ท่านพุทธทาส

ท่านพุทธทาส

อานาปานสติ
จากหนังสือ “อานาปานสติ สมบูรณ์แบบ” ของ พุทธทาสภิกขุ
พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๓๕ ธรรมสภาจัดพิมพ์เผยแพร่
PONG1930 ได้บันทึกไว้เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘
สติปัฏฐาน ๔ (ขั้นตอนฝึกสติ อย่างละเอียด)
(กาย-เวทนา-จิต-ธรรม)
อานาปานสติ ๔ หมวด ๑๖ ลำดับขั้นตอน

หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนา
ขั้นที่ ๑ หายใจยาว
ขั้นที่ ๒ หายใจสั้น
ขั้นที่ ๓ รู้พร้อม/เห็นความสัมพันธ์ของกายทั้งปวง (กายเนื้อ/กายลม)
ขั้นที่ ๔ ทำกายสังขารให้สงบระงับ มีเคล็ด (เทคนิค) ๔ ขั้นตอน :-
– วิ่งตาม
– เฝ้าดู
– สร้างมโนภาพ
– บังคับมโนภาพ
* ต้องมี “วสี” คือ ฝึกให้เกิดความชำนาญ

หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนา
ขั้นที่ ๕ ปีติ
ขั้นที่ ๖ สุข (เอกคัตตาจิต/ปฐมฌาน)
ขั้นที่ ๗ จิตสังขาร
ขั้นที่ ๘ ละจิตสังขาร

หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนา
ขั้นที่ ๙ รู้จักจิตทุกชนิดโดยประการทั้งปวง
ขั้นที่ ๑๐ บังคับจิตให้ปราโมทย์บันเทิงได้ตามต้องการ
ขั้นที่ ๑๑ ทำให้จิตตั้งมั่นตามต้องการ
ขั้นที่ ๑๒ ปล่อยจิตจากนิวรณ์/สังโยชน์

หมวดที่ ๔ ธัมมานุปัสสนา
ขั้นที่ ๑๓ เห็นอนิจจัง
ขั้นที่ ๑๔ คลายอุปทาน
ขั้นที่ ๑๕ ดับอุปทาน
ขั้นที่ ๑๖ หมดสิ้นอุปทาน

ขั้นตอน “ฝึกสติ” อย่างลัดสั้น
– กาย กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก – สั้น-ยาว – ละเอียด/หยาบ
– รูป-นาม กำหนดรู้ลมหายใจ (รูป) – เวทนา – สัญญา -สังขาร – วิญญาณ
– เกิด-ดับ กำหนดรู้การเกิด-ดับของรูป-นาม
– อนิจจัง กำหนดรู้ความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง เริ่มต้น-ท่ามกลาง-ปลาย
– อนัตตา กำหนดรู้ความไม่มีตัวตน
– เบื่อหน่าย รูป-นาม
– คลายความยึดมั่นถือมั่น
– สลัดทิ้งความยึดมั่นถือมั่น

ปฏิจจสมุปบาท
จากหนังสือ “ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร?” ของพุทธทาสภิกขุ
พิมพ์ที่จิงโจ้การพิมพ์, กรุงเทพฯ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
ผู้บันทึกได้บันทึกไว้เมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๔

ท่านพุทธทาสอธิบาย “ชั่วเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก ปฏิจจสมุปบาทอาจเกิดขึ้นได้หลายวง” และเป็นสิ่งที่เกิดในชีวิตประจำวันนี้เอง ท่านยังชี้ให้เห็นว่า “ปฏิจจสมุปบาทเป็นตัวแท้ หรือหัวใจพุทธศาสนา เป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด เป็นเรื่องปรมัตถธรรม”

พยายามสังเกต และรู้เท่าทันจิตขณะเกิด “ผัสสะ” (การกระทบทางตา หู คมูก ฯลฯ) บางครั้ง “สติมาเร็วทันเวลา” ก็รู้สึกตัวว่า “สักว่าเห็น… หรือสักว่าได้ยิน”
“ไม่แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาท จึตจึงยุ่งเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง, เหมือนกลุ่มเศษด้ายที่เป็นปม พัวพันกันยุ่ง…”

“ต้องระดมทุ่มเทสติปัญญาทั้งหมดศึกษาเรื่องนี้ด้วยความไม่ประมาท”
“ไม่จำเป็นจะต้องรู้จักชื่อทั้ง ๑๑ ชื่อของอาการแห่งปฏิจจสมุปบาททั้งหมดนั้น (อวิชชา – สังขาร – วิญญาณ – นามรูป – อายตนะ – ผัสสะ – เวทนา – ตัณหา – อุปาทาน – ภพ – ชชาติ – ชรามรณะ) ก็ได้”

“ความอยู่ที่ตรงกลางนี้แหละคือเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือมัชฌิมาปฏิปทาทางปรมัตถธรรม คู่กับอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นมัชฌิมาปฏิปทาที่ใช้ได้กระทั่งทางศีลธรรม”
“ปฏิจจสมุปบาท ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรม ซึ่งต้องอาศัยความมีตัวตนเป็นมูลฐาน”
ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่เรื่องเฟ้อทางปริยัติเหมือนที่พูดกันอยู่โดยมาก แต่ต้องเป็นเรื่องปฏิบัติที่รัดกุม คือ มีสติควบคุมความรู้สึกตัวเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ อย่าให้เกิดตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ขึ้นมาได้”
“ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่มีหลักของตัวเองว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ”
“ปฏฺจจสมุปบาทแท้จริง คือ การปฏิบัติเพื่อไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้นมาได้ ด้วยการมีสติในทวารทั้งหก เมื่อมีการกระทบทางาอายตะนั่นเอง”

ปฏิจจสมุปบาทนี้ มันมีอยู่ในคนเราแทบตลอดเวลา … มันรวดเร็ว รุนแรงแบบสายฟ้าแลบ … เช่น ความโกรธอย่างนี้ มันเกิดขึ้นมารวดเร็วเหมือนกับสายฟ้าแลบ
ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร ? กล่าวเป็นภาษาธรรมดาสามัญที่สุด ก็ตอบว่า คือเรื่อง พฤติของจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปเพื่อทุกข์ แล้วก็รวดเร็วรุนแรงเหมือนสายฟ้าแลบ แล้วก็มีอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรา …
ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร ? ก็คือ การแสดงให้รู้เรื่องความทุกข์ที่เกิดขึ้นในรูปสายฟ้าแลบในจิตใจของคนเป็นประจำวัน จะดับทุกข์ได้โดยวิธีใด? ก็โดยอย่าให้กระแสปฏิจจสมุปบาทมันเกิดขึ้นมาได้ เพราะ่ว่ามีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
“ความคิดที่ปรุงแ่ต่ง” ทยอยกันอย่างนี้เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท มีอยู่ในคนเป็นประจำวัน

http://www.reocities.com/pong1930/religion5.html

. . . . . . .