หลวงพ่อเกษม เขมโก

หลวงพ่อเกษม เขมโก

พระเกษม เขมโก
(เจ้าเกษม ณ ลำปาง เขมโก)
หลวงพ่อเกษม

เกิด 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455
อุปสมบท พ.ศ. 2475
มรณภาพ 15 มกราคม พ.ศ. 2539
พรรษา 64
อายุ 83
วัด สุสานไตรลักษณ์
จังหวัด ลำปาง
หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายใน “ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)” ที่ออกผนวชอีกด้วย

ประวัติ

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร

หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ – ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
——————–
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของ คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย

ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลารุ่งอรุณจวนสว่าง ได้ชื่อว่า วอ มีพี่สางต่างบิดา 1 คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก 1 คน

เมื่อเข้าโรงเรียน ท่านมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ออกความเห็นเหมือน ครูบา จึงถูกเรียกว่า บา ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ที่โรงเรียนวัดศรีสะอาด จนจบชั้นประถมปีที 3 ซึ่งขณะนั้น ถือเป็นการศึกษาชั้นสูง สำหรับเมืองชายแดน

ต่อมาท่านได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขย ที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ขณะที่อยู่ที่เชียงคาน ด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว ท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศส และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
ชีวิตราชการของท่าน ไม่ค่อยราบรื่นนัก ท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่ง ประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่าย กับการต้องคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารในงานเลี้ยง ที่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คิดอยากบวชเพื่อแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้ว ท่านจึงตัดสิ้นใจลาออกจากชีวิตราชการ เข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปีพุทธศักราช 2466 โดยมีอัยการภาค เป็นเจ้าภาพบวชให้

ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหาร ที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ระหว่างทาง ได้พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่ง มาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่า จะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ได้แนะนำ ให้ขอญัตติเป็นธรรมยุต ที่จังหวัดเลย หลังจากเกณฑ์ทหารแล้ว ท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย
อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร

เจดีย์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุยส์
จันทสารเถระ (พ.ศ.2444-2532) ผู้ชึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระศิษย์
ของพระอาจาย์มั่น ภูริทัตเภระ หลวงปู่หลุยส์
เป็นผู้ที่มีปฏปทาชอบ จารึกไปในที่ต่าง ๆตลอด
จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน เมื่อท่านได้
มรณะภาพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระกระแสว่า
“ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้
มีอัฐิธาติของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ ท่าน
จะได้อยู่ใกล้กัน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้
ด้วยพระองค์เองพระราชทาน

http://sakonnakorn.excise.go.th/sakon04.htm

คติธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร

คติธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร

คติธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย

…อย่าส่งจิตออกไปข้างนอก ให้ดูอยู่ที่กาย…
…ให้รื้อค้นร่างกายนี้ให้ชัดแจ้ง…ให้รู้ว่าร่างกายมันมีอยู่…
…จึงทำให้เกิดทุกข์ ก็ร่างกายนี้แหละที่ทำลายความสงบสุข…
…มันทำให้เกิดเป็นที่รับโรครังหนอนอย่างใหญ่หลวง…
…ไม่เลือกละว่าร่างกายของใคร…ถ้าพิจารณามองให้เห็น…
…ตัดให้ขาดจากร่างกายนี้จริงๆแล้ว…
…จะพบกับความสงบสุขถาวรตลอดไป…

…การเกิดเป็นคนต้องรู้จักหน้าที่ของตน เป็นคนมีความคิดหัดภาวนา…
…อย่านอนอย่างวัวอย่างควาย สัตว์ประเภทนั้น มันนอนอย่างเดียว…
…ไม่ภาวนา เราต้องไม่ประมาท…

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมเตือนตน….หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วางใจให้เป็นธรรม….แล้วธรรมจะนำใจ

ธรรมเตือนตน….หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วางใจให้เป็นธรรม….แล้วธรรมจะนำใจ

พระรัตนตรัย

คำว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กำจัดภัยได้จริง
หมายความว่า…
บางขณะจิตมีนิวรณ์คุ้มอยู่ภายในใจกายของเรา
ให้ฟุ้งซ่านด้วยอารมณ์ต่าง ๆ
บุคคลนั้นเมื่อไปฟังเทศน์ก็ดี สิ่งเหล่านั้นก็สงบไป…
สมาธิจิตสงบ สิ่งเหล่านั้นหายไป เกิดปิติสุข
ดังนี้จึงได้นามว่า…
พระรัตนตรัยกำจัดภัยได้จริง
บุคคลใด…ทำบุญและทำบาป
เป็นกรรมที่ติดตามตัวไป ดุจเงาติดตามตัว
…ดุจล้อเกวียนติดตามรอยโค ฉะนั้น

พระพุทธศาสนา

การนับถือพระพุทธศาสนา
ต้องเกิดอัศจรรย์ในดวงจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเชียว
จึงจะเลื่อมใสในศาสนาได้ทีเดียว…
หากคนใดไม่เห็นอัศจรร์ของศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
ถอยทีเดียว…
ไม่มีพยานในดวงจิต วางรากฐานในดวงจิตไม่ได้
พระอรหันต์มาจากไหน…
มาจากหัวใจของปุถุชน ราคะ โทสะ โมหะ
ดอกบัวนะมันมาจากโคลนตม
มันผลิตออกจากโคลนตม เป็นลำ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ผจญพญานาคที่ภูบักบิด

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ผจญพญานาคที่ภูบักบิด

“ภูบักบิด” เป็นภูเขาเล็กๆ ห่างจากตัวจังหวัดเลยไปไม่มากนัก เป็นภูเขาซึ่งอยู่เหนือฟากฝั่งแม่น้ำเลย มีตัวเมืองเลยอยู่ฟากฝั่งตรงข้าม หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ในพรรษาที่ 32 ท่านได้เดินทางมาปฏิบัติภาวนาที่ “ภูบักบิด” นี้ ที่มาของชื่อนี้ค่อนข้างพิสดารอยู่ กล่าวคือยอดเขาภูแห่งนี้ มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งเป็นถ้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นอาณาจักรของพวก “ภูบักบิด” ภุมมเทวดาสถิตอยู่ ลักษณะของถ้ำบนภูบักบิดนี้ มีปากถ้ำค่อนข้างเล็กแคบ แต่เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าแล้ว ภายในกลับกว้างขวางเวิ้งว้าง ผนังถ้ำเป็นรูเป็นซอกหลืบมากมาย ทั้งยังมีโพรงลึกอยู่โพรงหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าโพรงของพญานาค หากใครนำมะพร้าวมาทิ้งลงในโพรงนี้ มะพร้าวจะไปโผล่ที่กุดป่องอย่างน่าอัศจรรย์ ที่เป็นเช่นนี้แสดงว่าลึกจากโพรงถ้ำลงไป คงมีลำธารน้ำใต้ดินไหลอยู่ และไหลซอกแซกทอดยาวไปถึงกุดป่องได้

เมื่อกาลก่อนนั้นเล่ากันว่า ภายในถ้ำมีสมบัติมีค่ามากมายมหาศาลของเทวดา สมบัติดังกล่าวเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของโบราณ ประกอบด้วยแก้วแหวนเงินทอง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยสายสะพาย ปะวะหล่ำ กำไลเงิน กำไลมือ สายสังวาล เข็มขัดทอง และเข็มขัดนาก เครื่องประดับเหล่านี้วางกองอยู่บนแท่นหินภายในถ้ำ นอกจากเครื่องประดับล้ำค่าแล้ว ยังมีพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปนาก และพระพุทธรูปเงินขนาดต่างๆ วางไว้บนชั้นหินหลายระดับ แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นเจ้าของสมบัติ ซึ่งเป็นคนโบราณ เป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับนำทองคำ นากและเงิน มาหล่อเป็นพระพุทธรูปเพื่อกราบไหว้ ชาวบ้านที่อยู่เชิงเขาภูบักบิดในสมัยก่อน มีสิทธิ์ไปยืมเครื่องประดับมาแต่งกาย และนำพระพุทธรูปมาเคารพในงานบุญต่างๆได้ชั่วคราว เมื่อเสร็จงานบุญแล้วก็นำเครื่องประดับและพระพุทธรูปไปคืนไว้ที่เดิม ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวันตรุษ สงกรานต์ วันสารท หรือวันที่มีงานบุญมงคลต่างๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานโกนจุก และงานแต่งงาน ชาวบ้านทั้งชายหญิงจะมีของมีค่าเป็นเครื่องประดับใส่กันแพรวพราว เวลาเข้าไปเอาเครื่องประดับในถ้ำศักดิ์สิทธิ์บนภูบักบิดนี้ มีกฎอยู่ 2 ประการคือข้อแรก ผู้ที่จะเข้าไปเอาต้องถอดเสื้อผ้าให้หมด แล้วเดินตัวเปล่าๆเข้าไป เหตุที่ต้องทำเช่นนั้น คงถือเอาความบริสุทธิ์ใจเป็นสำคัญ คือไม่เอาเครื่องประดับชิ้นใดชิ้นหนึ่งซุกซ่อนไว้ในเสื้อผ้า กฎข้อนี้ต้องกระทำเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก หรือคนแก่ ข้อต่อมา ให้หยิบเครื่องประดับได้ 1 กำมือเท่านั้น จะเอาไปมากกว่านี้ไม่ได้ ผู้คนสมัยก่อนเป็นคนที่มีศีลธรรมประจำใจ ไม่มีความละโมบโลภมาก เมื่อหยิบเครื่องประดับไปใช้สมประสงค์แล้ว ก็จะรีบนำมาไว้ที่เดิม เพราะถือว่าเป็นของกลางไม่ใช่สมบัติส่วนตนหรือของใครทั้งสิ้น ต่อมามีผู้เกิดความละโมบ อยากได้ของประดับของมีค่ามาเป็นของตน เข้าไปยืมเครื่องประดับภายในถ้ำแล้วไม่นำไปคืน ยักยอกเอาไว้เป็นของตนเอง การกระทำเช่นนี้จึงเท่ากับจงใจเจตนาผิดศีลข้ออทินนาทาน คือลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่น เครื่องประดับมากมายก็ลดน้อยลงไปเรื่อย อีกทั้งทองคำสุกปลั่งวาววับ เริ่มหมองคล้ำดำลงไปคล้ายกับทองเหลือง ต่อมาได้เกิดเหตุร้ายแรงภายในถ้ำ นั่นคือวันหนึ่งได้มีหญิงชาวบ้านจะเข้ามายืมสมบัติของมีค่ามาแต่งตัว และมีเณรน้อยรูปหนึ่งเดินตามหญิงสาวเข้าไปด้วย เณรน้อยได้กระทำผิดด้วยเจตนาหยอกเอินหญิงนั้น คือเอื้อมมือไปบิดก้นของหญิงสาวที่เดินนำหน้า การกระทำเช่นนี้เท่ากับผิดศีลเพราะมีเจตนาจับต้องเนื้อสตรีเพศ ทั้งยังแสดงกริยาหยาบคายไม่สำรวมตนเหมือนไม่เคารพสถานที่อันควรเคารพ ทันใดนั้น! เพดานถ้ำบริเวณที่ไว้สมบัติได้ถล่มครืนลงปิดทางเข้าทั้งหมด เณรน้อยผู้ทำผิดศีลหนีเตลิดจนพลัดตกลงไปในปล่องโพรงพญานาค แล้วไปโผล่ขึ้นที่กุดป่อง การมีชีวิตรอดมาได้ ก็เพียงเพิ่อบอกเล่าสาเหตุที่ถ้ำเก็บสมบัติถล่มลงมาเท่านั้น เพราะต่อมาเณรน้อยก็กลายเป็นคนสติฟั้นเฟือน จริตเลอะเลือนพล่ามเพ้อถึงกรรมเลวของตนจนกระทั่งตายไปในที่สุด นับแต่นั้นมาภูเขาลูกนี้จึงได้ชื่อว่า “ภูบักบิด”
อ่านเพิ่มเติม

ธุดงค์วิเวก – หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ธุดงค์วิเวก – หลวงปู่หลุย จันทสาโร

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ได้ส่ำสัตว์เป็นอารมณ์กรรมฐาน

——————————————

หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านได้พักกลางกลดที่พระบาทคอแก้ง เขตอำเภอศรีเชียงใหม่

ในราตรีนั้น…พระจันทร์ส่องแสงสว่างลงมายังพื้นพิภพอย่างแจ่มใส จิตใจของหลวงปู่ตอนนั้นท่านได้เล่าให้ศิษย์ฟังในตอนหลัง ว่ามีความเบิกบานแบบสงบในธรรม

ธรรมชาติบนขุนเขาในยามราตรีจันทร์แจ่มฟ้า มีความงามคล้ายเป็นแดนทิพย์เมืองสวรรค์

กระแสลมนั้นเล่าก็พัดจากแม่น้ำโขงมิได้ขาด เป็นการพัดที่รวยรินเย็นสบาย ทำให้รู้ว่า…โอ…!…เจ้าธรรมชาตินี่หนอ บางเวลาเจ้าก็มีความนุ่มนวลอย่างนึกไม่ถึงเหมือนกัน

คืนนั้น…ขณะที่หลวงปู่เดินจงกรม ได้มีฝูงกระต่ายกระโดดออกมาจากป่า มาสู่ดงหญ้า มาหากินและเล่นเดือนหงาย

พวกกระต่ายมันกระโดดโลดเต้น หยอกล้อกันไปมาบ้างก็หยุดยืนดูหลวงปู่หลุย โดยไม่แสดงอาการเกรงกลัวท่าน เลยทำให้ท่านเกิดคิดรำพึงขึ้นมาว่า…

“เออหนอ!…ธรรมดาของส่ำสัตว์ในโลกนี้ จะเป็นสัตว์เดรัจฉานชนิดใดก็ตามที เมื่อมีอาหารการกินพอได้อิ่มปากอิ่มท้องแล้ว ก็มีความสบายกายใจตามประสาของเขา…”

“ส่วนคนเรา…กินเท่าไร ไม่อิ่ม มีทรัพย์สมบัติเท่าไรไม่รู้พอ

ดุจประหนึ่งแม่น้ำมหาสมุทร ไม่รู้จักเต็ม พร่องอยู่เสมอ ๆ พระบาลีที่กล่าวไว้ว่า…”

“นัตถิ ตัณหา สมานะที…” แปลว่า “แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี”

ต้องแปลเป็นไทยอีกว่า… “อันว่าแม่น้ำนั้น จะมีน้ำมากสักเพียงใดก็ตาม…ก็ไม่มากไปกว่าตัณหาของคน!”

คืนนั้น หลวงปู่หลุยได้น้อมเอาชีวิตความเป็นอยู่ของกระต่ายป่ามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน พิจารณาไป…พิจารณาไป ดูแล้วก็คิดสงสารมัน สัตว์น้อย ๆ เหล่านี่ เมื่อหากินยอดหญ้าอิ่มแล้วก็แล้วกันไป จะไปทางไหนก็แล้วแต่จ่าฝูง…หรือบางทีก็ไปเป็นฝูง บางทีก็ไปเป็นคู่…ดุจชายหนุ่มหญิงสาวที่รักใคร่กัน !”
อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย-จันทสาโร

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย-จันทสาโร

ตั้งอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส ถนนสุขเกษม ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร มรณภาพลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพ แล้วมีพระราชกระแสว่า “ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งที่วัดนี้มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ท่านจะได้อยู่ไกล้กัน” โดยเจดีย์พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร แห่งนี้ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณทรงร่างเป็นต้นแบบพระราชทานให้ เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะเรียบง่ายและได้สัดส่วนงดงามตรงตามที่พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร เคยปรารภว่า ถ้าให้สร้างเจดีย์จะสร้างให้มีลักษณะเช่นนี้ เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นรูปทรงรฆังคว่ำ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ฐาน ส่วนที่ ๒ เรือนเจดีย์ ส่วนที่ ๓ เรือนยอด ส่วนฐานยกพื้นสูงมีทางขึ้นด้านหน้า ๒ ทาง เพื่อขึ้นไปองค์เจดีย์พิพิธภัณฑ์ส่วนฐานที่ยกพื้นสูงรองรับตัวองค์เจดีย์ ทำเป็นห้องแสดงประวัติพระพุทธศาสนา เป็นภาพลายรดน้ำ มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีลานล้อมรอบตัวเรือนเจดีย์ ตัวเรือนเจดีย์ทำเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ ๒ ชั้น ชั้นแรกทำเป็นซุ้มทางเข้าภายใน ๓ ทาง ด้านทิศตะวันตก เหนือ และใต้ ภายในจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและเครื่องใช้ต่าง และมีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ประดิษฐานอยู่ มีอัฐิธาตุของท่านตั้งอยู่เพื่อให้ผู้เข้าไปได้กราบไหว้สักการบูชา เรือนเจดีย์ชั้นต่อไปทำเป็นรูประฆังคว่ำ ถัดขึ้นไปทำเป็นบัลลังก์รองรับ เรือนยอดเจดีย์ทำเป็นรูปทรงดอกบัวเหลี่ยม

http://110.170.186.163/moc_new/album/

ประวัติ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง

ประวัติ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง

ประวัติ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง

“อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว” ธรรมโอวาทของ “หลวงปู่หลุย จันทสาโร” แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง อ.วัง สะพุง จ.เลย พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

ชาติภูมิ หลวงปู่หลุย ถือกำเนิดในสกุล วรบุตร เมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร

ในช่วงวัยเยาว์ ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาด จบชั้นประถมปีที่ 3 ต่อมาได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ท่านมีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งประเทศลาว อีกทั้งได้ศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๔

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๔

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๕๙-๖๕ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๒

แสงตะวันลำสุดท้าย

พ.ศ. ๒๕๒๖ และ ๒๕๒๘ จำพรรษา วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) กิ่ง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

พ.ศ. ๒๕๒๗ และ ๒๕๓๒ จำพรรษา ที่พักสงฆ์ ก.ม. ๒๗ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๑ จำพรรษา ทีพักสงฆ์เย็นสุดใจ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

จากพรรษา ๕๙ ถึงพรรษา ๖๕ จัดได้ว่าเป็นช่วงปัจฉิมกาลของหลวงปู่จริง ๆ ท่านมีอายุยืนยาวมาถึงกว่า ๘๐ ปี อายุ ๘๒ – ๘๘ พรรษา เมื่อสมเด็จพระบรมครู…สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงปลงพระชนมายุสังขาร เสด็จเข้าสู่มหาปรินิพพานนั้นก็มีพระชนม์เพียง ๘๐ พรรษาเท่านั้น หรือแม้แต่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตบูรพาจารย์ของท่านก็ละสังขารไปเมื่ออายุ ๘๐ ปีพอดี องค์ท่านมีอายุเกินกว่าแปดสิบมาหลายปีแล้ว แต่หลวงปู่ก็ยังเมตตา นำพระ เณร อุบาสก อุบาสิกา สวดมนต์ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น ตลอดจนเทศนาอบรมสั่งสอนและนำภาวนามิได้ขาด โดยการสวดมนต์ทำวัตรเช้าและเย็น หลวงปู่ได้มีแบบฉบับของหลวงปู่เอง ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว โดยหลวงปู่จะน้อมนำให้ระลึกถึง คุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างน่าซาบซึ้งก่อนแล้วจึงให้สวดบาลีต่อไป

ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะเจริญด้วยวัยอันสูงยิ่ง และมีสภาพสังขารดังที่หลวงปู่บันทึกไว้ว่า

“…คำนวณชีวิตเห็นจะไม่ยั่งยืน ร่างกายบอกมาเช่นนั้น ทำให้เวียนศีรษะเรื่อย ๆ แต่มีสติระวังอย่าให้ล้ม มีคนอื่นพยุงเมื่อ…. ”

และ

“….ธาตุขันธ์ทำให้วิงเวียนอยู่เรื่อย ๆ คอยแต่จะล้ม ต้องระวังหน้า ระวังหลัง….. ”

ท่านก็ยังมีเมตตาไปโปรดเยี่ยมลูกศิษย์ตามที่ต่าง ๆ บ่อยครั้ง โดยทุกครั้งจะไปวันละหลาย ๆ บ้าน และทุก ๆ บ้านท่านมักจะอบรมเทศน์เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

นึกถึงวัย นึกถึงสังขาร ผู้ที่มีอายุปานนั้นแล้ว ควรจะพักผ่อนได้แล้วแต่กลับมาเหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่ง ท่านไม่น่าจะปฏิบัติภารกิจเช่นนี้ได้ไหว แต่หลวงปู่ก็ยังคงมีเมตตาอยู่เช่นนั้นเสมอมา บำเพ็ญตนดุจเหล็กไหล ไปมาคล่องแคล่วว่องไวแทนที่ลูกศิษย์จะเป็นฝ่ายมากราบนมัสการเยี่ยมท่าน ท่านกลับไปเยี่ยมลูกศิษย์เสียเอง…..

เมื่อดูจากภายนอก ท่านเป็นเสมือนบุรุษเหล็ก แต่จากบันทึกที่ค้นพบปรากฏว่า องค์ท่านเองกลับเหน็ดเหนื่อยยิ่งนัก ดังที่ว่า

“….เราสละชีวิตให้ญาติโยมมาดูดกินเนื้อเลือดของเรา….”

มีอยู่หลายครั้งที่ท่านสารภาพว่า การเทศน์ก็ดี การอบรมก็ดี ดูดกินกำลังของท่านไปหมด จนแน่นหน้าอกแทบหายใจไม่ออก แต่ท่านก็อดทนทำ ด้วยว่าเป็นกิจของศาสนา….ตามที่ท่านว่า
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๓

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๓

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๕๘ พ.ศ. ๒๕๒๕ พิจารณาธาตุขันธ์จะแตกดับ

กลับไปจำพรรษาถ้ำเจ้าผู้ข้า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ในต้นปี ๒๕๒๕ นี้ หลวงปู่ไปพักที่วัดอโศการาม สมุทรปราการมีอาการอาพาธด้วยไข้หวัดใหญ่ หัวใจเต้นแรง ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ไอมาก ท่านบันทึกไว้ ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๕ ถึงอาการของโรคและการภาวนาสู้โรคในครั้งนี้ว่า

“ลมตีขึ้นข้างบนแล้วโรคกำเริบ ถ้าลมตีลงข้างล่างแล้วโรคหายทำให้วิงเวียนหัว ทำให้ตามัวเป็นประจำ ดีอย่างเดียวไม่ปวดศีรษะนอนไม่หลับ กินข้าวไม่อร่อย (ไม่ได้) ทำให้ความดันค่อนข้างสูงอยู่บ่อย ๆ

“พิจารณาแต่การเป็นการตาย พิจารณาธาตุขันธ์จะแตกดับ มีเวทนามากน้อยเท่าไร พิจารณาออกจากสภาพใหม่ด้วยอาการกิริยาอย่างไรพิจารณาโลกมนุษย์เป็นทุกข์อย่างยิ่ง ต้องเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง ๔ นั่ง นอน ยืน เดิน พยาบาลร่างกายให้ชีวิตทรงอยู่ พิจารณาอาพาธ ยังทรงอยู่ หรือกำเริบ หรือปานกลาง กำหนดให้รู้เท่าทัน ตรวจดูศีล สมาธิ ปัญญาสม่ำเสมอ เป็นกิริยาผู้ที่จะละโลกนี้ไปสู่สุคติภพ พ.ศ. ๒๕๒๕ ไม่มีที่พึ่ง นอกจากธรรมะไปแล้ว ตนช่วยตนเอง ให้ชำระความบริสุทธิ์ของจิตเสมอไป”

“พิจารณาก่อนตายให้ชำนิชำนาญ คล่องแคล่ว อารมณ์แห่งความตายเรื่อย ๆ ไม่ให้จิตส่งไปข้างนอก”

“วางอารมณ์เฉย ๆ โรคบรรเทาลงบ้าง แต่กำเริบเป็นบางครั้งบางคราว โรคชราพาธเป็นโรคจรมา มีร่างกายแปรไปต่าง ๆ อวัยวะภายในมีกำลังน้อย ต้านทานโรคไม่ได้ เขาเรียกว่า “ชราพาธ”” เป็นธรรมดาของคนแก่ยอมเป็นดังนี้ แก้ไขไม่ได้ รักษาแต่อารมณ์เข้าสู่มรณภาพเท่านั้น แก้ไขทางอื่นไม่ได้ เรียกเป็น ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ของชีวิตแก้ไขอย่างหนึ่งแล้วย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่งร่ำไป”

“ต้นไม้แก่ชราเต็มที่แล้ว ย่อมไม่ดูดดื่มปุ๋ยเลี้ยงลำต้นได้เลยมีแต่ทรุดโทรมหาความตายเสมอ ฉะนั้น วางธุระของขันธ์เข้าสู่อารมณ์แห่งความตายเสียดีกว่า เพราะไม่มันไม่เที่ยงของชีวิต”

“พุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เกวียนซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ไม่ยั่งยืนถาวรของชีวิต พระองค์ตรัสให้แก่สงฆ์ทั้งหลายทราบ ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎก”

“นับตั้งแต่ป่วยมา ระวังตัวอยู่เป็นนิตย์ ไม่เพลิดเพลินต่อสิ่งใดเพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยงอยู่แล้ว เราผู้ที่ไปติดก็ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอย่างเดียวรีบเร่งความบริสุทธิ์ทางใจเพราะชีวิตไม่อยู่นาน จะมีเวลาแตกดับโดยไม่ช้า จะเพลินเพลินอะไรกับโรคที่ไม่เที่ยง เป็นของที่ไม่แน่นอน”

“เราเกิดมาในโลกมาค้าขาย ขาดทุนใหญ่ ร่ำรวยใหญ่ มิจฉาทิฐิ ขาดทุนใหญ่ เป็นสัมมาทิฐิ ร่ำรวยใหญ่ ไม่ว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และไม่ว่ากษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล เศรษฐีมหาศาล”
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๒

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๒

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๕๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ เดินทางไปโปรดชาวภาคใต้

และจำพรรษา ณ วัดกุมภีร์บรรพต

นิคมควนกาหลง อ.ควนกาหลง จ.สตูล

ออกพรรษาแล้ว ท่านยังคงพำนักที่สวนคุณหมอโรจน์ต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อโปรดญาติโยมในตัวจังหวัดจันทบุรี อำเภอโดยรอบและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะเพื่อพานำไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ ทุกคนก็สนใจทำตามด้วยจิตอันนอบน้อมต่อคุณพระรัตนตรัย สำหรับภรรยาคุณหมอโรจน์ ที่เมื่อท่านสอนการม้างกาย ก็พยายามปฏิบัติตามจนปรากฏผลเป็นที่พอใจ

ท่านได้บันทึกไว้ว่า ท่านจากจังหวัดจันทบุรีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ เนื่องด้วยคณะพุทธบริษัทของวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ อาราธนาให้มาพักผ่อนล่วงหน้าก่อน เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนผู้มีความเคารพรักในองค์ท่าน จะได้จัดงานทำบุญฉลองอายุให้ท่าน และ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งต่างเกิดในเดือนเดียวกัน คือ เดือนกุมภาพันธ์ และปีเดียวกัน คือ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ เพียงแต่วันเกิดห่างกันวันเดียว คือ ท่านเกิดวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ส่วนหลวงปู่ชอบเกิดวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ เท่านั้น ดังนั้น คราวนี้คณะศิษย์จึงได้กำหนดจัดงานฉลองพระคุณท่านทั้งสองรวมกัน ๒ วัน คือ วันที่ ๑๑ และ ๑๒ กุมภาพันธ์ ณ วัดอโศการาม

ปกติ พระเณร แม่ชี ที่วัดอโศการามก็มีจำนวนมากอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นงานของครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ ผู้เป็นประดุจธงชัยคู่เอกของพระกัมมัฏฐานถึง ๒ องค์ จำนวนพระ เณร ชี และศรัทธาญาติโยม ที่มาชุมนุม ณ วัดอโศการามในโอกาสสำคัญนี้จึงคับคั่ง ทำให้บริเวณอันกว้างใหญ่ของวัดดูแคบไปถนัดตา

ระหว่างงาน มีผู้ทราบว่า หลวงปู่ยังไม่เคยเดินทางไปภาคใต้เลย จึงนิมนต์ขอให้ท่านเดินทางไปโปรดชาวภาคใต้บ้าง ท่านรับนิมนต์ และเพียงวันรุ่งขึ้นเสร็จจากงานคือวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ท่านและ ท่านเจ้าคุณโสภณคณาจารย์ หรือขณะนั้นยังเป็น พระมหาเนียม ก็เดินทางโดยรถด่วนสายใต้ทันที
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๑

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๑

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๔๑-๔๒ พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๐๙ เสวยสุข

จำพรรษา ณ วัดป่าถ้ำแก้งยาว บ้านโคกแฝก ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ นั้นควรจะนับได้ว่า เป็นปีแห่งการ “เสวยสุข” โดยแท้ วัดป่าถ้ำแก้งยาวเป็นสถานที่ซึ่งท่านเคยมาจำพรรษาแล้วแต่ในปี ๒๕๐๔ ได้พบงูใหญ่มานอนขดอยู่ใต้แคร่ถึงสามวันสามคืนจึงจากไป และเมื่อจากไปก็ได้ฝากรอยทิ้งไว้ในนาข้าว ขนาดตัวที่ทอดไปตามนานั้นใหญ่ขนาดทับข้าว ๓ กอเป็นแนวโล่งตรงไปทีเดียว ระหว่างการภาวนาก็ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงจีวรสีเหลืองคร่ำจนเกือบจะเป็นสีใบไม้เสด็จมาเยี่ยม อนุโมทนาที่ท่านได้ทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ ทำให้ท่านรู้สึกปีติเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีผู้รอบรู้การบำเพ็ญเพียรตลอดเวลา

เมื่อจากบ้านกกกอกมา ท่านจึงระลึกถึงสถานที่อันเป็นมงคลนี้ ถือเป็นที่วิเวกซึ่งจะได้พิจารณาย้อนไปเป็นอนุโลม ปฏิโลมได้อย่างสงัดเงียบ

สำหรับสถานที่เป็นมงคลนี้ ท่านเคยเทศนาสอนศิษย์รุ่นหลัง ๆ อยู่เสมอว่าต้องตรวจวินัยให้บริสุทธิ์ ข้อวัตรให้เคร่งครัด และที่ลืมไม่ได้คือ การแผ่เมตตาจิตออกไปโดยไม่มีประมาณ แผ่ไปในที่ใกล้ แผ่ไปในที่ไกล แผ่ไปในเบื้องบน แผ่ไปในเบื้องล่าง แผ่ไปในทางเบื้องซ้าย แผ่ไปในทางเบื้องขวา…หน้า หลัง…กว้าง ไกลแผ่ถึงเทพและอมนุษย์เสมอ เพื่อทำความคุ้นเคยเป็นมิตรไมตรีต่อกัน รวมทั้งสิงสาราสัตว์น้อยใหญ่ จตุบาท ทวิบาททั่วถ้วนกัน เขาจะได้รับกระแสแห่งความเย็นใจอาบรดจิตใจอย่างชุ่มฉ่ำ เวลาเจริญภาวนา

“น้อมจิตเข้าไปถึงหลัก จิตสว่างไสวมุทุจิต เบาจิต ตรวจปฏิภาค อุคคหนิมิตแจ่มแจ้งดี จิตสู่วิปัสสนาเพื่อความรู้เท่าสังขาร นำมาซึ่งความเห็นใจและสงบ”

หลวงปู่บันทึกในเดือนตุลาคม ๒๕๐๘ ถึงการภาวนา ณ ที่ถ้ำแก้งยาว ว่า

“ถ้ำแก้งยาว ตุลา ๐๘

เมื่อแต่ก่อน ภาวนาแน่วแน่ แต่ปฏิภาค แต่ธาตุ แต่ไม่แน่วแน่ทางจิต เดี๋ยวนี้แน่วแน่ทางปฏิภาคด้วย แน่วแน่ทางจิตด้วยความรู้อริยสัจจึงแม่นยำดีกว่าเก่านั้นมาก จิตสละตายลงไปถึงอมตธรรม แต่ก่อนสละตายลงไปไม่ได้เกิดกลัว เพราะภูมิสมถะและวิปัสสนาไม่พร้อมสามัคคีกัน

เมื่อภาวนาพิจารณาแยบคายแล้ว สังขารโลกปลงให้เขาเสีย แล้วแต่เขาจะแกเจ็บตาย เป็นเรื่องของเขา รีบเดินมรรคให้พ้นไปจากสังขารโลก เพราะสังขารโลกเป็นภัยใหญ่โต จะอยู่ไปก็เป็นเรื่องของเขา จะตายก็เป็นเรื่องของเขา แต่ภาวนาความรู้ความเห็นในอมตธรรมนั้นให้มาก นั้นเองเป็น “วิหารธรรม” ที่พึ่งของจิต เมื่อตายแล้วนั้นเองจะไปเกิดในที่ดี แปลว่าไม่อุทธรณ์ร้อนใจในความแก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นเรื่องของสังขาร

เมื่อรู้เท่าแล้ววางเฉย เป็นความสุขอย่างยิ่ง ถ้ามีความรักความชังอยู่…นั้นเองเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะยินดียินร้ายในเรื่องนั้น แปลว่า เจ็บ แสบ ร้อนไปด้วยเขา จึงเป็นทุกข์”
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๐

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๐

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๓๙ พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้อุบายธรรมจากกัลยาณมิตร

จำพรรษา ณ ถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี

ออกพรรษา ปี ๒๕๐๕ ในเดือนตุลาคม ท่านก็ออกจากเขาสวนกวางขอนแก่น กลับไปบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง ด้วยรสชาติอันดูดดื่มแห่งการภาวนา ณ ที่นั้นยังเป็นที่ระลึกถึงอยู่

ท่านเดินทางแบกบาตร แบกกลดไปแต่เพียงองค์เดียว ท่านบันทึกไว้ในปลายปี ๒๕๐๕ ว่า

“มาอยู่ถ้ำมโหฬาร มาตั้งแต่เดือน ๑๑ ตุลาคม จนถึงเดือนอ้าย ๐๕ (ธันวา ๒๕๐๕…ผู้เขียน) อยู่ที่นี่สงัดดี วิเวกดีเหลือที่สุด เป็นสัปปายะทุกอย่าง อากาศดี เสนาสนะดี อาหารค่ำแต่บุคคลไม่ค่อยดี ภาวนาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน”

ท่านหลบอยู่ในถ้ำ หลีกเร้นตัว เร่งทำความเพียรอย่างหนัก ไม่ติดต่อกับญาติโยม หรือสำนวนของท่านที่ว่า “อาตมาไม่ รับต้อน แขกรับต้อน คือ “ต้อนรับ” นั่นเอง

ทำให้ท่านได้รับความสงบกว่าทุกแห่ง ที่พอมีข่าวรั่วไปว่ามีพระธุดงค์หรือโดยเฉพาะ “หลวงปู่” ไปอยู่ใกล้ ๆ ก็จะมีผู้มารบกวน ขอโน่นขอนี่ ซึ่งคราวนี้ท่านบันทึกไว้ว่า

“ดี…บัตรเบอร์ไม่มีคนมารบกวน เพ่งไตรลักษณ์ดีนัก”

พักจากการนั่งภาวนาหรือเดินจงกรม หลวงปู่ก็ใช้การเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการพิจารณาธรรมชาติบ้าง การอ่านพระไตรปิฎกบ้าง

ดังที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ว่าในการออกเดินธุดงค์ของท่านทุกครั้ง นอกจากบริขารจำเป็นสำหรับสมณะแล้ว ที่จะขาดไม่ได้สำหรับท่านก็คือ หนังสือ ๒ หรือ ๓ เล่ม ซึ่งท่านจะต้องนำติดองค์ไป ขนาดพอใส่ย่าม…จำนวนไม่มากเพื่อประหยัดน้ำหนักในการต้องสะพายขึ้นเขาลงห้วยไปด้วยกัน โดยมากจะเป็นหนังสือพระไตรปิฎกเล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งก็เป็นพวกบุพพสิกขาวรรณนา หรืออะไรทำนองนั้นและที่สำคัญที่สุด…เป็นสมุดเล่มเล็กที่ท่านจะบันทึกข้อธรรมะต่าง ๆ อันอาจจะเป็นหัวข้อธรรมที่ท่านเห็นว่าสำคัญหลังจากอ่านหนังสือใด ๆ มาแล้ว หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ประหวัดคิดถึงเหตุการณ์ หรือธรรมะที่ท่านได้รับการอบรมมาจากบูรพาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งของท่านแต่ก่อนเก่า… หรือเป็นธรรมะที่ผุดพรายขึ้นมาหลังการภาวนา…สิ่งเหล่านี้ท่านจะบันทึกลงไปโดยสิ้นเชิง

อยู่ถ้ำมโหฬาร ท่านได้อ่านพระไตรปิฎกซ้ำแล้วซ้ำอีก ได้บันทึกความที่เห็นว่าสำคัญลงไปมากมายหลายประการ ถ้ำมโหฬารนี้ ท่านเคยมาวิเวกหลายครั้งและครั้งสุดท้ายได้มาจำพรรษาอยู่เมื่อปี ๒๕๐๓ เห็นว่าเป็นที่สัปปายะแก่การบำเพ็ญเพียร ท่านจึงหวนกลับมาอยู่ และการบำเพ็ญเพียรคงได้ผลดีมาก ท่านจึงอยู่ถึง ๓ เดือน

เมื่อล่วงขึ้นปีใหม่ ปี ๒๕๐๖ อันเป็นฤดูกาลที่หมดฝนแล้ว ตามวัดต่าง ๆก็เริ่มมีงานบุญกัน การมาอยู่ในละแวกถิ่นบ้านเกิด หลวงปู่ในฐานะที่เป็น “ลูก” ของจังหวัดเลย และหมู่เพื่อนยกย่องว่ามีวาทะโวหารดี สามารถพูดจาโน้มน้าวจิตใจญาติโยมพุทธบริษัทให้เลื่อมใสศรัทธาในการบุญทานการกุศลได้ดีกว่าหมู่พวก จึงได้รับนิมนต์ให้เป็นผู้เทศนาในการเริ่มงานบุญบ้าง เขียนใบเชิญชวนบอกกำหนดการบุญในนามของเจ้าอาวาสบ้าง เผอิญท่านเป็นคนละเอียดลออ เทศน์ไปให้แล้ว เขียนใบเชิญชวนให้ไปแล้ว…ท่านก็บันทึกข้อความไว้ในสมุดส่วนตัวของท่าน พร้อมทั้งมีวันที่กำกับ ทำให้ติดตามประวัติท่านได้ ว่า ขณะนั้นท่านอยู่ ณ จุดใด ที่ใดในประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๙

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๙

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๓๖ พ.ศ. ๒๕๐๓ ในถ้ำเขตจังหวัดเลย

จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ต.หนองหิน อ.ภูกระดึง

พอออกพรรษา ปี ๒๕๐๒ แล้ว หลวงปู่ก็แยกจากกัลยาณมิตรของท่านออกจากวัดถ้ำกลองเพล ท่องเที่ยววิเวกมุ่งกลับไปทางจังหวัดเลย ซึ่งขณะนั้นยังสมบูรณ์ด้วยป่าด้วยเขา มองเห็นภูเขาลูกแล้วลูกเล่า ต่อเนื่องเนืองนันต์กันไปเป็นสีเขียวอ่อนแก่สลับซับซ้อนกัน

แม้บริเวณแถวถ้ำกลองเพลเอง ก็ยังเป็นป่าดงพงทึบอยู่ มีเสือมีช้างเข้ามาเยี่ยมกรายในบริเวณวัดอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อพ้นเขตที่วัด ก็ไม่ต้องสงสัยว่า ต่อไปจากนั้นบริเวณป่าเขาลำเนาไพร ก็จะยังคงสภาพ “ป่าดงพงทึบ” จริง ๆ เพียงใด ต้นไม้แต่ละต้นใหญ่มาก สำนวนท่านเรียกว่า “กอดไม่หุ้ม” หมายความว่า ใหญ่จนคนโอบไม่รอบ สัตว์ป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนผู้คนห่างกัน เล่าว่า จากอุดรไปเลยนั้น เป็นภูเขามาก ที่เห็นเป็นถนนลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขานั้น เพิ่งจะมาทำกันในสมัยหลัง ๆ นี้ดอก การเดินทางสมัยหลัง ๆ นั้นจึงกลายเป็นของสะดวกง่ายดาย พระธุดงคกัมมัฏฐานสมัยหลังจึงอาศัยความเจริญก้าวหน้าของการคมนาคม เดินทางไปมาอย่างสะดวกสบาย

“หลวงปู่เคยเทศนาไว้ในภายหลัง วิจารณ์กัมมัฏฐานสมัยใหม่ไว้ว่า

“…..ทกวันนี้ กัมมัฏฐานขุนนาง !…เป็นยังไงขุนนาง…? หรูหรามากเหลือเกิน ขุนนางหมายความว่ายังไง… เดินธุดงค์ขึ้นรถแล้ว…นั่น….เดินธุดงค์ขึ้นเรือบินแล้ว…นั่น…. แต่ก่อนน่ะ ไม่ได้ทีเดียว…แบกกลดขึ้นภูเขา ลงภูเขา แหม….เหนื่อยยากเหลือเกินนะ แต่ก่อนนะ อาหารการกินก็ไม่บริบูรณ์เหมือนทุกวันนี้นะ กินพริกกินเกลือไป แล้วมื้อแล้ววันไป หิวมาก….หิวมากเทียวเวลาเย็นนะ…นั่น”

“เดี๋ยวนี้อะไร ป้อนอาหารใหญ่โต หรูหรามาก เลี้ยงกิเลสนะ มันจะมีความรู้ความฉลาดอะไรได้นะ แล้วขึ้นเรือบินด้วย แล้วขึ้นรถขึ้นราด้วย…!”

“กัมมัฏฐานขุนนาง ทุกวันนี้น่ะ “ลาภเกิดก่อนธรรม” ลาภมันเกิดก่อนนะ เมื่อเกิดก่อนซะแล้ว มันยกจิตไม่ขึ้นทีเดียว…ลาภมันเกิดขึ้นก่อนมัน ถ่วงหัวทุบหาง มันยกจิตไม่ขึ้น มันติดลาภติดยศอยู่….. ”
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๘

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๘

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๓๒ พ.ศ.๒๔๙๙ อยู่บ้านกกกอก

และผจญพญานาค ที่ภูบักบิด

จำพรรษาที่บ้านกกกอก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย

สถานที่ซึ่งหลวงปู่จำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น อยู่ที่เชิงภูหลวงเป็นป่าเขาอันสงัดวิเวก มีต้นไม้ใหญ่ แผ่ร่มเงากิ่งก้านประสานกันแทบไม่เห็นแสงตะวันเป็นป่าสูง….สุดหนาทึบ ที่เป็นคล้ายบันไดขั้นแรกที่จะนำขึ้นไปสู่ยอดภูซึ่งสูงราวกับจะชูยอดไม้ขึ้นไประแผ่นฟ้า ต้นไม้แต่ละต้น ใหญ่ขนาด….(สำนวนของท่าน หมายความว่าใหญ่มาก) เอามือ “กอดไม่หุ้ม” ….(สำนวนของท่านอีกเช่นกัน แปลว่าโอบไม่รอบ) ดูมืดครึ้มอยู่เรื่อย

ศาลาโรงครัวที่บ้านกกกอก ด้านหลังเป็นที่มีน้ำซับ ไหลตลอดปี ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์

มี น้ำซำ…หรือ น้ำซับ อยู่ใกล้บริเวณที่เป็นที่ทำความเพียร เรียกกันว่าเป็น ซำเงิน ซำทอง ….หรือ น้ำซับเงิน น้ำซับทอง…น้ำไม่มีแห้ง ไหลออกมาตลอดปี บริเวณน้ำซำนี้ ชาวบ้านถือกันว่า เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์รักษา ตัดต้นไม้ไม่ได้จะมีโทษ มีลักษณะคล้าย น้ำซำ ที่ หนองบง ที่เคยกล่าวมาแล้ว ในบทที่ว่าด้วยหนองบง ในปีจำพรรษาที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๔๘๒ เหตุนั้น บริเวณใกล้น้ำซำ ซึ่งมีน้ำซึมซับมาหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้เขียวขจีอยู่ตลอดแล้ว ผู้คนยังเกรงกลัว ไม่กล้าตัดฟันไม้อีก จึงยิ่งทำให้สภาพป่าบริเวณนั้น ร่มครึ้ม อากาศเยือกเย็นตลอดคืนตลอดวัน

ท่านว่า ไม่ว่าจะไปภาวนาใต้ต้นไม้ต้นใด จิตจะ “แจบจม” ดี เสมอ

เคยมีพระกัมมัฏฐานมาทำความเพียรและบรรลุธรรม ณ ที่บ้านกกกอกมาก่อนแล้ว ชื่อ หลวงปู่เอีย ชาวบ้านนับถือกันมาก ว่าท่านได้หูทิพย์ด้วย ใครอยู่ที่ไหนในบ้าน ในช่อง จะพูดอะไรไว้ ไปถึงท่าน ไปกราบท่าน ท่านจะเอ่ยทักถึงข้อความที่พูดจากันนั้นได้เสมอ ทำให้ชาวบ้านทั้งรักทั้งกลัวท่านมาก ท่านอ่านหนังสือไม่ออก แต่กล้าในทางความเพียรมาก ท่านภาวนาไป…ภาวนาไป วันหนึ่ง ตัวหนังสือก็ผุดออกมา

ท่านว่า มันเหมือนฉายหนังในจอ เป็นแถวเป็นแนวไป และรู้ขึ้นมาเองว่านั่นคือ พระปาฏิโมกข์ ท่านบอกว่า พระธรรมสอนท่านให้อ่าน ให้ท่อง และรู้ความหมายของตัวบาลีเหล่านั้นหมด ท่านหัดท่องพระปาฏิโมกข์ทางภาวนา รวมทั้งบทสวดมนต์ต่าง ๆ ในเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ก็สวดได้คล่องแคล่ว ให้พระเณรอื่นถือหนังสือปาฏิโมกข์ หนังสือเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน คอยสอบท่านเวลาที่ท่านท่อง ไม่มีผิดเลยสักคำเดียว

ท่านสวดมนต์ได้ อ่านหนังสือได้ โดยเรียนจากสมาธิภาวนานั้น หากสำหรับการเขียนนั้น ท่านยังทำไม่ได้…ด้วยบอกว่า ไม่คิดจะเรียนเขียนด้วยเลย แค่การอ่านได้ สวดมนต์ได้ ท่านก็คิดว่า เพียงพอสำหรับนักปฏิบัติกัมมัฏฐานซึ่งพูดกันด้วยใจแล้ว อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๗

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๗

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๒๐ – ๒๕ พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๔๙๒

ดุจนายทวารบาลแห่งบ้านหนองผือ

พ.ศ. ๒๔๘๗- ๒๔๘๘ พรรษา ณ บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร

พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ พรรษา ณ บ้านอุ่นดง จ. สกลนคร

พ.ศ. ๒๔๙๑ พรรษา ณ บ้านโคกมะนาว จ. สกลนคร

พ.ศ. ๒๔๙๒ พรรษา ณ บ้านห้วยบุ่น ต. นาใน อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร

ในปี ๒๔๘๗ นั้นท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่บ้านโคก ซึ่งไม่ใช่สำนักเดิมที่เคยจำมาแล้ว เป็นสำนักใหม่ที่พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ สร้างถวาย ในปีเดียวกันนี้ ขณะนั้นหลวงปู่หลุยจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต. นาใน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านโคกนัก ระยะนั้นท่านกำลังมีความคิดว่าควรจะให้ชาวบ้านหนองผือได้มีโอกาสได้บุญกุศลอย่างมหาศาล โดยการอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ให้มาจำพรรษาโปรดพวกเขาบ้าง ที่บ้านหนองผือ นาใน นี้บ้าง

ความจริงในระยะเวลานั้น ครูบาอาจารย์หลายองค์ก็มีความปรารถนาอยากให้ท่านพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์หรือวัดที่ท่านกำลังปฏิบัติอยู่ ระหว่างที่ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่สำนักป่าบ้านโคกก็ดี บ้านนามนก็ดี หรือย้อนกลับมาที่บ้านโคก แต่ว่าเป็นคนละแห่งกับบ้านโคกที่ท่านพักจำพรรษาเมื่อปี ๒๔๘๕ หลายต่อหลายองค์ก็คิดว่าควรจะหาทางอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นให้ไปโปรดญาติโยมที่สำนักสงฆ์ หรือวัดป่าที่ท่านเคยคุ้นเคยกับญาติโยมเหล่านั้น

ขณะนั้นหลวงปู่หลุยได้มาที่บ้านหนองผืออีกครั้งหนึ่ง นอกจากการที่ท่านจะได้ไปฟังธรรมจากครูบาอาจารย์แล้ว ท่านก็ยังได้สอนอบรมพวกชาวบ้านในเขตหนองผือ ในเรื่องการฟังธรรมอีกครั้งหนึ่งด้วย ตามแบบฉบับที่ท่านเคยได้สอนไว้แต่ครั้งแรกที่ท่านมาพักจำพรรษาแต่ในปี ๒๔๗๘ ก่อนโน้น ก็เป็นเวลาเกือบ ๙ ปีที่แล้ว

ในระยะนี้เผอิญเป็นระยะที่กำลังสงคราม พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ยุโรปกำลังเริ่มจะแตกหัก ส่วนทางมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นก็กำลังรบรุกอย่างหนัก สภาพการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคมีอย่างมากที่สุด เสื้อผ้าแพรพรรณอาศัยของนอกไม่ได้ต้องใช้การทออยู่ภายใน ระหว่างนั้นการขาดแคลนเรื่องผ้าเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ รวมทั้งพระเณรก็ขาดแคลนสบง จีวร จนกระทั่งว่าวัดที่ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่บ้านนามนนั้น ออกพรรษาแล้วก็ไม่มีผ้าจะเปลี่ยนผ้าสบงจีวร

เมื่อหลวงปู่ท่านมาอยู่บ้านหนองผือ ครั้งที่ ๒ มาอยู่จำพรรษา ออกพรรษาแล้วท่านก็พาชาวบ้านที่ท่านฝึกไว้ตั้งแต่เมื่อตอนต้นปีนี้ ทอผ้าว่าทออย่างไร ออกพรรษาแล้วก็พาเขาไปถวายผ้า แล้วพร้อมกับแนะให้เขาอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นให้ขึ้นมาพักอยู่ที่บ้านหนองผือ แสดงความเคารพนอบน้อม
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๖

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๖

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

ได้โสรจสรงอมฤตธรรม

วันปวารณาออกพรรษาอันเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น ในปี ๒๔๘๓ นี้ ตรงกับวันที่ ๑๗ ตุลาคม ถึงแม้ท่านจะยังอาลัยถ้ำโพนงามอยู่มาก ด้วยสถานที่ทุกแห่งในบริเวณถิ่นนั้น ดูจะเป็นที่เอื้ออำนวยต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนาของท่านอย่างเหลือล้น…จะเป็นเงื้อมหินตรงไหน ก้อนใด ใต้ร่มรุกขมูลต้นไม้ต้นไหน ถิ่นถ้ำน้อยใหญ่แห่งใด นั่งลงภาวนา จิตจะรวม “แจบจม” ดีอยู่ทุกแห่ง

ปกติ นักปฏิบัติจะสังเกตกันว่า ที่ใด ภาวนาแล้ว จิตรวมง่าย ไม่มีถีนมิทธะ ไม่ซบเซาง่วงเหงา มีสติตื่นอยู่ พิจารณาธรรมเพลิดเพลินอยู่…ที่นั้น จะเป็น แท่นหินแท่นนั้น… เงื้อมหินเพิงผาจุดนั้น… ใต้โคนไม้ต้นนั้น… นักปฏิบัติผู้นั้นจะสังเกตได้ และพยายามไปนั่งภาวนาอยู่ ณ สถานที่นั้นเป็นอาจิณ ถือเป็นที่สัปปายะแก่การภาวนา สำหรับที่ถ้ำโพนงามนี้ ท่านว่า ทุกแห่ง ทุกจุด เป็นที่สัปปายะ เข้าจิตง่ายทัดเทียมกันเกือบจะทุกแห่ง ฉะนั้น จึงออกพรรษาแล้ว ท่านก็ควรจะรั้งรออยู่ต่อไป มิหนำซ้ำ ชาวบ้านโดยรอบ เช่นที่บ้านโพนงาม บ้านโพนเชียงหวาง บ้านหนองสะไน บ้านนาอ้อ…ต่างล้วนมีศรัทธาต่อท่าน พากันอุปัฏฐากด้วยความเคารพนอบน้อม ควรแก่การอยู่เมตตาโปรดพวกเขาต่อไปอีกนานเท่านาน

แต่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ท่านรีบแบกกลดลงเขามาทันที ละอาวาสอันสัปปายะ อากาศอันสัปปายะ บุคคลอันสัปปายะ มาโดยพลันอย่างไม่อาลัยไยดี… ท่านเล่าว่า เปรียบเสมือนบุคคลซึ่งถูกจำกัดออยู่ในท้องที่กันดารน้ำ เพียงได้แต่อาศัยน้ำโคลน น้ำตม น้ำตามแอ่งรอยเท้าเสือ ช้าง กรองดื่มพอแก้กระหายไปเพียงวัน ๆ หลุดจากข้อจำกัด (ออกพรรษา) ได้ยินข่าวว่า ณ บ้านนั้น ป่านั้น มีบ่อน้ำทิพย์ น้ำอมฤตอันใสสะอาดรออยู่ จะไม่โลดแล่นไปสู่ที่นั้นอย่างไรได้… เพื่อดื่มกิน โสรจสรง น้ำทิพย์น้ำอมฤตนั้นให้สมกับที่กระหายรอคอยมาช้านาน….

บุคคลผู้นั้นฉันใด ท่านก็ฉันนั้น

ท่านได้ข่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ อุดรธานี….!

ก่อนหน้านั้นท่านพระอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์ไปทางจังหวัดภาคเหนือมีเชียงใหม่ เพียงราย เป็นอาทิ ท่านจากหมู่ศิษย์ไปแต่ปี ๒๔๗๕ ไปตามลำพังองค์เดียวไม่ให้มีผู้ติดตามเลย บรรดาศิษย์พยายามตามหาท่าน จนได้พบ และได้ปฏิบัติธรรมกับท่านบ้าง เช่น ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ท่านพระอาจารย์ขาว อนาลโย ท่านพระอาจารย์แหวน สุจิณโณ ท่านพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม แต่ละท่านต่างซอกซอนตามไปด้วยความลำบาก และเมื่อได้พบ ได้อยู่ปฏิบัติด้วย ต่างก็ได้รับอุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นอย่างคุ้มค่า ท่านเที่ยววิเวกอยู่ทางภาคเหนือเกือบสิบปี นอกจากบรรดาท่านที่ธุดงค์ติดตามไปแล้ว หมู่ศิษย์ที่เหลือทางภาคอีสานต่างรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ยิ่งนัก ด้วยขาดครูบาอาจารย์จะสั่งสอนอบรม ต่างรอคอย…ท่านพระอาจารย์มั่นจะกลับมาโปรด เหมือนข้าวในฤดูแล้งน้ำ รอคอยน้ำฝนจากฟากฟ้าจะโปรยปรายลงมา
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๕

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๕

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๔๘๒

คงอยู่ในเขตเถื่อนถ้ำจังหวัดเลย

จำพรรษา ณ ถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

ในเขตจังหวัดเลยนั้น เดือนธันวาคม มกราคม เป็นเดือนที่อากาศหนาวที่สุด บางปีถึงกับมี “แม่คะนิ้ง”หรือน้ำค้างแข็งจับตามใบไม้ ปี ๒๔๘๑ นั้นวันขึ้นปีใหม่ยังเป็นวันที่ ๑ เดือนเมษายน และวันสิ้นปีคือ วันที่ ๓๑ มีนาคม ฤดูหนาวปลายปี ๒๔๘๑ ซึ่งคือปลายธันวาคม มกราคม ท่านก็หลบอากาศชื้นของถ้ำผาบิ้งออกวิเวกต่อไปทางพื้นที่ราบ ท่านแวะพักบ้านม่วง แล้วเลยไปทางท่าลี่ ข้ามแม่น้ำโขงไปเมืองแก่นท้าว ฝั่งลาว เพื่อโปรดญาติฝ่ายโยมบิดา พักอยู่เดือนเศษ แล้วกลับมาทางเพชรบูรณ์ ไปหล่มสัก โปรดญาติฝ่ายโยมมารดาด้วย วิเวกไปด้วย

อันที่จริงการวกมาทางเพชรบูรณ์นั้น ก็มิได้เป็นการหลบความหนาวของอากาศภูเขาเท่าใดนัก เพราะเขาทางเพชรบูรณ์ก็สูงลิ่ว และหนาวเช่นกัน หากเป็นตอนปลายฤดูหนาวแล้ว จึงค่อยยังชั่วมาก ท่านบอกว่า การเที่ยวธุดงค์สมัยนั้นธรรมชาติจะมีความสงัดวังเวงมาก ต้นไม้สูงใหญ่แหงนคอตั้งบ่า พวกไม้มีค่า เนื้อแข็งเช่น ตะเคียนทอง มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่ ยังเกลื่อนป่า เวลาอยู่บนยอดภู ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดเลย หรือเพชรบูรณ์ เช่น ภูเรือ ภูหลวง หรือภูหอ มองเห็นภูเขาลูกแล้วลูกเล่าสลับซับซ้อนกันดุจละลอกคลื่นในทะเลลึก ภูเขาเหล่านั้นยังปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ขึ้นเบียดเสียดกัน ไม่กลายเป็นภูเขาหัวโล้นไปมากมายแล้วเช่นในทุกวันนี้

ท่านจะสรรเสริญการธุดงค์และเสนาสนะป่าอยู่เสมอ ท่านบันทึกไว้ว่า

“เห็นไม้ ภูเขา ป่าใหญ่ จิตใจตื่นเต้นด้วยสติทุกอิริยาบถ ทั้งวิเวกสงัดด้วยไตรทวารประกอบด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ สะดวกแก่การภาวนา จิตใจถึงมรรคผลได้เร็วไม่มีนิวรณ์ตามรบกวน”
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๔

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๔

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษา ๑๒ พ.ศ. ๒๔๗๙ อยู่ด้วยท่านพระอาจารย์เสาร์

จำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

เสร็จธุระจากการอบรมชาวบ้านทางบ้านหนองผือแล้ว หลวงปู่ก็ลาจากญาติโยมที่นั่นมา ท่านรับว่า การลาจากพวกชาวบ้านบ้านหนองผือ ทำให้ท่านบังเกิดความอาลัยอาวรณ์ คล้ายกับจะต้องจากญาติมิตรสนิทไปแสนไกลเช่นนั้น เป็นความรู้สึกที่ท่านไม่เคยเกิดกับศรัทธาในหมู่ใด ถิ่นใดมาก่อน ทั้ง ๆ ที่ครูบาอาจารย์เคยสั่งสอนอบรมมาว่า พระธุดงคกัมมัฏฐานไม่ควรจะติดตระกูล ติดที่อยู่ ควรทำตนให้เหมือนนกที่เมื่อเกาะกิ่งไม้ใด ถึงคราจะต้องบินจากไป ก็จะโผไปจากกิ่งไม้นั้นได้โดยพลันไม่มีห่วงหาอาลัย หรือร่องรอยที่จะแสดงให้เห็นได้ว่า เท้าของเจ้านกน้อยนั้นเคยเกาะพำนักอยู่กับไม้ต้นนั้น กิ่งนั้น

แต่สำหรับชาวบ้านหนองผือนั้น ท่านมีความสนิทใจด้วยอย่างมาก ด้วยเป็นคนว่านอนสอนง่าย อบรมเช่นไรก็เชื่อฟัง พยายามปฏิบัติตาม ส่วนฝ่ายชาวบ้านก็เคารพท่าน รักบูชาท่านอย่างเทิดทูน เห็นท่านดุจเทวดามาโปรด ตั้งแต่การที่ได้ยา “วิเศษ” ของท่านมารักษาโรคกันทั้งหมู่บ้าน ดังกล่าวมาแล้ว และยังช่วยเมตตาสั่งสอนให้รู้จักทางสวรรค์ทางนิพพานอีก ดังนั้น พอทราบข่าวว่า ท่านจะลาจากไปจึงพากันร้องไห้อาลัย อันทำให้ท่านสารภาพในภายหลังว่า ทำให้ท่านใจคอไม่ค่อยปกติไปเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า คงจะเป็นกุศลวาสนาที่เคยเกี่ยวข้อง อบรมทรมานกันมาในชาติก่อน ๆ ก็เป็นได้ ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคยกันเช่นนี้

ต่อมา ในอนาคตอีกเกือบ ๑๐ ปีต่อมา ท่านก็ได้กลับมา ณ ที่ละแวกบ้านหนองผือนี้อีก ได้มาจำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ และแนะนำสั่งสอนให้อุบายชาวบ้านคณะนี้ให้ได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่ สามารถอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่น พระบิดาของพระธุดงคกัมมัฏฐานภาคอีสานได้มาอยู่จำพรรษาเป็นประทีปส่องทางธรรมอยู่ติดต่อกันถึง ๕ พรรษา นับเป็นสถานที่ซึ่งท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่นานที่สุด และเป็นเวลาช่วงสุดท้ายแห่งปัจฉิมสมัยของท่านด้วย ทำให้ “บ้านหนองผือ” เป็นนามที่โลกทางธรรมต้องรู้จักและจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ตลอดไป
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .