ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม โดย ท่านพุทธทาส

ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ศรัทธาความเชื่อ
ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
หินิธัมมานิ อกุกะลัง อะเวตากะธัง อถิธัมโม อะจัง โสถะโกติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาเพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา นั่นเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาประจำพรรษาธรรมะสวรรณะพรรษา ได้แสดงมาโดยลำดับ ว่าด้วยสิ่ง 3 สิ่งเป็นลำดับมา นับตั้งแต่พระรัตนตรัย แก้วทั้ง 3 ไตรสิกขา ไตรสิกขา 3 ไตรโลกุตระธรรม ไตรที่เป็นโลกุตระ 3 ไตรลักษณ์ ลักษณะของสังขารทั้งปวง 2 ไตรลักษณ์แห่งการหมุนแบ่งได้เป็น 3 ตอน ไตรภพหรือไตรภูมิ

ระดับแห่งจิตใจที่ยังเป็นไปในภพ แบ่งเป็น 3 ไตรตัณหา ตัณหาทั้ง 3 ที่เป็นเครื่องแต่งภพนั้นๆ เมื่อไตรทวาร มี ไตรทวี วจีทวาร มโนทวารเป็นที่ตั้งแห่งกรรม ที่ในครั้งสุดท้ายที่แล้วมาได้ตั้งที่ไตรเหตุ ไตรมูล ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระทำกรรม ตลอดถึงการสะสมความเคยชินแห่งเหตุนั้นๆ ที่เรียกว่า อนุสัย ในวันนี้ก็ได้กล่าวถึง กรรม 3 อย่าง ที่จะเรียกว่า ไตรกรรม เมื่อพูดว่ากรรม 3 ตามปกติธรรมดา จะไปเล่งกันที่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เพราะเป็นที่เข้าใจกันได้อยู่แล้ว อันเรื่องที่ว่าด้วยทวารทั้ง 3 เหตุทั้ง 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้นก็ตาม เมื่อปรุงขึ้นเป็นรูปกรรมแล้วก็แสดงออกทางมโนทวารบ้าง กายทวารบ้าง วจีทวารบ้าง ดังนั้นกรรมเหล่านั้นจึงจำแนกเป็น 3 ด้วยอำนาจแห่งทวาร กาย วาจา ใจ นี้เรียกว่ากรรม 3 แต่ในวันนี้และเฉเพาะในที่นี้จะกล่าวถึงกรรม 3 ในลักษณะอื่น บรรยายอื่นซึ่งอานจะไม่ตรงกับที่เคยรู้ หรือเคยพูดกันมาก่อนก็ได้ ขอให้เชื่อความหมายแล้วเอาไปพิจารณาเอาเอง

เพื่อเป็นประโยชน์แก่ความรู้ ความเข้าใจ และการปฎิบัติเกี่ยวกับกรรมนั้นๆ กรรม 3ในที่นี้จะแจกเป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม และกรรมที่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นกุศล หรืออกุศลส่วนมากคือไม่เป็นกรรมนั่นเอง อาจจะพูดได้อย่างนึงว่า กรรมที่เป็นกุศล กรรมที่เป็นอกุศล และกรรมที่ไม่เป็นกรรม รวมกันแล้วก็เป็น 3 อย่างนี้ ที่ไม่เป็นกรรมเพราะไม่มีเหตุแห่งกรรม โดยสมบูรณ์นั้น เรียกว่ากิริยาก็ได้ เรียกว่า อัพยากตกรรม ก็ได้แล้วแต่ล้วนแต่เป็นคำบัญญัติในหนังสือธรรมะทั้งนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นหลักเกณฑ์ ที่จะทำความเข้าใจให้ได้เป็นอย่างดี ในที่นี้จะพิจารณาถึงกรรม โดยกว้างขวางกันเสียก่อน โดยจะแบ่งกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือกรรมที่เป็นไตรที่มีผลเป็นไปด้วยวัตถะไปด้วยกรรมธรรมดาสามัญทั้งหลาย คือกรรมประเภทหนึ่งที่กระทำเพื่อให้ สิ้นสุดแห่งกรรม สิ้นสุดแห่งวัตถะ ซึ่งได้แก่ อริยมรรค เมื่อเป็นอย่างนี้ก็พอจะมองเห็นได้แล้วว่า กรรม 3 ที่จะพูดกันวันนี้ที่จะพูดในที่นี้ กรรมที่เป็นไปในวัตถะ เพื่อมีบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือกรรมสามัญธรรมดานั่นเอง ที่ว่าเป็นกรรมสามัญธรรมดาก็เป็นกรรมเนื่องอยู่ในวัตถะ มีกิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม แล้วกรรมนั้นก็ทำให้เกิดวิบาก รับวิบากแล้วก็ยังมีกิเลสอย่างอื่น

สำหรับจะทำกรรมต่อไปอีก กรรมที่เป็นไปเพื่อวิบาก เพื่อวัตถะอย่างนี้ พิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่า เป็นกรรมที่ยังเกี่ยวกับเหตุ ตามธรรมดาเราก็พูดกันถึงกรรมที่เป็นกุศลก่อนแล้วค่อยพูดถึงอกุศล ถ้าจะพูดต่อไปคือจะพูดในสิ่งที่จะเป็นกุศล หรือว่าอกุศล เมื่อพูดว่ากรรมในลักษณะ 3 อย่าง อย่างนี้ จะต้องรู้ไว้ซะก่อนว่าอย่าไปปนกันเข้ากับสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ธรรมทั้งหลาย 3 คือกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม นั้นเป็นธรรมอธิบายไปตามหลักเกณฑ์ของสิ่งนั้น บางอย่างก็ตรงกับคำว่ากรรม บางก็ไม่ตรงกับคำว่ากรรม บัดนี้จะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า กรรม จะใช้ประเภทที่แบ่งแยกด้วยชื่อเดียวกัน ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นอุศล และธรรมที่เป็นอัพยากติที่ไม่กล่าวว่าเป็น กุศลหรืออกุศล เมื่อพูดถึงกรรมที่เป็นกุศล หรือ อกุศล อย่างนี้ก็หมายถึงกรรมที่มาจากเหตุ

ที่ถูกจำแนกไว้แล้วว่า เป็นเหตุกุศล หรือ เหตุอกุศล เหตุที่เป็นเกี่ยวกับกุศลคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่เป็นเหตุแห่งอกุศลก็คือ โลภะ โทสะ โมหะนั้น ดูต่อไปก็คือว่าสิ่งที่เรียกว่า โลภะ หรืออโลภะ โทสะ หรืออโทสะ โมหะหรืออโมหะนี้เป็นสิ่งที่เป็นความรู้สึก อันประกอบอยู่ด้วยเจตนา เมื่อมีความรู้สึกที่เป็นเจตนาอยู่อย่างนี้ แล้วมีเหตุให้มีการกระทำสิ่งใดลงไปสิ่งนั้นเรียกว่า กรรม ตามหลักที่กล่าวไว้ว่า ที่ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่า เป็นตัวกรรม

ถ้าไม่มีเจตนาคือเหตุเหล่านี้แล้ว ก็ไม่เรียกว่า เป็นตัวกรรม ข้อนี้ให้รู้ว่าถ้าจะดูตัวกรรมกันจริงๆแล้วก็ให้ดูที่ตัวเจตนาว่าจะเป็นอะไร หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็ดูกันว่าจะเป็นกรรมหรือไม่เป็นกรรม ก็ต้องดูว่าเป็นเจตนาไหม หรือว่าไม่มี ถ้ามีเจตนาก็เป็นกรรมโดยสมบูรณ์ ทำด้วยเจตนา ก็ต้องมีเจตนาเป็นการกระทำ กรรมที่ไม่มีเจตนาก็ไม่นับว่าเป็นกรรมตามหลักนี้ ตามภาษาธรรมดาก็จะเรียกว่า กิริยาเท่านั้น ถ้าจะเรียกกรรม ก็ต้องเรียกกรรมชนิดที่ เคลื่อนไหว หรือว่ากระทำไม่ใช่ทำกรรมโดยสมบูรณ์

ขอให้สังเกตให้ดีๆ ให้เข้าใจ จึงจะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเรื่องเจตนาหรือไม่เจตนา เช่นการทำให้สัตว์ตายลงไปด้วยเจตนาจะฆ่า แล้วก็ฆ่าตายลงจริงนี้ก็เรียกว่า กรรม แต่ถ้าทำสัตว์ตายโดยไม่รู้ ไม่เห็นไม่มีเจตนาอะไรเลยอย่างนี้ก็ไม่เรียกว่าเป็น กรรม ที่เป็นการฆ่า เจตนานี้ก็ลำบากอยู่บ้างมันเป็นความบริสุทธิ์ใจอย่างว่าเดินไปไม่เห็นเหยียบเขาตายอย่างนี้เรียกว่าไม่มีเจตนาโดยแน่นอน ก็ไม่เป็นกรรม ก็มีกิริยา แต่สิ่งที่เป็นกิริยานั้นไม่มีผลซะเลยก็ไม่ได้ ก็มีผลของกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามสมควรของกิริยานั้นๆ และเราจะเรียกว่าปฎิกิริยา

โดยมีการกระทำต่อกิริยา ก็ไม่เรียกว่าวิบาก นั้น กรรมจึงเรียกว่าวิบาก กิริยา นั้นกรรมจึงคู่กับปฎิกิริยา ทำไปด้วยเจตนา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความยากลำบาก ในการที่จะควบคุมเจตนาว่าให้มันมีอยู่อย่างไร ที่เป็นปัญหามากการเกี่ยวกับอยู่รอดของชีวิต มีความทุกข์ยาก ลำบากมีอยู่จะต้องแก้ไข ควาทุกข์ยากลำบากนั้นๆ หรือว่าเพื่อจะเอาชีวิตรอด จึงต้องทำไปอย่างนั้นอันเป็นเหตุให้สัตว์ที่มีชีวิตจะต้องตาย หรือแม้คนด้วยกันจะต้องตาย เหมือนอย่างว่าจะต้องต่อสู้โจร ผู้ร้ายหรือคนที่กำลังเข้ามาจะฆ่า มันก็มีปัญหาว่าการต่อสู้ หรือถึงกับฆ่าโจรตายนั้นทำไปด้วยเจตนา หรือไม่เจตนา หรือเป็นเจตนาแห่งอะไร ถ้าเป็นเจตนาแห่งการฆ่าก็เป็นการฆ่า

ถ้าเป็นเจตนาการป้องกันตัวตามสัญชาติญาณ ไม่มีกิเลสอะไรมันก็เป็นกรรมอีกอันหนึ่ง แต่ก็ยังไม่แน่ว่าจะเรียกว่าอะไรดี แต่มันไม่ใช่กรรมแห่ง ปาณาติบาตร โดยตรง เห็นแต่รูป พูดกันลำบากมันยากว่าเจตนาแห่งอะไร ก็ต้องนำสืบไปแห่งคนๆนั้นมันรู้สึกอย่างไร มันรึ้กเพียงป้องกันตัวตามสัญชาติญาณล้วนๆ ซึ่งเมื่อมีอะไรเข้ามาเป็นอันตรายมันก็ผลักออกไป มันก็จะต้องตาย และจะได้รับผลกรรมชนิดไหน หรือที่เป็นโดยมาก เช่น ว่าถ้ารู้สึกเจ็บมือ มันจะปัด หรือว่าผลักไปในทันที มันก็มีปัญหาว่าจะทำไปด้วยเจตนาอะไร มันก็แล้วแต่จิตใจของบุคคลนั้นโดยแท้จริง ถ้าเราจะพิจารณาดูว่าควาย ที่มีแส้อยู่ที่หางเวี่ยงไปเวี่ยงมา มันก็รู้สึกเจ็บก็โดนถูกยุ่งตาย ระเนระนาดไป ดูเหมือนพระก็จะได้อาศัย หลักเกณฑ์อย่างเดียวกันนี้มั้ง ใช้แส้คอยปัดยุ่งอยู่เสมอ แต่ไม่เจตนาจะทำให้ตาย จึงมีปัญหาที่ไกล้เข้ามากว่านั้นอีก ก็คือว่า เรื่องที่จะต้องกินยาหรือต้องพอกยาบางชนิด ยาสำหรับพอกทา ขี้กลาก ขี้เกลื้อน นี้เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องทำ ให้อินทรีย์เล็กๆที่เป็นตัวกลาก ตัวเกลื้อนนั้นต้องตายไป หรือว่าเราจะต้องกินยาถ่ายพยาธิที่ร้ายกาจ เช่น ตัวตืด พยาธิไส้เดือนเป็นต้น หรือแม้แต่พยาธิปากขอ

นี่มันกินยาเข้าไปด้วยเจตนาอะไร ก็ต้องดู ว่ากินยาเข้าไปเพื่อถ่ายตัวพยาธินั้นด้วยเจตนาแห่งอะไร หรือว่าเจตนาจะฆ่ามัน หรือว่าเจตนาจะต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด แม้แต่กินยาถ่ายธรรมดา สามัญแท้ๆก็ต้องทำลายจุลินทรีย์ที่มีชีวิตหลายๆอย่าง มากเหมือนกันเป็นจุลินทรีย์ที่ ที่มีอยู่ในร่างกายคน โดยเฉเพาะปัญหาที่เกี่ยวกับเจตนา ที่กว้างไปกว่านั้นทำให้เกิดต่อผู้ที่ป้องกันประเทศชาติ ศาสนา พวกทหารที่ทำหน้าที่โดยถูกต้อง โดยบริสุทธิ์เป็นต้น

ว่าทำไปด้วยเจตนาอะไร หรือแม้แต่ผู้พิพากษาสั่งบรรทัดคดีให้ประหารคน สั่งกบฎกฎหมายนี้ก็ทำไปด้วยเจตนาอะไร ก็แล้วแต่ต้องถือเอาความบริสุทธิ์ใจ แห่งบุคคลเหล่านั้นเป็นหลัก เจตนามันเป็นอย่างนี้ที่เป็นหลักอยู่กับการกระทำกรรม

แต่ถ้าเราจะให้มันแน่นอน พอจะพูดกันเป็นหลักเกณฑ์ ก็น่าจะถือเอาคำว่า โลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นเจตนาแห่งอกุศลกรรม หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะนี้ก็เป็นเจตนาฝ่ายกุศลกรรม แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีปัญหา ซึ่งจะต้องดูกันต่อไป ในที่นี้จะพูดถึงอกุศลกรรมก่อนสะดวกกว่า โดยสิ่งที่เป็นบาป เป็นอกุศลทั้งหลาย ทำไปด้วยเหตุ เหตุของมันคือโลภะ โทสะ โมหะในนั้นเป็นตัวเจตนา โลภะเป็นเจตนาจะอยาก จะได้มาเป็นของตน โทสะก็จะทำลายผู้อื่น โมหะก็เป็นเรื่องของความโง่ ความหลง ทำไปด้วยความหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะกรรมนั้นมันทำไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ มันก็มีเจตนาอยู่ใน โลภะ โทสะ โมหะ ต่างคนต่างเอาไปวินิจฉัยการกระทำของตนได้ เช่นว่าผู้พิพากษาสั่งพิพากคดี ทหารจะรบก็จะฆ่า จะตัดคอคน หรือแม้แต่คนสามัญธรรมดา หรือแม้แต่ภิกษุสามเณรจะต้องกินยาถ่าย หรือแม้แต่ฆ่ายุ่ง เห็บ มันมีเจตนาอันไหน ที่เข้าไปในกฎของอกุศลแห่งกรรมที่เรียกว่าอกุศลกรรมหรือไม่เป็น ที่ต้องรับอกุศลกรรมต้องมีเหตุคือ โลภะ โทสะ โมหะทีนี้ก็มาถึงกรรมที่ 2 คือ กุศลกรรม แสดงเหตุไว้เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะปัญหาก็เกิดขึ้นอีกตรงที่คำว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะยังเข้าใจผิดกันอยู่มากถ้าถือตามตัวหนังสือ อโลภะ มันก็แปลได้ว่าเป็นอโลภะก็ได้ไม่มีอโลภะก็ได้ อโทสะก็เหมือนกัน ก็แปลตามได้ว่ามิใช่อโทสะก็ได้ หรือไม่มีอโทสะก็ได้ อโมหะก็แปลว่าเป็นอโมหะก็ได้ ไม่มีอโมหะก็ได้ แต่แล้วมันก็ยังกำกวมอยู่นั่นแหละ ที่ว่าไม่มีโลภะนั้นก็เพราะว่ามันมีสิ่งอื่น ที่ตรงกันข้ามกับโลภะ

แต่ก็เป็นเจตนาด้วยเหมือนกัน มันจึงเป็นกรรม แต่ถ้าไปแปลอโลภะไม่มีอโลภะโดยประการทั้งปวงแล้ว ความหมายนั้นจะเป็นอย่างอื่น เรื่องอื่น มันเป็นเรื่องของพระอรหันต์เลย นี้เป็นการสิ้นโลภะ โทสะ โมหะไปเลย ถ้าหมายความเป็นอย่างนั้นแล้ว มันเป็นเหตุแห่งกรรมไม่ได้ มันจะมาเป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะที่เป็นเหตุแห่งกุศลกรรมอย่างนี้ก็ไม่ได้ เพราะความไม่มีแห่งกิเลสนั้น มันไม่มีแห่งกิเลสอะไรได้ จึงไม่เป็นเหตุแห่งอกุศล หรืออกุศล คือการบรรลุการเป็นพระอรหันต์ คือกิเลส ละกรรมโดยประการทั้งปวง นั้นคำว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะในที่นี้ ตามธรรมดาสามัญอย่างนี้ มันจะแปลความว่ามันมิใช่โลภะ มันมิใช่โทสะ มันมิใช่โมหะ

ถ้าอย่างนั้นมันเป็นอะไร นี่ก็แล้วแต่ความรู้สึกหรือคำที่บัญญัติกันอยู่ ถ้าเป็นอโลภะคือมิใช่โลภะ ก็หมายความว่าตรงกันข้าม คำว่า อะ นี้คือตรงกันข้ามก็ได้เหมือนกัน ถ้าตรงกันข้ามจากโลภะมันก็คือการให้ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ อโลภะที่เป็นเหตุแห่งกรรม ก็ต้องเป็นเรื่องของการที่เป็นเจตนาดี ช่วยเหลือ เอื้อกัน เผื่อแผ่ ถ้าเป็นอโทสะมิใช่โทสะก็ตรงกันข้ามโทสะ มันก็เป็นความรัก ความเมตตา ความกรุณา ความหวังดี ถ้าเป็นอโมหะคือมิใช่โมหะ มันก็ตรงกันข้ามจากโมหะ คือความเฉลียวฉลาด ความรู้ แต่ก็ยังอยู่ในนิสัยกิเลส ตัณหาหรือความต้องการ อโลภะได้ทำดีที่เป็นกุศล ตรงกันข้ามกับโลภะ แต่ยังเป็นเจตนาด้วยกัน ดังนั้นจึง ทำกรรม ด้วยกัน กรรมฝ่ายดี อโทสะก็อย่างเดียวกันอีก ก็ทำไปด้วยความรัก ความเมตตา ความกรุณาที่เกิดจากเจตนามันมีการทำกรรม เป็นผลของกรรม เป็นการมีอยู่ที่อโมหะว่าทำไปอย่างถูกต้อง มันก็ทำไปด้วยเจตนาเพราะหวังผลอย่างนั้น อย่างนี้ มันก็เป็นกรรมหรือมีผลกรรมอยู่ คือระวังให้ดีคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะนี้กำกวม ถ้าไปแปลว่าปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะโดยประการทั้งปวงแล้ว

มันก็เป็นเรื่องอื่น ไม่อยู่ในเรื่องกรรมนี้ เพราะมันไม่เป็นเจตนา ไม่มีตัวที่จะเป็นตัวเจตนาในการกระทำกรรมนั้นๆ หรือจะจำไว้สั้นๆว่าปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะโดยสิ้นเชิงแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องกรรมแล้ว มันเป็นเรื่องของผู้หมดกรรม สิ้นกรรมโดยประการทั้งปวง การกระทำที่จะให้สิ้น โลภะ โทสะ โมหะก็เป็นเหตุว่ากรรมชนิดหนึ่ง ที่จะทำไปเพื่อจะให้มันสิ้นกิเลส สิ้นกรรม มันก็ยังอยู่นอกขอบเขต ของเรื่อง โลภะ โทสะ โมหะหรือเรื่อง อโลภะ อโทสะ อโมหะอยู่นั่นเอง เมื่อเราพูดถึงคำว่าอกุศลกรรม กุศลกรรมก็หมายถึง กรรมที่กระทำไปด้วยเหตุที่เป็นเจตนา โลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะถ้าจะทำไปเพื่อให้สิ้นกรรม ให้บรรลุกรรม มรรคผล นิพพานก็ไม่ควรจะถือว่าเป็นกรรม แต่ว่าอาจารย์บางพวกอาจจะบัญญัติเป็นกรรมก็ได้ ว่าเป็นเจตนาที่จะบรรลุ มรรคผล นิพพาน นั่นก็จัดไว้พวกหนึ่ง มันมีปัญหาต่อไปอีกเช่น คำว่า โลกุตระกุศล บางคนจะเห็นว่า โลกุตระ อย่างนี้มันฟังยาก เพราะว่าถ้าเป็นโลกุตระแล้วมันจะไม่เป็นกุศล หรืออกุศลเลย แล้วก็พูดกันว่าโลกุตระกุศล ก็คงจะหมายแต่เพียงว่าฝ่ายกุศลนั่นแหละ มันสูง มันดี ที่จะเป็นฝ่ายโลกุตระ ถ้ามำกรรมโดยเจตนาอย่างนี้ก็เรียกว่ากรรม ก็กุศลกรรมได้อยู่นั่นเอง มันจะต่างกันโดยตัวอย่าง เช่นว่า มีจิตเป็นกุศล มีสติปัญญาถูกต้อง มีสัมมาฐิติ แต่ทำบุญทำกุศลเพื่อไปสวรรค์ อย่างนี้มันก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันจะมีสติปัญญาถูกต้อง

ทำบุญทำกุศลเพื่อทำลายกิเลส เพื่อจะให้หมดความยึดมั่น ถือมั่น ไม่ได้ต้องการสวรรค์วิมานอะไร ถ้าอย่างนี้มันก็เป็นอีกเรื่องนึง อย่างหลังนี่แหละที่จะเรียกว่า โลกุตระกุศล ได้ แปลว่ากุศลกรรมที่ทำไปเพื่อเกื้อกูลแก่ โลกุตระภูมิ แต่ยังไม่ใช่ตัวโลกุตระภูมิ ถ้าเป็นโลกุตระภูมิแล้วจะอยู่เหนือกุศลหรือความเป็นอกุศล นั้นกรรมที่เราทำเป็นกุศลกันอยู่นี้ จะมุ่งผลไปทางวัตถะในโลกนี้กันก็ได้ หรือกุศลที่ทำไปเพื่อให้ออกไปจากวัตถะ ไปสู่โลกุตระอย่างนี้ก็ได้ จึงเกิดเป็น 2 กุศลกันอยู่ ขอให้ระวังให้ดี ถ้าทำไปด้วยเจตนาก็ต้องเรียกว่า กรรมด้วยกันทั้งนั้น แล้วก็ต้องมีผลด้วยกันทั้งนั้น เจตนาต่ำก็มีผลต่ำ เจตนาสูงก็มีผลสูง ทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล ถ้าฝ่ายกุศลมีเจตนาต่ำเป็นวัตถะก็เป็นกรรมธรรมดาสามัญ สาเหตุคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะตามธรรมดา

ถ้ามันเป็นชั้นสูงมันก็อาศัย อโลภะ อโทสะ อโมหะชั้นสูงมีสติปัญญา หวังที่จะให้พ้นไปจากการเวียนว่าย สาเหตุเหล่านี้เอง ทีนี้ก็จะมาถึงกรรมอันที่ 3 ที่เรียกว่ากรรมที่ไม่ได้กล่าวไว้ หรือบัญญัติไว้ ว่าเป็นกุศล หรืออกุศลนี่ก็มีความหมายกว้าง หรือกำกวม

ถ้ายืนที่ลำดับธรรมดาสามัญ ที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับคนธรรมดาสามัญ เป็นประจำวัน กรรมชนิดนี้หมายถึงกรรมที่ไม่ได้ทำไปโดยเจตนา คือกรรมที่ไม่เป็นกรรมนั่นเอง อย่างว่าเราไม่เจตนาแต่มันก็มีการเคลื่อนไหวอยู่ การเคลื่อนไหวนั้นไปกระกระเทือนอะไรเข้า มันก็ไม่เรียกว่ากรรม หรือถ้าเรียกว่า กรรม กรรมที่มิใช่กรรม เช่นเดินไปดหยียบสัตว์ตายตอนค่ำๆกลางคืน ก็ไม่ถือว่ากรรม หรือว่าของไม่กินแล้วทิ้งๆขว้างๆให้มดแมลงมันเอาไปกิน มันก็ไม่เรียกว่ากรรมแห่งผู้กระทำนั้น เขาไม่ได้เจตนาที่จะทำ นี่เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า ดีมีประโยชน์ ไม่ดีไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่ได้ทำไปด้วยเจตนาก็ไม่ใช่กรรม มันจึงต้องเอาเจตนาเป็นหลัก

ถ้าปราศจากการเจตนา การเคลื่อนไหวนั้นก็เป็นกิริยา อะไรเกิดขึ้นก็เรียกว่ากิริยา แต่แล้วก็อย่าลืมว่า สิ่งนี้ที่เรียกว่ากิริยา หรือว่าปฎิกิริยา อย่างนี้ก็มีเรื่องไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเรื่อง อาจจะเป็นเรื่องมีราว มีเป็นมีตาย มีวินาฏฉิบหายเลยก็ได้เหมือนกัน มันเป็นเรื่องปรากฏการณ์ ทางภายนอกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น แต่ที่เป็นภายในเกี่ยวกับกรรมนั้นไม่เรียกว่า กรรม มีรายละเอียดซับซ้อนมาก จังหวะแห่งจิตใจเป็นอย่างไร มันเป็นไปเต็มรูปหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น นี่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิ หมดกิเลสแล้วจะไม่มีโลภะ โทสะ โมหะโดยสิ้นเชิงแล้ว การกระทำทั้งหลายนั้นๆ ก็ไม่เป็นกรรมเป็นเพราะอาหารที่หมดกิเลสแล้ว จะทำบุญ ทำบาปมันทำไม่ได้ มันไม่มีเจตนาที่เป็นเหตุให้ทำ นั้นการกระทำของพระอรหันต์แม้จะทำไปด้วยเจตนา มันก็เป็นเจตนาอื่นที่ไม่ใช่ เจตนาที่เป็นตัวกรรมในที่นี้ เช่นท่านมีความเมตตา กรุณา ได้สั่งสอนใครอย่างนี้ มันเป็นเจตนาอย่างอื่น ไม่ใช่เป็นเจตนาที่เป็นเหตุให้ทำกรรม หรือเป็นตัวกรรม

นั้นจึงถือว่าท่านนี้ได้ทำกรรม ท่านมิได้รับผลแห่งกรรม แต่ความสำคัญมันอยู่ที่ว่าไม่เป็นกรรม มันก็ต้องอยู่ที่ไม่มีกิเลส ที่เป็นเหตุให้ทำกรรม พระอรหันต์ไม่มีกิเลสเป็นเหตุที่ให้ต้องทำกรรม การกระทำจึงเป็นกิริยานี้ ชาวบ้านยังมีกิเลส เป็นคนมีกิเลส ขณะที่ทำกรรมนั้นมันไม่มีกิเลส กิเลสมันไม่ได้เกิดขึ้นด้วยกัน ด้วยการทำกรรมนั้น กรรมของคนธรรมดาที่ทำไป โดยไม่เจตนา ไม่รู้สึกตัวหรือโดยกิเลส ก็มีเหมือนกัน เมื่อไม่ทำด้วยกิเลสอย่างนี้แล้วเขาเรียกว่า ทำกิริยาเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่เรียกกิริยานั้นจึงกำกวม คือทำได้ทั้งปุถุชน กระทำได้ทั้งพระอรหันต์ อยู่ที่ว่ามีกิริยาในการกระทำแล้ว มันก็ต้องมีปฎิกิริยา อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่มองเห็นได้ เมื่อเรามีการเคลื่อนไหวทำอะไรลงไปโดยเจตนามันก็มีผลอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น และถ้าเป็นเรื่องเข้ารูปเข้าเรื่องกันดีมันก็มีผลลึก แบบว่ารับบาปก็มี เช่นว่าเราถอยหลังไปเหยียบเอาใครซักคนนึง แล้วคนนั้นเขาโกรธ เขาตีเอา ทุบเอาอย่างนี้ มันก็เจ็บไป มันคล้ายๆกับว่ารับผลกรรม แต่ที่แท้มันก็ไม่ได้เป็นกรรมเพราะว่าไม่ได้ทำไปโดยเจตนา มันไม่ทันเห็นไปเหยียบเขาเข้านี่ก็เป็นกิริยา มันก็มีปฎิกิริยาสวนมาเป็นเรื่องของภายนอก ไม่ได้เกี่ยวกับกรรม หรือผลกรรมก็คือคนที่เขาเหยียบนั้นโดนเขาตีเอา นี่ถ้าจะดูไกลไปถึงพระอรหันต์ ที่ท่านทำไปโดยไม่เป็นกรรม และก็ถูกรับปฎิกิริยาได้เหมือนกัน

แต่บางทีก็มักอธิบายกันไปเสียว่า เป็นเศษกรรมหรือเป็นอะไรทำนองนั้น นั้นก็ยังคงเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยอยู่ ที่แน่นอนก็เป็นเรื่องปฎิกิริยา บางทีเรื่องของพระองคุลีมานจะเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ได้ดี ว่าแม้เป็นพระอรหันต์แล้วจะทำอะไรไม่เป็นกรรม สิ้นกรรม หมดกรรมแล้ว ที่ยังมีปฎิกิริยา ที่คนเคยรู้ว่าท่านเคยเป็นโจร ก็ยังเหยียดหยามท่าน ถ่มน้ำลายรดใส่ท่าน ขว้างอิฐใส่ท่านบาตรแตก อย่างนี้มันเป็นปฎิกิริยา ถึงอย่างไรก็ต้องสงเคราะห์ไว้ในลักษณะที่เป็นปฎิกิริยา จะเป็นวิบากของกรรม จะเป็นเศษของวิบากกรรมอะไรก็แล้วแต่ก็ไม่ได้

เนี่ยเรื่องกรรมมันมีอยู่ที่จะต้องรู้ไว้ เป็นหลักใหญ่ๆ ทบทวนดูอีกครั้งว่ากรรมทั้งหลาย มันมี 2 พวก กรรมที่ทำให้ต้องล่องลอยเวียนว่ายในวัตถะนี้อย่างหนึ่ง ก็มีเรื่องเป็นดี เป็นชั่ว หรือไม่บัญญัติว่าดี ว่าชั่วตามแบบขั้นต้นๆของอุติชน ทีนี้กรรมอีกพวกหนึ่งก็จะให้พ้นเสียจากวัตถะ เป็นที่พ้นแห่งกรรมทั้งปวง กรรมอย่างนี้ไม่ใช่กรรมธรรมดาแล้ว นั่นเป็นตัวกรรมประพฤติที่ประกอบไปด้วย ประกอบปัญญาสูงสุด เราเรียกกันว่า อริยมรรค

ในตอนนี้มันมีหลักอยู่พวกหนึ่ง ซึ่งเอามาทำความเข้าใจได้ดี คือเรื่องกรรม 4 อย่าง กรรมขาวอย่างหนึ่ง กรรมดำอย่างหนึ่ง ปนเปกันไปทั้งดำทั้งขาวอย่างหนึ่ง แล้วกรรมที่ไม่มีความดำหรือความขาวเลย เป็น 4 อย่าง กรรมดำ กรรมขาว กรรมดำคือบาปอกุศล กรรมขาวคือกุศล กรรมเจือปนมันก็เจือปนกันไป เนี่ยเป็นกรรมเพื่อ วัตถะ มีวิบากเป็นไปใน วัตถะ กรรมที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่าดำหรือขาว กรรมนี้เป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำและกรรมขาว เป็นที่ระงับเสียซึ่งกรรมดำและกรรมขาว เป็นกรรมที่นำให้ออกไปจาก วัตถะ กรรมไม่ขาวในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงกรรมที่ไม่เนื่องด้วย โลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ตามแบบสามัญธรรมดามันเป็นกันอยู่ แต่มันเป็นกรรมที่กระทำไปด้วยสัมมาฐิติอันดับสูง รู้ว่ากรรมทั้งหลายนี้จะเป็นกรรมชั่ว หรือกรรมดีก็ตาม ทำให้ผู้กระทำจะต้องเวียนว่ายไปในวัตถะสงสาร อย่างเลวอย่างบาปก็เวียนว่ายไปอย่างเลว อย่างบาป อย่างดีอย่างบุญก็เวียนว่ายไปอย่างดีอย่างบุญ ฉันไม่ต้องการทั้งสอง

ถ้าเกิดสัมมาฐิติอย่างนี้แล้วก็จะอยู่เหนือบาป เหนือบุญ เหนือดี เหนือชั่ว มันก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องของเป็นคู่ ที่ต้องให้เวียนว่ายอยู่ในภพทั้งหลาย จึงไม่ใช่กุศลหรืออกุศล แต่มันจะเป็นไปเพื่อระงับเสียซึ่งทั้งกุศลและอกุศลจึงใช้คำว่าโลกุตระ โลกุตระก็แปลว่าอยู่เหนือโลก โลกก็คือสิ่งที่มีเหตุมีปัจจัย บุญก็มีเหตุมีปัจจัยไปตามแบบของบุญ บาปก็มีเหตุมีปัจจัยไปตามแบบของบาป จะใช้คำที่เป็นหลักเกณฑ์มากกว่านั้นใช้คำว่า กุศลก็มีเหตุมีปัจจัยไปตามแบบของกุศล อกุศลก็มีเหตุมีปัจจัยไปตามแบบของอกุศล ทีนี้ขึ้นชื่อว่ามีเหตุมีปัจจัยแล้วก็มีปรุงแต่ง ให้เกิดใหม่ให้หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่มีที่สิ้นสุด จึงรังเกียจสิ่งที่เรียกว่าเหตุและปัจจัย ถ้าการอยู่เหนือสิ่งที่เรียกว่าเหตุและปัจจัย จึงขวนขวายทุกวิถีทาง

เพื่อที่จะไม่ให้อยู่ในอำนาจของเหตุและปัจจัย ที่ปรุงแต่งภพปรุงแต่งชาติ กรรมอย่างนี้เขาเรียกว่ากรรมที่ทำไปเพื่อเหนือกรรม เมื่อกำลังทำอยู่ก็ควรจะจัดเป็นกุศลและเป็นกุศลชนิดพิเศษก็คือเป็นโลกุตระกุศล ต่างจากโลกียะกุศล ตรงที่ว่าโลกุตระกุศลนี้มันจะพาไปในทางที่เหนือกรรม ไม่เวียนว่ายไปในภพ หยุดเสียซึ่งภพ โลกียะกุศลก็พาไปในภพ เวียนว่ายไปในภพ ถ้าเอาอย่างนี้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ก็ยังพบว่า แบ่งกรรมได้เป็นสามกรรมอยู่นั่นเอง คือกรรมดำ กรรมขาว กรรมไม่ดำไม่ขาว กรรมดำก็เป็นอกุศล กรรมขาวก็เป็นกุศล กรรมไม่ดำไม่ขาวนี่ก็เป็นกรรมที่เหนือกุศล เหนืออกุศล จึงใช้คำว่าอัพญาสิทธิ์ อัพญาสิทธิ์นี้มันเป็นกรรมกลางว่างที่สุด คือพูดไม่ได้ว่าเป็นอะไร หรือว่าบางอาจารย์ก็แปลว่า เป็นกรรมที่ท่านไม่ได้บัญญัติไว้ว่ามันเป็นอะไร

แต่ผลของการแปลก็เหมือนกัน คือกรรมที่ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าเป็นอะไรหรือกรรมที่บัญญัติไม่ได้ว่ามันเป็นอะไร ผลมันก็เท่ากัน ก็พูดไม่ได้ว่ากรรมนี้มันเป็นกุศลหรืออกุศลนั่นเอง งั้นตามกระทำมันมีเป็นสามพวกคือ ดำพวกหนึ่งคือ ชั่วหรือบาป อกุศล และก็ขาวตรงกันข้ามกับดำไม่ชั่ว ไม่บาป ไม่อกุศล อีกอันนึงก็ไม่ดำไม่ขาว คือพูดไม่ได้ว่ากุศลหรืออกุศล ต้องว่าอัพญาสิทธิ์แบบบน แบบพระอริยเจ้า หรือแบบสุดท้ายไม่ใช่อัพญาสิทธิ์แบบอายุเด็กๆ เพื่อทำไปด้วยความรู้สึกที่ไม่เจตนา ความหมายมันเหมือนกันแต่มันต่างกันมาก อัพญาสิทธิ์ของคนธรรมดานี้ก็เจตนา ก็ไม่เรียกว่าบุญกุศล แต่มันยังอยู่ในวิสัยแห่งกุศลละอกุศลนั่นเอง ถ้าเป็นเรื่องของพระอริยเจ้าอัพญาสิทธิ์นี้มันเป็นอัพญาสิทธิ์แท้ หรือไม่อาจจะกล่าวได้ว่าบุญหรืออกุศลได้อีกต่อไป นี่เรียกว่ากรรมมีอยู่สามอย่าง เอามาบรรยายในหัวข้อว่า ไตรกรรม คือกรรมสามอย่าง เป็นกุศล อกุศล อัพญาสิทธิ์ แต่ขอเตือนอีกครั้งนึงว่าอย่าเอามาปนกับคำว่าธรรม กับกรรมสาม กุศล อกุศล อัพญาสิทธิ์เหมือนกัน ก็ต้องอธิบายว่ามันแตกต่างกันไม่เหมือนกัน

เดี๋ยวนี้เราระบุลงไปกับคำว่ากรรม คือการกระทำมีอยู่สาม คือ กุศล อกุศล และอัพญาสิทธิ์ เรื่องกุศล อกุศลนั้นชัดเจนดีแล้ว อัพญาสิทธิ์ ยังต้องแบ่งไปว่าเป็นอัพญาสิทธิ์ชนิดไหน ชนิดที่เพียงแต่ว่าเหตุทั้งสามโลภะ โทสะเป็นต้นเข้ามาเกี่ยวข้องหรือว่าไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามันไม่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก็ยังสิ่งที่ยังอยู่ ยังเป็นลูกเด็กอยู่ เป็นอัพญาสิทธิ์อยู่ มันไม่มีโลภะ โทสะ โมหะหรือไม่มี อโลภะ อโทสะ อโมหะ โดยซ้ำไปโดยสิ้นเชิงมันก็เป็นเรื่องของ โลกุตระ เป็นพระอรหันต์ ข้อที่ต้องสังเกตคือมันจะเอาไปปนกัน ว่าโลภะหมายถึง โลภ อโลภะนั้นไม่ได้หมายถึง ปราศจากโลภะโดยสิ้นเชิงมันหมายถึงว่า ทำในลักษณะที่ตรงกันข้ามจากโลภะ

นั่นคือ ดี ก็คือเวียนว่ายไปตามแบบดี แต่ถ้าไปแปลโลภะว่าปราศจากอโลภะโดยสิ้นเชิง จริงๆแล้วจะใช้คำอย่างอื่นว่า วีตะโลโพ วีตะโมโส วีตะโมโห อย่างนี้นั้น ปราศจากโดยสิ้นเชิง อย่างนี้ก็อยู่เหนือเรื่องของกรรมนี้ ไม่เกี่ยวกับดีกับชั่วอีกต่อไป ขอให้สังเกตไว้เพื่อที่จะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ ควบคุมกรรมหรือการกระทำของตน ใช้หลักง่ายๆแล้วก็จำคำ 3 คำก็ใช้ กรรมดำ กรรมขาว กรรมไม่ดำไม่ขาว ก็จะเป็น กรรมดำ 1 กรรมขาว 2 กรรมไม่ดำไม่ขาว 3 เป็น 3กรรมอย่างนี้ ก็พอจะใช้เป็นหลักมีสติสัมปชัญะ ในการกระทำกรรมเป็นประจำวัน ป้องกันไม่ให้กรรมดำเกินขึ้นโดยเด็ดขาด จะมีกรรมขาวบ้างก็เป็นของเล่นๆ อย่าให้มีกรรมดำ กรรมขาวได้เลยยิ่งดี อยากจะพูดให้จำง่ายๆว่า พลุ้งขึ้นมาจากนรกโดยฉับพลัน ก็นั่งพักบนสวรรค์กันสักครู่ ยังมีเวลาเนานิทานนานโขอยู่ ชีวิตผู้ประเสริฐศรีเช่นนี้เอง กรรมดำที่นรกนั้นอย่าเลย

ถ้าเผลอพลัดลงไปก็จะพลุ้งขึ้นมาทันที กรรมขาวในสวรรค์นั้นไว้ดูเล่นบ้างก็ได้ แต่อย่าไปฝังตัวอยู่ที่นั่น เวลานอกนั้นใช้เพื่อนิพพาน คือความว่าง ถ้าเป็นทุกข์ก็เรียกว่านรก ถ้าเป็นสุขก็เรียกว่าสวรรค์ ถ้ามันว่างจากสิ่งทั้ง 3 นี้ก็เรียกว่านิพพาน ทุกข์คือนรก สุขคือสวรรค์ ว่างนั้นคือนิพพาน อยู่ว่างๆนั้นดีกว่ามันเป็นจิตที่ไม่ดำไม่ขาว หวังว่าท่านทั้งหลายจะรู้จักกรรมทั้ง 3 ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ในการประพฤติปฎิบัติประจำวัน ให้มีสติสัมปชัญญะ ทันแก่เวลาเพราะว่าเราเข้าใจเรื่องนี้ดี ให้สมกับประโยชน์ที่เราเป็นพุทธบริษัท ผู้เจริญงอกงามในทางแห่งพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา ผู้เป็นที่พึ่งอยู่ทุกฑิภาราตรีกาลเทอญ ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35482

. . . . . . .