หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด

สมเด็จพระราชมุนี
สามีรามคุณูปจารย์
(ปู สามีราโม)
หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด,
สมเด็จเจ้าพะโคะ

เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
สงขลา สยาม
อุปสมบท พ.ศ. 2145
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225
ไทรบุรี มาเลเซีย
พรรษา 80
อายุ 100
วัด วัดช้างให้
จังหวัด ปัตตานี
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้
หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์) [1] เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง
ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือ กันมาว่าได้มีพระภิกษุสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ขั้นสมเด็จถึง ๔ องค์ ด้วยกัน คือ
๑ . สมเด็จเจ้าเกาะยอ
๒ . สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
๓ . สมเด็จเจ้าจอมทอง
๔ . สมเด็จเจ้าพะโคะ

ในที่นี้ ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนาน กล่าวไว้ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะองค์ นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชมุนี สามีรามคุณูปมาจารย์ จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ . ศ . ๒๑๒๕ บิดาชื่อหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้ว จึงคลอดบุตรเป็นชาย ชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ ( อ . จะทิ้งพระ จ . สงขลา เวลานี้ )

ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจน ได้อาศัยอยู่กับคฤหบดีผู้หนึ่งไม่ปรากฏ นาม สองสามีภริยาเป็นผู้มั่นอยู่ ในศีลธรรม เมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟ เนื่องในการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บเกี่ยวข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่ได้มาอาศัยอยู่ครั้นถึงทุ่งนาได้เอา ผ้าผูกกับต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กัน ทำเป็นเปลให้ลูกนอน แล้วพากันลงมาเก็บ เกี่ยวข้าวต่อไป ขณะสองสามีภรรยาเก็บเกี่ยวข้าวอยู่ชั่วครู่ นางจันทร์ เป็นห่วงลูก ได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฏว่ามีงูบองตัวโตผิดปกติ ได้ขดตัวรอบรัวเปลที่ เจ้าปู่นอน สองสามีภริยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้น เพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครสามารถจะช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็น คนเข้าใกล้ก็ชูศีรษะขึ้นส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัว จึงไม่มีใครกล้าเข้าไป ใกล้เปลนั้นเลย

ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้มั่นอยู่ ในบุญกุศล ยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ปรากฏว่างูใหญ่ ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่ บุตรน้อยของตนเลย จึงเกิดความสงสัย ว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหา ดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชา และกราบไหว้งูใหญ่พร้อม ด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐาน ขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปล อันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์ และเพื่อนพา กันเข้าไปดูทารกที่ในเปล ปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติ แต่มีแก้วดวงหนึ่ง วางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ ลูกกระเดือก แก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็น รัศมีหลากสี สองสามีภริยาจึงเก็บรักษาไว้คหบดีเจ้าของบ้านทราบความ จึงขอแก้วดวงนี้ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้น เมื่อได้แก้วพระยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้ว ก็รู้สึกพอใจ ต่อมาไม่นานได้เกิดการวิปริต ให้ความ เจ็บไข้ได้ทุกข์แก่ คหบดีและครอบครัวขึ้นอย่างรุนแรงผิดปกติ จนไม่มีทาง แก้ไขได้จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าของบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คงจะเป็นเพราะยึดเอาดวงแก้วพระยางูนั้นไว้จึงให้โทษ และเกรงเหตุร้าย จะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภริยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้น ปรากฏว่าเจ้าของบ้าน ก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหากินเลี้ยงชีพก็จำเริญรุ่งเรือง ขึ้นเป็นลำดับ อยู่สุขสบายตลอดมา อ่านเพิ่มเติม

เรื่องหลวงปู่ทวด

ประวัติหลวงพ่อทวด
ประวัติหลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด
“เรื่องหลวงพ่อทวด”

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน คือ
๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ
แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์”จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ บิดาชื่อตาหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ในเวลานี้)
ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟเนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูงขึ้น ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัยว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

ทารกอัศจรรย์

เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

อ่านเพิ่มเติม

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เรื่องนรกของหญิงที่ชอบขโมย

เรื่องราวที่จะนำมาถ่ายทอดนี้เป็นเรื่องที่หลวงพ่อจรัญได้บันทึกไว้ในหนังสือ “เล่าเรื่องกรรม” โดยที่มีโยมมาเล่าถวายไว้ให้รับทราบถึงรายละเอียดของกรรมที่ทำไม่ดีอันเป็นเหตุให้ตกนรก

“ภรรยาตกนรกกลับมาเกิดใหม่อยู่กับสามีคนเดิม”

เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ประหลาดที่มีหญิงสาววัย 16 ปีเดินทางมาพบกับหลวงพ่อจรัญพร้อมด้วยสามีวัย 78 ปี ซึ่งไม่น่าจะเป็นสามีภรรยากันได้เลย การเดินทางมาพบหลวงพ่อจรัญก็เพราะโยมทั้งสองนั้นมีความต้องการจะสร้างสำนักวิปัสสนากรรมฐานให้ที่วัดอัมพวัน เมื่อหลวงพ่อถามถึงเหตุผลที่ต้องการจะสร้างสำนักวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ทราบความดังนี้ว่า

ย้อนหลังกลับไปเมื่อในอดีต ชายแก่ที่เป็นสามีชื่อ นายปุ่น ส่วนตัวภรรยาชื่อ นางสะอิ้ง เมื่อสมัยที่ยังเป็นนายปุ่นยังเป็นหนุ่มนั้นค่อนข้างเป็นคนที่มีฐานะ เมื่ออายุครบบวชพ่อแม่จึงจัดงานบวชให้ ซึ่งตัวของนายปุ่นเป็นคนดีมีศีลธรรมมาก เมื่อบวชก็ตั้งใจปฏิบัติศึกษาในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ถึงขนาดสวดปาฏิโมกข์ได้ครบถ้วนเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

ชาติภูมิ

พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ทวด ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

25551008-134134.jpg

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จโต พรหมรังสี ประวัติของสมเด็จโตวัดระฆัง

25551008-132918.jpg

ประวัติสมเด็จโต หรือ สมเด็จวัดระฆัง

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชนและนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทยและมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

หลวงตามหาบัว ประวัติหลวงตามหาบัว และ ธรรมะของหลวงตามหาบัว

หลวงตามหาบัวกำเนิดในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ นาม บัว โลหิตดี หลวงตามหาบัวมีพี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน สมัยเด็ก หลวงตามหาบัวเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่มของหลวงตามหาบัว เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ พระครูประสาทพรหมคุณ สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

อัตชีวประวัติ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ พระครูประสาทพรหมคุณ สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

เด็กชายสุวรรณหงษ์ จะมัวดี เป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ได้ช่วยกิจการงานทุกอย่าง ทำนา หว่านกล้า เก็บเกี่ยวข้าว ด้วยความวิริยะอดทน จนอายุได้ 18 ปี มารดาขอร้องให้บวชเณร ด้วยสาเหตุเกรงว่าจะไปมีเรื่องกับผู้อื่น เพราะเป็นช่วงเวลาของวัยรุ่นอารมณ์ร้อน ซึ่งโดยนิสัยแล้วเป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่เกรงกลัวใคร สุดท้ายเห็นแก่มารดาจึงตัดสินใจบวชให้แค่เพียง 7 วัน
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ชีวประวัติของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

พิเศษ

หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ประวัติหลวงพ่อจรัญ รูปหลวงพ่อจรัล ธรรมะหลวงพ่อจรัล สิงห์บุรี

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทยในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฏแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ชีวประวัติท่านปัญญานันทภิกขุ

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) หรือ ท่านปัญญานันทภิกขุ
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ)[1] และผู้อุทิศชีวิตให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .