อุดมคติของท่านพุทธทาสภิกขุ

อุดมคติของท่านพุทธทาสภิกขุ

อุดมคติที่เยี่ยมยอด

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ
อ่านเพิ่มเติม

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ต้น “ไม่รู้-ไม่ชี้” นี่เอาเปลือก
ต้น “ชั่งหัวมัน” นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
“อย่างนั้นเอง” เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
“ไม่มีกู-ของกู” แสวง เอาแต่ใบ

“ไม่น่าเอา-น่าเป็น” เฟ้นเอาดอก
“ตายก่อนตาย” เลือกออกลูกใหญ่ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
“ดับไม่เหลือ” สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาท้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
“สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” อัน
เป็นธรรมชั้น หฤทัย ในพุทธนาม
อ่านเพิ่มเติม

ความเชื่อที่งมงาย พุทธทาส อินทปัญโญ

ความเชื่อที่งมงาย พุทธทาส อินทปัญโญ

ตีพิมพ์ในวารสารธรรมจักษุ ปีที่ ๗๙ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๓๘

ปุถุชนเราตั้งแต่เกิดมา ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ก่อความใคร่ (กาม) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๑ แล้วยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเชื่อของตัวเอง (ทิฏฐิ) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๒ ส่วนสมบัติชิ้นที่ ๓ ก็คือ “ความงมงาย” (สีลัพพตปรามาส) ผู้ใดมัวแต่หอบหิ้วสมบัติชิ้นใหญ่ ๆ เหล่านี้อยู่ ย่อมไม่สามารถละจากความเป็นปุถุชน เพื่อไปสู่ความเป็นอารยชนหรือพระอริยเจ้าได้

ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ปุถุชน (คนที่มีผ้าปิดบังดวงตาหนาทึบ กล่าวคือ คนโง่ คนเขลา คนหลง) จะต้องรู้ความผิดพลาดหรือเหตุที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะการหอบหิ้วทรัพย์สมบัติอย่างนี้อยู่ หลักพระพุทธศาสนาในส่วนปริยัติและการปฏิบัตินั้น ได้แก่ความรู้และการปฏิบัติ เพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ไม่ฝังตัวเข้าไปในสิ่งทั้งหลายด้วยความยึดมั่นถือมั่น ในหลักศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ดังที่ท่านได้ตรัสยืนยันของท่านเอง สรุปแล้วก็คือ “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”
อ่านเพิ่มเติม

กรรมฐานโดยวิธีอานาปานัสสติภาวนา ตามแบบของท่านพุทธทาสภิกขุ

กรรมฐานโดยวิธีอานาปานัสสติภาวนา ตามแบบของท่านพุทธทาสภิกขุ

การฝึกจิตแบบอานาปานัสสติของท่านพุทธทาส แบ่งออกเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะที่หนึ่ง เพ่งลมหายใจเป็นอารมณ์ ลมหายใจมีลักษณะอย่างไร ให้เพ่งแน่วแน่อยู่ที่ลมหายใจเป็นอารมณ์ จนกระทั่งเกิดความสงบรำงับขึ้นเพราะการเพ่งนั้น เมื่อมีความสงบรำงับแล้ว จะเกิดความรู้สึกเป็นสุข เพราะความเป็นสมาธินั้น
ระยะที่สอง พิจารณาความรู้สึกที่เป็นสุข ให้มีความรู้สึกว่าความสุขที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก
ระยะที่สาม การเพ่งดูจิต ให้เพ่งดูจิตในขณะที่ทำสมาธิภาวนานั้นว่าเป็นอย่างไร จิตที่ประกอบด้วยสุขเวทนาเป็นอย่างไร จิตมีตัวกูของกูหรือไม่มีตัวกูของกูเป็นอย่างไร พิจารณาทุกแง่มุม อยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก ขั้นนี้เรียกว่า ดูที่ตัวจิต
ระยะที่สี่ ให้พิจารณาดูที่ตัวความจริงที่แฝงแสดงให้เห็นอยู่ที่ทุกๆ สิ่ง โดยจะเป็นที่จิตหรือที่เวทนาหรือที่ลม ว่าความจริงมันเป็นอย่างไร ซึ่งจะพบความจริงว่า สิ่งทั้งปวงมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งทั้งเหตุทั้งปัจจัยที่ปรุงแต่งและทั้งสิ่งที่ปรุงแต่งนั้น มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเกิดความรู้สึกสลด สังเวช เกิดความเบื่อหน่าย ก็ให้ดูการที่จิตค่อยๆ ถอยออก ดูการที่ความรู้สึกโง่ รู้สึกหลง รู้สึกยึดถือนั้น ไม่อาจจะเกิดขึ้นมาอีก ดูความที่ตัวกูของกู ไม่อาจโผล่ขึ้นมาอีก ระยะนี้เรียกว่า ดูธรรม หรือดูธรรมะอยู่ที่ส่งทั้งปวงและอยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก
ระยะที่ห้า คือ พิจารณาที่จิต เมื่อดูอย่างนั้นย่อมมีความหน่าย คลายกำหนัด มีความปล่อยวาง อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ
บรรยายอบรมกลุ่มนิสิต นักศึกษา บวชภาคฤดูร้อน
ณ สวนโมกขพลาราม ไชยา
**********

สรุปสั้นๆ ก็มีว่า ทางด้านหนึ่งก็คือการเกลียดระเบียบกฏข้อบังคับ ทางศีลธรรม ความกดดันทางศีลธรรมที่มีอยู่อย่างแบบเก่า คือต้องเคร่งครัดในศีลธรรม นี้กดดันเด็กพวกนี้ไม่ชอบ; แล้วอีกทางหนึ่ง คือขาดความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องปรมัตถธรรมของชีวิต ขาดความรู้ทางปรมัตถธรรม ที่ผมเรียกว่าบรมธรรมนี้. เรื่องบรมธรรมนี้ คือปรมัตถธรรมชองชีวิตเพราะเขาขาดความรู้เรื่องนี้. ดูเอาเถิด อย่างทีแรกนั้นคือความถูกบังคับกดดันของศีลธรรมของระเบียบ ของอะไรต่างๆ ที่คนสมัยโบราณเขายินดีรับ แต่เด็กๆ สมัยนี้ไม่ยินดีรับ. เมื่อทั้ง ๒ อย่างนี้ รวมกันเข้ามันก็เกิดลัทธิฮิปปี้ คือตามใจตัวตาม วิถีทางแห่งประชาธิปไตยที่มีอิสรภาพ เสรีภาพ; แล้วลัทธินี้มันก็เกิดเอง ไม่ต้องมีใครไปทำให้เกิด มันก็เกิดเอง สิ่งต่างๆ เป็นไปตามกฎธรรมชาติ หรือตามกฎของพระเจ้า.

เมื่อทนการควบคุมของศีลธรรมไม่ได้ ก็หาทางออก อ้างเป็นเสรีภาพเมากันยิ่งกว่าเมาเหล้า มันก็ต้องไปตามใจของกิเลส แล้วพวกนี้ยังจะมีหน้ามาเผยอพูด ว่าเป็นเรื่องทางวิญญาณ หาอิสรภาพทางวิญญาณ. แต่ว่าที่เขาพูดวิญญาณๆ นั้นมันคนละความหมาย เพราะว่าวิญญาณของมนุษย์หรือของอารยชน ของพระอริยเจ้าก็อย่างหนึ่ง วิญญาณของภูตผีปีศาจ ก็อีกอย่างหนึ่ง. ถ้าพูดว่า “ทางวิญญาณ” ก็ต้องวิญญาณของอารยชน ของพระอริยเจ้าจึงจะได้ ไม่ใช่วิญญาณของภูตผีปีศาจ ที่เมาในกามารมณ์แล้วใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือสำหรับอ้าง เพราะฉะนั้นผลก็เกิดขึ้นคือลัทธิฮิปปี้. การตามใจตัว ไม่อยู่ในขอบเขตของอะไรไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่าจริยธรรมหรืออะไรทำนองนั้น มีอะไรเป็นของตัวหมด สิ่งนี้เป็นผลของการศึกษาที่จัดไปไม่ถูกตามความต้องการของพระเจ้า.
อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ

การศึกษาของโลกปัจจุบัน พุทธทาสภิกขุ
บรรยายอบรมกลุ่มนิสิต นักศึกษา บวชภาคฤดูร้อน
ณ สวนโมกขพลาราม ไชยา
**********

๑๒ เมษายน ๒๕๑๒ วันนี้ สำหรับพวกเราได้ล่วงมาถึง ๕.๐๐ น. แล้ว จะได้พูดถึงถึงเรื่องบรมธรรมต่อไป คือจะพูดถึง “บรมธรรมกับการศึกษาของโลกในสมัยปัจจุบัน”. ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องนั้น ก็อยากจะพูดเป็นพิเศษในข้อที่ให้สังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่า อุปสรรคต่อการลุถึงบรมธรรมว่าถ้ามันจะมีขึ้นในโลกสมัยนี้ ก็เพราะอะไรๆ ในโลกสมัยนี้ มีการจัดการทำอย่างไม่ตรงกับความมุ่งหมายของบรมธรรมนั่นเอง.

อาทิ เช่นการศึกษา การเมือง การเศรษฐกิจ หรือ อะไรก็ตาม ตกมาถึงสมัยนี้มันทำไปในลักษณะที่ไม่ตรงตามความมุ่งหมายของบรมธรรม และที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเหตุที่ว่า คนในโลกไม่สนใจต่อบรมธรรม และที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเหตุที่ว่า คนในโลกไม่สนใจต่อบรมธรรม จึงจัดทำสิ่งต่างๆ ไปในลักษณะที่ไม่ตรงต่อความมุ่งหมายของสิ่งที่เรียกว่า บรมธรรม อันเป็นของจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์นั่นเอง.

มนุษย์ไม่สนใจต่อบรมธรรม ถึงกับไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นการจัดการศึกษาเป็นต้น มันจึงไปกันคนละทาง ดังนั้นสิ่งเหล่านั้นเอง จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการลุถึงบรมธรรมและก็มีอยู่หลายเรื่อง. สำหรับวันนี้เราจะพูดถึงเรื่อง การศึกษา ซึ่งจะได้พิจารณากันดูโดยละเอียด ในฐานะเป็นสิ่งที่ถือกันว่าสำคัญที่สุด เป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง.
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ : เจ็บไข้ได้ป่วย โอกาสแห่งการบรรลุธรรม

คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ : เจ็บไข้ได้ป่วย โอกาสแห่งการบรรลุธรรม

คนเรามักมองการป่วยว่าเป็นเรื่องทุกข์และไม่ได้มีข้อดีอะไรเลย แท้ที่จริงแล้วนั้น

ท่านพุทธทาสภิกขุ

ได้เคยกล่าวถึงการป่วยเอาไว้ว่า สิ่งนี้ทำให้เราได้คิดและไตร่ตรองอะไร

ในแง่มุมที่เราไม่เคยพบเจอมา เหมือนกับหัวข้อการเสวนาที่ท่านพุทธทาสภิกขุ

ได้พูดเอาไว้ในหัวข้อ “เจ็บไข้ได้ป่วย โอกาสแห่งการบรรลุธรรม” เห็นอย่างงี้แล้ว

ใครที่ป่วยอยู่หรือเป็นโรคประจำตัว ก็อย่างพึ่งย่อถ้อต่อชีวิต

เรื่องที่จะนำมากล่าวนี้ เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า แม้ในโอกาสแห่งความเจ็บไข้ ก็ยังเป็นโอกาสแห่งการบรรลุธรรมอันสูงสุดได้

อาตมาได้เคยกล่าวมาแล้วหลายครั้งหลายหนว่า ควรจะใช้โอกาสที่ดีที่สุดนี้ ให้ได้หรือให้เป็นกันไว้ทุกคน เพราะว่าทุกคนก็ต้องมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา และโอกาสนั้นเป็นโอกาสที่จะเห็นธรรม หรือบรรลุธรรม หรือแม้ที่สุดแต่จะพิจารณาธรรมยิ่งกว่าโอกาสใด

หากแต่ว่าคนโดยมากได้ละโอกาสนั้นเสีย คือว่าพอมีความเจ็บไข้ขึ้นมา ก็ดิ้นรนกระวนกระวาย แทนที่จะใช้โอกาสนั้นพิจารณาธรรม ก็ไปกลัวเสียบ้าง หรือกระวนกระวายอย่างอื่น เลยไม่เป็นโอกาส การทำอย่างนี้ไม่ถูกต้องตามวิธีที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้
อ่านเพิ่มเติม

ตายเสียก่อนตาย (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ตายเสียก่อนตาย (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

ตายเสียก่อนตาย…

ในคำโบราณที่พูดไว้ว่า : “นิพพานนั้นคือตายเสียก่อนตาย, หรือ
ตายเสียก่อนแต่ร่างกายตาย”…นี้อะไรตาย?? ก็คือ กิเลสที่เป็น
เหตุให้รู้สึกว่ามีตัวกู-ของกูนั่นแหละตาย กิเลสนี้ต้องตายเสร็จก่อน
ร่างกายตาย จึงจะเรียกว่านิพพาน นี่เป็นสิ่งที่ควรจดจำไว้ด้วยว่า

“ดีอยู่ที่ละ พระอยู่ที่จริง
นิพพานอยู่ที่ตายเสียก่อนตาย”. ;
เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เห็นว่า มีการพูดที่สับสน คราวหนึ่งคนหนึ่ง
สอนว่า ให้ตายเสียก่อนตาย, คราวหนึ่งนี้มีผู้ที่สอน ว่าจงทำให้
ไม่รู้จักตาย ที่แท้มันเป็นคำพูดที่ถูกด้วยกันทั้งนั้น เพราะมีความ
หมายมุ่งไปอย่างหนึ่งๆ : รวมความแล้วคือ ดับตัวกู – ของกูเสียได้
ไม่มีความยึดมั่นตัวกู – ของกูเหลืออยู่ นั่นแหละคือใจความของ
การปฏิบัติ
อ่านเพิ่มเติม

ดีในชั่ว- ชั่วในดี-กลอนธรรมะ-พุทธทาสภิกขุ

ดีในชั่ว- ชั่วในดี-กลอนธรรมะ-พุทธทาสภิกขุ

ในความเป็นจริงของชีวิตไม่มีใครบริสุทธ์ผุดผ่องไปเสียทุกเรื่อง

ดีบ้างชั่วบ้างย่อมปะปนกันไป

ในความมืดก็ย้งมีความสว่างเล็ดลอดออกมาได้

ดวงจันทร์ก็ยังมีด้านมืด มีด้านสว่าง

ราตรีอันมืดมิด ก็ยังรอรุ่งอรุณ

สิ่งที่สำคัญ ใครจะเก็บเกี่ยวคุณงามความดีไว้ได้

ในแต่ละเหตุการณ์ ในแต่ละเหตุ แต่ละปัจจัย ต่างหาก
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะ พุทธทาสภิกขุ

ธรรมะ พุทธทาสภิกขุ

ธรรมะ

ความหมายของธรรม ถ้าจะว่ากันแท้จริงแล้ว ชีวิตก็เป็นธรรมะอยู่แล้ว แต่มีธรรมะอีกหลาย ๆ อย่างที่ต้องประกอบกันอยู่ คำว่าธรรมะ มีความหมายประกอบกัน 4 อย่างคือ
ตัวธรรมชาติ
กฎธรรมชาติ
หน้าที่ตามกฎธรรมชาติ
ผลที่เกิดจากหน้าที่
ธรรมะกับชีวิต
เมื่อมองตัวเรา เนื้อหนัง ร่างกาย จิตใจของเราที่มีอยู่นี้เรียกว่า “ตัวธรรมชาติ” ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณที่เป็นตัวร่างกายมีชีวิต นี้เรียกว่า ตัวธรรมชาติ
ตัวกฎธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา ในร่างกายของเราที่มันจะเกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เจริญอย่างไร เสื่อมอย่างไร กระทั่ง เราจะต้องทำอย่างไรกับมัน เป็นตัวกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในชีวิตนี้แล้ว
หน้าที่ของเรา ก็คือต้องทำให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์นั้น ๆ เพื่อมีชีวิตอยู่ได้และเพื่อชีวิตเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อชีวิตอยู่ได้มันมีกฎเกณฑ์ทำให้เกิดหน้าที่แก่เรา เช่น เราต้องรับประทานอาหาร ต้องอาบน้ำ ต้องถ่าย ต้องหาปัจจัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ กระทั่งการคบหาสมาคมกับบุคคลรอบด้านหรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา ให้ถูกต้อง นี่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้อยู่รอดได้ ถ้าทำหน้าที่นี้ไม่ถูกต้องมันอาจจะตายหรือเกือบตาย หน้าที่อีกแผนกหนึ่ง ก็คือ จะต้องทำให้เจริญด้วยคุณค่ายิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
การเป็นมนุษย์ คนหนึ่งนั้นหมายความว่า มันต้องได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ถ้าไม่ได้รับสิ่งนี้ มันก็เสียชาติเกิดเพราะว่ามันจะต้องได้เต็มที่ ตามที่มนุษย์อาจจะรับได้ ฉะนั้นจึงเกิดเป็นหน้าที่อีกชั้นหนึ่งว่า เราต้องทำให้ได้รับผลประโยชน์ของความเป็นมนุษย์ให้ถึงที่สุด อ่านเพิ่มเติม

สรณะ-ที่พึ่ง ท่านพุทธทาสภิกขุ

สรณะ-ที่พึ่ง ท่านพุทธทาสภิกขุ

พระรัตนตรัย

พระพุทธะ พระธรรมะ และพระสงฆ์
ล้วนต่างองค์ เป็นสามพระ หรือไฉน
หรือเป็นองค์ เดียวกัน ที่ชั้นใน
ดูเท่าไร ก็ไม่เห็น เป็นสามองค์

นั่นถูกแล้ว ถ้าดูกัน แต่ชั้นนอก
คือดูออก มีพุทธะ จอมพระสงฆ์
ได้ตรัสรู้ ซึ่งพระธรรม ทรงจำนง
สอนพระสงฆ์ ทั้งหลาย ให้รู้ตาม

แต่เมื่อดู ชั้นใน กลับได้พบ
ว่าธรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ครบ ในพระสาม
ทั้งพุทธ สงฆ์ หรือว่าองค์ พระธรรมงาม
ล้วนมีความ สะอาด สว่าง สงบ บรรจบกัน ฯ

http://www.fasaiclub.com/read.php?tid-5810.html

เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ

เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ

นายเสรี ลพยิ้ม บันทึก: เกร็ดธรรม คำสอน – ท่านพุทธทาส ภิกขุ มีคำพูดคำหนึ่งที่น่าประทับใจ ของท่านพุทธทาส ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งก็คือ “วันทั้งวัน ฉันไม่ได้ทำอะไร” คำกล่าวนี้ถือได้ว่า เป็นการมุ่งเน้นให้มีการทำงานด้วยความว่าง คือ โลภ โกรธ หลง อัน ทำให้เกิด ตัวกู-ของกู และเป็นตัวต้นเหตุ แห่งความ “วุ่น” เช่น ชาวนาทำนา ไปด้วยความอยากร่ำรวย ขุดดินแต่ละครั้งก็นึกถึงทีวีสี อยากมีรถขี่ หรือมีเงินซื้อเหล้ากิน ข้าราชการก็ทำงาน เพราะอยากจะได้ สอง ขั้น อยากจะมีอำนาจบาตรใหญ่ หรือแม้แต่การทำบุญทั้งๆที่ยื่นมือให้แต่ใจกลับ ขอเป็นเศรษฐีขอมีเงินล้านเพิ่มความขี้โลภ ให้กับตัวเองอีกหลายเท่าตัว “วันทั้งวัน ฉันไม่ได้ทำอะไร” จึงเป็นคำเตือนใจ ให้มีการกระทำที่ว่างจากตัวฉัน ขึ้นมาเรียกร้องต้องการสิ่งใดๆ เหมือนเครื่องจักรกล ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตงาน ออกมาได้มากมาย โดยไม่ต้องกังวลใจกับลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ เป็นการทำงานเพื่องานก็จะทำให้งานสนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน และงานที่ทำออกมา ก็จะได้งานชิ้นเอก อันเกิดจากจิต ที่มีความเป็นเอก(เอกัคตารมณ์)กับงานที่ทำ กับคำที่พูด อย่างรู้ตัวทั่วถึงพร้อม และแววไว ในการกระทำของตน มีสามเณรวุ่นๆอยู่รูปหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

ด้วยวุฒิการศึกษาเพียงชั้นม.๓ นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๓ ประโยค พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ ภิกษุหนุ่มวัย ๒๖ ปี ได้ริเริ่มทำสิ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศไทย ในทางรูปธรรมสิ่งนั้นได้แก่สวนโมกขพลาราม ในทางนามธรรมสิ่งนั้นคือพุทธศาสนาอย่างใหม่ที่สมสมัย แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติอย่างสมัยพุทธกาล
พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ หรือที่โลกรู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งซึ่งได้นำพุทธศาสนาไทยออกมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง และสามารถนำปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างใหม่กลับไปหารากเหง้าทางภูมิปัญญาอันมีพระบรมศาสดาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ท่านจะมีการศึกษาตามระบบไม่มากนัก แต่ก็รู้ลึกในศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา จนไม่เพียงเห็นจุดอ่อนของศาสตร์เหล่านั้น หากยังสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นมาใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างจับใจปัญญาชน ในอีกด้านหนึ่งแม้ท่านมิใช่เปรียญเอก (แถมยังสอบตกประโยค ๔ ด้วยซ้ำ) แต่ก็เชี่ยวชาญเจนจัดในพระไตรปิฎก และรู้ซึ้งถึงคัมภีร์อรรถกถา จนสามารถเข้าถึงแก่นพุทธศาสน์ และนำมาอธิบายให้คนร่วมสมัยได้อย่างถึงใจชนิดที่กระเทือนไปถึง “ตัวกู ของกู” อีกทั้งยังสามารถวิพากษ์สังคมร่วมสมัยและเสริมเติมศาสตร์สมัยใหม่ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน
อ่านเพิ่มเติม

วันนี้ในอดีต 8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

วันนี้ในอดีต 8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ (2449-2536) มรณภาพอย่างสงบที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี
พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) เดิมชื่อเงื่อม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนแรกของนายเซี้ยงและนางเคลื่อน พานิช มีน้องชายชื่อนายยี่เกย (นายธรรมทาส พานิช) และน้องสาวชื่อนางกิมช้อย เหมะกุล ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย บิดาเป็นคนจีน ส่วนนามสกุล “พานิช” นั้นเป็นนามสกุลที่ นายอำเภอตั้งให้ มรณะภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

เมื่ออายุได้ 8 ปี ท่านได้เรียนหนังสือโดยหัดอ่านจากทางบ้าน ครั้นอายุได้ 9 ปี จึงเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน โพธิพิทยากร วัดโพธาราม จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนแห่งนี้ แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนมัธยม ประจำอำเภอไชยา จนจบการศึกษาชั้นต้นในปี พ.ศ.2463 แล้วลาออกมาช่วยบิดาค้าขายและศึกษาด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาเมื่อบิดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2465 ได้เลิกค้าขายที่ไชยาแล้วกลับมาค้าขายที่พุมเรียงตามเดิมโดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการร้านจนกระทั่งอายุได้ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2463 โดยมีพระครูโสภณเจตสิดาราม (คง วิมาโล) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม และรองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” จำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่
ท่านสอบนักธรรมโท ได้หลังจากบวชได้ 2 พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษาธรรมที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ จนกระทั่งสอบได้นักธรรมเอกและภาษาบาลี ได้เปรียญธรรมสามประโยค แล้วจึงเดินทางกลับพุมเรียงเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
อ่านเพิ่มเติม

เปิด…คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ กับวลีท่านพุทธทาส : ของกู – ของสู

เปิด…คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ กับวลีท่านพุทธทาส : ของกู – ของสู

เคยหรือไม่? เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร วันๆ นอกจากกิน, นอน, ทำงาน, เที่ยวเตร่, อ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังเพลง, คุยกับเพื่อนกับแฟน ฯลฯ ซ้ำไปซ้ำมาแล้ว ชีวิตมีอะไรเป็นแก่นสารบ้าง สมมุติว่าเรามีเงินมากมาย จนไม่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือ มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวที่ดี เรียกว่ามีครบไปหมดซะทุกสิ่งที่ควรมีแล้ว

คนๆ นั้นยังจะมีความสุขโดยไม่มีทุกข์หรือไม่ ถ้ายังมีทุกข์อยู่อีก เช่นนั้น คนเราจะต้องมีแค่ไหนจึงจะเพียงพอ แค่ไหนจึงจะทำให้มีความสุข โดยไม่เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจขึ้นอีก ไม่ทุกข์เรื่องนั้น ก็ต้องมาทุกข์เรื่องนี้ หรือมนุษย์เราไม่มีทางหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้ ชีวิตเช่นนี้ เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่าจะไปสิ้นสุดเช่นไร และอย่างไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยคิด คิดแล้วเคยหาคำตอบได้หรือเปล่า หรือเพียงคิด แล้วก็ผ่านเลยไป เพราะมีอะไรต้องทำ ต้องคิดอีกมากมาย และที่สุดแล้ว ชีวิตก็ยังวนเวียนซ้ำๆ ซากๆ อยู่กับวงจรเดิมๆ เราจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ล่ะหรือ?
อ่านเพิ่มเติม

สวนโมกขพลารามและท่านพุทธทาสภิกขุ

สวนโมกขพลารามและท่านพุทธทาสภิกขุ

โดย ศ.นพ. ประเวศ วะสี

สำนักนี้มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าสำนัก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน
(ธันวาคม พ.ศ. 2529 ขณะที่เขียน)

เอกลักษณ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ ลักษณะจำเพาะของเจ้าสำนักสวนโมกขพลาราม พอประมวลเป็นสังเขปได้ดังนี้

1. มีสมองดี

2. ไม่เชื่อง่าย

3. ปฏิเสธวัตถุนิยม

4. พุทธิจริต

5. ชอบใช้ปัญญาเจาะลึก

6. มีอิทธิบาท 4 สูง

7. มีความสนใจและความสามารถในการสื่อมาก ลักษณะเหล่านี้เป็นปัจจัยประกอบกันส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ตามลำดับ
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยวิถีธรรม20 ปีมรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (1)

ตามรอยวิถีธรรม20 ปีมรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (1)

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ — อาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2556 00:00:52 น.

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ ได้พาคณะสื่อมวลชนร่วมเดินทางตามรอยพระธรรม โกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือที่รู้จักในนาม พุทธทาสภิก “พุทธทาสภิกขุ” เนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีมรณกาล พ.ศ.2536-2556 ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเดินทางครั้งนี้เพื่อเยือนแผ่นดินถิ่นกำเนิดของ “พุทธทาสภิกขุ” พระสงฆ์ที่ยูเนสโกยกย่องให้ท่านเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ผู้มีแรงบันดาลใจธรรมะจากจุดเล็กๆ คือตัวเอง แล้วแผ่ขยายสู่ผู้คนหลายชาติ หลายศาสนา มีมรดกธรรมที่ฝากไว้มากมาย ผลงานหนังสือธรรมะที่ทุกวันนี้ก็ยังขายดีและเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ อาทิ คู่มือมนุษย์ ตัวกู-ของกู ตามรอยพระอรหันต์ อานาปานสติ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

เนื่องในวันนี้ในครั้งอดีต วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นวันที่พุทธทาสภิกขุ มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ด้วยวัย 87 ปี ทีมงาน toptenthailand ขอรำลึกถึงท่านด้วยหัวข้อ “10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พุทธทาสภิกขุ”

เครดิต : คุณชายสิบหน้า
แหล่งที่มา : Wiki pedia

10. มรณภาพ

ท่านพุทธทาสภิกขุ อาพาธด้วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ท่านเคยอาพาธมาหลายครั้งด้วยโรคต่าง ๆ ตามวัยและสังขารตามธรรมชาติ ในการอาพาธครั้งนี้ ท่านหมดสติ (ไม่รู้สึกตัว) แพทย์บอกว่า ถ้าเป็นในคนหนุ่มสาวคงตายแล้ว เพราะในคนหนุ่มสาว เนื้อสมองจะแน่นเต็มกระโหลกศีรษะ เลือดออกไม่มากนักก็กดเนื้อสมองได้มาก ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว แต่ในคนสูงอายุ เนื้อสมองหดเล็กลง (สมองฝ่อ) จึงมีช่องว่างให้เลือดออกมาแทรกอยู่ได้โดยไม่กดเนื้อสมองมากนัก แต่ท่านก็มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อ่านเพิ่มเติม

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ เรื่องจิตว่าง

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ เรื่องจิตว่าง

วิวาทะคึกฤทธิ์-พุทธทาสภิกขุ

เสียดายว่าทุกวันนี้บรรยากาศวิวาทะอย่างสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเช่นนี้ไม่มีให้เห็นและฟังเท่าไหร่…ไป “สัปดาห์หนังสือ” ได้หนังสือเก่าที่บันทึกการอภิปรายร่วมกันระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชที่หอประชุมคุรุสภา, เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔๓ ปีมาแล้ว) ว่าด้วยวิวาทะของสองปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังคมไทยสมัยนั้น, ก็ให้เห็นความขาดแคลนเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมา (โดยไม่ต้องฟาดฟันกัน, แยกพวกแยกเหล่ากัน) ของปัจจุบันยิ่งนักยิ่งทำให้เห็นว่าสาเหตุแห่งความวิบัติของสังคมไทยวันนี้เป็นเพราะขาดความเคารพในสติปัญญาของกันและกัน, การไม่พยายามทำให้เข้าใจในความคิดที่แปลกแยก, มุ่งแต่จะทำลายกัน, สังคมจึงไร้ปัญญาอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้หนึ่งในประเด็นวิวาทะระหว่างท่านพุทธทาสกับ อ. คึกฤทธิ์วันนั้น คือเรื่อง “จิตว่าง” ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความสนุก, ความรู้และกระตุ้นความคิดวิเคราะห์เรื่องศาสนาพุทธด้วยอย่างยิ่ง
ตอนหนึ่ง, ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .