จิตประภัสสร (รวมคำบรรยายของท่านพุทธทาส)

จิตประภัสสร (รวมคำบรรยายของท่านพุทธทาส)

จิตประภัสสร เป็นคำที่ชาวพุทธควรรู้อย่างถูกต้อง มีคำบรรยายของท่านพุทธทาสที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆของจิตประภัสสรอยู่หลายแห่ง พอจะรวบรวมได้ดังนี้

@ ความหมายของ “จิตประภัสสร”
“จิตประภัสสร หมายถึงจิตเดิมแท้ที่ยังว่างอยู่ ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง ยังไม่ถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส ไม่ถูกหุ้มห่อด้วยผลของกิเลส คือความดี ความชั่ว เป็นต้น เหมือนอย่างเพชร มันมีรัศมีในตัวมันเอง มันเรืองแสงของมันได้ เหมือนอย่างจิตเดิมแท้ประภัสสร แต่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ มันจึงเปลี่ยนแปลงได้ มันจึงต้องมีการอบรมจนเป็นประภัสสรที่ถาวร ชนิดที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้”
(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 144)
“ประภัสสร แปลว่า ซ่านออกแห่งรัศมี ประภา = รัศมี สะระ = ซ่านออกมา คือไม่มีมลทิน แต่มันอยู่ในลักษณะที่มลทินมาจับได้ มาครอบได้ เศร้าหมองได้ ก็เป็นทุกข์ได้ อบรมจนมลทินจับไม่ได้”
(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 143)
“สิ่งที่เรารียกว่าจิตเดิมแท้ ที่เป็นตัวเดียวกันกับปัญญา เราหมายถึงจิตที่ว่างจากการยึดถือมั่น”
(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 51)
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยวิถีธรรม 20 ปี มรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (จบ)

ตามรอยวิถีธรรม 20 ปี มรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (จบ)

หลังจากทราบประวัติความเป็นมาของท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งแต่พื้นฐานครอบครัวที่ตั้งรกรากอยู่ที่ตลาดพุมเรียง เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกระทั่งเรื่องราวชีวิตวัยเยาว์ วัยหนุ่มและช่วงแรกๆ ในเพศบรรพชิต ซึ่งในช่วงพรรษาที่ 3-4 ท่านพุทธทาสสอบนักธรรมเอกได้และเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยา
ในขณะเดียวกัน นายธรรมทาส พานิช น้องชายท่านพุทธทาสได้รวบรวมญาติมิตรที่สนใจในพระพุทธศาสนามาจัดตั้งคณะขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ.2472 และนี่คือจุดเริ่มก่อนที่จะกลายเป็น “คณะธรรมทาน” ในเวลาต่อมา
เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังว่า “นายธรรมทาสเขามีนิสัยอยากส่งเสริมพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ตั้งแต่ตอนที่เขาไปเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาฯ (พ.ศ.2469) เขาไปพบบทความเกี่ยวกับการเผยแผ่พุทธศาสนาทางสมาคมมหาโพธิ ของธรรมปาละ และหนังสือยังอิสต์ ของญี่ปุ่น ได้เร้าใจให้เขาเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา และหาหนังสือทางพุทธศาสนามาจากหอสมุดนั้นมาอ่านเสมอ อ่านเพิ่มเติม

“สังฆะ” ในทัศนะท่านพุทธทาส

“สังฆะ” ในทัศนะท่านพุทธทาส / พระดุษฎี เมธงฺกุโร

พระดุษฎี เมธงฺกุโร

เกริ่นนำ

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นพระมหาเถระที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้มีชีวิตชีวา สามารถแก้ปัญหาและอำนวยประโยชน์แก่ชาวโลก โดยอาศัยการกลับไปหา “ต้นฉบับ” คือพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎกเป็นแนวทาง และทดลองปฏิบัติจริง โดยดำเนินชีวิตอยู่ในป่าใกล้เคียงกับชีวิตพระอริยสาวกในครั้งพุทธกาล เพื่อเข้าถึงความรู้สึกส่วนลึกและบรรยากาศของการเข้าถึงธรรม และพยายามประยุกต์และประกาศธรรม นำสิ่งที่ค้นพบมาจำแนกแจกแจงให้เหมาะกับยุคสมัย มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ คือทดลองพิสูจน์ได้ ช่วยตอบปัญหาชีวิตแก่ปัจเจกบุคคล และยังเป็นแนวทางที่ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาให้สังคมดังมีหนังสือชุด “ธรรมโฆษณ์” ที่ท่านใช้โฆษณาธรรม ให้คนเห็นคุณค่าของธรรมะที่ประเสริฐยิ่งกว่าสินค้าใด ๆ ที่เป็นวัตถุปัจจัยปรนเปรอกาย หากธรรมะเป็นอาหารใจ เป็นยาใจ และเป็นหลักใจที่จำเป็นที่สุดแก่โลกและชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

ดับไม่เหลือ

ดับไม่เหลือ

อย่าเข้าใจว่าต้องเรียนมาก ต้องปฏิบัติลำบากจึงพ้นได้
ถ้ารู้จริงสิ่งเดียวก็ง่ายดาย รู้ดับให้ไม่มีเหลือเชื่อก็ลอง
เมื่อเจ็บไข้ความตายจะมาถึง อย่าพรั่นพรึงหวาดไหวให้หม่นหมอง
ระวังให้ดีดีนาทีทอง คอยจดจ้องให้ตรงจุดหยุดให้ทัน
ถึงนาทีสุดท้ายอย่าให้พลาด ตั้งสติไม่ประมาทเพื่อดับขันธ์
ด้วยจิตว่างปล่อยวางทุกสิ่งอัน สารพันไม่ยึดครองเป็นของเรา
ตกกระไดพลอยโจนให้ดีดี จะถึงที่มุ่งหมายได้ง่ายเข้า
สมัครใจดับไม่เหลือเมื่อไม่เอา ก็ ” ดับเรา ” ดับตนดลนิพพาน

เพื่อท่านพุทธทาส
โดย น.พ.สันต์ หัตถีรัตน์
ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖
อ่านเพิ่มเติม

แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ

แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตรและภูมิปัญญาอันสูงยิ่งในสังคมไทย ท่านเป็นรูปหนึ่งที่รอบรู้ทางการศึกษาและมองเห็นข้อบกพร่องของการศึกษาของไทย และได้เรียกการศึกษาในโลกปัจจุบันว่า “การศึกษาหมาหางด้วน” พร้อมทั้งเรียกร้องให้ปัญญาชนและผู้เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาทุกท่านมาช่วยกันต่อหางสุนัข ท่านพุทธทาสมองว่าการศึกษาตามแบบปัจจุบันละเลยบทเรียนทางศีลธรรม การศึกษาที่ปราศจากการปลูกฝังจริยธรรม จึงเปรียบเหมือนสุนัขหางด้วนที่พยายามหลอกผู้อื่นว่า สุนัขหางด้วนเป็นสุนัขที่สวยงามกว่าสุนัขมีหาง ท่านจึงพยายามชี้ให้เห็นว่าสุนัขที่มีหางเป็นสุนัขที่สวยงาม การศึกษาจึงต้องเน้นบทเรียนทางศีลธรรม การศึกษาที่ไม่มีบทเรียนทางศีลธรรม ไม่เน้นภาคจริยศึกษา ย่อมไร้ประโยชน์ และอาจจะเป็นอันตรายต่อสังคมอีกด้วย[1]
อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย

บัดนี้เป็นโอกาสแห่งการศึกษาฉากสุดท้ายสำหรับสิ่งที่มีชีวิต คือบัดนี้ได้มีการแสดง
ให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า ชีวิตนี้จะจบลงอย่างไร ปรากฏการณ์อันนี้ ควรจะได้รับความสนใจ
ศึกษาให้เป็นประโยชน์ จึงควรถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของการศึกษาจากสิ่งที่มีชีวิต

หน้าที่ของสังขาร

ความตายเป็นหน้าที่ของสังขาร สังขารคือสิ่งปรุงแต่งจากเหตุจากปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัย
บางส่วนหยุดปรุงแต่ง มันก็มีความตายบางส่วน ปรากฏออกมาสำหรับสังขารส่วนนั้น
จึงถือว่าการตายเป็นหน้าที่ของสังขาร หรือสังขารที่หน้าที่ที่จะต้องตายดังนั้นจึงไม่ควร
มีความประหลาดใจอะไรในส่วนนี้
อ่านเพิ่มเติม

ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ทาน

การให้ทาน การบริจาคนี้
ก็หมายความว่าให้ออกไป ให้หมดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู หรือ ของกู

ส่วนการทำบุญที่คิดว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมาหลายเท่า
เช่น ทำบุญหน่อยหนึ่งก็ขอให้ได้วิมานหลังหนึ่ง อย่างนี้มันเป็นการค้ากำไรเกินควรไม่ใช่การให้ทาน

การให้ทานต้องเป็นการบริจาค
สลัดสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น ว่าเรา ว่าของเรานั่นแหละออกไป
เพราะฉะนั้น
ในขณะที่ผู้ใดมีจิตว่างจากความรู้สึกว่าตัวเรา-ว่าของเรา ในขณะนั้นเรียกว่าบุคคลนั้นได้บริจาคทานถึงที่สุด
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)
วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

“มนุษย์เราจะเป็นมนุษย์อยู่ได้ ก็เพราะกำลังประกอบอยู่ด้วย ธรรม มิฉะนั้นจะต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์ หรือต้องตาย ในที่สุด โดยไม่ต้องสงสัย มนุษย์ที่ไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรม ก็ต้องประกอบอยู่ด้วยอธรรม เป็นธรรมดา และจะต้องเป็น อมนุษย์ในร่างของมนุษย์ โลกนี้จะเป็นอย่างไร หากเป็นโลก ที่ประกอบอยู่ด้วยอมนุษย์ในร่างของมนุษย์ เต็มไปทั้งโลก ”

นามเดิม เงื่อม พานิช กำเนิด 27 พ.ค. 2449 สถานที่เกิด ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดอุบล อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. 2469 โดยมีพระครูโสภณเจตสิการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระธรรมโกศาจารย์ มรณภาพ 8 ก.ค. 2536 อายุ 87 ปี 67 พรรษา
อ่านเพิ่มเติม

คมธรรมพุทธทาสภิกขุ

คมธรรมพุทธทาสภิกขุ

๑. สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
๒. ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่
๓. สันโดษ เป็นทรัพย์ยิ่ง (พอใจตามมี ยินดีตามได้)
๔. การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม
๕. เราด่าเขา ทันทีเขาดีกว่า
๖. นำมนต์แท้คือนำเหงื่อ
๗. รักผู้อื่น คือหัวใจของทุกศาสนา
๘. หาสุขได้จากทุกข์
๙. เชื่อฟังพ่อแม่อย่างเดียว ดีทุกอย่าง
๑๐. อันจิตให้นั้น สบายกว่าจิตเอา อ่านเพิ่มเติม

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง

คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย

ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ
ขอให้จับหนูได้ก็พอ

ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น
ในโลกกลมๆ ใบนี้ ไม่มีคำว่า แน่นอน
อ่านเพิ่มเติม

อุดมคติของท่านพุทธทาสภิกขุ

อุดมคติของท่านพุทธทาสภิกขุ

อุดมคติที่เยี่ยมยอด

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ
อ่านเพิ่มเติม

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ต้น “ไม่รู้-ไม่ชี้” นี่เอาเปลือก
ต้น “ชั่งหัวมัน” นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
“อย่างนั้นเอง” เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
“ไม่มีกู-ของกู” แสวง เอาแต่ใบ

“ไม่น่าเอา-น่าเป็น” เฟ้นเอาดอก
“ตายก่อนตาย” เลือกออกลูกใหญ่ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
“ดับไม่เหลือ” สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาท้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
“สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” อัน
เป็นธรรมชั้น หฤทัย ในพุทธนาม
อ่านเพิ่มเติม

ความเชื่อที่งมงาย พุทธทาส อินทปัญโญ

ความเชื่อที่งมงาย พุทธทาส อินทปัญโญ

ตีพิมพ์ในวารสารธรรมจักษุ ปีที่ ๗๙ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๓๘

ปุถุชนเราตั้งแต่เกิดมา ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ก่อความใคร่ (กาม) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๑ แล้วยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเชื่อของตัวเอง (ทิฏฐิ) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๒ ส่วนสมบัติชิ้นที่ ๓ ก็คือ “ความงมงาย” (สีลัพพตปรามาส) ผู้ใดมัวแต่หอบหิ้วสมบัติชิ้นใหญ่ ๆ เหล่านี้อยู่ ย่อมไม่สามารถละจากความเป็นปุถุชน เพื่อไปสู่ความเป็นอารยชนหรือพระอริยเจ้าได้

ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ปุถุชน (คนที่มีผ้าปิดบังดวงตาหนาทึบ กล่าวคือ คนโง่ คนเขลา คนหลง) จะต้องรู้ความผิดพลาดหรือเหตุที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะการหอบหิ้วทรัพย์สมบัติอย่างนี้อยู่ หลักพระพุทธศาสนาในส่วนปริยัติและการปฏิบัตินั้น ได้แก่ความรู้และการปฏิบัติ เพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ไม่ฝังตัวเข้าไปในสิ่งทั้งหลายด้วยความยึดมั่นถือมั่น ในหลักศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ดังที่ท่านได้ตรัสยืนยันของท่านเอง สรุปแล้วก็คือ “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”
อ่านเพิ่มเติม

กรรมฐานโดยวิธีอานาปานัสสติภาวนา ตามแบบของท่านพุทธทาสภิกขุ

กรรมฐานโดยวิธีอานาปานัสสติภาวนา ตามแบบของท่านพุทธทาสภิกขุ

การฝึกจิตแบบอานาปานัสสติของท่านพุทธทาส แบ่งออกเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะที่หนึ่ง เพ่งลมหายใจเป็นอารมณ์ ลมหายใจมีลักษณะอย่างไร ให้เพ่งแน่วแน่อยู่ที่ลมหายใจเป็นอารมณ์ จนกระทั่งเกิดความสงบรำงับขึ้นเพราะการเพ่งนั้น เมื่อมีความสงบรำงับแล้ว จะเกิดความรู้สึกเป็นสุข เพราะความเป็นสมาธินั้น
ระยะที่สอง พิจารณาความรู้สึกที่เป็นสุข ให้มีความรู้สึกว่าความสุขที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก
ระยะที่สาม การเพ่งดูจิต ให้เพ่งดูจิตในขณะที่ทำสมาธิภาวนานั้นว่าเป็นอย่างไร จิตที่ประกอบด้วยสุขเวทนาเป็นอย่างไร จิตมีตัวกูของกูหรือไม่มีตัวกูของกูเป็นอย่างไร พิจารณาทุกแง่มุม อยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก ขั้นนี้เรียกว่า ดูที่ตัวจิต
ระยะที่สี่ ให้พิจารณาดูที่ตัวความจริงที่แฝงแสดงให้เห็นอยู่ที่ทุกๆ สิ่ง โดยจะเป็นที่จิตหรือที่เวทนาหรือที่ลม ว่าความจริงมันเป็นอย่างไร ซึ่งจะพบความจริงว่า สิ่งทั้งปวงมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งทั้งเหตุทั้งปัจจัยที่ปรุงแต่งและทั้งสิ่งที่ปรุงแต่งนั้น มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเกิดความรู้สึกสลด สังเวช เกิดความเบื่อหน่าย ก็ให้ดูการที่จิตค่อยๆ ถอยออก ดูการที่ความรู้สึกโง่ รู้สึกหลง รู้สึกยึดถือนั้น ไม่อาจจะเกิดขึ้นมาอีก ดูความที่ตัวกูของกู ไม่อาจโผล่ขึ้นมาอีก ระยะนี้เรียกว่า ดูธรรม หรือดูธรรมะอยู่ที่ส่งทั้งปวงและอยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก
ระยะที่ห้า คือ พิจารณาที่จิต เมื่อดูอย่างนั้นย่อมมีความหน่าย คลายกำหนัด มีความปล่อยวาง อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ
บรรยายอบรมกลุ่มนิสิต นักศึกษา บวชภาคฤดูร้อน
ณ สวนโมกขพลาราม ไชยา
**********

สรุปสั้นๆ ก็มีว่า ทางด้านหนึ่งก็คือการเกลียดระเบียบกฏข้อบังคับ ทางศีลธรรม ความกดดันทางศีลธรรมที่มีอยู่อย่างแบบเก่า คือต้องเคร่งครัดในศีลธรรม นี้กดดันเด็กพวกนี้ไม่ชอบ; แล้วอีกทางหนึ่ง คือขาดความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องปรมัตถธรรมของชีวิต ขาดความรู้ทางปรมัตถธรรม ที่ผมเรียกว่าบรมธรรมนี้. เรื่องบรมธรรมนี้ คือปรมัตถธรรมชองชีวิตเพราะเขาขาดความรู้เรื่องนี้. ดูเอาเถิด อย่างทีแรกนั้นคือความถูกบังคับกดดันของศีลธรรมของระเบียบ ของอะไรต่างๆ ที่คนสมัยโบราณเขายินดีรับ แต่เด็กๆ สมัยนี้ไม่ยินดีรับ. เมื่อทั้ง ๒ อย่างนี้ รวมกันเข้ามันก็เกิดลัทธิฮิปปี้ คือตามใจตัวตาม วิถีทางแห่งประชาธิปไตยที่มีอิสรภาพ เสรีภาพ; แล้วลัทธินี้มันก็เกิดเอง ไม่ต้องมีใครไปทำให้เกิด มันก็เกิดเอง สิ่งต่างๆ เป็นไปตามกฎธรรมชาติ หรือตามกฎของพระเจ้า.

เมื่อทนการควบคุมของศีลธรรมไม่ได้ ก็หาทางออก อ้างเป็นเสรีภาพเมากันยิ่งกว่าเมาเหล้า มันก็ต้องไปตามใจของกิเลส แล้วพวกนี้ยังจะมีหน้ามาเผยอพูด ว่าเป็นเรื่องทางวิญญาณ หาอิสรภาพทางวิญญาณ. แต่ว่าที่เขาพูดวิญญาณๆ นั้นมันคนละความหมาย เพราะว่าวิญญาณของมนุษย์หรือของอารยชน ของพระอริยเจ้าก็อย่างหนึ่ง วิญญาณของภูตผีปีศาจ ก็อีกอย่างหนึ่ง. ถ้าพูดว่า “ทางวิญญาณ” ก็ต้องวิญญาณของอารยชน ของพระอริยเจ้าจึงจะได้ ไม่ใช่วิญญาณของภูตผีปีศาจ ที่เมาในกามารมณ์แล้วใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือสำหรับอ้าง เพราะฉะนั้นผลก็เกิดขึ้นคือลัทธิฮิปปี้. การตามใจตัว ไม่อยู่ในขอบเขตของอะไรไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่าจริยธรรมหรืออะไรทำนองนั้น มีอะไรเป็นของตัวหมด สิ่งนี้เป็นผลของการศึกษาที่จัดไปไม่ถูกตามความต้องการของพระเจ้า.
อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ
บรรยายอบรมกลุ่มนิสิต นักศึกษา บวชภาคฤดูร้อน
ณ สวนโมกขพลาราม ไชยา
**********

๑๒ เมษายน ๒๕๑๒ วันนี้ สำหรับพวกเราได้ล่วงมาถึง ๕.๐๐ น. แล้ว จะได้พูดถึงถึงเรื่องบรมธรรมต่อไป คือจะพูดถึง “บรมธรรมกับการศึกษาของโลกในสมัยปัจจุบัน”. ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องนั้น ก็อยากจะพูดเป็นพิเศษในข้อที่ให้สังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่า อุปสรรคต่อการลุถึงบรมธรรมว่าถ้ามันจะมีขึ้นในโลกสมัยนี้ ก็เพราะอะไรๆ ในโลกสมัยนี้ มีการจัดการทำอย่างไม่ตรงกับความมุ่งหมายของบรมธรรมนั่นเอง.

อาทิ เช่นการศึกษา การเมือง การเศรษฐกิจ หรือ อะไรก็ตาม ตกมาถึงสมัยนี้มันทำไปในลักษณะที่ไม่ตรงตามความมุ่งหมายของบรมธรรม และที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเหตุที่ว่า คนในโลกไม่สนใจต่อบรมธรรม และที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเหตุที่ว่า คนในโลกไม่สนใจต่อบรมธรรม จึงจัดทำสิ่งต่างๆ ไปในลักษณะที่ไม่ตรงต่อความมุ่งหมายของสิ่งที่เรียกว่า บรมธรรม อันเป็นของจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์นั่นเอง.

มนุษย์ไม่สนใจต่อบรมธรรม ถึงกับไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นการจัดการศึกษาเป็นต้น มันจึงไปกันคนละทาง ดังนั้นสิ่งเหล่านั้นเอง จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการลุถึงบรมธรรมและก็มีอยู่หลายเรื่อง. สำหรับวันนี้เราจะพูดถึงเรื่อง การศึกษา ซึ่งจะได้พิจารณากันดูโดยละเอียด ในฐานะเป็นสิ่งที่ถือกันว่าสำคัญที่สุด เป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง.
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ : เจ็บไข้ได้ป่วย โอกาสแห่งการบรรลุธรรม

คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ : เจ็บไข้ได้ป่วย โอกาสแห่งการบรรลุธรรม

คนเรามักมองการป่วยว่าเป็นเรื่องทุกข์และไม่ได้มีข้อดีอะไรเลย แท้ที่จริงแล้วนั้น

ท่านพุทธทาสภิกขุ

ได้เคยกล่าวถึงการป่วยเอาไว้ว่า สิ่งนี้ทำให้เราได้คิดและไตร่ตรองอะไร

ในแง่มุมที่เราไม่เคยพบเจอมา เหมือนกับหัวข้อการเสวนาที่ท่านพุทธทาสภิกขุ

ได้พูดเอาไว้ในหัวข้อ “เจ็บไข้ได้ป่วย โอกาสแห่งการบรรลุธรรม” เห็นอย่างงี้แล้ว

ใครที่ป่วยอยู่หรือเป็นโรคประจำตัว ก็อย่างพึ่งย่อถ้อต่อชีวิต

เรื่องที่จะนำมากล่าวนี้ เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า แม้ในโอกาสแห่งความเจ็บไข้ ก็ยังเป็นโอกาสแห่งการบรรลุธรรมอันสูงสุดได้

อาตมาได้เคยกล่าวมาแล้วหลายครั้งหลายหนว่า ควรจะใช้โอกาสที่ดีที่สุดนี้ ให้ได้หรือให้เป็นกันไว้ทุกคน เพราะว่าทุกคนก็ต้องมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา และโอกาสนั้นเป็นโอกาสที่จะเห็นธรรม หรือบรรลุธรรม หรือแม้ที่สุดแต่จะพิจารณาธรรมยิ่งกว่าโอกาสใด

หากแต่ว่าคนโดยมากได้ละโอกาสนั้นเสีย คือว่าพอมีความเจ็บไข้ขึ้นมา ก็ดิ้นรนกระวนกระวาย แทนที่จะใช้โอกาสนั้นพิจารณาธรรม ก็ไปกลัวเสียบ้าง หรือกระวนกระวายอย่างอื่น เลยไม่เป็นโอกาส การทำอย่างนี้ไม่ถูกต้องตามวิธีที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
อ่านเพิ่มเติม

ตายเสียก่อนตาย (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ตายเสียก่อนตาย (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ตายเสียก่อนตาย…

ในคำโบราณที่พูดไว้ว่า : “นิพพานนั้นคือตายเสียก่อนตาย, หรือ
ตายเสียก่อนแต่ร่างกายตาย”…นี้อะไรตาย?? ก็คือ กิเลสที่เป็น
เหตุให้รู้สึกว่ามีตัวกู-ของกูนั่นแหละตาย กิเลสนี้ต้องตายเสร็จก่อน
ร่างกายตาย จึงจะเรียกว่านิพพาน นี่เป็นสิ่งที่ควรจดจำไว้ด้วยว่า

“ดีอยู่ที่ละ พระอยู่ที่จริง
นิพพานอยู่ที่ตายเสียก่อนตาย”. ;
เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เห็นว่า มีการพูดที่สับสน คราวหนึ่งคนหนึ่ง
สอนว่า ให้ตายเสียก่อนตาย, คราวหนึ่งนี้มีผู้ที่สอน ว่าจงทำให้
ไม่รู้จักตาย ที่แท้มันเป็นคำพูดที่ถูกด้วยกันทั้งนั้น เพราะมีความ
หมายมุ่งไปอย่างหนึ่งๆ : รวมความแล้วคือ ดับตัวกู – ของกูเสียได้
ไม่มีความยึดมั่นตัวกู – ของกูเหลืออยู่ นั่นแหละคือใจความของ
การปฏิบัติ
อ่านเพิ่มเติม

ดีในชั่ว- ชั่วในดี-กลอนธรรมะ-พุทธทาสภิกขุ

ดีในชั่ว- ชั่วในดี-กลอนธรรมะ-พุทธทาสภิกขุ

ในความเป็นจริงของชีวิตไม่มีใครบริสุทธ์ผุดผ่องไปเสียทุกเรื่อง

ดีบ้างชั่วบ้างย่อมปะปนกันไป

ในความมืดก็ย้งมีความสว่างเล็ดลอดออกมาได้

ดวงจันทร์ก็ยังมีด้านมืด มีด้านสว่าง

ราตรีอันมืดมิด ก็ยังรอรุ่งอรุณ

สิ่งที่สำคัญ ใครจะเก็บเกี่ยวคุณงามความดีไว้ได้

ในแต่ละเหตุการณ์ ในแต่ละเหตุ แต่ละปัจจัย ต่างหาก
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะ พุทธทาสภิกขุ

ธรรมะ พุทธทาสภิกขุ

ธรรมะ

ความหมายของธรรม ถ้าจะว่ากันแท้จริงแล้ว ชีวิตก็เป็นธรรมะอยู่แล้ว แต่มีธรรมะอีกหลาย ๆ อย่างที่ต้องประกอบกันอยู่ คำว่าธรรมะ มีความหมายประกอบกัน 4 อย่างคือ
ตัวธรรมชาติ
กฎธรรมชาติ
หน้าที่ตามกฎธรรมชาติ
ผลที่เกิดจากหน้าที่
ธรรมะกับชีวิต
เมื่อมองตัวเรา เนื้อหนัง ร่างกาย จิตใจของเราที่มีอยู่นี้เรียกว่า “ตัวธรรมชาติ” ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณที่เป็นตัวร่างกายมีชีวิต นี้เรียกว่า ตัวธรรมชาติ
ตัวกฎธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา ในร่างกายของเราที่มันจะเกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เจริญอย่างไร เสื่อมอย่างไร กระทั่ง เราจะต้องทำอย่างไรกับมัน เป็นตัวกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในชีวิตนี้แล้ว
หน้าที่ของเรา ก็คือต้องทำให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์นั้น ๆ เพื่อมีชีวิตอยู่ได้และเพื่อชีวิตเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อชีวิตอยู่ได้มันมีกฎเกณฑ์ทำให้เกิดหน้าที่แก่เรา เช่น เราต้องรับประทานอาหาร ต้องอาบน้ำ ต้องถ่าย ต้องหาปัจจัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ กระทั่งการคบหาสมาคมกับบุคคลรอบด้านหรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา ให้ถูกต้อง นี่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้อยู่รอดได้ ถ้าทำหน้าที่นี้ไม่ถูกต้องมันอาจจะตายหรือเกือบตาย หน้าที่อีกแผนกหนึ่ง ก็คือ จะต้องทำให้เจริญด้วยคุณค่ายิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
การเป็นมนุษย์ คนหนึ่งนั้นหมายความว่า มันต้องได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ถ้าไม่ได้รับสิ่งนี้ มันก็เสียชาติเกิดเพราะว่ามันจะต้องได้เต็มที่ ตามที่มนุษย์อาจจะรับได้ ฉะนั้นจึงเกิดเป็นหน้าที่อีกชั้นหนึ่งว่า เราต้องทำให้ได้รับผลประโยชน์ของความเป็นมนุษย์ให้ถึงที่สุด อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .