“คุณไสย” แพ้ สามประโยคสั้นๆ เรื่องเล่าของ “พระพุฒาจารย์โต”

“คุณไสย” แพ้ สามประโยคสั้นๆ เรื่องเล่าของ “พระพุฒาจารย์โต”

อาตมา (สมเด็จโต) ได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนตร์ด้วยตัวอาตมาเอง ในสมัยที่อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา 15 ปี โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูตผีวิญญาณ ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนต์คาถา และเล่นคุณไสยกันอยู่อย่างมากมายในอาณาบริเวณชายแดนแห่งประเทศสยามในตอนนั้น อาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลำพัง ในช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนตร์คาถาอาคมใดเลย นอกจากคำว่า

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ซึ่งมีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอยึดมั่น พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

วัตถุมงคลของสมเด็จโต ( วัดระฆัง ) ที่อธิฐานจิต

วัตถุมงคลของสมเด็จโต ( วัดระฆัง ) ที่อธิฐานจิต

ทุกท่านที่มีวัตถุมงคลของสมเด็จโต ( วัดระฆัง ) ที่อธิฐานจิต นิมนต์ติดตัวไว้เสมอ และการนำวัตถุมงคลไปใช้จะเกิดผลตามปรารถนาหรือไม่ อยู่ที่ตัวผู้ใช้ และความสามารถในการต่อจิตสัมพันธ์กับพลังในวัตถุมงคลนั้นๆ ดังเช่นวัตถุมงคลตามนี้
– เครื่องรางของขลัง
อันดับ 1 สร้อยประคำเหล็กไหล
อันดับ 2 มีดหมอ ที่อธิฐานจิตโดยปู่โต
อันดับ 3 เบี้ยแก้ สายวังที่อธิฐานจิตโดยปู่โต
อันดับ 4 อื่นๆ
-พระกริ่งปวเรศ (พระกริ่งครอบจักรวาล มีพลังพุทธานุภาพเรื่องพุทธพยากรณ์ และป้องกันภัยพิบัติโลก)
อันดับ 1 พระกริ่งปวเรศ สร้างสมัย ร.3 พ.ศ. 2382 ที่อธิฐานจิตโดยปู่โต
อันดับ 2 พระกริ่งปวเรศ ที่อธิฐานจิตโดยปู่โต พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2398
อันดับ 3 พระกริ่งปวเรศ ที่อธิฐานจิตโดยปู่โต พ.ศ. 2399 – พ.ศ. 2414
อันดับ 4 พระกริ่งปวเรศ พ.ศ. 2416 – พ.ศ. 2434 ( ขอมอบโอกาสให้เช่าบูชาเฉพาะ พระกริ่งปวเรศ สร้างวาระ พ.ศ.2434 พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข เนื้อนวโลหะ 1 องค์ ราคาเช่าบูชา 9 ล้านบาท อิงค่านิยมปี 2554 ) อ่านเพิ่มเติม

ตักเตือนตน**สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี

ตักเตือนตน**สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี

การเป็นคน ให้เหมือนคน

ต้องเป็นคน ไม่ถือตน

เมื่อถือตน ย่อมเป็นคน ไม่ถึงตน

การเป็นคน ต้องเป็นคน ไม่หยามคน

เมื่อหยามคน ย่อมถึงการ เป็นพาลชน

อันพาลชน ย่อมพาลคน ทั่วทุกทิศ

เมื่อพาลคน วาระจิต ย่อมเศร้าหมอง

ถือทิฐิ อกุศล

วาระกรรม วิบากขึ้น

ย่อมสนอง คนพาลเอย

———–
คัดลอกจาก หนังสือโอวาท จากดวงพระวิญญาณบริสุทธิ์ สมเด็จโต เล่ม 4

ขอขอบคุณ : http://www.chonburiguide.com/

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโตมีคนบันทึกและแต่งไว้ 2-3 คน แต่มาเขียนเอาสมัยหลังก็มี สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด ไม่ตรงกันสักฉบับ ฉบับที่คนให้การเชื่อถือคือของพระยาทิพย์โกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่ง วันเดือน ปี เกิด พอเข้ากับบันทึกที่หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ซึ่งเคยรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จโตแทบจะทุกวัน เพราะไปช่วยท่านทำพระสมเด็จนั่นเอง บันทึกย่อนี้มีใจความว่า
?พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒?
ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า ?แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อปู่คำได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้?
อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำต่ออีกว่า ?พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก อ่านเพิ่มเติม

โอวาทสมเด็จโต; พิจารณา มหาพิจารณา

โอวาทสมเด็จโต; พิจารณา มหาพิจารณา

การพิจารณา สำคัญมาก สมเด็จโต ท่านสอน เรื่องพิจารณา มหาพิจารณา ว่าสำคัญที่สุด เช่นกันดังนี้

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นพระเถระยอดอัจฉริยะ ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ในคราวที่แสดงธรรมต่อหน้านัก ปราชญ์ชาวต่างประเทศ ซึ่งรอบรู้ศาสนาเป็นอย่างดี ในกาลครั้งหนึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาประสาทให้ทนายมาอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยโลกและธรรมในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในนาม ประเทศสยาม ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ยินคำอาราธนาจึงรับว่า ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ

ทนายกลับไปกราบเรียนสมเด็จเจ้าพระยาประสาทว่า สมเด็จที่วัดรับแสดงในเรื่องให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้

พอถึงวันกำหนด ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปถึงที่ประชุม นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทยออกความก่อนในที่ประชุมปราชญ์ ขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังอยู่ด้วย สมเด็จเจ้าพระยาประสาทจึงอาราธนาสมเด็จที่วัดระฆังฯ ขึ้นบัลลังก์แล้วนิมนต์ให้แสดงทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้
อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน
อ่านเพิ่มเติม

อยู่อย่างไร ในกาลียุค: สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

อยู่อย่างไร ในกาลียุค: สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ในปัจจุบันของเรา โบราณเขาเรียกว่า “เป็นกาลียุค” กาลี เป็นชื่อของพระแม่กาลี ว่ากันว่า พระแม่กาลี ท่านดุร้าย มีแต่ความตาย และทุกข์เวทนา คนโบราณเคยวาดภาพ กาลียุคเอาไว้ เป็นภาพของการฆ่าฟันกันอย่างไร้ความปรานี คนในยุคนั้น ไม่มีคำว่าเมตตา ปรานี ไม่มีคำว่า คุณธรรม หรือศีลธรรม ซึ่งพวกเราก็คงได้เห็นภาพลางๆ ปรากฏขึ้นมาแล้วในยุคของเรา อีกทั้ง ขอให้นำภัยพิบัติในปี 2554 บางคนบอกว่าเป็นแค่ลางบอกเหตุ ยังไม่ใช่ของจริง แต่อย่างไรก็ตาม ครั้งนั้นน่าถือเป็นบทเรียน สิ่งเป็นไปไม่ได้ ก็เป็นไปแล้ว กลับมาทบทวนกันอีกครั้งว่าปี 2554 เรายังเตรียมพร้อมได้มากน้อยแค่ไหน ยังขาดอะไร ยังบกพร่องอะไร คราวหน้าปีหน้า 2555 และปี ต่อ ๆ ไปเราจะเตรียมการณ์อย่างไร และภัยวิบัติยังคงเป็นเรื่องของน้ำ อยู่หรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องของ “น้ำ” ก็ถือเป็นเรื่องของโชค ถือว่าดี น้ำลดยังมีเหลือ ถ้าเป็น “ไฟ” เผาผลาญสิ้นไม่มีชิ้นดี เหลือแต่ซาก ถ้าเป็น “ดิน” แผ่นดินไหว สั่นสะเทือน พินาศย่อยยับ ก็มีตัวอย่างให้เห็น เหลือแต่ซากอีก ไม่มีชิ้นดีอีก นำมาใช้ประโยชน์อีกไม่ได้ กว่าจะฟื้นตัวยาวนาน แต่เสียหายน้อยกว่าไฟ ถ้าเป็นลม ก็มีตัวอย่างให้เห็น พายุ ทอร์นาโด ก็ถล่มทะลาย แต่ยังเหลือซาก ใช้ประโยชน์ไม่ได้อีกเหมือนกัน แต่ไอ้ที่น่ารำคาญมากที่สุด ก็เรื่องการเมือง การขัดแย้งทางการเมือง สร้างความฉิบหายให้กับประเทศไทยมากที่สุด มากกว่าภัยพิบัติทั้งปวง อ่านเพิ่มเติม

สุดอัศจรรย์…16 คําทํานายของพระพุทธเจ้า..

สุดอัศจรรย์…16 คําทํานายของพระพุทธเจ้า..

สุดอัศจรรย์…16 คำทำนายพระพุทธเจ้า ชี้ชะตามนุษย์โลก, สุดอัศจรรย์…16 คำทำนายพระพุทธเจ้า ชี้ชะตามนุษย์โลก

ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ความเจริญทางด้านวัตถุ ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นที่น่าฉงนว่า ทำไมคนในโลกกลับมีความสุขน้อยลง และดูเหมือนว่าปัญหาในการดำรงชีวิต กลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาทางด้านศีลธรรม จริยธรรมอันเป็นความเจริญทางด้านจิตใจ ดูจะเป็นสมการผกผัน กับความเจริญทางด้านวัตถุอย่างน่าเป็นห่วง ทุกวันนี้ หากเราฟังข่าวคราวไม่ว่าในประเทศไทย หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ล้วนแล้วแต่มีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยอันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง

หลายๆ สิ่งเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ก็สามารถนำมาใช้คาดการณ์ล่วงหน้าและรับมือได้ทัน แต่ก็มีไม่น้อย ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังไปไม่ถึง แต่หากจะบอกว่าสภาพการณ์หลายๆ อย่างที่อุบัติขึ้นในสมัยปัจจุบัน เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ได้ทำนายล่วงหน้ามาแล้วกว่า 2500 ปี หลายๆ คนอาจจะยังไม่เชื่อ หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่อง “พุทธทำนาย” อันปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินนิมิตชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงสมัยที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำนายพระสุบิน(ความฝัน) ให้พระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ว่ามีความหมายอย่างไร ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

พระราชประวัติสมเด็จพุฒจารย็โจ พรหมรังษี

พระราชประวัติสมเด็จพุฒจารย็โจ พรหมรังษี

พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชา เป็นสามเณร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่า เกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอด จนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๐๗
อ่านเพิ่มเติม

พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖

พระราชนิพนธ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖

“พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระุพุทธศาสนาเถิด……. ผู้ที่แปลงศาสนา คนดูถูกยิ่งกว่าแปลงประเทศชาติ”

“อันผู้ใดใฝ่ธรรมอยู่เป็นนิจ
และรู้จักข่มจิตไม่ย่อหย่อน
ปฏิบัติพร้อมพรั่งดั่งครูสอน
คงไม่ต้องอนาทรและร้อนใจ

ปราชญ์สรรเสริญว่าธรรมนั้นล้ำเลิศ
สุดประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งน้อยใหญ่
ธรรมคุ้มผู้ประพฤติธรรมไซร้
คงต้องได้ผลงามตามตำรา”

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ได้อันเชิญมานี้ เพื่อแสดงถึงความสำคัญของธรรมะ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งกว่าทรัพย์ทั้งมวล ถ้าผู้ใดนำไปปฏิบัติ และได้ประพฤติตามคำสอนของครูด้วยก็ย่อมจะประสบแต่ความสุขความเจริญ โดยส่วนเดียว
อ่านเพิ่มเติม

บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (สมเด็จโต พรหมรังสี)

บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (สมเด็จโต พรหมรังสี)

การปฎิบัติที่เป็นบุญ และส่งผลทันที ในชาติปัจจุบัน
คัดจาก หนังสืออมตะธรรม สมเด็จโต พรหมรังสี

วันนี้อาตมาจะเทศน์เรื่อง “บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน” คำว่าบุญ แปลแบบไทยๆ ว่าความดี ความสะอาดแห่งจิต เวลาให้ของแก่พระสงฆ์เรียกว่าทำบุญ ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนาเรียกว่าทำบุญ ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันมากมายหลายวิธี แต่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในธรรมะเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 3 ซึ่งประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา เคยมีคนถามอาตมาว่าเกิดมาเป็นคนยากจนไร้ทรัพย์จะทำบุญอย่างไร

อาตมา ก็ตอบเขาไปว่าการทำบุญ ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินเงินทอง ก็สามารถที่จะร่วมทำบุญได้ แถมยังประหยัดอีกด้วยนั่นคือ การรักษาศีลและการเจริญภาวนา ซึ่ง 2 อย่างนี้จะได้อานิสงส์ผลบุญมากกว่าการให้ทานเสียอีกเพียงแต่ญาติโยมมองข้าม กันไป โยมมักจะคิดทำบุญแต่การให้เท่านั้นเพราะว่ามันง่ายดีแต่การรักษาศีลและภาวนา ต้องเสียสละเวลาในการปฏิบัติ จึงรู้สึกว่าทำยากกว่า การทำบุญทุกอย่าง โยมต้องเข้าใจด้วยว่าเพียงแต่เราตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะทำบุญเท่านั้น โยมก็ได้กุศลแล้ว แต่บุญที่ได้รับยังเป็นส่วนน้อย ถ้าอยากได้บุญเต็มที่ต้องทำบุญให้ครบ 3 อย่าง
อ่านเพิ่มเติม

การถวายข้าวพระพุทธ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

การถวายข้าวพระพุทธ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

:: ขอกราบเท้าถามหลวงพ่อว่า ทำไมจึงมีการถวายข้าวพระพุทธ โดยมีผู้อธิบายแตกต่างไปหลายนัย

อันการถวายข้าวพระนั้น แต่เดิมครั้งสมัยพุทธันดร ขณะที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์พุทธอุปฐากแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์กตัญญู มีความเคารพนับถือองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ไม่มีอย่างอื่นใดจะเปรียบได้

เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จักเสด็จไปในที่ใดพระอานนท์พุทธอุปฐากนั้นไซร์ก็ได้ติดตามไปใกล้ชิดพระยุคลบาทมิได้ห่างเหินเลย ครั้นทรงอาพาธด้วยโรคอย่างใด พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ได้พยายามปรนนิบัติรักษาอย่างเต็มความสามารถเสมอ
อ่านเพิ่มเติม

‘ทวีเดช’วันที่’สมเด็จโตแสดงปาฏิหาริย์ขอได้ทุกเรื่อง’

‘ทวีเดช’วันที่’สมเด็จโตแสดงปาฏิหาริย์ขอได้ทุกเรื่อง’

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม

ปริศนาธรรม ท่านั่งสมเด็จฯโต

ปริศนาธรรม ท่านั่งสมเด็จฯโต

สมเด็จฯ แปลคติธรรมในท่านั่ง
จากท่านั่งของสมเด็จฯ ที่กำมือทั้งสองไว้ระหว่างอกนั้น เป็นการสร้างปริศนาให้ท่านที่มีความเคารพและศรัทธาในองค์ท่านได้ขบคิดปริศนาธรรม ทำไมท่านทำท่าเช่นนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปริศนาธรรมนี้มีความหมายอยู่ 2 ประการ สองมือที่กำซ้อนกันอยู่นั้น หมายถึงกรรม 2 อย่าง คือ กรรมดี และกรรมชั่ว การที่ท่านอยกขึ้นไว้ใกล้กับหัวใจนั้น หมายถึงใจเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้น การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา และใจ ต้องใคร่ครวญเสียก่อนว่า ที่จะทำ จะพูด จะคิดนั้น ถูกหรือผิด จะดีหรือจะชั่ว ต้องมีสติ อย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตใจ คิดและใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและสมควร

คติธรรมที่สมเด็จฯ ประทานไว้ในท่าที่นั่งของท่านนี้ จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่สาธุชนผู้นำไปปฏิบัติ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและแก่สังคม

จาก http://www.dhammajak…er/chinna01.php

ขอขอบคุณ : http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=13726

อานิสงส์จากการสวดมนต์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)

อานิสงส์จากการสวดมนต์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)

อาตมา (สมเด็จโต) ได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนตร์ด้วยตัวอาตมาเอง ในสมัยที่อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา 15 ปี โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูตผีวิญญาณ ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนต์คาถา และเล่นคุณไสยกันอยู่อย่างมากมายในอาณาบริเวณชายแดนแห่งประเทศสยามในตอนนั้น
อาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลำพัง ในช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนตร์คาถาอาคมใดเลย
นอกจากคำว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ซึ่งมีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอยึดมั่น พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
อาตมาไปที่แห่งหนตำบลใดก็จะกล่าวเพียงคำนี้ ตลอดเวลาของจิตใจอันเป็นที่พึ่งของอาตมา อาตมาเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านชายแดนแห่งประเทศสยาม ในดงพญาไฟขณะนั้น ในหมู่บ้านมีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียงเล็กน้อย อาตมาจึงได้ปักกลดอยู่ที่ท้ายหมู่บ้าน มีชาวบ้านนำอาหารมาถวายตามกำลังที่เขาจะพอทำได้ เมื่อเห็นมีพระภิกษุมาปักกลดในที่แห่งนั้น อาตมาอาศัยอยู่ที่นั้นเป็นระยะเวลาหลายปี และ ณ ที่แห่งนั้น อาตมาจึงได้พบคุณวิเศษแห่งการสวดมนต์
อ่านเพิ่มเติม

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ … สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ … สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

…ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต )

กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม

คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง

จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
คติธรรมคำสอนของ … “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ( โต พรหมรังสี )

คัดลอกจากหนังสือ เรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน
เล่มของ.. สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี
อ่านเพิ่มเติม

กรรมที่เราไม่เจอเนื้อคู่- สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี

กรรมที่เราไม่เจอเนื้อคู่- สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี

ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดกับใครไว้บ้างรึเปล่า

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดใครไว้บ้างก็ไม่รู้ด้วยคำสัญญา เช่น เราจะรักกันทุกชาติไป โดยหารู้ไม่ว่ากรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ชาติภพใหม่ก็เลยแตกต่างกันไป แต่คำมั่นที่สาบานยังอยู่ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณยังเป็นโสดจนทุกวันนี้ ลองสวดมนต์บทนี้ดูอาจจะดีขึ้นนะ คำขอขมาและอธิษฐานจิต อธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอนก็ได้

( นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ )

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงปู่โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง

คำสอนของหลวงปู่โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ครั้งหนึ่งนั้นหลวงปู่โตได้ปักกลดที่แคว้นๆหนึ่ง เจ้าเมืองแห่งนั้นก็ได้ยินชื่อเสียงของหลวงปู่มาบ้าง จึงนิมนต์หลวงปู่มาเทศนาให้คนในเมืองและเหล่าข้าราชบริพารฟังกัน

เจ้าเมือง – เราได้ยินชื่อเสียงท่านมานานแล้ว เห็นว่าท่านเทศนาได้จับใจยิ่งนักไหนลองเทศนาให้เราได้ฟังทีเถิด (ในใจก็คิดว่าท่านจะเทศนาเรื่องอะไรที่จะทำให้คนในเมืองและเหล่าข้าราชบริพารฟัง ที่จะสะกดคนทั้งเมืองให้ฟังในเทศนาของท่าน)

หลวงปูจึงนั่งสมาธิสักครู่ แล้วกล่าวว่า เราจะเทศนาเรื่องพระอรหันต์ในบ้านให้พวกท่านฟัง
ทั้งเจ้าเมืองและคนในเมืองต่างพากันสงสัยว่า พระอรหันต์ในบ้านมีด้วยหรือ

หลวงปู่ – พระอรหันต์ที่อยู่ไกลแสนไกลและฤาษีที่อยู่ในป่าพวกท่านก็ยังดั้นด้นที่จะไปหาไปกราบไหว้เนื่องจากศรัทธาที่พวกท่านมี แล้วพวกท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าพระอรหันต์นั้นมีจริง
แล้วที่พวกท่านทำบุญไปนั้นท่านจะรู้หรือไม่ว่าได้บุญจริง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านเหล่านั้นหวังสิ่งใดตอบแทนกลับมาหรือไม่ สิ่งที่พวกท่านมีในตอนนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของท่านอีกหรือแล้วเมื่อไหร่ถึงจะพอ อ่านเพิ่มเติม

การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด”(สมเด็จโต พรหมรังสี)

การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด”(สมเด็จโต พรหมรังสี)

การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด

ลูกเอ๋ย…ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง ใจน้อย โกรธง่าย ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จิตใจก็หมดความสุขสดชื่น ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่ เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น แต่จิตใจของท่าน หาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่ เจ้าจงจำไว้ว่า การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริงก็คือ การให้ธรรมะ ด้วยการสอนหลักธรรมง่ายๆให้พ่อแม่ของเจ้า พาท่านไปทำบุ_ทำทาน สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ธรรมะจะอยู่ในจิตใจของพ่อแม่เจ้าทุกภพทุกชาติ ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด เจ้าจงจำไว้นะลูกเอ๋ย…..”ธรรมโอสถ”…..คำสอนของสมเด็จโต ท่านได้บันทึกเอาไว้ด้วยลายมือของงท่าน อันเป็นอมตะวาจา……

คัดลอกจาก หนังสือ อมตะธรรมสมเด็จโต
ฟังเพลงนี้กันนะคะ http://www.youtube.com/watch?v=6I1zCyqugZ0 :) 😉 😀 ;D
อย่าลืมบอกรักผู้หญิงคนสำคัญกันทุกวันนะคะ

ขอขอบคุณ : http://www.meowwarattada.com/board/index.php?topic=471.0;wap2

หนังสือแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต

หนังสือแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต

ทรงพระเจริญ

พระราชดำรัสคุณธรรมสี่ประการ
” การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวไป ถือว่าเป็นกรณียกิจอันสำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาดสามารถ และสุจริตเป็นธรรมแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทั้งประเทศด้วย คือประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวายสร้างสรรค์ประโยชน์ และดำรงอยู่ในคุณธรรมอันสมควรแก่ฐานะของตน คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ

ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น
ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปดังประสงค์ ”
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .