พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

หลวงพ่อจรัญ

เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471
อายุ 85
อุปสมบท 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2491
พรรษา 65
วัด วัดอัมพวัน
ท้องที่ สิงห์บุรี
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา นักธรรมโท
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน (จ.สิงห์บุรี)
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทยในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย

ชาติภูมิ[แก้]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า จรัญ จรรยารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ที่บ้านบางม่วงหมู่ ตำบลม่วงหมู่ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนทั้งหมด 11 คนของนายแพ จรรยารักษ์ และนางเจิม (สุขประเสริฐ) จรรยารักษ์
อุปสมบท[แก้]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
พระอาจารย์จรัญอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2491 ที่วัดพรหมบุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ เจ้าอาวาสวัดแจ้งพรหมนครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธารามเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า”ฐิตธมฺโม”
การศึกษา[แก้]

หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขา ลำเนาไพร และที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ทั้งทาง สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชากับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ ศึกษาคชศาสตร์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) อำเภอหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเรียนกับพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร) และพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) จังหวัดขอนแก่น และได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่าง จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และได้ศึกษา สมถกรรมฐาน กับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ศึกษาและปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุ จังหวัดกรุงเทพฯ และได้ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆัง จังหวัดธนบุรี และศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ จังหวัดกรุงเทพฯ และศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ. ชม สุคันธรัต
แนวทางการทำงานสืบทอดพระพุทธศาสนา[แก้]

จะใช้หนี้โลกมนุษย์ ด้วยการเผยแพร่พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่ขอสร้างวัตถุอีก

— พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธัมโม)
รางวัลที่ได้รับ[แก้]

พ.ศ. 2526
ได้รับโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นในสาขาสังคมสงเคราะห์อาสาสมัครฝ่ายกิจการพระศาสนา
พ.ศ. 2528
ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพฯ วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ในฐานะผู้ได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านส่งเสริมชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
พ.ศ. 2529
ได้รับมอบเข็มเกียรติคุณนักพัฒนาดีเด่นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองจาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
ตำแหน่งและสมณศักดิ์[แก้]

พ.ศ. 2500 – รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2501 – ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ฐานานุกรมของพระสุนทรธรรมประพุทธ (หล้า สีลวํโส) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2511 – ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ “พระครูภาวนาวิสุทธิ์” เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี[1]
พ.ศ. 2516 – เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
พ.ศ. 2517 – รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ. 2518 – ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ. 2519 – ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2525 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ. 2531 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ “พระภาวนาวิสุทธิคุณ”[2]
พ.ศ. 2535 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชสุทธิญาณมงคล ศรีพหลนราทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”[3]
พ.ศ. 2541 – ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2542 – ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2544 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระเทพสิงหบุราจารย์ ภาวนาวิธานโกศล วิมลธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”[4]
พ.ศ. 2547 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”[5]
พ.ศ. 2552 – ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี[6]

อ้างอิง[แก้]

Jump up ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 85, ตอน 122 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม พ.ศ. 2511, หน้า 20
Jump up ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอน 207 ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531, หน้า 5
Jump up ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอน 101 ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535, หน้า 8
Jump up ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 118, ตอน 24 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544, หน้า 25
Jump up ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 121, ตอน 17 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 15 กันยายน พ.ศ. 2547, หน้า 4
Jump up ↑ เสนอแต่งตั้ง พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ:
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เว็บไซต์พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล
หมวดหมู่: บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2471บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์เจ้าอาวาสเจ้าคณะจังหวัดพระราชาคณะชั้นธรรมพระภิกษุในนิกายเถรวาท (มหานิกาย)บุคคลจากจังหวัดสิงห์บุรีพุทธศาสนิกชนชาวไทยผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

ขอบคุณข้อมูล http://th.wikipedia.org/

. . . . . . .