พิพิธภัณฑ์อัศจรรย์สมเด็จโต

พิพิธภัณฑ์อัศจรรย์สมเด็จโต

ประวัติการสร้างพระเครื่องเบญจสิริ

สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี(ท้วมบุญนาค)
เสนาบดี กรมพระยาสมัยราชการที่ 5 เป็นประธานฝ่ายฆราวาสเมื่อปี พ.ศ. 2412 ท่านเจ้ากรมท่าเป็นผู้สนิทชิเชื้อใกล้ชิดใน เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจานย์ (โต)ฯ ท่านเริ่มชีวิตปฐมวัยด้วยการเป็นเด็กที่มีถิ่นฐานอยู่ใกล้วัดระฆังและสันนิษฐานว่าท่าน
ศึกษาธรรมตั้งแต่ยังเป็นปฐมวัย ที่วัดระฆังเรื่อยมา จึงแตกฉานในอักขระวิธี ทั้งในไทยและเทศ (ไทย,อังกฤษ,จีน) เข้ารับราชการ
ในการคลังหลังจากสำเร็จเปรียญธรรม โดยการสนับสนุนจากท่านพระคุณสมเด็จ (โต) ซึ่งสนิทชิดเชื้อและเป็นที่เกรงใจของรัชกาลที่ 4 และท่านได้ทำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากเจ้าท่าน ประคุณสมเด็จ (โต)สิ้นชีพตักษัย

เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) นั้นเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ยิ่งและเยี่ยมยอดแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ( ดูประวัติด้านอภินิ หารและอัจฉริยภาพของท่าน) ซึ่งผิดแผกแตกต่างจากคนทั่วไปทั้งปวง อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์ของท่าน ซึ่งความเป็นผู้ที่มี-
อัจฉริยภาพนี้ประกอบด้วยอุดมคติอันสูงส่งเจิดจำรัส มีจุดหมายปลายทาง หรืออีกนัยหนึ่งคือมี มโนภาพมหาศาล มีสมาธิและ
มโนอิทธิ (ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Willed Power) หรืออำนาจที่เป็นจากใจนั้นเองแต่ต้องเป็นใจที่แรงกล้าด้วย หากบุคคลมีมีบุคลิกทั้ง 3 ประการนี้ จะเรียกบุคคลนั้นว่าอัจฉริยะไม่ได้ ท่านจึงสมควรแก่สมัญญานามว่า “พระรัตนภิกษุแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ผู้เป็นเจ้าของสมเด็จอันเรื่อง ลือไปถึงต่างประเทศและพระคาถาชินบัญชรอันวิเศษศักดิ์สิทธิ์ ท่านสร้างพระเครื่องไว้มากมาย
หลายแบบ หลายเนื้อ หลายพิมพ์หลายขนาด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่สนใจและนิยมในวงการพระเครื่องเป้นอย่ายิ่ง ราคาเช่าบูชาใน
ตลาดพระนั้นสูงมากองค์ละนับแสนนับล้าน

ท่านเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (หรือเจ้าคุณกรมท่า) นั้นยกย่องนับถือในเกียรติคุณของสมเด็จโตฯอย่างยิ่ง จึงได้เป็น
ประธานฝ่ายฆราวาส สร้างพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นชุดหนึ่ง แปลกทั้งสีสันวรรณะและทรงพิมพ์ เนื่องจากได้ผงดินและตัวยาต่างๆ
จากเมืองจีนหลายอย่างหลายชนิด อาทิเช่น ดินสีขาวจากมณฑลกังไส , น้ำยาเคลือบเขียวชาดวุซา ชาควอแส ,และชาดทรดาล
พระพิมพ์ส่วนใหญ่จะโรยทองคำแท้หรืออัญมณีเป็นเอกลักษณ์แห่งโภคทรัพย์ ชาวบ้านเรียกพระสมเด็จนี้ว่า สมเด็จพระแก้วบ้าง
สมเด็จเบญจรงค์บ้างตามถนัด ส่วนที่บรรจุกรุวัดระฆังและในวัดพระแก้วมีการโรยทองคำแท้โดยมีพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สร้างและปลุกเสกจัดขึ้นเป็นพระราชพิธีหลวง ณ วัดบวรสถาน เมื่อ พ.ศ. 2412 เพื่อทูลถวายรัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ สถานมงคล ( อุปราช วังหน้าองค์สุดท้ายในราชการที่ 5) และได้แจกจ่ายจากเชื้อพระวงค์ชั้นผู้ใหญ่ เจ้านายชั้นสูง และพ่อค้าวานิช ระดับเจ้าสัว อายุของพระเครื่องถึงปัจจุบันประมาณ 144 ปี ได้ทำพิธีพุทธาภิเศก ซึ่งเป็นราชพิธีหลวง มีสมเด็จพระ-พุฒาจารย์ (โต) และ บรรดาอาจารย์อาคมขลังต่างๆทั่วกรุงเทพและปริมญฑล เข้าร่วมพิธี 108 รูป

สมเด็จพระแก้วหรือสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าเบญจรงค์นี้ มีมากมายหลายสิบพิมพ์ เช่นพิมพ์ใหญ่ 3 ชั้น แบบสมเด็จฯพิมพ์ทรง-
เจดีย์, พิมพ์เกตุไชโย , พิมพ์พรหมรังสี( ชินะปัญจะระ) ,พิมพ์นางพญา , พิมพ์พระแก้วมรกต ,พิมพ์บิดตา , พิมพ์สังกัจจาย,
พิมพ์ลีลา , พิมพ์นาคปรก , พิมพ์สมาธิเรือนแก้วซุ้มรัศมี , พิมพ์พระรอด , พิมพ์กระซุ้มกอ และพิมพ์เศษอื่นๆอีกมากมายฯลฯ
มีทั้งเนื้อกังไสสีขาวจากมณฑลกังไส แตกลายงา และไม่แตกลายงา โรยทองและไม่โรยทอง ที่ลงรักโรยทองและลงชาดก็มี สีเบญจรงค์(5 สี) เช่น สีเขียวไข่กา , สีก้านมะลิสด , สีแดง(ชาดวุจา) , สีดินสอ , เหลืองผสมชาดหรดาล , สีดำ(ผงใบลานคลุกรัก) , สีน้ำทะเลแลไกล(ฟ้าอ่อน)เป็นต้น ฯลฯ (อื่นๆอีกมากมายบรรยายไม่หมด)

สมเด็จพระแก้วหรือสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าเบญจรงค์ชุดนี้ เป็นพระเครื่องที่สวยสดงดงามมากจะหาพระเครื่องสมัยไหนมาเปรียบ
เทียบไม่ได้อีกแล้ว และถ้าผู้ใดได้พระนี้ไปแล้วผู้นั้นจะมีแต่ผู้เมตตารักใคร่ มีโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น และแคล้วคลาดภยันอันตรายต่างๆ
ทั้งปวงอย่างไม่มีเทียบ

สมเด็จพระแก้ว หรือเบญจรงค์ชุดนี้ แตกกรุงเมื่อ พ.ศ. 2514 ครั้งบูรณะซ่อมแซม วัดพระแก้วมรกตฉลองกรุงเทพมหานคร
200 ปี พระชุดนี้ได้หลุดลอดออกมาจำนวนหนึ่งและมีบรรจุที่วัดระฆังฯ กับวัดพระแก้ว (วังหน้าบริเวณโรงฝั่งละครแห่งชาติ)
อีกจำนวนหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีวงการพระเครื่องเริ่มรู้จัก และยอมรับกันบ้างแล้วและมีบางกลุ่มระดับศาสตราจารย์ นาย ทหาร นายตำรวจ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สะสมกันไว้เงียบๆ ซึ่งเราท่านทั้งหลายสามารถทราบข้อมูลจากประวัติซึ่งมีอยู่ห้องสมุดแห่งชาติ และข้อเขียนใน
นิตยสารพระเครื่อง ซึ่งเขียนโดย ปรัศนีย์ ประชากร จนจบประวัติ

สมเด็จพระแก้วหรือสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าเบญจรงค์นี้ จากกการตรวจสอบทางอิทธิคุณปรากฏว่าแน่นหนักในทางปูนเมตตามหา-
นิยม ทางโชคลาภ พระชุดนี้หาได้อยาก อาจมีที่คล้ายคลึง ซึ่งได้ทำออกมาวาระต่างๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากสมเด็จโตฯ ท่านสิ้นชีพ
ตักษัยแล้ว ซึ่งเอกลักษณ์และความเก่าของอายุพระจะต้องใช้อาศัยสายตาและประสบการณ์แยกแยะเอาเอง

นิยามคำว่า ”กรมท่า” กรมท่าคือ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเดิมอยู่ร่วมกับกรมพระคลัง ต่อมาได้แยกตัวออกมาในปี พ.ศ. 2418 กรมในสมัยก่อนไม่ได้แบ่งส่วนบริหารราชการ เช่นในสมัยปัจจุบัน ต่างกรมต่างก็มีอำนาจปกครองเป็นเขตเป็นแขวง กรมท่า
ที่ตั้งสมัยก่อนมีหัวเมืองชายทะเลอยู่ด้วย มีพ่อค้าวานิชติดต่อค้าขายเป็นประจำ พ่อค้าส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและชาวอินเดีย และเมื่อ
พ่อค้าเหล่านี้เกิดกรณีพิพาทกันขึ้น ย่อมมีคดีความอยู่ในอำนาจของกรมท่าที่ตัดสินชำระความกับพ่อค้าวานิจเหล่านี้

เหตุที่เรียกว่าพระสมเด็จเจ้าคุณ “กรมท่า” พระเจ้าคุณกรมท่านับเป็นพระพิมพ์สมเด็จที่เลื่องชื่อลือนามในสมัยรัชกาลที่ 5 ใครๆก็พากันกล่าวขวัญถึงพระเจ้าคุณกรมท่า และในตอนกลางรัชสมัย พระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้ ทำท่าจะสาบสูญเอาทีเดียว โดยแปร
เปลี่ยนนิวาสสถาน แปลว่าไปซุกซ่อนองค์อยู่ตามกรุพระบ้าง ตามเจ้านายบ้าง คฤหาสน์ของผู้สูงส่งในอิสริยยศ กาลเวลาผ่านไป
นับร้อยปีจึงได้โผล่โฉมหน้ามาเยือนชาวพระเครื่องเป็นกฎของวัฏจักร คือ ความหมุนเวียนจากสิ่งที่หาง่ายเป็นสิ่งหายาก จากสิ่งยาก
เป็นสิ่งที่ง่าย พระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้ จัดสร้างขึ้นโดยมีแผนการอันลึกซึ้ง แต่ไม่ลึกลับ ในชั้นแรกเมื่อสร้างพระพิมพ์เสร็จเรียบร้อย
ผ่านการปลุกเสกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตฯ ได้น้อมเกล้าถวายแด่องค์พระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. 5 เริ่มแจกในปี พ.ศ. 2416 หลังจากท่านเจ้าประครูสมเด็จ(โตฯ) ได้สิ้นชีพตักษัยไปแล้วประมาณไม่ถึงปี เพราะเจ้าประคุณสมเด็จสิ้นชีพตักษัยกลางปี พ.ศ. 2415 จึงเริ่มเรียกกันในครั้งแรกว่า สมเด็จปีระกาบ้าง , สมเด็จเขียวบ้าง ใช้น้ำมนต์แก้โรคอหิวาต์ “โรคห่าลงกินคน”ก็เลยเกิดมี-
ชื่อเสียงขึ้น ต่อมาในหลวง ร.5 ได้พระราชทานแก่ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริวารตลอดจนเจ้าจอม พระสนมกรมวังทั้งฝ่าย
ในและฝ่ายนอก ในขณะนั้นพระพิมพ์สมเด็จวัดใหม่อมตรส ของเสมือนตราด้วงได้นำเข้าบรรจุในองค์พระเจดีย์จนหมดสิ้นแล้ว
พระสมเด็จวัดระฆัง หมดจากวัดแล้ว พระเจ้าคุณกรมท่าจึงแต่งตั้งเป็น เอกะ จนถึงปี พ.ศ. 2425 พระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้ได้ถูกบรรจุที่
วัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และวังหน้าบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติและโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน

การสร้างพระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำไปเก็บไว้บนเพดานพระที่นั่งต่างๆของพระราชวังหน้า (พิพิธภัณฑ์-
สถานแห่งชาติปัจจุบัน) และก่อนที่จะไปบรรจุเก็บไว้นั้น ท่านเจ้าคุณกรมท่าได้นำส่วนหนึ่งมาแจกให้กับข้าราชการในสำนักและ
ในสมัยนั้นผู้ได้รับแจกจึงพากับเรียกพระชุดนี้ว่า “สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า” การที่กล่าวมาเช่นนี้เพราะปรากฏว่าพิมพ์บางส่วนยังคง
เหลืออยู่ ซึ่งในคราวบูรณะหน้าบันพระที่นั่งเดิมซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำการของพิพิธภัณฑ์ มีการค้นพระพิมพ์สมเด็จวรรณะเบญจรงค์
(เบญจสิริ) จำนวนหนึ่งกองอยู่บนเพดาน คนงานลื้อลงมาครั้งแรกพนักงานและเจ้าหน้าที่เกิดการฮือฮากันอยู่พักหนึ่ง ต่อมาก็
เรื่องเงียบไปมาสนใจกันเพราะสีสันและเนื้อพระ แตกต่างกับที่เขาเล่นกันตามสากลนิยม ถ้าเราจะดูให้ซึ้งๆสีเบญจรงค์นั้นก็คือ
สีในลักษณะแอบสแตรกอาร์ทนี่เอง งดงามซาบซึ้งแลดูซับซ้อนทำให้อยากหยิบมาดูอยู่เรื่อยๆ

ปฐมกำเนิดพระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า ครั้นผลัดเปลี่ยนแผ่นดินในปี พ.ศ. 2411 เป็นปีแรกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “เจ้าพระยาภานุวงศ์
มหาโกษาธิบดี” เสนาบดีกรมท่า ได้รับสมญานามว่า “ท่านเจ้าคุณกรมท่า” ถือศักดินาหมื่นไร่ และในโอกาสเดียวกันนั้นได้
สถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ ขึ้นดำรงค์ตำแหน่งมหาอุปราชราชวังหน้า ทรงพระนามว่า “กรมพระราชวังบวรวิสัยชาญสถานมงคล”

กรมพระราชวังบวรวิสัยชาญสถานมงคล เป็นพระราชโอรสองค์ต้นในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาอุปราช
ในรัชกาลที่ 5 มีพรสวรรค์ในด้านศิลปะศาสตร์วิทยาการแทบทุกแขนงสาขาคือ วิชารัฐศาสตร์ วิชาทางการทหารแบบยุโรป การช่างและการฝีมือ หลักการบริหารราชการแผ่นดินวิชาพุทธศาสตร์ ทรงเชี่ยวชาญทางด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
มาแต่ครั้งเยาว์วัย ทั้งเจนจบในพิชัยสงครามประกอบด้วย ไสยเวทมนตรา ได้เริ่มสร้างพระพิมพ์โลกอุดร บรรจุในพระเจดีย์วังหน้า
รุ่นแรกประมาณปี พ.ศ 2400 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ครั้งยังดำรงราชอิสริยยศเป็นองค์พระเจ้ายอด ยิ่งยศ อาราธนาองค์ปรมาจารย์
อรหันต์อธิษฐานให้เสร็จสรรพ เรียกกันว่า “พระสมเด็จโลกอุดร” หรือพระพิมพ์วังหน้า ทรงแกะแม่แบบโดยฝีพระหัตถ์ 2 พิมพ์และ
รุ่นต่อมาเป็นฝีพระหัตถ์ล้วนๆ สร้างแจกในงานพระบรมศพสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกนั้นสร้างเมื่อสมัยเมื่อดำรงตำแหน่ง
มหาอุปราชวังหน้าอีกหลายรุ่น ล่วงมาในปี พ.ศ. 2411 นั้น ท่านเจ้าคุณกรมท่าได้สั่งช่างต่อสำเภาหลวงขึ้นหลายลำเพื่อทำการ
ค้าขายระหว่างประเทศ เช่นศรีลังกา หมู่เกาะสุมาตรา ตลอดจนแหลมมลายูและประเทศจีน เพื่อเป็นการรักษาดุลการค้าส่วนกรม
พระราชวังบวรฯได้ดำริสร้างเตาเผาอบเครื่องเบญจรงค์ขึ้นเป็นเตาแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ภายในบริเวณพระราชวังหน้าเป็นเตาเผา
ส่วนพระองค์สาเหตุสำคัญก็คือ ได้มีการงดสั่งเครื่องเบญจรงค์เมื่อต้นสมัยราชกาลที่ 4 และขาดตอนไปในปลายสมัยรัชกาลเริ่มนิยม
เป็นเครื่องกังไส และลายครามเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศทางยุโรปมีความนิยมเช่นนั้นและสั่งซื้อเครื่องกังไสลายครามจาก
ประเทศจีนเป็นสาเหตุในกรมพระยาราชวังบวรฯ จำต้องสร้างเตาเผาอบเครื่องเบญจรงค์ขึ้นซึ่งในการนี้ได้มีการร่วมมือประสาน
งานกับท่านเจ้าคุณกรมท่าในการสั่งซื้อหุ่น (แบบ) ถ้วยชามจากเมืองจีนและการทำเครื่องเบญจรงค์นี้เองมีบทบาทก่อให้เกิด
พระสมเด็จเบญจรงค์ (เบญจสิริ) ขึ้นนั่นเอง

การเดินเรือสำเภาสมัยนั้นอาศัยการแล่นใบแต่เพียงอย่างเดียวหากจะเดินทางไปยังประเทศจีนคิดเวลาเดินทางไปทั้งเที่ยวไป
และเที่ยวกลับก็นานโขอยู่เพราะต้องอาศัยการแล่นใบให้สอดคล้องกับฤดูมรสุม เรือสำเภาจะเริ่มเดินทางจากลำน้ำเจ้าพระยาออกสู่
ปากอ่าวไทยมุ่งสู่ทะเลจีนในราวเดือนกรกฎาคม ถึงประเทศจีนในเดือนสิงหาคมใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 1 เดือน และ
ต้องพักอยู่นานถึง 5 เดือน จวบจนถึงเดือนมกราคม รอจนลมตะเภาพัดจัดจึงกางใบแล่นเรือสำเภากลับสู่ประเทศไทยด้วยเหตุนี้ผู้
เดินทางไปทำการค้าขายยังประเทศจีนจึงมีเวลาอยู่ได้นาน การสั่งทำของที่ประเทศจีนนั้นถ้าเป็นของหลวงก็จะส่งช่างพร้อมด้วย
ตัวอย่างของที่สั่งทำไปด้วย คอยกำกับดูแลให้ทำเหมือนตัวอย่างที่สั่งถ้าเป็นของที่สั่งทำโดยพ่อค้า ไม่มีการส่งช่างไปกำกับควบคุม สุดแต่จะจัดทำให้โดยไม่มีข้อแม้ทั้งท้วงติง คุณภาพของสินค้าที่สั่งทำยอมแตกต่างกันเป็นธรรมดา กรมพระราชวังบวรฯ สั่งหุ่น (แบบ) ถ้วยชามซึ่งปันเสร็จแล้วพร้อมด้วยแม่สีต่างๆมาจัดการเขียนลายเองโดยฝีมือช่างสิบหมู่ การพอกน้ำยาและการเคลือบล้วนเป็น
ฝีมือของช่างไทยทั้งสิ้น สำหรับเนื้อดิน (หิน) ที่ใช้ปั้นถ้วยชามเบญจรงค์ไม่จำเป็นต้องใช้เกรด A เพราะจะต้องลงสีอยู่แล้วราคา
ย่อมเยากว่า หินกรด A ซึ่งมีลักษณะสีขาวล้วนสำหรับเป็นเครื่องกังไส อันเป็นเครื่องห้าสี หรือเบญจรงค์นั้นทางจีนเรียกว่า “อูไช่” โดยมีหลักการว่าธาตุสำคัญที่มีอยู่ 5 ธาตุด้วยกันคือ ธาตุดิน ,ธาตุน้ำ , ธาตุลม, ธาตุไฟ , ธาตุทอง (หรือธาตุไม้) เมื่อนำมารวมกัน
ถือว่าเป็นสิริมงคล หรือเรียกว่า “เบญจสิริ” ก็จะถูกต้องที่สุด

อิฐ หิน สี และปูนที่ท่านเจ้าคุณกรมท่านำมาจากเมืองจีนท่านได้ใช้เป็นส่วนผสมกับผงพุทธคุณของสมเด็จ พระพุฒาจารย์(โต) พรมรังสี นำมาสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้วด้วยสีสัน เนื้อพระจึงมีความงดงามและแกร่งกว่าพระเครื่องทั่วไปทั้งหมดคือ ที่มาของ
พระเครื่อง เบญจสิริหรือ กรมท่าและวังหน้า ตามแต่จะเรียกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเช่นนี้แล

ขอขอบคุณ : http://somdejtomuseum.com/history-somdejto.php

. . . . . . .