ไตรโลกุตตรธรรม: มรรค ผล นิพพาน โดย ท่านพุทธทาส

ไตรโลกุตตรธรรม: มรรค ผล นิพพาน โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมเทศนา
นโมตัสสะ ภัควัตโต อรหโต สัมมาสัมพุทธทัสะ นโมตัสสะ ภัควัตโต อรหโต สัมมาสัมพุทธทัสะ นโมตัสสะ ภัควัตโต อรหโต สัมมาสัมพุทธทัสะ โยสัมโมโยนะโคธิมูเล มาลังคะเสนังธิจิตัง ปุญเสญะ สังโฆอนันตติยาโน โลกุลสโม ตังตุยามา พุทธังติธัมโม จะสัจจังโธติ

ณ บัดนี้ อัตมาภาพจะได้วิปัสณาประจำวันเทศนาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เสริมสัทธา ความเชื่อและอิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลายไที่เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา

อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายว่าได้ยุติลงด้วยเวลาธรรมเทศนานี้เป็นธรรมเทศนาพิเศษ ปรากฏเหตุตามเป็นที่จำพรรษา และวันนี้เป็นวันแรกของการเข้าพรรษา พุทธบริษัทก็ถือว่าเป็นอภิรักษ์จิตสมัย คือ เวลาที่จะต้องกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าจะต้องกระทำอะไรกันบ้างและก็ร่วมมือกันทำในสิ่งที่จะต้องร่วมมือกันทำ และก็ทำให้ดีอย่างสุดความสามารถของตน ในส่วนที่เป็นประโยชน์ทั้งส่วนของตนเฉพาะคน

โอกาสของการเข้าพรรษานี้โดยความมุ่งหมาย ก็จัดไว้เป็นเวลาสำหรับจะทำอะไรให้ดีที่สุด เป็นธรรมเนียมสืบกันมาอย่างนี้ สำหรับแรกเริ่มทีเดียวนั้นมันก็เป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์มากกว่าเรื่องของ คฤหัสถ์ เพราะว่าในสมัยพุทธกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ก็มีเรื่องส่วนภิกษุสงฆ์มากกว่าที่จะมาเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์หรือจะถือว่าเป็นเวลาที่ไม่ได้จารึกไปสั่งสอนประชาชน จึงมาโอกาสทำหน้าที่ของตนเป็นพิเศษ เนื่องด้วยฤดูฝนไม่สะดวกในการที่จะจารึกไปและก็เป็นธรรมเนียนของนักบวชทั้งหลายไม่ว่าในศาสนาไหนก็ล้วนแต่หยุดจำพรรษาอยู่นะที่แห่งใดแห่งหนึ่งไม่จารึกไปที่ต่าง ๆ ด้วยกันทั้งนั้นข้อนี้ย่อมเสมอกันสำหรับนักบวช จึงมีเหตุผลในข้อที่ว่าไม่สะดวกอย่างหนึ่งแล้ว

ยังเป็นฤดูที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารงอกงามทั่วไปหมดเป็นเหตุให้เหยีบย้ำสิ่งเหล่านั้นโดยไม่จำเป็น หรือว่าอีกอย่างหนึ่งก็เป็นเวลาที่ควรจะจัดไว้เป็นพิเศษสำหรับบำเพ็ญสมณกิจของส่วนของตนก็ยังจะมีเหตุผลข้ออื่นอีกบ้างสำหรับที่จะไม่จารึกไป คือความว่า อยู่กับที่ตลอด 3 เดือน ฤดูฝนกระทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งทำให้ดีในเมื่ออยู่กับที่อย่างนี้ได้มากเพียงไร มาบัดนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงบ้าง คือว่าอาวาสหรือ อารามของภิกษุสงฆ์นั้นอยู่ใกล้กับหมู่บ้านไม่เหมือนสมัยโบราณที่อยู่นอกเมืองหรือไกล ก็มีการสัมพันธ์กันด้วยกิจการที่แปลงพิเศษออกไปหลายอย่าง ที่ไม่มีโอกาสที่จะทำอะไร ๆ เป็นการร่วมมือกันอย่างที่ว่า ท่านทั้งหลายได้มาที่นี้ในวันนี้ก็หวังว่าจะทำอะไรหลาย ๆ อย่างนับตั้งแต่วันรับศีล แล้วก็ฟัง สวดพระพุทธมนต์แล้วฟังธรรมเทศนาตลอดถึงถวายทานมีผ้าจำนำพรรษาเป็น ต้น ซึ่งก็เป็นประเพณีอย่างนี้กันมาแล้ว ซึ่งไม่เคยมีในลักษณะอย่างนี้ในครั้งพุทธกาล ดังนั้นในวันนี้จะมีวิธีการต่าง ๆ หลายอย่าง พิธีเหล่านี้จะต้องทำให้ถูกต้อง การจะทำให้ถูกต้องก็ต้องรู้เรื่องราว รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมายของสิ่งนั้นๆ จึงควรจะได้พิจารณาดูเหมือนกับเป็นการเตือนกันประจำมี ที่นี้ตั้งแต่ว่า ในพรรษานี้ก็จะต้องรักษาศีล อย่างน้อยก็ตั้งรักษาศีลให้เป็นพิเศษอย่างน้อยก็ต้องมากกว่านอกพรรษา อย่างเช่นว่า รักษาอุโบศกศิลตลอดพรรษาบ้าง หรือแม้แต่รักษาศีลห้า ก็ให้เคร่งขัดที่สุด จะทำจิตอย่างอื่นก็อธิทานจิตที่ทำตลอดพรรษาจะเว้นสิ่งที่ควรเว้นเฉพาะตนเป็นคน ๆ ไป ก็ถือเป็นพิเศษตลอดพรรษาอย่างนี้เป็นต้น ในส่วนการให้ทาน ก็มีการให้ทานที่สม่ำเสมอ บางอย่างบางประการ

แล้วแต่ความพอใจของตน ตามสัตธา ตามสติกำลังจนตลอดพรรษาดังนี้ก็มี ที่สูดขึ้นไปก็อาจจะมีบุคคลตั้งใจที่จะเจริญสมาธิภวานาตามที่จะทำได้อย่างไรจนตลอดพรรษา รวมความแล้วก็เหมือนกันอยู่ข้อหนึ่ง ที่ว่าจะบังคับตัวให้ทำให้ดีที่สุดในวันเข้าพรรษาตลอด 3 เดือนแม้ภิกษุสามเณรก็มีการกระทำที่มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกันเป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณ เช่นว่า สวดมนต์ไม่ขาดสักวันหนึ่ง แล้วก็ถือธุดง ข้อหนึ่งหรือหลายข้อแล้วแต่จะสามารถทำได้ในพรรษา หมายความว่า อย่างน้อยที่สุดในพรรษานี้ก็จะมีการถือธุดงค์ถ้าหากว่ามันไม่อาจจะทำได้ตลอดปีมันมีการกระทำอย่างอื่นอีก ซึ่งมีการอถิธานจิตจะกระทำให้สม่ำเสมอล้วนแต่เป็นการขูดเกากิเลศให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และการศึกษาเล่าเรียนธรรมในปริยะก็จัดกันในพรรษาเพราะว่าสะดวกเหมาะสมจึงมีการเล่าเรียนทางปริยะอย่างเป็นระเบียบมากที่สุดนี้ก็เรียกว่า แม้ในฝ่ายภิกษุที่อยู่ที่วัดวาอารามก็มีการกระทำอะไรบางอย่างบางประการเป็นพิเศษในพรรษา จึงขอให้ทุกคนพยายามกระทำอย่างนั้น ไม่ใช่มุ่งหมายที่จะรักษาธรรมเนียนประเพณีเหมือนที่เขาชอบพูดกันโดยมาก จะมีความมุ่งหมายว่า จะทำให้ดีที่สุดโดยสักระยะหนึ่ง ในเมื่อไม่อาจจะทำได้ตลอดปี เหลือแต่จัดให้เหมาะสมที่สุดสำหรับเวลาที่เป็นฤดูฝนอย่างนี้เป็นต้น เดือนนี้สังเกตดูรู้สึกว่ามันเหนื่อย ๆ เรื่อยเฉย ๆ ไปในหมู่ภิกษุสามเณรที่จะทำอะไรให้ดีในพิเศษในพรรษา จึงหวังว่าคงจะลื้อฟื้นกันขึ้นมาใหม่และสามารถที่จะจัดหรือจะทำในลักษณะที่จะมีผลดีที่สุด ให้ผลตามที่ว่า ได้สละบ้านเรือนออกมาบวชเป็นบรรพชิต ยิ่งสำหรับผู้ที่จะบวชเพียง 3 เดือนด้วยแล้วก็ยิ่งจะต้องทำให้มากเป็นพิเศษ ก็เป็นโอกาสที่ดีอย่างให้ความโลเล อ่อนแอ เป็นต้นครอบงำเลย

บัดนี้เป็นเวลาแสดงธรรมจะเรียกว่า ตามธรรมเนียมประเพณีก็ได้ ก็พอถึงวันเข้าพรรษาก็มีแสดงธรรม แต่ว่าน่าจะแสดงกันตามประเพณีก็ควรจะได้ผลให้มากที่สุดเป็นประเพณีด้วยเหมือนกัน ถ้าไม่ตั้งใจฟังไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่ มันก็ต้องเรียกว่า เสียประเพณีของการฟัง คือไม่ฟังให้ดีเป็นพิเศษ ในวันแรกนี้ คิดอยู่ว่าจะแสดงธรรมเรื่องอะไรดี ก็เลยนึกได้ว่า เป็นเรื่องตั้งต้น หรือเป็นเรื่องแรกที่สุดเป็นประจำปี เมื่อคิดอย่างนี้ก็เห็นว่าเรื่อง พระรัตนไตรนั้นแหละ ควรจะนำมาแสดงกันในวันนี้ เพราะถือว่าเรื่องพระรัตนไตรนั้นถือว่าเป็นเรื่องแรกของทุกเรื่อง ไม่ว่าจะมองในแง่ใดนั้น พระรัตนไตรคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้จะต้องมาก่อนเสมอ แม้แต่พูดถึงเป็นอยู่ตลอดปีอันนี้ก็ต้องตั้งต้นขัดเกลากันใหม่ในเรื่องความเข้าใจ ในเรื่องความตั้งใจ ที่จะปฏิบัติให้สมกับที่ถือพระรัตนไตรนั้นเป็นสรณะ แม้ประเพณีก็มีการรับสรณาคมก่อนแล้วจึงรับศีล

จึงทำทานนี้ก็เพราะว่าเป็นเรื่องที่จะต้องนึกถึงก่อน ถ้าคนเราได้ตระเตรียมจิตใจของตน ให้มีความเหมาะสมในการระลึกนึกถึงคุณพระรัตนไตรก่อนแล้วมันก็เหมาะสมที่จะทำอะไรต่อไป ดังนั้นในวันนี้ก็จะพูดกันถึง เรื่องของพระรัตนไตร คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และจะได้แสดงโดยหัวข้อที่ได้ยกขึ้นไว้ เป็นเหพระบทที่ได้ยกข้างต้นนั้น พระบาลีที่กล่าวถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีอยู่แปลก ๆ กัณฑ์หลายสิ่งหลายอย่างในวันนี้ก็จะนำมาสักแบบหนึ่ง คือธรรมทำวัตรเย็น อย่างแบบโบราณ สำหรับพระพุทธเจ้านั้นก็มีบทบาลีว่า โยสังนิสินโน โวลาโกทิมูเร มารังสเตนัง สุขิตัง วีเชยะ พระผู้พระพากเจ้าพระองค์ใดประทับนั่งแล้วที่โคนแห่งต้นโพธิ์อันประเสริญ จึงชนะซึ่งมารและเสนาเป็นอย่างดีที่สุด สังโฆสิมาทัดชิ อนันตญาโน เป็นบุคคลที่ผู้มีญาณอันไม่มีที่สุด ถึงแล้วซึ่งการตรัสรู้พร้อม โลกุตโม ตังอัตมา มีพุทธธัง เป็นบุคคลสูงสุดในโลกพระองค์ใด ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการ แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใจความที่ควรจะสังเกตศึกษาก็มีอยู่ว่า ประทับนั่งที่โคนต้นโพธิ์อันประเสริฐแล้วก็พึงชนะมารและเสนาได้เป็นอย่างดี ความหมายข้อนี้จะมองกันในแง่ของประวัติตามธรรมดาก็ได้ คือพระองค์ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วแต่ที่นี้มันมีสิ่งที่ควรสังเกตเกี่ยวกับบาลีคำนี้มีว่า วิเชย วิพึงชนะ ซึ่งมันแสดงใจความไปอีกใจความหนึ่งได้ว่า เขาประทับนั่งที่โคนต้นโพธิ์จึงได้ชนะมาร และควรจะใช้ได้สำหรับคนทั่วไปด้วย ว่าถ้านั่งที่โคนต้นโพธิ์แล้วก็จะชนะมาร ดังนั้นลองพิจารณากันต่อไปอีกว่า คนทั่วไปจะไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ได้อย่างไร เพราะว่าคนทั่วไปนี้มันนั่งอยู่ใต้ต้นความโง่ มีอวิชาบ้าง มีโมหะบ้าง สุมอยู่บนศรีษะ อย่างนี้เรียกว่ามันนั่งอยู่ใต้ต้นความโง่ มันจึงไม่สามารถที่จะชนะมารแต่ถ้านั่งกันใต้ต้นโพธิ์คือความฉลาด มันก็ต้องชนะมารแน่ ทำอย่างไรจึงทำให้สติปัญญามาเป็นเหมือนกับต้นโพธิ์ขึ้นอยู่บนศรีษะนั้นแหละเป็นสิ่งที่ควรประสงค์ การที่จะให้โพธิหรือปัญญามาปรากฏแก่จิตใจตลอดเวลาราวกับว่ามุ่งบังอยู่บนศรีษะนี้ไม่ใช่เป็นของง่ายนัก จงพยายามเป็นพิเศษนับตั้งแต่ ศึกษาให้ดี คิดนึกให้ดี สังเกตให้ดี จนกระทั้งเกิดความรู้ความเข้าใจแจ่มแจ้งเคยชินเกิดขึ้น นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์อย่างนี้เรื่อง ๆ ไปก็จะต้องชนะมารและเสนาได้สักวันหนึ่งเป็นแน่นอน เมื่อถือเอาคติอันนี้ ทุกคนก็ควรจะพยายามทำให้ดีให้ยิ่งขึ้นไปจะได้นั่งอยู่ใต้โคนต้นโพธิ์ สิ่งที่เคยกระทำผิดพลาดไปแต่วันหลังก็ควรจะน้อยลง เรื่องความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความกำหนับยินดีเป็นต้น ก็ควรจะน้อยลง เรื่องเกี่ยวกับความโกรธ ความพยาบาท ความประพฤติร้าย ก็ควรจะน้อยลง เรื่องเกี่ยวกับความหลง ความโง่ ความมัวเมามันก็ควรจะน้อยลง จะน้อยลงทุกปีแล้วก็น้อยลงเป็นพิเศษในโอกาสของการเข้าพรรษาอย่างนี้ นี้เราจะนั่งใต้โคนต้นโพธิ์เรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะชนะมารและเสนา มารก็คือกิเลส เสนามารก็คือกิเลสเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือจะอธิบายให้กว้างขวางออกไป ถึงกิเลสถัสมาร ขันถุมาร เถวะถุมารอะไรก็ได้ จะเป็นมารไหนก็ได้ล้วนแต่จะชนะได้ด้วยการที่นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ทั้งนั้น นั้นก็เลิกนั่งใต้ต้นความโง่กันเสียก็แล้วกัน

บทต่อไปที่มีอยู่ว่า สัมโพธิมา ถัดชิ อนันตยาโน เป็นผู้มีญาณอันไม่มีที่สุดผู้ถึงแล้วซึ่งสัมโพธิ นี้เป็นบทประกอบ และเมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์สำเร็จประโยชน์แล้วก็ย่อมจะเกิดญาณ คือ ความรู้ พระโพธินั้นหมายถึงความรู้ ญาณนี้ก็หมายถึงความรู้ ความรู้เป็นอนันตะ หมายความว่ารู้รอบไม่มีอะไรที่ไม่รู้ ก็ถึงซึ่งสัมโพธิ ก็คือ ความรู้พร้อม นี้หมายถึงขณะหนึ่งหรือโอกาสหนึ่งจะเกิดอาการอย่างนี้ขึ้นมา คือบรรลุญาณสูงสุด บทต่อไปก็มีว่า โลกุฏโม ตังปัณตมา พุทธัง โลกุฏโม เป็นบุคคลสูงสุดในโลก พระองค์ใดเป็นอย่างนั้นข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการ

ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ความหมายข้อนี้ก็มีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่สูงสุดในโลก ไม่ว่าจะมองกันในลักษณะไหน ก็เป็นอันว่าหมดปัญหาไป ก็คือไม่มีใครดีกว่าพระพุทธเจ้าหรือสูงไปกว่าพระพุทธเจ้า ประเสริฐไปกว่าพระพุทธเจ้า นั้นจึงควรที่จะนอบน้อมและจึงควรเอาเป็นสรณะ การไหว้เฉย ๆ ไหว้แล้วไหว้อีกอย่างละเมอ ๆ นั้นไม่ได้นับรวมอยู่ในข้อนี้ ปัณนมามินี้ มันเป็นการนอบน้อมด้วยความรู้สึก เมื่อนอบน้อมด้วยความรู้สึกมันก็มีการปฏิบัติตาม มีความเคารพ มีความเอื้อเผื่ออย่างยิ่ง ไม่ใช่ว่าทำอย่างนกแก้วนกขุนทอง มันสวดร้องอย่างนกแก้วนกขุนทอง หรือจะก้ม ๆ กราบ ๆ มันก็ทำไปเพราะพอเป็นพิธี ทำอย่างนี้ทำจนตายก็ไม่เป็นการนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าเลย ขอให้พิจารณาดุให้ดีว่าความหมายสำคัญนั้นมันอยู่ที่ตรงไหน

การนอบน้อมมีความหมายสำคัญอยู่ตรงที่ว่าทำตามหรือเชื่อฟัง เดียวนี้บางคนแม้แต่เป็นพระเป็นเณร วันหนึ่งก็ไม่เคยนึกถึงพระพุทธเจ้ามีการกระทำอะไรหลาย ๆ อย่าง อย่างลวก ๆ อย่างสับเพ้าอยู่เสมอ ๆ มันก็ดีแต่คุยกัน เป็นพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นอนเสียดีกว่า ทั้งที่การนอนมันก็เป็นการเลวที่สุดอยู่แล้ว ถ้าคุยกันในเรื่องที่ไม่ประกอบไปในธรรมแล้วยังนอนเสียดีกว่า พวกคนที่คุยกันโดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ประกอบไปในธรรมนั้นเป็นคนที่ไม่เคารพพระพุทธเจ้า แม้จะบวชเข้ามาในพระศาสนานี้แล้วมันก็เป็นแต่เล่นละคร นั้นจึงข้อร้องว่าภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ซึ่งเข้ามาสู่ศาสนานี้จงได้ระมัดระวังให้มากอย่าเอาแต่ความสะดวก เลยชินในการเล่นหัวแล้วก็ไม่ยอมละ บวชแล้วก็ยังเล่นหัวเหมือนกับไม่ได้บวช อย่างนี้ไม่ใช่คนที่นับถือพระพุทธเจ้า จะต้องระวังให้ดีจนเหมือนกับว่า

ถ้าพระพุทธเจ้าเผอิญท่านเสร็จมาเห็นเสร็จมาจริง ๆ แล้วก็อย่าให้มีกล่าวตำหนิเลย อย่าให้ท่านพระพุทธเจ้านั้นมีช่องมีโอกาสที่จะกล่าวตำหนิอะไรออกมาเลย ขอให้ทุกคนที่เป็นพุทธบริษัทนั้นจะทำอะไรสักหน่อยก็ต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ต้องตั้ง นะโมก่อน แล้วจึงทำสิ่งที่จะต้องทำต่อไป ไอท่องนะโมก่อนนี้แหละเป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนแล้วจึงจะทำอะไรลงไป ถ้ามีเรื่องอะไรขึ้นมาให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน จะตีแมว จะด่าสุนัข ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนมันก็ตีไม่ได้หรือด่าไม่ได้ อย่าว่าจะแต่จะตีคนด้วยกันเลยหรือด่าคนด้วยกันเลย ถึงภิกษุสามเณรก็เหมือนกันที่พูดจาเล่นหัวออกกิริยาท่าทางออกอย่างคนไม่สำรวมนั้นมันทำไม่ได้

ถ้าทำอะไรนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนอยู่เสมอ ตั้งหลักไว้ว่าเราจะทำอะไรเราต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าท่านก่อน ท่านจะว่าอย่างไร ถ้าสมมุติว่าถ้าท่านมาเห็นแล้วท่านจะว่าอย่างไร ถ้านึกอยู่อย่างนี้นี้ตลอดไปก็ไม่มีโอกาสที่จะไปทำสิ่งที่โรเร เหลวไหล หละเหละที่ทำผิดวินัย แล้วนั้นแหละชื่อว่าเป็นผู้ที่นอบน้อมเคารพอย่างสูงสุดต่อพระพุทธเจ้านั้น แม้จะอยู่คนเดียวไม่มีใครเห็นก็ไม่มีทางที่จะทำอะไรผิดผลาดออกไปได้ ก็คอยนึกอยู่ว่าพระพุทธเจ้าท่านจะมาเห็น ถ้าท่านมาเห็นแล้วท่านจะว่าอย่างไร เดียวนี้เราไม่ได้คิดกันถึงขนาดนี้โดยมากก็ปล่อยไปตามเรื่อง เดียวนี้จะต้องขอร้องว่าในพรรษาอย่างทำอย่างนั้นเลย จงพยายามทำให้ดีที่สุดจนตลอดพรรษาในทุกอย่างทุกประการเทิด ทั้งภิกษุหนุ่มและสามเณร ทั้งภิกษุกลางหรือภิกษุซึ่งเป็นเถระกระทั้งถึงอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่ยังอยู่ประถมวัย มัธิยมวัย ประทิมวัยก็ตาม

ถ้าทำอยู่อย่างนี้นั้นแหละเรียกว่านั่งอยู่ใต้โคนต้นโพธิ์ คือมีบารมีของพระพุทธเจ้ามาคุมอยู่บนศรีษะก็ไม่ต้องนั่งใต้ต้นความโง่อีกต่อไป เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าก็มีใจความสั่น ๆ อย่างนี้ ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของพระธรรม ก็มีบาลีเกี่ยวกับพระธรรมว่า อะทังธิโก อะริญะปะโถ ชะนานัง หนทางอันประเสริฐประกอบไปด้วยองค์ 8 สำหรับสัตว์ทั้งหลาย โมกษะ สะเวชายะ อุชู สะมะโฆ เป็นหนทางอันตรงที่จะเข้าไปสู่โมกษะ คือความหลุดพ้นจากความทุกข์ ธรรโมปัญญัง สังติกะโรปัญนีโต พระธรรมนี้เป็นเครื่องพระธรรมสัณติบทโดยสัณทานเป็นธรรมอันประณีต นิญาธิโกตัง สังนามานิ ธรรมัง เป็นธรรมนำสัตว์ออกจากความทุกข์อันใดข้าพเจ้าขอนอบน้อมอย่างยิ่งซึ่งพระทำนั้น ไร่มาดูตามลำดับก็มีหลักที่สำคัญว่า หนทางอันประเสริฐนั้นเป็นทางตรงนั้นประกอบไปด้วยองค์ 8 สำหรับสัตว์ทั้งหลายจะได้เข้าไปสู่โมกคะ หรือโมกษะ คือความหลุดพ้นจากความทุกข์ นั้นได้เรียกว่า พระธรรม พระธรรมคือหนทาง นี้อาจเป็นเรื่องของจิตใจ ก็มีความหมายว่า ทางนี้เป็นทางของจิตใจที่จะต้องเดินไป เป็นทางที่จะต้องประกอบไปด้วยองค์ 8 คือเรารู้จักกันอยู่ว่า อัตทัง อุตะมะ มีสำมาฐิทิเป็นต้น มีสำมาสมาธิเป็นประโยชน์สาร ส่วนทางทางตรงนั้นก็หมายความว่า ทางนั้นเป็นทางเส้นเดียวตรงไปยังจุดหมายปลายทาง นั้นคือ พระนิพพาน พระนิพพานนี้มีชื่อเรียกมากมายหลายสิบอย่าง

แต่ทีนี้เรียกว่า โมกคะ หรือจะเรียกว่า โมกเฉย ๆ ก็ได้ ตามภาษาธรรมดาคำนี้แปลว่า เกลี้ยง ภาษาธรรมะนี้ก็แปลว่า หลุดพ้น คือไม่มีอะไรมาจับ มาติด มายึด อย่างนี้เขาเรียกว่า หลุดพ้น เป็นจิตที่เกลี้ยงจากความยึดมั่นถือมั่นในทุกอย่างทุกประการ เพราะว่าจิตนี้ได้เดินทางมาตามทางตรงอันนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ 8 ดังกล่าวแล้วนี้คือพระธรรม ทางนี้คือ พระธรรม เป็นเครื่องพระธรรมทางสันติบทและอันประณีตเป็นเครื่องน้ำสัตว์ออกจากทุกข์ ความหมายก็เหมือนกับบทบาลีอื่น ๆ ที่กล่าวถึงพระธรรมที่สวดท่องกันอยู่เป็นประจำ เป็นเพราะเหตุว่าใจความสำคัญเกี่ยวกับพระธรรมมันก็มีแต่อย่างนี้ แต่ถ้าสังเกตดูให้ดีมันก็จะมีความรู้เพิ่มขึ้นว่าท่านไม่ได้กล่าวถึงปริยติธรรมและยิ่งกว่านั้นอีกไม่ได้กล่าวถึง พระติเวคธรรม มากมายนัก ยังไม่ได้กล่าวถึงศึกษาเล่าเรียนอย่างปริยัต ไปกล่าวถึงการปฏิบัติเดินไปตามทาง และเมื่อเดินไปตามทางแล้วมันก็ได้ผลเอง เอยชื่อถึงโมกษะหน่อยหนึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง ธรรมทั้งหมดระบุถึงตัวทางปฏิบัติที่ประกอบไปด้วยองค์ 8 ที่ถูกต้องที่ตรง

ที่ประณีตที่พระธรรมสันติได้ปรากฏ ก็นำกลับไปสู่จุดหมายปลายทาง ถ้าเราจะเคารพนพนอบต่อพระธรรมจริงก็ไม่มีอะไรไปมากกว่าอุสาเดินทางไม่ต้องเดินไปไหน ไม่ต้องไปอินเดีย ไม่ต้องไปกรุงเทพ ไม่ต้องไปที่ไหนก็ยังเป็นการเดินทาง นี้ก็ทำจิตให้สูงขึ้น ๆ ตามลำดับ ให้สงบยิ่งขึ้นก็ได้ ให้เสงี่ยมยิ่งขึ้นก็ได้ให้ดำรงอยู่ด้วยธรรมที่เป็นทาง ที่ธรรมะ 8 ประการ ที่ทำอยู่อย่างนี้เรียกว่า นอบน้อมซึ่งพระธรรม พูดกันแต่ปากมานานนักหนาแล้ว ก็เลื่อนขึ้นมาเป็นการกระทำเป็นสิ่ง ๆ บ้าง ก็จะได้มีพระธรรมอยู่ที่เนื้อที่ตัว ก็อยู่ที่กาย ที่วาจา ที่ใจ และอยู่ที่ตัว อยู่เป็นตัวไปเสียเลยก็ได้ สำหรับผู้ที่ยากจะมีตัว ก็ต้องสอนให้มีพระธรรมนี้แหละเป็นตัว อย่ามีกิเลสตัญหาอุปาฐานว่านี้เป็นตัวของกูอีกเลย นั้นมันจะกัดเอา ตัวกูของกิเลสชนิดนั้นจะทำให้เกิดความทุกข์ ทุกข์ที่ที่มีมาหรือเกิดขึ้นมิฉะนั้นมันจะกัดเอา แต่ถ้ามีพระธรรมเป็นตัว มันก็มีแต่ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ เรามีความสะอาด สว่าง สงบอยู่เป็นผลเป็นกำไร คือเรียกว่า เคารพพระธรรมต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเกิดว่าแต่ปากเดียวนี้ก็เป็นแต่เรื่องที่ทำได้ จะถือหลักอย่างเดียวกันกับพระพุทธเจ้าก็ได้ ว่าถ้าจะทำอะไรก็ต้องนึกพระธรรมก่อน เพราะว่าจะเอาพระธรรมเป็นตัวเป็นภะชี เอาพระธรรมเป็นตัวเรา

ถ้าไม่ระวังอยู่อย่างนี้กิเลสก็จะเข้ามาเป็นตัวเราเมื่อได้รับอารมณ์ทางตาเป็นต้น มีอัตตะ มีเวทนา หรือมีความโง่หลงอวิชาเข้ามา มันก็เป็นตัญหาเป็นอุปาฐานและก็เป็นทุกข์ ในอุปาฐานนั้น ไอ้ตัวตัวของกูนั้นก็คืออุปาฐานนั้นเอง นี้จึงต้องระวังให้ดี ให้เป็นธรรมะให้เป็นหนทางอันประกอบไปด้วยองค์ 8 เป็นต้น นี้จะเป็นตัวที่เป้นอย่างนั้นแล้วธรรมะก็จะเป็นตัวของจิต นี้มันสำหรับพระสงฆ์ก็มีพระบาลีว่า สังโฆวิสุทโธ โอระภักขินาโย พระสงฆ์เป็นผู้หมดจดพิเศษ เป็นพระขินายะบุคคลอันประเสริฐ สังขิทิโน สัตพาวะระตินาโย เป็นผู้มีอินทรีอันสงบระงับ เป็นปุระได้เสียซึ่งมลทินทั้งปวง ทินเนหิเนเก อะทินิอิปัตโต เป็นผู้ถึงแล้วเป็นความสำเร็จในคุณ เป็นอันเณก อะนาตะโว กังปัณนะมา อะวิสังฆัง เป็นผู้หาอาสะวะบิได้สิ่งใดเราขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์นั้น พระสงฆ์เป็นผู้หมดจดวิเศษ นี้ต้องถึงประสงฆ์ผู้สูงสุดระบุเป็นพระอรหันต์ ที่นี้พระสงฆ์ที่รองลงมาก็คือผู้กำลังจะเป็นอย่างนั้น แม้แต่สมมุติสงฆ์ที่เขาเรียกกัน ถ้าจะเป็นสมมุติสงฆ์ที่ดีและก็เป็นผู้ที่กำลังกระทำอยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือจะทำเพื่อความหมดจดวิเศษขึ้นมานั้นเอง นี้เรียกว่าวิสุตโท สำหรับพระสงฆ์นี้ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นบรรพชิตเสมอไป

ถ้าผู้ใดมีความหมดจดแห่งจิตใจแล้วก็เรียกว่าพระสงฆ์ได้ทั้งนั้น แม้แต่เป็นฆราวาสอยู่ที่บ้านที่เรือน ที่ยังทำให้เป็นให้ปฏิบัติที่พระธรรมให้เป็นโสดาบันก็ได้ ปฏิฆา ฆามีก็ได้ กระทำพระอนาฆามีก็มีในบางกรณี ก็รวมนับอยู่ในสงฆ์นี้ก็ด้วยเหมือนกัน จึงเป็นผู้หมดจดมาตามลำดับ หรือว่าจะมีการบันญัติเฉพาะลำดับ เมื่อได้บริสุทธิ์หมดจดแล้วก็เรียงลำดับเรียกว่า ปริสุตโทได้โดยระดับนั้น ๆ คำว่าสังปุญชะโย มีอินทรีอันระงับแล้ว นี้หมายความว่ามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระงับแล้ว คืออินทรีนี้ไม่ถูกดึงไปตามอำนาจของกิเลส ตาต้องไม่ถูกรูปที่สวยงามดึงไป หู ก็ไม่ถูกเสียงที่ไพเราะดึงไป จมูก ก็ไม่ถูกกลิ่นที่หอมดึงไป ลิ้น ก็ไม่ถูกรสอร่อยดึงไป กาย ก็ไม่ถูกการปะทะอันนิ่มนวลดึงไป จิต ก็ไม่ถูกกามารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหลดึงไป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ทั้งหมดนี้เรียกว่าอินทรี อินทรีเหล่านี้มันถูกระงับเพราะไม่มีอะไรมาฉุดกระชาก ก็มีการสำรวมดี ก็มีการลำดับต้นเหตุของกิเลสที่จะมารบกวนอินทรีถ้าเข้าใจเรื่องนี้ก็ต้องคอยสังเกตุเมื่อ ตา มันตกเป็นทาสของรูปหรือว่า หูมันตกเป็นทาสของเสีย จมูก มันตกเป็นทาสของกลิ่น ลิ้น ก็ตกเป็นทาสของรส กาย ก็ตกเป็นทาสของสัมผัสทางผิวหนังซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งราคะกิเลสยิ่งกว่าสิ่งใด จิตก็ตกเป็นทาสของความคิดนึกที่ทำให้จิตนั้น เขริบเคิ่มหลงไหลมัวเมา มันควบคุมไว้ได้ด้วยสติแล้วเรียกว่า มีอินทรีอันระงับ บทถัดไปก็เป็นเครื่องรับรองอยู่ อะสับพะมะระปะฮีโน เป็นปุระแล้วซึ่งมลทินทั้งปวง มลทินของสกปรกก็ได้แก่พวกกิเลส คนที่เขาละได้แล้วเพราะมีอินทรีระงับนั้นแหละ มันก็เป็นเหตุละมลทินทั้งปวงได้

ไอ้ข้อที่ว่า ถึงแล้วซึ่งความสำเร็จด้วยคุณทั้งหลายเป็นอเนกหมายความว่า คุณใดที่เป็นที่ปราถนา ก็บรรลุแล้วซึ่งคุณนั้น ๆ สำหรับคนธรรมดามันก็มีคุณต่าง ๆ เรื่องโลก เรื่องบ้าน เรื่องเรือน แต่สำหรับอริยเจ้าก็มีคุณตามแบบของอริยเจ้า เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นวิมุล วิมุลติญา อะทัสนะ แล้วก็ยังมีญาณอันเป็นพิเศษอื่น ๆ บุบเพนิวา สานุปัตติยา อะไรก็ตามล้วนแต่เป็นคุณมากมายที่ศาสนา คุณเหล่านี้พระสงฆ์เป็นผู้บรรลุแล้ว บทว่า อะวาสโน แต่ก็ไม่มี อาสะวะ คือไม่มีการหมักหมมของชีวิต เมื่อไม่เกิดกิเลสก็ไม่มีความเคยชินแก่กิเลสจนกระทั้งว่ามันไม่อาจจะเกิดกิเลสได้อีกต่อไปอย่างนี้เรียกว่า เป็น อะนาตะโว ไม่มีเครื่องหมักดองอยู่ในสันดารอันเป็นเหตุให้เกิดกิเลส

บางคนก็ไปคิดสะว่ามันเป็นเชื้อเปรี้ยวบูดที่หมักไว้แล้วเกิดเป็นอาการบูดเหม็นขึ้นมาอย่างนี้ก็ได้เหมือนกันก็เรียกว่า อาสะวะได้ แต่ถ้าพูดกันตรง ๆ ก็คือความเคยชินในการที่จะเกิดกิเลส เมื่อมีกิเลสบ่อยเข้า ๆ มันก็มีความชินขึ้นจะเกิดอย่างนั้นมากเข้าความเคยชินนั้นแหละคือ อาสะวะ เครื่องหมักดองไม่มีความชินเหลืออีกต่อไปกิเลสก็เกิดไม่ได้ก็หมดอาสะวะ ทีนี้มีบทสุดท้ายเกี่ยวกับผู้อื่นว่า วาระภักขินายะ บุคคลอันประเสริฐ หมายความว่า พระสงฆ์นี้ทำหน้าที่ส่วนตัวของท่านบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนไปแล้ว นั้นก็ยังมีหน้าที่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลอื่นเป็นภักขินายะบุคคล เป็นผู้ควรแก่ภักขินา หมายความว่าถ้าผู้ใดมาเกี่ยวข้องกับท่านแล้วจะได้บุญ นี้ก็เรียกว่าภักขินายะบุคคล พระสงฆ์เป็นผู้หมดจดทั้งกิเลสเลยเป็นภักขินายบุคคลยิ่งกว่าภักขินายะบุคคลชนิดไหนหมด โดยหลักการธรรมดาแล้วไม่ว่าเอาอะไรไปให้ใครแล้วได้บุญนั้นก็เรียกว่า ภักขินายะบุคคล แม้จะให้สัตว์ สัตว์นั้นก็เป็นบุญภักขินัยเพราะว่าให้แล้วมันได้บุญ เดียวนี้หมายถึงคนที่ประพฤติดีงามยิ่งกว่าสัตว์มาก นี้ก็แล้วแต่จะให้ ให้กิน ให้ใช้ก็ได้บุญ แต่ถ้าได้บุญสูงสุดแล้วก็คือพระสงฆ์ที่เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองคือคำว่า วะระภักขินาโย เป็นภักขินายะบุคคลอันประเสริฐ ไม่มีภักขินายะบุคคลที่ดีไปกว่านี้อีกแล้ว ที่เราเคารพนอบน้อมต่อพระสงฆ์นั้นเรื่องก็เป็นอย่างเดี่ยวกันอีก เรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธ พระธรรม คือจะต้องปฏิบัติตามนั้น พระสงฆ์ปฏิบัติอย่างไรเราก็ปฏิบัติตามนั้น การปฏิบัติตามนั้นชื่อว่าการเคารพ การออกปากแสดงความเคารพมันก็เป็นเพียงปากก็ได้บุญแค่ปาก หรือจะทำกริยาไหว้ ๆ กราบ ๆ มันก็ไก้บุญเพียงชั่วกิริยาอาการ แต่ถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องจริง ๆ ทั้งทางกาย วาจา ทางใจ มันก็ได้ผลสูงสุดคือเป็นการทำตามพระสงฆ์ก็กลายเป็นพระสงฆ์เสียเอง นั้นก็เป็นฆราวาสก็ได้ เป็นบรรชิตก็ได้ถ้าปฏิบัติละกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เขาก็เรียกว่า พระสงฆ์กันทั้งนั้น ซึ่งมีอยู่หลายระดับ เรียกว่าความบริสุทธิ์จากกิเลส แต่เมื่อยังไม่ถึงก็ขอให้พยายามกระทำอยู่ และหวังว่าจะถึง บทของพระสงฆ์นี้ควรจะเป็นที่เอาใจใส่สำหรับภิกษุและสามเณร ทั้งที่เคยบวชกันมาแล้วและไม่เคยที่บวชอย่าให้บิดามารดาผิดหวัง อย่ามาสร้างนรกให้แต่อุปชาอาจารย์ หากพระเณรองค์ไหนทำไม่ดีมันก็ถือว่าสร้างนรกแก่อุปชาอาจารย์ แต่อย่าคิดว่ามันจะเดือดร้อนแก่อุปชาอาจารย์ ตนเองก็จะต้องลงนรกด้วย

ถ้าทำอย่างนี้แล้วก็ผิดหวังหมด บิดามารดาก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรไม่คุ้มค่าผ้าเหลืองที่ไปซื้อหามา นั้นขอให้จดจำคุณบทของพระสงฆ์ไว้ให้ดี ๆ วะสังโฆ วิสุทโธ วะระภักขินาโย พระสงฆ์เป็ฯผู้หมดจดจากกิเลส เป็นภักขินายะบุคคลอันประเสริฐ สังทิขิโย สักปาทะรักขิทิโย มีอินทรีอันสงบลงนั้นเย็นแล้ว ระมลทินทั้งปวงได้แล้ว คุณใดที่เหล่านั้นเขาหวังกันอยู่คุณนั้นก็ได้บรรลุแล้ว อานาสะโว กังอะนะมัตติโย เป็นผู้ทิ้งอาสะวะแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการแด่พระสงฆ์นั้น ที่นี้เอามาดูพร้อมกันทั้ง 3 องค์ทั้ง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าพระพุทธเจ้านั่งใต้ต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า เราก็จะเอาอย่างท่าน อย่านั่งใต้ต้นความโง่ ความหลงใหล นั่งใต้ต้นโพธิ์ ความสะอาด ความสว่างสะไหวแจ่มแจ้ง ทำอย่างนั้นแหละคือเดินไปตามทางที่ประกอบไปด้วยองค์ 8 ทำอย่างนั้นแหละที่เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด นี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้มันแยกกันไม่ได้

ถ้าเกิดไปทำอย่างพระพุทธเข้า ก็เหมือนไปทำอย่างพระธรรม พระสงฆ์มันแยกกันไม่ได้ วันนี้เป็นวันแรกเข้าพรรษาเอาเรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาพูดกัน ข้อให้ตั้งใจดีเป็นพิเศษเพื่อว่าจะได้เป็นการตั้งต้นที่ดี ที่แล้วก็แล้วไปอย่าพูดถึงมันเลยเรื่องปีกายปีก่อนนู้นแล้วก็ไม่ต้องเอามานึกถึงอีกแต่ขอให้จำไว้เป็นตัวอย่างว่าจะผิดพลาดอีกไม่ได้ ปีนี้จะตั้งต้นทำให้ดีที่สุด ก็เลยยกเอาเรื่องแรกเรื่องต้นที่ยกมาวันนี้ ก็มาดู พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์กัน ให้ทำกาย วาจา ใจ ให้สะอาด อนุโรมตามพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่มาเทศนาในวันนี้ก็เป็นธรรมเทศนาริเริ่ม ตั้งต้น สนใจ และปฏิบัติตามพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และนอกเหนือจากนี้ เป็นการรักษาศีลบ้าง ให้ทานบ้าง และก็จะอนุโรมตามกันไม่หมด จึงข้อให้สนใจ โดยการฟื้นฟูศรัธทาความเชื่อ วิริยะ ความพากเพียนในการปฏิบัติเป็นต้นด้วยกันทุก ๆคนเทิด ธรรมะเทศนาสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35461

. . . . . . .