สรณะ-ที่พึ่ง ท่านพุทธทาสภิกขุ

สรณะ-ที่พึ่ง ท่านพุทธทาสภิกขุ

พระรัตนตรัย

พระพุทธะ พระธรรมะ และพระสงฆ์
ล้วนต่างองค์ เป็นสามพระ หรือไฉน
หรือเป็นองค์ เดียวกัน ที่ชั้นใน
ดูเท่าไร ก็ไม่เห็น เป็นสามองค์

นั่นถูกแล้ว ถ้าดูกัน แต่ชั้นนอก
คือดูออก มีพุทธะ จอมพระสงฆ์
ได้ตรัสรู้ ซึ่งพระธรรม ทรงจำนง
สอนพระสงฆ์ ทั้งหลาย ให้รู้ตาม

แต่เมื่อดู ชั้นใน กลับได้พบ
ว่าธรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ครบ ในพระสาม
ทั้งพุทธ สงฆ์ หรือว่าองค์ พระธรรมงาม
ล้วนมีความ สะอาด สว่าง สงบ บรรจบกัน ฯ

http://www.fasaiclub.com/read.php?tid-5810.html

เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ

เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ

นายเสรี ลพยิ้ม บันทึก: เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ มีคำพูดคำหนึ่งที่น่าประทับใจ ของท่านพุทธทาส ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งก็คือ “วันทั้งวัน ฉันไม่ได้ทำอะไร” คำกล่าวนี้ถือได้ว่า เป็นการมุ่งเน้นให้มีการทำงานด้วยความว่าง คือ โลภ โกรธ หลง อัน ทำให้เกิด ตัวกู-ของกู และเป็นตัวต้นเหตุ แห่งความ “วุ่น” เช่น ชาวนาทำนา ไปด้วยความอยากร่ำรวย ขุดดินแต่ละครั้งก็นึกถึงทีวีสี อยากมีรถขี่ หรือมีเงินซื้อเหล้ากิน ข้าราชการก็ทำงาน เพราะอยากจะได้ สอง ขั้น อยากจะมีอำนาจบาตรใหญ่ หรือแม้แต่การทำบุญทั้งๆที่ยื่นมือให้แต่ใจกลับ ขอเป็นเศรษฐีขอมีเงินล้านเพิ่มความขี้โลภ ให้กับตัวเองอีกหลายเท่าตัว “วันทั้งวัน ฉันไม่ได้ทำอะไร” จึงเป็นคำเตือนใจ ให้มีการกระทำที่ว่างจากตัวฉัน ขึ้นมาเรียกร้องต้องการสิ่งใดๆ เหมือนเครื่องจักรกล ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตงาน ออกมาได้มากมาย โดยไม่ต้องกังวลใจกับลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ เป็นการทำงานเพื่องานก็จะทำให้งานสนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน และงานที่ทำออกมา ก็จะได้งานชิ้นเอก อันเกิดจากจิต ที่มีความเป็นเอก(เอกัคตารมณ์)กับงานที่ทำ กับคำที่พูด อย่างรู้ตัวทั่วถึงพร้อม และแววไว ในการกระทำของตน มีสามเณรวุ่นๆอยู่รูปหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

ด้วยวุฒิการศึกษาเพียงชั้นม.๓ นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๓ ประโยค พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ ภิกษุหนุ่มวัย ๒๖ ปี ได้ริเริ่มทำสิ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศไทย ในทางรูปธรรมสิ่งนั้นได้แก่สวนโมกขพลาราม ในทางนามธรรมสิ่งนั้นคือพุทธศาสนาอย่างใหม่ที่สมสมัย แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติอย่างสมัยพุทธกาล
พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ หรือที่โลกรู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งซึ่งได้นำพุทธศาสนาไทยออกมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง และสามารถนำปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างใหม่กลับไปหารากเหง้าทางภูมิปัญญาอันมีพระบรมศาสดาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ท่านจะมีการศึกษาตามระบบไม่มากนัก แต่ก็รู้ลึกในศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา จนไม่เพียงเห็นจุดอ่อนของศาสตร์เหล่านั้น หากยังสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นมาใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างจับใจปัญญาชน ในอีกด้านหนึ่งแม้ท่านมิใช่เปรียญเอก (แถมยังสอบตกประโยค ๔ ด้วยซ้ำ) แต่ก็เชี่ยวชาญเจนจัดในพระไตรปิฎก และรู้ซึ้งถึงคัมภีร์อรรถกถา จนสามารถเข้าถึงแก่นพุทธศาสน์ และนำมาอธิบายให้คนร่วมสมัยได้อย่างถึงใจชนิดที่กระเทือนไปถึง “ตัวกู ของกู” อีกทั้งยังสามารถวิพากษ์สังคมร่วมสมัยและเสริมเติมศาสตร์สมัยใหม่ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน
อ่านเพิ่มเติม

วันนี้ในอดีต 8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

วันนี้ในอดีต 8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ (2449-2536) มรณภาพอย่างสงบที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี
พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) เดิมชื่อเงื่อม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนแรกของนายเซี้ยงและนางเคลื่อน พานิช มีน้องชายชื่อนายยี่เกย (นายธรรมทาส พานิช) และน้องสาวชื่อนางกิมช้อย เหมะกุล ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย บิดาเป็นคนจีน ส่วนนามสกุล “พานิช” นั้นเป็นนามสกุลที่ นายอำเภอตั้งให้ มรณะภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

เมื่ออายุได้ 8 ปี ท่านได้เรียนหนังสือโดยหัดอ่านจากทางบ้าน ครั้นอายุได้ 9 ปี จึงเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน โพธิพิทยากร วัดโพธาราม จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนแห่งนี้ แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนมัธยม ประจำอำเภอไชยา จนจบการศึกษาชั้นต้นในปี พ.ศ.2463 แล้วลาออกมาช่วยบิดาค้าขายและศึกษาด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาเมื่อบิดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2465 ได้เลิกค้าขายที่ไชยาแล้วกลับมาค้าขายที่พุมเรียงตามเดิมโดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการร้านจนกระทั่งอายุได้ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2463 โดยมีพระครูโสภณเจตสิดาราม (คง วิมาโล) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม และรองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” จำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่
ท่านสอบนักธรรมโท ได้หลังจากบวชได้ 2 พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษาธรรมที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ จนกระทั่งสอบได้นักธรรมเอกและภาษาบาลี ได้เปรียญธรรมสามประโยค แล้วจึงเดินทางกลับพุมเรียงเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
อ่านเพิ่มเติม

เปิด…คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ กับวลีท่านพุทธทาส : ของกู – ของสู

เปิด…คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ กับวลีท่านพุทธทาส : ของกู – ของสู

เคยหรือไม่? เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร วันๆ นอกจากกิน, นอน, ทำงาน, เที่ยวเตร่, อ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังเพลง, คุยกับเพื่อนกับแฟน ฯลฯ ซ้ำไปซ้ำมาแล้ว ชีวิตมีอะไรเป็นแก่นสารบ้าง สมมุติว่าเรามีเงินมากมาย จนไม่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือ มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวที่ดี เรียกว่ามีครบไปหมดซะทุกสิ่งที่ควรมีแล้ว

คนๆ นั้นยังจะมีความสุขโดยไม่มีทุกข์หรือไม่ ถ้ายังมีทุกข์อยู่อีก เช่นนั้น คนเราจะต้องมีแค่ไหนจึงจะเพียงพอ แค่ไหนจึงจะทำให้มีความสุข โดยไม่เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจขึ้นอีก ไม่ทุกข์เรื่องนั้น ก็ต้องมาทุกข์เรื่องนี้ หรือมนุษย์เราไม่มีทางหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้ ชีวิตเช่นนี้ เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่าจะไปสิ้นสุดเช่นไร และอย่างไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยคิด คิดแล้วเคยหาคำตอบได้หรือเปล่า หรือเพียงคิด แล้วก็ผ่านเลยไป เพราะมีอะไรต้องทำ ต้องคิดอีกมากมาย และที่สุดแล้ว ชีวิตก็ยังวนเวียนซ้ำๆ ซากๆ อยู่กับวงจรเดิมๆ เราจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ล่ะหรือ?
อ่านเพิ่มเติม

สวนโมกขพลารามและท่านพุทธทาสภิกขุ

สวนโมกขพลารามและท่านพุทธทาสภิกขุ

โดย ศ.นพ. ประเวศ วะสี

สำนักนี้มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าสำนัก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน
(ธันวาคม พ.ศ. 2529 ขณะที่เขียน)

เอกลักษณ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ ลักษณะจำเพาะของเจ้าสำนักสวนโมกขพลาราม พอประมวลเป็นสังเขปได้ดังนี้

1. มีสมองดี

2. ไม่เชื่อง่าย

3. ปฏิเสธวัตถุนิยม

4. พุทธิจริต

5. ชอบใช้ปัญญาเจาะลึก

6. มีอิทธิบาท 4 สูง

7. มีความสนใจและความสามารถในการสื่อมาก ลักษณะเหล่านี้เป็นปัจจัยประกอบกันส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ตามลำดับ
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยวิถีธรรม20 ปีมรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (1)

ตามรอยวิถีธรรม20 ปีมรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (1)

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ — อาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2556 00:00:52 น.

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ ได้พาคณะสื่อมวลชนร่วมเดินทางตามรอยพระธรรม โกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือที่รู้จักในนาม พุทธทาสภิก “พุทธทาสภิกขุ” เนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีมรณกาล พ.ศ.2536-2556 ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเดินทางครั้งนี้เพื่อเยือนแผ่นดินถิ่นกำเนิดของ “พุทธทาสภิกขุ” พระสงฆ์ที่ยูเนสโกยกย่องให้ท่านเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ผู้มีแรงบันดาลใจธรรมะจากจุดเล็กๆ คือตัวเอง แล้วแผ่ขยายสู่ผู้คนหลายชาติ หลายศาสนา มีมรดกธรรมที่ฝากไว้มากมาย ผลงานหนังสือธรรมะที่ทุกวันนี้ก็ยังขายดีและเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ อาทิ คู่มือมนุษย์ ตัวกู-ของกู ตามรอยพระอรหันต์ อานาปานสติ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

เนื่องในวันนี้ในครั้งอดีต วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นวันที่พุทธทาสภิกขุ มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ด้วยวัย 87 ปี ทีมงาน toptenthailand ขอรำลึกถึงท่านด้วยหัวข้อ “10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พุทธทาสภิกขุ”

เครดิต : คุณชายสิบหน้า
แหล่งที่มา : Wiki pedia

10. มรณภาพ

ท่านพุทธทาสภิกขุ อาพาธด้วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ท่านเคยอาพาธมาหลายครั้งด้วยโรคต่าง ๆ ตามวัยและสังขารตามธรรมชาติ ในการอาพาธครั้งนี้ ท่านหมดสติ (ไม่รู้สึกตัว) แพทย์บอกว่า ถ้าเป็นในคนหนุ่มสาวคงตายแล้ว เพราะในคนหนุ่มสาว เนื้อสมองจะแน่นเต็มกระโหลกศีรษะ เลือดออกไม่มากนักก็กดเนื้อสมองได้มาก ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว แต่ในคนสูงอายุ เนื้อสมองหดเล็กลง (สมองฝ่อ) จึงมีช่องว่างให้เลือดออกมาแทรกอยู่ได้โดยไม่กดเนื้อสมองมากนัก แต่ท่านก็มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อ่านเพิ่มเติม

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ เรื่องจิตว่าง

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ เรื่องจิตว่าง

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ

เสียดายว่าทุกวันนี้บรรยากาศวิวาทะอย่างสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเช่นนี้ไม่มีให้เห็นและฟังเท่าไหร่…ไป “สัปดาห์หนังสือ” ได้หนังสือเก่าที่บันทึกการอภิปรายร่วมกันระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชที่หอประชุมคุรุสภา, เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔๓ ปีมาแล้ว) ว่าด้วยวิวาทะของสองปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังคมไทยสมัยนั้น, ก็ให้เห็นความขาดแคลนเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมา (โดยไม่ต้องฟาดฟันกัน, แยกพวกแยกเหล่ากัน) ของปัจจุบันยิ่งนักยิ่งทำให้เห็นว่าสาเหตุแห่งความวิบัติของสังคมไทยวันนี้เป็นเพราะขาดความเคารพในสติปัญญาของกันและกัน, การไม่พยายามทำให้เข้าใจในความคิดที่แปลกแยก, มุ่งแต่จะทำลายกัน, สังคมจึงไร้ปัญญาอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้หนึ่งในประเด็นวิวาทะระหว่างท่านพุทธทาสกับ อ. คึกฤทธิ์วันนั้น คือเรื่อง “จิตว่าง” ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความสนุก, ความรู้และกระตุ้นความคิดวิเคราะห์เรื่องศาสนาพุทธด้วยอย่างยิ่ง
ตอนหนึ่ง, ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า อ่านเพิ่มเติม

ย้อนรอยบ้านเกิด “พุทธทาสภิกขุ” ในแดนใต้

ย้อนรอยบ้านเกิด “พุทธทาสภิกขุ” ในแดนใต้

หากยังมีชีวิตอยู่ท่านพุทธทาสภิกขุจะมีอายุครบ 107 ปีในปีนี้ โดยที่หลักคำสอนของท่านถือเป็นมรดกธรรมที่สืบสานต่อมา ครั้งนี้ศิษย์หลายรุ่นจึงร่วมเดินทางตามรอย ย้อนไปศึกษาชีวิตของท่านพุทธทาสถึงบ้านเกิดในแดนใต้

ใบไม้กิ่งไม้คือหลังคาโบสถ์ ผนังโบสถ์คือต้นไม้ เป็นรูปแบบของโบสถ์บนยอดเขาพุทธทอง ศูนย์กลางสวนโมขพลาราม ภายในวัดธารน้ำไหล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดจากแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาส อินทปัญโญ นำหลักการสังคมสงฆ์สมัยพุทธกาล มาจัดเป็นอารามสวนป่าใกล้ชิดธรรมชาติ ยังเป็นที่หมายในวันสำคัญให้พุทธศาสนิกชนมาร่วมรำลึกถึงธรรมที่พระพุทธองค์แสดงไว้เมื่อ 2600 ปีล่วงมาแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการ! วิพากษ์พุทธทาสในวันล้ออายุปีที่ 105

ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการ! วิพากษ์พุทธทาสในวันล้ออายุปีที่ 105

พระ เงื่อม อินทปัญโญ หรือที่เรารู้จักกันในนาม “พุทธทาสภิกขุ” นับได้ว่าเป็นพระปัญญาชนชาวไทยที่มีความโดดเด่นที่สุดคนหนึ่ง นับจากพระวชิรญาณภิกขุ วัตรปฏิบัติ ตัวตนและคำสอนของเขาได้กลายเป็นชุดความคิดหลักอันแข็งแกร่ง คำสอนเชิงจิตวิญญาณ ประสบการณ์การตื่นรู้ การตีความพระไตรปิฎก ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้เขียน แต่การนำคำสอนทางศาสนาไปตัดสินความถูกต้องทางการเมืองของพุทธทาสต่างหากที่ นอกจากจะไม่มีคนตั้งคำถามอย่างเป็นกิจลักษณะแล้ว [3] กลับสนับสนุนเอออวย วิธีคิดหลายอย่างของเขานับวันจะเป็นการบั่นทอนทำลายการเมืองที่เปิดกว้างแบบ ประชาธิปไตย ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ความเชื่อมั่นวางใจในมนุษย์ปุถุชนว่ามีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน มีความสามารถพอเพียงที่จะดูแลกันได้ แต่หลักธรรมที่ตีความโดยพุทธทาสกลับมีนัยที่ตรงกันข้ามอย่างรุนแรง
อ่านเพิ่มเติม

๑๐๐ ปีชาตกาล “พุทธทาสภิกขุ”

๑๐๐ ปีชาตกาล “พุทธทาสภิกขุ”

พระนักเขียนหนังสือ พระผู้มอบมรดกธรรมให้สังคมไทย

จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม

ในบรรดาพุทธสาวกคงไม่มีพระรูปใดที่เขียนหนังสือเผยแผ่พุทธธรรมไว้มากเท่าพระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ หรือที่ท่านมักเรียกตัวเองว่า พุทธทาส อินทปัญโญ มีมากกว่า ๑๔๐ เล่ม

สมดังคำเมื่อครั้งที่ท่านปวารณาตนไว้เมื่อแรกใช้นาม “พุทธทาส” ซึ่งแสดงถึงอุดมคติสูงสุดในการรับใช้พระพุทธศาสนา ท่านเขียนไว้ในบันทึก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า “…ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมายต่อความสุขนี้ และประกาศเผยแพร่ความสุขนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ในพระพุทธศาสนา…”

เดิมทีนั้นท่านเป็นพระนักเทศน์ ท่านได้ริเริ่มการเทศน์ในรูปแบบของปาฐกถาธรรมที่ประยุกต์ทั้งรูปแบบ และเนื้อหาของธรรมะให้การแสดงธรรมสมสมัย เข้าถึงผู้สนใจธรรมทุกหมู่เหล่า หรือที่เรียกว่า “ภาษาคน ภาษาธรรม”
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมทาน จาก ท่านอ.พุทธทาส

ธรรมทาน จาก ท่านอ.พุทธทาส

“…เมื่อประสบความสำเร็จ
สิ่งแรกก็คือดีใจ จนลืมตัว และโง่ลงไปบางอย่าง
สำหรับจะประมาท หรือสะเพร่าในอนาคต
ความสำเร็จ เป็นครูที่ดีน้อยกว่า ความไม่สำเร็จ
ความไม่สำเร็จ แต่มีเสน่ห์จนคนทั่วไป เกลียดความไม่สำเร็จ
…เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ
เราจะได้อะไร ที่มีค่ามากกว่า เมื่อประสบความสำเร็จไปเสียอีก
ถ้าเป็นจิตนิยม แต่เราไม่รู้-ไม่รู้สึก ถือเอาไม่ได้
แต่คนทั่วไป มองมันในแง่ลง เห็นเป็นความเสียหาย
และเกิดทุกข์ใหม่เพิ่มขึ้นอีก เป็นโชคร้ายไปเสียโน่น
…ถ้าต้อนรับความไม่สำเร็จ อย่างถูกต้อง
มันจะมอบความรู้ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ถึงที่สุดในกาลข้างหน้า
จนกลายเป็นผู้ทำอะไร สำเร็จไปหมด…”

อ่านเพิ่มเติม

โอวาทคำสอนของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ

โอวาทคำสอนของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ

ตายให้เป็นคือตายชนิดที่ไม่ตาย แต่กลับเป็นอยู่ตลอดกาล และต้องเป็นการกระทำชนิดที่เรียกว่าตายเสียก่อนตาย คือ ตายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนแต่ร่างกายแตกดับ……

๐ ๐ ๐ ๐
การกุศลที่แท้จริงและสูงสุดนั้นคือ….การทำให้มนุษย์ได้รู้ถึงสิ่งที่มนุษย์ควรรู้หรือจำเป็นต้องรู้ และให้ได้ถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงหรือจำเป็นต้องเข้าถึง กล่าวคือธรรมะที่ทำให้จิตใจสูง ได้แก่การที่มีใจมีความสะอาดปราศจากกิเลส ใจสว่าง สงบของจิตใจ ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนหรือต้องการก่อนสิ่งอื่นใด
ทั้งหมดทั้งสิ้น

อย่ามุ่งหมายความสุขอันประเสริฐอะไรๆให้มากไปกว่าความปกติของจิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขี้นไม่ลงไปตามอารมณ์ที่กระทบ เพราะไม่มีสุขอะไรประเสริฐยิ่งไปกว่าความปกติของจิตนั้น…. ๐ ๐ ๐ ๐

http://supissara.myreadyweb.com/article/category-36353.html

“พุทธทาสภิกขุ” ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ส่องสว่างทางธรรมให้กับโลก

“พุทธทาสภิกขุ” ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ส่องสว่างทางธรรมให้กับโลก

เลิศชาย ปานมุข:

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
อ่านเพิ่มเติม

มหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2549 ณ พุทธมณฑล

มหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2549 ณ พุทธมณฑล

กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปีพุทธทาสภิกขุ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้จัดงานมหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2549 ที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองชาตกาล 100 ปีพุทธทาสภิกขุ ซึ่งตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

การจัดงานมหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ นับเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยจะเป็นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2549 ถึงปี 2550 เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูท่านพุทธทาสภิกขุ ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการยกย่องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งยูเนสโกได้ประกาศร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ด้วย เนื่องจากได้ตระหนักว่าท่านเป็นผู้มีผลงานโดดเด่นในการส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างมวลมนุษย์ตามหลักการ ดำเนินงานของยูเนสโก โดยการเผยแพร่หลักธรรมหรือแนวปรัชญาของท่านพุทธทาสภิกขุ ได้มีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารต่างๆ มากมาย และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 10 ภาษา
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาส ภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก

พุทธทาส ภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก
ศ.พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

การที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกย้ำเตือนถึงความจริงของบทกลอนของท่านพุทธทาสที่ว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” ผลงานของท่านนอกจากจะไม่ตายไปจากความทรงจำของชาวพุทธแล้ว ยูเนสโกยังประกาศยกย่องท่านพุทธทาสไปทั่วโลก
เราอาจตั้งคำถามว่า ทำไมท่านพุทธทาสจึงได้รับยกย่องจากยูเนสโก เขามองท่านพุทธทาสอย่างไร ใครที่อยากจะได้รับการยกย่องในเวลาร้อยปีชาตกาลของตนแบบท่านพุทธทาสก็อาจจะจับประเด็นได้และทำผลงานให้ตรงจุด บางคนอาจได้คิดว่า เมื่อยูเนสโกยังยกย่องท่านพุทธทาส ทำไมเราจึงไม่ศึกษางานของท่านบ้าง เรากลายเป็นพวกใกล้เกลือกินด่างหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะหันมาศึกษางานของท่านพุทธทาส ให้มากขึ้น อาตมาเคยพูดถึงท่านพุทธทาสเมื่อประมาณ ๒๕ ปีมาแล้วในปี ๒๔๒๕ เมื่อพูดแล้วได้พิมพ์เป็นหนังสือเรื่องเปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับฌอง-ปอล ชาร์ต นักเขียนรางวัลโนเบลของฝรั่งเศส เป็นนักปรัชญาเอกซิสเตนเชียลิสม์ พิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกในปี ๒๕๒๖ อะไรที่เคยพูดไว้ในหนังสือนั้นเป็นอีกมุมมองหนึ่งซึ่งจะไม่พูดถึงในวันนี้
อ่านเพิ่มเติม

ศิลปะการประหยัดของพุทธทาส

ศิลปะการประหยัดของพุทธทาส

มีสลึง พึงบรรจบ ให้ครบบาท
อย่าให้ขาด สิ่งของ ต้องประสงค์
มีน้อย ใช้น้อย ค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลง ให้มาก จะยากนานฯ

กลอนโบราณบทนี้ อาจจำเป็นต้องหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นให้คนไทย หันกลับมาตระหนักเรื่อง “ความประหยัด” กันใหม่แบบจริงจังเสียที หลายคนคงไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ ยิ่งเด็ก เยาวชนรุ่นใหม่ จะยิ่งเข้าใจยาก เพราะพวกเขาอาจไม่รู้จัก แม้แต่เหรียญสลึงด้วยซ้ำ!

โดยเฉพาะใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นยุคหลังผ่านวิกฤติการณ์น้ำท่วมใหญ่รอบ ๕๐ ปีของไทย ถึงกับพร้อมใจกันขนานนามว่ามหาอุทกภัย และยังมี After Shock ตามมาอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวของที่จำต้องขึ้นราคา ไหนจะค่าแท็กซี่ที่ขู่จะขึ้นค่าโดยสารกันฮึ่มๆ เพราะค่าน้ำมัน ค่าแก๊สที่ผันผวน ฯลฯ เหล่านี้ จะเป็นแรงเหวี่ยงทางเศรษฐศาสตร์ ที่จะทำให้สรรพสิ่งรอบตัว พากันขยับราคาแพงกันไปหมด ถ้าเราไม่ตระหนักเรื่อง “การประหยัด” ในวันนี้ เกรงว่าอาจสายเกินการณ์
อ่านเพิ่มเติม

‘ล้ออายุ’ พุทธทาส 105 ปี

‘ล้ออายุ’ พุทธทาส 105 ปี

คนส่วนใหญ่อาจฉลองวันเกิดด้วยการจุดเทียนบนเค้กก้อนใหญ่ แล้วแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องอย่างมีความสุข แต่สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ วันเกิดคือ “วันประหารอาสวกิเลสให้สิ้น” ซึ่งเป็นหนทางสู่ความสุขที่ยั่งยืน
นับเป็นปีที่ 15 แล้ว ที่นายวุฒิ วิพันธ์พงษ์ อาสาสมัครกลุ่มอยู่เย็นเป็นประโยชน์ เข้าร่วมกิจกรรมล้ออายุท่านพุทธทาสภิกขุ เนื่องจากรู้สึกเลื่อมใสในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา จากการได้สนทนาธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ ขณะบรรพชาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ วัย 35ปี คนนี้ บอกว่า กิจกรรมล้ออายุเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2509 เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุ ต้องการปลูกฝังให้พุทธศาสนิกชนไม่ยึดติดกับอายุ และเปลี่ยนการเฉลิมฉลองวันเกิด มาเป็นการพิจารณาการกระทำของตนเองในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .