ประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์

ประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์

หลวงพ่อเกษม เขมโก

ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่าน ก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ที่ส่องประกาย ธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอน ของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่ง กล่าวว่าท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไปโดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้ เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย

เมื่อปี พ.ศ.2455 ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปางหรือเขลางค์นครในอดีตหัวหน้าครอบครัว คือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอภรรยาชื่อเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสอง เป็นหลานเจ้าของพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

ครอบครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ในที่สุด เจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์ และพอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ตรงกับวันพุทธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.131 ค.ศ.1912 เจ้าแม่บัวจ้อน ให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัว

ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รู้ว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี
อ่านเพิ่มเติม

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก

วันทามิ เจดิยัง สัพพัง สัพพัฎฐาเน สุปฏิษฐิตาสรีระธาตุงมหาโพธิ

พุทธรูปัง สักการัง สัทธา นาคะโลเก เทวโลเก ดาวติงเส พรหมโลเก ชมพูทีเป ลังกาทีเป

สรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อรหันตาธาตุโย เจดิยัง คันธกุฎี จตุราศี ติสสหัสสะ ธัมมักขันธา

ปาทเจดิยัง นะระเทเวหิปูชิตา อะหังวันทามิ ฑูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส

นมัสการการและรวบรวมพลังพระธาตุทั่วอนันตจักรวาล

http://www.myhora.com/

เจ้าคณะจังหวัดฯ ขวางเผา “หลวงพ่อเกษม” เตือน “ณ ลำปาง” ดื้อเสี่ยง “ขึดบ้านขึดเมือง”

เจ้าคณะจังหวัดฯ ขวางเผา “หลวงพ่อเกษม” เตือน “ณ ลำปาง” ดื้อเสี่ยง “ขึดบ้านขึดเมือง”

ลำปาง – เจ้าคณะจังหวัดลำปางค้านเผาสังขาร “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เผยจะทำให้เกิดเภทภัย หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “ขึดบ้านขึดเมือง” ลำปางจะกลายเป็นเมืองร้าง

รายงานข่าวจากจังหวัดลำปาง แจ้งว่า หลังตัวแทนของตระกูล ณ ลำปาง ประกอบด้วย เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง, เจ้าบุบผา ณ ลำปาง, เจ้าดวงตา ณ ลำปาง, เจ้ารุ่งโรจน์ ณ ลำปาง, พ.อ.(พิเศษ) เด็ดดวง ณ ลำปาง, เจ้าราศี ณ ลำปาง และทายาทในตระกูล ณ ลำปาง ได้หารือกันเกี่ยวกับการขอให้ทางนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผวจ.ลำปาง ทำหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอริยสงฆ์ชาวลำปางที่ได้มรณภาพตั้งแต่เมื่อปี 2539 จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 17 ปีแล้วนั้น

ล่าสุดพระราชจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนางปราณี ณ ลำปาง และนายฉลาด ณ ลำปาง ภรรยา และบุตรชาย เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตั้งแต่หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพแล้ว การดำเนินการต่างๆ ได้ตกไปอยู่ในความดูแลของเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ในฐานะประธานศิษยานุศิษย์ฯ ต่อเนื่องมาจนถึงนายไพจิตร ธรรมโรจน์พินิจ หรือ “ปอ ประตูน้ำ” ซึ่งก็รวมถึงการที่ยังคงสังขารหลวงพ่อเกษม เขมโก เอาไว้ ให้ชาวลำปาง รวมถึงชาวไทยทั่วประเทศได้เข้าไปกราบสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัวมาโดยตลอด อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสุรกาย ป่าช้าแม่อาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสุรกาย ป่าช้าแม่อาง

ชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงพ่อ เกษม เขมโก

เมื่อครั้งที่ท่านยังไม่ละสังขารขันธ์ ขจรขจายเลื่องลือกว้างไกล ไปในหมู่พุทธบริษัท ณ ที่ท่านจำพรรษา มีพุทธศาสนิกชน

ไปกราบไหว้สักการะด้วยความเคารพศรัทธาท่าน เนืองแน่นทุกวัน แม้จะไม่ได้ พบตัวท่าน ก็ขอได้กราบนมัสการ กุฏิหลังน้อย ที่ท่านพักผ่อน อยู่ภายใน ก็เกิดปีติปราโมทแล้ว

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ผู้ใกล้ชิดที่สุด

ได้มาจากบันทึกสั้น ๆ เป็นคำบอกเล่า ของเจ้าประเวท ณ ลำปาง ซึ่งเป็นหลานของท่าน มีความว่า….

เวลานั้นเจ้าประเวทบวชเป็นสามเณรคอยรับใช้อุปัฏฐาก หลวงพ่อเกษม อยู่ที่ป่าช้าแม่อาง ปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม

ท่านพอใจจำพรรษา ในป่าช้ามาโดยตลอด

เสนาสนะของท่านคือกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ที่ญาติโยมปลูกสร้างถวาย ขณะที่เกิดเหตุนี้ สามเณรประเวท นอนอยู่กับพระหวันอีกที่หนึ่ง

(พระหวันบวชหน้าไฟเพียง ๗ วัน เนื่องจากบุพการีเสียชีวิต แล้วนำศพมาเผา ที่ป่าช้าแม่อาง ในวันนั้นพระหวันบวชแล้วก็ขออยู่ในป่าช้ากับหลวงพ่อเกษม)

เช้าวันรุ่งขึ้น… สามเณรประเวทมาหาหลวงพ่อเกษม

ที่กระต๊อบกุฏิเพื่อปรนนิบัติท่าน เมื่อพบหน้ากันหลวงพ่อเกษม ถามสามเณรหลานด้วยความสงสัย

“เมื่อคืนนี้ มาที่นี่หรือ? ใครบุกเข้ามาเมื่อคืนนี้ มาจับมือเรา”
“ผมไม่ได้ขี้นไปครับ ผมอยู่ข้างล่าง…” สามเณรเจ้าประเวทตอบตามความเป็นจริง
อ่านเพิ่มเติม

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’ของ’สุวรรณ กล่าวสุนทร

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’ของ’สุวรรณ กล่าวสุนทร’

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’เรื่องเล่าที่ไม่รู้จบของ…’สุวรรณ กล่าวสุนทร’ : พระเครื่องสรณะคนดัง เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนใน จ.ลำปาง และชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“พระเครื่องที่แขวนมีหลายองค์ แต่ที่ขาดคอไม่ได้ คือ พระของหลวงพ่อเกษม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดถ้าเป็นพระที่หลวงพ่อปลุกเสกถือว่าใช้ได้เหมือนกันหมด ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นดังและราคาแพง พระที่ขึ้นชื่อว่าหลวงพ่อเกษมปลุกเสกนั้นมีความขลังเท่าเทยมกันทุกรุ่นทุกองค์ วันนี้แขวนรูปภาพ และฟันของหลวงพ่อ ซึ่งได้จากเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่เป็นลูศิษย์คอยรับใช้ท่าน” นี่เป็นคำยืนยันจากปากของ นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าฯ ลำปาง

พร้อมกันนี้ นายสุวรรณได้เล่าถึงปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อเกษมให้ฟังว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ครั้งเป็นนายอำเภอเมืองลำปาง ได้ออกไปจับไม้ พบกองไม้ขนาดใหญ่และอุปกรณ์การตัดไม้จำนวนมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาได้หมดจึงเผาทิ้ง ปรากฏว่าหลังจากราดน้ำมันเบนซินแล้ว ด้วยความประมาทระหว่างจุดไฟปรากฏว่าไฟลุกท่วมเหมือนกับถังแก๊สระเบิด ได้ยกมือขึ้นป้องใบหน้าพร้อมกับกระโดดหลบ ได้ร้องตะโกนอุทานไปว่า “หลวงพ่อช่วยลูกด้วย”
อ่านเพิ่มเติม

ที่มาของภาพยิ้มเมตตา…หลวงพ่อเกษม เขมโก

…ที่มาของภาพยิ้มเมตตา…หลวงพ่อเกษม เขมโก

…สำหรับผู้ที่มีรูปบูชาของหลวงพ่อเกษม เขมโก มีอยู่ภาพหนึ่งครับ มีประวัติของภาพอย่างน่าสนใจ ผมไปซื้อนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ของปี พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนังสือเก่าวางขายข้างฟุตบาท ถนนคนเดินลำปาง (กาดกองต้า) เล่มละ 5 บาท เข้าไปอ่านทำให้พบที่มาของภาพภาพนี้ จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง และหากผู้ที่สนใจอยากนำภาพไว้บูชา สามารถหาบูชาภาพต้นฉบับได้จากสุสานไตรลักษณ์ หรือ คัดลอกแล้วนำไปล้างอัดกรอบเองก็ได้ครับ ภาพภาพนี้ ชื่อภาพว่า “ยิ้มเมตตา” ดังนี้ครับ….

กมล เอกมโนชัย ผู้อำนวยการและเจ้าของนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ได้ปรารภกับสุวิทย์ เกิดพงษ์บุญโชติ เนื่องจากอยากได้รูปภาพสวย ๆ ของหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก มาลงปกศักดิ์สิทธิ์ เพราะเรายังไม่เคยมีภาพสวย ๆ ซึ้ง ๆ ของหลวงปู่ท่านเลยสักภาพเดียว

ด้วยบารมีหลวงปู่ ที่ล่วงรู้ลึกเข้าไปถึงความตั้งใจมั่นของเรา อีกไม่กี่วันต่อมา เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ประธานคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่ ได้บอกมาทางโทรศัพท์ กับท่านกมลว่า วันเกิดปีนี้หลวงปู่จะไปเทศน์ที่บ้านเจ้าประเวทย์ ถ้าว่างก็ให้ไปที่บ้านด้วย ทั้งผมและผอ.กมล ขนลุกซู่ด้วยความปีติสุดขีด
ผอ.กมล กับผม รีบเคลียร์งาน พอถึงวันนัดหมายก็ออกเดินทางทันที ระหว่างเดินทางผมและผอ.กมลต่างสนทนาวาดหวังกันไปตลอดทางจากรุงเทพฯ เราคุยกันด้วยเรื่องสัพเพเหระ จนกระทั่งขับไปถึงนครสวรรค์ ก็วกเรื่องเข้าหาจุดมุ่งหมายที่จะเดินทางไปบ้านเจ้าประเวทย์ในวันนั้น
ตอนหนึ่งของการสนทนา ผอ.กมล บอกว่า หลวงปู่ไม่ค่อยจะอนุญาตให้ใครถ่ายภาพของท่าน เท่าที่ได้เห็น แม้ท่านจะอนุญาตให้ถ่าย ก็มักได้ภาพที่ไม่ชัดบ้าง ภาพก้มหน้าบ้าง มองไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ไม่เคยเห็นภาพที่ท่านมองกล้องเลยสักภาพเดียว และส่วนมากหลวงปู่ท่านอยู่แต่ภายในกุฏิ มักไม่ห่มผ้า จะสวมแต่เพียงอังสะตัวเดียว ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปถ่ายภาพหลวงปู่ แม้จะได้ภาพของท่าน แต่ก็ไม่สมบูรณ์ ตรงที่ท่านไม่ได้ห่มจีวร
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 8/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 8/8

ศพของโยมแม่บัวจ้อน มีเณรเวทย์และชาวบ้านได้มาช่วยจัดการจนเสร็จพิธี ชาวบ้านช่วยเป็นเงินในสมัยนั้นได้ 700 บาท ถือว่ามาก ศพของโยมแม่บัวจ้อนเผาที่ป่าช้าแม่อาง หลังจากที่เสร็จพิธีงานศพโยมแม่จ้อนแล้ว หลวงพ่อก็สั่งเณรเวทย์ให้กลับไปเรียนธรรมที่วัดบุญยืน อยู่มาไม่นานหลวงพ่อก็จากป่าช้าแม่อางกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ป่าช้าศาลาวังทานอีก เพียงหนึ่งพรรษาท่านก็เดินทางไปอยู่ที่ป่าช้านาป้อ และกลับมาอยู่ประตูม้า ซึ่งก็คือ สุสานไตรลักษณ์ ในปัจจุบัน

หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านได้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระที่ขาวสะอาด และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วประเทศ ศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระไม่ติดยึดใคร ต้องการอะไร ขออะไร ไม่เคยปฏิเสธ จนสังขารของท่านดูแล้วไม่แข็งแรง แต่จิตของหลวงพ่อแข็งแรง และท้ายที่สุด หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ละสังขาร ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่ศานุศิษย์ทั่วประเทศ…

ที่มา: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9379

http://mongkhonkasem.com/kasem_p8.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 7/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 7/8

แม่เฮาบ่เอาแล้ว เฮาบ่เหมาะสมกับวัด เฮาชอบความวิเวก เฮาขออยู่อย่างวิเวกต่อไป เฮาจะไปอยู่ที่ป่าเหี้ยว แม่อาง จนทำให้โยมแม่หมดปัญญา ไม่รู้จะขอร้องยังไง ผลที่สุดก็ต้องตามใจหลวงพ่อ วันรุ่งขึ้นหลวงพ่อเกษมก็ออกจากศาลาวังทานเดินทางไปบ้านแม่อางด้วยเท้าเปล่า เช้ามืดไปถึงป่าเหี้ยวแม่อางก็ค่ำพอดี ฝ่ายโยมมารดาพอกลับมาบ้านก็เกิดคิดถึงพระลูกชาย เพราะเกรงว่าพระลูกชายจะลำบากจึงออกจากบ้านไปตามหาพระลูกชาย โดยมีคนติดตามไปด้วยชื่อ โกเกตุ โยมแม่สั่งให้โกเกตุขนของสัมภาระเพื่อจะไปอยู่บนดอย ของที่เหลือในร้านเพชรพลอยแจกให้ชาวบ้านจนหมดเกลี้ยง ไม่เอาอะไรเลย นอกจากของใช้ที่จำเป็นบางอย่างเท่านั้น

เกตุ พงษ์พันธุ์ ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดก็พาโยมแม่ไปส่งที่แม่อาง และพวกชาวบ้านเห็นโยมแม่ของหลวงพ่อมาก็สร้างตูบกระท่อมอยู่ข้างวัดแม่อาง ส่วนหลวงพ่อเข้าบำเพ็ญภาวนาในป่าช้าบนดอยแม่อาง บำเพ็ญภาวนาบารมีวิปัสสนาปฏิบัติธรรมได้หนึ่งพรรษา ทิ้งให้โยมแม่ซึ่งอยู่กระท่อมตีนดอยก็คิดถึงพระลูกชาย โดยแม่ก็ตามไปหาที่ป่าช้าข้างเนินดอย ก็มีชาวบ้านแถวนั้นอาสาสร้างตูบกระท่อมให้โยมแม่พักใกล้ ๆ ที่หลวงพ่อปฏิบัติ ธรรม โดยมแม่บัวจ้อนได้พำนักที่ข้างเนินดอยได้พักหนึ่ง ก็ล้มป่วยลงด้วยโรคไข้ป่า ชาวบ้านก็ไปตามหมอทหารมาฉีดยารักษาให้ แต่โยมแม่ท่านมีสติที่เข้มแข็ง และยังได้สั่งเสียเณรเวทย์ว่ามีเงินซาวเอ็ดบาท ให้เก็บไว้ถ้าโยมแม่ตายให้เณรไปบอกลุงมา เมื่อสั่งเสร็จโยมแม่ก็หลับตา เณรเวทย์ก็ไปบอกหลวงพ่อเกษม หลวงพ่อก็มา ท่านได้นั่งดูอาการของโยมแม่ท่านนั่งสวดมนต์ เป็นที่น่าแปลกใจขณะที่หลวงพ่อสวดมนต์ มีผึ้งบินมาวนเวียนตอมไปตอมมาสักครู่ใหญ่ ๆ โยมแม่ก็ถอดจิตอย่างสงบ นัยน์ตาหลวงพ่อเกษมมีน้ำตาค่อย ๆ ไหลขณะที่ท่านแผ่บุญกุศลให้กับโยมแม่ ท่านยังเอ่ยว่า “แหม เฮาว่า เฮาจะบ่ไห้(ร้องไห้) แล้วนา…”

http://mongkhonkasem.com/kasem_p7.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 6/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 6/8

เรื่องการลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสของครูบาเจ้าเกษม เขมโก นี้ดูค่อนข้างจะเป็นเรื่องแปลกพิสดาร แม้แต่การสละตำแหน่งลาภยศ ท่านยังต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานา ไม่เหมือนกับพระองค์อื่น ๆ ที่ฟันฝ่าเพื่อแสวงหาลาภยศ เมื่อท่านลาออกไม่สำเร็จประมาณปี พ.ศ.2492 ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้น หลวงพ่อก็หนีออกจากวัดบุญยืนก่อนเข้าพรรษา เพียงวันเดียวโดยไม่มีใครรู้ พอเช้าวันรุ่งขึ้นเข้าพรรษา หมู่ศรัทธาก็นำอาหารมาเตรียมถวายในวิหาร ทุกคนรอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นหลวงพ่อเกษม จึงเกิดความวุ่นวายเที่ยวตามหาตามกุฏิก็ไม่พบหลวงพ่อเกษม พอมาที่ศาลาทุกคนเห็นกระดาษวางบนธรรมาสน์ เป็นข้อความที่หลวงพ่อเกษมเขียน ลาศรัทธาชาวบ้านยาวถึง 2 หน้ากระดาษ

ข้อความบางตอนที่จำได้มีอยู่ว่า ทุกอย่างเราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้วการเป็นเจ้าอาวาส เปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการความวิเวกจะไม่ขอกลับมาอีก แต่พวกชาวบ้านก็ไม่ละความพยายาม เพราะชาวบ้านเหล่านี้ศรัทธาในตัวหลวงพ่อพอรู้ว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหนเมื่อรวมกันได้ 40-50 คน ก็ออกเดินทางไปตามหาหลวงพ่อเกษม และไปพบหลวงพ่อที่ศาลาวังทาน หลวงพ่อเกษมได้ปฏิบัติธรรมที่นั่น พวกชาวบ้านได้อ้อนวอนหลวงพ่อขอให้กลับวัด บางคนร้องไห้เพราะศรัทธาในตัวหลวงพ่อมาก แต่หลวงพ่อเกษมท่านก็นิ่งไม่พูดไม่ตอบ จนพวกชาวบ้านต้องยอมแพ้ ตลอดพรรษาปี 2492 หลวงพ่อเกษมท่านก็อยู่ที่ศาลาวังทานโดยไม่ยอมกลับวัดบุญยืน

พวกชาวบ้านจึงพากันเข้าไปพบโยมแม่ของหลวงพ่อ โยมแม่รักหลวงพ่อเกษมมาก เพราะท่านมีลูกชายคนเดียว จึงให้คนพาไปหาหลวงพ่อที่ศาลาวังทาน โดยมี (เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง) ตอนนั้นยังบวชเป็นสามเณรอยู่ โยมแม่ได้ขอร้องให้หลวงพ่อเกษมกลับวัด แต่หลวงพ่อกลับบอกโยมแม่ว่า

http://mongkhonkasem.com/kasem_p6.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 5/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 5/8

จนกระทั่งถึงช่วงเข้าพรรษา ที่พระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราว ต้องอยู่กับที่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นวัดอาราม หรือถือเอาป่าช้าเป็นวัด โดยกำหนดเขตเอาตามพุทธบัญญัติ ดังนั้นภิกษุเจ้าเกษม เขมโก จึงต้องแยกทางกับอาจารย์ คือ ครูบาแก่น ตั้งแต่นั้นมาภิกษุเจ้าเกษม เขมโก กลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออกพรรษาภิกษุเกษม เขมโก ก็ติดตามอาจารย์ของท่าน คือครูบาแก่น ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมา

ต่อมาเจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืนถึงแก่มรณภาพลง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนว่าง ทางคณะสงฆ์จึงต้องเลือกภิกษุที่มีคุณสมบัติมาปกครองดูแลวัด เพื่อเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไป คณะสงฆ์จึงได้ประชุมกันและต่างลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะเป็นภิกษุเกษม เขมโก เพราะเป็นพระที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัด เพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านก็เห็นว่าบัดนี้ทางวัดบุญยืนมีภารกิจต้องดูแล ก็ถือว่าเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงไม่อาจจะดูดายภารกิจนี้ได้ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2492 ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำหนังสือลาออกกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระอินทรวิชาจารย์ (ท่านเจ้าคุณอิน อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง) แต่ก็ถูกท่านเจ้าคุณยับยั้งไว้ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก จึงจำใจกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืนอีกระยะหนึ่งนานถึง 6 ปี ท่านคิดว่าควรจะหาภิกษุที่มีคุณสมบัติมาแทนท่าน เพราะท่านอยากจะออกธุดงค์ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน โดยยื่นใบลากับคณะสงฆ์ในเขตปกครอง ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงเดินทางไปลาออกกับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งอยู่ที่วัดเชียงราย แต่ท่านเจ้าคณะจังหวัดก็ไม่อนุญาต

http://mongkhonkasem.com/kasem_p5.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 4/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 4/8

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติต่อไปจนแตกฉาน แค่นั้นยังไม่พอ พระภิกษุเกษม เขมโก ได้เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ จนกระทั่งได้ทราบข่าวภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา ภิกษุรูปนี้ คือ ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง

ครูบาแก่น สุมโน เป็นพระภิกษุสายวิปัสสนา ถือธุดงค์เป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า พระป่า หรือภาษา ทางการเรียกว่า พระภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ตอนนั้นครูบาแก่น ท่านได้ธุดงค์แสวงหาความวิเวกทั่วไป ยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร นอกจากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาแล้ว ท่านยังเก่งรอบรู้ในด้านพระธรรมวินัยอย่างแตกฉานอีกด้วย

พระภิกษุเกษม เขมโก จึงเดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้อธิบายความต้องการที่จะศึกษาในด้านวิปัสสนาให้ครูบาแก่นฟัง ครูบาแก่น สุมโน เห็นความตั้งใจจริงของภิกษุเกษม เขมโก ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ และได้นำภิกษุเกษม เขมโก ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวก และบำเพ็ญเพียรตามป่าลึกตามที่ภิกษุเกษม เขมโก ต้องการ จึงถือได้ว่า ครูบาแก่น สุมโน รูปนี้เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานรูปแรกของ พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 3/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 3/8

เมื่อออกจากโรงเรียนก็ไม่ได้เรียน อยู่บ้าน 2 ปี ใน พ.ศ.2468 อายุขณะนั้นได้ 13 ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยบรรพชาเป็นสามเณร เนื่องในโอกาสบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว ครั้นบวชได้เพียง 7 วันก็ลาสิกขาออกไป ต่อมาอีก 2 ปี ราว พ.ศ.2470 ขณะนั้นมีอายุ 15 ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง โดยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง เมื่อบรรพชาแล้วสามเณรเจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืนนั่นเอง สามเณรเจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนที่ทำอะไรจริงจัง เรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึง ปี พ.ศ.2474 สามเณรเจ้าเกษม ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ครั้นมีอายุได้ 21 ปี อายุครบที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ.2475 ณ พัทธสีมาวัดบุญยืน โดยมีพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระ ธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอากาสวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระคุณเจ้าท่านพระครูอุตตรวงศ์ธาดา หรือที่ชาวบ้านเหนือรู้จักกันในนาม ครูบาปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในขณะนั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และยังพระเดชพระคุณ ท่านพระธรรมจินดานายก(อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดป่าดั๊วเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมโก แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 2/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 2/8

ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รูว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี

ข้อมูลตรงนี้ คุณพัลลภ ทิพย์วงศ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่เกษม โดยคุณแม่ของคุณพัลลภ เป็นพี่สาวแท้ ๆของโยมแม่หลวงปู่ ได้ทักท้วงมาว่า ที่แท้จริงแล้ว เจ้าแม่บัวจ้อน ได้ให้กำเนิดทารกน้อยอีกคนหนึ่ง เป็นเพศชาย ชื่อ “สวาสดิ์” และได้เสียชีวิตแต่เล็ก โดยมีหลักฐานใบเกิดเก็บไว้กับญาติใกล้ชิด ระบุชื่อ เพศ วันเดือนปีเกิด คือ เกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ร.ศ. ๑๓๔ ตรงกับวันพุธ แรม ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๗๗ จึงได้ทักท้วง เพื่อให้ผมแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง จึงต้องขอขอบคุณ คุณพัลลภ ไว้ ณ ที่นี้ (อ.เล็ก พลูโต – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๗)

เมื่อวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนมีลักษณะค่อนข้างเล็กบอบบาง ผิวขาวแต่ดูเข้มแข็ง คล่องแคล่ว และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นเด็กที่ชอบซน คืออยากรู้อยากเห็น เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้รับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเปิดเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 เท่านั้น เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้ศึกษาจนจบชั้นสูงของโรงเรียน คือชั้นประถมปีที่ 5 ใน พ.ศ.2466 ขณะนั้นอายุ 11 ปี

http://mongkhonkasem.com/kasem_p2.html

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 1/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 1/8

“ท่าน เขมโกภิกขุ” หลวงปู่เกษม หรือ หลวงพ่อเกษม เขมโก ที่เราท่านเคารพบูชา และรำลึกภาวนา ขอบารมีจากท่านช่วยคุ้มครอง ปกป้องจากอันตราย ยามเมื่อเกิดความทุกข์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เพราะบารมี หลวงพ่อที่เพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความมานะบากบั่น ยากที่จะมีผู้ปฏิบัติได้เสมือนนั้น สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นสูงยิ่งนัก” หลวงพ่อเกษมท่านเจริญวิปัสสนาด้วยถือสันโดษเป็นที่ตั้ง ใช้อำนาจจิต ควบคุมร่างกายเข้าสู่สมาธิภาวนา เบื้องหน้าเชิงตะกอน ท่านไม่ติดรสอาหารเมื่อมีผู้นำมาถวาย แม้อาหาร จะเสียจนราขึ้น ถ้าหลวงพ่อท่านยังมิได้แผ่เมตตา ท่านก็จะรับประเคนบาตรแล้วแผ่เมตตาให้ หลวงพ่อ เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ และเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านหมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส และเปี่ยมล้นด้วยบารมี ทุกวันนี้ หลวงพ่อยังเป็นดุจร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นแก่พวกเราทุกคน

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอนของ ครูบาศรีวิชัย ตอนหนึ่งกล่าวว่า ท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่า จะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไป โดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก

หลวงพ่อเกษม เขมโก

พระเกษม เขมโก
(เจ้าเกษม ณ ลำปาง เขมโก)
หลวงพ่อเกษม

เกิด 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455
อุปสมบท พ.ศ. 2475
มรณภาพ 15 มกราคม พ.ศ. 2539
พรรษา 64
อายุ 83
วัด สุสานไตรลักษณ์
จังหวัด ลำปาง
หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายใน “ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)” ที่ออกผนวชอีกด้วย

ประวัติ

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร

หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ – ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
——————–
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของ คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย

ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลารุ่งอรุณจวนสว่าง ได้ชื่อว่า วอ มีพี่สางต่างบิดา 1 คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก 1 คน

เมื่อเข้าโรงเรียน ท่านมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ออกความเห็นเหมือน ครูบา จึงถูกเรียกว่า บา ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ที่โรงเรียนวัดศรีสะอาด จนจบชั้นประถมปีที 3 ซึ่งขณะนั้น ถือเป็นการศึกษาชั้นสูง สำหรับเมืองชายแดน

ต่อมาท่านได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขย ที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ขณะที่อยู่ที่เชียงคาน ด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว ท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศส และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
ชีวิตราชการของท่าน ไม่ค่อยราบรื่นนัก ท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่ง ประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่าย กับการต้องคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารในงานเลี้ยง ที่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คิดอยากบวชเพื่อแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้ว ท่านจึงตัดสิ้นใจลาออกจากชีวิตราชการ เข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปีพุทธศักราช 2466 โดยมีอัยการภาค เป็นเจ้าภาพบวชให้

ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหาร ที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ระหว่างทาง ได้พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่ง มาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่า จะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ได้แนะนำ ให้ขอญัตติเป็นธรรมยุต ที่จังหวัดเลย หลังจากเกณฑ์ทหารแล้ว ท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย
อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร

เจดีย์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุยส์
จันทสารเถระ (พ.ศ.2444-2532) ผู้ชึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระศิษย์
ของพระอาจาย์มั่น ภูริทัตเภระ หลวงปู่หลุยส์
เป็นผู้ที่มีปฏปทาชอบ จารึกไปในที่ต่าง ๆตลอด
จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน เมื่อท่านได้
มรณะภาพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระกระแสว่า
“ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้
มีอัฐิธาติของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ ท่าน
จะได้อยู่ใกล้กัน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้
ด้วยพระองค์เองพระราชทาน

http://sakonnakorn.excise.go.th/sakon04.htm

คติธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร

คติธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร

คติธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย

…อย่าส่งจิตออกไปข้างนอก ให้ดูอยู่ที่กาย…
…ให้รื้อค้นร่างกายนี้ให้ชัดแจ้ง…ให้รู้ว่าร่างกายมันมีอยู่…
…จึงทำให้เกิดทุกข์ ก็ร่างกายนี้แหละที่ทำลายความสงบสุข…
…มันทำให้เกิดเป็นที่รับโรครังหนอนอย่างใหญ่หลวง…
…ไม่เลือกละว่าร่างกายของใคร…ถ้าพิจารณามองให้เห็น…
…ตัดให้ขาดจากร่างกายนี้จริงๆแล้ว…
…จะพบกับความสงบสุขถาวรตลอดไป…

…การเกิดเป็นคนต้องรู้จักหน้าที่ของตน เป็นคนมีความคิดหัดภาวนา…
…อย่านอนอย่างวัวอย่างควาย สัตว์ประเภทนั้น มันนอนอย่างเดียว…
…ไม่ภาวนา เราต้องไม่ประมาท…

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมเตือนตน….หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วางใจให้เป็นธรรม….แล้วธรรมจะนำใจ

ธรรมเตือนตน….หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วางใจให้เป็นธรรม….แล้วธรรมจะนำใจ

พระรัตนตรัย

คำว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กำจัดภัยได้จริง
หมายความว่า…
บางขณะจิตมีนิวรณ์คุ้มอยู่ภายในใจกายของเรา
ให้ฟุ้งซ่านด้วยอารมณ์ต่าง ๆ
บุคคลนั้นเมื่อไปฟังเทศน์ก็ดี สิ่งเหล่านั้นก็สงบไป…
สมาธิจิตสงบ สิ่งเหล่านั้นหายไป เกิดปิติสุข
ดังนี้จึงได้นามว่า…
พระรัตนตรัยกำจัดภัยได้จริง
บุคคลใด…ทำบุญและทำบาป
เป็นกรรมที่ติดตามตัวไป ดุจเงาติดตามตัว
…ดุจล้อเกวียนติดตามรอยโค ฉะนั้น

พระพุทธศาสนา

การนับถือพระพุทธศาสนา
ต้องเกิดอัศจรรย์ในดวงจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเชียว
จึงจะเลื่อมใสในศาสนาได้ทีเดียว…
หากคนใดไม่เห็นอัศจรร์ของศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
ถอยทีเดียว…
ไม่มีพยานในดวงจิต วางรากฐานในดวงจิตไม่ได้
พระอรหันต์มาจากไหน…
มาจากหัวใจของปุถุชน ราคะ โทสะ โมหะ
ดอกบัวนะมันมาจากโคลนตม
มันผลิตออกจากโคลนตม เป็นลำ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ผจญพญานาคที่ภูบักบิด

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ผจญพญานาคที่ภูบักบิด

“ภูบักบิด” เป็นภูเขาเล็กๆ ห่างจากตัวจังหวัดเลยไปไม่มากนัก เป็นภูเขาซึ่งอยู่เหนือฟากฝั่งแม่น้ำเลย มีตัวเมืองเลยอยู่ฟากฝั่งตรงข้าม หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ในพรรษาที่ 32 ท่านได้เดินทางมาปฏิบัติภาวนาที่ “ภูบักบิด” นี้ ที่มาของชื่อนี้ค่อนข้างพิสดารอยู่ กล่าวคือยอดเขาภูแห่งนี้ มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งเป็นถ้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นอาณาจักรของพวก “ภูบักบิด” ภุมมเทวดาสถิตอยู่ ลักษณะของถ้ำบนภูบักบิดนี้ มีปากถ้ำค่อนข้างเล็กแคบ แต่เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าแล้ว ภายในกลับกว้างขวางเวิ้งว้าง ผนังถ้ำเป็นรูเป็นซอกหลืบมากมาย ทั้งยังมีโพรงลึกอยู่โพรงหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าโพรงของพญานาค หากใครนำมะพร้าวมาทิ้งลงในโพรงนี้ มะพร้าวจะไปโผล่ที่กุดป่องอย่างน่าอัศจรรย์ ที่เป็นเช่นนี้แสดงว่าลึกจากโพรงถ้ำลงไป คงมีลำธารน้ำใต้ดินไหลอยู่ และไหลซอกแซกทอดยาวไปถึงกุดป่องได้

เมื่อกาลก่อนนั้นเล่ากันว่า ภายในถ้ำมีสมบัติมีค่ามากมายมหาศาลของเทวดา สมบัติดังกล่าวเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของโบราณ ประกอบด้วยแก้วแหวนเงินทอง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยสายสะพาย ปะวะหล่ำ กำไลเงิน กำไลมือ สายสังวาล เข็มขัดทอง และเข็มขัดนาก เครื่องประดับเหล่านี้วางกองอยู่บนแท่นหินภายในถ้ำ นอกจากเครื่องประดับล้ำค่าแล้ว ยังมีพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปนาก และพระพุทธรูปเงินขนาดต่างๆ วางไว้บนชั้นหินหลายระดับ แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นเจ้าของสมบัติ ซึ่งเป็นคนโบราณ เป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับนำทองคำ นากและเงิน มาหล่อเป็นพระพุทธรูปเพื่อกราบไหว้ ชาวบ้านที่อยู่เชิงเขาภูบักบิดในสมัยก่อน มีสิทธิ์ไปยืมเครื่องประดับมาแต่งกาย และนำพระพุทธรูปมาเคารพในงานบุญต่างๆได้ชั่วคราว เมื่อเสร็จงานบุญแล้วก็นำเครื่องประดับและพระพุทธรูปไปคืนไว้ที่เดิม ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวันตรุษ สงกรานต์ วันสารท หรือวันที่มีงานบุญมงคลต่างๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานโกนจุก และงานแต่งงาน ชาวบ้านทั้งชายหญิงจะมีของมีค่าเป็นเครื่องประดับใส่กันแพรวพราว เวลาเข้าไปเอาเครื่องประดับในถ้ำศักดิ์สิทธิ์บนภูบักบิดนี้ มีกฎอยู่ 2 ประการคือข้อแรก ผู้ที่จะเข้าไปเอาต้องถอดเสื้อผ้าให้หมด แล้วเดินตัวเปล่าๆเข้าไป เหตุที่ต้องทำเช่นนั้น คงถือเอาความบริสุทธิ์ใจเป็นสำคัญ คือไม่เอาเครื่องประดับชิ้นใดชิ้นหนึ่งซุกซ่อนไว้ในเสื้อผ้า กฎข้อนี้ต้องกระทำเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก หรือคนแก่ ข้อต่อมา ให้หยิบเครื่องประดับได้ 1 กำมือเท่านั้น จะเอาไปมากกว่านี้ไม่ได้ ผู้คนสมัยก่อนเป็นคนที่มีศีลธรรมประจำใจ ไม่มีความละโมบโลภมาก เมื่อหยิบเครื่องประดับไปใช้สมประสงค์แล้ว ก็จะรีบนำมาไว้ที่เดิม เพราะถือว่าเป็นของกลางไม่ใช่สมบัติส่วนตนหรือของใครทั้งสิ้น ต่อมามีผู้เกิดความละโมบ อยากได้ของประดับของมีค่ามาเป็นของตน เข้าไปยืมเครื่องประดับภายในถ้ำแล้วไม่นำไปคืน ยักยอกเอาไว้เป็นของตนเอง การกระทำเช่นนี้จึงเท่ากับจงใจเจตนาผิดศีลข้ออทินนาทาน คือลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่น เครื่องประดับมากมายก็ลดน้อยลงไปเรื่อย อีกทั้งทองคำสุกปลั่งวาววับ เริ่มหมองคล้ำดำลงไปคล้ายกับทองเหลือง ต่อมาได้เกิดเหตุร้ายแรงภายในถ้ำ นั่นคือวันหนึ่งได้มีหญิงชาวบ้านจะเข้ามายืมสมบัติของมีค่ามาแต่งตัว และมีเณรน้อยรูปหนึ่งเดินตามหญิงสาวเข้าไปด้วย เณรน้อยได้กระทำผิดด้วยเจตนาหยอกเอินหญิงนั้น คือเอื้อมมือไปบิดก้นของหญิงสาวที่เดินนำหน้า การกระทำเช่นนี้เท่ากับผิดศีลเพราะมีเจตนาจับต้องเนื้อสตรีเพศ ทั้งยังแสดงกริยาหยาบคายไม่สำรวมตนเหมือนไม่เคารพสถานที่อันควรเคารพ ทันใดนั้น! เพดานถ้ำบริเวณที่ไว้สมบัติได้ถล่มครืนลงปิดทางเข้าทั้งหมด เณรน้อยผู้ทำผิดศีลหนีเตลิดจนพลัดตกลงไปในปล่องโพรงพญานาค แล้วไปโผล่ขึ้นที่กุดป่อง การมีชีวิตรอดมาได้ ก็เพียงเพิ่อบอกเล่าสาเหตุที่ถ้ำเก็บสมบัติถล่มลงมาเท่านั้น เพราะต่อมาเณรน้อยก็กลายเป็นคนสติฟั้นเฟือน จริตเลอะเลือนพล่ามเพ้อถึงกรรมเลวของตนจนกระทั่งตายไปในที่สุด นับแต่นั้นมาภูเขาลูกนี้จึงได้ชื่อว่า “ภูบักบิด”
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .