หลวงปู่มั่น จอมทัพธรรม

หลวงปู่มั่น จอมทัพธรรม

ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน
ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์
ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากัน
รักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง
จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หนึ่งในคำสอนของหลวงปู่มั่นในหนังสือ หลวงปู่มั่นจอมทัพธรรม เขียนโดยนักเขียนที่พวกเรา
Book Lover Club คุ้นเคยกันดี คุณ พศิน อินทรวงศ์ ค่ะ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อัมรินทร์
เนื่องจากได้มีโอกาสไปงานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ที่เวทีกลางในงานมหกรรมหนังสือครั้งที่ 18
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา จึงทำให้ได้รู้ที่มาที่ไปของหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นยังไง
บอกได้คำเดียวว่าซาบซึ้งในความพยายามของทีมงานมากๆค่ะ เป็นหนังสือที่ทั้งผู้เขียนและทีมงาน
ทุ่มเททำเพื่อถวายหลวงปู่มั่นด้วยจิตอันบริสุทธิ์จริงๆ
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆารวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า “ภูริทัตโต”
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐานที่สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนา
การเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซื้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบทธรรมอื่น ๆ
และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอิริยาบทต่างๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไป เมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทาง โลกอย่างสิ้นเชิงไม่แลเหลียว ความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่างยิ่งยวด ไม่มีวอกแวกยึดถือธรรมธุดงควัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยวไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่าน จนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

ประวัติ :หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
อ่านเพิ่มเติม

(การ์ดคำสอน) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

(การ์ดคำสอน) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

“…เพราะงานของพระผู้พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลก
ข้ามสงสารเป็นงานชั้นเยี่ยม
ไม่มีงานใดในโลกจะหนักหน่วงถ่วงใจ
ยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏทุกข์

งานนี้เป็นงานที่ทุ่มเทกำลังทุกด้าน
แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย
จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ มั่น นามสกุล แก่นแก้ว เป็นบุตรของ นายคำด้วง และ นางจันทร์ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ณ บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

อุปสมบท

เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ซึ่งท่านทั้งสองก็อนุญาต จึงได้เข้ารับการอุปสมบทในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ณ วัดศรีทอง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ ภูริทัตโต ” แปลว่า “ ผู้ให้ปัญญาประดุจดั่งแผ่นดิน ” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

“…เพราะงานของพระผู้พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลก
ข้ามสงสารเป็นงานชั้นเยี่ยม
ไม่มีงานใดในโลกจะหนักหน่วงถ่วงใจ
ยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏทุกข์

งานนี้เป็นงานที่ทุ่มเทกำลังทุกด้าน
แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย
จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

ประวัติ :หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆารวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า “ภูริทัตโต”
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐานที่สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนา
การเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซื้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบทธรรมอื่น ๆ
และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอิริยาบทต่างๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไป เมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทาง โลกอย่างสิ้นเชิงไม่แลเหลียว ความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่างยิ่งยวด ไม่มีวอกแวกยึดถือธรรมธุดงควัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยวไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่าน จนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม อ่านเพิ่มเติม

“ วินาทีบรรลุธรรม” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“ วินาทีบรรลุธรรม” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

จากหนังสือ พระอรหันต์มีจริง วินาทีบรรลุธรรม
โดย : เธียรนันท์
นำมาพิมพ์เผยแผ่โดย คุณพยัคฆ์น้อย

บรรลุธรรมกลางถนน กรุงเทพ

ธรรมะเป็นอกาลิโก ไม่เลือกกาลและสถานที่ เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ใครๆท่องจำจนขึ้นใจ แม้จะอยู่ในกรุงเทพ เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยความจอแจคับคั่งของผู้คน แต่ ณ. ที่นี้ครั้งหนึ่งในอดีต.. กลางถนนสายหนึ่ง ณ.ศูนย์กลางแฟชั่นความทันสมัยจากยุโรป หลวงปู่มั่นได้เข้าถึงธรรมมาแล้ว

เหตุเกิดในพรรษาที่ 8 หลวงปู่มั่นเดินทางเข้ากรุงเทพ พักกุฏิที่วัดสระปทุม (วัดปทุมวนาราม-ปัจจุบัน) เพื่อศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติไปพร้อมๆกัน ระหว่างที่จำพรรษาที่นี้ 3 พรรษา ท่านต้องเดินทางไปยังวัดบรมนิวาสเพื่อศึกษาธรรมฟังเทศน์จากทานเจ้าคุณอุบาลีคุณปมาจารย์ (จันทร์ สิริจฺนโท) เป็นประจำ
คืนเดือนเพ็ญราตรีหนึ่ง. หลวงปู่มั่นพร้อมสหธรรมมิกราว 5 รูป ได้เดินทางไปฟังธรรมะจากท่านเจ้าคุณอุบาลีตามปกติ ขณะที่พระคาราวานนี้เดินทางกลับวัดสระปทุม บนถนนพระรามหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา

บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย

อุปสมบทอายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก 24 พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 5 พรรษา (2487-2492)
มรณะภาพ 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ 80 ปี
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

* ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือ ผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลายที่โลกเขาปรารถนากัน

เพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัว ย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอกและภายใน เครื่องป้องกันตัวคือ หลักธรรม มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ จะคิดพูดทำอะไร ๆ ไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งและอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นว่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย
อ่านเพิ่มเติม

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“..ของดีมีอยู่กับตัวเรา ทุกคนก็พากันปฏิบัติเอา ทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงวุ่นวายหานิมนต์พระมากุสลามาติกา ไม่ใช่เกาถูกที่คัน ต้องรีบแก้เสียบัดนี้ คือ เร่งทำความดีแต่บัดนี้ จะได้หายห่วง

…อะไร ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามา หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย
อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๔)

มุตโตทัย (๔)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต
บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึงวิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้ อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๓)

มุตโตทัย (๓)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่ง สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครกคือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตรคูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่า ขี้ ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกงกับ เป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาป เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๒)

มุตโตทัย (๒)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้ ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้เป็น “อนันตนัย” เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้ เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่ มโน นั่นเอง มโน เป็นตัวมหาเหตุเป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอนนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น อารมฺมณ จนถึงอวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้ ฉะนั้น มโนซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๔ ก็ดี ฐีติ ภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖ ก็ดี และมหาธาตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรๆ ได้ด้วย ทศพลญาณ ก็ดี รอบรู้ สรรพเญยฺยธรรม ทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดั้งเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕ ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสฺส (พระสารีบุตร) ว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ…เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเดิม เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ) ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า? เพราะอะไร ทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรม ก็คือมหาเหตุ ฉะนั้น มหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็น อนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการ สุดจะนับจะประมาณได้ด้วยประการฉะนี้ อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๑)

มุตโตทัย (๑)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

มุตโตทัย
แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

มุตโตทัย
บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖
ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมคำสอน

ธรรมคำสอน

รวมคำสอนต่างๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

มุตโตทัย แนวทางปฏิบัตให้ถึงความหลุดพ้น พระธรรมเทศนา ขององค์หลวงปู่
ขันธะวิมุติ บทประพันธ์ขององค์หลวงปู่ โอวาทครั้งสุดท้าย บันทึกโดยหลวงปู่หล้า
โอวาทธรรม บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จันทสาโร พระธรรเทศนา ที่แสดงแด่หลวงปู่ฝั้นเป็นครั้งแรก

หลวงปู่มั่นตอบปํญหาธรรมะ
ตอบปัญหาชาวโคราช ตอบปัญหาพระมหาเถร ตอบปัญหาชาวกรุงเทพ
” ….ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ
โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว
ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิด
ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า
ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย”

….นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org

๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น

๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา
จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก
บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้

พระอริยคุณคุณาธาร วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง
อ่านเพิ่มเติม

๔ พระธาตุ

๔ พระธาตุ

หลังองค์หลวงปู่มั่น ลาขันธ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มี การจัดถวายพระเพลิงศพหลวงปู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนครในวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว อัฐิขององค์หลวงปู่ได้ถูกแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่างๆ ส่วนประชาชนได้เถ้าอังคารไป

ต่อมาปรากฏว่าอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ ที่แจกจ่ายไปยังที่ต่างๆ ก็กลายเป็น พระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของท่านที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่างๆ ก็กลายเป็นพระธาตุ ได้เช่นเดียวกับอัฐิของท่าน

ปัญหาเรื่องอัฐิหลวงปู่มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ได้อธิบายไว้ว่า
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .