พระราชประวัติสมเด็จพุฒจารย็โจ พรหมรังษี

พระราชประวัติสมเด็จพุฒจารย็โจ พรหมรังษี

พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชา เป็นสามเณร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่า เกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอด จนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๐๗
อ่านเพิ่มเติม

พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖

พระราชนิพนธ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖

“พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระุพุทธศาสนาเถิด……. ผู้ที่แปลงศาสนา คนดูถูกยิ่งกว่าแปลงประเทศชาติ”

“อันผู้ใดใฝ่ธรรมอยู่เป็นนิจ
และรู้จักข่มจิตไม่ย่อหย่อน
ปฏิบัติพร้อมพรั่งดั่งครูสอน
คงไม่ต้องอนาทรและร้อนใจ

ปราชญ์สรรเสริญว่าธรรมนั้นล้ำเลิศ
สุดประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งน้อยใหญ่
ธรรมคุ้มผู้ประพฤติธรรมไซร้
คงต้องได้ผลงามตามตำรา”

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ได้อันเชิญมานี้ เพื่อแสดงถึงความสำคัญของธรรมะ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งกว่าทรัพย์ทั้งมวล ถ้าผู้ใดนำไปปฏิบัติ และได้ประพฤติตามคำสอนของครูด้วยก็ย่อมจะประสบแต่ความสุขความเจริญ โดยส่วนเดียว
อ่านเพิ่มเติม

บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (สมเด็จโต พรหมรังสี)

บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (สมเด็จโต พรหมรังสี)

การปฎิบัติที่เป็นบุญ และส่งผลทันที ในชาติปัจจุบัน
คัดจาก หนังสืออมตะธรรม สมเด็จโต พรหมรังสี

วันนี้อาตมาจะเทศน์เรื่อง “บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน” คำว่าบุญ แปลแบบไทยๆ ว่าความดี ความสะอาดแห่งจิต เวลาให้ของแก่พระสงฆ์เรียกว่าทำบุญ ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนาเรียกว่าทำบุญ ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันมากมายหลายวิธี แต่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในธรรมะเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 3 ซึ่งประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา เคยมีคนถามอาตมาว่าเกิดมาเป็นคนยากจนไร้ทรัพย์จะทำบุญอย่างไร

อาตมา ก็ตอบเขาไปว่าการทำบุญ ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินเงินทอง ก็สามารถที่จะร่วมทำบุญได้ แถมยังประหยัดอีกด้วยนั่นคือ การรักษาศีลและการเจริญภาวนา ซึ่ง 2 อย่างนี้จะได้อานิสงส์ผลบุญมากกว่าการให้ทานเสียอีกเพียงแต่ญาติโยมมองข้าม กันไป โยมมักจะคิดทำบุญแต่การให้เท่านั้นเพราะว่ามันง่ายดีแต่การรักษาศีลและภาวนา ต้องเสียสละเวลาในการปฏิบัติ จึงรู้สึกว่าทำยากกว่า การทำบุญทุกอย่าง โยมต้องเข้าใจด้วยว่าเพียงแต่เราตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะทำบุญเท่านั้น โยมก็ได้กุศลแล้ว แต่บุญที่ได้รับยังเป็นส่วนน้อย ถ้าอยากได้บุญเต็มที่ต้องทำบุญให้ครบ 3 อย่าง
อ่านเพิ่มเติม

การถวายข้าวพระพุทธ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

การถวายข้าวพระพุทธ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

:: ขอกราบเท้าถามหลวงพ่อว่า ทำไมจึงมีการถวายข้าวพระพุทธ โดยมีผู้อธิบายแตกต่างไปหลายนัย

อันการถวายข้าวพระนั้น แต่เดิมครั้งสมัยพุทธันดร ขณะที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์พุทธอุปฐากแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์กตัญญู มีความเคารพนับถือองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ไม่มีอย่างอื่นใดจะเปรียบได้

เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จักเสด็จไปในที่ใดพระอานนท์พุทธอุปฐากนั้นไซร์ก็ได้ติดตามไปใกล้ชิดพระยุคลบาทมิได้ห่างเหินเลย ครั้นทรงอาพาธด้วยโรคอย่างใด พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ได้พยายามปรนนิบัติรักษาอย่างเต็มความสามารถเสมอ
อ่านเพิ่มเติม

‘ทวีเดช’วันที่’สมเด็จโตแสดงปาฏิหาริย์ขอได้ทุกเรื่อง’

‘ทวีเดช’วันที่’สมเด็จโตแสดงปาฏิหาริย์ขอได้ทุกเรื่อง’

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม

ปริศนาธรรม ท่านั่งสมเด็จฯโต

ปริศนาธรรม ท่านั่งสมเด็จฯโต

สมเด็จฯ แปลคติธรรมในท่านั่ง
จากท่านั่งของสมเด็จฯ ที่กำมือทั้งสองไว้ระหว่างอกนั้น เป็นการสร้างปริศนาให้ท่านที่มีความเคารพและศรัทธาในองค์ท่านได้ขบคิดปริศนาธรรม ทำไมท่านทำท่าเช่นนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปริศนาธรรมนี้มีความหมายอยู่ 2 ประการ สองมือที่กำซ้อนกันอยู่นั้น หมายถึงกรรม 2 อย่าง คือ กรรมดี และกรรมชั่ว การที่ท่านอยกขึ้นไว้ใกล้กับหัวใจนั้น หมายถึงใจเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้น การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา และใจ ต้องใคร่ครวญเสียก่อนว่า ที่จะทำ จะพูด จะคิดนั้น ถูกหรือผิด จะดีหรือจะชั่ว ต้องมีสติ อย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตใจ คิดและใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและสมควร

คติธรรมที่สมเด็จฯ ประทานไว้ในท่าที่นั่งของท่านนี้ จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่สาธุชนผู้นำไปปฏิบัติ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและแก่สังคม

จาก http://www.dhammajak…er/chinna01.php

ขอขอบคุณ : http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=13726

อานิสงส์จากการสวดมนต์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)

อานิสงส์จากการสวดมนต์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)

อาตมา (สมเด็จโต) ได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนตร์ด้วยตัวอาตมาเอง ในสมัยที่อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา 15 ปี โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูตผีวิญญาณ ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนต์คาถา และเล่นคุณไสยกันอยู่อย่างมากมายในอาณาบริเวณชายแดนแห่งประเทศสยามในตอนนั้น
อาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลำพัง ในช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนตร์คาถาอาคมใดเลย
นอกจากคำว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ซึ่งมีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอยึดมั่น พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
อาตมาไปที่แห่งหนตำบลใดก็จะกล่าวเพียงคำนี้ ตลอดเวลาของจิตใจอันเป็นที่พึ่งของอาตมา อาตมาเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านชายแดนแห่งประเทศสยาม ในดงพญาไฟขณะนั้น ในหมู่บ้านมีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียงเล็กน้อย อาตมาจึงได้ปักกลดอยู่ที่ท้ายหมู่บ้าน มีชาวบ้านนำอาหารมาถวายตามกำลังที่เขาจะพอทำได้ เมื่อเห็นมีพระภิกษุมาปักกลดในที่แห่งนั้น อาตมาอาศัยอยู่ที่นั้นเป็นระยะเวลาหลายปี และ ณ ที่แห่งนั้น อาตมาจึงได้พบคุณวิเศษแห่งการสวดมนต์
อ่านเพิ่มเติม

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ … สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ … สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

…ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต )

กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม

คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง

จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
คติธรรมคำสอนของ … “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ( โต พรหมรังสี )

คัดลอกจากหนังสือ เรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน
เล่มของ.. สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี
อ่านเพิ่มเติม

กรรมที่เราไม่เจอเนื้อคู่- สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี

กรรมที่เราไม่เจอเนื้อคู่- สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี

ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดกับใครไว้บ้างรึเปล่า

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดใครไว้บ้างก็ไม่รู้ด้วยคำสัญญา เช่น เราจะรักกันทุกชาติไป โดยหารู้ไม่ว่ากรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ชาติภพใหม่ก็เลยแตกต่างกันไป แต่คำมั่นที่สาบานยังอยู่ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณยังเป็นโสดจนทุกวันนี้ ลองสวดมนต์บทนี้ดูอาจจะดีขึ้นนะ คำขอขมาและอธิษฐานจิต อธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอนก็ได้

( นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ )

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงปู่โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง

คำสอนของหลวงปู่โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ครั้งหนึ่งนั้นหลวงปู่โตได้ปักกลดที่แคว้นๆหนึ่ง เจ้าเมืองแห่งนั้นก็ได้ยินชื่อเสียงของหลวงปู่มาบ้าง จึงนิมนต์หลวงปู่มาเทศนาให้คนในเมืองและเหล่าข้าราชบริพารฟังกัน

เจ้าเมือง – เราได้ยินชื่อเสียงท่านมานานแล้ว เห็นว่าท่านเทศนาได้จับใจยิ่งนักไหนลองเทศนาให้เราได้ฟังทีเถิด (ในใจก็คิดว่าท่านจะเทศนาเรื่องอะไรที่จะทำให้คนในเมืองและเหล่าข้าราชบริพารฟัง ที่จะสะกดคนทั้งเมืองให้ฟังในเทศนาของท่าน)

หลวงปูจึงนั่งสมาธิสักครู่ แล้วกล่าวว่า เราจะเทศนาเรื่องพระอรหันต์ในบ้านให้พวกท่านฟัง
ทั้งเจ้าเมืองและคนในเมืองต่างพากันสงสัยว่า พระอรหันต์ในบ้านมีด้วยหรือ

หลวงปู่ – พระอรหันต์ที่อยู่ไกลแสนไกลและฤาษีที่อยู่ในป่าพวกท่านก็ยังดั้นด้นที่จะไปหาไปกราบไหว้เนื่องจากศรัทธาที่พวกท่านมี แล้วพวกท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าพระอรหันต์นั้นมีจริง
แล้วที่พวกท่านทำบุญไปนั้นท่านจะรู้หรือไม่ว่าได้บุญจริง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านเหล่านั้นหวังสิ่งใดตอบแทนกลับมาหรือไม่ สิ่งที่พวกท่านมีในตอนนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของท่านอีกหรือแล้วเมื่อไหร่ถึงจะพอ อ่านเพิ่มเติม

การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด”(สมเด็จโต พรหมรังสี)

การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด”(สมเด็จโต พรหมรังสี)

การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด

ลูกเอ๋ย…ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง ใจน้อย โกรธง่าย ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จิตใจก็หมดความสุขสดชื่น ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่ เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น แต่จิตใจของท่าน หาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่ เจ้าจงจำไว้ว่า การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริงก็คือ การให้ธรรมะ ด้วยการสอนหลักธรรมง่ายๆให้พ่อแม่ของเจ้า พาท่านไปทำบุ_ทำทาน สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ธรรมะจะอยู่ในจิตใจของพ่อแม่เจ้าทุกภพทุกชาติ ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด เจ้าจงจำไว้นะลูกเอ๋ย…..”ธรรมโอสถ”…..คำสอนของสมเด็จโต ท่านได้บันทึกเอาไว้ด้วยลายมือของงท่าน อันเป็นอมตะวาจา……

คัดลอกจาก หนังสือ อมตะธรรมสมเด็จโต
ฟังเพลงนี้กันนะคะ http://www.youtube.com/watch?v=6I1zCyqugZ0 :) 😉 😀 ;D
อย่าลืมบอกรักผู้หญิงคนสำคัญกันทุกวันนะคะ

ขอขอบคุณ : http://www.meowwarattada.com/board/index.php?topic=471.0;wap2

หนังสือแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต

หนังสือแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต

ทรงพระเจริญ

พระราชดำรัสคุณธรรมสี่ประการ
” การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวไป ถือว่าเป็นกรณียกิจอันสำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาดสามารถ และสุจริตเป็นธรรมแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทั้งประเทศด้วย คือประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวายสร้างสรรค์ประโยชน์ และดำรงอยู่ในคุณธรรมอันสมควรแก่ฐานะของตน คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ

ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น
ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปดังประสงค์ ”
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของสมเด็จโต(สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี)

คำสอนของสมเด็จโต(สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี)

อนิสงส์ของการสวดมนต์

ทำไมเราจึงสวดมนต์ วันละ 3 เวลา ทำไมจานวาจึงสวดมนต์เป็นบ้าเป็นหลัง และขอให้แฟนบทความทุกคนหันมาสวดมนต์กัน
“หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดก็ช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นเมื่อถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย แล้วจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้าได้” เป็นคำสั่งสอนของสมเด็จโตที่ตกทอดมายังลูกหลาน ในหลายๆยุคหลายๆสมัย แต่จะมีสักกี่คนที่เห็นคุณค่าของทุกตัวอักษรที่สมเด็จทรงจารึกไว้ …
สมเด็จโตยังทรงสอนไว้อีกว่า “ การสวดมนต์ ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ เพราะประโยชน์ สูงสุดของการสวดมนต์ นั่นคือจะทำให้ท่านบรรลุผลจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ มี 5 โอกาสด้วยกันคือ
1 เมื่อฟังธรรม (สมัยพุทธกาล บางคนแค่ฟังธรรมจากพระตถาคต ครั้งเดียว ได้อรหันต์เลย มีเยอะมาก ชั่วช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น บรรลุเป็นอรหันต์แล้ว)
2 เมื่อแสดงธรรม (คือธรรมทาน การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง คือไม่ใช่เป็นผู้ฟังธรรม แต่เป็นผู้เผยแพร่ธรรมะของพระตถาคตทางใดทางหนึ่ง เช่น เขียน หรือพูดทางวิทยุออกอากาศ) พระสงฆ์ต้องแสดงธรรมโปรดญาติโยมอยู่แล้วเป็นหน้าที่ แต่ถ้าพระสงฆ์ทำอย่างอื่น นอกเหนือจากนี้จนเป็นอาชีพหลัก เช่น ดูดวงเสดาะห์เคราะห์ หาเงินรายได้ จากเครื่องลางของขลัง …เรียกว่า พระสมมุติ อ่านเพิ่มเติม

คำสอนสมเด็จโต

คำสอนสมเด็จโต

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่า “ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อยและเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีแห่งพระรัตนตรัย ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคุณวิเศษเช่นไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยเจ้ามีคุณเช่นไร การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจธรรมที่แท้ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผลจนสำเร็จจนเป็นอรหันต์

ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ๕ โอกาสด้วยกันคือ

๑. เมื่อฟังธรรมที่ถูกต้อง ซึ่งสอนเรื่องกรรม ศีล ภาวนา

๒. เมื่อแสดงธรรม คือ เมื่อเข้าใจถึงธรรมที่ถูกต้องแล้ว
(รู้ได้เองว่าเป็นโสดาบัน) ก็พอใจจะสอนธรรมให้ผู้อื่นรู้ด้วย
อ่านเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการสวดมนต์ พระธรรมคำสอนจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

ประโยชน์ของการสวดมนต์ พระธรรมคำสอนจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

การสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย
พระธรรมคำสอนจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร

การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ

• เมื่อฟังธรรม
• เมื่อแสดงธรรม
• เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
• เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
• เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ

การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม
อ่านเพิ่มเติม

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

“บุญ” ถ้าเจ้าไม่เคยสร้างไว้ ใครที่ไหนเล่าจะมาช่วยได้ลูกเอ๋ย ก่อนที่เจ้าจะเที่ยวไปอ้อนวอนขอพึ่งบารมีหลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่ง เจ้าจะต้องมีทุน (บุญ) ของตัวเอง เป็นทุนเดิมติดตัวไปบ้างก่อน ต่อเมื่อบารมีของตัวเจ้าเองยังไม่พอ จึงขอร้อง ยืมบารมีของผู้อื่นมาช่วยเหลือ ถ้ามิฉะนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะเจ้าจะต้องเป็นหนี้บุญบารมีที่เจ้าร้องขอ หรือยืมคนเขามาจนล้นพ้นตัว

ครั้นเวลาใดที่เจ้ามีโอกาสทำบุญทำกุศลบ้าง เรียกว่า พอจะมีบุญบารมีเป็นของตัวเองบ้าง เจ้าก็จะต้องไปผ่อนใช้หนี้ที่เจ้าเคยขอร้องยืมเขามาจนหมดสิ้นแทบไม่เหลือสำหรับตัวเอง แล้วเจ้าจะมีบุญกุศลใดติดตัวไว้จุนเจือตัวเองในภพหน้าที่ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นวัฏฏทุกข์ที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องรับรู้ รับทราบ ถ้าเรามั่นใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น เจ้าจงหมั่นสะสมบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างสม่ำเสมอ เทพยดา ฟ้าดินจะเอ็นดูช่วยเหลือเจ้าเอง
อ่านเพิ่มเติม

นักษัตรอริยสัจ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #12

นักษัตรอริยสัจ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #12

เรียบเรียงโดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ (ขณะนี้เป็น พันเอก)
ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร

เนื้อเรื่องตอนที่ 12
– นักษัตรหรืออริยสัจ
– นักพยากรณ์
– บอกเหตุล่วงหน้า

นักษัตรอริยสัจ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #12
LINK : นักษัตรอริยสัจ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #12 – YouTube

๐ นักษัตรหรืออริยสัจ

ท่านพระยาผู้หนึ่ง อยากจะฟังเทศน์เรื่องอริยสัจ จึงสั่งบ่าวว่าให้ไปนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเทศน์อริยสัจที่บ้าน

บ่าวนั้นรับปากแล้วก็เดินทางไป แต่ลืมเรื่องเทศน์ที่สั่งจำไม่ได้ว่าเทศน์เรื่องอะไร จำได้แต่ข้างท้ายว่า “สัดๆ” นี่แหละ นึกไปนึกมาก็เดาเอาว่า เป็นเรื่อง 12 นักษัตร

เมื่อไปถึงวัดจึงนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “เจ้าคุณที่บ้านให้มาอาราธนาเจ้าประคุณ ไปแสดงธรรมที่บ้าน ค่ำวันนี้”
อ่านเพิ่มเติม

ศรัทธาหัวเต่า – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #11

ศรัทธาหัวเต่า – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #11

เรียบเรียงโดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ (ขณะนี้เป็น พันเอก)
ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร

เนื้อเรื่องตอนที่ 11
– เทศน์แบบรับจ้าง
– ศรัทธาหัวเต่า
– นิมนต์แบบกำกวม
– วิญญาณนักเทศน์

ติดตามข่าวสาร และการแบ่งปันดีดี ได้ที่
https://www.facebook.com/SuperhumanXP
ศรัทธาหัวเต่า – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #11
LINK : ศรัทธาหัวเต่า – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #11 – YouTube

๐ เทศน์แบบรับจ้าง

มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง อยูตำบลบ้านช่างหล่อ ฝั่งธนบุรี ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปเทศน์ที่บ้าน ก่อนจะขึ้นเทศน์หญิงนั้นได้เอาเงินมาติดกัณฑ์เทศน์ 100 บาท พร้อมกับกราบเรียนว่า “ขอให้พระเดชพระคุณเทศน์ให้เพราะๆ สักหน่อยน่ะ เจ้าคะ วันนี้ ดิฉันมีศรัทธาติดกัณฑ์เทศน์พิเศษ 100 บาทเลย”

พอได้เวลา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ขึ้นธรรมาสน์ ให้ศีล บอกศักราชตั้งนะโมแล้วว่า “พุทธัง…ธัมมัง…สังฆัง…” ลงเอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ต่อด้วยยถาสัพพี แล้วลงจากธรรมาสน์หลับวัดไป หญิงคนนั้นขัดเคืองมาก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่นึกในใจว่า “เทศน์อะไรฟังไม่รู้เรื่องรู้ราว เสียแรงติดกัณฑ์เทศน์ตั้ง 100 บาท”
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิภาณไหวพริบ – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ ตอนที่ 10

ปฏิภาณไหวพริบ – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ ตอนที่ 10

เนื้อเรื่องตอนที่ 10
– ปฏิภาณไหวพริบ
– วัดคณิกาผล
– หัวล้าน – หัวเหลือง
– ล้างไม้-ล้างมือ
– วิญญาณค้างปี

ปฏิภาณไหวพริบ – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #10
เรียบเรียงโดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ (ขณะนี้เป็น พันเอก)
ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร

Link : ปฏิภาณไหวพริบ – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #10 – YouTube

( http://youtu.be/S1Zphl26nO0)

๐ ปฏิภาณไหวพริบ

ครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 4 เจ้าประคุณสมเด็จฯ เข้าไปถวายเทศนาในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย เมื่อท่านขึ้นธรรมาสน์ ตั้งนะโม ถวายศีลแล้วจึงวางตาลปัตร คว้าผ้าห่อคัมภีร์จะเทศน์ถวายต่อไป แต่ปรากฏว่ามีแต่ผ้าห่อเท่านั้น ส่วนหนังสือเทศน์ที่แต่งไว้ ศิษย์ลืมเอามา ครั้นจะเทศน์ถวายโดยใช้ปฏิภาณเฉพาะหน้า ก็ดูมิบังควร ไม่ถูกต้องตามราชนิยม เพราะประเพณีการถวายเทศนาในสมัยนั้น ผู้เทศน์จะต้องเขียนคำเทศนาลงในใบลานและเขียนลงในสมุดไทยถวายด้วย
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จใครตั้ง – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #9

สมเด็จใครตั้ง – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #9

สมเด็จใครตั้ง – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #9
Link : สมเด็จใครตั้ง – ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #9 – YouTube

ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ
โดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ (ขณะนี้ พันเอก)
ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร

เนื้อเรื่องตอนที่ 9
– เลียนแบบเลยเจอดี
– ประเพณีบอกศักราช
– สมเด็จใครตั้ง
– สมณศักดิ์กับบรรดาศักดิ์

๐ เลียนแบบเลยเจอดี

การที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ เทศน์สั้นเพียง 2-3 คำ แล้วลง เอวังนี้ ได้ปรากฏข่าวแพร่กระจายไปในหมู่พระสงฆ์ทั่วไป และต่างก็มีความคิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงผนวชนานถึง 27 พรรษา การศึกษาพระพุทธศาสนาก็ทรงแตกฉานลึกซึ้ง จนกระทั่งสามารถตั้งนิกายคณะสงฆ์ขึ้นใหม่คือ “คณะธรรมยุตินิกาย” หรือที่เราเรียกกันว่า พระธรรมยุติ ปรากฏมาจนปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .