บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และหลวงพ่อเกษม เขมโก

บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และหลวงพ่อเกษม เขมโก

บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และหลวงพ่อเกษม เขมโก

บันทึกโดย พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ
คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/king_kasem.html

ต่อไปนี้เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงปฏิสันถารกับพระอินทรวิชยาจารย์ และหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยหลวงพ่อถวายพระพรด้วย ข้อความนี้ข้าพเจ้าบันทึกไว้หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้วดังนี้

ในหลวง
“หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพรอาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์”
ในหลวง
“อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก”
หลวงปู่
“พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ”
ในหลวง
“สบายดี”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร”
ในหลวง
“ได้ ๕๐ ปี”
หลวงปู่
“อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี”
ในหลวง
“หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัด ในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีล บริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้”
ในหลวง
“การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมากจะปฏิบัติ อย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้น เข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไปอย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้”
ในหลวง
“ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอด เวลา” อ่านเพิ่มเติม

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต

ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่านก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือ ท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ ที่ส่องประกายธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอนของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่งกล่าวว่า ท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่า “จะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง” ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไป โดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปาง หรือ เขลางค์นคร ในอดีตหัวหน้าครอบครัวคือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอ ภรรยาชื่อเจ้า แม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสองเป็นหลานเจ้าของ เจ้าพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
ครอบครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ในที่สุดเจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์ และพอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุทธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.๑๓๑ ค.ศ.๑๙๑๒ เจ้าแม่บัวจ้อนให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัว
ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รูว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เหรียญระฆัง พ.ศ.2516 รุ่น บล๊อคนิยม

หลวงพ่อเกษม เหรียญระฆัง พ.ศ.2516 รุ่น บล๊อคนิยม

รายละเอียด:
หลวงพ่อเกษม เหรียญระฆัง พ.ศ.2516 รุ่น บล๊อคนิยม
เก็บรักษาสภาพเดิมๆ ปล่อยราคาไม่แพง รุ่นนี้ประสบการณ์สูง
บล๊อคนี้สร้างเพียง 50000 เหรียญ ใครพี่ชอบพูดว่า รุ่นเสาอากาศ รุ่นนายสิบอย่าไปเชี่อเขา..ถ้าอยากรู้ข้อมูลก็ไปซื้อหนังสือ วัตถุมงคล รุ่นนิยม -จนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อเกษม โดยสำนักพิมพ์ เมืองสยาม เพราะเขาเป็นลูกศิษย์ ก้นกุฏิหลวงพ่อ…

เหรียญระฆังหลวงพ่อเกษม ปี2516 เป็นเหรียญที่มีประสพการณ์เมื่อ 14ต.ค 16 หรือเหรียญวีรชน เป็นเหรียญที่ชาว ลำปางหวงมาก เหรียญนี้สร้างเป็นที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาเจ้าแม่สุชาดา 15เมษายน2516 มี2เนื้อ เงินและทองแดง
พระแท้จะแยกได้ 4 พิมพ์…พิมพ์ที่ 1 จะเป็นพิมพ์ที่นิยมหรือที่ว่าบล๊อกเสาอากาศด้านหน้าให้สังเกตุที่ตัวหนังสือคำว่าเกษมเขมโก จะไม่มีขีดบนตัว ก ส่วนหลังเหรียญให้สังเกตุตรง พศ 2516 จะมีขีด้านบน 2 ขีด และตรงตัวอุจะมีเส้นแตก(ส่วนที่จะสังเกตุเสาอากาศให้ดูจากองค์พระตรงบ่าด้านซ้ายของหลวงพ่อจะมีเส้นจากบ่าไปจนจดซุ้มเหรียญโดยที่เส้นไม่ขาด)…….พิมพ์ที่ 2 (พิมพ์ขีดในตัวหนังสือ)เหรียญด้านหน้า ตรงตัวหนังสือคำว่า เกษมเขมโก จะมีขีดอยู่ในตัว ก ตรงคำว่าเกษม และด้านหลังเหรียญจะเหมือนกับบล๊อกนิยมทุกอย่าง………พิมพ์ที่ 3 (พิมพ์หนึ่งขีด)เหรียญด้านตรงตัวหนังสือคำว่าเกษมเขมโก จะมีขีดหนึ่งขีดบนตัว ก ส่วนด้านหลังเหรียญจะเหมือนกับพิมพ์นิยมทุกอย่าง ………พิมพ์ที่ 4 (พิมพ์ 2 ขีด) เหรียญด้านหน้าตรงตัวหนังสือคำว่าเกษมเขมโก จะมีขีดบนและมีขีดในตัวหนังสือ ตรงคำว่าเกษม ส่วนด้านหลังเหรียญจะแตกต่างกว่าทุกพิมพ์ ตัวอุจะไม่มีเส้นแตก และที่ตรง พศ 2516 ไม่มีขีด 2 ขีดด้านบน วิธีของการสังเกตุพื้นเหรียญของพระรุ่นนี้ให้ดูที่พื้นเหรียญด้านหน้าจะมีเส้นเส้ยนตามแนวขวางทั้งสองข้างของรอบๆองค์หลวงพ่อครับ
อ่านเพิ่มเติม

คำไหว้หลวงพ่อเกษมเขมโก

คำไหว้หลวงพ่อเกษมเขมโก

คำไหว้หลวงพ่อเกษมเขมโก

จุดธูป1ดอก ไหว้1ครั้งแค่อก กล่าวว่า
โอกาสะ โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ ภันเตโหตุ
อายัสมา เขมโก ภิกขุ เมนาโถ ภันเตโหตุ
อาจาริยัง วันทามิหัง
คำอาราธนาวัตถุมงคลก่อนคล้องคอหรือขึ้นบ้าน
เขมะกะภิกขุง อาราธะนานัง วันทามิหัง 3จบ

คาถาโชคลาภ เมตตา ค้าขายดี
ก่อนสวดให้ระลึกถึงพระสีวลี และหลวงพ่อเกษม แล้วอธิษฐานตามใจปรารถนา
นะโม3จบ
สิวะลี มหาเถรัง วันทามิหัง
สิวะลี มหาเถรัง วันทามิหัง
สิวะลี มหาเถรัง วันทามิหัง
มะหาสิวลี เถโร มะหาลาโภ โหติ
มะหาสิวลี เถโร ลาภัง เม เทถะ

คาถาแคล้วคลาด ป้องกันเวลาเดินทาง
นะโม3จบ สวด3จบ 7จบ

พุทโธ วะโร สะติมะโต สัพพะอันตะรายะ วินัสสะตุ
คาถาใช้สวดภาวนาเพื่อให้พระคุ้มครอง
ป้องกันภูติผีปิศาจ เด็กนอนไม่หลับร้องไห้กลางคืนเป่าใส่ศรีษะเด็ก
ธัมโม มะนัง สุรักขะตุ สวด3จบ 7จบ

คาถานะจังงัง
เป็นคาถาแคล้วคลาด ป้องกันศราตรวุธ โจร ภัยทั้งปวง
ตั้งนะโม3จบ

นะ โน นะ อันตะรายา วินัสสันตุ
สวด3จบ 7จบ

http://www.banloktip.com/

หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอภิญญาแห่งเขลางค์นคร

หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอภิญญาแห่งเขลางค์นคร

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 บิดาชื่อ เจ้าหนูน้อย มณีอรุณ มารดาชื่อ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ในวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง จัดว่าเป็นคนมีสติปัญญาดีเยี่ยมและเป็นเด็กที่ซุกซนมาก เมื่อย่างเข้าสู่วัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง เข้ารับการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนบุญวงศ์ อนุกูล โรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 ปี พ.ศ.2466
เจ้าเกษม ณ ลำปาง จบชั้นสูงของโรงเรียนประถมปีที่ 5 ขณะอายุได้ 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ครั้นมีอายุ 15 ปี ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง เมื่อบรรพชาแล้วก็จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืน ขยันหมั่นเพียรเรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึงปี พ.ศ.2474 สามเณรเจ้าเกษมก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้
กระทั่งในปี พ.ศ.2475 สามเณรเกษม ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบุญยืนนั่นเอง โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะอำเภอขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และเจ้าคณะอำเภอเมือง จ.ลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดป่าตั๊ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
ในปี พ.ศ.2479 พระภิกษุเขมโก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้รวมทั้งสนใจศึกษาเล่าเรียนบาลีควบคู่กันไปด้วย เรียนรู้จนสามารถเขียนและแปลภาษามคธได้เป็นอย่างดี เมื่อเรียนปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมจนแตกฉาน โดยเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญ ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง โดยได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนาเรื่อยมา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้จนภายหลังได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน เมื่อปี พ.ศ.2492 ก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ปลีกวิเวกไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าช้าต่าง ๆ ทั่ว จ.ลำปาง หลายแห่ง เช่น ป่าช้าแม่อาง ป่าช้านาป้อ ก่อนมาปักหลักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าช้าประตูม้า หรือสุสานไตรลักษณ์ ปัจจุบัน จนละสังขารเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 รวมสิริอายุ 84 ปี
หลวงพ่อเกษม เขมโก นับได้ว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมควรได้รับความเคารพศรัทธาจากประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในช่วงท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง มักมีประชาชนและญาติโยมไปกราบนมัสการมากมายทุกวันมิได้ขาด แม้ท่านละสังขารไปนานพอสมควรแล้ว ก็ยังมีประชาชนแวะเวียนไปกราบไว้สังขารท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์จนทุกวันนี้
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก จำวัดโดยไม่ใช้มุ้ง ไม่ใช้ผ้าห่ม

หลวงพ่อเกษม เขมโก จำวัดโดยไม่ใช้มุ้ง ไม่ใช้ผ้าห่ม

หลวงพ่อเกษม เขมโก ยอดนักบุญ ผู้ปฎิบัติตนตามธุดงค์วัตรขั้นอุกฤษ์ พระอภิญญาแห่งนครลำปาง ท่านเกิดเมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน พศ. 2455 มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เมื่อเล็ก มีความจำเป็นเลิศ สามารถท่องมนต์ 7 ตำนาน และ 12 ตำนานได้อย่างคล่องแคล่ว

ที่ว่าท่านปฎิบัติตามหลักธุดงค์วัตร อย่างอุกฤษ์นั้น ได้แก่ การนั่งกรรมฐานทั้งวัน ทั้งคืน ไม่ฉัน ไม่จำวัด เรียกว่า ไม่กิน ไม่นอนเป็นเวลาติดต่อกันยาวนานแรมปี บทจะพิจารณาภัตตาหาร ว่าเป็นอาหารเก่า อาหารใหม่เพื่อให้จิตเข้าถึงพระกรรมฐานนั้น ท่านก็นำอาหารเก่าค้าง ที่เน่าบูด ส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มาฉันกิน เมื่ออาหารเข้าถึงปาก กำหนดจิตรับรู้รสว่า มีรสไม่อร่อยเพียงใด มีกลิ่นที่น่ารังเกียจเพียงใด ร่างกายทำปฎิกริยาไม่รับอาหารเน่าเสียนั้น โดยบังคับให้ปากจะอาเจียนออกมา ท่านก็กลับบังคับร่างกายให้รับรสอาหารบูดเน่านั้นเสียให้ได้ โดยกำหนดว่า ฉันเพื่อให้มีแรงปฎิบัติต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องฉันอาหารรสเลิศ เพื่อให้ติดยึดในรสอาหาร อันเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

สถานที่จำเริญกรรมฐานของหลวงพ่อเกษมนั้น ท่านโปรดปราณ ป่าช้า เป็นหนักหนา ด้วยว่าเป็นที่วิเวก ยิ่งป่าช้าไหนมีเสียงเล่าลือกันว่ามีภูติผี วิญญาณร้ายมาก่อกวน ท่านยิ่งมุ่งเข้าไปหา ด้วยเห็นว่า เป็นการพิจารณาอสุภะกรรมฐานได้ดีกว่าที่อื่นใด

ที่โล่งเตียนใด ปราศจากเงาไม้ให้ร่ม ท่านจะเข้าไปนั่งกรรมฐาน บางคราวเป็นหน้าแล้งแดดร้อน ท่านก็จะนั่งกรรมฐานกลางแดดให้แดดแผดเผาตัวท่าน บางคราวหน้าหนาว ท่านก็จะนุ่งห่มจีวรน้อยชิ้น ออกไปนั่งรับลมหนาว ท้าทายกับความเย็นอยู่เช่นนั้น บางคราวฝนตก ท่านก็นั่งกรรมฐานกลางสายฝน โดยปราศจากเครื่องกางกั้น ร่างกายคนเราบางทีก็ทนไม่ไหว เมื่อร่างกายท่านประท้วง โดยการเจ็บป่วย ท่านก็ใช้ธรรมโอสถเป็นเครื่องแก้ ไม่เคยไปหาหมอ ไม่เคยขอร้องให้ใครมาช่วยพยุง ดูแลเลยแม้สักครั้ง ท่านใช้ร่างกายฝืนธรรมชาติแห่งความสุข ความสบาย อันพึงมี พึงได้ของมนุษย์ ตลอดชีวิตของท่าน จนเป็นที่ห่วงกังวลของศิษย์ทั้งหลาย เพียงเพื่อการปฎิบัติบูชาพระธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของท่าน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์

ประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์

หลวงพ่อเกษม เขมโก

ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่าน ก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ที่ส่องประกาย ธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอน ของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่ง กล่าวว่าท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไปโดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้ เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย

เมื่อปี พ.ศ.2455 ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปางหรือเขลางค์นครในอดีตหัวหน้าครอบครัว คือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอภรรยาชื่อเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสอง เป็นหลานเจ้าของพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

ครอบครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ในที่สุด เจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์ และพอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ตรงกับวันพุทธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.131 ค.ศ.1912 เจ้าแม่บัวจ้อน ให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัว

ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รู้ว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี
อ่านเพิ่มเติม

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก

วันทามิ เจดิยัง สัพพัง สัพพัฎฐาเน สุปฏิษฐิตาสรีระธาตุงมหาโพธิ

พุทธรูปัง สักการัง สัทธา นาคะโลเก เทวโลเก ดาวติงเส พรหมโลเก ชมพูทีเป ลังกาทีเป

สรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อรหันตาธาตุโย เจดิยัง คันธกุฎี จตุราศี ติสสหัสสะ ธัมมักขันธา

ปาทเจดิยัง นะระเทเวหิปูชิตา อะหังวันทามิ ฑูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส

นมัสการการและรวบรวมพลังพระธาตุทั่วอนันตจักรวาล

http://www.myhora.com/

เจ้าคณะจังหวัดฯ ขวางเผา “หลวงพ่อเกษม” เตือน “ณ ลำปาง” ดื้อเสี่ยง “ขึดบ้านขึดเมือง”

เจ้าคณะจังหวัดฯ ขวางเผา “หลวงพ่อเกษม” เตือน “ณ ลำปาง” ดื้อเสี่ยง “ขึดบ้านขึดเมือง”

ลำปาง – เจ้าคณะจังหวัดลำปางค้านเผาสังขาร “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เผยจะทำให้เกิดเภทภัย หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “ขึดบ้านขึดเมือง” ลำปางจะกลายเป็นเมืองร้าง

รายงานข่าวจากจังหวัดลำปาง แจ้งว่า หลังตัวแทนของตระกูล ณ ลำปาง ประกอบด้วย เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง, เจ้าบุบผา ณ ลำปาง, เจ้าดวงตา ณ ลำปาง, เจ้ารุ่งโรจน์ ณ ลำปาง, พ.อ.(พิเศษ) เด็ดดวง ณ ลำปาง, เจ้าราศี ณ ลำปาง และทายาทในตระกูล ณ ลำปาง ได้หารือกันเกี่ยวกับการขอให้ทางนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผวจ.ลำปาง ทำหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอริยสงฆ์ชาวลำปางที่ได้มรณภาพตั้งแต่เมื่อปี 2539 จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 17 ปีแล้วนั้น

ล่าสุดพระราชจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนางปราณี ณ ลำปาง และนายฉลาด ณ ลำปาง ภรรยา และบุตรชาย เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตั้งแต่หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพแล้ว การดำเนินการต่างๆ ได้ตกไปอยู่ในความดูแลของเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ในฐานะประธานศิษยานุศิษย์ฯ ต่อเนื่องมาจนถึงนายไพจิตร ธรรมโรจน์พินิจ หรือ “ปอ ประตูน้ำ” ซึ่งก็รวมถึงการที่ยังคงสังขารหลวงพ่อเกษม เขมโก เอาไว้ ให้ชาวลำปาง รวมถึงชาวไทยทั่วประเทศได้เข้าไปกราบสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัวมาโดยตลอด อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสุรกาย ป่าช้าแม่อาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสุรกาย ป่าช้าแม่อาง

ชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงพ่อ เกษม เขมโก

เมื่อครั้งที่ท่านยังไม่ละสังขารขันธ์ ขจรขจายเลื่องลือกว้างไกล ไปในหมู่พุทธบริษัท ณ ที่ท่านจำพรรษา มีพุทธศาสนิกชน

ไปกราบไหว้สักการะด้วยความเคารพศรัทธาท่าน เนืองแน่นทุกวัน แม้จะไม่ได้ พบตัวท่าน ก็ขอได้กราบนมัสการ กุฏิหลังน้อย ที่ท่านพักผ่อน อยู่ภายใน ก็เกิดปีติปราโมทแล้ว

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ผู้ใกล้ชิดที่สุด

ได้มาจากบันทึกสั้น ๆ เป็นคำบอกเล่า ของเจ้าประเวท ณ ลำปาง ซึ่งเป็นหลานของท่าน มีความว่า….

เวลานั้นเจ้าประเวทบวชเป็นสามเณรคอยรับใช้อุปัฏฐาก หลวงพ่อเกษม อยู่ที่ป่าช้าแม่อาง ปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม

ท่านพอใจจำพรรษา ในป่าช้ามาโดยตลอด

เสนาสนะของท่านคือกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ที่ญาติโยมปลูกสร้างถวาย ขณะที่เกิดเหตุนี้ สามเณรประเวท นอนอยู่กับพระหวันอีกที่หนึ่ง

(พระหวันบวชหน้าไฟเพียง ๗ วัน เนื่องจากบุพการีเสียชีวิต แล้วนำศพมาเผา ที่ป่าช้าแม่อาง ในวันนั้นพระหวันบวชแล้วก็ขออยู่ในป่าช้ากับหลวงพ่อเกษม)

เช้าวันรุ่งขึ้น… สามเณรประเวทมาหาหลวงพ่อเกษม

ที่กระต๊อบกุฏิเพื่อปรนนิบัติท่าน เมื่อพบหน้ากันหลวงพ่อเกษม ถามสามเณรหลานด้วยความสงสัย

“เมื่อคืนนี้ มาที่นี่หรือ? ใครบุกเข้ามาเมื่อคืนนี้ มาจับมือเรา”
“ผมไม่ได้ขี้นไปครับ ผมอยู่ข้างล่าง…” สามเณรเจ้าประเวทตอบตามความเป็นจริง
อ่านเพิ่มเติม

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’ของ’สุวรรณ กล่าวสุนทร

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’ของ’สุวรรณ กล่าวสุนทร’

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’เรื่องเล่าที่ไม่รู้จบของ…’สุวรรณ กล่าวสุนทร’ : พระเครื่องสรณะคนดัง เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนใน จ.ลำปาง และชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“พระเครื่องที่แขวนมีหลายองค์ แต่ที่ขาดคอไม่ได้ คือ พระของหลวงพ่อเกษม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดถ้าเป็นพระที่หลวงพ่อปลุกเสกถือว่าใช้ได้เหมือนกันหมด ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นดังและราคาแพง พระที่ขึ้นชื่อว่าหลวงพ่อเกษมปลุกเสกนั้นมีความขลังเท่าเทยมกันทุกรุ่นทุกองค์ วันนี้แขวนรูปภาพ และฟันของหลวงพ่อ ซึ่งได้จากเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่เป็นลูศิษย์คอยรับใช้ท่าน” นี่เป็นคำยืนยันจากปากของ นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าฯ ลำปาง

พร้อมกันนี้ นายสุวรรณได้เล่าถึงปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อเกษมให้ฟังว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ครั้งเป็นนายอำเภอเมืองลำปาง ได้ออกไปจับไม้ พบกองไม้ขนาดใหญ่และอุปกรณ์การตัดไม้จำนวนมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาได้หมดจึงเผาทิ้ง ปรากฏว่าหลังจากราดน้ำมันเบนซินแล้ว ด้วยความประมาทระหว่างจุดไฟปรากฏว่าไฟลุกท่วมเหมือนกับถังแก๊สระเบิด ได้ยกมือขึ้นป้องใบหน้าพร้อมกับกระโดดหลบ ได้ร้องตะโกนอุทานไปว่า “หลวงพ่อช่วยลูกด้วย”
อ่านเพิ่มเติม

ที่มาของภาพยิ้มเมตตา…หลวงพ่อเกษม เขมโก

…ที่มาของภาพยิ้มเมตตา…หลวงพ่อเกษม เขมโก

…สำหรับผู้ที่มีรูปบูชาของหลวงพ่อเกษม เขมโก มีอยู่ภาพหนึ่งครับ มีประวัติของภาพอย่างน่าสนใจ ผมไปซื้อนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ของปี พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนังสือเก่าวางขายข้างฟุตบาท ถนนคนเดินลำปาง (กาดกองต้า) เล่มละ 5 บาท เข้าไปอ่านทำให้พบที่มาของภาพภาพนี้ จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง และหากผู้ที่สนใจอยากนำภาพไว้บูชา สามารถหาบูชาภาพต้นฉบับได้จากสุสานไตรลักษณ์ หรือ คัดลอกแล้วนำไปล้างอัดกรอบเองก็ได้ครับ ภาพภาพนี้ ชื่อภาพว่า “ยิ้มเมตตา” ดังนี้ครับ….

กมล เอกมโนชัย ผู้อำนวยการและเจ้าของนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ได้ปรารภกับสุวิทย์ เกิดพงษ์บุญโชติ เนื่องจากอยากได้รูปภาพสวย ๆ ของหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก มาลงปกศักดิ์สิทธิ์ เพราะเรายังไม่เคยมีภาพสวย ๆ ซึ้ง ๆ ของหลวงปู่ท่านเลยสักภาพเดียว

ด้วยบารมีหลวงปู่ ที่ล่วงรู้ลึกเข้าไปถึงความตั้งใจมั่นของเรา อีกไม่กี่วันต่อมา เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ประธานคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่ ได้บอกมาทางโทรศัพท์ กับท่านกมลว่า วันเกิดปีนี้หลวงปู่จะไปเทศน์ที่บ้านเจ้าประเวทย์ ถ้าว่างก็ให้ไปที่บ้านด้วย ทั้งผมและผอ.กมล ขนลุกซู่ด้วยความปีติสุดขีด
ผอ.กมล กับผม รีบเคลียร์งาน พอถึงวันนัดหมายก็ออกเดินทางทันที ระหว่างเดินทางผมและผอ.กมลต่างสนทนาวาดหวังกันไปตลอดทางจากรุงเทพฯ เราคุยกันด้วยเรื่องสัพเพเหระ จนกระทั่งขับไปถึงนครสวรรค์ ก็วกเรื่องเข้าหาจุดมุ่งหมายที่จะเดินทางไปบ้านเจ้าประเวทย์ในวันนั้น
ตอนหนึ่งของการสนทนา ผอ.กมล บอกว่า หลวงปู่ไม่ค่อยจะอนุญาตให้ใครถ่ายภาพของท่าน เท่าที่ได้เห็น แม้ท่านจะอนุญาตให้ถ่าย ก็มักได้ภาพที่ไม่ชัดบ้าง ภาพก้มหน้าบ้าง มองไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ไม่เคยเห็นภาพที่ท่านมองกล้องเลยสักภาพเดียว และส่วนมากหลวงปู่ท่านอยู่แต่ภายในกุฏิ มักไม่ห่มผ้า จะสวมแต่เพียงอังสะตัวเดียว ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปถ่ายภาพหลวงปู่ แม้จะได้ภาพของท่าน แต่ก็ไม่สมบูรณ์ ตรงที่ท่านไม่ได้ห่มจีวร
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 8/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 8/8

ศพของโยมแม่บัวจ้อน มีเณรเวทย์และชาวบ้านได้มาช่วยจัดการจนเสร็จพิธี ชาวบ้านช่วยเป็นเงินในสมัยนั้นได้ 700 บาท ถือว่ามาก ศพของโยมแม่บัวจ้อนเผาที่ป่าช้าแม่อาง หลังจากที่เสร็จพิธีงานศพโยมแม่จ้อนแล้ว หลวงพ่อก็สั่งเณรเวทย์ให้กลับไปเรียนธรรมที่วัดบุญยืน อยู่มาไม่นานหลวงพ่อก็จากป่าช้าแม่อางกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ป่าช้าศาลาวังทานอีก เพียงหนึ่งพรรษาท่านก็เดินทางไปอยู่ที่ป่าช้านาป้อ และกลับมาอยู่ประตูม้า ซึ่งก็คือ สุสานไตรลักษณ์ ในปัจจุบัน

หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านได้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระที่ขาวสะอาด และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วประเทศ ศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระไม่ติดยึดใคร ต้องการอะไร ขออะไร ไม่เคยปฏิเสธ จนสังขารของท่านดูแล้วไม่แข็งแรง แต่จิตของหลวงพ่อแข็งแรง และท้ายที่สุด หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ละสังขาร ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่ศานุศิษย์ทั่วประเทศ…

ที่มา: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9379

http://mongkhonkasem.com/kasem_p8.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 7/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 7/8

แม่เฮาบ่เอาแล้ว เฮาบ่เหมาะสมกับวัด เฮาชอบความวิเวก เฮาขออยู่อย่างวิเวกต่อไป เฮาจะไปอยู่ที่ป่าเหี้ยว แม่อาง จนทำให้โยมแม่หมดปัญญา ไม่รู้จะขอร้องยังไง ผลที่สุดก็ต้องตามใจหลวงพ่อ วันรุ่งขึ้นหลวงพ่อเกษมก็ออกจากศาลาวังทานเดินทางไปบ้านแม่อางด้วยเท้าเปล่า เช้ามืดไปถึงป่าเหี้ยวแม่อางก็ค่ำพอดี ฝ่ายโยมมารดาพอกลับมาบ้านก็เกิดคิดถึงพระลูกชาย เพราะเกรงว่าพระลูกชายจะลำบากจึงออกจากบ้านไปตามหาพระลูกชาย โดยมีคนติดตามไปด้วยชื่อ โกเกตุ โยมแม่สั่งให้โกเกตุขนของสัมภาระเพื่อจะไปอยู่บนดอย ของที่เหลือในร้านเพชรพลอยแจกให้ชาวบ้านจนหมดเกลี้ยง ไม่เอาอะไรเลย นอกจากของใช้ที่จำเป็นบางอย่างเท่านั้น

เกตุ พงษ์พันธุ์ ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดก็พาโยมแม่ไปส่งที่แม่อาง และพวกชาวบ้านเห็นโยมแม่ของหลวงพ่อมาก็สร้างตูบกระท่อมอยู่ข้างวัดแม่อาง ส่วนหลวงพ่อเข้าบำเพ็ญภาวนาในป่าช้าบนดอยแม่อาง บำเพ็ญภาวนาบารมีวิปัสสนาปฏิบัติธรรมได้หนึ่งพรรษา ทิ้งให้โยมแม่ซึ่งอยู่กระท่อมตีนดอยก็คิดถึงพระลูกชาย โดยแม่ก็ตามไปหาที่ป่าช้าข้างเนินดอย ก็มีชาวบ้านแถวนั้นอาสาสร้างตูบกระท่อมให้โยมแม่พักใกล้ ๆ ที่หลวงพ่อปฏิบัติ ธรรม โดยมแม่บัวจ้อนได้พำนักที่ข้างเนินดอยได้พักหนึ่ง ก็ล้มป่วยลงด้วยโรคไข้ป่า ชาวบ้านก็ไปตามหมอทหารมาฉีดยารักษาให้ แต่โยมแม่ท่านมีสติที่เข้มแข็ง และยังได้สั่งเสียเณรเวทย์ว่ามีเงินซาวเอ็ดบาท ให้เก็บไว้ถ้าโยมแม่ตายให้เณรไปบอกลุงมา เมื่อสั่งเสร็จโยมแม่ก็หลับตา เณรเวทย์ก็ไปบอกหลวงพ่อเกษม หลวงพ่อก็มา ท่านได้นั่งดูอาการของโยมแม่ท่านนั่งสวดมนต์ เป็นที่น่าแปลกใจขณะที่หลวงพ่อสวดมนต์ มีผึ้งบินมาวนเวียนตอมไปตอมมาสักครู่ใหญ่ ๆ โยมแม่ก็ถอดจิตอย่างสงบ นัยน์ตาหลวงพ่อเกษมมีน้ำตาค่อย ๆ ไหลขณะที่ท่านแผ่บุญกุศลให้กับโยมแม่ ท่านยังเอ่ยว่า “แหม เฮาว่า เฮาจะบ่ไห้(ร้องไห้) แล้วนา…”

http://mongkhonkasem.com/kasem_p7.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 6/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 6/8

เรื่องการลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสของครูบาเจ้าเกษม เขมโก นี้ดูค่อนข้างจะเป็นเรื่องแปลกพิสดาร แม้แต่การสละตำแหน่งลาภยศ ท่านยังต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานา ไม่เหมือนกับพระองค์อื่น ๆ ที่ฟันฝ่าเพื่อแสวงหาลาภยศ เมื่อท่านลาออกไม่สำเร็จประมาณปี พ.ศ.2492 ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้น หลวงพ่อก็หนีออกจากวัดบุญยืนก่อนเข้าพรรษา เพียงวันเดียวโดยไม่มีใครรู้ พอเช้าวันรุ่งขึ้นเข้าพรรษา หมู่ศรัทธาก็นำอาหารมาเตรียมถวายในวิหาร ทุกคนรอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นหลวงพ่อเกษม จึงเกิดความวุ่นวายเที่ยวตามหาตามกุฏิก็ไม่พบหลวงพ่อเกษม พอมาที่ศาลาทุกคนเห็นกระดาษวางบนธรรมาสน์ เป็นข้อความที่หลวงพ่อเกษมเขียน ลาศรัทธาชาวบ้านยาวถึง 2 หน้ากระดาษ

ข้อความบางตอนที่จำได้มีอยู่ว่า ทุกอย่างเราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้วการเป็นเจ้าอาวาส เปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการความวิเวกจะไม่ขอกลับมาอีก แต่พวกชาวบ้านก็ไม่ละความพยายาม เพราะชาวบ้านเหล่านี้ศรัทธาในตัวหลวงพ่อพอรู้ว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหนเมื่อรวมกันได้ 40-50 คน ก็ออกเดินทางไปตามหาหลวงพ่อเกษม และไปพบหลวงพ่อที่ศาลาวังทาน หลวงพ่อเกษมได้ปฏิบัติธรรมที่นั่น พวกชาวบ้านได้อ้อนวอนหลวงพ่อขอให้กลับวัด บางคนร้องไห้เพราะศรัทธาในตัวหลวงพ่อมาก แต่หลวงพ่อเกษมท่านก็นิ่งไม่พูดไม่ตอบ จนพวกชาวบ้านต้องยอมแพ้ ตลอดพรรษาปี 2492 หลวงพ่อเกษมท่านก็อยู่ที่ศาลาวังทานโดยไม่ยอมกลับวัดบุญยืน

พวกชาวบ้านจึงพากันเข้าไปพบโยมแม่ของหลวงพ่อ โยมแม่รักหลวงพ่อเกษมมาก เพราะท่านมีลูกชายคนเดียว จึงให้คนพาไปหาหลวงพ่อที่ศาลาวังทาน โดยมี (เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง) ตอนนั้นยังบวชเป็นสามเณรอยู่ โยมแม่ได้ขอร้องให้หลวงพ่อเกษมกลับวัด แต่หลวงพ่อกลับบอกโยมแม่ว่า

http://mongkhonkasem.com/kasem_p6.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 5/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 5/8

จนกระทั่งถึงช่วงเข้าพรรษา ที่พระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราว ต้องอยู่กับที่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นวัดอาราม หรือถือเอาป่าช้าเป็นวัด โดยกำหนดเขตเอาตามพุทธบัญญัติ ดังนั้นภิกษุเจ้าเกษม เขมโก จึงต้องแยกทางกับอาจารย์ คือ ครูบาแก่น ตั้งแต่นั้นมาภิกษุเจ้าเกษม เขมโก กลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออกพรรษาภิกษุเกษม เขมโก ก็ติดตามอาจารย์ของท่าน คือครูบาแก่น ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมา

ต่อมาเจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืนถึงแก่มรณภาพลง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนว่าง ทางคณะสงฆ์จึงต้องเลือกภิกษุที่มีคุณสมบัติมาปกครองดูแลวัด เพื่อเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไป คณะสงฆ์จึงได้ประชุมกันและต่างลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะเป็นภิกษุเกษม เขมโก เพราะเป็นพระที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัด เพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านก็เห็นว่าบัดนี้ทางวัดบุญยืนมีภารกิจต้องดูแล ก็ถือว่าเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงไม่อาจจะดูดายภารกิจนี้ได้ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2492 ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำหนังสือลาออกกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระอินทรวิชาจารย์ (ท่านเจ้าคุณอิน อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง) แต่ก็ถูกท่านเจ้าคุณยับยั้งไว้ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก จึงจำใจกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืนอีกระยะหนึ่งนานถึง 6 ปี ท่านคิดว่าควรจะหาภิกษุที่มีคุณสมบัติมาแทนท่าน เพราะท่านอยากจะออกธุดงค์ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน โดยยื่นใบลากับคณะสงฆ์ในเขตปกครอง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงเดินทางไปลาออกกับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งอยู่ที่วัดเชียงราย แต่ท่านเจ้าคณะจังหวัดก็ไม่อนุญาต

http://mongkhonkasem.com/kasem_p5.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 4/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 4/8

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติต่อไปจนแตกฉาน แค่นั้นยังไม่พอ พระภิกษุเกษม เขมโก ได้เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ จนกระทั่งได้ทราบข่าวภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา ภิกษุรูปนี้ คือ ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง

ครูบาแก่น สุมโน เป็นพระภิกษุสายวิปัสสนา ถือธุดงค์เป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า พระป่า หรือภาษา ทางการเรียกว่า พระภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ตอนนั้นครูบาแก่น ท่านได้ธุดงค์แสวงหาความวิเวกทั่วไป ยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร นอกจากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาแล้ว ท่านยังเก่งรอบรู้ในด้านพระธรรมวินัยอย่างแตกฉานอีกด้วย

พระภิกษุเกษม เขมโก จึงเดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้อธิบายความต้องการที่จะศึกษาในด้านวิปัสสนาให้ครูบาแก่นฟัง ครูบาแก่น สุมโน เห็นความตั้งใจจริงของภิกษุเกษม เขมโก ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ และได้นำภิกษุเกษม เขมโก ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวก และบำเพ็ญเพียรตามป่าลึกตามที่ภิกษุเกษม เขมโก ต้องการ จึงถือได้ว่า ครูบาแก่น สุมโน รูปนี้เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานรูปแรกของ พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 3/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 3/8

เมื่อออกจากโรงเรียนก็ไม่ได้เรียน อยู่บ้าน 2 ปี ใน พ.ศ.2468 อายุขณะนั้นได้ 13 ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยบรรพชาเป็นสามเณร เนื่องในโอกาสบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว ครั้นบวชได้เพียง 7 วันก็ลาสิกขาออกไป ต่อมาอีก 2 ปี ราว พ.ศ.2470 ขณะนั้นมีอายุ 15 ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง โดยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง เมื่อบรรพชาแล้วสามเณรเจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืนนั่นเอง สามเณรเจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนที่ทำอะไรจริงจัง เรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึง ปี พ.ศ.2474 สามเณรเจ้าเกษม ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ครั้นมีอายุได้ 21 ปี อายุครบที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ.2475 ณ พัทธสีมาวัดบุญยืน โดยมีพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระ ธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอากาสวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระคุณเจ้าท่านพระครูอุตตรวงศ์ธาดา หรือที่ชาวบ้านเหนือรู้จักกันในนาม ครูบาปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในขณะนั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และยังพระเดชพระคุณ ท่านพระธรรมจินดานายก(อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดป่าดั๊วเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมโก แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 2/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 2/8

ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รูว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี

ข้อมูลตรงนี้ คุณพัลลภ ทิพย์วงศ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่เกษม โดยคุณแม่ของคุณพัลลภ เป็นพี่สาวแท้ ๆของโยมแม่หลวงปู่ ได้ทักท้วงมาว่า ที่แท้จริงแล้ว เจ้าแม่บัวจ้อน ได้ให้กำเนิดทารกน้อยอีกคนหนึ่ง เป็นเพศชาย ชื่อ “สวาสดิ์” และได้เสียชีวิตแต่เล็ก โดยมีหลักฐานใบเกิดเก็บไว้กับญาติใกล้ชิด ระบุชื่อ เพศ วันเดือนปีเกิด คือ เกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ร.ศ. ๑๓๔ ตรงกับวันพุธ แรม ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๗๗ จึงได้ทักท้วง เพื่อให้ผมแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง จึงต้องขอขอบคุณ คุณพัลลภ ไว้ ณ ที่นี้ (อ.เล็ก พลูโต – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๗)

เมื่อวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนมีลักษณะค่อนข้างเล็กบอบบาง ผิวขาวแต่ดูเข้มแข็ง คล่องแคล่ว และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นเด็กที่ชอบซน คืออยากรู้อยากเห็น เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้รับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเปิดเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 เท่านั้น เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้ศึกษาจนจบชั้นสูงของโรงเรียน คือชั้นประถมปีที่ 5 ใน พ.ศ.2466 ขณะนั้นอายุ 11 ปี

http://mongkhonkasem.com/kasem_p2.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 1/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 1/8

“ท่าน เขมโกภิกขุ” หลวงปู่เกษม หรือ หลวงพ่อเกษม เขมโก ที่เราท่านเคารพบูชา และรำลึกภาวนา ขอบารมีจากท่านช่วยคุ้มครอง ปกป้องจากอันตราย ยามเมื่อเกิดความทุกข์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เพราะบารมี หลวงพ่อที่เพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความมานะบากบั่น ยากที่จะมีผู้ปฏิบัติได้เสมือนนั้น สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นสูงยิ่งนัก” หลวงพ่อเกษมท่านเจริญวิปัสสนาด้วยถือสันโดษเป็นที่ตั้ง ใช้อำนาจจิต ควบคุมร่างกายเข้าสู่สมาธิภาวนา เบื้องหน้าเชิงตะกอน ท่านไม่ติดรสอาหารเมื่อมีผู้นำมาถวาย แม้อาหาร จะเสียจนราขึ้น ถ้าหลวงพ่อท่านยังมิได้แผ่เมตตา ท่านก็จะรับประเคนบาตรแล้วแผ่เมตตาให้ หลวงพ่อ เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ และเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านหมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส และเปี่ยมล้นด้วยบารมี ทุกวันนี้ หลวงพ่อยังเป็นดุจร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นแก่พวกเราทุกคน

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอนของ ครูบาศรีวิชัย ตอนหนึ่งกล่าวว่า ท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่า จะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไป โดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .