปสังเกตดูคนที่เขาว่ามีบุญวาสนาสนุกสนานเอร็ดอร่อยอยู่บนกองเงิน กองทอง กองวัตถุบำรุงบำเรอ เขาไม่มีความรู้สึกที่จะกระหายต่อธรรมะ เพราะสิ่งเหล่านี้มันมีมาก ยืดยาว ครอบงำจิตใจไม่มีเวลาสร่าง

จนกะทั่งตายเน่าเข้าโลงไปไม่ความกระหายต่อธรรม ที่เรียกว่าคนสมัยนี้กระหายต่อความเอร็ดอร่อยทางอายทนะ กันเสียโดยส่วนเดียว ความกระหายต่อธรรมะมันจึงไม่มี มันเป็นเรื่องที่มองเห็นกันอยู่ได้ง่ายๆ นี่คือตัวปัญหาที่ทำให้ศีลธรรมไม่ก้าวหน้าหรือศีลธรรมไม่กลับมา ศีลธรรมเสื่อมไปแล้วไม่กลับมา เพราะว่าหมุนมาถึงยุคที่โลกมนุษย์ที่มันพ่ายแพ้แก่สิ่งยั่วยวนทางอายทนะ ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร สรุปได้ว่าเพราะเหตุที่ว่าโลกนี้มันกำลังอยู่ในราศีจักราศีแห่งความมึนเมาด้วย แล้วก็มีความก้าวหน้าในการที่จะมีการสร้างสรรค์สิ่งมอมเมานั้น อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งว่าวัฒนธรรมอันประเสริฐของมนุษย์จะสูญหายไป ข้อนี้หมายความว่าแต่โบราณนั้น คนเขามีวัฒนธรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในบ้านเรือน หรือทุกหนทุกแห่งให้นิยมธรรมะ บูชาธรรมะ บูชาพระเจ้า บูชาศาสนา เดี๋ยวนี้วัฒนธรรมนั้นต้องมาพ่ายแพ้แก่วัฒนธรรมทางเนื้อหนัง จนสูญหายไปเด็กๆเกิดขึ้นมาก็ไม่ได้รับการอบรมที่ดี ให้มีความกระหายต่อธรรมะ และก็ไปกระหายต่อวัตถุทางเนื้อทางหนัง อาตมาได้อ่านข่าว หนังสือข่าวเมื่อ 2-3 วันมานี้ ซึ่งสะเทือนความรู้สึกมาก คือหมอคนหนึ่งเขาได้ทำการสำรวจดูในเรื่องทางจิตใจ ในหมู่นักศึกษาหญิงแห่งมหาวิทยาลัยหนึ่ง เพื่อทดสอบจิตใจก็ได้ผลทดสอบออกมาว่า นักศึกษาหญิงในจำนวน 90 เปอร์เซ็นต์ ออกปากว่าลัทธิกามารมณ์เสรี กามารมณ์ฟรีนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และควรยอมรับสำหรับโลกสมัยนี้ เพียงแค่นี้ก็น่าตกใจแล้วว่า ลัทธิที่บังคับความรู้สึกทางกามารมณ์นั้นมันอย่างหนึ่ง ลัทธิที่พลอยฟรีตามกามารมณ์นั้นมันอย่างหนึ่งอย่างไหนควรจะถือเอา พวกที่เห็นว่าลัทธิกามารมณ์ฟรีนั้นแหละเหมาะสมแล้วสำหรับพวกเราที่จะถือเอาอย่างนี้มีตั้ง 90 เปอร์เซนต์ของผู้ที่ถูกทดสอบ และเมื่อทดสอบต่อไป ได้ทำไปถึงขนาดไหนก็มีผู้ที่สารภาพว่า เขาได้ปฏิบัติเสร็จแล้วในเรื่องกามารมณ์ฟรีนี้อย่างไม่มีอย่าง 50 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าใน 90 เปอร์เซนต์นั้นมีอยู่ 50 เปอร์เซนต์ที่ได้สารภาพว่าได้ปฏิบัติเสร็จแล้ว นี่คือความรู้สึกของนักศึกษาหญิง เยาวชนหญิงแห่งยุคปัจจุบัน บูชากามารมณ์ฟรี ลัทธิที่ฟรีทางเพศ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะมีความกระหายต่อธรรมะได้อย่างไร คนที่ปล่อยตัวถึงขนาดนี้ บูชากามารมณ์ถึงขนาดนี้ ก็หมายความว่าเป็นคนมักง่ายสูงสุด เป็นคนมักง่ายเกินร้อยเปอร์เซนต์ เติบโตต่อไปข้างหน้าในอนาคต แต่จะทำอะไรได้ ก็หาว่าเป็นคนมักง่ายเหลือประมาณ กล้าถือลัทธิกามารมณ์ฟรีกันเสียตั้งแต่บัดนี้ แล้วจะไปเป็นพ่อแม่ที่ดี บิดามารดาที่ดีได้อย่างไรก็ลองไปคิดดู ที่เราพูดนี้ก็เพื่อที่จะต้องการชี้ให้เห็นว่า ความก้าวหน้าในการประดิษฐ์วัตถุได้ก้าวหน้าทางกามารมณ์นี้มันมากซะเหลือเกิน มันให้ความสะดวกง่ายดาย สนับสนุน ให้ประพฤติปฏิบัติธรรมให้มันมากซะเหลือเกิน จิตใจของคนในโลกนี้มันบูชาในกามารมณ์ และจะมีความกระหายต่อธรรมะได้อย่างไร ก็ขอให้คิดดู เมื่อข้อเท็จจริงในปัจจุบันมันเป็นอย่างนี้เราก็น่าจะคิดต่อไปว่าเราควรจะทำอย่างไร

หน้าที่ 6 – เรื่องทางวัตถุ เรื่องทางธรรมะ
ทำอย่างไรลูกเด็กๆของเราจึงจะมีนิสัยน้อมมาทางของพระธรรม มีความกระหายต่อธรรมะเหมือนเคยที่เป็นมาแล้วในยุคก่อนๆ ที่ธรรมะหรือศีลธรรมยังรุ่งเรืองอยู่ เราก็มองเห็นได้ง่ายๆว่า มันขึ้นอยู่กับบิดามารดา ว่าบิดามารดาจะรู้ธรรมะหรือไม่ บิดามารดาจะกระหายต่อธรรมะหรือไม่ ถ้าว่าตัวบิดามารดายังกระหายต่อธรรมะอยู่ ก็ไม่ยากที่จะอบรมลูกเด็กๆ ให้มันเกิดนิสัยนิยมธรรมะหรือกระหายต่อธรรมะ พ่อแม่เขาสอนเขาอบรมอยู่โดยไม่เจตนาไม่ตั้งใจ ก็หมายความว่ามันเป็นอยู่ในวัฒนธรรมจากบ้านเรือนให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ อยู่ในวัฒนธรรมบ้านเรือน ก็เกลียดความชั่วแล้วก็ชอบความดี ก็เรียกว่า กลัวบาปกล้าบุญ อยู่เป็นปรกติ

หิริ มันก็สูงขึ้นมา คือ กลัวบาป บาปนี่อันตรายไป แล้วก็กลัว เหมือนที่เด็กๆไม่ไปจับ ไม่ไปขยำ สิ่งที่มีพิษกัดต่อยให้เป็นอันตรายได้ มันก็กลัว พ่อแม่ที่มีหลักปฏิบัติในบ้านเรือนที่ดี จะสามารถทำให้ลูกเด็กๆ มีหิริโอตะปะได้ ขอให้นำไปพิจารณาดู หรือจะต้องพยายามจนทำให้เด็กๆเขารู้ว่า ดีกับชั่วมันคนละเรื่องกัน บุญกับบาปมันคนละเรื่องกัน แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังคนละเรื่องยิ่งขึ้นไปอีก คือเรื่องได้เรื่องเสีย ถ้าปล่อยไปตามธรรมดาแล้วเด็กๆก็จะพูดว่า ถ้าได้ก็จะเป็นดี ถ้าเสียก็จะไม่ดี เรามีหน้าที่ ที่จะสอนให้เขารู้ว่า แม้ได้จะเป็นเรื่องดี แต่มันต้องเป็นการได้มาด้วยการทำดี ไม่ใช่ด้วยการทำบาป อย่าเอาแต่ว่าได้แล้วก็ดี มันต้องเป็นเรื่องทำดี ทำบุญ แล้วก็ได้มามันถึงจะดี เรื่องเสียก้อเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเสียแล้วก็จะเป็นเรื่องเสียไปหมด มันก็มีได้เหมือนกัน ถ้าเราเสียสละไป เพื่อความดี เสียสละเพื่อผู้อื่น เรื่องเสียมันก็เป็นเรื่องดี อย่าให้เด็กๆเขามีความหลงผิดว่า ถ้าได้ก็จะเป็นดี ถ้าเสียก็จะไม่ดี เป็นหลักตายตัวเสียอย่างนี้ ให้รู้จักแยกเรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องบุญ เรื่องบาป นี้ออกมาจากจากเรื่องได้เรื่องเสีย ก็เลยมี 2 อย่าง ได้ที่ดีก็มี ได้ที่ไม่ดีก็มี เสียที่ดีก็มี เสียที่ไม่ดีก็มี แล้วก็รู้จักประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ดีให้ถูกต้องตามรองของพระธรรม เขาก็จะเกิดความกระหายต่อพระธรรม แม้ในแง่ของปริยัติเป็นเพียงความรู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ถ้าทั้งหลายมีความกระหายต่อธรรม มันจะเป้นอย่างไร มันก็มีแต่จะเคลื่อนไปในแนวของธรรมไปสู่ความเต็ม ความสมบูรณ์แก่ธรรม ถ้าจิตใจของเขารักในทางธรรม ทุกๆอย่างมันก็จะไหลไปทางธรรม ไปมีความสมบูรณ์แห่งธรรม อย่างที่เรามีพระพุทธภาษิตเป็นหลักว่า ธรรมะกาโม พวังโหติ ผู้มีความใคร่ในธรรม เป็นผู้เจริญ ความใคร่ ความกระหายในธรรม มันมีแต่จะชักจูงปลักไสไปในทางธรรมของธรรม มันก็มีความเจริญ มันเคลื่อนไปในทางสมบูรณ์แห่งธรรม และมันทำให้คนนั้นอิ่มเป็นสุข อยู่ในทางธรรม มีความสุขพระธรรม มีความในอิ่มธรรม มันก็ไม่ต้องเอร็ดอร่อยในทางอายะทะนะ เพราะว่ามันมีเอร็ดอร่อยในทางธรรม ติดใจในรสชาติของพระธรรม เท่ากันหรือยิ่งกว่าคนอันธพาล ก็ไปติดใจในความเอร็ดอร่อยทางอายะทะนะ คงจะไม่มีใครเชื่อสักกี่คนที่พูดอย่างนี้ คือที่พูดว่าเมื่อเข้าถึงธรรมะแล้วจะมีความเอร็ดอร่อย ไม่แพ้กว่าความเอร็ดอร่อยทางเลือกทางนั้นคือทางอายะทะนะ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องฝากไว้ ให้ไปใคร่ครวญ พิจารณา สังเกต ศึกษา กันต่อไป

หน้าที่ 7 – ธรรมะนั้นมีเสน่ห์ มีรสอร่อย
ส่วนอาตมานั้นยังจะขอยืนยันต่อไปว่า ธรรมะนั้นก็มีเสน่ห์ มีรสอร่อย ถ้าคนเข้าถึงรสอร่อยของธรรมะแล้ว ก็จะเกลียดชังรสในโลกทั้งปวงได้ นี่เรียกว่ามีความกระหายต่อธรรม คนเขาไปหลงเอร็ดอร่อยในทางเลือกนั้น เข้าก็เกลียดธรรม จึงมีคำเกิดขึ้นมาอีกคำนึงว่า ธรรมะเทศศรีปะราทะโว คือคนที่เกลียดธรรมะนั้นจะเป็นคนเสื่อม เพราะว่าพอเกลียดธรรมะแล้ว มันก็มีแต่จะเลื่อนไหลออกไปจากแนวของธรรม อะไรๆก็เกลียดธรรมะในทุกแง่ทุกมุม มันก็เลื่อนไหลออกไปจากแนวของธรรม คือไม่มีธรรมะเลยมันก็ต้องเสื่อม จากธรรมไม่มีธรรมเป็นอย่างนี้ ไม่มีความกระหายแห่งธรรม ไม่มีความกระหายต่อธรรม

มีใครในโลกนี้บ้างที่กระหายต่อธรรม แม้กระทั่งท่านทั้งหลายก็ไปสังเกตเอาเถอะว่า มีความกระหายต่อธรรมหรือไม่ มีสักกี่มากน้อย ตั้งปัญหาขึ้นมาว่า ใครบ้างที่กระหายต่อธรรม เหมือนพระเวชสันดร กระหายต่อทาน เรารู้เรื่องชาดกนี้กันมาเป็นอย่างดีแล้วว่า พระเวชสันดรนั้นเป็นคนอย่างไร พระเวชสันดรนั้นกระหายต่อทาน ต่อการให้ทาน รุ่งขึ้นก็คอยว่าเมื่อไหร่คนจะมาขออะไร จากเรา เพราะว่าพระเวชสันดรกระหายต่อการให้ทาน จนมีเรื่องมีราว อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า มีอะไรเกิดขึ้น มีใครในโลกนี้บ้างที่กระหายต่อธรรมะ เหมือนที่พระเวชสันดรกระหายต่อทาน เราเองอยู่ในพวกไหน ความกระหายต่อธรรมะนั้น มีรากฐานมาจากสัญชาติญาณความอยากดี เราก็ส่งเสริมแห่งสัญชาติญาณอยากดี อบรมมันให้กลายเป็นภาวิสณาน ที่เป็นที่ยิ่งขึ้น คนในครั้งพุทธกาล เป็นอย่างนี้กันแล้ว ก็คือวัฒนธรรมในบ้านเรือนนั้นเอง วัฒนธรรมในหมู่คณะ ในบ้าน ในเรือนมันก็ทำให้คนเขาต้องการธรรมะ สูงยิ่งๆขึ้นไปกระหายต่อธรรม มันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของคนนิยมธรรม บูชาธรรม หลงใหลใฝ่ฝันในธรรม กลายเป็นประเพณีไปซะแล้ว คนจึงมีความพร้อมที่จะบรรลุธรรมง่ายมาก ที่จะพูดเพียงว่า ถ้าคนมันมีความกระหายต่อธรรม ต่อพระธรรมอยู่บนพื้นฐาน คนเหล่านั้นจงมีความเหมาะสม มีความพร้อมมากที่จะบรรลุผล เพราะเหตุนี้แหละเราจึงพบเห็นเรื่องราวในพระคัมภีร์ว่า พระพุทธเจ้าตรัสกับคนบางคนเพียงไม่กี่คำ คนนั้นก็บรรลุธรรมเสียแล้ว ไม่ได้มาทำวิปัสนา ผงกอยู่เป็นเดือนเป็นปีๆ เหมือนคนสมัยนี้ ไปนั่งสนทนากับพระพุทธเจ้าไม่กี่คำก็บรรลุธรรมไปแล้ว เป็นพระอรหันต์ไปแล้วก็มีมาก นี่เป็นเพราะความเหมาะสมหรือความพร้อม หรือความได้ที่ในการที่จะบรรลุธรรม มันมีอยู่มากแล้วในจิตใจ ในนิสัยของคนสมัยนั้น และยุคนั้น ขอให้เราสังเกตดูให้ดี เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกันในข้อนี้ ก็จะตอบปัญหาได้เองว่า ทำไมคนสมัยนี้มันถึงบรรลุธรรมยากเย็นเหลือเกิน ไม่เหมือนคนสมัยโน้น ไปสนทนากับพระพุทธเจ้า2-3 คำ ก็บรรลุธรรมไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะว่าพื้นฐานแห่งคนนั้นแหละมันต่างกัน คนสมัยโน้นมีพื้นบานกระหายต่อธรรม คนสมัยนี้มีความกระหายต่อโลกียะ หรือต่อโลก ต่อกิเลสตัณหา ต่อเนื้อ ต่อหนัง เราจะทำกันอย่างไรดี รู้สึกว่ามันยากลำบากอยู่มากทีเดียว ที่จะทำให้คนในสมัยนี้ในโลกปัจจุบันนี้ นั้นมาหาธรรม เพราะว่าสิ่งดึง สิ่งจูง สิ่งฉุดลากธรรม ไปหาความเอร็ดอร่อยทางวัตถุ ตัณหาอยู่มากเหลือประมาณ ทีนี้ก็อยากจะ ท่านทั้งหลายได้ยิน ได้ฟังอีกคำหนึ่ง คือพบในบาลีเหมือนกันคำว่า ธรรมะตัณหา มีตัณหาในธรรม อาตมาเคยอธิบายให้ฟังอยู่เสมอว่า ถ้าเรียกว่าตัณหาแล้ว มันก็ต้องมาจากอวิชา ต้องเป็นความอยากด้วยอำนาจของอวิชา คือความต้องการอยากด้วยอำนาจของอวิชา จึงจะเรียกว่า ความโลภหรือเรียกว่า ตัณหา ถ้าเขามีความอยากความต้องการด้วยปัญญา ด้วยสมาฐิติแล้ว ในความอยากอันนั้นไม่ควรจะเรียกว่าตัณหา ทีนี้ทำไมมันถึงเกิดมีคำว่า ธรรมะตัณหา มีตัณหาในธรรมซึ่งมากับภาษาพูด

หน้าที่ 8 – ความอิ่มใจในธรรม
นี่ก็พอที่จะถือเป็นหลักได้ว่า แม้ความต้องการด้วย อวิชชาอย่างงมงายเนี่ยก็อาจจะมีได้ในธรรมะด้วยเหมือนกัน คนอาจจะต้องการธรรมะด้วยอำนาจของความเห่อ ความทะเยอทะยาน ความที่ยังไม่รู้จักธรรมะ รู้แต่เพียงว่า เขาว่ากันว่าดี เขาเล่าลือกันว่าดี เขานิยมนับถือกันโดยทั่วไป คนนี้ก็มีตัณหาในธรรมะได้ อาตมาเห็นว่าแบบนี้ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่สนใจธรรมะ ไม่รักธรรมะ แม้จะรักธรรมะด้วยอำนาจ อวิชชา ก็ยังดีกว่าไม่รักธรรมะซะเลย ขอให้มีความต้องการ ความรัก ความกระหายในธรรมะเถิด ถ้ามันทำไปด้วยอำนาจ อวิชชา มันก็เรียกว่าเป็นเรื่องตั้งต้น เป็นจุดตั้งต้น เผื่อทุกคนจะตั้งด้วย อวิชชาด้วยกันทั้งนั้น แล้วมันก็ค่อยๆเปลี่ยน อวิชชานั้น ให้เป็นวิชา ที่เป็นความรู้ค่อยๆรู้ได้ในภายหลัง เหมือนกับที่เราจะต้องการหาเงินหาลาภ หายศ หาชื่อเสียง หาด้วยกิเลสตัณหากันทั้งนั้น ได้มาแล้วก็เปลี่ยนเป็นวิชา เป็นปัญญา อย่าไปโง่ อย่าไปหลง อย่าไปเป็นทาสของเงินทอง กิเลส ลาภ ยศ ชื่อเสียงเหล่านั้นมันก็ยังได้ หนี้ครั้งหนึ่งมันก็แสดงได้เหมือนกันว่า ธรรมะตัณหานี้เป็นคำพูดแบบภาษาคนธรรมดาพูด คือแสดงถึงความรุนแรง ของความอยากของคนบางคน ที่มีต่อธรรมะ เรียกว่าธรรมะตัณหา มีความอยากรุนแรงถึงขนาดเป็นกิเลสตัณหา หากแต่ว่ามันมีอยู่ในธรรมะ

นี่ก็ลองคิดดูว่าเราเนี่ยกำลังมีธรรมะตัณหากันบ้างหรือไม่ มีธรรมะ อยากจะรู้ธรรมะ สำหรับจะไปอวดคน ไปสอนคน เป็นครูบาอาจารย์ หาเงินเดือน หาลาภ ยศ ชื่อเสียง ก็ยังได้ มันยังดีกว่ามีความสนใจซะเลย จะอย่างไรในคำว่าธรรมะตัณหาเนี่ย มันก็ยังมีประโยชน์อยู่ขอให้สังเกตดูให้ดี ปรับปรุงตัวเองให้มันดีๆ ให้มีธรรมะตัณหาไปก่อน ก็ยังนับว่าดีกว่าที่ไม่มีซะเลย เมื่อได้ฟังคำชี้แจงชัด ดู หรือโฆษณาชวนเชื่อที่แฝงพระธรรม คนก็จะหลงรักพระธรรม ในแบบธรรมะตัณหาได้เหมือนกัน ก็จะเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุขแค่คนชนิดนั้นได้ เพราะว่าเมื่อไปเกี่ยวข้องกับพระธรรมเข้าแล้ว มันไม่มีทางที่จะปิดได้ เพราะพระธรรมมันมีหลักตายตัวอยู่ว่าต้องอย่างนี้ๆ ถ้ามันเกี่ยวข้องเข้า มันก็จะอย่างนั้นๆ ในที่สุดก็ไปหาความถูกต้อง ได้โดยสมบูรณ์ในภายหลัง ทีนี้อาตมาจะพูดถึงคำ ในภาษาคำอีกสักคำนึง เรียกว่าธรรมะปิติ ธรรมะปิติแปลว่า ความพอใจ อิ่มเอิบในธรรม ผู้ที่ไม่มีธรรมแท้จริงไม่มีทางที่จะประสบกับ ธรรมะปิติได้ ต่อเมื่อเป็นผู้ประสบผลของธรรมะ เป็นความสุข เป็นความสงบเย็น อยู่ในจิตใจ เขาจึงจะมีธรรมะปิติ มีปิติในธรรม ถึงขนาดที่เรียกว่า ไม่มีความทุกข์เลย แต่ความอิ่มใจในธรรมมีอยู่ตลอดเวลาเท่าใด ตลอดเวลาเท่านั้น บุคคลนั้นจะมีความทุกข์ไม่ได้ แม้ว่าความตายจะมายีนอยู่ต่อหน้า จะมาขู่อยู่ตรงหน้า ถ้าเขามีปิติในธรรมแล้ว เขาจะไม่มีความทุกข์ได้ มีสิ่งที่เราจะต่อรองให้คนนั้นมาสนใจในทางธรรม หรือสิ่งที่เรียกว่าธรรมะปิติ สนุกสนานหรือจะใช้คำว่าเอร็ดอร่อยด้วยก็ได้ จะต้องเป็นภาษาทางธรรม เอร็ดอร่อยทาง ทางธรรม ในการบิโภครสของพระธรรม ที่เรียกว่าธรรมะปิติ ที่เรียกว่าเป็นผู้ที่ได้เข้าถึงธรรม เป็นผลของการเข้าถึงธรรม เหมืนกับคนอยากน้ำ เมื่อเขาได้กินน้ำดับความกระหายนั้น มันมีรสเป็นความสุขเหลือประมาณ แต่แม้ว่ามันเป็นเพียงแค่น้ำธรรมดาชืดๆสักขันหนึ่ง ไม่ต้องเป็นน้ำหวาน น้ำอัดลมแช่น้ำแข็ง ไม่ต้องอย่างนั้น มันเป็นเพียงน้ำธรรมดาสักขันหนึ่ง มันก็มีรสมีเลิศอันประเสริฐ สำหรับบุคคลผู้กระหายน้ำ ในธรรมต้องมีรสอันบริสุทธิ์ อันสะอาดอย่างนี้ ไม่หลอกโดยการใส่น้ำตาล หรือว่าแช่แข็งไปตามเรื่องของความหลอก เมื่อเข้าถึงธรรมะจริงก็จะมีธรรมะปิติ ใจก็เป็นสุข มีสุข ในการมีธรรมะนั้น ในเมื่อคนพอใจถึงขนาดหนัก อาตมาจะเรียกว่า ธรรมะสมรส พูดแบบนี้เคยถูกด่าบ่อยๆ เคยถูกด่ามาแล้ว คือพูดอะไร คำมันแปลกออกไป สิ่งที่เขาไม่เคยได้ยิน ได้ฟัง ธรรมะสมรส คือแต่งงานกับพระธรรม สมรสกับพระธรรม ก็มีธรรมะปิติ รักษาธรรมะปิติดีไว้ตลอดเวลา เป็นผู้ประสบความสำเร็จในทางธรรมะ ถึงระดับที่เรียกว่า โลกอุตระ หรือ นิพพาน

หน้าที่ 9 – กายวรรณ
แต่ก็พอใจในธรรมะได้ดี ไม่อาจเปลี่ยนแปลงกลับกลายเป็นอย่างอื่นได้ จึงเรียกว่าสมรสกับพระธรรม คือเหนือโลก เป็นเรื่องของโลกอุตระไป ถึงจิตใจที่สละโลกได้ อยู่เหนือโลก เป็นการบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว จิตใจนั้นก็เป็นจิตใจที่มีรูปแบบราวกับว่า สมรสด้วยพระธรรม ที่เคยพูดอีกคำนึง สมรสด้วยบุญยะตา เป็นบุญยะตาที่สมรสที่แต่งงานกับบุญยะตา บุญยะตาคือความว่าง ว่างจากความหมายการแต่งตัวกูของกู ว่างจากความหมายจากตนของตน ก็เป็นบุญยะตาสมรส ปุถุชนคนกิเลสหนา มันก็มีตัวกูของกู ตัวตนของตน ฝ่ายชายก็มี กูของกู ฝ่ายหญิงก็มีกูของกู มันจึงต้องสมรสกันด้วยกิเลสตัณหา แห่งตัวกูของกู เมื่อกิเลสตัณหามันทำเรื่องมาก คือมันไม่จริงไม่แท้มันเปลี่ยนแปลงได้

คนที่สมรสกันด้วยกิเลสตัณหา มีโอกาสที่จะทะเลาะวิวาทกัน กัดกัน ฆ่าฟันกัน ในคู่สมรสนั้นเอง แต่ถ้าเป็นธรรมะสมรส หรอเป็นสุณยะตาสมร มันเป็นเรื่องของคนที่หมดตัวกูของกูแล้ว หมดกิเลสตัณหาว่าของตนแล้ว ในเปลือกที่หยาบคาย ขรุขระ สรกปรก กระด้าง มันออกไปหมดแล้ว มันเหลืออยู่แต่ความว่าง จากตัวตนความว่างจากทั้ง 2 ฝ่ายมันปะปนกันได้โดยสนิท ไม่มีโอกาสที่จะทะเลาะกัน กัดกัน วิวาทกันหรือหย่ากันต่อไป นี่คือผลของสุณยะตาสมรส ได้แก่การเข้าเป็นอันเดียวกับพระนิพพาน หรือเข้าเป็นอันเดียวกับพระเจ้า หรือที่พวกฮินดูเขาว่าเข้าเป็นอันเดียวกับปรมาตรมัน หรือที่พวกไชนะเขาว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายวรรณคือสิ่งสูงสุด เพียงแห่งเดียวในสากลจักรวาล สิ่งนี้จะเข้าพึงได้ ก็ต่อเมื่อเอาตัวกูของกูออกซะแล้วเท่านั้น มันจะเกิดความว่างจากตัวกูของกู มันจะเกิดเข้าสิ่งนั้น มันจะเกิดความว่างที่สุดเป็นความว่างอย่างยิ่ง ตลอดอนันตการ ชาวพุทธเราเรียกว่า พระนิพพาน ในเมื่อพวกอื่นเขาจะเรียกอย่างไรก็ตามใจเขา จะเรียกว่าพระเจ้าก็ตามใจเขา แต่เขาก็มุ่งหมายความสุข สูงสุด ที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไปเช่นเดียวกัน เขาเรียกว่าปรมาตรนัน คืออัตราใหญ่ อัตราสูงสุด หมายความว่าความสุขที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือจะเรียกว่า กายวรรณ คือความเป็นอันเดียวกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีแบ่งแยก เป็นสิ่งที่ไม่ใช่โลกนี้ ซึ่งเป็นของแบ่งแยกด้วยกิเลสตัณหาของมนุษย์ กายวรรณ ก็เป็นความสุข ความสูงสุด ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างเดียวกัน นั่นคือจุดยอดสุดของบรมธรรม ธรรมะสูงสุดมันอยู่ที่นั่น ความกระหายต่อธรรมของคนเรา มันคือการกระหายต่อการที่จะไป บรรลุถึงจุดนั้น ไม่ได้กระหายเพื่อความอย่างอื่น แต่ว่ากระหายเพื่อจุดสูงสุดของจุดสุดยอดสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่เรียกว่าธรรม ที่อาตมาได้พูดมามันยืดยาวมากก็ได้ เพราะต้องการให้คน เพื่อนมนุษย์ของเรานี้ มีความกระหายต่อธรรม ต่อพระธรรม หรือมากไปอีก ต้องการให้ลูกเด็กๆของเรา สร้างนิสัยสันดานขึ้นมาโดยลำดับ ในการเป็นผู้กระหายต่อธรรม จะถูกหลอก ถูกลวงอะไรก็ได้ แต่ให้เขามีความกระหายต่อธรรมขึ้นมา เป็นจุดตั้งต้น เป็นเมล็ดพืชตั้งต้น และกำลังงอกงามกันใหม่ จนถึงบรรลุธรรมอันสมบูรณ์ อย่ามองข้ามสิ่งเหล่านี้เสีย นี่คือสิ่งสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์แห่งยุคปัจจุบัน ไม่มีธรรมะ ไม่เข้าถึงธรรมะ ไม่ทำโลกนี้ให้มีสันติ ถ้าเขาไม่ต้องการธรรมะ เขาไม่กระหายต่อธรรมะนั้นเอง มันเป็นเรื่องใกล้ๆอยู่ที่ตรงนี้ ว่าถ้ากระหายต่อธรรมะแล้ว มันก็หมายถึงธรรมะ มิฉะนั้นแล้วมันจะออกไปนอกทางของธรรมะ เราอย่ามองข้ามสิ่งๆนี้ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ความกระหายต่อธรรม ขอให้ช่วยกันไป ช่วยกันปลุกปล้ำ ทุกอย่าง ทุกวิถีทาง ให้เกิดความกระหายต่อธรรมะขึ้นมาให้ได้ แล้วเราก็ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และพบกับพระพุทธศาสนา ซึ่งมุ่งหมายประศิษย์ประศาสตร์ให้ซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ประเสริฐ เรื่องมันก็จะจบเมื่อมีการบรรลุธรรม อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ การบรรยายในวันนี้ จุดมุ่งหมายคือการชี้ให้เห็นสิ่งที่พากันมองข้าม อีกสิ่งหนึ่งคือสิ่งที่เรียกว่า ธัมมกามยตา แปลว่า ความกระหายต่อธรรม ขอให้ท่านทั้งหลายไปตรวจสอบดูตัวเองทุกวัน ทุกคืน ทุกชั่วโมง ทุกนาทีก็ได้ ว่ามันมีความกระหายต่อธรรมบ้างหรือไม่ หรือมันกระหายต่ออะไรอยู่อย่างโง่เขลา อย่างลุ่มหลง อย่างน่ารังเกลียดเบียดชัง ก็จะได้ไปสละ ละ วาง หรือทำลายเสียนั้นความต้องการมาสู่ธรรมะ เรียกว่า มีความกระหายต่อธรรมะอยู่ด้วยกันทุกๆคนเถิด การบรรยายในวันนี้ก็สมควรแก่เวลาแล้ว อาตมาขอยุตติการบรรยาย เป็นโอกาสให้พระคุณเจ้าทั้งหลายได้สวดบทสาธยาย พร้อมจะเกิดกำลังใจในการประพฤติปฎิบัติธรรมสืบต่อไป ณ กาลบัดนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/32390

. . . . . . .