ปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

ปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

– หลวงพ่อปานท่านมีความกตัญญูกตเวทีกับแม่ท่านมาก ทั้งพ่อทั้งแม่นั้นแหละ พ่อก็ดีแม่ก็ดี เวลาป่วยท่านไม่ยอมให้อยู่ที่บ้าน ท่านเอามารักษาตัวที่วัดให้นอนในกุฏิท่าน ผ้านุ่งแม่ของท่านท่านซักเอง ท่านเอาผ้านุ่งแม่ของท่านไปตากไว้บนขื่อ ไอ้ขื่อบ้านนี่มันสูงกว่าหัวคน เวลาเดินไปเดินมาหัวคนก็ต้องลอดขื่อ แต่ผ้านุ่งแม่ของท่านท่านไปตากไว้บนขื่อ เวลาแม่ท่านลุกไม่ถนัดท่านก็อุ้มลุกอุ้มนั่ง ถึงได้บอกว่าแม่ท่านเป็นผู้หญิง แต่ว่าเวลานั้นท่านเป็นพระ มีคนหลายคนเขามาตำหนิท่าน ผู้หญิงเขาติว่า “คุณปาน โยมของคุณน่ะเป็นผู้หญิง ผ้านุ่งเอาไปตากบนขื่อ ซักผ้านุ่งแม่เอง อุ้มลุกอุ้มนั่ง ป้อนข้าวป้อนน้ำ เช็ดขี้เช็ดเยี่ยวอย่างนี้ แม่จะบาป”

อ่านเพิ่มเติม

การเรียนวิชาของหลวงพ่อปาน

การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้

เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่ วัดเจ้าเจ็ด กับ พระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน

จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้

เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
(ฉบับนอกวัด)

เนื่องในวันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๕๓ ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ จึงขอนำประวัติของหลวงพ่อปาน ซึ่งพระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน มาให้อ่านกัน

เพื่อร่วมกันน้อมระลึกในพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของหลวงพ่อท่าน ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และศิษยานุศิษย์

วัดบางนมโค

วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่า มีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดนมโค

ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่น พม่าก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอาวัวควายจากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ

ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโค จึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมีการเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโค

อ่านเพิ่มเติม

พระคาถาหลวงพ่อปาน

พระคาถาหลวงพ่อปาน

(ว่า “นะโม ฯลฯ ” ๓ จบ )
พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว
” พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ ”
พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล
” วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม ”
คาถามหาพิทักษ์
” จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง ”
ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ
คาถา มหาลาภ
” นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวาเอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง ”
ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ
พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์

http://www.dharma-gateway.com/

หลวงพ่อปานรักษาโรค

หลวงพ่อปานรักษาโรค

ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ
วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จและนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปาฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย
ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อนท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย
น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นักและกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะ คือ
ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่า ใช้ดังนี้จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ
“ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ” อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานนมัสการพระพุทธฉาย

หลวงพ่อปานนมัสการพระพุทธฉาย

เมื่อคณะธุดงค์ทั้งห้า มีหลวงพ่อปานเป็นประมุข นมัสการพระพุทธฉาย และอยู่ในบริเวณนั้นรวม 3 วัน เมื่อมีความอิ่มในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอสมควรแก่ความประสงค์แล้ว ปูชนียสถานที่คณะธุดงค์ทั้งห้าต้องการนมัสการอีกก็คือ พระพุทธฉาย เขตสระบุรีเหมือนกัน แต่ต้องเดินทางไปทางตะวันออก และล่องใต้นิดหน่อย เรื่องทางที่จะไปเป็นภาระของหลวงพ่อปาน
แล้วแต่ละท่านก็ออกเดินทางไปพระพุทธฉาย การเดินทางรอนแรมจากพระพุทธบาทไปพระพุทธฉายระยะทางไม่ไกลนัก แต่คณะธุดงค์ชุดนี้ก็เดินทางอย่างพระธุดงค์ คือเดินประมาณวันละ 5 กิโลเมตร ไปตามสบาย พักตามสบาย ไม่ผ่านตัวเมืองสระบุรีเพราะไม่ต้องการพบบ้าน ไม่อยากรบกวนอาหารจากชาวบ้าน ได้อาศัยอาหารจากต้นไม้เป็นอาหารหลัก
ด้วยคณะธุดงค์เชื่อว่าเทวดาประจำต้นไม้มี ไม่เป็นเรื่องของพราหมณ์พูดเล่นพล่อย ๆ เมื่อเชื่อว่าต้นไม้มีเทวดา ก็เลยถือโอกาสขอข้าวจากเทวดากิน เมื่อขอจริง เทวดาก็มีอาหารให้จริง เมื่อได้เท่าไรก็ตาม กินแล้วอิ่มตลอดทั้งวัน และอิ่มจนกว่าจะถึงรอบใหม่ ไม่หิว ไม่เพลีย แม้น้ำก็ไม่กระหาย
เมื่อถึงพระพุทธฉาย เรื่องก็เป็นไปเช่นเดียวกับที่พระพุทธบาท คือ หลวงพ่อปานท่านให้พระทุกองค์เข้าอาโลกกสิณเต็มระดับ เมื่อได้รับบัญชาทุกองค์จึงเข้าอาโลกกสิณเต็มระดับ ต่างก็ทราบว่าหลวงพ่อจะได้พิสูจน์ความจริงเรื่องพระพุทธฉายอีกแล้ว ต่างก็เข้าฌาน 4 ในอาโลกกสิณทันที เมื่อท่านตรวจเห็นว่าทรงฌานดี อารมณ์สะอาด ท่านบอกให้ทดสอบเรื่องพระพุทธฉายว่าพระพุทธเจ้ามาฉายไว้จริงหรือเปล่า มีใครเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้ามาฉาย อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานพาคณะศิษย์ออกธุดงค์

หลวงพ่อปานพาคณะศิษย์ออกธุดงค์

พบโขลงช้างที่สระบุรี

หลวงพ่อฤๅษีฯ ได้เล่าเรื่องหลวงพ่อปานนำคณะศิษย์ อันมี หลวงพ่อฤๅษีฯ พระเขียน และพระเพื่อนของหลวงพ่อฤๅษีฯ ที่ท่านเรียกว่า “จ้าลิงขาว และ “เจ้าลิงเล็ก” รวมเป็น 4 รูป ออกธุดงค์ไว้ว่า

หลวงพ่อปานท่านสมาทานกับหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พระอุปัชฌาย์ของท่าน เมื่อสมาทานแล้ว (คำว่าสมาทานคือ ขอเรียนวิธีปฏิบัติตนเมื่อขณะไปธุดงค์) ท่านก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปพระพุทธบาท สมัยนั้นหารถยนต์เรือยนต์ได้ที่ไหน ต้องใช้รถเท้าหรือถ่อกันทั้งนั้น
เมื่อเข้าเขตสระบุรี ท่านเห็นป่าแห่งหนึ่งว่าทุ่งว่างประมาณร้อยไร่ เห็นหมู่บ้านไกลจากทุ่งประมาณ 2 กม. ท่านเป็นหัวหน้า มีพระติดตามมาอีก 4 องค์ รวมเป็น 5 องค์ทั้งท่าน สมัยนั้นพระออกธุดงค์อย่างมากไม่เกินชุดละ 5 องค์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลำบากชาวบ้านที่จะสงเคราะห์ เมื่อท่านเห็นเหมาะ ท่านสั่งพลพรรคปักกลดตามระเบียบของธุดงค์ เมื่อปักกลดแล้วจะมีอันตรายขนาดไหนก็ตามจะถอนกลดหนีไม่ได้ ต้องยอมตายเพื่อธรรมเสมอ
เมื่อท่านจะปักกลด ท่านเลือกชัยภูมิที่ท่านเห็นว่าเหมาะสม คือ เลือกเอาปากทางที่ออกมาจากป่า มีทางเดินออกจากป่าทางเดียว ตรงนั้นมีแอ่งน้ำแต่แห้ง แล้วท่านปักกลดตรงแอ่ง กลดของท่านคลุมปากแอ่งน้ำ ทุกองค์ต่างปักกลดเสร็จ พอเรียบร้อย ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ในป่าที่มองเห็นมีบ้านประมาณ 4 หลังคาเรือน เมื่อเขามองเห็นสีเหลืองก็ทราบว่าเป็นพระมาปักกลด ต่างก็พากันออกมา นำน้ำตาลน้ำดื่มมาถวาย เมื่อพระฉันครบแล้ว เขาก็บอกว่าที่ทุ่งนี้มีโขลงช้างอยู่ 1 โขลง มันอาศัยอยู่ในป่านี้ มันออกมาอาละวาดเสมอ พระที่มาปักกลดทุ่งนี้ตายเพราะช้างหลายองค์แล้ว เขาขอให้ถอนกลดไปปักใกล้บ้านเขาจะได้ไม่มีภัย ถ้าหากมีก็จะได้ช่วยทัน
หลวงพ่อท่านรักธรรมวินัยยิ่งกว่าชีวิต ท่านบอกว่า เมื่อปักกลดแล้วถอนไม่ได้ ถ้าจะมีอันตรายถึงตายก็ยอม เพราะมาเพื่อตายกับธรรม ไม่ใช่มาแสวงหาความสุขทางกาย ชาวบ้านจะอ้อนวอนเท่าไรท่านก็ยืนยันระเบียบ พวกเขาก็จนปัญญา เมื่อเขาหวังดีแต่ไม่มีผล ต่างก็สั่งว่าถ้าบังเอิญช้างออกมาให้เคาะฝาบาตรเขาจะรีบมาช่วย
เมื่อเวลาใกล้ค่ำ เขาก็พากันกลับ ก่อนกลับแสดงความห่วงใยมาก เมื่อชาวบ้านกลับ พระก็ต่างเข้าเจริญกรรมฐานตามความสามารถของตน อ่านเพิ่มเติม

อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมาพอจะอนุมานได้ดังนี้
จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า

“ปกติท่านเป็นคนขยัน เวลาพวกเราทำงาน ท่านไม่หยุดเหมือนกัน เป็นคนขยันจริง ๆ ขยันงานภายนอก ขยันงานภายในทุกอย่าง จุกจิก หมายความจุกจิกรอบ ๆ ดูของรอบ ๆ ตรวจตราของรอบ ๆ แล้วคำว่าไม่มีไม่ได้ ของท่านมีสั่งให้ไปหาอะไร ถ้าไม่มีให้เลย ไปเลย ห้ามกลับ ถ้าวันหลังไปพบเขา ถามว่า ทำไมไม่เอามาให้ บอกว่าไม่มีนี่ครับ ถ้าไม่มีจัดซื้อทันที ของท่านต้องมีทุกอย่าง”
“หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วนเสียงดังกังวานไพเราะมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือกเศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมั่วเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”
ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนก็เรียกว่า หลวงพ่อบางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆ ท่านๆน่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 4 หรือ 5 ทุ่ม นั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ
“ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไปตามกำลังความสามารถเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานได้คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์จากครูผึ้ง

หลวงพ่อปานได้คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์จากครูผึ้ง

พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์นี้ หลวงพ่อปาน ได้เรียนมาจากครูผึ้ง จ.นครศรีธรรมราช (ท่านทำทานให้ขอทานครั้งละ ๑ บาท สมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวข้าวแกงจานละห้าสตางค์เอง)
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อปาน พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปทุกภาคของประเทศไทย ทิศเหนือได้ไปถึงเชียงตุงของพม่า ทิศตะวันออกไปสุดภาคอีสาน และได้ขออนุญาตข้ามเขต ไปในอินโดจีนของฝรั่งเศส ถึงประเทศญวน ทิศใต้ได้ไปถึงปีนังของอังกฤษ
พบท่านครูผึ้ง

เมื่อไปถึงนครศรีธรรมราช ในเย็นวันที่ได้ไปถึงนั่นเอง ขณะที่หลวงพ่อปานเข้าห้องจำวัดพักผ่อน โดยมีพระภิกษุอุปฐากกับทายก คอยเฝ้าอยู่หน้าห้องพักนั้น ประมาณเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้มีท่านผู้มีอายุท่านหนึ่ง รูปร่างเพรียว ท่าทางสง่า ผิวขาว นุ่งห่มผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อนอกราชปะแตน กระดุมห้าเม็ด ถุงเท้าขาว รองเท้าคัชชูสีเทา สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ได้มาหาพระอุปัฏฐาก ถามว่า
“หลวงพ่อตื่นแล้วหรือยัง?”
ก็พอดีได้ยินเสียงหลวงพ่อพูดออกมาจากห้องว่า
“ไม่หลับหรอก แหมนอนคอยอยู่ คิดว่าผิดนัดเสียแล้ว”
แล้วหลวงพ่อก็เดินออกมาจากห้องพัก เมื่อนั่งลงแล้ว ผู้เฒ่าผู้มาหาพูดว่า
“ผมไม่ผิดนัดหรอกครับ เห็นว่าท่านเพิ่งมาถึงใหม่ๆ กำลังเหนื่อย และมีคนมาคอยต้อนรับกันมาก ก็เลยรอเวลาไว้ก่อน ตอนเย็นนี้คิดว่าว่างจึงเลือกเวลามา” อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานเรียนวิชากับอาจารย์ต่าง ๆ

หลวงพ่อปานเรียนวิชากับอาจารย์ต่าง ๆ

เรียนวิชาปริยัติธรรมกับพระอาจารย์จีน ที่วัดเจ้าเจ็ด
ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน
จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง
ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเองเวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้
เวลาสอนหนังสือลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้องทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธาเอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่าจนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิมหลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไรก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง
ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่านท่านจึงหยุดเรียนและเตรียมตัว สำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย
เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)

ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ
(หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)
วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชาติภูมิ

หลวงพ่อปาน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ ที่ย่านบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาชีพทางครอบครัว คือ ทำนา ครอบครัวของท่านนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ สมัยนั้นเขายังมีทาสกันอยู่ ที่บ้านท่านก็มีทาส เมื่อตอนท่านเกิดมา มีปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว โยมบิดาจึงตั้งชื่อท่านว่า “ปาน”
ประวัติของท่านในวัยเด็ก เมื่อตอนอายุสัก 3 – 4 ขวบ ก็มีเหตุที่ทำให้ท่านได้ยินคำว่า “พระอรหัง” เป็นครั้งแรก โดยในเรื่องนี้ท่านเล่าให้หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ (วีระ ถาวโร หรือ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ซึ่งหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ (ซึ่งต่อๆ ไปในนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า หลวงพ่อฤๅษีฯ ) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติหลวงพ่อปาน พอสรุปได้ว่า อ่านเพิ่มเติม

เหรียญหัวโต หลวงปู่ทวด

เหรียญหัวโต หลวงปู่ทวด รุ่นแรก ทรงเสมา หูในตัว คงกระพันลาภมหานิยม!!
เหรียญหัวโต หลวงปู่ทวด
รุ่นแรก ทรงเสมา หูในตัว
คงกระพันลาภมหานิยม!!

เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นแรก ปี2500 นักพระเครื่องเรียก “เหรียญหัวโต” เป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว สุดยอดคงกระพันรวยลาภเมตตามหานิยม
กล่าวสำหรับหลวงปู่ทวด มีชื่อเสียงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่อดีต
ถึงแม้ในสมัยนั้นยังไม่มีการจัดสร้างวัตถุมงคล แต่เมื่อมีผู้ไปกราบไหว้ขอพร มักได้สมดังปรารถนาด้วยพระบารมีและปาฏิหาริย์แห่งหลวงปู่ทวด
จนถึงปัจจุบัน ชื่อเสียงของท่านก็คงยังเป็นที่เคารพศรัทธาและกล่าวขวัญในความศักดิ์สิทธิ์ เสมอมา การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดเริ่มในสมัยพระครูวิสัยโสภณ หรือหลวงพ่อทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ (วัดราษฎร์บูรณะ) จ.ปัตตานี ผู้เคารพเลื่อมใสหลวงปู่ทวดอย่างมาก
เมื่อเริ่มมีการสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดขึ้น ก็เป็นที่ปรากฏและยอมรับกันว่าผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรมเมื่อบูชาแล้ว ต่างประสบปาฏิหาริย์นานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และยังสามารถอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคล และให้ประสบความสำเร็จในการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อ่านเพิ่มเติม

เจาะลึก พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด

เจาะลึก พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด

เมื่อออกแบบปกหนังสือหลวงปู่ทวด
ผู้เขียน (อ.ทรงวิทย์ แก้วศรี) เห็นมีคาถาอยู่ใต้รูปหลวงปู่ทวดว่า
“นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา”
และภาพประกอบพระหลวงปู่ทวดหลังตัวหนังสือปี ๒๕๐๕
ข้อความตอนบนมีประทับคาถานี้
เป็นภาษาบาลี อักษรขอมอ่านว่า “นโม โพธิสตฺโต อาคนฺติมาย อิติภควา”
ผู้เขียนก็ยังไม่ได้สนใจอะไร โดยเฉพาะเป็นคนที่ไม่เชื่อเรื่องเวทย์มนต์คาถาอยู่แล้ว

ที่ไม่เชื่อ
ไม่ใช่เพราะว่าเวทมนต์คาถาหรือไสยศาสตร์ รวมทั้งโหราศาสตร์ด้วยว่าไม่มีจริง

แต่เพราะ
ไม่เชื่อน้ำมนต์ของคนเสกเวทมนต์คาถาหรือหมอดูมากกว่า

ครั้นต่อมามีความเคยตัวที่ต้องขอพรหรือขอเงินหลวงปู่ทวดใช้เป็นประจำ
คาถาที่ใช้ภาวนาจึงต้องใช้
อ่านเพิ่มเติม

คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด, คาถาหลวงปู่ทวดเปิดโลก
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด, คาถาหลวงปู่ทวดเปิดโลก
วัดช้างให้ ตำบลป่าไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

(นะโม ๓ จบ)

นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

(สวด ๓ จบ)

การบูชาหลวงปู่ทวด
ให้บูชาท่านด้วย ธูปแขก ๙ ดอก มะลิขาว ๙ ดอก ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงท่าน และสวดพระคาถา

การใช้คาถาบทนี้ คือ ให้สวดภาวนาพระคาถา ก่อนขึ้นรถ ลงเรือ ติดต่อค้าขาย จักเกิดสิริมงคล โชคลาภมากมาย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ท่านว่าให้หมั่นสวด เจริญภาวนา พระคาถา หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืดนี้เถิด จักบังเกิดสิ่งอัศจรรย์แก่ตนเองและครอบครัว ขณะเดียวกันยังมีคติความเชื่อด้วยว่าพุทธคุณคาถานั้น หากท่องเป็นประจำจะคุ้มครองให้เราแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เช่นเดียวกับการแขวนพระหลวงปู่ทวด
นอกจากนี้แล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มขลังของคาถาหลวงปู่ทวด ยังมีการเพิ่มคาถาหัวใจพระเจ้า ๕ พระองค์ไว้ด้านหน้าและด้านหลัง กลายเป็น “คาถาหลวงปู่ทวดเปิดโลก” คือ

“นะ เปิด โม เปิด พุท เปิด ธา เปิด ยะ เปิดโลกด้วย
นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภควา ยะธาพุทโมนะ” อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

ธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

สันดาน
” ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย อ่านเพิ่มเติม

โครงการพุทธอุทยานมหาราช หลวงปู่ทวด

โครงการพุทธอุทยานมหาราช หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก จ.พระนครศรีอยุธยา

โครงการพุทธอุทยานมหาราช เกิดจากความตั้งใจของ คุณวัชพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ ประธานมูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ ซึ่งต้องการเห็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามหลักการ “บวร” ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน และต้องการทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงส่งเสริมคุณธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนา รักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาท้องถิ่นด้วยวิธียั่งยืน อีกทั้งยังมีปณิธานแน่วแน่ที่จะดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม

โครงการนี้ตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 44 ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนรอยต่อของอำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อเนื่องกับอำเภอป่าโมกและอำเภอเมืองฯ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้ชื่อว่าพุทธอุทยานมหาราช เพื่อความเป็นสิริมงคล

คุณวัชรพงศ์ได้ซื้อที่ดินจำนวน 200 ไร่ และได้สร้างรูปเหมือนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดขนาดหน้าตักกว้าง 24 เมตร ความสูงรวมฐาน 51 เมตร สร้างจากปูนหุ้มสัมฤทธิ์เคลือบสีทอง ทั้งองค์ นับได้ว่าเป็นรูปเหมือนพระสงฆ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งตามประวัติศาสตร์ หลวงพ่อทวดเคยเดินทางมาพำนักที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาหลายปี

http://www.holidaythai.com/

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวดธรรมประจำใจ

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวดธรรมประจำใจ

พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบสันดาน
ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยากชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ
จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ
เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้าน
ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ
นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัยบรรเทาทุกข์ การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น
เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง
และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำยากกว่าการเกิด
ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบายไม่สิ้นสุด อ่านเพิ่มเติม

สถูปหลวงพ่อทวด วัดช้างให้

สถูปหลวงพ่อทวด วัดช้างให้

ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อันมีสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิ หลวงพ่อทวด สถูปนี้ตั้งใกล้กับทางรถไฟ อดีตวัดแห่งนี้ ประวัติวัดช้างให้เคยเป็นวัดร้างแต่ละครั้งแต่ละหนเป็นเวลาห่างกันนานๆ ตั้งสิบกว่าปีหรือบางครั้งถึงร้อยปีก็มีในปี พ.ศ.2484 พระครูวิสัยโสภณ หรือในที่รู้จักกันในนาม ท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร ได้เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ได้ทำการบูรณะวัดต่อเติมจนเรียบร้อย ทำให้วัดช้างให้สะอาดสะอ้านขึ้นมาก ทางด้านสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิของ หลวงปู่ทวด ประดิษฐานอยู่ที่หน้าวัด เป็นที่จูงใจประชาชนหลายชาติหลายภาษาได้มาเคารพบูชาเป็นจำนวนมากทุกวัน
หลังจากท่านอาจารย์ทิม ฝันว่าได้พบกับ หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนอยู่ในเวลานี้ วันหนึ่งท่านอาจารย์ทิมนึกสนุก จึงเก็บเอาก้นเทียนที่ตกอยู่ริมเขื่อน(สถูป) มาคลึงเป็นลูกอมแล้วแจกจ่ายให้กับเด็กวัดไป แต่ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์แก่ท่าน เมื่อเด็กได้ลูกอมก้นเทียนไปแล้ว ก็เอาลูกอมสีผึ้งนี้อมในปาก แล้วลองแทงฟันกันด้วยมีดพร้าและของมีคม แต่แทงฟันกันไม่เข้าเลย จนเรื่องทราบถึงอาจารย์ทิม ท่านก็ตกใจเพราะเกรงเป็นอันตรายกับเด็ก จึงเรียกเด็กมาอบรมสั่งสอนห้ามไม่ให้ทดลองกันต่อไป อ่านเพิ่มเติม

ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พระภิกษุปู่ เรียนวิชาหลายอย่างในสำนักพระครูกาเดิม 3 พรรษาอาจารย์ก็ไม่มีอะไรจะสอนให้อีกจึงปรึกษากับพระครูกาเดิม ท่านก็บอกถ้าจะศึกษาอีกคงต้องเข้าเมืองหลวงคือกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่รวมของสรรพวิชาต่างๆ ก้เลยนำนำให้ไปขอโดยสารเรือสำเภาของนายอิน ที่จะนำสินค้าไปขายในเมืองหลวง เรือสำเภาของนายอินบรรทุกสินค้าหลายอย่างเคยไปมาค้าขายแบบนี้หลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เรือสำเภาแล่นไปได้ 3 วัน 3คืน เป็นปกติอยู่ดีๆวันหนึ่ง ไม่ใช่ฤดูมรสุม แต่เกิดพายุพัดจัดลมแรงมากท้องทำเลปั่นป่วน จึงจำเป็นต้องลดใบเรือลงรอคลื่นลมสงบ เลยทำให้อาหารไม่พอ น้ำดื่มไม่มีจะกินกัน โดยเฉพาะน้ำจืดสำคัญที่สุด บรรดาลูกเรือไม่เคยพบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนและอารมณ์เสียทุกคนลงความเห็นว่า เกิดจาอาเพศที่มีพระภิกษุโดยสารมาด้วย จึงตกลงใจให้ไปส่งพระภิกษุปู่(หลวงปู่ทวด)ขึ้นฝั่ง โดยลงเรือเล็กซึ่งมีพระภิกษุปู่และลูกน้องนายอิน 2 คนลงมาด้วยเพื่อพายไปส่งฝั่งขณะที่นั่งอยู่ในเรือนั้น พระภิกษุปู่จึงบริกรรมคาถาและอธิษฐานจิต แล้วยื่นเท้าออกไปข้างกาบเรือลำเล็ก แล้วแกว่งน้ำให้เป็นวง ขณะนั้นเอง ท่านจึงบอกให้ลูกเรือทั้ง 2คนเอามือกวักชิมน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลกลับกลายเป็นน้ำจืด ทุกคนต่างดีใจรีบตักน้ำใส่โอ่งใส่ไห ลูกเรือทุกคนหายโกรธพระภิกษุปู่ โดยเฉพาะนายอิน จึงนิมนต์ให้ท่านร่วมเดินทางต่อจนถึงกรุงศรีอยุธยา
เมื่อถึงเมืองหลวงสมัยนั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของไทยเจริญรุ่งเรืองมากมีวัดวาอารามใหญ่ๆโตๆ นายอินได้นิมนต์ พระภิกษุปู่ให้เข้าจำวัดในเมืองหลวงแต่ท่านถือสันโดษ ท่านจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแค เขตทุ่งลุมพลีทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเก่าแก่ กล่าวไว้ว่า หลวงพ่อทวด ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 9ปี คือระหว่าง พ.ศ.2148 -2157 ตอนนั้นพระภิกษุปู่หรือ หลวงพ่อทวด มีอายุแค่ 32 ปี
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้

คาถาบูชาหลวงปู่ทวด
ตั้งนะโม ๓ จบ
นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ จบ)

สัจธรรมแห่งหลวงปู่ทวด
ธรรมะพ่อนี้ง่ายๆ
มองคนดีอย่างเดียว ทำความดีอย่างเดียว
เป็นผู้ให้…ให้มากที่สุดนั้นก็หมายถึงว่ามีเมตตาอย่างเดียว
อย่าประมาท อย่าขาดสติ สี่ข้อพอแล้ว
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็ดี แต่อันนี้เราเป็นธรรมะคมๆ ธรรมะในพุทธะ
เป็นคนดีอย่างเดียว คนเลวคนชั่วไม่มองเขา
เป็นผู้ให้มากๆ ให้ทุกคน…ไม่เลือก
คนไหนเราให้ได้ก็ให้ ทำดี…เราต้องให้ได้
แต่ไม่ใช่ว่าให้ไปหมดตัว
จำได้ไหม
ไม่ประมาท ไม่ขาดสติ ใช้ได้ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .