คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

* ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือ ผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลายที่โลกเขาปรารถนากัน

เพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัว ย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอกและภายใน เครื่องป้องกันตัวคือ หลักธรรม มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ จะคิดพูดทำอะไร ๆ ไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งและอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นว่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย

* การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย

ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่นจนไม่อยู่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่ดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่ถึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ มั่น นามสกุล แก่นแก้ว เป็นบุตรของ นายคำด้วง และ นางจันทร์ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ณ บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

อุปสมบท

เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ซึ่งท่านทั้งสองก็อนุญาต จึงได้เข้ารับการอุปสมบทในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ณ วัดศรีทอง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ ภูริทัตโต ” แปลว่า “ ผู้ให้ปัญญาประดุจดั่งแผ่นดิน ” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ปฏิปทา

ในสมัยต่อมาท่านได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณะธรรมในที่ต่างๆ ตามป่าช้า หุบเขา ในถ้ำในเงื้อมผา ทั้งทางฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ท่านเคยไปพักบำเพ็ญอยู่ทางเทือกเขาฝั่งตะวันตกของเมืองหลวงพระบาง ที่ใต้ชายเขาลูกนั้นมีเมืองพญานาคตั้งอยู่ใหญ่โตมาก หัวหน้าพญานาคพาบริวารมาฟังธรรมท่านเสมอ เขาเคารพเลื่อมใสศรัทธาท่านมากได้จัดบริวารมาคอยอารักษ์ขาท่านทั้งกลางวันกลางคืน ท่านจาริกธุดงค์อยู่ทางแถบนี้นานหลายปีจึงได้ลงมาจำพรรษายังวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน

เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2413
อุปสมบท 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436
มรณภาพ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
พรรษา 56
อายุ 79
วัด วัดป่าสุทธาวาส
จังหวัด สกลนคร
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง (จังหวัดเชียงใหม่)
พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ประวัติ

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” (20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า แก่ประชาชน ทำให้ท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
พระปรมาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
………………………….

“ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าเลิศ” “ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตนเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งปวง”

กำเนิด
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านถือกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว บิดาชื่อนายคำด้วง มารดาชื่อนางจันทร์ มีเพีย (พระยา) แก่นท้าวเป็นปู่ ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี หลวงปู่มั่น องค์ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี เมื่อ ท่านอายุได้ ๑๕ ปีได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้

เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้านท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงาน ของบิดามารดาเต็มความสามารถ ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่งอีกอย่าง หนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่ง ของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดา มารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักพระอาจารย์เสาร์ ( หลวงปู่เสาร์ ) กันตสีโล วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

มุตโตทัย

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย

๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ

การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อหลวงปู่มั่นอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษา หาความรู้ ทางพระศาสนามีสวดมนต์ และพระสูตรต่าง ๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วย การงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้ว ยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัย ในทางบวช มาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก คำสั่งของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา

บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย

อุปสมบทอายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก 24 พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 5 พรรษา (2487-2492)
มรณะภาพ 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ 80 ปี อ่านเพิ่มเติม

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา
บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย
อุปสมบทอายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก 24 พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 5 พรรษา (2487-2492)
มรณะภาพ 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ 80 ปี
_____________________________________________________________ อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๖

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๖
เรียบเรียงโดย
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนใช้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย

๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต

๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยจึงงด

๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๓

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๓

เรียบเรียงโดย
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

สุบินนิมิต

พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร

ท่านเล่าว่าเมื่อกำลังศึกษากัมมัฏฐานภาวนาใน สำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี นั้น ชั้นแรกยังใช้บริกรรมภาวนาว่า พุทโธ ๆ อยู่

อยู่มาวันหนึ่ง จะเป็นเวลาเที่ยงคืนหรือ อย่างไรไม่แน่ บังเกิดสุบินนิมิตว่า ได้เดินออกจาก หมู่บ้านด้านหนึ่ง มีป่า เลยป่าออกไปก็ถึงทุ่งเวิ้งว้าง กว้างขวาง จึงเดินตามทุ่งไป ได้เห็นต้นชาติต้นหนึ่ง ที่บุคคลตัดให้ล้มลงแล้ว ปราศจากใบ ตอของต้นชาติสูงประมาณ ๑ คืบ ใหญ่ประมาณ ๑ อ้อม ท่านขึ้นสู่ขอนชาตินั้น พิจารณาดูอยู่ รู้ว่าผุพังไปบ้างและจักไม่งอกขึ้นได้อีก ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น มีม้าตัวหนึ่ง ไม่ทราบว่ามาจากไหน มาเทียมขอนชาติ ท่านจึงขึ้นขี่ม้าตัวนั้น ม้าพาวิ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มฝีเท้า ขณะที่ถ้าพาวิ่งไปนั้น ได้แลเห็นตู้ใบหนึ่ง เหมือนตู้พระไตรปิฎก ตั้งอยู่ข้างหน้า ผู้นั้นวิจิตรด้วยเงินสีขาวเลื่อมเป็นประกายผ่องใสยิ่งนัก ม้าพาวิ่งเข้าไปสู่ตู้นั้น ครั้นถึงม้าก็หยุดและหายไป ท่านลงจากหลังม้าตรงตู้พระไตรปิฎกนั้น แต่มิได้เปิดตู้ดู ไม่ทราบว่ามีอะไรอยู่ในนั้น แลดูไปข้างหน้า เห็นเป็นป่าชัฏ เต็มไปด้วยขวากหนามต่างๆ จะไปต่อไปไม่ได้ เลยรู้สึกตัวตื่นขึ้น อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๕

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๕
เรียบเรียงโดย
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

ปฏิปทา

เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบล เป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพา เมืองอุบล บ้างเป็นบางคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และ อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌายาจารย์ และศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กับสมาทานธุดงควัตรต่าง ๆ

ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้างทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวัน หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมมิก และอุบาสก อุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๑

ชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ๑
เรียบเรียงโดย
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ อาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนา มีศิษยานุศิษย์มาก มีคนเคารพนับถือมาก มีชีวประวัติควรเป็นทิฏฐานุคติแก่กุลบุตรได้ผู้หนึ่ง ดังจะเล่าต่อไปนี้

ชาติสกุล

ท่านกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว นายคำด้วง เป็นบิดา นางจันทร์ เป็นมารดา เพีย๑แก่นท้าวเป็นปู่ ชาติไทย นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม๒ จังหวัดอุบลราชธานีมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี บุตร ๖ คนตายเสียแต่เล็ก ยังเหลือน้องสาว ๒ คน คนสุดท้องชื่อ หวัน จำปาศิลป อ่านเพิ่มเติม

ประวัติของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รวมทั้ง การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

ประวัติของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รวมทั้ง การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ
ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ อ่านเพิ่มเติม

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)

พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต
(มั่น ภูริทตฺโต)
หลวงปู่มั่น, พระอาจารย์มั่น

เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2413
อุปสมบท 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436
มรณภาพ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
พรรษา 56
อายุ 79
วัด วัดป่าสุทธาวาส
จังหวัด สกลนคร
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง (จังหวัดเชียงใหม่)
พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) [1] หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต”[2][3][4][5] (20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรงดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เป็นเลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่ สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

ปฏิหาริย์ ชีวประวัติ คำสอน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ปฏิหาริย์ ชีวประวัติ คำสอน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ…ยอดอริยเจ้า
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ … ยอดอริยเจ้าของชาวไทย

…. ไสยเวทวิทยาคม ….

พระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโม
… ก่อนอื่นขอกล่าวถึง พระอาจารย์สิงห์ ขนตยาคโม สักเล็กน้อย … พระอาจารย์สิงห์ เป็นชาวอุบลฯโดยกำเนิด เกิดที่บ้านหนองขอน หัวตะพาน
… ท่านเป็นพระอาจารย์องค์แรกที่ได้ปวารณาตัวเข้าเป็นสิษย์พระอาจารย์มั่น เป็นศิษย์ก้นกุฏิอยู่ถึง 12 ปี เป็นศิษย์เอกสูงสุดเปรียบได้กับแขนซ้ายและขวาของพระอาจารย์มั่นในการเผยแพร่ พระสัทธรรมให้แพร่หลายกว้างขวางในสมัยนั้น … พระอาจารย์มั่นท่านสมถะชอบธุดงควัตรสัญจรร่อนเร่ไปตามป่าตามเขาแต่โดดเดี่ยว ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับพระและฆราวาสชาวบ้านเท่าไหร่นัก
ช้างเผือกในป่า
… พระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโม กำลังจะสรงน้ำในตอนเย็นที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี … ก็เหลือบเห็นพระภิษุรูปหนึ่งกำลังเดินมากับสามเณรน้อยรูปหนึ่ง พระอาจารย์สิงห์จึงหยุดดูด้วยความสนใจ … เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในตอนเย็นวันนั้น ในปีพุทธศักราช 2445 ที่ล่วงมาแล้ว
… พระอาจารย์สิงห์ได้เห็น ” นิมิต ” ปรากฏที่ร่างของสามาณรน้อยรูปนั้น เป็นแสงโอภาสออกจากกายคล้ายรัศมีของผู้มีบุญญาอภินิหาร ก็รู้สึกประหลาดใจก็เอามือขยี้ตาตนเองเข้าใจไปว่าตาฝ่าดไปอันเกิดจากแสงแดด หลอนนัยตา เมื่อขยี้ตาแล้วก็ยังมองเห็นกระแสรัศมีนั้นปรากฏอยู่ที่ร่างสามเณรน้อยที่ กำลังเดินฝ่าเปลวแดดเข้ามาในวัด … ประมาณอึดใจใหญ่ๆ รัศมีนั้นก็พลันหายไป … พระอาจารย์สิงห์ก็ล่วงรู้ได้ด้วยอำนาจญาณทันทีว่า สามเณรน้อยผู้นี้เป็นผู้มีบุญญาบารมีมาเกิด .. ท่านจึงเปลี่ยนใจไม่สรงน้ำรีบคว้าจีวรมานุ่งเรียบร้อยแล้วนั่งรออยู่บนกุฏิ … พระภิกษุและสามเณรน้อยรูปนั้น ขึ้นกุฏิมากราบนมัสการ พระอาจารย์สิงห์ แล้วแนะนำตัวเองว่าชื่อพระภิษุกอ้วนมาจากวัดโพธิชัย บ้านนาโป่ง ริมฝั่งแม่น้ำฮวย เมืองเลย พระภิษุกอ้วนมีศักดิ์เป็นอาของสามเณรน้อยที่พามาด้วย

อ่านเพิ่มเติม

เมื่อหลวงปู่แหวนผจญผีกองกอย

เมื่อหลวงปู่แหวนผจญผีกองกอย

เรื่องของหลวงปู่ต่างๆที่มีจริยวัตรอันงดงาม..และได้ปฏิบัติธรรมในสถานที่ ต่างๆ จนได้พบกับปาฏิหารย์ต่าง และนี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งของรอยตะวันที่จะเล่าเรื่องผีกองกอยให้ฟัง

..หลวงปู่แหวนผจญผีกองกอย ชาวป่าข่าระแด

มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญอีกครั้งหนึ่ง ได้เขียนไว้ในหนังสือ พระธาตุปาฏิหาริย์ ของนิตยสารโลกทิพย์ ซึ่งขอนำมากล่าวโดยสรุปดังนี้ : –

เมื่อหลวงปู่แหวน กับ หลวงปู่ตื้อ จาริกมาถึงเทือกเขาใหญ่ทิศใต้ แขวงเมืองคำม่วน เป็นป่าดงเย็นอืมครึม เชื่อมโยงลงไปถึงสุวรรณเขต
ในตอนเย็น พบสถานที่เหมาะจึงปักกลดพักภาวนาที่หุบเขาใต้เงื้อมผาแห่งหนึ่ง ทั้งสององค์ปักกลดห่างกันพอสมควร คืนนั้นต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรอยู่ในกลดเป็นปกติ ประมาณ 3 ทุ่ม ในป่าดงเช่นนั้นดูเงียบสงัดวังเวง ก็ได้ยินเสียงประหลาดคล้ายเสียงนกกลางคืนร้อง “ก๋อย ก๋อย ก๋อย”
เสียงนั้นดังใกล้เข้ามา แล้วดังรับกันล้อมรอบไปทั่วทิศ เสียงบีบเข้ามา “ก๋อย ก๋อย ก๋อย” และมีแสงคบไฟนับสิบๆ ดวงมาจากเสียงนั้น ทำให้มองเห็นตัวผู้ถือได้ถนัด
ร่างนั้นเป็นมนุษย์ร่างประหลาด ขนาดเด็กอายุ 13-14 ปี ผอม พุงโร ผิวคล้ำ ผมเผ้ารุงรัง จมูกแบน บ่งบอกว่าเป็นคนป่า ทุคนมีอาวุธประจำตัวคือ “หน้าทึ่น” คล้ายธนูแต่เล็กกว่า ใช้คล่องตัวในป่า พวกเขาสะพายกระบอกไม้ไผ่ใส่ลูกดอกอาบยาพิษ

อ่านเพิ่มเติม

ของดีที่หลวงปู่แหวนมอบให้

ของดีที่หลวงปู่แหวนมอบให้

เมื่อมีผู้ของของดีจาก หลวงปู่แหวน ท่านจะถามกลับและให้ธรรมะ เพื่อเป็นข้อคิดเตือนสติ เตือนใจ ดังนี้ :-
” ของดีอะไร อะไรคือของดี ของดีก็มีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว”
การที่ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้พยาธินั้น ก็มีของดีแล้ว การมีร่างกายแข็งแรง มีอวัยวะ ครบถ้วน ไม่บกพร่องวิกลวิการ อันนี้ก็เป็นของดีแล้ว

ของดีมีอยู่ในตน ไม่รู้จะไปเอาของดีที่ไหนอีก สมบัติของดีจากเจ้าพ่อ เจ้าเแม่ให้มา ก็เป็น ของดีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วทุกคน จะไปเอาของดีที่ไหนอีก
ของดีก็ต้องทำให้มันเกิดมันมีขึ้นในจิตใจของตน ความดีอันใด ที่ยังไม่มี ก็ต้องเพียรพยายาม ทำให้เกิดให้มีขึ้นนี่แหละของดี

ของดีอยู่แล้ว ในตัวของเราทุกๆ คน มองให้มันเห็น หาให้มันเห็น ภายในตนของตนนี่แหละ จึงใช้ได้ ถ้าไปมองหาแสวงหาของดี ภายนอกแล้วใช้ไม่ได้
ศีล ธรรม นี่แหละคือของดี

อ่านเพิ่มเติม

สุจิณฺโณรำลึก เทศน์ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

สุจิณฺโณรำลึก

เทศน์ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

ณ วัดดอยแม่ปั๋ง
กัณฑ์ที่ ๒
๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๕

…….เทศน์ภายในเลยมันจึงเหมาะ ถ้าเทศน์ภายนอกนี่มันคล้ายกับแผนที่ตำรับตำรา พอปานกับเครื่องกระจายเราต้องเทศน์ภายใน

…….จะเอาอย่างใดอีก ตำรับตำราทางบ้านท่านฟังมาเต็มที่แล้ว จะฟังก็ในกายเท่านั้นแหละ ทีนี้ ให้ภาวนาเอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จะพากันละอุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ ละรูปธรรม นามธรรมนี้ วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ วางไม่ได้มันก็ยึดเอารูปธรรมนามธรรมเป็นตนเป็นตัว มันก็เป็นธรรมเมาอยู่นั่นเอง

พิจารณาสังขาร นามรูป ที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ อุปาทานทั้ง ๕ มีรูปูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่หนึ่ง เวทนูปาทานักขันโธเป็นอุปาทานที่สอง สัญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สาม สังขารูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สี่ วิญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่ห้า ครั้นค้นคว้าอยู่ในธาตุสี่ ขันธ์ห้า วางธาตุสี่ ขันธ์ห้านี้ได้แล้วละก็ ภาวนาสงบดี ครั้นเวทนาดับลง สัญญาดับลง สังขารดับลง วิญญาณดับลง รูปธรรมส่วนสมมติเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม วางได้แล้วมันก็สบาย จิตก็สงบลง

อ่านเพิ่มเติม

สุจิณฺโณรำลึก

สุจิณฺโณรำลึก

คำนำ

หนังสือนี้ศิษย์คณะหนึ่งของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, วัดดอยแม่ปั๋ง, เชียงใหม่ พร้อมใจกันจัดพิมพ์ขึ้นเป็นของชำร่วยแก่ผู้ที่ไปถวายเพลิงศพหลวงปู่, เป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลตามกำลังความสามารถ หนังสือแบ่งออกเป็นสามภาค คือ ภาคประวัติ ภาคธรรมะ และภาคอนุสรณ์ ภาคแรกเป็นประวัติย่อของหลวงปู่ ส่วนใหญ่ได้จากหนังสืออนุสรณ์เปิดตึกสุจิณโณ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคธรรมะ เป็นเทศน์ของหลวงปู่ ได้จากมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ๑ กัณฑ์ กับจากสถานีวิทยุ ๐๑ ภาคพิเศษอีก ๑ กัณฑ์ ภาคอนุสรณ์เป็นการรวบรวมธรรมภาษิตเบ็ดเตล็ดที่ลูกศิษย์ เขียนติดไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัดของหลวงปู่ ซึ่งผู้ที่ไปนมัสการหลวงปู่ส่วนมากคงเคยอ่านแล้ว หากได้เห็นอีก จะได้ระลึกถึงท่าน ทั้งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ด้วย หวังว่าทั้งสามภาคที่มีอยู่ในหนังสือนี้ จะเตือนใจให้ระลึกถึงหลวงปู่ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องราวของท่าน ธรรมะของท่าน และบริเวณแวดล้อมของท่าน เป็นอนุสรณ์ที่สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .