ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด (พุทธทาส ภิกขุ)

ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด (พุทธทาส ภิกขุ)

ใครจะชอบใครชังช่างเขาเถิด
ใครจะเชิดใครแช่งก็ช่างเขา
ใครจะด่าว่าบนก็ทนเอา
ใครจะเมามากมายไม่หมายมอง
ชอบ ก็ช่างเขาไงเราไกลหนี
ชอบก็ดีวางไว้ไม่ฉลอง
ชอบไม่เห็นไม่รู้ดูดั่งทอง
ชอบไม่ต้องเกี่ยวแวะนั่นแหละดี
ใครรักเราเรารู้อยู่ว่ารัก
ใครไม่ทักรักใคร่ก็ไปหนี
ใครสรรเสริญเยินยอก็พอที
ใครราวีคิดร้ายไม่หมายสู้
ชังก็ช่างไม่อีนังไปขังขอบ
ชังเกินชอบตอบช่างวางไว้หู
ชังหนังหน้าไม่เห็นเช่นไม่ดู
ชังก็อยู่แค่ชังไม่ฟังเขา อ่านเพิ่มเติม

ทัศนะของพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับศาสนาๆ

The Ecumenical Vision of Buddhadasa Bhikkhu and
His Dialogue with Christianity
ทัศนะของพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับศาสนาๆ
และการสนทนาวิสาสะของท่านกับชาวคริสต์

Delivered on 2 May 2004 by Prof. Swearer
… สมหมาย เปรมจิตต์ แปล

To study different religions comparatively with an attitude of good will results in mutual understanding. This, in turn, brings about a way of thinking and acting in men which causes them not to hurt each other’s feelings. And not to hurt one another’s feelings further gives rise to peaceful co-existence par excellence between all societies and nations of the world.
Christianity and Buddhism are both universal religions; they exist wherever truly religious people practice their religion in the most perfect way. If religious persons show respect for each religion’s founder and for the Dhamma-truth at the core of each religion, they will understand this interpretation. Devotion to a religion results in the cessation of self-interest and self-importance and therefore leads to a realization of the universality and unity of all religions. (Buddhadasa Bhikkhu, Buddhism and Christianity)

การศึกษาเปรียบเทียบศาสนาต่างๆ ด้วยความหวังดี ย่อมจะก่อให้เกิดความเข้าใจกันดีขึ้น ทั้งจะทำให้เราไม่คิดที่จะทำในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความบาดหมางแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การไม่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นนั้น จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ระหว่างประชาคมโลก
ศาสนาคริสต์กับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาใหญ่ของโลก ศาสนาทั้งสองต่างก็มีศาสนิกที่ดี ที่ปฏิบัติตามศาสนาของตน หากศาสนิกของแต่ละศาสนาให้ความเคารพต่อศาสดาของกันละกัน และต่อสัจธรรมอันเป็นแก่นแท้ของแต่ละศาสนา ศาสนิกเหล่านั้นก็จะเข้าใจความหมายที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้ ศรัทธาความเลื่อมใสในศาสนา ทำให้คนเราลดทิฐิมานะ และการสำคัญตัวเองผิด ผลก็คือเราจะได้เห็นความเป็นสากลและเอกภาพของศาสนาทั้งหมด (Buddhadasa Bhikkhu, Buddhism and Christianity)
อ่านเพิ่มเติม

พุทธปรัชญาการศึกษาในทรรศนะพุทธทาสภิกขุ

พุทธปรัชญาการศึกษาในทรรศนะพุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุเป็นพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่มีผลงานและมีชื่อเสียงอย่างโดดเด่น ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งในต่างประเทศอีกด้วย มีทั้งผลงานที่เป็นเอกสาร หนังสือ แผ่นเสียง การบรรยายเป็นจำนวนมากมาย ทั้งยังมีผู้ทำการศึกษาวิจัยงานของท่านไว้มากมายยิ่ง อาจเป็นด้วยการเพราะผลของการศึกษา พระสัทธรรมที่ครอบคลุม ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงนำผลมาสู่การรังสรรค์ ผลงานที่เชื่อมโยงทั้งองค์ความรู้ปัจจุบันและการค้นคว้า ตีความเนื้อหาในคัมภีร์ทางด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ จนนำไปสู่การขยายองค์ความรู้ในวงกว้างทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติ ซึ่งสอดรับกับปณิธานทั้ง ๓ ประการของท่านคือ
อ่านเพิ่มเติม

เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ประมวลคำสอน

นับตั้งแต่กาลที่โลกว่างเปล่า เริ่มกลายเป็นมนุษย์โลกขึ้น เมื่อหลายแสนปีมาแล้ว มนุษย์ได้ใช้มันสมอง แสวงหาความสุขใส่ตน เป็นลำดับๆ มาทุกๆยุค, จนในที่สุด เกิดมีผู้สั่งสอนลัทธิแห่งความสุขนั้นต่างๆกัน, ตัวผู้สอนเรียกว่า ศาสดา, คำสอนที่สอนเรียกว่า ศาสนา, ผู้ที่ทำตามคำสอน เรียกว่า ศาสนิก, ทุกอย่างค่อยแปรมาสู่ความดียิ่งขึ้นทุกที, สำหรับคำสอน ขั้น โลกิยะ หรือ จรรยา ย่อมสอนมีหลักตรงกันหมดทุกศาสนา, หลักอันนั้นว่า จงอย่าทำชั่ว จงทำดี ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น, ดังที่ทราบกันได้อยู่ทั่วไปแล้ว : แต่ส่วนคำสอนขั้นสูงสุด ที่เกี่ยวกับความสุขทางใจ อันยิ่งขึ้นไปนั้น สอนไว้ต่างกัน. ศาสนาทั้งหลาย มีจุดหมายอย่างเดียวกัน เป็นแต่สูงต่ำกว่ากัน เท่านั้น

ทุกองค์ศาสดา เว้นจากพระพุทธเจ้า สอนให้ยึดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสาวกไม่มีความรู้(ไป)พิสูจน์ ว่าเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด เป็นผู้สร้างโลก และอำนวยสุขแก่สัตว์โลก เป็นที่พึ่งของตน, ให้นับถือบูชาสิ่งนั้น โดยแน่นแฟ้น ปราศจากการพิสูจน์ ทดลอง แต่อย่างใด. เริ่มต้นแต่ยุคที่ถือผี ถือไฟ ถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ต่างๆ มาจนถึง ยุคถือพระเป็นเจ้า เช่น พระนารายณ์ และ พระพรหมของศาสนาฮินดู พระยโฮวาของศาสนาคริสเตียนและยิว และพระอหล่าของอิสลาม ต่างสอนให้มอบความเชื่อในพระเจ้าเหล่านั้น แต่ผู้เดียว ว่าเป็น ผู้มีอำนาจเหนือสิ่งใดทั้งหมด ทั้งๆที่ไม่ต้องรู้ว่า ตัวพระเจ้านั้นเป็นอะไรกันแน่ และผิดจากหลักธรรมดาโดยประการต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุผู้ทำประโยชน์ 3

พุทธทาสภิกขุผู้ทำประโยชน์ 3

‘ยูเนสโก’ ยกย่อง ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือพุทธทาสภิกขุ เกิดเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2449 ที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในระหว่างที่เดินทางมาเรียนเปรียญธรรม 4 ประโยค อยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ศึกษาการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของประเทศศรีลังกา อินเดีย ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือรูปแบบมากเกินไป ความย่อหย่อนในพระวินัยของสงฆ์ ทำให้ท่านเชื่อว่าพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในเวลานั้น คลาดเคลื่อนไปจากที่พระพุทธองค์ได้ชี้แนะ ท่านจึงตัดสินใจกลับมาที่ อ.ไชยา และจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ท่านเชื่อมั่น จนทำให้หลายคนมองว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์ รับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ท่านก็รับฟังด้วยความเป็นกลาง จนในที่สุดท่านก็ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ไทย รวมถึงวงการศึกษาธรรมะของโลก ถึงกับได้รับการยอมรับว่า เป็น “เสนาบดีแห่งกองทัพธรรม” ในยุคหลังกึ่งพุทธกาล
“ท่านพุทธทาสภิกขุนับเป็นแบบอย่างของพระภิกษุสงฆ์ในการปฏิบัติธรรม ให้หลักธรรมคำสอนที่มีคุณค่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับชาวพุทธ และยูเนสโกจะร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบชาตกาล 100 ปี ของท่านพุทธทาสภิกขุ ในวันที่ 27 พ.ค. 2549 อ่านเพิ่มเติม

สดับธรรมจากคํากลอน (พุทธทาสภิกขุ)

สดับธรรมจากคํากลอน (พุทธทาสภิกขุ)

บุญเป็นอะไร?

สิ่งนั้นๆ เป็นเหมือน ของเกลื่อนกลาด
ที่เป็นบาป เก็บกวาด ทิ้งใต้ถุน
ที่เป็นบุญ มีไว้ เพียงเจือจุน
ใช้เป็นคุณ สะดวกคาย คล้ายรถเรือ,
หรือบ่าวไพร่ มีไว้ใช้ ใช่ไว้แบก
กลัวตกแตก ใจสั่น ประหวั่นเหลือ
เรากินเกลือ ใช่จะต้อง บูชาเกลือ
บุญเหมือนเรือ มีไว้ขี่ ไปนิพพาน
มิใช่เพื่อ ไว้ประดับ ให้สวยหรู
เที่ยวอวดชู แบกไป ทุกสถาน
หรือลอยล่อง ไปในโลก โอฆกันดาร
ไม่อยากข้าม ขึ้นนิพพาน เสียดายเรือ

ภัยร้ายของนักเรียน

เป็นนักเรียน เพียรศึกษา อย่าริรัก
ถูกศรปัก เรียนไม่ได้ ดั่งใจหมาย
สมาธิจะ หักเหี้ยน เตียนมลาย
ถึงเรียนได้ ก็ไม่ดี เพราะผีกวน
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
ประวัติ หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
๑. กำเนิดแห่งชีวิต ท่าน อาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาดพุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคนเป็นชาย ชื่อ ยี่เก้ย และ เป็นหญิง ชื่อ กิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลัก คือ การค้าขายของชำ เฉกเช่นที่ชาวจีนนิยมทำกัน ทั่วไป แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดากลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา
ส่วน อิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจในการศึกษาธรรมะอย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้นเรื่อง ความประหยัด เรื่องละเอียดละออในการใช้จ่าย และการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขายแทนบิดาซึ่งเสียชีวิต
ครั้นอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระตามคตินิยมของชายไทย ที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับ ฉายา ว่า “อินทปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ความสนใจความซาบซึ้ง ความรู้สึกเป็นสุขและสนุกในการศึกษา และเทศน์แสดงธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคยถามท่านขณะที่เป็นพระเงื่อม ว่า มีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า “ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด” “..แต่ถ้ายี่เก้ยจะบวช ผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย” ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่านควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้น ไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ยก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชายบวชแทนมาตลอด อ่านเพิ่มเติม

เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ

เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ

มีคำพูดคำหนึ่งที่น่าประทับใจ ของท่านพุทธทาส
ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งก็คือ

“วันทั้งวัน ฉันไม่ได้ทำอะไร”

คำกล่าวนี้ถือได้ว่า เป็นการมุ่งเน้นให้มีการทำงานด้วยความว่าง
คือ โลภ โกรธ หลง อัน ทำให้เกิด ตัวกู-ของกู
และเป็นตัวต้นเหตุ แห่งความ “วุ่น” เช่น ชาวนาทำนา
ไปด้วยความอยากร่ำรวย ขุดดินแต่ละครั้งก็นึกถึงทีวีสี
อยากมีรถขี่ หรือมีเงินซื้อเหล้ากิน ข้าราชการก็ทำงาน
เพราะอยากจะได้ สอง ขั้น อยากจะมีอำนาจบาตรใหญ่
หรือแม้แต่การทำบุญทั้งๆที่ยื่นมือให้แต่ใจกลับ
ขอเป็นเศรษฐีขอมีเงินล้านเพิ่มความขี้โลภ
ให้กับตัวเองอีกหลายเท่าตัว
อ่านเพิ่มเติม

ตัวกู ของกู – ท่านพุทธทาสภิกขุ

ตัวกู ของกู – ท่านพุทธทาสภิกขุ…ขอนำหลักคำสอนของท่านมาเผยแผ่นะคะ

คำสอนของท่าน พุทธาสภิกขุ มาเผยแผ่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านอื่นๆๆ

ว่ากันว่าการให้ใดใด ยังไม่เท่าการให้ธรรมะแก่ผู้อื่นเลยค่ะ

ความยึดมั่นว่าตัวว่าตนนี้เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งเร้นลับอย่างยิ่ง
สิ่งมีชีวิตทั้งหมดย่อมจะรู้สึกว่า มันเป็นตัวตนของมันอยู่ ดังนี้เสมอ
ไปอย่างช่วยไม่ได้ เพราะมันเป็นสัญชาตญาณชั้นต้นที่สุดของสิ่งที่มี
ชีวิต และเป็นมูลฐานของสัญชาตญาณอื่นๆ…

เช่น สัญชาตญาณหาอาหารการกิน สัญชาตญาณต่อสู้อันตราย หลบ
หนีอันตราย สัญชาตญาณสืบพันธุ์ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่
อาศัยสัญชาตญาณแห่งการรู้สึกยึดถือว่า เป็นตัวมันทั้งนั้น มันต้องยึด
มั่นว่ามีตัวมันเสียก่อน จึงจะไม่อยากตาย มันจึงอยากหาอาหารมา
เลี้ยงร่างกาย อยากต่อสู้เอาตัวรอด หรืออยากจะสืบพันธ์ของมันไว้
อ่านเพิ่มเติม

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 29 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 29 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร

รายละเอียด
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยความร่วมมือของภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไปด้วยแนวความคิดสร้างหอไตรกลางเมืองกรุง เพื่อเป็นคลังปัญญาสำหรับทุกคน หอจดหมายเหตุฯ เป็นอาคารปูนเปลือย 3 ชั้นตั้งอยู่ริมสระน้ำขนาดใหญ่ภายในสวนวชิรเบญจทัศ โดยมีบางส่วนที่สร้างยื่นไปในน้ำที่มีการออกแบบอย่างเรียบง่ายแต่สวยงามปราณีตร่วมสมัย ภายในอาคารแบ่งเป็นหลายโซนทั้งโถงกิจกรรม, ร้านหนังสือ, ห้องจัดแสดงผลงานและคำสอนต่างๆ ของท่านพุทธทาส, ห้องปฏิบัติธรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละพื้นที่แฝงไปด้วยรหัสและปริศนาธรรมให้ค้นคว้า ศึกษาผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ ที่เข้าใจง่ายและทันสมัย นับเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานบริการด้านศาสนธรรมที่ได้รวบรวม สืบสานงานด้านพระพุทธศาสนาผ่านอุดมการณ์แนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุซึ่งท่านได้ทุ่มเทศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติและเผยแพร่พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า จนเป็นมรดกทางปัญญาที่ทรงคุณค่าคู่ควรแก่การดูแล เก็บรักษาและเผยแพร่ต่อแก่พุทธศาสนิกชนที่สนใจ อาทิ เอกสารต้นฉบับลายมือคำสอนของท่านพุทธทาส จดหมายภาพร่าง รูปถ่าย ภาพวาด ฟิล์ม สไลด์และอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากจะเป็นแหล่งรวบรวมและจัดระบบบริการสืบค้น สนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนธรรมแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งทางโลก-ทางธรรม เสริมสร้างสติปัญญาและพัฒนาจิตใจให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

คำสำคัญ
หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ หอจดหมายเหตุฯพุทธทาส ท่านพุทธทาสภิกขุ สวนรถไฟ หอพุทธทาส

หมวดหมู่
หอจดหมายเหตุ

สถานที่ตั้ง
สวนวชิรเบญจทัศ
ถนน กำแพงเพชร 3
อำเภอ เขตจตุจักร จังหวัด กรุงเทพมหานคร

รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com

http://m-culture.in.th/

ประวัติหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ประวัติหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

เกิด

เกิดวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หมู่บ้านกลาง
ตำบลพุมเรียง ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสุราษฎร์ธานี
เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช มีชื่อเดิมว่า เงื่อม อายุห่างจากนายยี่เกย
ผู้เป็นน้องชายสองปี

เรียน

เมื่ออายุได้ ๘ ขวบ ก็เข้ารับการศึกษาแบบโบราณโดยบิดานำไปฝากเป็นเด็กวัด
ที่วัดพุมเรียงใกล้บ้าน เรียนได้สามปีก็กลับมาอยู่บ้าน
เข้าเรียนขั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยมหนึ่ง
ก่อนจะย้ายเข้าไปเรียนที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด อำเภอไชยา เพื่อไปอยู่กับบิดา
ซึ่งมาเปิดร้านค้าใหม่ที่นี่ แต่ต้องออกจากการศึกษากลางคัน
เนื่องจากบิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน มาช่วยดำเนินกิจการค้ากับมารดา
ระหว่างนี้น้องชายบวชเป็นสามเณร และศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

วันนี้เอาคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุมาฝากให้อ่านกันค่ะ เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบและศรัทธาในคำสอนของท่าน เห็นด้วยกับหลายๆ คำสอนของท่าน ลองอ่านกันดูค่ะ น่าจะนำมาใช้ร่วมกับชีวิตประจำวันได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ คะ ^ ^

โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง
คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย
ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ ขอให้จับหนูได้ก็พอ
ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น

ในโลกกลมๆ ใบนี้ ไม่มีคำว่า แน่นอน
คนเราเมื่อ ตัวตาย ก็ต้องลงดิน
ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย
อิจฉาได้ แต่อย่าริษยา
พักได้ แต่อย่าหยุด
เหตุผลของคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่ของคนอีกคนหนึ่ง
ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้ได้เลยว่า ข้างหน้าเป็นอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

จงทำกับเพื่อนมนุษย์ คำสอนท่านพุทธทาส ภิกขุ

จงทำกับเพื่อนมนุษย์ คำสอนท่านพุทธทาส ภิกขุ

พุทธทาส ภิกขุ
คำสอนท่านพุทธทาส

จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า
เขาเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายของเรา
เขาเป็นเพื่อนเวียนว่ายอยู่ในวัฏฎสงสารเช่นเดียวกันกะเรา
เขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหมือนเราย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง
เขาก็มีราคะโทสะโมหะไม่น้อยไปกว่าเรา
เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไมเหมือนเราไม่รู้จักนิพพานเหมือนเรา
เขาโง่ในบางอย่างเหมือนที่เราเคยโง่
เขาก็ตามใจตัวเองในบางอย่างเหมือนที่เราเคยกระทำ
เขาก็อยากดีเหมือนเราที่อยากดีเด่นดัง
เขาก็มักจะกอบโกยและเอาเปรียบเมื่อมีโอกาสเหมือนเรา
เขาเป็นคนธรรมดาที่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่าง ๆ เหมือนเรา
เขาไม่มีหน้าที่ที่จะเป็นทุกข์หรือตายแทนเรา
เขาเป็นเพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนากะเรา
เขาก็ทำอะไรด้วยความคิดชั่วแล่นและผลุนผลันเหมือนเรา
เขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา
เขามีสิทธิที่จะมีรสนิยมตามพอใจของเขา
เขามีสิทธิที่จะเลือกแม้แต่ศาสนาตามพอใจของเขา
เขามีสิทธิที่จะใช้สมบัติสาธารณะเท่ากันกะเรา
เขามีสิทธิที่จะเป็นโรคประสาทหรือบ้าเท่ากับเรา
เขามีสิทธิที่จะขอความช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจจากเรา
เขามีสิทธิที่จะได้รับอภัยจากเราตามควรแก่กรณี
เขามีสิทธิที่จะเป็นสังคมนิยมหรือเสรีนิยมตามใจเขา
เขามีสิทธิที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น
เขามีสิทธิแห่งมนุษยชนเท่ากันกะเรา สำหรับจะอยู่ในโลกนี้
ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการขัดแย้งใดๆเกิดขึ้น

http://www.pranamo.com/

อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต

อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
ผู้วิจัย : จินตนา เฉลิมชัยกิจ

การศึกษาอิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในพุทธศาสนา (๒) ศึกษาคำสอนของพุทธทาสภิกขุที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ และ(๓) ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่าง ๆ

วิธีดำเนินการศึกษามี ๒ แบบคือแบบเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเอกสาร ได้ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และแนวคำสอนรวมทั้งผลงานของพุทธทาสภิกขุด้านต่างๆ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกได้เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ได้รับอิทธิพลจากแนวคำสอนของพุทธทาสภิกขุที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตทางด้านศาสนา ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศิลปะและสุนทรียภาพ และด้านเศรษฐศาสตร์
อ่านเพิ่มเติม

สืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

สืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

พระไพศาล วิสาโล
บทความจากหนังสือ
อยู่ใน ใจเหนือ เกื้อโลก : เมกะเทรนด์ – เมกะธรรม

๘๐ ปี สวนโมกข์ ควรคิดอ่านทำอะไร ? อย่าให้พุทธทาสร้องไห้

แบ่งปันบน facebook Share
เมื่อท่านอาจารย์พุทธทาสเริ่มก่อตั้งสวนโมกข์นั้น ความตั้งใจแต่เดิมคือมุ่งศึกษาหาคำตอบว่าการปฏิบัติที่ถูกต้องของพุทธศาสนานั้นคืออะไร ทั้งนี้เพราะท่านพบว่า การศึกษาปฏิบัติพุทธศาสนาในเวลานั้นผิดทางไปมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการศึกษาพุทธศาสนา ท่านเชื่อว่าคำตอบนั้นสามารถหาได้พุทธวจนะที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดังนั้นในปีแรก ๆ ของชีวิตที่สวนโมกข์ ท่านจึงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง ผลที่เกิดขึ้นคือหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ ซึ่งล้วนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์โดยตรง จุดหมายนั้นมิใช่เพื่ออะไรอื่น หากเพื่อ “ค้นคว้าสำหรับไว้ใช้เอง เพื่อตามรอยเอง” แต่เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นสามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย จึงให้มีการพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่สู่คนวงกว้าง นับแต่นั้นมาสวนโมกข์ก็มิใช่เป็นแค่สถานที่สำหรับการศึกษาและปฏิบัติส่วนตัวของท่านอาจารย์พุทธทาสเท่านั้น หากยังมีงานเผยแผ่รวมทั้งงานส่งเสริมปริยัติและปฏิบัติที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง การ “ฟื้นฟูการปฏิบัติพุทธศาสนาที่มันสูญหาย” * (เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา น.๑๓๘)มิใช่เพื่อตัวท่านเองเท่านั้น แต่เพื่อชาวพุทธทั่วไปด้วย
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในรอบร้อยปีของไทย กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณูปการสำคัญที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ทำในส่วนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ประการแรกได้แก่ การกอบกู้พุทธศาสนาจากการครอบงำของไสยศาสตร์ ตลอดจนประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่บดบังพอกหุ้มแก่นแท้ของพุทธศาสนา ท่านได้ชี้ให้เห็นว่าพุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์นั้นต่างกันอย่างไร อีกทั้งประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ นั้นทำให้เกิดความหลงงมงายอย่างไร พูดอีกอย่างคือท่านกอบกู้พุทธศาสนาจากการปฏิบัติตามประเพณีสืบ ๆ กันมาซึ่งคลาดเคลื่อนจากพุทธวจนะมากขึ้นทุกที
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถาน ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรม เทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่าง แท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่ เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือฉายาก่อนหน้านี้ว่า อินทปัญโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ก่อนบวชท่านมีชื่อว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2449 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน มีน้องสองคน ผู้ชายชื่อ ยี่เก้ย ผู้หญิงชื่อ กิมซ้อย
บิดาของท่านประกอบอาชีพค้าขายเฉกเช่นที่ชาวไทยเชื้อสายจีนทั่วไปนิยมทำกัน ส่วนอิทธิพลที่ได้รับมานั่นก็คือ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือความสนใจในการศึกษาธรรมะ ส่วนทางด้านการเล่าเรียนนั้นท่านต้องออกจากโรงเรียนตอน ม.3 เพื่อมาช่วยมารดาค้าขาย หลังจากที่บิดาของท่านถึงแก่กรรม
อ่านเพิ่มเติม

แม่สอนไว้ (พุทธทาสภิกขุ)

แม่สอนไว้ (พุทธทาสภิกขุ)

รวบรวมคำสอนของแม่
พุทธทาสภิกขุ

พจน์ ยังพลขันธ์
เรียบเรียง
————————————————————————————————

แม่ คือ อะไร ?
…………………
วันแม่คราวหนึ่ง

ณ ลานหินโค้ง วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสได้รับอาราธนาขึ้นแสดงธรรมเกี่ยวกับพระคุณของแม่ในวาระพิเศษนี้ ตอนหนึ่งของธรรมบรรยาย ท่านอาจารย์ได้ตั้งปุจฉา และวิสัชนาถึงความหมายของ คำว่า “แม่” แก่ศิษย์และสาธุชนทั้งหลาย ดังนี้

ถ้าถามนักวิทยาศาสตร์ที่มันเป็นนักวัตถุนิยมว่า แม่ คือ อะไร ?

มันก็ว่าธรรมดา, ธรรมชาติ ไม่มีความหมายอะไร นอกไปจากธรรมดามีชีวิตขึ้นมา ถึงเวลาก็สืบพันธุ์ … คือมันอย่างนี้เท่านั้น

คราวนี้…สมมุติว่าไปถามพระอรหันต์ ว่าแม่คืออะไร
พระอรหันต์จะตอบว่าอย่างไร…?
พระอรหันต์คงจะตอบว่า “แม่คือผู้สร้างมนุษย์ให้มาเป็นพระอรหันต์ เหมือนฉัน”

ไปถามคนเคร่งคัมภีร์ ก็ตอบอย่าง, นักวิทยาศาสตร์ ก็ตอบอย่าง
ถามพระอรหันต์ ก็ตอบอย่าง
อ่านเพิ่มเติม

รวมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

รวมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

มองแต่แง่ดีเถิด
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ ต่อโลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี เพียงส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว มองหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง

• หมู่นกจ้อง มองเท่าไร ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูก ที่ดูดกิน;
• คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย ฯ
อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบสี่ ผนวก ๔ – ว่าด้วยบทสวดแปล หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ

ตอน ยี่สิบสี่ ผนวก ๔ – ว่าด้วยบทสวดแปล หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ

(หนฺท มยํ อานาปานสติปาฐํ ภณาม เสฯ)

อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรติฯ
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์.
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา,
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญให้มากแล้ว.
สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปูเรนฺติฯ
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.
สตฺต โพชฺฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา,
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว.
วิชฺชาวิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติฯ
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
กถํ ภาวิตา จ ภิกฺขเว อานาปานสติ, กถํ พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า,
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ?
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบสาม ผนวก ๓ – ว่าด้วยพระพุทธวจนะ เนื่องด้วยอานาปานสติ

ตอน ยี่สิบสาม ผนวก ๓ – ว่าด้วยพระพุทธวจนะ เนื่องด้วยอานาปานสติ

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงบาลีพระพุทธภาษิตโดยตรง ที่ได้ตรัสไว้ในที่ต่าง ๆ กัน ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึง อานาปานสติปริยายใดปริยายหนึ่งด้วยกันทั้งนั้น ประมวลมาไว้ในที่แห่งเดียวกัน เพื่อความสะดวกแก่การศึกษาจากพระพุทธภาษิตนั้น ๆ โดยตรง เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นจากข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความเชื่อ ความพอใจ และความพากเพียรในการปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้ :-

(ก) เกี่ยวกับอานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติ นั้น มีพระพุทธภาษิตในเอกธัมมวัคค์ อานาปานสังยุตต์ สังยุตตนิกาย (๑๙ / ๓๙๗ / ๑๓๑๔) ว่า :

“ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ ย่อมมีอานิสงส์ใหญ่.

“ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า ? จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.

“ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น.
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า, มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจออก ;
ภิกษุนั้น – – – –

(๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้.
(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้.
(๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงจักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง
จักหายใจออก ดังนี้.
(๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจออก ดังนี้.
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .