สิ้นเกจิดังล้านนา ‘ครูบาดวงดี’ รวมอายุขัย104ปี

สิ้นเกจิดังล้านนา ‘ครูบาดวงดี’ รวมอายุขัย104ปี

สิ้นเกจิชื่อดังล้านนา “ครูบาดวงดี สุภัทโท” วัดท่าจำปี เชียงใหม่ รวมอายุ 104 ปี พรรษา 83 หลังอาพาธด้วยโรคชรา มีโรคแทรกซ้อน ช่วงสายคณะศิษยานุศิษย์จะได้หารือเตรียมเคลื่อนศพไปบำเพ็ญกุศลต่อ…

เมื่อช่วงเช้ามืดวันที่ 6 ก.พ. ที่พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี) พระครูสุภัทรสีลคุณ ฉายา สุภัท โท อายุ 104 ปี พรรษา 83 เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พระเกจิชื่อดังที่มีอายุยืนที่สุดของแผ่นดินล้านนา มีลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศ ซึ่งได้อาพาธด้วยโรคชรา มีโรคแทรกซ้อน อาการทรุด พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ ตึกศรีพัฒน์ ชั้น 4 ห้อง 1 และได้มรณภาพลงแล้วที่ห้องไอซียู ชั้น 4 ตึกศรีพัฒน์

ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายสมคิด สมทอง ลูกศิษย์ทราบว่า หลวงปู่ได้อาพาธ ทางลูกศิษย์เคยส่งไปรักษาที่ ร.พ.บำรุงราษฎร์ กรุงเทพฯ จนกระทั้งทาง ร.พ.อนุญาตให้นำหลวงปู่กลับมาพักฟื้นที่วัดท่าจำปี ได้ประาณ 2 เดือน ก่อนหน้าประมาณ 1 อาทิตย์ อาการหลวงปู่ไม่ดีขึ้น เนื่องจากแพทย์ตรวจภายหลังพบว่ามีเลือกออกในกระเพาะอาหาร ทางลูกศิษย์จึงพามารักษาที่ ร.พ.มหาราชนคร เชียงใหม่ แต่ท่านได้ละสังขารเมื่อตอนเช้ามืดของวันนี้ ซึ่งในช่วงสายทางคณะศิษยานุศิษย์ จะได้หารือเพื่อเตรียมเคลื่อนศพหลวงปู่ นำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดท่าจำปีต่อไป อ่านเพิ่มเติม

ประวัติวัดท่าจำปี (ครูบาดวงดี)

ประวัติวัดท่าจำปี

วัดท่าจำปี เป็นวัดเก่าแก่หนึ่งในล้านนา สร้างเมื่อใด โดยผู้ใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน แต่เป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่บ้านท่าจำปีมาเป็นเวลานานมาก ก่อนที่หลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดีจะถือกำเนิดเป็นเด็กชายในหมู่บ้านแห่งเดียวกันนี้
วัดท่าจำปี นับเป็นวัดใหญ่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านท่าจำปีมาโดยตลอด แม้ในบางห้วงเวลาวัดท่าจำปีจะร้างพระสงฆ์อยู่เป็นประจำ แต่ก็มีพระเถระผู้ใหญ่ผลัดเปลี่ยนมาจำพรรษา ปฏิบัติธรรม และช่วยทำนุบำรุงดูแลปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างในวัดเสมอมา
วัดท่าจำปี ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดจากทางราชการ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๙ หรือเมื่อ ๑๓o ปีมาแล้ว สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา(ขึ้นทะเบียนเป็นวัด) เมื่อหลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระอุโบสถของวัดเสร็จในวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖

วัดท่าจำปีตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๒๔ บ้านท่าจำปี(ต้นหัด) หมู่ที่๘ ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดเขตกว้าง ๒oเมตร ยาว๔oเมตร ปัจจุบันประเภทวัดเป็นพัทธสีมา มีโฉนดที่ดินสามแปลง รวมเนื่อที่ ๙ ไร่ ๒ งาน ๓o ตารางวา มีอาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อ่านเพิ่มเติม

ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี มรณะภาพแล้ว

ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี มรณะภาพแล้ว

ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี มรณะภาพแล้ว เกจิดังมรณภาพ “ครูบาดวงดี” เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่ ละสังขารอย่างสงบ ขณะอายุ 103 ปี ที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ หลังอาพาธมานานด้วยโรคชรา เข้า-ออกโรงพยาบาลหลายครั้ง สุดท้ายไตวายเฉียบพลัน เหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งพระสงฆ์-ฆราวาสเศร้า เคลื่อนศพกลับวัดตั้งบำเพ็ญกุศล เผยเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายสาย “ครูบาศรีวิชัย” เกจิดังแห่งล้านนา

หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี ละสังขารแล้วอย่างสงบ
เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระมงคลวิสุต หรือหลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เกจิอาจารย์ชื่อดังและเป็นลูกศิษย์สายสุดท้ายของครูบาเจ้าศรีวิชัย เกจิดังแห่งล้านนา ได้มรณภาพลงแล้ว ขณะอายุ 103 ปี 83 พรรษา ที่ห้องไอซียู ชั้น 4 อาคารศรีพัฒน์ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อเวลา 06.37 น. ท่ามกลางความโศกเศร้าของกลุ่มศิษยานุศิษย์และพระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ที่มาเฝ้ารอฟังอาการด้วยความเป็นห่วงอยู่แน่น รพ. โดยหลังละสังขาร พระปลัดธีรพงศ์ ธัมมธโร ซึ่งเป็นพระเลขาของหลวงปู่ พร้อมพระสงฆ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ได้เข้าเปลี่ยนจีวรให้และทำพิธีสวดทางศาสนา พร้อมนำพานธูปเทียนและพวงดอกมะลิ มาขอขมาศพหลวงปู่ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพอสังเขป พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี)

ประวัติพอสังเขป
พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี)

๑. ตำแหน่ง
ชื่อ พระครูสุภัทรสีลคุณ ฉายา สุภท ? โท อายุ ๑๐๒ ปี พรรษา ๘๒
วิทยฐานะ น.ธ.เอก
วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

๒. สถานะเดิม
ชื่อ ดวงดี นามสกุล สุทธิเลิศ เกิดวัน ๓ ฯ ๒ ๖ ค่ำ ปี มะเมีย
วันที่ ๒๔ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๙
บิดา นายอูบ สุทธิเลิศ มารดา นางจันทร์ สุทธิเลิศ
เลขที่ ๒๔ หมู่ ๘ ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

๓. บรรพชา
วัน ๗ ฯ ๑๕ ๖ ค่ำ ปี ชวด วันที่ ๑๗ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
พระอุปัชฌาย์ พระโสภา วัด ทุ่งเกี๋ยง ตำบล ทุ่งสะโตก
อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
อ่านเพิ่มเติม

คาถาบูชายันต์โภคทรัพย์บารมี ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

คาถาบูชายันต์โภคทรัพย์บารมี ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่

ก่อนสวดจุดเทียน 2 เล่ม ธูป 5 ดอก
สวดนะโม 3 จบ ตามด้วย
เตชะปัญโญ จะมัสะมัง จะ พุทธคุณณัง ตชะปัญโญ จะมัสะมัง จะ ธัมมิกัง ตชะปัญโญ จะมัสะมัง จะ สังฆะรัง สัพพะโรคา เภยยัง วิยะ เภยเย สัพพะ ภัยยัง วิยะเภยเย สัพพะ ลาภัง ละภันตุเตฯ และพุทธังเมตตา นะชาลีติ ธัมมังเมตตา นะชาลีติ สังฆังเมตตา นะชาลีติ นะโมพุทธายะ มะอะอุ
ใช้ในด้านเมตตามหานิยม ค้าขายทำมาค้าขึ้น เจริญด้วยเข้าของเงินทอง เจริญด้วยหน้าที่การงาน สวด 3 หรือ 5-7-9 จบ

http://veeratep.com/forum.php?mod=viewthread&tid=1393

เหรียญรุ่น ณ เมตตา ครูบาน้อย เตชปัญโญ ศรีดอนมูล

เหรียญรุ่น ณ เมตตา ครูบาน้อย เตชปัญโญ ศรีดอนมูล

“พระครูสิริศีลสังวร” หรือ “ครูบาน้อย เตชปัญโญ” เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระเกจิชื่อดังที่ชาวล้านนายกย่องให้เป็นพระยอดกตัญญูแห่ง ล้านนา

ครู บาน้อยได้เข้านิโรธกรรม โดยศึกษาประ วัติจากครูบาเจ้าศรีวิชัย จนมาศึกษาวิธีปฏิบัติการเข้านิโรธกรรม เพื่ออธิษฐานจิตให้ครูบาผัด พระอาจารย์ให้หายจากอาการอาพาธ ด้วยถือเป็นหนทางสุดท้าย

ต่อมาการ เข้านิโรธกรรมของครูบาน้อยสัมฤทธิผล ครูบาผัด อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล พระเกจิชื่อดังอีกท่านหนึ่งของล้านนาที่อยู่ในอาการอาพาธป่วยหนักได้หายลง

นับ แต่นั้นมาครูบาน้อยได้ถือการเข้า- ออกนิโรธกรรม เพื่ออธิษฐานจิตให้กับครู บาอาจารย์ มารดา จนกระทั่งครูบาน้อยมีวัย วุฒิ 60 ปี

ทั้งนี้ คณะศิษยานุศิษย์และคณะกรรมการวัดศรีดอนมูล รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันและได้มีมติสร้างเหรียญ ครบรอบ 60 ปี ครูบาน้อย เตชปัญโญ
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล ครูบาน้อย เตชปญฺโญ หรือ พระครูสิริศีลสังวร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งล้านนาครูบาน้อย บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น ปัจจุบัน อายุ 56 พรรษา 36 อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ กองคำ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล ที่บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำและนางต๋าคำ กองคำ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 4 คน คือ น.ส.สงวน กองคำ ( เสียชีวิตแล้ว )พระครูสิริศีลสังวร ( ครูบาน้อย )นายแก้ว กองคำนายภัทร กองคำ เมื่อแรกเกิด ท่านมีสายรกพันรอบตัว ตามความเชื่อคนโบราณในภาคเหนือ เล่าสืบกันมาว่าจะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนาในตอนแรกเกิด โยมบิดาและโยมมารดาของครูบาน้อย ได้เล่าว่าสายรกได้พันตัวหมดซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณ ในภาคเหนือได้เล่าสืบ ๆ กันมาว่า จะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนา หลังจากเกิดมาแล้วโยมพ่อและโยมแม่ได้ตั้งชื่อให้ว่า ด.ช. น้อย ( ด.ช.ประสิทธิ์ กองคำ ) ตอนเป็นเด็ก เด็กชายน้อยเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครูอาจารย์มาตลอด และชอบที่จะติดตามโยมมารดามาวัดในวันพระเสมอ ในเวลาพระเทศน์เด็กชายน้อยจะตั้งใจสำรวม กาย วาจา ใจ ฟังพระเทศน์อย่างตั้งใจ เพราะมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมากนั่นเอง เด็กชายประสิทธิ์ กองคำ อายุได้ 7 ขวบก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โยมมารดาจึงนำตัวเด็กชายน้อยมาฝากเป็นเด็กวัดเพื่อเรียนหนังสือกับครูบาผัด ( ขณะนั้นเป็นพระใบฎีกาผัด ผุสสิตธมโม ) อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ Featured

พระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย เตชปญฺโญ)
เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ พระเถระผู้ประพฤติปฏิบัติในจริยะวัตรแห่งสงฆ์ได้อย่าง สมบูรณ์ ประกอบกับความเป็นผู้รู้สำนึกในคุณบุพการี ครูบาอาจารย์ และผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา จนกระทั่งเป็นที่กล่าวขานตั้ง สมญานามให้ว่า “นักบุญยอดกตัญญู”
ครูบาน้อย เดิมชื่อ ประสิทธิ์ กองคำ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2494 ณ บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันอายุ 59 ย่าง 60 ปี พรรษา
ที่ 37

ด้วยความที่เป็นคนสนใจในพระพุทธศาสนา จึงเข้าพิธีบรรพชาตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2507 โดยมีครูบาอิ่นแก้ว วัดกู่เสือ จ.เชียงใหม่ เป้นพระอุปัชฌาย์

หลังจากที่ร่ำเรียนศึกษาตำรายาสมุนไร และสอบนักธรรมเอกสำเร็จ เมื่ออายุ ครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2514 ณ วัดพญา ชมพู โดยมีครูบาอุ่นเรือน วัดป่าแคโยง จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ ฉายา “เตชปญฺโญ” แปลว่าผู้มีปัญญาเป็นเดช ภายใต้ร่มบวรพระพุทธศาสนา มาจนถึงปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

ฮือฮา! ตะกรุดครูบาน้อย หมอแทงเข็มไม่เข้า

ฮือฮา! ตะกรุดครูบาน้อย หมอแทงเข็มไม่เข้า

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 1 ก.ย. ผู้สื่อข่าวประจำ จ.เชียงใหม่ รับแจ้งจากนายสุรศักดิ์ สมบัติ อายุ 41 ปี กำนันตำบลชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ว่า พ่อของตนคือ นายทองคำ ใจทน อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 98 หมู่ 2 ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อดูดน้ำในตัวออกแต่ปรากฏว่า เข็มของหมอที่แทงเข้าตัวพ่อของตนไม่สามารถแทงเข้าไปได้จนเข็มหัก ตนและคนในครอบครัวเชื่อว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของตะกรุดครูบาน้อย แห่งวัดศรีดอนมูล ที่พ่อของตนเช่าบูชาและพกติดตัวตลอดเวลา สร้างความฮือฮาให้กับแพทย์และพยาบาลเป็นอย่างมาก

ต่อมาผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ พบกับนายทองคำ ใจทน ซึ่งเดินทางมากราบนมัสการครูบาน้อย เตชปัญโญ พระเกจิชื่อดังเจ้าของตะกรุดดังกล่าว เพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับครูบาน้อยฟัง โดยนายทองคำเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนเกิดอาการท้องอืดโดยไม่ทราบสาเหตุ และเกิดอาการแน่นหน้าอก นายสุรศักดิ์ ลูกชาย ได้นำตนส่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลหมอก็ได้ตรวจที่ท้อง แต่หาสาเหตุของการท้องอืดไม่ได้ จึงเอกซเรย์ที่ท้อง ซึ่งก็ต้องไปฟังผลอีกครั้งในวันที่ 10 ก.ย. หมอจึงเจาะท้องของตนเพื่อดูดน้ำในช่องท้องออกบางส่วน โดยแพทย์ระบุว่าในท้องของตนมีน้ำอยู่จำนวนมาก อ่านเพิ่มเติม

คาถาบูชาตะกรุดกาสะท้อน ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

คาถาบูชาตะกรุดกาสะท้อน ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ตะกรุดกาสะท้อน ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่

คาถาบูชาตะกรุดกาสะท้อนครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ พุทธคุณตะกรุดกาสะท้อน แคล้วคลาดอันตรายต่างๆ ใครที่คิดไม่ดีคิดร้ายกับผู้มี่พกพาตะกรุดจะสะท้อนกลับไป ก่อนจะนำตะกรุดติดตัวในภาวนาพระคาถาดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อักขะระยันตังสันตังสันติ
พุทธังอะระทะนานัง
ธัมมังอะระทะนานัง
สังฆังอะระทะนานัง
บิดา มารดา อะระทะนานัง
นะ ชา ลี ติ

http://www.tumsrivichai.com

ไหว้สา “ครูบาน้อย” วัดศรีดอนมูล

ไหว้สา “ครูบาน้อย” วัดศรีดอนมูล

หากเอ่ยชื่อ “วัดพระเจ้าก้นกึ่ง” เชื่อว่าคงไม่ค่อยมาใครรู้จัก แต่หากเอ่ยชื่อ “วัดศรีดอนมูลครูบาน้อย” หลายท่านคงนึกออก เพราะวัดพระเจ้าก้นกึ่งก็คือวัดเดียวกับวัดศรีดอนมูล ตั้งอยู่ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
จากหลักฐานการสร้างวัดนี้ไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อกันมาเล่าว่า ในอดีตวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีใครทราบ แต่ชาวบ้านในอดีตเรียกว่า “วัดพระเจ้าก้นกึ่ง” เนื่องจากวัดมีสภาพรกร้างรวมถึงมีพระพุทธรูปเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณวัด ต่อมามาช้างป่าเข้ามาหากินและได้ใช้งางัดพระพุทธรูปจนหน้าคว่ำลงทำให้ฐานพระพุทธรูปยกขึ้น ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “วัพระเจ้าก้นกึ่ง”
อย่างไรก็ตามจากหลักฐานภาษาล้านนาสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นมาในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ต่อมาเกิดสงครามพม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเมืองเกิดระส่ำระสายชาวบ้านต่างพากันหนีตาย วัดแห่งนี้จึงรกร้างขาดการทำนุบำรุงหลายร้อยปี ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละได้เข้ามากู้อิสรภาพด้วยการขับไล่พม่าข้าศึกออกจากล้านนาไทย และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ทรงพระนามว่า “เจ้าพระยาวชิระปราการ” แล้วได้ให้แสนพิงยี่เป็นแม่ทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงแสน แต่ไม่สำเร็จเลยกวาดต้อนผู้คนจากเมืองเชียงแสนมาจำนวนมาก พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นจึงได้ให้พระยาชมภูเป็นหัวหน้านำผู้คนจากเมืองเชียงแสนที่กวาดต้อนมานั้นไปหาที่สร้างบ้านเรือนในบริเวณบ้านยางเนิ้ง ซึ่งเป็นอำเภอสารภีในปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

คำแนะนำการปฏิบัติกรรมฐาน โดย ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อ.สารภี เชียงใหม่

คำแนะนำการปฏิบัติกรรมฐาน โดย ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อ.สารภี เชียงใหม่

ได้มีโอกาสได้คำแนะนำการปฏิบัติกรรมฐาน จาก ท่านครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อ.สารภี เชียงใหม่ จึงขอนำมาเผยแพร่ให้ทุกท่านทราบ เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เริ่มปฏิบัติค่ะ

คำแนะนำการปฏิบัติกรรมฐาน
โดย ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อ. สารภี จ. เชียงใหม่

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะติปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (3 จบ)

นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ อัปปะมาโน พุทโธ อัปปะมาโน ธัมโม อัปปะมาโน สังโฆ
พุทโธ เมนาโถ ธัมโม เมนาโถ สังโฆ เมนาโถ พุทโธ คาระโว ธัมโม คาระโว สังโฆ คาระโว
กัมมัฏฐานัง เม นาถัง กัมมัฏฐานะ ทายะ กายะ จริโย เม นาโถ
ภาวนากัมมัง สมาทิยามิ เสนาสะนัง สมาทิยามิ ปะฐะวิงกะ สมาทิยามิ
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ หรือ พระครูสิริศีลสังวร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งล้านนาครูบาน้อย บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น ปัจจุบัน อายุ 56 พรรษา 36

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ กองคำ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล ที่บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำและนางต๋าคำ กองคำ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 4 คน คือ

น.ส.สงวน กองคำ ( เสียชีวิตแล้ว )
พระครูสิริศีลสังวร ( ครูบาน้อย )
นายแก้ว กองคำ
นายภัทร กองคำ

เมื่อแรกเกิด ท่านมีสายรกพันรอบตัว ตามความเชื่อคนโบราณในภาคเหนือ เล่าสืบกันมาว่าจะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนาในตอนแรกเกิด โยมบิดาและโยมมารดาของครูบาน้อย ได้เล่าว่าสายรกได้พันตัวหมดซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณ ในภาคเหนือได้เล่าสืบ ๆ กันมาว่า จะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนา หลังจากเกิดมาแล้วโยมพ่อและโยมแม่ได้ตั้งชื่อให้ว่า ด.ช. น้อย ( ด.ช.ประสิทธิ์ กองคำ ) ตอนเป็นเด็ก เด็กชายน้อย เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และครูอาจารย์มาตลอด และชอบที่จะติดตามโยมมารดามาวัดในวันพระเสมอ ในเวลาพระเทศน์เด็กชายน้อยจะตั้งใจสำรวม กาย วาจา ใจ ฟังพระเทศน์อย่างตั้งใจ เพราะมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมากนั่นเอง เด็กชายประสิทธิ์ กองคำ อายุได้ 7 ขวบก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โยมมารดาจึงนำตัวเด็กชายน้อยมาฝากเป็นเด็กวัดเพื่อเรียนหนังสือกับครูบาผัด ( ขณะนั้นเป็นพระใบฎีกาผัด ผุสสิตธมโม ) ในสมัยนั้นท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียงทางคาถาอาคม อยู่ยงคงกระพัน และตะกรุดกาสท้อนและเรื่องการรักษาผู้ป่วยด้วยยาสมุนไพรจนมีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเด็กชายน้อย ก็ได้รับการอบรม สั่งสอน ในเรื่องของธรรมะ อักขระภาษาล้านนา ( ซึ่งเป็นภาษาที่รวบรวมคาถาอาคมของคนล้านนาไว้ ) จากครูบาผัดด้วยใจใฝ่การเรียนและใฝ่รู้ของเด็กน้อย เพราะมีความชอบเรื่องของคาถาอาคม เมตตามหานิยมอยู่แล้ว จึงทำให้เด็กชายน้อยเรียนได้อย่างรวดเร็วกว่าเด็กวัดรุ่นราวคราวเดียวกัน อ่านเพิ่มเติม

นิโรธกรรม’ครูบาน้อย’ สืบชะตา-วัดศรีดอนมูล

นิโรธกรรม’ครูบาน้อย’ สืบชะตา-วัดศรีดอนมูล

วัดศรีดอนมูล ตั้งอยู่ ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันมี “พระครูสิริศีลสังวร” หรือ “ครูบาน้อย เตชปัญโญ” ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

เดิมชื่อวัดพระเจ้าก้นกึ่ง เนื่องจากมีพระพุทธรูปจำนวนมาก และมีสภาพเป็นวัดร้าง จึงมีช้างเข้ามาอาศัยหากินอาหาร และใช้งางัดพระพุทธรูปจนหน้าคว่ำลง ทำให้ฐานพระพุทธรูปยกขึ้น จึงเรียกขานว่า “วัดพระเจ้าก้นกึ่ง” ตามภาษาพื้นเมือง

ในปีนี้คณะศิษยานุศิษย์และกรรมการวัดศรีดอนมูล ตลอดทั้งคณะศรัทธา ถือเป็นสองทศวรรษงานบุญนิโรธกรรมครูบาน้อย โดยกำหนดงานวันที่ 14-17 ก.พ.2556 การอธิษฐานเข้านิโรธกรรม เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างสูงสุดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้กำหนดแนวทางไว้ และครูบาเจ้าอีกหลายรูปทางภาคเหนือได้ยึดถือปฏิบัติตามแบบอย่างแนวทางนั้นเพื่อสะกด ลด ละ กิเลสให้สิ้นไป โดยเน้นหนักในการเจริญสติปัฏฐาน 4 อนุสติ 10 ระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์ ทั้งปวง
อ่านเพิ่มเติม

ตะกรุดก่าสะท้อนตำรับ’ครูบาน้อย’

ตะกรุดก่าสะท้อนตำรับ’ครูบาน้อย’

ตะกรุดก่าสะท้อน ตำรับ ‘ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล’ : ชั่วโมงเซียน โดยอ.โสภณ

“ตะกรุดก่าสะท้อน” จัดเป็นเครื่องรางสายเหนือ ที่ได้รับความนิยมมานาน เชื่อกันว่า มีอิทธิคุณช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายและไม่ดีต่างๆ ให้สะท้อนกลับออกไป ไม่สามารถส่งผลร้ายแก่ผู้ที่พกบูชาติดตัวได้ ทั้งนี้เรามักจะออกเสียง “ก่า” เป็น “กา” จนกลายเป็น “ตะกรุดกาสะท้อน”

ยันต์ก่าสะท้อนเป็นยันต์ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้นิยมยันต์ล้านนาทั้งหลาย คำว่า “ก่า” เป็นภาษาล้านนา แปลว่า ป้องกัน, ไม่ให้เกิดขึ้น คุณวิเศษของยันต์ก่าสะท้อนนั้น สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น มนต์ดำ คุณไสย คุณผี คุณคน ที่กระทำย่ำยีมาใส่เรานั้น ตะกรุดนี้จะสะท้อนสิ่งเหล่านั้นกลับไปยังผู้ทำของทำคุณไสยใส่เราได้ตามกฎแห่งกรรม

อย่างไรก็ตาม ยันต์ก่าสะท้อนมีหลายชนิดหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น ยันต์ก่าสะท้อนที่ทำจากหนังลูกวัวเกิดแล้วตายคาอวัยวะเพศ ส่วนมากจะหุ้มหรือพอกยันต์ด้วยครั่ง ยันต์ก่าสะท้อนชนิดนี้สามารถป้องกันอันตรายได้หมด เป็นมหาอุด ปืนยิงไม่ออก หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม วัดวังมุย เคยสร้างไว้ ตอนนี้หายากมากแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)

ครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)

วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๔๑๐
โทร. ๐๕๓-๔๒๐๒๗๗, ๐๕๓-๔๒๑๐๔๐

ครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)
วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๔๑๐
โทร. ๐๕๓-๔๒๐๒๗๗, ๐๕๓-๔๒๑๐๔๐

ครูบาน้อย ท่านเข้านิโรธสมาบัติทุกปี ปีละ ๗ วัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ช่วงเวลาที่ท่านครูบาน้อยออกจากนิโรธสมาบัติ จะมีประชาชนนับหมื่นไปรอใส่บาตร

ครูบาน้อยท่านรับแขกทุกวัน เวลา ๑๐ โมงเช้า เพื่อความแน่นอนให้โทรไปสอบถามรายละเอียดกับทางวัดได้

คนดังมากๆ ที่ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาน้อย เช่น พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร, คุณไมตรี บุญสูง เป็นต้น

ประวัติโดยย่อครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)

เกิดวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๔ บวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๗ ขณะอายุได้ ๑๓ ปี ที่วัดศรีดอนมูล ต่อมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔

ครูบาน้อยได้ศึกษากรรมฐานกับครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล, ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน, ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ เป็นอาทิ

http://www.palapanyo.com/files/supatipanno/fcontent.php?f=krubanoi.html

ไหว้สาครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ไหว้สาครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ท่านพระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย เตชปัญโญ)
“มีสติอยู่กับตัวนะ ทำอะไรก็ให้มีสติ” เสียงพระเถระอายุกว่า 60 พรรษา แต่ยังดูท่านยังแข็งแรงมากยังคงแว่วอยู่ในหัวผม

เสียงพระเถระ ที่ชาวบ้านพร้อมใจกันเรียกท่านด้วยความเคารพว่า “ครูบา” นั้นเปี่ยมด้วยความเมตตา ผมเองได้ยินชื่อของ “ครูบา” ครั้งแรกทางหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่าท่านสามารถเข้า นิโรธกรรมตามแบบของครูบาศรีวิชัย ได้ ซึ่งการเข้านิโรธกรรมครั้งแรกนั้นเป็นเข้า เพื่อต่ออายุ ครูบาผัด (พระครูพิศิษฏ์สังฆการ หรือครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2537) กำลังป่วยหนัก ถึงขนาดที่แพทย์ที่ทำการรักษาอยู่บอกลูกศิษย์ลูกหาให้ทำใจ การเข้านิโรธกรรมของท่านในครั้งนั้นทำให้อาการป่วยของครูบาผัดดีวันดีคืน หลังจากนั้น”ครูบา” ท่านก็เข้านิโรธกรรม ทุกปีเป็นประเพณีทุกปี อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
ศิษย์เอกครูบาผัด ต้นตำรับตะกรุดกาสะท้อนแห่งวัดศรีดอนมูล
เกจิอาจารย์ล้านนายอดกตัญญู

๙ คณาจารย์ของครูบาน้อย ประกอบด้วย
1. ครูบาเจ้าศรีวิไชย ตนบุญแห่งล้านนาไทย ต้นแบบการเข้านิโรธกรรม
2. ครูบาพรหมมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ป่าซาง ลำพูน
ประสิทธิ์ประสาทการวิปัสสนากัมมัฎฐาน
3. ครูบาหล้า(ตาทิพย์) วัดป่าตึง สันกำแพง เชียงใหม่ ได้ศึกษาวิชาธรณีศาสตร์ และเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ เช่น คำประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ
4. ครูบาคำปัน นันทิโย วัดหม้อคำตวง เชียงใหม่ ได้ศึกษาอักขระภาษาล้านนา เรื่องของเมตตามหานิยม ตำรับตำรายาสมุนไพร วัตรปฏิบัติและการครองเพศบรรพชิต
5. ครูบาชัยยะวงศา(ครูบาเหยียบศิลาเป็นรอย) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลี้ ลำพูน ประสิทธิ์ประสาทวิชา เวทมนต์คาถา และวัตรปฎิบัติการฉันอาหารเจ
6. ครูบาอิ่นแก้ว อินทรโส วัดกู่เสือ พระอุปัชฌาย์(สามเณร)
7. ครูบาอุ่นเรือน อินทรโส วัดป่าแคโยง พระอุปัชฌาย์ (ภิกษุ)
8. ครูบาผัด ผุสลิตธสโม วัดศรีดอนมูล ศึกษาเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพร คาถาอาคมในด้านอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม
ตะกรุดกาสะท้อน ตะกรุดประสิทธิเวช ฯลฯ
9. พ่ออาจารย์(ฆราวาส) สล่ากุ่งหม่า บ้านแม่ก๊ะ อ.ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ ได้ศึกษาไสยาเวช

http://somphobamulet.tarad.com/

วัดชัยมงคลวังมุย ต.ประตูป่า (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

วัดชัยมงคลวังมุย ต.ประตูป่า

ประวัติวัดชัยมงคลวังมุย
วัดชัยมงคลวังมุย

สร้างขึ้นด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาววังมุย โดยมีครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เป็นองค์ประธาน มูลเหตุของการดำริสร้างวัด มาจาการที่วัดเก่า คือวัดศรีสองเมืองประจำบ้านวังมุย ประสบอุทกภัยอยู่เนืองนิจ ชาววังมุยจึงได้สร้างวัดใหม่ คือ วัดชัยมงคลขึ้นสถานที่ตั้งของวัดใหม่ อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเก่า สิ่งก่อสร้างแรกเริ่มที่สร้าง คือ พระวิหาร ซึ่งยังคงเค้าเดิมอยู่ถึงปัจจุบันชื่อของวัดใหม่ ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มตั้งให้ คือ วัดชัยมงคล แต่ชาวบ้านและคนทั่วไปมักนิยมเรียกว่าวัดวังมุย ด้วยความที่คนภายนอกรู้จักวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านห่างไกลอย่างวัดวังมุยนี้ ในฐานะที่เป็นวัดของครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก พระอริยะเจ้าจากเมืองลำพูน จึงมักจะคุ้นเคย ชินกับนามวัดวังมุยตามชื่อสถานที่มากกว่าดังนั้นกล่าวถึง วัดชัยมงคล จึงต้องมีชื่อ วังมุย ต่อท้ายด้วยเสมอจาก ประวัติทั่วราชอาณาจักรไทย ระบุว่า วัดชัยมงคล (วังมุย) สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2464 โดยมีหลวงปู่ครูบา เจ้าชุ่ม โพธิโก ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2484 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่ ณ บ้านวังมุย เลขที่ 85 หมู่ที่ 1 ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูนมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 6 ทิศใต้ กว้างประมาณ 17 วา จรดที่ดินเอกชน

ทิศตะวันออก กว้างประมาณ 46 วา จรดถนนสาธารณะทิศตะวันตก กว้างประมาณ 36 วา จรดที่ดินเอกชน
นอกจากนี้ ยังมีรูปเหมืองขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ที่ปั้นขึ้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังดำรงขันธ์อยู่ และยังมีพระรูปเหมือนของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ในท่านั่งสมาธิ อีกด้วย

วัดชัยมงคลวังมุย บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
โทร.0 5350 0131/0 8504 1446
Website www.watchaimongkol.com

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ลำพูน

ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ลำพูน

ครูบาชุ่ม โพธิโก เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด เกิดในตระกูล นันตละ ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ขึ้น ๗ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นบุตรคนที่ ๓ ของพี่น้อง ๖ คน โยมบิดาชื่อ นายบุญ โยมมารดาชื่อ นางลุน ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ณ.วัดวังมุยนั้น โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาว เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ตั้งจิตอธิษฐานไม่ฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้น
เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาปริยัติธรรม และเดินทางไปศึกษาในสำนักวัดผ้าขาว เชียงใหม่ จากนั้นไปศึกษาต่อที่วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวง ตามลำดับ จนสามารถมีความรู้แปลหนังสือ และพระไตรปิฏกแล้วจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดวังมุย ลำพูนดังเดิม

เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท โดยมีครูบาอินตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หลวงอ้าย เป็นพระอนุสาสนาจารย์ ได้ฉายาว่า โพธิโก หลังอุปสมบทแล้วได้ออกศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักวัดท้าวศรีบุญเรือง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ มีครูบาสุริยะเป็นพระอาจารย์ ได้ศึกษากับครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมอันมีชื่อเสียงในสมัยนั้นอีก ๒ ปี จากนั้นไปศึกษาต่อกับครูบาแสน วัดหนองหมู อีก ๒ ปี จนมีความสามารถครบถ้วน จึงเริ่มออกสู่ธุดงควัตรเลาะริมน้ำปิงลงสู่ดินแดนภูเขาทางอำเภอลี้ อ.ฮอด ทำการบูรณะพระธาตุดอยเกิ้ง อันเป็นพระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระพุทธเจ้า จากนั้นเดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มจาก พระมหาเมธังกร จ.แพร่ พระผู้ทรงวิทยาคุณอีกรุปหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .