ธรรมหลวงปู่มั่น

รรมหลวงปู่มั่น

บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ )

ณ วัดป่าบ้านนามน
กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖

ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า

๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์

๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส

๑๐. จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส
๑๑. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย
๑๒. มูลติกสูตร

๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก – สุดสมมติบัญญัต
๑๕. สัตตาวาส ๙

๑๖. ความสำคัญของปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา และปัจฉิมเทศนา
๑๗. พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ

(:LOVE:) http://www.luangpumun.org/muttothai_main.html

มุตโตทัย แนวทางปฏิบัตให้ถึงความหลุดพ้น พระธรรมเทศนา
บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร

ขันธวิมุติ บทประพันธ์ขององค์หลวงปู่ โอวาทครั้งสุดท้าย บันทึกโดยหลวงปู่หล้า

โอวาทธรรม บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จันทสาโร พระธรรมเทศนา ที่แสดงแด่หลวงปู่ฝั้นเป็นครั้งแรก (new)

หลวงปู่มั่นตอบปํญหาธรรมะ
ตอบปัญหา ชาวโคราช ตอบปัญหา พระมหาเถร ตอบปัญหา ชาวกรุงเทพฯ

” ….ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ
โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว

ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิด
ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า
ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย”

….นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ

คลิ๊กตามลิ้งค์…อ่านเนื้อหารายละเอียดแต่ละหัวข้อค่ะ

(:LOVE:) http://www.luangpumun.org/dharma.html

คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
(คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ)

* ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร
ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้
เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ

คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้
ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ
ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว

ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ
คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์
ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ

กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว
ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์

จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ
ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ

ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน
ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์

จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

* สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้กระทำความผูกพันและมั่นใจในสิ่งนั้น กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้น เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ ไม่สุดวิสัย

* การบำเพ็ญจิตให้สงบจนเกิดกำลังแล้ว ก็ไม่ควรที่จะทำความสงบอย่างเดียว เพราะถ้าทำแต่ความสงบไม่พิจารณาทุกขสัจจ์ ก็จะเป็นเฉพาะฌาน ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิผิด ไม่พ้นทุกข์ ต้องพิจารณาทุกข์จึงจะพ้นทุกข์

* การพิจารณาอย่าให้จิตหนีออกนอกกายนี้ จะชัดเจนแจ่มแจ้งหรือไม่ ก็อย่าได้ท้อถอย เพ่งพิจารณาอยู่ ณ ที่นี่ล่ะ จะพิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะ หรือให้เห็นเป็นธาตุก็ได้ หรือจะพิจารณาให้เห็นเป็นขันธ์ หรือให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ ได้ทั้งนั้น แต่ให้พิจารณาเพ่งลงเฉพาะในเรื่องนั้นจริงๆ
ตลอดอิริยาบถทั้งสี่ แล้วก็มิใช่ว่าเห็นแล้วจะหยุดเสียเมื่อไร จะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็พิจารณาอยู่อย่างนั้นแหละ เมื่อพิจารณาอันใดชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยใจตนเองแล้ว สิ่งอื่นนอกนี้จะมาปรากฏชัดในที่เดียวกันดอก

* การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจตนแล้วคือเห็นธรรม รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจตนแล้วคือถึงพระนิพพาน ใจนี้คือสมบัติอันล้ำค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป คนพลาดใจคือไม่สนใจปฏิบัติต่อใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติก็คือผู้เกิดผิดพลาดอยู่นั่นเอง

* ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการกำหนดพิจารณาธรรม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีปรากฏอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีอยู่ ได้ยินอยู่ สัมผัสอยู่ ปรากฏอยู่ จิตใจเล่าก็มีอยู่ ความนึกคิด รู้สึกในอารมณ์ต่างๆ ทั้งดี และร้ายก็มีอยู่ ความเสื่อม ความเจริญ ทั้งภายนอก ภายใน ก็มีอยู่ ธรรมชาติอันมีอยู่โดยธรรมดา เขาแสดงความจริงคือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้ปรากฏอยู่ทุกเมื่อ เช่น ใบไม้มันเหลืองหล่นร่วงลงมา พินิจพิจารณาด้วยสติปัญญา โดยอุบายมีอยู่เสมอแล้ว ชื่อว่า ได้ฟังธรรมทุกเมื่อแล

* ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หารักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตายรวงข้าวก็จะไม่มีขึ้นมาให้ฉันใด วิมุตติธรรมก็ฉันนั้นนั่นแล มิใช่สิ่งอันบุคคลจะพึงปรารถนาเอาได้ คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรมแต่ปฏิบัติไม่ถูก หรือไม่ปฏิบัติ มัวเกียจคร้านจนวันตาย จะประสพวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้

(:88:) http://www.vcharkarn.com/varticle/38739

http://www.sookjai.com

. . . . . . .