สวนโมกขพลารามและท่านพุทธทาสภิกขุ

สวนโมกขพลารามและท่านพุทธทาสภิกขุ

โดย ศ.นพ. ประเวศ วะสี

สำนักนี้มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าสำนัก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน
(ธันวาคม พ.ศ. 2529 ขณะที่เขียน)

เอกลักษณ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ ลักษณะจำเพาะของเจ้าสำนักสวนโมกขพลาราม พอประมวลเป็นสังเขปได้ดังนี้

1. มีสมองดี

2. ไม่เชื่อง่าย

3. ปฏิเสธวัตถุนิยม

4. พุทธิจริต

5. ชอบใช้ปัญญาเจาะลึก

6. มีอิทธิบาท 4 สูง

7. มีความสนใจและความสามารถในการสื่อมาก ลักษณะเหล่านี้เป็นปัจจัยประกอบกันส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ตามลำดับ
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยวิถีธรรม20 ปีมรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (1)

ตามรอยวิถีธรรม20 ปีมรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (1)

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ — อาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2556 00:00:52 น.

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ ได้พาคณะสื่อมวลชนร่วมเดินทางตามรอยพระธรรม โกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือที่รู้จักในนาม พุทธทาสภิก “พุทธทาสภิกขุ” เนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีมรณกาล พ.ศ.2536-2556 ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเดินทางครั้งนี้เพื่อเยือนแผ่นดินถิ่นกำเนิดของ “พุทธทาสภิกขุ” พระสงฆ์ที่ยูเนสโกยกย่องให้ท่านเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ผู้มีแรงบันดาลใจธรรมะจากจุดเล็กๆ คือตัวเอง แล้วแผ่ขยายสู่ผู้คนหลายชาติ หลายศาสนา มีมรดกธรรมที่ฝากไว้มากมาย ผลงานหนังสือธรรมะที่ทุกวันนี้ก็ยังขายดีและเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ อาทิ คู่มือมนุษย์ ตัวกู-ของกู ตามรอยพระอรหันต์ อานาปานสติ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

เนื่องในวันนี้ในครั้งอดีต วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นวันที่พุทธทาสภิกขุ มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ด้วยวัย 87 ปี ทีมงาน toptenthailand ขอรำลึกถึงท่านด้วยหัวข้อ “10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พุทธทาสภิกขุ”

เครดิต : คุณชายสิบหน้า
แหล่งที่มา : Wiki pedia

10. มรณภาพ

ท่านพุทธทาสภิกขุ อาพาธด้วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ท่านเคยอาพาธมาหลายครั้งด้วยโรคต่าง ๆ ตามวัยและสังขารตามธรรมชาติ ในการอาพาธครั้งนี้ ท่านหมดสติ (ไม่รู้สึกตัว) แพทย์บอกว่า ถ้าเป็นในคนหนุ่มสาวคงตายแล้ว เพราะในคนหนุ่มสาว เนื้อสมองจะแน่นเต็มกระโหลกศีรษะ เลือดออกไม่มากนักก็กดเนื้อสมองได้มาก ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว แต่ในคนสูงอายุ เนื้อสมองหดเล็กลง (สมองฝ่อ) จึงมีช่องว่างให้เลือดออกมาแทรกอยู่ได้โดยไม่กดเนื้อสมองมากนัก แต่ท่านก็มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อ่านเพิ่มเติม

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ เรื่องจิตว่าง

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ เรื่องจิตว่าง

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ

เสียดายว่าทุกวันนี้บรรยากาศวิวาทะอย่างสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเช่นนี้ไม่มีให้เห็นและฟังเท่าไหร่…ไป “สัปดาห์หนังสือ” ได้หนังสือเก่าที่บันทึกการอภิปรายร่วมกันระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชที่หอประชุมคุรุสภา, เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔๓ ปีมาแล้ว) ว่าด้วยวิวาทะของสองปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังคมไทยสมัยนั้น, ก็ให้เห็นความขาดแคลนเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมา (โดยไม่ต้องฟาดฟันกัน, แยกพวกแยกเหล่ากัน) ของปัจจุบันยิ่งนักยิ่งทำให้เห็นว่าสาเหตุแห่งความวิบัติของสังคมไทยวันนี้เป็นเพราะขาดความเคารพในสติปัญญาของกันและกัน, การไม่พยายามทำให้เข้าใจในความคิดที่แปลกแยก, มุ่งแต่จะทำลายกัน, สังคมจึงไร้ปัญญาอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้หนึ่งในประเด็นวิวาทะระหว่างท่านพุทธทาสกับ อ. คึกฤทธิ์วันนั้น คือเรื่อง “จิตว่าง” ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความสนุก, ความรู้และกระตุ้นความคิดวิเคราะห์เรื่องศาสนาพุทธด้วยอย่างยิ่ง
ตอนหนึ่ง, ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า อ่านเพิ่มเติม

ย้อนรอยบ้านเกิด “พุทธทาสภิกขุ” ในแดนใต้

ย้อนรอยบ้านเกิด “พุทธทาสภิกขุ” ในแดนใต้

หากยังมีชีวิตอยู่ท่านพุทธทาสภิกขุจะมีอายุครบ 107 ปีในปีนี้ โดยที่หลักคำสอนของท่านถือเป็นมรดกธรรมที่สืบสานต่อมา ครั้งนี้ศิษย์หลายรุ่นจึงร่วมเดินทางตามรอย ย้อนไปศึกษาชีวิตของท่านพุทธทาสถึงบ้านเกิดในแดนใต้

ใบไม้กิ่งไม้คือหลังคาโบสถ์ ผนังโบสถ์คือต้นไม้ เป็นรูปแบบของโบสถ์บนยอดเขาพุทธทอง ศูนย์กลางสวนโมขพลาราม ภายในวัดธารน้ำไหล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดจากแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาส อินทปัญโญ นำหลักการสังคมสงฆ์สมัยพุทธกาล มาจัดเป็นอารามสวนป่าใกล้ชิดธรรมชาติ ยังเป็นที่หมายในวันสำคัญให้พุทธศาสนิกชนมาร่วมรำลึกถึงธรรมที่พระพุทธองค์แสดงไว้เมื่อ 2600 ปีล่วงมาแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการ! วิพากษ์พุทธทาสในวันล้ออายุปีที่ 105

ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการ! วิพากษ์พุทธทาสในวันล้ออายุปีที่ 105

พระ เงื่อม อินทปัญโญ หรือที่เรารู้จักกันในนาม “พุทธทาสภิกขุ” นับได้ว่าเป็นพระปัญญาชนชาวไทยที่มีความโดดเด่นที่สุดคนหนึ่ง นับจากพระวชิรญาณภิกขุ วัตรปฏิบัติ ตัวตนและคำสอนของเขาได้กลายเป็นชุดความคิดหลักอันแข็งแกร่ง คำสอนเชิงจิตวิญญาณ ประสบการณ์การตื่นรู้ การตีความพระไตรปิฎก ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้เขียน แต่การนำคำสอนทางศาสนาไปตัดสินความถูกต้องทางการเมืองของพุทธทาสต่างหากที่ นอกจากจะไม่มีคนตั้งคำถามอย่างเป็นกิจลักษณะแล้ว [3] กลับสนับสนุนเอออวย วิธีคิดหลายอย่างของเขานับวันจะเป็นการบั่นทอนทำลายการเมืองที่เปิดกว้างแบบ ประชาธิปไตย ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ความเชื่อมั่นวางใจในมนุษย์ปุถุชนว่ามีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน มีความสามารถพอเพียงที่จะดูแลกันได้ แต่หลักธรรมที่ตีความโดยพุทธทาสกลับมีนัยที่ตรงกันข้ามอย่างรุนแรง
อ่านเพิ่มเติม

๑๐๐ ปีชาตกาล “พุทธทาสภิกขุ”

๑๐๐ ปีชาตกาล “พุทธทาสภิกขุ”

พระนักเขียนหนังสือ พระผู้มอบมรดกธรรมให้สังคมไทย

จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม

ในบรรดาพุทธสาวกคงไม่มีพระรูปใดที่เขียนหนังสือเผยแผ่พุทธธรรมไว้มากเท่าพระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ หรือที่ท่านมักเรียกตัวเองว่า พุทธทาส อินทปัญโญ มีมากกว่า ๑๔๐ เล่ม

สมดังคำเมื่อครั้งที่ท่านปวารณาตนไว้เมื่อแรกใช้นาม “พุทธทาส” ซึ่งแสดงถึงอุดมคติสูงสุดในการรับใช้พระพุทธศาสนา ท่านเขียนไว้ในบันทึก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า “…ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมายต่อความสุขนี้ และประกาศเผยแพร่ความสุขนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ในพระพุทธศาสนา…”

เดิมทีนั้นท่านเป็นพระนักเทศน์ ท่านได้ริเริ่มการเทศน์ในรูปแบบของปาฐกถาธรรมที่ประยุกต์ทั้งรูปแบบ และเนื้อหาของธรรมะให้การแสดงธรรมสมสมัย เข้าถึงผู้สนใจธรรมทุกหมู่เหล่า หรือที่เรียกว่า “ภาษาคน ภาษาธรรม”
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมทาน จาก ท่านอ.พุทธทาส

ธรรมทาน จาก ท่านอ.พุทธทาส

“…เมื่อประสบความสำเร็จ
สิ่งแรกก็คือดีใจ จนลืมตัว และโง่ลงไปบางอย่าง
สำหรับจะประมาท หรือสะเพร่าในอนาคต
ความสำเร็จ เป็นครูที่ดีน้อยกว่า ความไม่สำเร็จ
ความไม่สำเร็จ แต่มีเสน่ห์จนคนทั่วไป เกลียดความไม่สำเร็จ
…เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ
เราจะได้อะไร ที่มีค่ามากกว่า เมื่อประสบความสำเร็จไปเสียอีก
ถ้าเป็นจิตนิยม แต่เราไม่รู้-ไม่รู้สึก ถือเอาไม่ได้
แต่คนทั่วไป มองมันในแง่ลง เห็นเป็นความเสียหาย
และเกิดทุกข์ใหม่เพิ่มขึ้นอีก เป็นโชคร้ายไปเสียโน่น
…ถ้าต้อนรับความไม่สำเร็จ อย่างถูกต้อง
มันจะมอบความรู้ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ถึงที่สุดในกาลข้างหน้า
จนกลายเป็นผู้ทำอะไร สำเร็จไปหมด…”

อ่านเพิ่มเติม

โอวาทคำสอนของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ

โอวาทคำสอนของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ

ตายให้เป็นคือตายชนิดที่ไม่ตาย แต่กลับเป็นอยู่ตลอดกาล และต้องเป็นการกระทำชนิดที่เรียกว่าตายเสียก่อนตาย คือ ตายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนแต่ร่างกายแตกดับ……

๐ ๐ ๐ ๐
การกุศลที่แท้จริงและสูงสุดนั้นคือ….การทำให้มนุษย์ได้รู้ถึงสิ่งที่มนุษย์ควรรู้หรือจำเป็นต้องรู้ และให้ได้ถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงหรือจำเป็นต้องเข้าถึง กล่าวคือธรรมะที่ทำให้จิตใจสูง ได้แก่การที่มีใจมีความสะอาดปราศจากกิเลส ใจสว่าง สงบของจิตใจ ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนหรือต้องการก่อนสิ่งอื่นใด
ทั้งหมดทั้งสิ้น

อย่ามุ่งหมายความสุขอันประเสริฐอะไรๆให้มากไปกว่าความปกติของจิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขี้นไม่ลงไปตามอารมณ์ที่กระทบ เพราะไม่มีสุขอะไรประเสริฐยิ่งไปกว่าความปกติของจิตนั้น…. ๐ ๐ ๐ ๐

http://supissara.myreadyweb.com/article/category-36353.html

“พุทธทาสภิกขุ” ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ส่องสว่างทางธรรมให้กับโลก

“พุทธทาสภิกขุ” ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ส่องสว่างทางธรรมให้กับโลก

เลิศชาย ปานมุข:

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
อ่านเพิ่มเติม

มหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2549 ณ พุทธมณฑล

มหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2549 ณ พุทธมณฑล

กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปีพุทธทาสภิกขุ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้จัดงานมหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2549 ที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองชาตกาล 100 ปีพุทธทาสภิกขุ ซึ่งตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

การจัดงานมหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ นับเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยจะเป็นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2549 ถึงปี 2550 เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูท่านพุทธทาสภิกขุ ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการยกย่องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งยูเนสโกได้ประกาศร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ด้วย เนื่องจากได้ตระหนักว่าท่านเป็นผู้มีผลงานโดดเด่นในการส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างมวลมนุษย์ตามหลักการ ดำเนินงานของยูเนสโก โดยการเผยแพร่หลักธรรมหรือแนวปรัชญาของท่านพุทธทาสภิกขุ ได้มีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารต่างๆ มากมาย และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 10 ภาษา
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาส ภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก

พุทธทาส ภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก
ศ.พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

การที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกย้ำเตือนถึงความจริงของบทกลอนของท่านพุทธทาสที่ว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” ผลงานของท่านนอกจากจะไม่ตายไปจากความทรงจำของชาวพุทธแล้ว ยูเนสโกยังประกาศยกย่องท่านพุทธทาสไปทั่วโลก
เราอาจตั้งคำถามว่า ทำไมท่านพุทธทาสจึงได้รับยกย่องจากยูเนสโก เขามองท่านพุทธทาสอย่างไร ใครที่อยากจะได้รับการยกย่องในเวลาร้อยปีชาตกาลของตนแบบท่านพุทธทาสก็อาจจะจับประเด็นได้และทำผลงานให้ตรงจุด บางคนอาจได้คิดว่า เมื่อยูเนสโกยังยกย่องท่านพุทธทาส ทำไมเราจึงไม่ศึกษางานของท่านบ้าง เรากลายเป็นพวกใกล้เกลือกินด่างหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะหันมาศึกษางานของท่านพุทธทาส ให้มากขึ้น อาตมาเคยพูดถึงท่านพุทธทาสเมื่อประมาณ ๒๕ ปีมาแล้วในปี ๒๔๒๕ เมื่อพูดแล้วได้พิมพ์เป็นหนังสือเรื่องเปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับฌอง-ปอล ชาร์ต นักเขียนรางวัลโนเบลของฝรั่งเศส เป็นนักปรัชญาเอกซิสเตนเชียลิสม์ พิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกในปี ๒๕๒๖ อะไรที่เคยพูดไว้ในหนังสือนั้นเป็นอีกมุมมองหนึ่งซึ่งจะไม่พูดถึงในวันนี้
อ่านเพิ่มเติม

ศิลปะการประหยัดของพุทธทาส

ศิลปะการประหยัดของพุทธทาส

มีสลึง พึงบรรจบ ให้ครบบาท
อย่าให้ขาด สิ่งของ ต้องประสงค์
มีน้อย ใช้น้อย ค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลง ให้มาก จะยากนานฯ

กลอนโบราณบทนี้ อาจจำเป็นต้องหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นให้คนไทย หันกลับมาตระหนักเรื่อง “ความประหยัด” กันใหม่แบบจริงจังเสียที หลายคนคงไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ ยิ่งเด็ก เยาวชนรุ่นใหม่ จะยิ่งเข้าใจยาก เพราะพวกเขาอาจไม่รู้จัก แม้แต่เหรียญสลึงด้วยซ้ำ!

โดยเฉพาะใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นยุคหลังผ่านวิกฤติการณ์น้ำท่วมใหญ่รอบ ๕๐ ปีของไทย ถึงกับพร้อมใจกันขนานนามว่ามหาอุทกภัย และยังมี After Shock ตามมาอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวของที่จำต้องขึ้นราคา ไหนจะค่าแท็กซี่ที่ขู่จะขึ้นค่าโดยสารกันฮึ่มๆ เพราะค่าน้ำมัน ค่าแก๊สที่ผันผวน ฯลฯ เหล่านี้ จะเป็นแรงเหวี่ยงทางเศรษฐศาสตร์ ที่จะทำให้สรรพสิ่งรอบตัว พากันขยับราคาแพงกันไปหมด ถ้าเราไม่ตระหนักเรื่อง “การประหยัด” ในวันนี้ เกรงว่าอาจสายเกินการณ์
อ่านเพิ่มเติม

‘ล้ออายุ’ พุทธทาส 105 ปี

‘ล้ออายุ’ พุทธทาส 105 ปี

คนส่วนใหญ่อาจฉลองวันเกิดด้วยการจุดเทียนบนเค้กก้อนใหญ่ แล้วแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องอย่างมีความสุข แต่สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ วันเกิดคือ “วันประหารอาสวกิเลสให้สิ้น” ซึ่งเป็นหนทางสู่ความสุขที่ยั่งยืน
นับเป็นปีที่ 15 แล้ว ที่นายวุฒิ วิพันธ์พงษ์ อาสาสมัครกลุ่มอยู่เย็นเป็นประโยชน์ เข้าร่วมกิจกรรมล้ออายุท่านพุทธทาสภิกขุ เนื่องจากรู้สึกเลื่อมใสในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา จากการได้สนทนาธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ ขณะบรรพชาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ วัย 35ปี คนนี้ บอกว่า กิจกรรมล้ออายุเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2509 เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุ ต้องการปลูกฝังให้พุทธศาสนิกชนไม่ยึดติดกับอายุ และเปลี่ยนการเฉลิมฉลองวันเกิด มาเป็นการพิจารณาการกระทำของตนเองในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม

ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด (พุทธทาส ภิกขุ)

ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด (พุทธทาส ภิกขุ)

ใครจะชอบใครชังช่างเขาเถิด
ใครจะเชิดใครแช่งก็ช่างเขา
ใครจะด่าว่าบนก็ทนเอา
ใครจะเมามากมายไม่หมายมอง
ชอบ ก็ช่างเขาไงเราไกลหนี
ชอบก็ดีวางไว้ไม่ฉลอง
ชอบไม่เห็นไม่รู้ดูดั่งทอง
ชอบไม่ต้องเกี่ยวแวะนั่นแหละดี
ใครรักเราเรารู้อยู่ว่ารัก
ใครไม่ทักรักใคร่ก็ไปหนี
ใครสรรเสริญเยินยอก็พอที
ใครราวีคิดร้ายไม่หมายสู้
ชังก็ช่างไม่อีนังไปขังขอบ
ชังเกินชอบตอบช่างวางไว้หู
ชังหนังหน้าไม่เห็นเช่นไม่ดู
ชังก็อยู่แค่ชังไม่ฟังเขา อ่านเพิ่มเติม

ทัศนะของพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับศาสนาๆ

The Ecumenical Vision of Buddhadasa Bhikkhu and
His Dialogue with Christianity
ทัศนะของพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับศาสนาๆ
และการสนทนาวิสาสะของท่านกับชาวคริสต์

Delivered on 2 May 2004 by Prof. Swearer
… สมหมาย เปรมจิตต์ แปล

To study different religions comparatively with an attitude of good will results in mutual understanding. This, in turn, brings about a way of thinking and acting in men which causes them not to hurt each other’s feelings. And not to hurt one another’s feelings further gives rise to peaceful co-existence par excellence between all societies and nations of the world.
Christianity and Buddhism are both universal religions; they exist wherever truly religious people practice their religion in the most perfect way. If religious persons show respect for each religion’s founder and for the Dhamma-truth at the core of each religion, they will understand this interpretation. Devotion to a religion results in the cessation of self-interest and self-importance and therefore leads to a realization of the universality and unity of all religions. (Buddhadasa Bhikkhu, Buddhism and Christianity)

การศึกษาเปรียบเทียบศาสนาต่างๆ ด้วยความหวังดี ย่อมจะก่อให้เกิดความเข้าใจกันดีขึ้น ทั้งจะทำให้เราไม่คิดที่จะทำในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความบาดหมางแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การไม่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นนั้น จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ระหว่างประชาคมโลก
ศาสนาคริสต์กับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาใหญ่ของโลก ศาสนาทั้งสองต่างก็มีศาสนิกที่ดี ที่ปฏิบัติตามศาสนาของตน หากศาสนิกของแต่ละศาสนาให้ความเคารพต่อศาสดาของกันละกัน และต่อสัจธรรมอันเป็นแก่นแท้ของแต่ละศาสนา ศาสนิกเหล่านั้นก็จะเข้าใจความหมายที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้ ศรัทธาความเลื่อมใสในศาสนา ทำให้คนเราลดทิฐิมานะ และการสำคัญตัวเองผิด ผลก็คือเราจะได้เห็นความเป็นสากลและเอกภาพของศาสนาทั้งหมด (Buddhadasa Bhikkhu, Buddhism and Christianity)
อ่านเพิ่มเติม

พุทธปรัชญาการศึกษาในทรรศนะพุทธทาสภิกขุ

พุทธปรัชญาการศึกษาในทรรศนะพุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุเป็นพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่มีผลงานและมีชื่อเสียงอย่างโดดเด่น ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งในต่างประเทศอีกด้วย มีทั้งผลงานที่เป็นเอกสาร หนังสือ แผ่นเสียง การบรรยายเป็นจำนวนมากมาย ทั้งยังมีผู้ทำการศึกษาวิจัยงานของท่านไว้มากมายยิ่ง อาจเป็นด้วยการเพราะผลของการศึกษา พระสัทธรรมที่ครอบคลุม ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงนำผลมาสู่การรังสรรค์ ผลงานที่เชื่อมโยงทั้งองค์ความรู้ปัจจุบันและการค้นคว้า ตีความเนื้อหาในคัมภีร์ทางด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ จนนำไปสู่การขยายองค์ความรู้ในวงกว้างทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติ ซึ่งสอดรับกับปณิธานทั้ง ๓ ประการของท่านคือ
อ่านเพิ่มเติม

เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ประมวลคำสอน

นับตั้งแต่กาลที่โลกว่างเปล่า เริ่มกลายเป็นมนุษย์โลกขึ้น เมื่อหลายแสนปีมาแล้ว มนุษย์ได้ใช้มันสมอง แสวงหาความสุขใส่ตน เป็นลำดับๆ มาทุกๆยุค, จนในที่สุด เกิดมีผู้สั่งสอนลัทธิแห่งความสุขนั้นต่างๆกัน, ตัวผู้สอนเรียกว่า ศาสดา, คำสอนที่สอนเรียกว่า ศาสนา, ผู้ที่ทำตามคำสอน เรียกว่า ศาสนิก, ทุกอย่างค่อยแปรมาสู่ความดียิ่งขึ้นทุกที, สำหรับคำสอน ขั้น โลกิยะ หรือ จรรยา ย่อมสอนมีหลักตรงกันหมดทุกศาสนา, หลักอันนั้นว่า จงอย่าทำชั่ว จงทำดี ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น, ดังที่ทราบกันได้อยู่ทั่วไปแล้ว : แต่ส่วนคำสอนขั้นสูงสุด ที่เกี่ยวกับความสุขทางใจ อันยิ่งขึ้นไปนั้น สอนไว้ต่างกัน. ศาสนาทั้งหลาย มีจุดหมายอย่างเดียวกัน เป็นแต่สูงต่ำกว่ากัน เท่านั้น

ทุกองค์ศาสดา เว้นจากพระพุทธเจ้า สอนให้ยึดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสาวกไม่มีความรู้(ไป)พิสูจน์ ว่าเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด เป็นผู้สร้างโลก และอำนวยสุขแก่สัตว์โลก เป็นที่พึ่งของตน, ให้นับถือบูชาสิ่งนั้น โดยแน่นแฟ้น ปราศจากการพิสูจน์ ทดลอง แต่อย่างใด. เริ่มต้นแต่ยุคที่ถือผี ถือไฟ ถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ต่างๆ มาจนถึง ยุคถือพระเป็นเจ้า เช่น พระนารายณ์ และ พระพรหมของศาสนาฮินดู พระยโฮวาของศาสนาคริสเตียนและยิว และพระอหล่าของอิสลาม ต่างสอนให้มอบความเชื่อในพระเจ้าเหล่านั้น แต่ผู้เดียว ว่าเป็น ผู้มีอำนาจเหนือสิ่งใดทั้งหมด ทั้งๆที่ไม่ต้องรู้ว่า ตัวพระเจ้านั้นเป็นอะไรกันแน่ และผิดจากหลักธรรมดาโดยประการต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุผู้ทำประโยชน์ 3

พุทธทาสภิกขุผู้ทำประโยชน์ 3

‘ยูเนสโก’ ยกย่อง ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือพุทธทาสภิกขุ เกิดเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2449 ที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในระหว่างที่เดินทางมาเรียนเปรียญธรรม 4 ประโยค อยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ศึกษาการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของประเทศศรีลังกา อินเดีย ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือรูปแบบมากเกินไป ความย่อหย่อนในพระวินัยของสงฆ์ ทำให้ท่านเชื่อว่าพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในเวลานั้น คลาดเคลื่อนไปจากที่พระพุทธองค์ได้ชี้แนะ ท่านจึงตัดสินใจกลับมาที่ อ.ไชยา และจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ท่านเชื่อมั่น จนทำให้หลายคนมองว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์ รับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ท่านก็รับฟังด้วยความเป็นกลาง จนในที่สุดท่านก็ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ไทย รวมถึงวงการศึกษาธรรมะของโลก ถึงกับได้รับการยอมรับว่า เป็น “เสนาบดีแห่งกองทัพธรรม” ในยุคหลังกึ่งพุทธกาล
“ท่านพุทธทาสภิกขุนับเป็นแบบอย่างของพระภิกษุสงฆ์ในการปฏิบัติธรรม ให้หลักธรรมคำสอนที่มีคุณค่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับชาวพุทธ และยูเนสโกจะร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบชาตกาล 100 ปี ของท่านพุทธทาสภิกขุ ในวันที่ 27 พ.ค. 2549 อ่านเพิ่มเติม

สดับธรรมจากคํากลอน (พุทธทาสภิกขุ)

สดับธรรมจากคํากลอน (พุทธทาสภิกขุ)

บุญเป็นอะไร?

สิ่งนั้นๆ เป็นเหมือน ของเกลื่อนกลาด
ที่เป็นบาป เก็บกวาด ทิ้งใต้ถุน
ที่เป็นบุญ มีไว้ เพียงเจือจุน
ใช้เป็นคุณ สะดวกคาย คล้ายรถเรือ,
หรือบ่าวไพร่ มีไว้ใช้ ใช่ไว้แบก
กลัวตกแตก ใจสั่น ประหวั่นเหลือ
เรากินเกลือ ใช่จะต้อง บูชาเกลือ
บุญเหมือนเรือ มีไว้ขี่ ไปนิพพาน
มิใช่เพื่อ ไว้ประดับ ให้สวยหรู
เที่ยวอวดชู แบกไป ทุกสถาน
หรือลอยล่อง ไปในโลก โอฆกันดาร
ไม่อยากข้าม ขึ้นนิพพาน เสียดายเรือ

ภัยร้ายของนักเรียน

เป็นนักเรียน เพียรศึกษา อย่าริรัก
ถูกศรปัก เรียนไม่ได้ ดั่งใจหมาย
สมาธิจะ หักเหี้ยน เตียนมลาย
ถึงเรียนได้ ก็ไม่ดี เพราะผีกวน
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .