พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) เกียรติคุณ

สมณศักดิ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 2469 พระเงื่อม
พ.ศ. 2473 พระมหาเงื่อม
พ.ศ. 2489 พระครูอินทปัญญาจารย์
พ.ศ. 2493 พระอริยนันทมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ
พ.ศ. 2500 พระราชชัยกวี พระราชาคณะชั้นราช
พ.ศ. 2514 พระเทพวิสุทธิเมธี พระราชาคณะชั้นเทพ
พ.ศ. 2530 พระธรรมโกศาจารย์ พระราชาคณะชั้นธรรม
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[แก้]
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ จากสถาบันต่างๆ ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) มรณภาพ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ

ขอขอบคุณhttp://th.wikipedia.org

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง

เมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ

เมื่อประกาศผลสอบปีแรก ปรากฏว่าท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และกลายเป็นพระมหาเงื่อม อินทปญฺโญ ในปีเดียวกันนี้เอง ท่านพุทธทาสภิกขุมีงานเขียนเป็นบทความขนาดสั้นชิ้นแรก ชื่อ ประโยชน์แห่งทาน ปรากฏอยู่ในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) พระอุปัชฌาย์ของท่านพุทธทาสภิกขุ และมีบทความขนาดยาวเรื่อง พระพุทธศาสนาสำหรับปุถุชน พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกครบรอบโรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา

ขอขอบคุณhttp://th.wikipedia.org

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) พรรษาที่สามและสี่

ในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยา และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า

สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณนายหง้วนจึงได้ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อเรมิงตันแบบกระเป๋าหิ้วให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นรางวัล และท่านพุทธทาสภิกขุได้ใช้เครื่องนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) พรรษาที่สอง

แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า

ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด… แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) บรรพชิต

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า

เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ประวัติชีวิตวัยหนุ่ม

เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้

ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนชั้นประถมที่วัดโพธาราม จากนั้นก็ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ซึ่งอยู่ในตลาดไชยา ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุต้องจากบ้านที่พุมเรียงมาพักอยู่กับบิดา ซึ่งได้เปิดร้านค้าอีกแห่งเพื่อขายข้าวเปลือกที่ตลาดไชยานี้ บางครั้ง ท่านพุทธทาสภิกขุต้องรับหน้าที่ลำเลียงสินค้าจากบ้านที่ไชยาไปบ้านที่พุมเรียง เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ประวัติชีวิตวัยเยาว์

เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า

ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์
การได้อยู่วัดทำให้ความรู้เรื่องยาโบราณและยาสมุนไพรของท่านพุทธทาสภิกขุกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถูกหัดให้ชกมวย เนื่องจากเมืองไชยาเป็นแหล่งมวยที่มีชื่อเสียง ส่วนการละเล่นของเด็กวัดก็เป็นการละเล่นทั่วไป มีการละเล่นหนึ่งที่เด็กวัดจะนั่งรวมกลุ่มแล้วผลัดกันเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเล่าให้ดี มิฉะนั้นจะถูกติถูกค้าน เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ประวัติครอบครัว

ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสภิกขุเกิดในช่วงเวลาปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน

บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฮกเกี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในสำเนียงแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ชีวิตก้าวหน้า เพราะรักษาสัจจะ–หลวงพ่อจรัญ

จากเรื่องที่หลวงพ่อเล่ามานั้น อาจมีหลายท่านคลางแคลงใจว่าเป็นจริงหรือไม่ หรือเพื่อให้คนมีศรัธาสวดมนต์มากขึ้น ทำไมหลวงพ่อไม่นำคัมภีร์นั้นออกมาให้ดู ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อท่านกล่าวว่า คัมภีร์ใบลานทองคำจารึกบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา ท่านให้สัญญากับสมเด็จฯ ไว้ว่าจะไม่ให้ใครดู มิเช่นนั้นตัวท่านจะถึงแก่มรณภาพ และยังย้ำอีกว่า ใครจะเชื่อหรือไม่ ไม่เป็นไร แต่ท่านเชื่อหมื่นเปอร์เซ็นต์ เพราะท่านฝันเอง โดดลงไปในโพรงนี้เอง จนได้คัมภีร์ตามที่สมเด็จพระพนรัตน์มาเข้าฝันบอก

นับแต่นั้นมา หลวงพ่อจึงแนะนำญาติโยมให้สวดพาหุง มหากาเพราะเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เป็นชัยชนะอย่างสูงสุด ที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรม ผู้ใดสวดเป็นประจำ จะมีแต่ชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรื่อง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ อ่านเพิ่มเติม

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อจรัญ เรื่องกรรมของคนจีนที่ฆ่าตัวตาย

เหตุการณ์นี้หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโมได้เล่าเอาไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปี พ.ศ.2530 ครั้งเมื่อที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดพรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยวันนั้นเป็นวันโกนสาร์ท คือในช่วงเทศกาลทำบุญเดือนสิบ มียายแก่คนหนึ่งชื่อ ยายเภา อาศัยอยู่ที่บางสำโรง เขตสวี อำเภอ ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ได้พายเรือมาที่ตลาดปากบางเพื่อที่จะมาซื้อของไปเตรียมทำขนมกระยาสารท

ยายเภาได้เทียบเรือเข้าไปจอดริมตลิ่งที่มีต้นไม้ครึ้มทอดลงมาต้นหนึ่ง ซึ่งคุณยายเภาไม่ทราบเลยว่าต้นไม้ต้นนั้นเคยมี ชายแก่ชาวจีนคนหนึ่งมาผูกคอตายไว้ พอคุณยายทอดเรือที่ต้นไม้นั้นก็เกิดเรื่องทันที มีอาการผิดปกติดิ้นรนทุรนทุราย ปากก็พร่ำออกมาเป็นภาษาจีนทั้งที่เธอเป็นคนไทยไม่เคยรู้ภาษาจีนเลยแม้แต่คำเดียว

อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญเล่าเรื่องหลวงพ่อเดิม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพ วันนี้เราได้มีโอกาสอ่าน เรื่องราวที่น่าสนใจ แฝงด้วยคติธรรม ของท่านพระอาจารย์ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ท่านเล่าถึงอดีตเมื่อคราวที่ได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ หรือที่ชาวบ้านนับถือท่านว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” คือเป็นผู้สำเร็จ มีวิชา มีอิทธิบารมีสูงมากนั่นเอง หวังว่าเรื่องราวนี้คงจะให้แง่คิด และความรู้ในอีกแง่มุมหนึ่งแก่ท่านผู้อ่านที่เคารพ ไม่มากก็น้อยนะครับ เรียนเชิญติดตามได้เลยครับ …
หลวงพ่อจรัญ เล่าเรื่องหลวงพ่อเดิม
เมื่ออาตมาไปเล่าเรียนวิชากับ “หลวงพ่อเดิม”

อนุสรณพจน์ น้อมระลึกถึงพระเดชพระคุณ ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ “หลวงพ่อเดิม” อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญ “หนี้กรรมข้ามชาติของอาตมา

วันนี้จะเล่าเรื่องดาบของแม่ทัพ ทำให้คนฝันและต้องมาที่วัดนี้ ไปได้มาอย่างไร ต้องใช้เงินเท่าไร เป็นเรื่องอัศจรรย์ของอาตมา ผ่านมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว ตอนนั้นอยู่วัดพรหมบุรี ยังไม่ได้มาอยู่ที่วัดนี้ ก็จะขอเล่าประวัติอาตมาสักเล็กน้อย เมื่อสมัยอยู่วัดพรหมบุรี ก็เริ่มสอนกรรมฐานมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๙ หลังจากที่เดินออกจากป่า ก็มาเจริญภาวนาและสอนกรรมฐาน เริ่มต้นที่วัดพรหมบุรีตามลำดับมา วันหนึ่งสมภารใช้อาตมาไปเช่าเมรุพร้อมเครื่องตั้ง จะมาจัดงานศพที่วัดต้องไปเช่าที่หัวเวียง บ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แถวโน้นเขามีอาชีพค้าเมรุ มีไฟประดับสวยงามพร้อมเครื่องตั้งบนศาลา เหมากันมาอย่างนั้น แถวนี้ทั้งแถวไม่มีเมรุ

ส่วนมากเป็นเมรุเผาเตาฟืน ถ้ามีงานศพผู้มีเกียรติหรือผู้มีเงินต้องไปเช่าเมรุ เมรุก็มีมากทางหัวเวียง ผักไห่ บ้านแพน ก็เลยต้องไปที่นั่น อดีตชาติของหลวงพ่อ กล่าวถึงบ้านหนึ่ง เป็นเรื่องอัศจรรย์ครั้งอดีตชาติของอาตมา เจ้าของบ้านชื่อแม่ชุมศรี ศรีเรือง เป็นเจ้าของโรงสี อาตมาไม่เคยผ่านทางนั้นจึงไม่เคยรู้จัก แม่ชุมศรีนี้ยังไม่มีครอบครัว ยังเป็นสาว เขานั่งสมาธิแล้วฝันสามคืนติด ๆ กัน ฝันว่า เมื่ออดีตชาติของเขา เขาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เขามีลูกชายคนเดียว และลูกชายคนนั้นได้กำลังรบทัพจับศึก และในฝันนั้นบอกว่า ลูกชายโดนกลศึกวิธี พม่าได้ฆ่าลูกชายโดยผลักเขาลงน้ำถึงแก่ความตาย ที่อำเภอบางไทร ตรงปากครองที่ทัพพม่าเดินผ่านเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกทัพวันนั้น เขาก็ร้องห่มร้องไห้ว่าลูกชายเขาต้องจากไป บ้านเขาอยู่ตรงนั้นตรงนี้

อ่านเพิ่มเติม

เรื่องพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ที่ว่า พระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับไทยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ที่เก่งกาจกล้าหา­ญ และเสียสละอย่างมากอย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้อีกมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เรา เคยเรียนกัน
พระเจ้าตากมิใช่เป็นลูกของคนจีนสามั­ญชนตามประวัติ ศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อ ไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตราย จึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อ ไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)

อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ในอดีตเมื่อครั้งเยาว์วัย
ซึ่งได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้มากมาย ทำไปด้วยความไร้เดียงสา รักสนุก
คึกคะนองไม่รู้บาปบุญคุณโทษ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หารู้ไม่ว่ากรรมที่ท่านได้ก่อไว้นั้น จะส่งผลกลับมาสนองไม่วันใดก็วันหนึ่ง
และเมื่อถึงวันนั้น ท่านต้องชดใช้กรรมที่ตนเองก่อขึ้นมานั้น
อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
แม้ท่านจะอยู่ในเพศบรรพชิต ที่สร้างสมแต่ความดีมาตลอด
เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจเราท่านทุกคนเชื่อว่า
“เวรกรรมนั้นมีจริง เราทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่ว
เราจะต้องรับผลกรรมนั้น”

พระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑
เวลา ๐๗.๑๐ น. (๔ฯ ๘ ปีมะโรง) ณ ตำบลม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน
ซึ่งเกิดจากโยมมารดาเจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ พระราชสุทธิญาณมงคล ( จรัญ ฐิตธมฺโม ) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน

lp_jarun2_w

ชื่อเดิม จรัญ จรรยารักษ์
บิดาชื่อ แพ จรรยารักษ์
มารดาชื่อ เจิม สุขประเสริฐ

อุปสมบท พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
วิทยฐานะ พ.ศ. ๒๔๘๗

พ.ศ. ๒๔๙๒
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี
สอบไล่ได้นักธรรมโท ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี อ่านเพิ่มเติม

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เรื่องนรกของหญิงที่ชอบขโมย

เรื่องราวที่จะนำมาถ่ายทอดนี้เป็นเรื่องที่หลวงพ่อจรัญได้บันทึกไว้ในหนังสือ “เล่าเรื่องกรรม” โดยที่มีโยมมาเล่าถวายไว้ให้รับทราบถึงรายละเอียดของกรรมที่ทำไม่ดีอันเป็นเหตุให้ตกนรก

“ภรรยาตกนรกกลับมาเกิดใหม่อยู่กับสามีคนเดิม”

เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ประหลาดที่มีหญิงสาววัย 16 ปีเดินทางมาพบกับหลวงพ่อจรัญพร้อมด้วยสามีวัย 78 ปี ซึ่งไม่น่าจะเป็นสามีภรรยากันได้เลย การเดินทางมาพบหลวงพ่อจรัญก็เพราะโยมทั้งสองนั้นมีความต้องการจะสร้างสำนักวิปัสสนากรรมฐานให้ที่วัดอัมพวัน เมื่อหลวงพ่อถามถึงเหตุผลที่ต้องการจะสร้างสำนักวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ทราบความดังนี้ว่า

ย้อนหลังกลับไปเมื่อในอดีต ชายแก่ที่เป็นสามีชื่อ นายปุ่น ส่วนตัวภรรยาชื่อ นางสะอิ้ง เมื่อสมัยที่ยังเป็นนายปุ่นยังเป็นหนุ่มนั้นค่อนข้างเป็นคนที่มีฐานะ เมื่ออายุครบบวชพ่อแม่จึงจัดงานบวชให้ ซึ่งตัวของนายปุ่นเป็นคนดีมีศีลธรรมมาก เมื่อบวชก็ตั้งใจปฏิบัติศึกษาในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ถึงขนาดสวดปาฏิโมกข์ได้ครบถ้วนเลยทีเดียว อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

1259778778

ประวัติ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระราชทินนาม พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร
บวรสังฆารามคามวาส

หลวงพ่อจรัญ เกิดในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเกิดจาก โยมมารดา เจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์

ชื่อเดิม จรัญ จรรยารักษ์ เกิด วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ปีมะโรง เวลา ๐๗.๑๐ น. ณ ๑๕ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี แล้วได้ทำการ อุปสมบท วัน พฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์ อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมของหลวงพ่อจรัญ

เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า “สติปัญญา”

เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง

แต่สตินั้น แท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยมาก

ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าต่อชีวิต และจำเป็นแก่ชีวิต

มีคุณค่าเหลือที่จะประมาณได้

อึ้งกิมกี่ นี่หรือคือคำพูดของพระสุปฏิปันโน พระพุทธองค์ทรงสอนให้เชื่อเรื่องกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ไม่มีใครดีหรือชั่วมาแต่กำเนิด และไม่เกี่ยวกับเพศพรรณวรรณะ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ถ้าทำดีก็เป็นคนดี ถ้าทำชั่วก็เป็นคนชั่ว แม้แต่การทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ถ้าทำหน้าที่ดีๆ ก็ย่อมเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดี แต่ถ้าทำเสียหาย ประเทศชาติก็เสียหาย มิใช่ว่าต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นจึงทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ถ้าเป็นผู้ชายแล้วดีทุกอย่าง พูดแบบนั้นมันตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ตรงไหน พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ) เคยเป็นถึงเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันก็เป็นพระเกจิอาจารย์ออกวัตถุมงคลเป็นร้อยๆ รุ่น แต่พูดแบบไม่มีเหตุไม่มีผล น่าสับสนในความเป็นพระเถระของพระธรรมสิงหบุราจารย์เหลือเกิน หรือจะเป็นดังโบราณว่า “แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน” เสียดายนะ ไม่น่ามาเสียคนตอนแก่เลย

ขอขอบคุณ http://www.alittlebuddha.com

. . . . . . .