พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทยในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฏแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม
ประวัติพระสีวลี อรหันต์แห่งโชคลาภ
พระสีวลี หรือ พระสิวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสาซึ่งราชธิดาแห่งโกลิยนครตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฎิสนธิในครรภ์ของพระมารดาได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอย่างมาก พระสีวลีทรงอาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดานานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาพระสีวลีจะประสูติพระมารดาได้รับทุกขเวทนาเป็นอันมาก พระนางจึงทูลขอให้พระสวามีไฟกราบบังคลทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าและทรงได้ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า “ขอพระนางสุปปวาสาพระราชธิดาแห่งโกลิยนครจงเป็นหญิงที่มีความสุขปราศจากโรคาพนาธิ ประสูติพระโอรสที่หาโรคมิได้เถิด” และด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพจึงทำให้ทุขเวทนาของพระนางอันตรธานหายไป พระนางสามารถประสูติพระโอรสได้อย่างง่ายดายดุจน้ำที่ไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานนามพระราชโอรถของพระนางสุปปวาสาว่า “พระสีวลีกุมาร” และเมื่อพระนางสุปปวาสามีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว จึงมีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานเป็นระยะเวลา 7 วันติดต่อกัน จึงแจ้งความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งในวันที่ถวายมหาทานนั้นพระสิวลีกุมารทรงมีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ 7 พรรษา ได้ทรงช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่างๆ มีการนำธมกรก (กระบอกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและบรรดาพระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่พระสีวลีกุมารช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้นพระสารีบุตรได้สังเกตุดูอยู่ตลอดเวลา และทรงเกิดความพึงพอพระทัยในตัวพระสีวลีกุมารเป็นอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม
พระสิวลีผู้เป็นเลิศด้านโชคลาภ
พระสิวลี ตามตำนานเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ สมัยพุทธกาลที่มีบุญบารมีมาก สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระสิวลี
ว่า เป็นเลิศทางโชคลาภ อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ หากท่านทั้งหลายผู้หวังในโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง ขอให้บูชาพระสิวลี
หากใครที่มีรูปเคารพพระสิวลีอยู่แล้ว แต่ยังไม่รู้วิธีการบูชา ไม่รู้คาถาพระสิวลี และวิธัการบูชาให้เกิดลาภผล
เริ่มต้นก่อนเลย นั่งเบื้องหน้าองค์เคารพพระสิวลี จะเป็นพระผง ลอยองค์ หรือรูปภาพก็ได้
ตั้ง นะโม 3 จบ
คาถาพระสีวลี
หัวใจพระสีวลี
นะชาลีติ
นะ หมายถึง นอบน้อม มีสัมมาคาราวะ
ชา หมายถึง ขวนขวายเรื่องการงาน
ลี หมายถึง ไม่นอนมาก ไม่นอนดึก ไม่ตื่นสาย
ติ หมายถึง ว่าโดยทั้งหมด
ท่องตอน ติดต่อลูกค้า คุยกับผู้ใหญ่ ติดต่องานการ
“นะชาลีติ ประสิทธิลาภา”
คาถาบูชาพระสีวลี
สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ
คาถาพระสีวลี(คาถาเมตตามหานิยม)
พุทฺธังฺ เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ ธัมฺมังฺ เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ สังฺฆังฺ เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ สีวลี เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ
วิธีขอลาภพระสีวลีเถระเจ้า
ทุกวันพระขึ้น15ค่ำ ผู้ใดปรารถนาโชค สิริมงคลในชีวิตพึงรักษาศีล 5 หรือศีล 8 ทำจิตใจของตนให้สะอาด นุ่งห่มขาว หากมีพระธาตุหรือรูปองค์ท่านได้ยิ่งดี ให้ทำตอนเที่ยงคืนจะดีมากหรือถ้าจำเป็นจริงๆเวลา 3 ทุ่มก็ได้
ให้จัดที่บูชาพระสีวลีในห้องพระดังนี้
– ให้ตั้งโต๊ะปูผ้าขาว
– มีพานใส่ดอกไม้ขาวเท่าอายุ
– ธูป 3 ดอก
– เทียนขี้ผึ้งแท้ 9 เล่ม
– น้ำผึ้งอย่างดี 1ขวด
– ปัจจัย 1000 บาท
พึงจุดธูปเทียนไหว้พระสวดมนต์ สมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 แล้วกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ สวดบูชาพระสีวลีดังนี้
คาถาบูชาพระสีวลี
พระสีวลี ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก ด้วยอำนาจบุญที่ท่าน พระสิวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิขาดตกบกพร่อง เราจึงควรที่บูชาสักการะคาถาพระฉิมพลี พระสิวลีเป็นประจำ
สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ
พระสีวลี ผู้มีลาภมาก
เพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไปของพระอริยสาวกอันเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าพุทธบริษัท ขอเริ่มเล่าตั้งแต่อดีตชาติครั้งพุทธกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าพระนามว่าพระปทุมุตตระ ท่านได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเป็นเวลาเจ็ดวันโดยตั้งความ
ปรารถนาขอให้ได้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภ พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาดังกล่าวจักเป็นผลสำเร็จในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม
ในชาติต่อมา ครั้งพุทธกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้มีส่วนร่วมกับชาวเมืองถวายมหาทานอีกครั้งหนึ่งแด่พระพุทธ
เจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ (ตามประวัติระบุว่า ถวายน้ำผึ้งสด) แล้วกราบทูลแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธองค์ว่า ขอให้เป็นผู้เลิศทั้ง
ลาภและยศในทุก ๆ ชาติที่ตนไปเกิด และพระพุทธองค์ได้ประทานพรให้ว่าขอจงเป็นผลสำเร็จตามปรารถนาเถิด อ่านเพิ่มเติม
เคล็ดลับการบูชาพระสีวลีเสริมโชคลาภ
พระสีวลีเป็นพระเถระ ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นพระอรหันต์ที่เลิศทางลาภสักการะมากหากผู้ใดมีพระสีวลีไว้บูชา ประจำบ้านเรือน จะนำโชคมหาลาภ มาสู่ท่านผู้บูชา ในธุรกิจ การค้า หรือเคหาสน์สถานบ้านเรือนหากได้บูชาพระสีวลีแล้วจะสำเร็จดังปรารถนาแน่นอน
คำบูชาพระสีวลี
นโม ( ๓ จบ )
สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ
เหตุเกิดแห่งเรื่องที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์
ในสมัยหนึ่ง พระขทิรวนิยเรวตเถระ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ได้หนีการแต่งงานที่บิดามารดาจัดการให้ มาขอบวชในสำนักพระภิกษุ ซึ่งมีภิกษุอยู่ประมาณ ๓๐ รูป เหล่าพระภิกษุสอบถามดู ทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ที่ท่านได้เคยแจ้งไว้ก่อนว่าถ้าน้องชายมาขอบวชก็อนุญาตให้บวชได้ จึงได้ทำการบวชให้แล้วส่งข่าวมายังท่านพระสารีบุตร
ครั้งนั้น เมื่อพระสารีบุตรทราบข่าวดังนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาเพื่อขอไปเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียรเจริญวิปัสสนา จึงทรงห้ามพระสารีบุตรถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อพระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้วจึงทรงอนุญาตและตรัสว่าจะทรงไปด้วยพร้อมเหล่าพระสาวกอื่น
ดังนั้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร ก็ได้เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่าจะไปเยี่ยมพระเรวตะ ครั้นเดินทางมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทาง ๒ แพร่ง
พระสีวลี–พระสีวลีทดลองบุญ
ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนาครสาวัตถี พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ
ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่าปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘
พระสีวลี–พระสีวลีบวชเมื่อเกิดได้ ๗ วัน
ตั้งแต่เวลาที่ได้เกิดมาแล้ว ทารกนั้นได้เป็นผู้แข็งแรง อดทนได้ในการงานทั้งปวง เพราะค่าที่อยู่ในครรภ์มานานถึง ๗ ปี ครั้นถึงวันที่ ๗ พระนางสุปปวาสาตกแต่งพระสีวลีกุมารผู้โอรส ถวายบังคมพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระกุมารถูกนำเข้าไปสักการะพระสารีบุตรเถระเจ้านั้น พระเถระเจ้าได้กระทำปฏิสันถารกับเธอว่า สีวลี เธอยังจะพอทนได้หรือ ? สีวลีกุมาร ได้ตรัสตอบพระเถระเจ้าว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจะมีความสุขที่ไหนได้เล่า กระผมนั้นต้องอยู่ในโลหกุมภีถึง ๗ ปี
พระเถระได้กล่าวกะสีวลีทารกนั้นอย่างนี้ว่า ก็ถ้าเธอได้รับความทุกข์ถึงขนาดนั้นแล้ว บวชเสียไม่สมควรหรือ สีวลีตอบว่าถ้าบวชได้ก็จะบวช พระนางสุปปวาสาเห็นทารกนั้นพูดอยู่กับพระเถระ ก็คิดว่าบุตรของเราพูดอะไรหนอกับพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า บุตรของดิฉันพูดอะไรกับพระคุณเจ้า เจ้าคะ พระเถระกล่าวว่า บุตรของท่านพูดถึงความทุกข์ที่อยู่ในครรภ์ที่ตนได้รับ แล้วกล่าวว่า ถ้าท่านอนุญาต ก็จะบวช
พระสีวลี–กำเนิดในพุทธกาล
ครั้นพ้นจากนรกอเวจีแล้ว ก็เที่ยวเกิดไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าของเรานี้ จึงได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของ พระนางสุปปวาสา ราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ กษัตริย์พระนครโกลิยะ ซึ่งทรงอภิเษกกับเจ้าศากยวงศ์พระองค์หนึ่ง พระนางนั้นพระบรมศาสดาได้ทรงสถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต และได้ทรงปฏิบัติธรรมจนบรรลุโสดาบันปัตติผล
ด้วยกุศลกรรมแห่งการที่ท่านเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เพราะอานุภาพที่ถวายมหาทาน แล้วตั้งความปรารถนาในสมัยแห่งองค์พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และอานิสงส์ที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐ กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี นับแต่วันที่ท่านถือปฏิสนธิ ก็มีคนถือเอาเครื่องบรรณาการมาให้พระนางสุปปวาสา วันละร้อยเล่มเกวียน ทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า
พระสีวลีเถระ–บุรพกรรมที่นำไปสู่อเวจีและต้องอยู่ในครรภ์พระมารดา ๗ ปี ๗ วัน
เมื่อท่านได้สิ้นอายุในสมัยนั้นแล้ว ท่านก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนาน ต่อมาในสมัยหนึ่งท่านได้จุติจากเทวโลก บังเกิดเป็นราชโอรสแห่งพระเจ้ากาสี (อรรถกถาบางแห่งว่า พระเจ้าพรหมทัต) ผู้ครองกรุงพาราณสี ต่อมาพระเจ้าโกศลทรงกรีธากองพลใหญ่มายึดกรุงพาราณสี ทรงปลงพระชนม์พระเจ้ากาสีและได้สถาปนาพระอัครมเหสีของพระราชานั้นให้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ในเวลาที่พระบิดาถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงหนีออกทางประตูระบายน้ำ รวบรวมญาติมิตรและพวกพ้องของพระองค์ไว้เป็นอันเดียวกัน รวมกำลังโดยลำดับแล้วเสด็จมายังกรุงพาราณสี ตั้งค่ายใหญ่ไว้ในที่ไม่ไกล ทรงส่งพระราชสาสน์ถึงพระราชาองค์นั้นว่า จะคืนราชสมบัติหรือจะรบ
พระมารดาได้สดับสาสน์ของพระราชกุมารแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ลับแนะนำไปว่า จงอย่ามีการต่อสู้ จงตัดขาดการสัญจรทั่วทุกทิศ โดยการล้อมกรุงพาราณสีไว้ พวกคนในกรุงก็จะพากันลำบากเพราะหมด ไม้ น้ำและอาหาร และจะจับพระราชามาถวายเอง พระราชกุมารได้สดับสาสน์ของพระมารดาแล้ว จึงล้อมประตูใหญ่ทั้ง ๔ ด้านไว้ ๗ ปี แต่การณ์ก็มิได้เป็นอย่างที่ทรงดำริ เนื่องจากพวกคนในกรุงพากันออกทางประตูเล็ก นำเอาไม้และน้ำเป็นต้น มาทำกิจทุกอย่าง
ประวัติพระสีวลีเถระ เอตทัคคะผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ-ความปรารถนาในอดีต
พระสีวลีเถระ เป็นพระมหาเถระที่มีประวัติค่อนข้างแปลกไปกว่าพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ท่านต้องอยู่ในครรภ์พระมารดาอยู่ถึง ๗ ปี กับอีก ๗ วัน ด้วยอำนาจบุรพกรรมตามมาส่งผล และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ แม้พระมารดาคือ พระนางสุปฺปวาสา ผู้เป็นราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ ก็ทรงเป็นเอตทัคคะผู้กว่าพระสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายสิ่งของอันประณีต การที่พระพุทธองค์ได้ทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวก็เป็นไปตามความปรารถนาของท่านมาแต่ในอดีต
ความปรารถนาในอดีต
ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งนั้น ท่านได้เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครหงสวดี ได้ยินพระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ชื่อสุทัสสนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีลาภมาก ดังนั้น ทรงปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้นิมนต์ พระชินสีห์พร้อมทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภในอนาคตกาล พระปทุมุตตระบรมศาสดา จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จะสำเร็จในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป ท่านจะบังเกิดในนาม สีวลี ได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระโอกกากราช ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป
พระสีวลีเถระ
พระสีวลีถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล
พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก
ชาติภูมิ
พระสีวลีเถระ เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาส ผู้เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงโกลิยะ อยู่ในพระครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เมื่อทรงพระครรภ์ทำให้พระมารดาสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะมาก เมื่อประสูติก็ประสูติง่าย ด้ายพุทธานุภาพที่ทรงพระราชทานพรว่า “ขอพระนางสุปปวาสาจงมีความสุข ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้ไม่มีโรคเถิด”
การบูชา “พระสีวลี” เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภ ยศ ชื่อเสียงที่ขจรไปไกล
พร้อมรับความร่ำรวย มั่งคั่ง ที่จะเข้ามาอย่างรวดเร็ว เราจึงควรบูชา“พระสีวลี” เป็นประจำ
สาเหตุที่ท่านได้รับการยอมรับว่า เป็นพระอรหันต์แห่งโชคลาภนั้น เพราะในสมัยที่ท่านยังอยู่ในครรภ์มารดา คือ พระนางสุปฺปวาสา ผู้เป็นราชบุตรีของเจ้าเมืองโกลิยะ ท่านอาศัยอยู่ในครรภ์มารดานั้นนานถึง 7 ปี กับอีก 7 วัน เพื่อชดใช้กรรมเก่าจากการที่ในชาติก่อนนั้น
(โดยปกตินั้น คนธรรมดาอยู่ในท้องแม่ไม่เกิน 9 เดือน 10 เดือนก็ต้องคลอดออกมาแล้ว)
ซึ่งครั้งนั้น พระองค์ทรงเป็นพระราชาในเมืองแห่งหนึ่ง ทรงมีอุบายร่วมกับพระมารดา พยายามจะแย่งชิงเมืองอีกเมืองมาเป็นของตน แต่ไม่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่น อาศัยกลยุทธ์เข้าล้อมเมืองนั้น
ทำให้เมืองนั้นขาดการติดต่อจากโลกภายนอก ชาวเมืองล้วนประสบโรคภัยไข้เจ็บ เผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ดำรงชีวิตอยู่ด้วยคงวามทุกขเวทนา ด้วยความทุกข์เวทนามากว่า 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ผลจากกรรมนั้น จึงส่งผลมาดังกล่าวแก่ท่าน ให้ท่านนั้นต้องทนอุดอู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น
แต่ด้วยด้วยอำนาจบุรพกรรมตามมา ได้ทำให้เกิดโชคลาภแก่พระมารดาผู้ทรงครรภ์เป็นอันมาก โดยกล่าวว่าในเวลาใกล้ประสูติ แม้พระมารดาของท่านจะได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า แต่ยังมีสติที่ดี จึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดา
ท่านพุทธทาสภิกขุ–“พระ” ที่ตรงตามตัวหนังสือ
การถือพุทธศาสนา ที่มุ่งตรงแต่ตามตัวหนังสือ กับ การถือที่มุ่งจะเอาแต่ใจความนั้น
ย่อมทำให้เกิดผลแตกแยกตรงกันข้าม เป็นสองฝ่าย เกิดบุคคล เป็นสองพวก และ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือ เกิดพุทธศาสนา เป็นสองชนิดนั่นเอง และ ผลที่ตามมาก็คือ
ความปั่นป่วน.
พวกที่ถือ ตรงตามตัวหนังสือ นั้น ครั้นความต้องการของตน เกิดขัดกันขึ้น
กับความหมายเดิม ก็ถือเลิศเอาแง่ตามตัวหนังสือนั่นเอง เป็นข้อแก้ตัว ในส่วนวินัย
เช่น ห้ามรับเงิน ก็มีเงินได้เป็นจำนวนมาก โดยแก้ตัวว่า วินัยห้ามรับเงิน เท่านั้น
หรือ การห้ามนั่งบนเบาะสำลี แต่ก็นั่งบน เบาะนวม มีสปริง เป็นต้นได้ เพราะ
วินัย มิได้ห้ามไว้ เตียงเหล็กมีเท้าสูง เอาแผ่นกระดาน มาตีปะ ให้ดูปกลงมาเป็น
แม่แคร่จนเท้าเหลือนิดเดียว เตียงตัวนั้นเองก็กลายเป็นเตียงที่ใช้ได้ไม่ผิดวินัยไป
ดังนี้เป็นต้น การมีเงินได้โดยไม่ต้องมีการรับเงิน เช่นนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้
เห็นว่า เกิดมาจากการแกล้งถือตามตัวหนังสือ ถ้าจะมองดู แม้ในพวกที่หวังดี
โดยบริสุทธิ์ใจ ก็ยังมีอาการอย่างอื่นๆ เช่น ที่เรียกกันเป็นเชิงล้อว่า
“เถรส่องบาตร” เป็นต้น เป็นตัวอย่าง แห่งการถือตรงตามตัวหนังสือ
อยู่มากเหมือนกัน ในเมืองไทย ฤดูฝนไม่ตรงกับเดือนฤดูฝนในอินเดียภาคกลาง
แต่เมืองไทย ก็ต้องถือระยะกาลจำพรรษาอย่างของอินเดีย จนปรากฏว่าใน
บางส่วนของประเทศไทย ฝนเพิ่งจะตก เมื่อพระออกพรรษา แล้วก็มี นี่ก็ดู
ไม่แพ้ อาการของตาเถรที่ส่องบาตร ในส่วนธรรมก็ไม่แพ้ในเรื่องของวินัย
มีผู้เข้าใจความหมายของคำว่า สัพพัญญู เป็นพระพุทธองค์ ทรงรู้อะไร
ไปหมดทุกอย่าง รู้ภาษาทุกภาษาในโลก รู้วิชาทุกอย่างที่โลกมี ทั้งในอดีต
ปัจจุบัน และแถมอนาคต กระทั่ง เวลาที่พระองค์หลับ ทั้งนี้ เพราะคำว่า
สัพพัญญู แปลว่า ผู้รู้สิ่งทั้งปวง พระองค์ ทรงรู้จัก ถิ่นฐานในโลก ทุกแง่
ทุกมุม เพราะพระองค์ เป็นโลกวิทู ดังนี้ก็มี ครั้นใครสักคนหนึ่ง แย้งว่า
พระองค์ไม่เคยเสด็จ ไปอเมริกา เพราะอเมริกา ยังไม่เกิด การเถียงกัน
อย่างคอเป็นเอ็น ก็เกิดขึ้นว่า ทรงทราบด้วย อนาคตญาณ
ท่านพุทธทาสภิกขุ–บุญ กับ กุศล
เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่เรียกกันว่า “บุญ” กับ สิ่งที่เรียกว่า “กุศล” บ้างไม่มากก็น้อย
แล้วแต่ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว
บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม
ตามความหมาย ของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำ นี้ทีเดียว
คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,
ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย
เช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง
บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม
แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก ในกรณีที่
ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะ
เป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่
การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออก
ไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ
อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจ
และ เวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้
ท่านพุทธทาสภิกขุ–ทางเดินของชีวิต
ชีวิตคนเรานั้น แท้จริงคือ การเดินทางชนิดหนึ่ง
ซึ่งเดินจากความเต็มไปด้วยความทุกข์ ไปยัง ที่สุดจบสิ้นของความทุกข์
ที่ตนเคยผ่านมาแล้วนั่นเอง ไม่รู้ว่า ผู้นั้นจะทราบหรือไม่ทราบ รู้สึกหรือไม่รู้สึก
ชีวิตก็ยังคงเป็น การเดินทาง เรื่อยอยู่นั่นเอง เมื่อเดินไป ทั้งไม่ทราบ ก็ย่อมมี
ความระหกระเหิน บอบช้ำเป็นธรรมดา
การเดินทางของชีวิตนี้ มิใช่เป็น การเดินทางด้วยเท้า
ทางของชีวิต จึงมิใช่ ทางที่จะเดินได้ด้วยเท้า อีกเช่นเดียวกัน
บัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน ได้พากันสนใจใน “ทางชีวิต” กันมากเป็นพิเศษ
ในฐานะที่เป็นทางของจิต อันจะวิวัฒน์ไปในทางสูง
ซึ่งจะไปได้สูงกว่าทางวัตถุหรือทางกาย อย่างที่จะเทียบกันไม่ได้เลย
สิ่งที่เรียกกันว่า ทางๆ นั้น แม้จะมีสายเดียว ก็จริง ตามธรรมดา ต้องประกอบ
อยู่ด้วย องค์คุณหลายประการเสมอ ทางเดินเท้าทางไกลแรมเดือนสายหนึ่ง
จะต้องประกอบด้วย สะพาน ร่มเงา ที่พักอาศัยระหว่างทาง การอารักขา
คุ้มครองในระหว่างทาง การหาอาหารได้เสมอไปในระหว่างทาง ฯลฯ
ดังนี้เป็นต้น ฉันใด ทางชีวิตแม้จะสายเดียวดิ่งไปสู่ความพ้นทุกข์ก็จริง แต่
ก็ต้องประกอบไปด้วย องค์คุณหลายประการ ฉันนั้น
ศาสนา เป็นองค์คุณอันสำคัญ โดยช่วยให้ชีวิตนี้ มีความสดชื่น เยือกเย็น
พอที่จะเป็นอยู่ ไม่ร้อนเป็นไฟ เช่นเดียวกับน้ำ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงพฤกษาชาติ
ให้สดชื่น งอกงาม ตลอดเวลา ฉันใดฉันนั้น
ท่านพุทธทาสภิกขุ–อานาปานสติ (สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)
ในกรณีปรกติ ให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลัง จดกันสนิท เต็มหน้าตัด ของมันทุกๆ ข้อ) ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่ง จนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไรหรือไม่เห็น ก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้า ก็จะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอน ได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะ คนขึ้ง่วง ให้ทำอย่าง ลืมตานี้ แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับ ของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่ มันจะต้องหลับตา หรือจะหัดทำ อย่างหลับตาเสีย ตั้งแต่ต้น ก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้น จะมีผลดีกว่า หลายอย่าง แต่ว่า สำหรับบางคน รู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะ พวกที่ยึดถือ ในการหลับตา ย่อมไม่สามารถ ทำอย่างลืมตา ได้เลย มือปล่อยวาง ไว้บนตัก ซ้อนกัน ตามสบาย ขาขัด หรือ ซ้อนกัน โดยวิธีที่จะ ช่วยยัน น้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัด และล้มยาก ขาขัด อย่างซ้อนกัน ธรรมดา หรือ จะขัดไขว้กัน นั่นแล้วแต่ จะชอบ หรือ ทำได้ คนอ้วนจะขัดขา ไขว้กันอย่างที่ เรียกขัดสมาธิเพชร นั้น ทำได้ยาก และ ไม่จำเป็น แต่ขอให้นั่งคู้ขามา เพื่อรับน้ำหนักตัว ให้สมดุลย์ ล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิ อย่างเอาจริง เอาจัง ยากๆ แบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับ เมื่อจะเอาจริง อย่างโยคี เถิด
ในกรณีพิเศษ สำหรับคนป่วย คนไม่ค่อยสบาย หรือ แม้แต่ คนเหนื่อย จะนั่งอิง หรือ นั่งเก้าอี้ หรือ เก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอด เล็กน้อย หรือ นอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ ก็ทำได้ ทำในที่ ไม่อับอากาศ หายใจได้สบาย ไม่มีอะไรกวน จนเกินไป เสียงอึกทึก ที่ดังสม่ำเสมอ และ ไม่มีความหมาย อะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค (เว้นแต่ จะไป ยึดถือเอาว่า เป็นอุปสรรค เสียเอง) เสียงที่มี ความหมายต่างๆ (เช่น เสียงคนพูดกัน) นั้นเป็นอุปสรรค แก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียง ไม่ได้ ก็ให้ถือว่า ไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไป ก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง
ท่านพุทธทาสภิกขุ–หลักอนันตากับการอบรมประชาชน
เมื่อเอ่ยถึง คำว่า “อนัตตา” นักธรรม ย่อมคุย ได้ว่า มีแต่ใน พุทธศาสนา เท่านั้น
หามีในศาสนาอื่นๆ ไม่ แท้จริง ก็เป็นเช่นนั้น แต่ทำไม เราจึงไม่เอาธรรมะ ข้อนี้
มาเป็นหลัก สั่งสอน ประชาชน โดยตรง ให้สมกับว่า พุทธบริษัท มีธรรมชิ้นเอก
อยู่อย่างหนึ่งนี้ ?
หลักอนัตตา แบ่งออกได้ ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายโลกิยะ และ โลกุตตระ
ฝ่าย โลกุตตระ จักยกไว้ เพราะ ไม่เกี่ยวกับ ประชาชน พลเมืองส่วนมาก ซึ่งยังต้อง
หมกอยู่ใน วิสัยโลก เป็นของสำหรับบรรพชิต ผู้บำเพ็ญ ชั้นสูง ส่วนที่เป็นชั้นโลกิยะ
นั้นแหละ ข้าพเจ้า เชื่อว่า เหมาะแก่ การอบรมฆราวาส ทุกชั้น ตั้งแต่ เด็ก จนแก่
และได้ผลดีกว่าหลักธรรมอื่น เพราะเป็น แก่นพุทธศาสนาที่แท้จริง ซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้เป็น ยอดนักปราชญ์ ได้บัญญัติขึ้น แปลกจาก ศาสนาทั้งปวง สำหรับโวหาร อย่าง
โลกิยะ หลักอนัตตา ถอดใจความได้ว่า “ไม่เห็นแก่ตน”
ผู้สอน จงสอนว่า “อย่าเห็นแก่ตน” เพียงวลีเดียวเท่านั้น และตนเองก็ทำตัวอย่าง
การไม่เห็นแก่ตน ให้เขาดูอย่างจริงจังด้วย จะได้ผลดีเกินคาด มากกว่าที่จะสอน
ด้วยหลักธรรม อย่างอื่น อันเป็นฝอย หรือ กิ่งก้าน ของ หลักอนัตตานี้