คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

รวมคำสอนธรรมปฎิบัติ เล่ม 1 ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรเกินธรรมดา ท่านสอนให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาวางทุกข์เสีย ให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ดา อะไรก็ตามเถอะ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา มันเป็นธรรมดาของโลกทั้งนั้นในเมื่อร่างกาย เรามีอยู่ในโลกเท่านี้เอง หลักสูตร ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไร เบื้องสูงลงมา ท่านสอนตั้งแต่ ปลายผมลงมาถึงฝ่าเท้าเบื้องต่ำขึ้นไป ท่านสอนตั้ง แต่ปลายเท้าถึงปลายผม มีแค่นี้ ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่นว่า คนนั้นชั่วคนนี้ดีแสดงว่า เราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่าง หากว่าเรามันดี หรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ใครเขาจะเลวร้อยแปด พันเก้า ก็เรื่องของเขา ถ้าเราดีแล้ว ก็หาคน เลวไม่ได้ เพราะ เรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจากสัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดา ก็มี มาจากพรหมก็ มีมันจะเสมอกันไม่ได้ ถ้าพวกมาจากอบายภูมิ สอนยากป่วยการสอน คนใดก็ตามที่ประกาศตนเป็นอาจารย์พระพุทธเจ้า รู้ดีเกินพระพุทธเจ้า ที่บอกของพระพุทธเจ้าไม่ดีไม่ทันสมัย เอาอย่างโน้นดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า ผมไม่คบด้วย พวกจัญไรนี่ไม่คบ คบยังไง มันจะไปไหน ไอ้พวกนี้ โน่น อเวจีมหานรก เพราะทำคนทั้งหลายที่มีเจตนาดี ให้มีมิจฉาทิฎฐิ ปฎิบัติผิด ฟังความเห็นผิด กรรมมันมาก ของสงฆ์ที่ตากแดดตากฝนอยู่ ถ้าจะเกิดความเสียหาย ถ้าพระองค์ใดหรือว่าหลายองค์เดินหลีกไป ไม่เก็บของที่ควรจะเก็บ ปรับอาบัติ ทุกเที่ยวที่ผ่าน อาบัติที่ปรับนี่ ไม่ต้องรอพิพากษานะ มันล่อเลย ผ่านไปแบบไม่แยแส ไม่สนใจ เป็นโทษทันที นี่ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ เห็นของอะไรก็โยนทิ้งๆ ไม่ใช่ ท่านรักษากำลังใจของคนอื่น ที่มีศรัทธา ยิ่งกว่ากำลังใจของท่าน เพราะวัตถุทุกอย่างจะพึงมีได้ ก็ต้องอาศัยชาวบ้าน ชาวบ้านกว่าจะได้มาแต่ละชิ้น ก็เต็มไปด้วยความทุกข์

ฉะนั้นพระ ต้องรักษาทรัพย์สินของชาวบ้าน ให้ยิ่งกว่าชาวบ้านรักษาทรัพย์ อภิธรรมที่พระสารีบุตร ท่านเทศน์ทั้ง 7 ประการ มีนิดเดียว ที่เขาสอนกันนี่มีหลายร้อยหน้า แล้วก็ 8 หน้ายก ผมว่ามันเลอะเทอะเกินไป แต่ก็ไม่ได้ตำหนิคนศึกษาเพราะสนใจธรรมก็เป็นเรื่องน่าโมทนา แต่ว่าทำกันมากเกินไปมันก็สร้างความยาก การบรรลุเข้าก็ถึงช้า เพราะในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง เร็วๆ ไวๆ ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีการเนิ่นช้า จำไว้ให้ดีนะ อย่าประมาทในชีวิต การบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ต้องมีความห่วงอยู่อย่างเดียว คือ ความดับไม่มีเชื้อ ถ้าบวชตามประเพณี เขาเรียกว่า บวชซื้อนรก พระนี่แค่กินข้าว ไม่พิจารณาให้เป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา หลงในรสอาหาร กินเพื่อความอ้วนพี กินเพื่อความผ่องใสอย่างนี้ องค์สมเด็จพระพิชิตมารบอกว่า กินก้อนเหล็กที่เผาจนแดงโชนดีกว่า บุคคลใดเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนาแล้วมีศรัทธา ความเชื่อปสาทะ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีจิตน้อมไปในกุศล แสดงว่าบุคคลนั้นมีบารมี เข้าถึงปรมัตถบารมี สามารถจะเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในชาติปัจจุบัน เนกขัมมบารมี จริงๆ ก็คือ จิตระงับนิวรณ์ 5 ถ้าบวชแล้ว จิตระงับนิวรณ์ 5 ไม่ได้ ท่านไม่ถือว่า เป็นอันบวชนะ ยังไม่เรียกสมมุติสงฆ์ ถ้าระงับนิวรณ์ 5 ได้ ท่านเรียก สมมุติสงฆ์ ถ้าระงับนิวรณ์ 5 ไม่ได้ ท่านเรียกเปรตในเครื่องห่มผ้าเหลือง เพราะจิตมันจุ้นจ้าน จิตของเราถ้าหากนิวรณ์ไม่เข้ามายุ่งเมื่อไรมันก็เป็นฌานเมื่อนั้น นี่มันก็ไม่มีอะไรยาก ถ้าเรามีกำลังใจเข้มแข็งจะไม่ยอม เชื่อไอ้ตัวร้ายนิวรณ์นี่ ทีนี้ในเมื่อเราไม่คิดถึงเรื่องอื่น ขณะพิจารณาก็มองดูแต่ขันธ์ 5 อย่างเดียวและภาวนาก็จับเฉพาะลม หายใจเข้าออก กับคำภาวนาว่า พุทโธ อันนี้นิวรณ์มันไม่กวนจิต เข้าถึงปฐมฌานทันที ถ้าหากว่าท่านไม่สามารถจะทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ถึงปฐมฌาน ผลแห่งการเจริญวิปัสสนาญาน ของท่านทั้งหลาย จะไม่มีผลตามต้องการ เพราะจิตมีกำลังไม่พอที่จะทำลายกิเลส ให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ การเจริญพระกรรมฐานไม่ได้หมายความว่า ใช้เวลานั่งสมาธิเสมอไปถ้าเราใช้แต่เวลาที่นั่งสมาธิมีเวลาสงัด จิตใจของเรา จึงจะกำหนดถึงพระกรรมฐาน อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เนื้อแท้การเจริญพระกรรมฐาน กองใดกองหนึ่งก็ตาม ต้องใช้อารมณ์ของเรานี้ นึกถึงกรรมฐานเป็นปกติตลอดวัน อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่า ท่านเข้าถึงพระกรรมฐาน และพระกรรมฐานเข้าถึงท่าน เวลาที่ปฎิบัติน่ะ ไม่ใช่มานั่งเงียบๆ นะ กลางวันก็ทำงานก่อสร้างด้วย เรียนหนังสือด้วย นุงนังจิปาถะไม่ใช่นั่งเฉพาะ ไม่มีงานมีการ แบบนี้พระพุทธเจ้าไม่ใช้ แบบที่เข้ากุฏิเจริญพระกรรมฐาน กินข้าวก็มีคนไป ส่งข้าว ล้างชามไม่ได้ แบบนี้ไม่ใช่พระ พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ล้างบาตรเอง เช็ดบาตรเอง ทำความสะอาดพื้นที่เอง ทำแบบนั้นก็ดีเกินพระพุทธเจ้า ก็ไปชนเอาพระเทวทัตเข้านะซิ ไม่เป็นเรื่อง เรื่องของพระนี่สำรวยไม่ดี ต้องทำได้ทุกอย่าง ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปนิพพาน เป็นตัณหาไหม ก็ เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ ที่ตอบว่า คำว่า อยากแปลว่า ตัณหา ในเมื่อ อยากไปนิพพานก็แสดงว่า เป็นตัณหาเหมือนกัน ก็เลยบอกว่า นี่แกเทศน์แล้ว แกเดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้ แกเลิกเทศน์แล้ว ก็เดินย่องไปนรก เลยสบายไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้าน เขาไปอีก ถ้าต้องการไปนิพพาน เขา เรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม เป็นอาการทรงไว้ ซึ่งความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก อารมณ์พระกรรมฐาน กับอารมณ์ชาวโลก ไม่เหมือนกัน มันกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือไอ้การงานของชาวโลกนี่ ถ้าขยันมาก มุมานะมาก ผลงานมันสูงแล้วก็ดี แต่การเจริญพระกรรมฐาน มุมานะมากถอยหลัง แทนที่จะก้าวหน้า มันกลับลงต่ำ ใช้ไม่ได้ เพราะว่า การปฎิบัติความดี เพื่อการบรรลุในพุทธศาสนา ต้องละส่วนสุดสองอย่างคือ หนึ่ง อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนที่ เรียกว่าขยันเกินไป สอง กามสุขัลลิกานุโยค เวลาทรงสมาธิ หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณ มีตัวอยากประกอบไปด้วยอยาก จะได้อย่างนั้นอยาก จะถึงอย่างนี้ อยากจะได้ตอนโน้น อีตอนนี้มันเจ๊งทั้งสองทาง ที่ถูกคือ จะต้องวางใจเฉยๆ ปล่อยอารมณ์ ให้มันไปตามสบายๆ การบำเพ็ญบารมีใดๆ หรือ สร้างความดีใดๆ เราจะตั้งมโนปณิธาน ความปรารถนาหรือไม่ก็ตาม ถ้าทำ ความดีมากครั้งเข้า ในที่สุดความชั่วก็สลายตัวไป เราก็เข้าถึงพระนิพพาน ตามเจตนา หรือไม่เจตนา ก็จะต้องเข้าถึง ในเมื่อความชั่วถูกตัดเป็นสมุจเฉทปหาน แต่ทว่าถ้าปราศจาก อธิษฐานบารมี กว่าจะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ก็รู้สึกว่า มันเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือไม่ค่อยจะตรงนัก ฉะนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ทรงแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้มี อธิษฐานบารมี ในการที่ท่าน พุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งใจกล่าว วาจาว่า อิมาหัง ภควา อัตตภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ แปลเป็นใจ ความว่า ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ก็หมายความว่า เราจะเอาชีวิตของ เราเข้าแลกกับความดี ที่องค์สมเด็จพระชินศรีทรงแนะนำไว้อย่างนี้ อาศัยเจตนาและความตั้งใจ จัดว่าเป็นอธิฐานบารมี บรรดาท่านพุทธ บริษัททั้งหลาย จะเข้าถึงความดีด้วยความรวดเร็ว อย่างคาดไม่ถึง ถ้าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ทรงความดีของจิตในวันหนึ่ง 3 นาที ก็คิดว่า 10 วัน มันก็ 30 นาที 100 วัน มันก็ 300 นาที ความดี มันสะสมตัว เมื่อเวลาใกล้จะตายอารมณ์จิต ที่เราทำได้บ้าง ไม่ได้บ้างได้ดีบ้าง ไม่ได้ดีบ้าง ในระยะต้น มันจะเข้าไปรวมตัวกันตอนนั้น จนกลายเป็น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เมื่อเวลาจะตาย จิตใจจะน้อมไปในกุศล ถ้าตายจากความเป็น คน อย่างเลวก็เป็นเทวดา ถ้าจิตสามารถควบคุมอารมณ์ใจได้ถึงฌาน ก็จะเป็นพรหม อริยสัจ เขาสอน 2 อย่างเท่านั้น สำหรับอีกสองอย่างไม่มีใครเขาสอนหรอก อย่าง นิโรธะ แปลว่า ดับ อันนี้มันตัวผล ไม่ต้องสอน มันถึงเอง มรรค คือ ปฏิปทาเข้าถึงความดับทุกข์ มันก็ทรงอยู่แล้วคือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ อริยสัจ เขาตัดสองตัวคือ ทุกข์ กับ สมุทัย นี่เท่านั้น ไอ้เรื่องการเข้าฌานนี่ มันต้องคล่อง เหมือนกับเราเขียนหนังสือ คล่องแคล่วจะเขียนเมื่อไรเราก็เขียนได้ ไม่ใช่เขาบอกว่า เอ้าเข้าฌานซิ มานั่งตั้งท่า ขัดสมาธิ มันก็เสร็จแล้ว มันไม่ทัน เวลาเราจะตายจริง ไปตั้งท่า ได้เมื่อไร มันต้องคล่อง การจะทำให้คล่อง มันก็มีอยู่ว่า ต้นๆ ถ้าจิตมันเขาถึง อารมณ์สมาธิ ตอนไหนก็ตาม พยายาม ทรงสมาธินั้นไว้ และ พยายาม ทรงสมาธิให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้ ใหม่ๆ มันก็อึดอัด ไม่ช้าก็เกิดอาการชิน มันก็ชินจนช้าไม่เป็น เวลาจะตาย เขาเข้าฌานตายกัน คนที่เข้าฌานตาย มันไม่ตายเหมือนชาวบ้าน เขาอาการตายเหมือนกัน แต่ความหนักใจ ของบุคคลผู้ทรงฌานไม่มี ทั้งนี้เพราะถ้าจิตทรงฌาน อารมณ์ก็เป็นทิพย์เมื่ออารมณ์เป็นทิพย์แล้ว ก็สามารถจะเห็นในสิ่งที่ เป็นทิพย์ได้ เห็นรูปที่เป็นทิพย์ ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ ในเมื่อเราเห็นรูป ที่เป็นทิพย์ได้ ได้ยินเสียง ที่เป็นทิพย์ได้ เราก็รู้ สภาวะความเป็นทิพย์ของเราได้ คนที่เขาเข้าฌานตาย นี่เขาเลือกไปตามอัธยาศัยว่า เขาจะไปจากร่างกาย อันนี้เขาจะไป อยู่ที่ใหม่เขาจะไปอยู่ที่ไหนนี่รู้ก่อนคนที่ทรงฌานจริงๆสถานที่ที่จะพึงอยู่ได้คือ พรหมโลก ถ้าหากว่าเราไม่อยากอยู่พรหม อยากจะอยู่สวรรค์ ชั้นใดชั้นหนึ่งที่ต่ำลงมาอันนี้ก็เลือกได้ เวลาไหนที่เราฝึกหัดอิริยาบถ เดินไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ไม่ต้องไปยกๆย่องๆ ทำแบบไอ้โรคสันนิบาต ไม่ใช่นะ แบบเดินธรรมดา อิริยาบถนี่ พระพุทธเจ้า ต้องการอย่างเดียว อย่างเราเดิน ไปบิณฑบาต เดินไปทำธุระ ทำกิจการงานทุกอย่าง ให้รู้อยู่ว่า เวลานี้เราทำอะไร อย่าไปฝึกอย่าง ค่อยๆยกนิด ย่างหน่อย อันนี้ใช้ไม่ได้ ให้ถืออารมณ์ปกติ เราเดินธรรมดา นี่เราก้าวเท้าซ้าย เราก้าวเท้าขวา ก้าวไปข้างหน้า หรือ ถอยมาข้างหลัง เหลียวซ้าย หรือเหลียวขวาใช้สติเข้าควบคุม ทีนี้ก็อย่าลืมนะ เราต้องมี โพชฌงค์ ประจำใจ แล้วก็มี อานาปานุสสติ ประจำอยู่ตลอดเวลาอย่าทิ้งนะ แม้แต่พระพุทธเจ้า ยังไม่ทิ้ง ถ้าพวกคุณทิ้ง อานาปานุสสติ แสดงว่าพวกคุณดีกว่า พระพุทธเจ้า ไปอยู่กับเทวทัตนะ นักเจริญ มหาสติปัฏฐาน เขาต้องดูอารมณ์ อารมณ์ตัวใดมันเกิด ตัดตัวนั้นทันทีไม่ได้ไปนั่งไล่เบี้ย 1 2 3 4 5 6 7 ถึง 13 จบเป็นอรหันต์ ถ้าคิดแบบนี้ ลงนรกมานับไม่ถ้วนแล้ว เขาต้องรวบรวมกำลัง มหาสติปัฏฐาน ทั้งหมดทุกบรรพเข้ามาใช้ ในขณะอารมณ์นั้น เกิดทันที ไม่ใช่ว่าทำอย่างนี้ ได้แล้วก็ทิ้งอย่างนั้น ไปจับขั้นต่อไป ต่อไป พอใจสบายก็ทิ้งอย่างนี้ไปจบตัวโน้น อย่างนี้ลงนรก มานับไม่ ถ้วน เพราะว่า ไม่เข้าถึงความเป็นจริง ตกอยู่ในเขตของความประมาท ท่านผู้ใดปฎิบัติกรรมฐาน ถ้าไม่สามารถจะทำจิตปลงให้ตก ในด้าน กายคตานุสสติกรรมฐาน ทำจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์อย่างเดียว เห็นว่าร่างกายของเราก็สกปรกร่างกายคนอื่นก็สกปรกเป็นของไม่น่ารัก ถ้าไม่สามารถผ่านกรรมฐาน บทนี้ไปได้ ความเป็นพระอนาคามี ไม่ปรากฏแก่ท่านแน่ๆ ผมบอกจุดสำคัญไว้ให้ก็ได้ว่า ทุกท่านที่บรรลุมรรคผล หรือ แม้แต่ทรงฌานโลกีย์ เขาใช้ จิตตานุปัสสนา มหาสติปัฏฐาน เป็นประจำทุกวัน พวกคุณอย่าทิ้งเชียวนะตัวนี้ตัวที่บรรลุจริงๆ อยู่ตรงนี้ นักปฎิบัติทุกองค์ที่ บรรลุก็จับนี่เป็น เนติ เนติแปลว่า แบบแผน ถือว่าเป็นตัวอย่าง ถือว่า เป็นครูใหญ่ ใช้ดูอารมณ์ ใจไม่ต้องไปดูอะไรเพราะว่า ไอ้กิเลสมันเกิดที่ใจ เอาอารมณ์ใจเข้ามาดู สติคุม ธัมมวิจยะ พิจารณา ถ้าใครสามารถ ทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญาณนี่ มันรู้สึกว่า ง่ายบอกไม่ถูก เมื่อถ้าฌาน 4 เต็ม อารมณ์แล้ว เราจะใช้วิปัสสนาญาณ ก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เราจะต้องตัดตัวไหนล่ะ ตัดราคะความ รักสวย รักงามเราก็ยก อสุภกรรมฐาน ขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยก กายคตานุสสติกรรมฐาน ขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่า ไอ้สิ่งที่เรารักน่ะ มันสะอาด หรือมันสกปรก กำลังของฌาน 4 นี่เป็นกำลัง ที่กล้ามาก ปัญญามันเกิดเอง เกิดชัด มีความหลักแหลมมาก ประ เดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุผลชัดพอ ตัดได้แล้วมันไม่โผล่นะ รู้สภาพยอมรับสภาพความเป็นจริงหมดเห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับ ส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อ สีสัน วรรณะ ขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญาของท่านพวกนี้ไม่ได้ พระพุทธเจ้า จึงได้บอกว่า คนที่ทรงฌาน 4 ได้ และรู้จักใช้ อารมณ์ของฌาน 4 ควบคุมวิปัสสนาญานได้ ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 วัน ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 เดือน มีบารมีอย่างอ่อน จะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 ปี บารมี เขาแปลว่า กำลังใจ มีบารมีแก่กล้า คือ มีกำลังจิตเข้มข้นนั่นเอง ต่อสู้กับอารมณ์ ที่เข้ามาต่อต้าน แต่ว่า ถ้าบารมีมัน เข้มบ้างไม่เข้มบ้าง เดี๋ยวก็จริงบ้าง เดี๋ยวก็ไม่จริงบ้าง ย่อๆหย่อนๆ ตึง บ้างหย่อนบ้าง อย่างนี้ท่านบอกภายใน 7 เดือนทีนี้บารมีย่อหย่อนเปาะแปะๆ ตามอัธยาศัยถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างตามอารมณ์ อย่างนี้ ไม่เกิน 7 ปี นี่ผมพูดถึงคน ที่ทรงฌาน 4 ได้ และก็ฉลาด ในการใช้ฌาน 4 ควบวิปัสสนาญาณ ถ้าโง่ละก็ ดักดานอยู่ นั่นแหละ กี่ชาติก็ไม่ได้เป็นอรหันต์ ไอ้ตัวสงบนี่ ต้องระวังให้ดีนะ มันไม่ใช่ ว่าง คำว่า สงบ นี่ไม่ใช่ว่าง จิตของคนนี่ มันไม่ว่าง คือว่า มันต้องเกาะ ส่วนใด ส่วน หนึ่ง ถ้ามันละอกุศลมัน ก็ไปเกาะกุศล ไอ้จิตที่เรียกว่า สงบ ก็เพราะว่า สงบจากกรรมที่เป็นอกุศล คืออารมณ์ที่เป็น อกุศล อารมณ์ชั่ว สงบความปรารถนา ในการเกิดอารมณ์สงบ คือ ไม่คิดว่า เราต้องการความเกิดอีก และ จิตก็มีความสงบ เห็นว่า สภาพร่างกายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไอ้ตัวคิด ว่าเราว่าของเรานี่ สงบไป สงบตัวยึดถือวัตถุ ก็ตาม สิ่งมีชีวิตก็ตามว่า เป็นเรา เป็นของเรา นี่ตัวสงบตัวนี้นะ มีอารมณ์เป็นปกติอยู่เสมอ คิดว่า อัตภาพ ร่างกายนี้ ไม่มีเรา ไม่มีของเรา และมันก็ไม่มีอะไรเป็นเราอีก หาตัวเราในนั้นไม่ได้ พยายามเพียรทรงตัวไว้ทำใจว่าจะไม่ฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็เพียรทรงไว้แต่ความดีเพียรละความชั่วอยู่ตลอดเวลา กรรมอะไรก็ตาม อารมณ์ใดก็ตาม ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอารมณ์ของความชั่ว ต้องเพียรต่อต้านมันนะ แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา หาความเป็นจริงให้พบ เมื่อพบความเป็นจริง แล้วก็เพียรถือมันเข้าไว้ คือ ทรงความเป็นจริงไว้ในใจ ยอม รับนับถือตามความเป็นจริง คิดไว้เสมอว่าไม่มีที่ใดที่จะดีไปกว่า พระนิพพาน นะ ความจริงคนเราทุกคน ไม่ต้องกลัวตาย กลัวเกิดดีกว่า ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว มันจะตายอย่างไรให้มันรู้ไป ถ้าไม่เกิด ให้มันตายที ทีนี้เราเกิดมา เพราะตาเราเห็นรูป เราพอใจในรูป หูได้ยินเสียง พอใจใน เสียง เป็นต้น ความพอใจ ไอ้ตัวจริง ๆ ที่เป็นตัวร้าย ที่เราจะต้องตัดคือ ใจ ตัดอารมณ์ของใจเสีย อย่าให้ใจมันโง่ แนะนำมัน บอกว่านี่ แกไปหลงใหล ใฝ่ฝันใน รูป รูปนี้สวยทรวดทรงดี ถามมันดูซิว่า มีรูปอะไรที่มีการทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงบ้าง ไม่มีการทรุดโทรม ไม่มีการเสื่อม มัน มีบ้างไหม ถามใจมันดู การเป็นพระอรหันต์ไม่เห็นยากคือ ตัดความพอใจในโลกทั้งสาม มนุษย์โลกเทวโลกพรหมโลก ตัดราคะความเห็นว่ามนุษย์ โลกสวย เทวโลกสวย พรหมโลกสวยโลกทั้งสามไม่มีความหมายสำหรับเราเราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน มีความเยือกเย็นเป็นปกติไม่เห็นอะไรเป็นเราเป็นของเราทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทบถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามีอยู่เป็นปกติ คือว่า ไม่มีการสะดุ้งหวาดหวั่นอันใด ถ้าคนจะถึงอรหันต์ ทีนี้อารมณ์ใจมันสบายทุกอย่าง คือว่า ไม่หลงในฌาน ฌานทุกอย่าง ทั้งรูปฌาน และ อรูปฌาน เราพอใจ แต่คิดแต่เพียงว่า นี่เป็นบันได ก้าวขึ้นสู่อริยะเบื้องสูงเท่านั้น ไม่ใช่มานั่งหลง ว่ากันทั้งวัน ทั้งคืน นั่งกรรมฐาน ตลอดวัน ตลอดคืน นั่นมันยังเป็นเด็กเล็กๆอยู่ ทีนี้หลงในฌาน ไม่มีตัวมานะ ถือว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาไม่มี และอารมณ์ฟุ้งซ่าน สอดส่ายไปสู่อารมณ์อกุศลไม่มี และ ตัวสุดท้าย ก็เห็นว่า โลกทั้ง 3 โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก พรหม โลก ไม่มีความหมายสำหรับเรา เห็นสภาวะของโลก ทุกอย่างนี้ทั้ง 3 โลก มันเป็นแกนของความทุกข์ สิ่งที่มีความสุขที่สุด คือ พระนิพพาน อันนี้ถ้าเป็น สุกขวิปัสสโก ท่านจะมีความสบายมากสบายในอารมณ์ ยอมรับนับถือกฎธรรมดายอมรับนับ ถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าพระนิพพานมีจริง และพระนิพพานเป็นแดนของความสุขจริง แม้ท่านจะไม่เห็น หากว่าวิช ชา 3 ก็ดี อภิญญา 6 ก็ดี ปฎิสัมภิทาญัาณก็ดี นี่เขาไปที่นิพพานได้เลย จะสามารถเห็นพระนิพพานได้เท่าๆกับ เห็นของที่ มองอยู่ข้างหน้า แล้วเขาก็จะรู้สภาวะว่า ถ้าเขาทิ้งอัตภาพนี้แล้ว เขาจะไป อยู่ตรงไหน เพราะพระนิพพาน ไม่ได้มีสภาพสูญ เขาก็เข้าสู่จุดของเขาเลยที่พระนิพพาน เข้าที่อยู่ได้ ไปไหว้พระพุทธเจ้าได้ คัดลอกมาจาก หนังสือรวมคำสอนธรรมปฎิบัติ ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วีระ ถาวโรมหาเถร เล่ม1

http://spiritbuddha.com/

. . . . . . .