อาหารของอวิชชาและวิมุติ โดย ท่านพุทธทาส

อาหารของอวิชชาและวิมุติ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – สมเด็จพระบรมพระศาสดา
อาหารของอวิชชาและวิมุติ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า ตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมพระศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา เทศนาในเวลาที่ประจำพรรษา เป็นบุพพาแต่ละลำดับ คือเป็นการติดต่อกันไป เพื่อว่าผู้ที่ตั้งใจจะฟังธรรมเทศนา ให้ตลอดพรรษาก็ย่อมจะทำได้ คือควรจะซักซ้อมการอธิษฐานใจ ในการที่จะทำสิ่งใดให้สม่ำเสมอ จนตลอดพรรษานี้ ให้คงไว้เป็นอย่างดี เมื่อวันนี้ก็มีพระมาเที่ยวพรรษา ถามว่ามาทำไมก็บอกว่ามาเที่ยว

นี้ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงว่า การอธิษฐานพรรษานี้จะเลื่อนลอยหรือโลเลมากขึ้นเป็นลำดับ ยิ่งกว่าปีที่แล้วๆมา เพราะว่าในพรรษาก็ยังมีพระไปเที่ยว ไม่มีอนุญาตไว้ให้สัจตาหะไปเที่ยว เว้นไว้แต่กิจจำเป็น ขอให้นึกดูให้ดีว่าถ้ามีแต่ผู้ที่โลเล เหลวไหลกันนี้มากขึ้น เรื่องต่างๆในพระพุทธศาสนาก็จะรวนเร แล้วก็จะถึงจุดที่เหลวไหลไปในที่สุด พุทธบริษัทถ้าตั้งใจจะรักษาพระพุทธศาสนา จะต้องเอาไปคิดไปนึก ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ แล้วก็ช่วยตักเตือนกันและกัน โดยเฉเพาะอย่างยิ่งภิกษุสามเณร ที่เป็นลูกเป็นหลานว่าอย่าได้ละหลวมถึงอย่างนี้เลย เวลาในพรรษาก็ต้องเป็นเวลาที่เป็นพรรษา ไม่ใช่เวลาที่จะโลเลในการเที่ยวจารึกไปโดยไม่มีความหมาย

ถ้าช่วยกันได้ทุกอย่างทุกทาง ให้เวลาที่จำพรรษานี้ มีอะไรที่เคร่งครัด เข้มข้น ดีกว่าเวลานอกพรรษาแล้ว ก็จะเป็นการดีในการที่จะอายุพระศาสนา สิ่งใดที่ตั้งใจจะทำให้สม่ำเสมอตลอดพรรษานี้ ก็ขอให้ทำต่อไปเถิด แม้แต่การฟังเทศน์นี้ ก็ให้มีอย่างสม่ำเสมอด้วยอย่างหนึ่งเหมือนกัน ดังนั้นจึงจะได้แสดงธรรมเทศนา ที่ติดต่อกันมาตามลำดับ โดยหวังจะเป็นสิ่งที่ทำไปได้ ในครั้งที่แล้วมานี้ได้พูดถึงอาหารของอวิชชา ว่าอวิชชามันอยู่ได้เพราะกินอะไรเป็นอาหาร เป็นลำดับๆลงไป ล้วนแต่มีอาหารกิน เป็นเหตุให้อวิชชา มีอาหารแล้วก็ตั้งอยู่ได้ในขันธ์พระสันดานของบุคคลนั้นๆ พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงแสดง อาหารของอวิชชาไว้อย่างชัดแจ้ง ดังที่จะวิสัจนามาแล้ว

แต่ในวันธรรมะสวรรณะก่อน จนวันจะพูดถึงอาหารของสิ่งที่ตรงกันข้าม คือวิชชายังแถมให้หนึ่งซึ่งจะต้องมาด้วยกันกับวิชชาสิ่งนั้นคือวิมุติ ดังนั้นในวันก็จะกล่าวถึงอาหาร ของสิ่งที่เรียกว่าวิชชาและวิมุติ ตามที่ปรากฎอยู่ในพระบาลี แห่งพุทธบริกาย เมื่อถามว่าวิชชาและวิมุติเป็นสิ่งที่มีอาหารหรือไม่ ก็ตอบว่าวิชชาและวิมุติก็เป็นสิ่งที่มีอาหารนั้น หาใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอาหารไม่ สิ่งใดเหล่าเป็นอาหารของวิชชาและวิมุติ คำตอบก็คือ โพดชง 7ประการเป็นอาหารของวิชชาและวิมุติ โพดชง 7 ประการนั้นเหล่าเป็นธรรมมีอาหารหรือไม่ คำตอบก็มีว่าโพดชง 7 ประการ ก็เป็นธรรมที่มีอาหาร อะไรเหล่าเป็นอาหารของทาถง 7ประการคำตอบว่า ปฎิสถานทั้ง 4 เป็นอาหารของโพดชง 7 ประการ แล้วปฎิสถานทั้ง4 นั้นเหล่าเป็นธรรมมีอาหารหรือไม่ ปฎิสถานทั้ง 4เป็นธรรมมีอาหารนั้น อะไรเหล่าเป็นอาหารของปฎิสถานทั้ง 4 สุจริตทั้ง 3 เป็นอาหารของปฎิสถานทั้ง 4 สุจริตทั้ง 3 นั้นมีอาหารอยู่ไหมเหล่า สุจริตทั้ง 3 ก็เป็นธรรมที่มีอาหารหาไส้เป็นธรรมไม่มีอาหารไม่ สุจริตทั้ง 3 นั้นมีอะไรเป็นอาหาร คำตอบก็มีว่าอินทรีย์สังวร เป็นอาหารของสุจริตทั้ง 3 อินทรีย์สังวรนั้นเหล่าเป็นธรรมที่มีอาหารหรือไม่

อินทรีย์สังวรก็เป็นธรรมมีอาหาร หาใช่เป็นอาหารที่มีอาหารไม่ อะไรเหล่าเป็นอาหารของอินทรีย์สังวร คำตอบก็คือสติสัมปชัญะ สติสัมปชัญะนั้นเหล่าเป็นธรรมที่มีอาหารนั้นหรือไม่ สติสัมปชัญะเป็นธรรมที่มีอาหาร หาใช่เนธรรมไม่มีอาหารไม่ อะไรเหล่าเป็นอาหารของสติสัมปชัญะคำตอบก็คือ โยนโสมะนสิการ โยนโสมะนสิการ มีอาหารหรือไม่ โยนโสมะนสิการ เป็นธรรมมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมไม่มีอาหารไม่ อะไรเป้นอาหารโยนโสมะนสิการ คำตอบก็คือศรัทธา ศรัทธาว่าอาหารเป็นธรรมหรือไม่ ศรัทธาเป็นธรรมมีอาหารไม่ อะไรเหล่าเป็นอาหารของศรัทธา คำตอบมีว่าธรรมะสวรรณะเป็นอาหารของศรัทธา แล้วธรรมะสวรรณะเหล่าเป็นธรรมหรือไม่ ธรรมะสวรรณะเป็นธรรมมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมไม่มีอาหารไม่ อะไรเล่าเป็ฯอาหารของธรรมะสวรรณะ คำตอบก็คือสปิสูปสังเสวะ นี้เป็นอาหารของธรรมะสววรณะ กระแสแห่งอาหารก็สิ้นสุดลงแต่เพียงเท่านี้ สปิสูปสังเสวะ คือการเข้าไปคบหากับ

ศัทบุรุษ ได้ความตามนี้ว่า บุคลจะต้องตั้งต้นปฎิบัติธรรม เพื่อเข้าไปคบหากับศัทบุรุษ
ศัทบุรุษในที่นี้หมายความว่า บุรุษผู้มีธรรมอันสงบระงับธรรม อยู่ในฐานะที่จะพูดจาให้คนอื่นฟังได้ด้วย เมื่อบุคคลเข้าไปคบหาศัทบุรุษนี้ ก็เป็นเหตุให้ได้ฟังธรรม ธรรมในที่นี้ก็หมายถึง เรื่องราวของการปฎิบัติเพื่อการดับทุกข์ ได้ฟัง ได้ถาม ได้คิด แล้วก็ได้จำ นี่เป็นความหมายของคำว่าได้ฟังโดยสมบูรณ์ อย่างที่เรียกว่าฟังด้วยดี แล้วก็ได้ปัญญา ท่านได้แนะไว้ว่า ฟัง คิด ถาม จำ 4 อย่างนี้รวมกันเข้า คือ การฟังธรรม ฟังเฉยๆมันก็ไม่เข้าใจ มันก็ต้องคิดด้วย คิดไม่ได้มันก็ต้องถามด้วย รู้แล้วมันก็ต้องกำหนดจดจำไว้ด้วย สังเกตดูจะไม่ตั้งใจทำกันให้ดีถึงขนาดนี้ เอาตามสบาย จำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ได้ ไม่มีใครทำอะไรความทุกข์ก็ต้องกลัว ก็เลยปล่อยไปตามสะดวกสบาย ก็ฟังไปในแบบที่ว่าพอเป็นพิธี ถ้าขืนทำอยู่อย่างนี้ไปคบหาศัทบุรุษเท่าไหร่ๆ ก็เรียกว่าไม่มีการฟังธรรมอยู่นั่นเอง

แม้จะฟังอยู่ซักปี2 ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ ตามความหมายของคำว่าฟังธรรม ซึ่งไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าฟังเฉยๆ แต่ว่าต้องฟังด้วยดีจนมีปัญญา รู้ว่าธรรมะนั้นเป็นอย่างไร คุณของธรรมะดีอย่างก็เข้าใจ เข้าใจจนกระทั่งถึงกับว่า ธรรมะนี้มันดับทุกข์ได้จริง และสิ่งที่ผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวไว้แล้วดีจริง เข้าใจได้ด้วย ควรจะบอกจะสอนกัน เมื่อมองเห็นอย่างนี้ ก็เห็นคุณของธรรมะอย่างเพียงพอ

จึงเป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ศรัทธาแปลว่าความเชื่อ เมื่อได้ฟังธรรมจนเกิดปัญญาแล้ว ความเชื่อนั้นก็เป็นความเชื่อที่ไม่งมงาย เป็นความเชื่อที่ถูกต้องทุกอย่างมีประโยชน์ไม่มีทางที่จะผิดพลาดได้นี้เรียกว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเกิดจากปัญญา เกิดจากการได้ยิน ได้ฟังที่ดี ทีนี้ก็มีศรัทธามีความเชื่อแล้ว มันก็มีความสนใจ จริงจัง ก็ทำให้เข้าใจว่าธรรมะนี้ ดับทุกข์ให้ได้จริง เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้วก็เอาใจใส่เต็มที่ ดังนั้นศรัทธาจึงเป็นเหตุให้เกิด โยปิโสมะนะติการ ดังที่กล่าวไว้ว่า โยนิโสมะนะติการ นั้นมีศรัทธาเป็นอาหาร โดย โยนิโสมะนะติการแนวธรรมในใจโดยแยกไป หมายความว่าไม่ทำเล่นๆ เอาไปพินิจพิจารณาอย่างสุดความสามารถทีเดียว ทำให้ยิ่งขึ้นไป แล้วทำอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่า โยนิโสมะนะติการ ธรรมะข้อใดธรรมะเหล่าใด

ซึ่งเชื่อแน่ว่าจาดับทุกข์ได้ ก็จะทำโยนิโสมะนะติการ จนมีความเข้าใจแตกฉานในสิ่งนั้นๆ ในธรรมะนั้น ถ้ามีโยนิโสมะนะติการอย่างนี้แล้ว ก็เห็นหนทางที่จะเอาตัวรอดได้ จึงได้เกิดมีสติสัมปชัญะ ในการที่จะปฎิบัติธรรมะนั้น ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ให้เผลอสติให้เป็นช่องเป็นโอกาสที่กิเลสจะเกิดขึ้น สติที่ระลึกได้ สติสัมปชัญะ ความรู้ตัวแปลกันมาย่างนี้ แต่ถ้าพิจารณาดูความหมายของสิ่งทั้ง 2 นี้ ก็พอจะเห็นได้โดยไม่ยาก ว่าสัมปชัญะนั้นมันแปลว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สัมแปลว่าความรู้สึก ปะแปลว่าทั่ว ชัญะแปลว่ารู้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ด้วยอำนาจของสติ สติที่ระลึกได้ สติที่ระลึกได้มันมีอยู่ตลอดเวลา รวมกันเข้าก็เรียกว่า สติสัปชัญะ ธรรมะคู่นี้มันเหมือนกับฝาแฝด ก็บางทีดูจะว่าอันไหนเป็นสติ อันไหนเป็นชัญะ ครูก็เลยอธิบายอีกเพราะว่ามันคล้ายกันมาก แต่ที่แท้ก็เป็นคู่ฝาแฝดที่ต้องไปด้วยกัน ถ้ามันไม่ไปด้วยกันมันก็ลดคุณค่า หรือความหมายลงไปทีเดียว จึงต้องพูดว่าสติสัมปชัญะ

แต่ในบางคราวพระพุทธเจ้าก็จะตรัสแต่ เพียงคำเดียวว่าสติ ถ้าอย่างนี้ก็ให้รู้เอาเองว่า ในสตินั้นรวม สัมปชัญะอยู่ด้วย เพราะมันเป็นคู่ฝาแฝด สติจะเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่มีเนื้อหาของสัมปชัญะ คำว่าระลึกนั้นมันต้องระลึกถึงควาถูกต้อง ว่ามีอยู่อย่างไรมันเป็นวิชาความรู้ แล้วก็ระลึกออกมา ถ้าได้ยินคำว่า สติ เฉยๆก็ให้รู้ว่ามีสติสัมปชัญะรวมอยู่ในนั้น ถ้าตามปกติจะเรียกสติว่าสติสัมปชัญะเป็นคู่กันไปอย่างนี้ ถ้าบุคคลไม่ประมาทและก็มีสติสัมปชัญะ เมื่อมีสติสัมปชัญะก็เป็ผู้ไม่ประมาท เพราะว่ามีความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างถูกต้องอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีสติสัมปชัญะรู้สึกตัวอยู่อย่างนี้ มันก็เป็นสิ่งที่มีได้ และเป็นไปได้ที่จะมีอินทรีย์สังวร คือความสำรวม อินทรีย์ในที่นี้หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในฐานะที่มันเป็นสิ่งสำคัญ ร้ายกาจ สิ่งที่เรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้คนธรรมดาก็จะเห็นมันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีความลึกซึ้งหรือว่า ความร้ายกาจอันใด ขอให้เข้าใจกันเสียใหม่ ว่าถ้ามันไม่ร้ายกาจ มันคงไม่ชื่อว่า อินทรีย์ อินทรีย์แปลว่าสำคัญมาก หรือเป็นสิ่งที่ทำเล่นกับมันไม่ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 อย่างนี้ บางทีก็เรียกว่าอารยะตนะ เพราะว่ามันทำหน้าที่ ที่จะติดต่อ ซึ่งกันและกัน คือ ตากับรูป หูกับเสียงเป็นต้น ทำหน้าที่แบบนี้ก็เรียกว่าอารยะตนะ บางทีต่ำไปกว่านั้นก็เรียกว่า ทวารคือช่อง หรือประตู ที่สิ่งต่างๆมันจะเข้าสู่จิตใจ เข้าไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้าอย่างนี้ก็เรียกว่าทวารทั้ง6 แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่ทวารทั้ง 6 มันไม่ใช่ศักแต่ว่าติดต่อ มันมีความหมายเป็นสิ่งร้ายกาจ ถ้าใครทำกับมันไม่ถูก มันก็จะทำอันตรายเอา คือให้เกิดความทุกข์ ปริศนาธรรมเก่าๆเรียก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ว่ามันเป็นนกอินทรีย์ 5 ตัวบ้าง 6 ตัวบ้าง

มันจะจิกกินร่างกายจิตใจ ของคนที่ไม่มีธรรมะ เดี๋ยวนี้เราพูดถึงสติสัมปชัญะที่สมบูรณ์แล้ว เป็นเหตุให้สำรวมระวังอินทรีย์เหล่านี้ได้ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้ ในลักษณะที่ไม่ให้ความผิดพลาด ไม่ให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้มันจูงพาไปตามทางของกิเลส ก็มี สติสัมปชัญะนั้นเอง และก็รู้เท่ากันควบคุมกันด้วยอำนาจของสติปัญญา อย่าควบคุมด้วยอำนาจพละการ อย่างโง่เขลานั้นมันไม่ได้ ต้องมีสติปัญญาที่เพียงพอ รู้เท่า รู้ทัน รู้บังคับ รู้ว่าในทุกอย่าง มันก็ควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่าสติสัมปชญะนี้ เป็นอาหารของอินทรีย์สังวร

เมื่อมีอินทรีย์สังวรอย่างนี้ หมายความว่าควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใดได้อย่างนี้แล้วมันก็ง่าย ที่จะมีความสุจริต สะอาดทางไตรทวาร คือ กาย วาจา ใจ ก็จะสะอาด เพราะว่าควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้ ให้มองเห็นง่ายๆ คนที่ทำทุจริตเราก็ควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ไม่ได้ พ่ายแพ้อำนาจของกิเลส มีอวิชชา ตัญหาเป็นต้น ไปทำทุจริต มันควบคุมไว้ไม่ได้ มันไม่มีทางที่จะเกิดอวิชชา ตัณหา อุปาธาน ที่อินทรีย์เหล่านั้นก็มีสุจริตเกิดขึ้นได้ ทางกาย ทางวาจา ทางใจนี้ เรียกว่าอินทรีย์สังวรเป็นอาหารของสุจริต 3 ถ้ามีสุจริต 3 ก็คือมีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มันดีพร้อมไปหมด มันก็เป็นโอกาสที่เป็นความเหมาะสมแล้ว ที่จะมีปฎิสถานทั้ง 4 ผู้ที่จะเจริญปฎิสถานทั้ง 4 ต้องมีพื้นฐานที่ดี คือวามสุจริตที่กาย วาจา ใจ มันเห็นได้ง่ายๆ ว่าถ้าร่างกายมันวิปริต กำเริบอยู่ มันก็มีจิตใจกำเริบอยู่ควบคุมไม่ได้ ถ้าวาจามันกำเริบอยู่ จิตใจมันก็กำเริบด้วยเหมือนกัน มันจึงกำเริบกันไปหมดทั้ง 3อย่าง ก็เลยเป็นเรื่องวุ่นวายไปหมด ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ แล้วจะไปทำปฎิสถานได้อย่างไร เราจะต้องมีกาย วาจา ใจที่สุจริต คือไม่มีโทษมารบกวน มันมีความสงบระงับอยู่ที่นั้น มันก็ง่ายที่จะกำหนดสติ ตั้งไว้โดยอาการทั้ง 4 เพื่อให้เป็นไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ทั้ง 4ประการที่เรียกว่า ปฎิสถานทั้ง 4นั้น มีรายละเอียดอยู่ในเรื่องอานาปานสติ 16 ขั้น อย่างสมบูรณ์ที่สุด เมื่อเจริญไปตามนั้นก็เรียกว่ามี สติปฎิสถาน 4 เพราะมีสุจริตทั้ง 3 เป็นปัจจัย สุจริตทั้ง 3 เป็นอาหารของปฎิสถานทั้ง 4 เมื่อปฎิสถานทั้ง 4เป็นไปด้วยดีแล้ว ก็เป็นอาหารของโพดชง ทว่าอันที่จริงแล้วการทำปฎิสถาน 4 นั้นมันก็มีโพดชงพร้อมๆกันไป

หากแต่ว่าการปฎิบัตินั้นต้องปฎิบัติลงไปที่ปฎิสถาน 4 ในตัวปฎิสถาน 4 นั้นเราก็จะหาพบในสิ่งที่เรียกว่า โพดชง หาพบสติในปฎิสถาน 4 หาพบธรรมวิทยะ ในปฎิสถาน 4 โดยเฉเพาะอย่างยิ่ง ในธรรมานุสณาปฎิสถาน หาวิริยะโพดชง พบในปฎิสถาน 4 เพราะว่าในปฎิสถาน 4 นั้นมันมีสัมมาวายาโม คือความเพียรที่ถูกต้องที่สุด ถ้าทำความเพียรไม่ถูกต้อง ปฎิสถาน 4 ก็เกิดขึ้นไม่ได้ จึงหาพบวิริยะของโพดชงในปฎิสถาน 4 ก็พบสติ สติสัมมาวิทยะ วิริยะ แล้วก็ปีติ ในปฎิสถาน 4 มีปีติมาแล้วถึงในขั้น กายานุสติปฎิสถาน แล้วหาพบปัสธิของโพดชง คือความระงับแห่งจิต หาพบได้ตั้งแต่ กายานุสติปฎิสถาน แล้วก็เป็นลำดับไป ก็หาพบสมาธิของโพดชง อุเบกขาของโพดชง ได้โดยง่าย ในธรรมานุสณาปฎิสถานโดยเฉเพาะอย่างยิ่ง ขั้นนิโรคาปักษี และ ปฎินิศรัทธาปักษี ที่เห็นได้ว่าเมื่อมีปฎิสถาน 4 นั้นก็มีโพดชง เรียกว่าปฎิสถาน 4เป็นอาหารของโพดชง ดังนี้ก็ได้ โพดชงทั้ง 7 โดยรวมแล้ว มันก็เป็นอาหารของอวิชชาและ วิมุติ นี้ได้แก่มรรคณาน มรรคผลณาน มรรคณานคือณานที่ตัดกิเลส มรรคผลณานคือ ณานที่เกิดขึ้น

ในขณะที่กิเลสถูกตัดแล้ว มรรคณานและมรรคผลณานได้ชื่อว่าเป็นวิชชาและวิมุติในลักษณะอย่างนี้ มันกินอาหารคือโพดชง โพดชงกินอาหารปฎิสถาน 4
ปฎิสถาน 4 กินอาหาสุจริตทั้ง 3 สุจริตทั้ง 3 กินอาหารคืออินทรีย์สังวร อินทรีย์สังวรกินอาหารคือสติสัมปชัญะ สติสัมปชัญะกินอาหารคือโยนิโสปนะติการ โยนิโสปนะติการกินอาหารคือศรัทธาที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา ศรัทธากินอาหารคือธรรมะสววรณะ ธรรมะสววรณะก็สัปริสูปสังเถระเป็นอาหาร อาหารชั้นแรกชั้นพื้นฐานที่สุดคือการคบหาสมาคมกันกับศัทบุรุษ ก็ให้พยายามที่จะคบหาสมาคม กับมิตรสหายที่เป็นศัทบุรุษ จะมีโอกาสพูดจาในทางธรรม แล้วก็ศรัทธาในพระธรรม ใคร่ครวญธรรม และจะเอาจริงเอาจัง และมีสติสัมปชัญะ ก็จะควบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้ มีความสะอาดในกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ปฎิสถานทั้ง 4 ก็เกิดได้โดยง่ายและโพดชงก็มีพร้อมอยู่ในนั้น วิชชา
วิมุติก็จะอยู่ในกำมือ

สรุปว่าอาหารอวิชชาและวิมุติ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ มีเนื้อความดังกล่าวมานี้ ถ้าเหล่าอาหารของอวิชชานั้นมันก็ คือตรงกันข้ามกับอาหารพวกนี้ คือไม่คบหาสมาคมกันกับศัทบุรุษ แถมยังไปหาสมาคมกับอศัทบุรุษ ก็ไม่ได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง มันก็ไม่มีศรัทธาในพระธรรม ไม่คิด ไม่ศรัทธาแล้วก็ไม่เอามาคิด มาใคร่ครวญ มันก็ไม่มีทางมีสติสัมปชัญะ ในการประพฤติธรรม มันก็ไม่อาจจะสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย ทุจริต 3 ประการก็เกิดขึ้นนิวรก็บินร่อนไปหมด สิ่งที่เรียกว่าอวิชชาก็ปกคลุม ควบคุมจิตใจตลอดเวลาดังนี้ เมื่อเป็นอวิชชาแล้วมันก็ไม่ต้องพูดกันอีกแล้ว มันก็มีแต่เรื่องทำผิดไม่ถูกไปทั้งนั้น มันก็มีแต่กิเลสและความทุกข์ มากยิ่งๆขึ้นไป

วันคืนมันก็ล่วงไปด้วยกิเลสและความทุกข์ เพราะมันมีอาหารในฝ่ายผิด มันตรงกันข้ามกับเรื่องอีกเรื่องนึงคือ เรื่องสังพิทชาละวิมุติ เกิดขึ้นมาได้ด้วยการมีอาหารในฝ่ายที่ถูกคือ ที่เป็นธรรมประกอบด้วยธรรมนี้ ถ้าพิจารณาดูให้ดีแล้ว เข้าใจแล้วจะเห็นว่ามันไม่ยาก มันไม่ลำบาก

ขอเพียงให้ตั้งต้นอย่างถูกต้องเพราะมันจะเป็นไปเองได้โดยง่าย ความสำคัญมันอยู่ที่การตั้งต้นที่ถูกต้องคือ คบหาสมาคม พูดจากันอยู่แต่เรื่องการกระทำของบุคคลผู้มีธรรม ผู้ประกอบอยู่ด้วยธรรม นี้เรียกว่า ศัทบุรุษ อย่าไปนึกถึงเรื่องอื่นก่อนก็ได้ นึกถึงแต่เรื่องที่จะคบหาสมาคม กับผู้ที่อยู่ในหมู่ผู้ประกอบธรรม ทำเหมือนกันว่าเป็นกิจวัตรประจำวัน มันก็มีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนเป็นความรู้ในทางธรรมแก่กันและกัน อย่างเป็นที่พอใจสนุกสนานด้วยกันทุกฝ่ายนี้ มันทำให้มีธรรมสวรรณะ โดยไม่รู้สึกตัว ทำว่าเหมือนเล่นกันสนุกสนาน แต่แล้วมันก็มีธรรมสวรรณะที่เพียงพอ จะได้มีความจงใจเชื่อในพระธรรมได้โดยง่าย และเป็นไปเองเพราะมันมีความเพียงพอ แล้วมันก็ไหลเอง มันเชื่อมากมันก็สนใจมาก สนใจมากมันก็ระวังมาก ระวังมากมันก็ระวังได้ ระวังได้มันก็ไม่ผิดพลาด ก็มีจิตใจที่เป็นสมาธิ มีปัญญา ที่คิดไปตามลำดับ จะเรียกว่าเป็นอัตโนมัติก็ได้ การผิดอัตโนมัตินี้มันอยู่ที่การถูกวิธี พอถูกวิธีมันก็ง่าย มันก็จะเป็นไปตามนั้นเอง จะไหลเอง เราก็ระวังกันในส่วนนี้ ประคับประคองกันให้ถูกวิธี มันก็ไหลไปเอง อาหารทั้งหลายนี้ก็จะหล่อเลี้ยงกันเอง ไปตามลำดับๆ ความยากก็มี เดี๋ยวมันไม่สนใจเสียตั้งแต่ทีแรกแล้ว สิ่งต่างๆมันก็มืดมน มันก็เลยไม่รู้ว่าจะไปทางไหนก็เป็นยากไปหมด ก็คอยแต่จะบ่นว่านี่ก็ยาก โน่นก็ยาก สมาธิยาก ปฎิสถานก็ยาก ไม่รู้อยู่ที่ไหน แล้วก็ทำให้มันถูกต้องตั้งแต่ทีแรกแล้วมันไม่ยาก มันงอกต่อๆกันจนออกไปได้ เหมือนกับว่ามันเป็นอัตโนมัติ

นี่ผลของอานิฆงส์ของความถูกต้องมันเป็นอย่างนี้เอง หวังว่าท่านทั้งหลายจะได้มีความสนใจ ในการที่จะทำให้วันคืนมันล่วงไปในลักษณะอย่างนี้ พระพทธเจ้าต้องแสดงอาหารของอวิชชาและวิมุติไว้ ในลักษณะที่พุทธบริษัท พอจะประพฤติปฎิบัติ ให้มันเกิดขึ้นมาได้จริงๆ ธรรมะเป็นอาหารของกันและกัน มีวิริยะดังที่วิปัสนามาโดยประการดังนี้ ธรรมเทศนาสมควรแค่เวลา

http://www.vcharkarn.com/varticle/35488

. . . . . . .