ธรรมะจากการธุดงค์ (ครูบาอริยชาติ)

ธรรมะจากการธุดงค์ (ครูบาอริยชาติ)

“ข้ีเหล้ากินเหล้า กินแล้วขาดสติ
มาด่าเรา แล้วก็กลับบ้านไปนอน เราน่ะมีสติอยู่แท้ๆ ถูกข้ีเหล้าด่า แต่กลับนอนไม่หลับ เอาแต่คิดถึงคําด่า แต่ถ้าไม่คิดอะไรแล้ว มันก็ไม่มีอะไรสักอย่าง”

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ปีแรกในร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัสตร์
หลังจากเพียรขออนุญาตครูบาอาจารย์ที่วัดชัยมงคล (วัดวังมุย) ครั้งแล้ว คร้ังเล่าเพื่อออกจาริกแสวงธรรม ในท่ีสุด ‘สามเณรอริยชาติ’ ก็ได้รับ อนุญาตสมความมุ่งมั่น และไม่นานหลังจากนั้น สามเณรใหม่วัย ๑๗ ปี ก็สะพายย่ามหนึ่งใบ บาตร และกลด ตั้งต้นเดินเท้าออกธุดงค์ในทันท๑ี
___________________________________________________________________________
๑ พระภิกษุทางภาคเหนือซ่ึงได้รับอิทธิพลจากลังกาวงศ์ สามารถออกจาริกไปจากวัดได้โดยไม่ต้องอยู่กับ พระอุปัชฌาย์จนครบ ๕ พรรษา เหมือนข้อจํากัดของพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติ
ส. สุทธิพันธ์ 21

และเรื่องราวต่อไปน้ีคือปกิณกะสารธรรมท่ีอดีต ‘สามเณร อริยชาติ’ หรือนามปัจจุบันคือ‘ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต’ได้เก็บเกี่ยวมาเป็น‘ของฝาก’ สําหรับทุกคน

ทุกข์จากความหิว…เรื่องธรรมดาของสังขาร

จากวัดวังมุย ตําบลประตูป่า อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน สามเณร อริยชาติเลือกที่จะมุ่งตรงสู่จังหวัด พิษณุโลกเพื่อกราบนมัสการพระพุทธชินราชเป็นแห่งแรก จากน้ันก็ตั้งต้นจากพิษณุโลกเข้าสู่จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่านเป็นลําดับต่อไป

หนทางที่สามเณรอริยชาติจาริกไปนั้น เป็นเส้นทางที่แม้แต่ท่าน เองก็ยังไม่รู้ว่าคือท่ีไหน ไม่รู้ว่าหลังคาบ้านเรือนท่ีเห็นอยู่ข้างหน้าลิบๆ นั้นคือหมู่บ้านใด อยู่ในเขตท้องที่ไหน และเมื่อไปถึงแล้วจะพบเจออะไร สิ่งที่สามเณรอริยชาติรู้ในตอนนั้นก็คือ ‘เดินไปตามทางที่เราอยากไป’
และหนึ่งในจุดหมายท่ีว่าน้ีก็คือ ‘อยากจะไหว้พระธาตุ’
อ่านเพิ่มเติม

อารัมภบท ‘ตนบุญ ๒ ยุค’ แห่งวัดแสงแก้วโพธิญาณ (ครูบาอริยชาติ)

อารัมภบท ‘ตนบุญ ๒ ยุค’ แห่งวัดแสงแก้วโพธิญาณ (ครูบาอริยชาติ)

๑๙ ปีท่ีผ่านมา เด็กชายชาวเชียงรายนามว่า ‘สุชาติ อุ่นต๊ะ’
หรือ ‘เด็กชายเก่ง’ ได้ทําให้พระผู้ใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจน บรรดาชาวบ้านต้องตื่นตะลึงแกมปีติมาแล้ว เมื่อพบว่าเด็กชายซ่ึงมีอายุ เพียง ๑๒ ปีผู้น้ี สามารถอ่านและเขียนอักขระล้านนาหรือ ‘ตั๋วเมือง’ ได้ภายในเวลาชั่วข้ามคืน ทําให้ในเวลาต่อมา เด็กชายเก่งได้รับความ ไว้วางใจจากครูบาผู้เรืองวิทยาคุณอย่างครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส แห่งวัดชัยชนะ จังหวัดลําพูน มอบหมายให้ทําหน้าที่ลงอักขระเลขยันต์ใน วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ ของท่าน ซึ่งก็เป็นที่อัศจรรย์ว่าวัตถุมงคล และเครื่องรางท่ีลงอักขระเลขยันต์โดยเด็กชายวัย ๑๒ ปีผู้น้ีเปี่ยมด้วย พุทธคุณอันเข้มขลัง ไม่แพ้วัตถุมงคลที่ผู้เป็นครูบาอาจารย์ของท่านได้ทำขึ้น จนพระอาจารย์ชั้นครูอย่างครูบาจันทร์ติ๊บถึงกับออกปากชื่นชมว่า
“เด็กคนนี้มีวาสนาทางธรรมสูงยิ่งนัก ต่อไปนี้เราขอตั้งชื่อเด็กชายผู้น้ีว่า อริยชาติ อันหมายถึงผู้มีชาติภพอันเป็นอริยะ” ๕ ปีต่อมา ขณะอายุได้ ๑๗ ปี หนุ่มน้อยผู้มีจิตน้อมนํามาทาง พระพุทธศาสนาอย่าง ‘สุชาติ อุ่นตะ๊ ’ หรือ‘เก่ง’ ได้ละทิ้งความสนุกสนาน แห่งชีวิตวัยหนุ่ม เข้าสู่ร่มเงาแห่งกาสาวพัสตร์ โดยมีนามใหม่ที่รู้จักกัน ทั่วไปว่า ‘สามเณรอริยชาติ’
อ่านเพิ่มเติม

นางกวักอ้วน ครูบาเจ้าอริยชาติ

นางกวักอ้วน ครูบาเจ้าอริยชาติ, แม่นางกวัก รุ่น นางกวัก มหาลาภ ,นางรับ, ครูบาเจ้าอริยชาติ, กุมารทองเศรษฐี มั่งมีทรัพย์ ครูบาอริยชาติ

อิทธิฤทธิ์ แม่นางกวัก ครูบาเจ้าอริยชาติ แม่เงินพันกอง แม่ทองพันชั่ง
ขนาดบูชา หน้าตัก 2.5 นิ้ว สไบสีชมพู ราคา 1000.-
หน้าตัก 3.5 นิ้ว กวักมือซ้าย สไบสีส้ม ราคา 1500.-***ปิดรายการ เช่าบูชาแล้วครับ***
นางรับ หน้าตัก 3.5 นิ้ว ราคา 1500.-
กุมารทองเศรษฐี มั่งมีทรัพย์ ครูบาอริยชาติ หน้าตัก 4 นิ้ว ราคา 1500.-

ล่าสุด ครูบาอริยชาติ ได้ปลุกเสก “แม่นางกวัก” รุ่นนางกวักมหาลาภสมบูรณ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ ด้านเมตตามหานิยม การค้าขาย และโชคลาภ ขั้นอุโฆษให้บรรดาศิษยานุศิษย์ไปบูชา ปรากฏว่าเกิดประสบการณ์ปาฏิหาริย์อย่างทั่วหน้า กลายเป็นวัตถุมงคลที่มาแรงในยุคเศรษฐกิจดิ่งเหว เป็นที่ต้องการของญาติโยมอย่างมากในปัจจุบัน.
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังดินแดน ล้านนา นามว่า ครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต แห่งวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย และอิทธิฤทธิ์แห่งวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสก ซึ่งศิษยานุศิษย์ต่างมีประสบการณ์นำมาเล่าสู่กันฟัง

ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต
นักบุญหนุ่มแห่งวัดแสงแก้วโพธิญาณ แดนล้านนา ได้จัดพิธีไหว้ครูประจำปี 2552 ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา มีศิษย์ร่วมพิธีอย่างล้นหลาม เหมือนเช่นทุกปี
ในปีนี้ ครูบา ฯ ปลุกเสก แม่นางกวักมหาโภคทรัพย์ รุ่นแรกให้เป็นของขลังวันไหว้ครู ถือเป็นสุดยอดของด้านเมตตา มหาโภคทรัพย์ และทำมาหากินดีที่สุด
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ

ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ

ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย

วัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย สถานที่ตั้ง วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย มีถนนลาดยางถึง

เริ่มก่อสร้าง วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง อยากจะมีวัดใหม่ที่สะดวกต่อการทำบุญของญาติโยมจึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนาเจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน อ่านเพิ่มเติม

แม่นางกวัก ครูบาอริยชาติ วัตถุมงคล วัดแสงแก้วโพธิญาณ

แม่นางกวัก ครูบาอริยชาติ วัตถุมงคล วัดแสงแก้วโพธิญาณ

แม่นางกวัก ครูบาอริยชาติ วัตถุมงคล วัดแสงแก้วโพธิญาณ อิทธิฤทธิ์ ‘แม่นางกวัก’ ครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย เมตตายอด ค้าขายเยี่ยม โชคลาภเพิ่มพูน

แม่นางกวัก ครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
“เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้ขอนำท่านผู้อ่านพบกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังดินแดน ล้านนา นามว่า ครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต แห่งวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย และอิทธิฤทธิ์แห่ง วัตถุมงคลแม่นางกวัก ครูบาอริยชาติ ที่ท่านปลุกเสก ซึ่งศิษยานุศิษย์ต่างมีประสบการณ์นำมาเล่าสู่กันฟัง

ครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต หรือครูบาเก่ง หรือครูบาน้อย ตามแต่จะเรียกกัน เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ที่บ้านปิงน้อย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนสุดท้องของโยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ ในวัยเยาว์ท่านมีผิวพรรณผุดผ่อง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน เรียนหนังสือเก่งมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีเด่นและมีนิสัยสงบรักสันโดษ ไม่เบียดเบียนสัตว์และมักจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์ เล็กอยู่เสมอจนเพื่อน ๆ ท่านล้อท่านเล่นว่าเป็นตุ๊เจ้าบ้างก็มี ท่านชอบไปวัดฟังธรรม การชอบไปวัดนี่เองทำให้ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยชนะ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้มองเห็นแววของเด็กชายอริยชาติ ว่าเป็นผู้มีบุญบารมีวาสนาดี สมควรสืบสานต่ออายุพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรืองสถาพรในวันข้างหน้า
อ่านเพิ่มเติม

นาคราชจันเสน…แผ่บารมี ดับหมอกควัน…ให้น้ำข้ามแดน ครูบาอริยชาติสวดพระปริต

นาคราชจันเสน…แผ่บารมี ดับหมอกควัน…ให้น้ำข้ามแดน

ครูบาอริยชาติสวดพระปริต

…..ม๋าไหลเซี่ย มาลิ่วเจีย เจาฉายน่าพู่ ต้าฟาฮุย ฮุ้ยจี้พิง อานหว่านเยี้ยน…”

…เป็น ภาษาท้องถิ่นของชาวมะละกาเชื้อสายจีน ชักชวนกันไปร่วมพิธีกรรม “สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา” ซึ่ง Datuk (ดะโต๊ะ) Tan Tian Teo & Mr.Toh Kim Huat & Mr.Low Kim Lan & Mr.Ting Wee Chia 4 พยัคฆ์นักอนุรักษ์ประเพณีกวางตุ้ง จัดขึ้น ณ จัตุรัส JALAN LAKSAMANA เมืองมะละกา มาเลเซีย โดยนิมนต์ ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต เป็นเจ้าพิธีร่วมกับ อาจารย์แห้ว หมอดูเทวดา

O O O

ครูบาอริยชาติ หรือ “ครูบาน้อย” เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายอายุ 32 ปี 12 พรรษา เกิดที่อำเภอสารภี เชียงใหม่ ถือว่าเป็น นักบุญล้านนายุคใหม่ โดยได้รับการศรัทธายกย่องให้เป็น “ครูบา” หมายถึง อาจารย์ผู้มีความเข้มขลัง ตั้งแต่อายุยังน้อย
อ่านเพิ่มเติม

พระมหาอุปคุต ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ

พระมหาอุปคุต ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งแดนล้านนา “ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต” ผู้มุ่งหวังเดินตามทางพระโพธิสัตว์ แห่งวัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นอกจากจะได้รับการถ่ายทอดวิชาการสร้างดาบสรีศรีกัญไชย สืบต่อสายตรงครูบาศรีวิชัยแล้ว

ยังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วของนักปฏิบัติทางในว่า ครูบาอริยชาติ เป็นขวัญหน้าของครูบาศรีวิชัย เพื่อสร้างบารมีให้ใกล้แดนพุทธให้เร็วยิ่งขึ้น เรียกกันว่า “ครูบาใหญ่ อยู่ในกายครูบาเล็ก” ท่านจึงอยู่กรรม เจริญนิโรธสมาบัติ เป็นประจำทุกปี

ครูบาอริยชาติ ประสงค์สร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณ ให้เจริญก้าวหน้า เป็นแดนธรรมอีกแห่งของภาคเหนือ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลชุดหนึ่งเพื่อหาปัจจัย สร้างวัดแสงแก้วฯ มีรายการดังนี้ 1.พระกริ่งมหาอุปคุต ชนะมาร
อ่านเพิ่มเติม

พิธีนิโรธกรรม โดย ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต

พิธีนิโรธกรรม โดย ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต

นิโรธกรรม เป็นการเข้ากรรมของภิกษุในล้านนา ซึ่งเป็นการปฏิบัติขัดเกลากิเลสให้เบาบาง ลงได้เป็นพิธีกรรมแบบผสมผสาน ระหว่างนิโรธกรรมกับธุดงควัตร เป็นนิโรธกรรมสมมติสงฆ์ที่ ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยได้ปฏิบัติมาก่อน และเป็นแบบอย่างใ ห้ แก่พระภิกษุใน ล้านนาได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

พิธีการนิโรธกรรม เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคงจากนั้น ภายใน 3-5-7-9 วัน จะไม่ฉันอาหาร ฉันเพียงแต่น้ำที่อยู่ในบาตรขังตัวเองอยู่ในกุฏิหรือกระท่อมที่จัดสร้างขึ้นกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีประตูปิดเปิด
ความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ
เข้า 3 วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เข้า 5 วันคือพระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโมอริยเมตเตยโย
เข้า 7 วัน คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ
เข้า 9 วัน คือ พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง อันหมายถึงพระนิพพาน เป็นคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายและเป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติที่ พึงเข้าถึงให้ได้การปฏิบัติเข้าออกนิโรธกรรม
ซึ่ง ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ได้ทำการเข้านิโรธกรรมเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556 และออกนิโรธกรรมเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556 เป็นเวลา 9 วัน

http://www.bokboontoday.com/

ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย

ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย

ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ที่บ้านปิงน้อย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนสุดท้องของโยมพ่อสุข โยมแม่จำนงค์ อุ่นต๊ะ

ในวัยเยาว์ท่านมีผิวพรรณผุดผ่องมีสติแญยาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กใน วัยเดียวกัน เรียนหนังสือเก่งมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีเด่นและมีนิสัยสงบรักสันโดษไม่เบียดเบียนสัตว์และมักจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป องค์ใหญ่ องค์เล็กอยู่เสมอจนเพื่อนท่านล้อท่านเล่นว่าเป็นตุ๊เจ้าบ้างก็มี ท่านชอบไปวัดฟังธรรม การชอบไปวัดนี่เองทำให้ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาส วัดชัยชนะ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนได้มองเห็นแววของเด็กชายอริยชาติ ว่าเป็นผู้มีบุญบารมีวาสนาดี สมควรสืบสานต่ออายุพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสถาพร ในวันข้างหน้า ท่านจึงถ่ายทอดวิชาความรู้ต่าง ๆ ให้ โดยเฉพาะอักษรล้านนาและเด็กชายอริยชาติ ท่านก็สามารถเรียน อ่านเขียนได้อย่างรวดเร็วเพียง 1-2 วันเท่านั้นสร้างความดใจยิ่งนัก ครูบาจัทร์ติ๊บซึ่งเป็นผู้สืบทอดวิชาเวทย์มนต์ คาถาอาคม อยู่ยงคงกระพันต่าง ๆ จากครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จึงถ่ายทอดวิชาเวทย์มนต์อาคมต่าง ๆ ให้ เด็กชายอริยชาติ ก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วสามารถ จารอักขระเลขยันต์แทน ครูบาจันทร์ติ๊บได้ ในระยะเวลาต่อมาเมื่อครูบาจันทร์ติ๊บ ชราภาพลงมากการทำตะกรุด วัตถุมงคลต่าง ๆ เด็กชายอริยชาติได้ เป็นผู้ที่ทำเองปรากฏว่าเกิดประสบการณ์ต่าง ๆ ในความแคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นที่อัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง
อ่านเพิ่มเติม

‘ทิพย์ในธรรม’รับปีงูเล็กพระครูบาอริยชาติ

‘ทิพย์ในธรรม’รับปีงูเล็กพระครูบาอริยชาติ
‘ทิพย์ในธรรม’รับปีงูเล็ก พระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ตนบุญแห่งล้านนา : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู
“ครูบาคิดว่าความสวยงามในวัตถุทำให้เกิดกุศลขึ้นในจิตใจ เรามาวัดอย่างน้อยได้เห็นความร่มรื่น ได้เห็นความสงบ ได้เห็นสิ่งสวยงาม ได้เห็นพระพุทธรูป ได้เห็นความเป็นไทย จิตเราจะเกิดความเบิกบาน นี่คือคำว่า บุญ”
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปณิธานในการสร้างวัดของพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยท่านได้สร้างมีรูปหล่อเหมือนพระครูเจ้าศรีวิชัยหน้าตัก ๙ เมตร เนื้อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นตระการตา เป็นที่เคารพสักการะของผู้ที่มาเยือน มีเทพทันใจให้ผู้คนได้เสี่ยงทายขอโชคลาภ มีแม่นางกวักตุ้ยนุ้ยให้ได้บูชาเป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์
ครูบาอริยชาติ ถือวัตรปฏิบัติเช่นเดียวกับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ลูกศิษย์จึงตั้งสมญานามว่า “ครูบาอริยชาติ ตนบุญแห่งล้านนา” โดยในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางไปกราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก
ครูบาอริยชาติ บอกว่า คำถามยอดฮิตที่มาหาครูบา คือ “เมื่อไรจะรวย เมื่อไรจะดี เมื่อไรจะขายที่ได้” เท่าที่มีคนมาหายังไม่เคยเห็นคนรวยเลย เจ้าของโรงงานมีคนงานเป็นพัน ก็มาถามครูบาว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของโรงแรมขนาด ๕๐ ห้อง ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของที่เป็นพันไร่ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” นั่งรถเบนซ์มาก็ถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” ใครต่อใครที่ก้าวเข้ามาในวัด แต่งตัวดีใส่นาฬิกาโรเล็กซ์ ใส่เพชรใส่พลอยเต็มตัวสุดท้ายก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” อ่านเพิ่มเติม

พุทธศาสนิกชนแห่ร่วมทำบุญตักบาตรครูบาอริยชาติหลังออกจากนิโรธกรรม

พุทธศาสนิกชนแห่ร่วมทำบุญตักบาตรครูบาอริยชาติหลังออกจากนิโรธกรรม เชื่อ หากอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะประสบผลทุกประการ.

วันนี้ 12 ม.ค.ที่ชายป่าด้านหลังวัดแสงแก้วโพธิญาณ บ้านป่าตึง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พล.อ.พลางกูล กล้าหาญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.อารยะ งามประมวญ เสนาธิการกองทัพอากาศ นายภาสภณ เหตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดบริษัทสี่พระยาการพิมพ์ จำกัด พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาทั่วสารทิศทุกเพศทุกวัยจำนวนหลายพันคน ได้พากันนำเอาข้าวสารอาหารแห้ง จตุปัจจัยไทยทานมาเข้าแถวยาวกว่า 1 กิโลเมตรเพื่อรอใส่บาตรให้แก่ ครูบาอริชาติ อริยจิตโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ซึ่งได้เข้าพิธีนิโรธกรรม ครั้งที่ 9 และครบกำหนดการออกนิโรธกรรม ในวันนี้ เพราะในความเชื่อของชาวพุทธจะเชื่อกันว่าในยามใดที่มีพระสงฆ์กระทำนิโรธกรรมนั้น จะมีผลบุญอันยิ่งใหญ่ หากอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะประสบผลทุกประการ ซึ่งตลอดทางที่ครูบาอริยชาติ พร้มด้วยพระสงฆ์อีกจำนวนหนึ่ง ออกรับบิณทบาตรนั้นต่างก็มีประชาชนที่มาเฝ้ารอได้เข้าไปทำบุญใส่บาตรกันอย่างล้นหลามพร้อมๆกันนี้ทางครูบาอริยชาติก็ได้ให้พรแก่พุทธศาสนิกชนโดยถ้วนหน้า หลังจากนั้นจึงได้เข้ามายังศาลาภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณ ทำพิธีสืบชะตาหลวง พิธีบวงสรวงเทพเทวดาฟ้าดิน พิธีเททองหล่อพระ พิธีปล่อยชีวิตโค-กระบือ ซึ่งตลอดทั้งวันนี้มีลูกศิษย์ได้ทำโรงทานนำอาหารมาบริการให้กับผู้มาร่วมทำบุญให้ทานฟรีตลอดทั้งวันอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม

เข้านิโรธกรรมฮิต ! (ครูบาอริยชาติ)

เข้านิโรธกรรมฮิต ! (ครูบาอริยชาติ)

ครูบาอริยชาติ ผู้เก่งกาจแห่งล้านนาไทย

อ้อ ! เดี๋ยวนี้ พระ-เณร เมืองเหนือ ไม่ร่ำไม่เรียนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วหรือ นักธรรม-บาลี ไม่มีใครสนใจ บวชได้ไม่กี่วัน ก็เอาผ้าแดงมาห่ม ตั้งตนเองเป็นครูบา เข้ากรรมเป็นว่าเล่น แล้วก็ออกวัตถุมงคลขาย สร้างวัดใหญ่โตโก้หรูแข่งขันกัน ขณะที่ประเทศชาติประชาชนยากจนแทบล่มจม ตกอยู่ในหล่มแห่งความทะเลาะเบาะแว้ง เหลียวไปทางวัดก็เอาแต่สร้างกับสร้าง สร้างวัตถุมงคลห้อยคอ สร้างวัดใหญ่ให้เป็นที่ท่องเที่ยว สร้างสวรรค์วิมานไว้ในอากาศ ตายไปจะได้ไปอาศัย ส่วนปัจจุบันชาตินี้ก็ให้มันยากจนดักดานเข้าไว้ น่าสงสารประเทศไทยเหลือเกิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาพระปริยัติธรรม ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก จึงทรงโปรดพระราชทานพระราชทรัพย์เป็น “ทุนการศึกษาหลวง” เพื่อส่งเสริมพระภิกษุสามเณรให้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยให้เข้าใจ จะได้ไม่หลงไหลในสิ่งที่มิใช่พระพุทธศาสนา
อ่านเพิ่มเติม

กำเนิด “ครูบาน้อย”

กำเนิด “ครูบาน้อย”

ใครเล่าจะคาดคิดว่าในกาลครั้งหน้า เด็กชายผู้นี้จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย

ใครเล่าจะคาดคิดว่าในกาลครั้งหน้า เด็กชายผู้นี้จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย
โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524…

“พี่…เด็กคนนี้เลี้ยงให้ดีนะ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ผมทำคลอดมาหลายคน ยังไม่เคยเห็นเหมือนเด็กคนนี้เลย…”

“คุณหมอสุชาติ” แพทย์ผู้ทำคลอดให้กับ นางจำนง อุ่นต๊ะ บอกกับนางจำนงเมื่อวันที่บุตรชายคนที่สามของนางลืมตาดูโลกเป็นวันแรก แล้วคุณหมอผู้ทำคลอดก็ขออนุญาตตั้งชื่อให้ทารกแรกเกิดผู้นี้ว่า “เก่ง”
ในวันนั้นการได้เห็นลูกน้อยซึ่งตนอุ้มท้องมานานถึง 9 เดือน เป็นความปีติยินดีของนางจำนงยิ่งกว่าสิ่งใด อีกทั้งลักษณะของบุตรชายที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นผู้นี้ ก็ทำให้นางจำนงรู้สึกภูมิใจไม่น้อย ด้วย “เด็กชายเก่ง” ผู้นี้ มีลักษณะอัน “งาม” ยิ่ง กล่าวคือ…ผิวพรรณผุดผ่อง ตาโต ใบหูยาวใหญ่ นิ้วมือนิ้วเท้าเรียวยาว…ซึ่งรูปลักษณ์เช่นนี้ตามคำทำนายของคนเฒ่าคนแก่แต่โบร่ำโบราณว่ากันว่า…นี่คือลักษณะของ “ผู้มีบุญ”
อ่านเพิ่มเติม

ความหวังของแม่ (ครูบาอริยชาติ)

ความหวังของแม่ (ครูบาอริยชาติ)

นางจำนงค์ผู้เป็นมารดาแอบหวังอยู่ลึก ๆ ว่า…ถ้อยคำที่คุณหมอทำนายเอาไว้เมื่อแรกคลอดบุตรชายคนสุดท้องอาจเป็นความจริงขึ้นมาสักวันหนึ่ง และความหวังที่จะเห็นลูกได้เป็นเจ้าคนนายคนก็เรืองรองอยู่ในใจของนางจำนงค์ตลอดมา

นางจำนงค์ผู้เป็นมารดาแอบหวังอยู่ลึก ๆ ว่า…ถ้อยคำที่คุณหมอทำนายเอาไว้เมื่อแรกคลอดบุตรชายคนสุดท้องอาจเป็นความจริงขึ้นมาสักวันหนึ่ง และความหวังที่จะเห็นลูกได้เป็นเจ้าคนนายคนก็เรืองรองอยู่ในใจของนางจำนงค์ตลอดมา

นายสุข และนางจำนงค์ อุ่นต๊ะ ก็เหมือนกับชาวบ้านปิงน้อยส่วนใหญ่ ที่ยึดอาชีพทำไร่ทำสวนสืบทอดจากบรรพบุรุษ และครอบครัวนี้ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกชายสามคน ก็มีฐานะไม่สู้จะดีนัก
อ่านเพิ่มเติม

นักบุญน้อย (ครูบาอริยชาติ)

นักบุญน้อย (ครูบาอริยชาติ)

เด็กชายเก่งจึงเป็นเด็กคนเดียวในหมู่บ้านที่รอบรู้และชำนาญในการ “การวัด” ตั้งแต่ยังเด็ก และสามารถสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี

เด็กชายเก่งจึงเป็นเด็กคนเดียวในหมู่บ้านที่รอบรู้และชำนาญในการ “การวัด” ตั้งแต่ยังเด็ก และสามารถสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี
ครูบาอริยชาติเล่าว่า ชีวิตเมื่อวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่ท่านลำบาก (กาย) ที่สุด เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่สู้ดีนัก ดังนั้น ท่านและพี่ชายจึงต้องทำงานหนักเพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อแม่มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ท่านเล่าว่า

“ครูบาไม่ได้เกิดมาใช้ชีวิตสบาย พ่อแม่มีลูก 3 คน อาชีพหลักคือทำสวน ฐานะทางบ้านเรียกว่าเข้าขั้นยากจน ครูบาช่วยงานแม่ทุกอย่างในวัยเด็ก ทั้งงานบ้าน งานสวน ทำสวนแทบจะทุกวัน ตั้งแต่สวนผัก ผักกาด ผักชี หอม แตงกวา สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปแต่ละปีๆ โรงเรียนเลิกกลับมาบ้านก็ต้องไปรดน้ำผักให้แม่ บางทีกลับบ้านมาก่อนก็ต้องมาทำกับข้าวรอแม่ บางวันต้องตื่นแต่เช้า บางทีตี 2 ไปเก็บผักเพราะคนซื้อเขาต้องการผักจำนวนมาก เช่น สั่ง 500 กิโล จะเอาตอนเช้า ก็ต้องไป บางทีตี 4 เก็บผักจากสวน 7 โมงไปโรงเรียน เสาร์อาทิตย์แทบไม่มีเวลาเล่น คนอื่นเขาดูการ์ตูน ดูหนัง แต่ครูบาไม่ได้เล่นนะ เสาร์อาทิตย์ก็ต้องช่วยแม่ทำงาน เก็บพริก เก็บมะเขือ ช่วยแม่ทุกอย่าง”
อ่านเพิ่มเติม

หัวอกแม่…หัวใจลูก (ครูบาอริยชาติ)

หัวอกแม่…หัวใจลูก (ครูบาอริยชาติ)

“เอาไว้ให้จบ ม.6 ก่อนแล้วค่อยบวชนะลูก…เดี๋ยวแม่จะซื้อมอเตอร์ไซค์” “ผมไม่เอารถ…ผมจะบวช” ไม่ว่าจะเกลี้ยกล่อมอย่างไร ลูกชายก็ยังไม่เปลี่ยนความคิด สุดท้ายนางจำนงค์ก็ได้แต่ตัดพ้อต่อว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่ง คงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว”

“เอาไว้ให้จบ ม.6 ก่อนแล้วค่อยบวชนะลูก…เดี๋ยวแม่จะซื้อมอเตอร์ไซค์” “ผมไม่เอารถ…ผมจะบวช” ไม่ว่าจะเกลี้ยกล่อมอย่างไร ลูกชายก็ยังไม่เปลี่ยนความคิด สุดท้ายนางจำนงค์ก็ได้แต่ตัดพ้อต่อว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่ง คงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว”
การศึกษาในระบบโรงเรียนของเด็กชายเก่งเป็นไปอย่างราบรื่นสมใจนายสุขและนางจำนงค์ผู้เป็นพ่อแม่ ในขณะเดียวกัน การศึกษาภายในวัดก็เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุดหน้า เป็นที่ถูกใจครูบาจันทร์ติ๊บผู้เป็นอาจารย์เช่นเดียวกัน !
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติครูบาอริยชาติ

ประวัติครูบาอริยชาติ

ใต้ร่มโพธิธรรม

ด้วยวัยเพียง 17 ปี ทั้งยังเพิ่งเข้าสู่เพศนักบวชในระดับ “สามเณรใหม่” ทำให้การปลีกวิเวกครั้งแรกในชีวิตของสามเณรอริยชาติมิใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยความมุ่งมั่นแรงกล้า สามเณรหนุ่มจึงมิได้ย่อท้อ…แม้สถานที่พักปักกลดจะเป็นบริเวณข้างถนน ตามป่าเขา หรือแม้แต่ในป่าช้า สามเณรอริยชาติก็สามารถควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่กับสภาวะนั้น ๆ ได้เป็นผลสำเร็จ

ด้วยวัยเพียง 17 ปี ทั้งยังเพิ่งเข้าสู่เพศนักบวชในระดับ “สามเณรใหม่” ทำให้การปลีกวิเวกครั้งแรกในชีวิตของสามเณรอริยชาติมิใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยความมุ่งมั่นแรงกล้า สามเณรหนุ่มจึงมิได้ย่อท้อ…แม้สถานที่พักปักกลดจะเป็นบริเวณข้างถนน ตามป่าเขา หรือแม้แต่ในป่าช้า สามเณรอริยชาติก็สามารถควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่กับสภาวะนั้น ๆ ได้เป็นผลสำเร็จ
ภายหลังจากได้ละเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตสมความปรารถนา สามเณรอริยชาติก็ตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอโดยเคร่งครัดทั้งปริยัติและปฏิบัติ และตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะมุ่งดำเนินแนวทางตามรอยพระบูรพาจารย์ในอดีต และหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างหนักเพื่อให้จิตเกิดสมาธิแก่กล้าจนบรรลุซึ่งความสงบให้ได้
อ่านเพิ่มเติม

ขี่อาชาบิณฑบาต “ครูบาเหนือชัย” นักบุญแห่งขุนเขา

ขี่อาชาบิณฑบาต “ครูบาเหนือชัย” นักบุญแห่งขุนเขา

ทริปเดินทางครั้งนี้เริ่มขึ้นพร้อมหน้าพร้อมตากับก๊วนเพื่อนสนิท พวกเรามุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อไปทำบุญไหว้พระ และสักการะพระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคน ไล่ไปตั้งแต่จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ น่าน จนถึงเชียงราย

จุดที่ดึงให้ทุกคนใจจดจ่อกับการทำบุญตักบาตร คือ สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ที่ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ “วัดพระขี่ม้า” Unseen ของเมืองไทย ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิใจนำเสนอให้รู้จักกันไปทั่วโลก

ที่นั่น พระ เณร ต้องขี่ม้าออกจากถ้ำมาบิณฑบาตในรัศมี 5 กิโลเมตร ตะลอนไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ กินพื้นที่ถึง 50,000 ไร่ ในตำบลศรีค้ำและใกล้เคียง

ข้าวปลาอาหารที่ได้รับมานั้น หากมีเหลือเฟือเกินพอกินอิ่ม พระ เณร จะนำไปแจกให้เด็กชาวเขา ชาวดอยที่ยากจนอย่างทั่วถึง โดยมีม้าเป็นพาหนะนำของไปแจกตามหมู่บ้านต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งมีชาวเขาทั้งเผ่าลาหู่ อาข่า ไทยใหญ่ ลีซู และจีนฮ่ออิสระ ซึ่งแต่เดิมพื้นที่นี้เคยเป็นเส้นทางลำเลียงขนยาเสพติดของขุนส่า
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาเหนือชัย นั่งเข้ากรรมฐานแก้พิษยาสั่ง (นักบุญแห่งขุนเขา)

ครูบาเหนือชัย นั่งเข้ากรรมฐานแก้พิษยาสั่ง (นักบุญแห่งขุนเขา)

ครูบาเหนือชัย โฆสิโต วัดถ้ำอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
ปุจฉาวิสัชชนา ครูบาเหนือชัย… “นักบุญแห่งขุนเขา”

ภาพ “พระเณรขี่ม้าออกบิณฑบาต” นำโดย “ครูบาเหนือชัย โฆสิโต” นอกจากสร้างความประทับใจต่อ พุทธศาสนิกชนไทยแล้ว ยังกระฉ่อนโด่ง ดังไปทั่วโลก เหตุที่พระ เณรและลูกศิษย์ต้องขี่ม้าบิณฑบาต เนื่องจาก สำนักอยู่ห่างไกลจากชุมชน และถนนหนทางยังไม่สะดวก การใช้ม้าจึง มีความสะดวกในการเดินทาง กว่า ๑๐ ปี ของการออกธุดงค์ เผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตาม ชายแดนไทย-พม่า โดยไม่แบ่งชาติพันธุ์ ในที่สุดท่านก็ได้รับการขนาน นามว่า “นักบุญแห่งขุนเขา”
นอกจากจะมีชื่อเสียงในรูปแบบและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว นักบุญแห่งขุนเขายังมีชื่อ เสียงใน เรื่องของเครื่องรางของขลัง ด้านอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยมและเกี่ยวกับการค้าขาย ให้มีความเจริญก้าวหน้า ร่ำรวยอีกด้วย จนเป็นที่กล่าวขวัญของบรรดาชาวบ้านและพุทธศาสนิกชน ทั้งในเมืองไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนจะดีเพียงใดนั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ “คม ชัด ลึก”

“คำว่า “นักบุญแห่งขุนเขา” ใครเป็นผู้ตั้งให้ครับ ?”

“นักบุญแห่งขุนเขา” ฉายานี้ได้มาจากเจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานกันในโครงการ “มิตรมวลชน คนชาย แดน” ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารจากกองกำลังเฉพาะกิจ กรมการทหารราบที่ ๑๗ กองพันที่ ๓ (ฉก.ร.๑๗ พัน ๓) ตั้งให้ เพราะเห็นว่าเราเป็นพระที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่า เผยแผ่ธรรมะอยู่ในป่า”

“การตั้งสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทองมีที่มาที่ไปอย่างไรครับ ?”
“ครูบาเผยแผ่ธรรมะอยู่ในป่า มานั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่หน้าถ้ำป่าอาชาทองแห่งนี้ มีชาวบ้านมา ถวายภัตตาหาร และมาทำบุญบ่อยๆ ก็เลยมีคนบอกว่าน่าจะตั้งเป็นวัดดีกว่า ประกอบกับท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช องค์ปัจจุบัน มีดำริให้ดำเนินโครงการ “บวร” พุทธ ศาสนา อันหมายถึง บ คือ บ้าน ว คือ วัด ร คือ โรงเรียน เป็นการนำหลักธรรมเผยแผ่ให้ครบทั้งสาม สถาบัน” อ่านเพิ่มเติม

สำนักปฎบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง (พระขี่ม้าบิณฑบาตร)

สำนักปฎบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง (พระขี่ม้าบิณฑบาตร)

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : สำนักปฎบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง (พระขี่ม้าบิณฑบาตร)

ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 8 บ้านแม่สลองนอก ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

รายละเอียด : พระครูบา รับบาตรจากญาติโยมผู้มีจิต ศรัทธา และเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธองค์ อาหารที่เหลือจากการบิณฑบาตถูกแจกจ่ายให้ชาวเขาผู้ยากไร้ กว่า 13 ปีแล้ว ที่ ‘พระครูบาเหนือชัย’ พากเพียร ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ชาวเขาเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ตามแนว ตะเข็บ ชายแดน จ.เชียงราย เพื่อเปลี่ยนพวกเขาจากกลุ่มผู้ลักลอบขนยามาเป็นชาวไร่ผู้หวงแหนและร่วม พิทักษ์ ผืนแผ่นดินไทยท่านเดินทางมาจนถึง’ดอยผาม้า’และเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะ สมจึง ยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม พระครูบานั่งสมาธิ พิจารณาขันธ์ 5 ด้วยใจมุ่งมั่นที่จะบรรลุธรรม ครั้งหนึ่งท่านนอน หลับและว่า’หลวงปู่สด’ วัดปากน้ำภาษีเจริญ มาสอนวิชาธรรมกาย ให้ท่านทำใจใสๆ กำหนดองค์พระอยู่ศูนย์กลาง กายท่านไม่มั่นใจว่าฝันนั้นเป็นจริงหรือไม่ จึงอธิษฐานจิตว่าหากหลวงปู่สดมาพบในฝันจริงขอให้มี ญาติโยมนำ ปัจจัยมาถวาย 1,000 บาท พอรุ่งเช้าก็มีนักข่าวของสถานีวิทยุท้องถิ่นนำปัจจัยมาถวายตามคำอธิษฐาน และขอ สมัคร เป็นศิษย์ ท่านจึงให้ญาติโยมดังกล่าวพาท่านไปยังวัดปากน้ำ และนำเงิน 1,000 บาทที่ได้ทำบุญกับทางวัด จึงนำคำสอนของหวงปู่สดมาใช้ในการนั่งสมาธิเรื่อยมาครั้งหนึ่งท่านนั่งสมาธิ บนโขดหินโดยอธิษฐานว่า จะขอนั่ง อยู่ตรงนี้จนกว่าจะบรรลุธรรม แม้ตายก็จะไม่ลุก จากที่นี่ ” ท่านนั่งนิ่งอยู่ 15 วัน จนผึ้งมาเกาะทำรังตามเนื้อตัว ท่านรู้สึกเจ็บจึงพยายามแยกความรู้สึกของกายออกจากจิต แม้กายจะเจ็บ แต่จิตนิ่งใสสว่าง ความเจ็บก็ทุเลาลง ท่านนั่งจนหมดสติไป และในฝันท่านเห็น ‘หลวงปู่เกษม’ซึ่งศึกษาฌานสมาบัติอยู่ ณ สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง มาบอกว่า นี่คือการเข้านิโรธสมาบัติ แยกจิตกับกายและ ให้มั่นเพียรนั่งสมาธิ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญา อันเป็นหน ทางแห่งการบรรลุธรรมเมื่อท่านยังเห็นพระซึ่งเป็นครูบาอาจารย์มากมายมาราย ล้อมและบอกกับท่านว่า “นับแต่นี้ จะมีผู้คนมากมายมา สนับสนุนการเผยแผ่ธรรมมะของท่าน” และก็เป็นจริงเช่นนั้น เพราะหลังจากท่านฟื้นขึ้นก็พบ ว่า มีชาวบ้านเดินทางมากราบไหว้และถวายอาหาร เนื่องจากในช่วงที่พระครูบาเหนือชัยนั่ง หลับตาและมีผึ้งมา เกาะนั้น มีชาวบ้านมาพบเข้าและเกิดจิตศรัทธาจึงไปชักชวนชาวบ้านคนอื่นๆมากราบไหว้ พร้อมทั้งช่วยกันสร้างที่ พักให้ จนกลายเป็น ‘วัดป่าอาชาทอง’ จนถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .