“บุญ บาป สวรรค์ นรก นิพพาน” … หลวงปู่ขาว อนาลโย

“บุญ บาป สวรรค์ นรก นิพพาน” … หลวงปู่ขาว อนาลโย

…………..มีผู้ถามหลวงปู่ขาว อนาลโย ว่า “คนส่วนมากสงสัยเรื่องบุญ บาป นรก สวรรค์ นิพพาน ว่าจะมีจริงดังธรรมท่านสอนไว้หรือไม่ หนอ พระพุทธเจ้าผู้สอนธรรมเหล่านี้ก็เข้าสู่นิพพานไปนานสองพันกว่าปีแล้ว พระวาจาของพระองค์ จะยังศักสิทธิ์อยู่หรือไม่หนอ ดังนี้มีมากในชาวพุทธเราเองนี้แล สงสัยและพูดกันอยู่ทั่วไป” หลวงปู่ขาวตอบว่า

“ ข้อนี้น่าเห็นใจ เมื่อไม่รู้ไม่เห็นประจักษ์กับตัวเองตามที่ท่านบอกไว้ อดสงสัยไม่ได้ เป็นธรรมดาคนมีกิเลสตัวมืดมิดปิดทวาร แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสนใจในเหตุผลอรรถธรรมอยู่แล้ว ก็มีทางจะรู้จะเห็นและเชื่อได้ไม่สุดวิสัย ข้อสำคัญเราเป็นลูกชาวพุทธที่ทรงประกาศสอนธรรมไว้ด้วยความถูกต้อง แม่นยำตามหลักแห่งสวากขาตธรรม ที่ตรัสไว้ชอบแล้วทุกแง่ทุกมุมไม่มีผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงแม้แต่น้อย จึงควรยกศาสดาเป็นหลักใจไว้จะดีกว่ายกความสงสัยไว้ทำลายใจ

ส่วนความเข้าใจว่าบาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพานไม่มี นั้น เป็นเรื่องของกิเลสปิดใจไว้ ไม่ยอมให้สัตว์โลกรู้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่นั้นตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีที่เป็น ไม่ใช่ดินฟ้าอากาศมาปิดเรื่องบาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพาน เหล่านั้น แม้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ตลอดพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่มีพระองค์ใดเคยรู้เคยเห็นมาก่อนที่ธรรมยังไม่เข้าสู่พระทัยและสู่ใจ ต้องปฏิบัติลูบๆคลำๆ กรรมดำกรรมขาวไปก่อน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ขาว อนาลโย

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ขาว อนาลโย

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย นามเดิมของท่านชื่อ ขาว โคระถา เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ ณ บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ บิดาชื่อนายพั่ว มารดาชื่อนางรอด นามสกุล โคระถา หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๗ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๔ คน โดยหลวงปู่เป็นบุตรคนที่๔ สมัยเป็นฆราวาสหลวงปู่มีอาชีพทำนา และค้าขาย ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียร มีนิสัยซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารีต่อญาติมิตรเพื่อนฝูง เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ท่านได้สมรสกับนางมี และได้อยู่กินด้วยกันจนมีบุตรธิดารวม ๓ คน

พบมรสุมชีวิต

หลวงปู่ขาว ได้ใช้ชีวิตครอบครัวอยู่ถึง ๑๑ ปี ท่านก็ต้องมาประสบพบเหตุสะเทือนใจ คือ ภรรยาของท่านไม่ตั้งอยู่ในความสันโดษ กล่าวคือได้คบชู้สู่ชายอื่น ซึ่งหลวงปู่จับได้คาตา ในช่วงเวลานั้นหลวงปู่แทบสะกดใจไว้ไม่อยู่ เงื้อมีดดาบขึ้นหมายสังหารคนทั้งสองให้ตายคามือ แต่ด้วยอำนาจฝ่ายดีได้ยับยั้งท่านไว้ เมื่อฝ่ายชายสารภาพผิดและกราบขอชีวิต เหตุฆาตกรรมจึงไม่เกิดขึ้น เหตุการณ์ในครั้งนั้นถือเป็นจุดหักเหของชีวิต ทำให้หลวงปู่ตัดสินใจสละบ้านเรือน แล้วท่านก็เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่นั้นมา อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดป่าถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำพู จ.อุดรธานี

“ปล่อยจิตว่าง แล้วจิตสบาย เพราะจิตเป็นหนึ่งไม่ขุ่นมัว ไม่มีอารมณ์มาฉาบทาดวงจิตแล้ว ดวงจิตใส ดวงจิตขาว จิตเย็นมีแต่ความสบาย รู้เท่าสังขาร รู้เท่าความเป็นจริง จิตเราไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง ถึงมรณะจะมาถึงก็ตาม ทุกขเวทนา เจ็บปวด มาถึงก็ตาม ไม่มีความหวั่นไหวต่อ สิ่งเหล่านั้น ”

นามเดิม เกิดในสกุล โครัตถา กำเนิด 28 ธ.ค. 2431 สถานที่เกิด ต.หนองแก้ว อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดสิทธิบังคม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในพ.ศ.2462 โดยมีพระครูป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 16 พ.ค. 2526 อายุ 95 ปี 64 พรรษา

ก่อนอุปสมบทหลวงปู่ได้ดำรงชีวิตตามวิสัยฆราวาสทั่วไปโดยมีบุตร 3 คน กระทั่งใน พ.ศ. 2462 ขณะอายุได้ 31 ปี หลวงปู่จึงตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่บวชอยู่นาน 6 ปี จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกาย เมื่อปีพ.ศ. 2468 ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่มีความเด็ดเดี่ยวในข้อวัตรปฏิบัติมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการเดินจงกรม หลวงปู่ได้เน้นเป็นพิเศษ กล่าวคือ เมื่อฉันเสร็จเริ่มเดินจงกรมเป็นพุทธบูชา พอถึงบ่ายสองโมงเริ่ม เดินจงกรมถวายเป็นธรรมบูชา จนถึงบ่าย 4 โมง และเมื่อทำข้อวัตรเสร็จสิ้นแล้วก็จะเริ่มเดินจงกรมถวายป็นสังฆบูชา จนถึงประมาณ 4-5 ทุ่ม จึงเข้าที่พักเพื่อบำเพ็ญภาวนาต่อไป หลวงปู่ได้บำเพ็ญเพียรออกธุดงค์ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอนตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง จนอายุ 70 ปี จึงจำพรรษา เป็นการถาวรที่วัดป่าถ้ำกลองเพล หลวงปู่เป็นภิกษุ ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม สมควรจดจำเป็นแบบอย่างสืบไป

http://www.dhammathai.org/monk/sangha29.php

ปาฏิหาริย์แห่งเหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย

ปาฏิหาริย์แห่งเหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี
นายแพทย์จิมมี่ คงเจริญ เป็นแพทย์เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและโรคไต ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จ.ชลบุรี

คราวหนึ่งคุณหมอได้เหรียญหลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล มาใหม่ ๆ อารามดีใจก็นำมาพกรวมไว้ในซองยา และออกปฏิบัติหน้าที่ไปตามเรื่อง ผมจำไม่ถนัดว่าท่านพกไว้ได้นานกี่วัน เพราะวันเกิดเหตุนั้นเหรียญยังอยู่กับตัว

ความเป็นหมอย่อมต้องมีการอยู่เวร วันที่ไร้คนไข้ยามดึกคืนหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเกาะลอย อ.ศรีราชา คุณหมอเดินไปเดินมาเมื่อเห็นว่าไม่มีคนไข้ด้วยเป็นเวลาตีหนึ่งกว่าแล้ว จึงเดินขึ้นชั้นสองเข้าไปพักในห้องแอร์ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้หมอพักผ่อน

ในห้องนั้นก็เหมือนคอนโดนี่แหละ โซฟาอยู่ใกล้หน้าต่างกระจกบานใหญ่ซึ่งไม่มีช่องระบายอากาศ คุณหมอเปิดทีวีนอนเอกเขนกบนโซฟาดูบอลโลกอย่างสบายใจ รอเสียงกริ่งหากจะมีเหตุฉุกเฉินอะไร อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาวต่อในหลวงและพระราชินี

ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาวต่อในหลวงและพระราชินี

ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาวต่อในหลวงและพระราชินี

เจ้าประคุณท่านพระอาจารย์ขาว อนาลโย หรือที่เป็นที่เคารพสักการะเลื่อมใสกันในนามสั้นๆ ว่า “หลวงปู่ขาว” แห่งวัดถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญญวาสี สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 อุปสมบทแล้วตั้งใจปฏิบัติฝ่ายสมถวิปัสสนาอย่างเดียว จนถึงเวลามรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริชนมายุ 96 พรรษา

ชีวประวัติของท่านระหว่างดำรงชนมายุ ถ้าใช้สำนวนของนักเขียนก็ต้องกล่าวว่า เป็นประวัติที่โลดโผน “มีรส” ที่สุดประวัติหนึ่งในทางโลก…ช่วงจังหวะที่ทำให้ชีวิตของท่านหักเหออกจากเพศฆราวาสออกบวชก็เป็นชีวิตที่ “มีรส” ส่วนในทางธรรม เมื่อท่านออกบวชแล้ว การปฏิบัติธรรมของท่านก็ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว พอใจออกท่องเที่ยวธุดงค์เพลิดเพลินอยู่แต่ในป่าลึก พักปฏิบัติบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ เฉพาะตามถ้ำตามเงื้อมหิน บนเขาสูงอันสงัดเงียบอยู่ตลอดเวลา เหมือนพญาช้างสารที่พอใจละโขลงบริวารออกท่องเที่ยวไปอย่างเดียวดายในไพรพฤกษ์ ทำให้ท่านได้เห็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งประสบพบเห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชีวประวัติของท่าน เป็นชีวิตที่โลดโผน “มีรส” เหลือจะพรรณนา ชวนให้เคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็น “เนติ” แบบอย่างให้บรรดาศิษย์ปรารถนาจะเจริญรอยตามท่านเป็นอย่างดี อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ขาว อนาลโย : พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง

หลวงปู่ขาว อนาลโย : พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง

หลวงปู่ขาว อนาลโย

วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง

พระเดชพระคุณหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพระอริยเจ้าที่ชื่อได้ว่า “เป็นเพชรน้ำหนึ่งแห่งวงศ์พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต” ท่านมี หลวงปุ่หลุย จนฺทสาโร เป็นสหธรรมิกที่เกื้อกูลกันในทางธรรม

ท่านเป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นในเป้าหมาย มีเมตาธรรมเป็นเลิศ สง่างามประดุจช้างสาร ท่านมีอดีตชาติเกี่ยวพันกับสัตว์ป่า มีช้าง เป็นต้น ไม่ว่าท่านจะไปเที่ยงที่ป่าเขาลึกเพียงไหน ช้างหัวหน้าฝูงมักจะเข้ามาหาคารวะท่าน ท่านรู้ภาษาสัตว์ และสัตว์เหล่านั้นก็รู้ภาษาของท่านเป็นอย่างดี

มูลเหตุที่ท่านออกบวชนั้น เกิดจากภรรยาของท่านมีชู้ เมื่อท่านได้พบภาพที่เป็นจริงคาหนังคาเขาตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน ท่านจึงเงื้อดาบสุดแรงเกิดหมายจะฆ่าฟันทั้งชายชู้และภรรยาชั่วให้ตาย แต่เผอิญชายชู้เห็นก่อนและได้ร้องขอชีวิต ด้วยสาวกบารมีญาณมากระตุ้นเตือน ทำให้ท่านเกิดจิตเมตตา จึงได้เรียกชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ พร้อมทั้งประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้าน ชายชู้ยอมรับผิด จึงได้ปรับสินไหมด้วยเงิน พร้อมกับประกาศยกภรรยาให้ชายชู้อย่างเปิดเผย หลังจากนั้นท่านสลดสังเวชใจเป็นกำลัง ใจหมุนไปในทางบวชเพื่อหนีโลกอันแสนโสมม อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ขาว อนาลโย ธุดงค์เผชิญกับสัตว์ต่างๆ

หลวงปู่ขาว อนาลโย ธุดงค์เผชิญกับสัตว์ต่างๆ

หลวงปู่ขาว อนาลโย
ธุดงค์เผชิญสัตว์ต่างๆ

วัดถ้ำกองเพล
ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

ขอกราบอนุญาตและกราบขอบพระคุณ หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านด้วยดวงจิต
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอน้อมถวายแด่หลวงปู่ขาว อนาลโย
และจงเป็นบุญเป็นปัจจัยแด่ท่านผู้ที่ได้รวบรวมเรียบเรียงไว้คือ
ท่านรศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์ รวมทั้ง ท่านเจ้าของภาพทุกท่าน
ตลอดจนท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ทุกๆ ท่าน

…..poivang…..

พระคุณเจ้าหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งสำนักวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู ได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำเอก และเป็นศิษย์ต้นแห่งวงพระกรรมฐานสายพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต

ท่านเป็นพระธุดงค์กรรมฐานที่มีจิตใจแข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น มีเมตตาธรรมเป็นเลิศ มีปัญญาธรรมที่เฉียบคม และเป็นพระอริยะเจ้าที่ทรงคุณธรรมอันบริสุทธิ์ดุจดังเพชรเม็ดงามประดับไว้ในพระพุทธศาสนา ที่หาจุดตำหนิหรือรอยมัวหมองไม่มี นับตั้งแต่ท่านสละเพศฆารวาส ออกบวช ตราบจนวาระสุดท้ายในชีวิต ท่านละสังขารทิ้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เมื่อท่านอายุได้ ๙๖ ปี อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพระภิกษุ คณะธรรมยุติกนิกาย ท่านได้รับความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ชาติภูมิ[แก้]

หลวงปู่ขาว อนาลโย นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) บิดาชื่อ พั่ว โคระถา มารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 ทำอาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย ต่อมาท่านได้สมรสกับนางมี โคระถา เมื่อ พ.ศ. 2452 ขณะอายุได้ 20 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ใช้ชีวิตคู่ได้ 11 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นอกจากหลวงปู่ขาวแล้วยังมีผลผลิตทางธรรมจากบ้านบ่อชะเนงและเป็นญาติกับหลวงปู่ขาว อีก ๒ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดวัดสัมพันธวงศาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร กรุงเทพมหานคร [1]และพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดบ่อชะเนง และเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (รูปปัจจุบัน) [2]
อุปสมบท[แก้]

ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ที่วัดโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือวัดบ่อชะเนง) บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดคณะมหานิกาย มีท่านพระครูพุฒิศักดิ์ฯ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และจำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี 6 พรรษา อ่านเพิ่มเติม

พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

* คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น
เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง
คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย
แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน
การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก
หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไป
เราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้
แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน
เพื่อจะพบธรรมอันเดียวกันนี้
ดังนั้นเมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว
รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย มิฉะนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป
เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม
ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรม – หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

คติธรรม – หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ส่วนธรรมะ ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้ว
อย่างอื่นก็เข้าใจเอง หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต
ให้เข้าใจจิตตัวเองสึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม

ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกลใช้สติระลึกไป แต่ภายในกายนี้
ดูให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระ แก่นสารไม่ได้
เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา
ความหน่ายคลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน

การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง
สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้)
การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ
สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม

การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัด
ยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพาน
ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั ้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยาก
เห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบ
ไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง

ผู้ที่ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลัง หรือนรก
สวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่
ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามมตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมได้เลื่อน
ฐานะของตนโดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ในขณะนี้ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ

คติธรรม – หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=969.0

วิธีปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดูลย์

วิธีปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดูลย์

แนวทางปฏิบัติธรรมของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

1. คำปรารภ
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านอาจารย์มั่นภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึงวันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและได้แผ่บารมีธรรมอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสพผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่านแต่เป็นพระธรรมคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอนให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น
หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา) เช่นเดียวกับที่ท่านอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้นดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก อ่านเพิ่มเติม

การปฏิบัติวิปัสสนา จาก หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

การปฏิบัติวิปัสสนา จาก หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

วิธีเจริญสมาธิภาวนา โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วิธีเจริญสมาธิภาวนาตามแนวการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มีดังต่อไปนี้

๑. เริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก

ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว หรือรู้ ตัว อย่างเดียว

รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ รู้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

จากนั้นค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีกจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป อ่านเพิ่มเติม

สถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

สถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

สถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโลประวัติ-หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันอังคารแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ตรงกับวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2430 เป็นปีที่ 20 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โยมบิดาของท่านชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก หลวงปู่มีพี่น้อง 5 คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ กลิ้ง คนที่สองคือตัวหลวงปู่เอง ชื่อ ดูลย์ คนที่สามเป็นชายชื่อ เคน คนที่สี่และห้าเป็นหญิงชื่อ รัตน์ และ ทอง พี่น้องทั้ง 4 คนของท่านมีชีวิตจนถึงวัยชรา และทุกคนเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปี มีเพียงหลวงปู่เท่านั้นที่ดำรงอายุขัยอยู่จนถึง 96 ปี-อุปสมบท ณ วัดจุมพลสุทธาวาส อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในพ.ศ. 2453 โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อแรกบวช หลวงปู่ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรก ของจังหวัดอุบลราชธานี และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ เนื่องจากวัดสุทัศน์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตินิกาย หลวงปู่จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกายในพ.ศ. 2461 ณ วัดสุทัศน์โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในพรรษาต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสพบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก ต่อมาเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาขอให้หลวงปู่กลับ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อบูรณะวัดบูรพาราม หลวงปู่จึงจำต้องระงับกิจธุดงค์และเริ่มงานบูรณะตามที่ได้รับมอบหมาย หลวงปู่ได้อุทิศชีวิต เพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง จนได้รับการยอมรับจากสาธุชนทั้งหลาย ว่าเป็นอริยสงฆ์ที่หาได้ยากยิ่งองค์หนึ่ง มรณภาพเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2526 อายุ 96 ปี 74 พรรษา

http://www.m-culture.in.th/album/173713/js/

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ก่อนจะดับขันธ์

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ก่อนจะดับขันธ์ ท่านได้แสดงธรรมเป็นครั้งสุดท้ายว่า

“เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสร้าง พระพุทธศาสนาให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังประสงค์แล้ว พระองค์จึงได้ทรงละ วิภวตัณหา นั้นเสด็จเข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ทรงเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหาทรงเป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเส สนิพพานของพระองค์ ลำดับแรกก็เจริญฌาณ ดิ่งสนิทเข้าไปจนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปลึกสุดอยู่เหนืออรูปฌาณ

ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังมิได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเด็ดขาดแต่อย่างใด เพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการเข้าสู่นิพพานหรือนิโรธเป็นครั้งสุด ท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้างได้พากเพัยรก่อเป็นทางเป็นแบบอย่างไว้เป็น ครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากการที่พระองค์ได้ยอมรับกับ ธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา มีจิตหยาบเกินกว่าที่จะสัมผัสว่ามันเป็นทุกข์”

“นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธเป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมา สัมพุทธเจ้าผู้เป็นยอดศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่โลกให้พึงปฏิบัติตาม
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

ประวัติ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม “พระราชวุฒาจารย์” หรือ”พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล”

“… ไฟมันทำตามหน้าที่ของมัน ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น หมายความว่า ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกันนั้น สิ่งเหล่านี้มีประจำโลกอยู่แล้ว ทีนี้ผู้มีธรรมะ เมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้วจะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น…” ธรรมโอวาท “พระราชวุฒาจารย์” หรือ”หลวงปู่ดูลย์ อตุโล” วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล “พระราชวุฒาจารย์” หรือ”พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล”
อัตโนประวัติ หลวงปู่ดูลย์ มีนามเดิมว่า ดูลย์ ดีมาก เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ที่บ้านปราสาท อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแดง และนางเงิน ดีมาก มีพี่น้องรวม 5 คน ท่านเป็นคนที่ 2 ในวัยเด็ก การศึกษาเล่าเรียนของ ด.ช.ดูลย์ อาศัยวัดเป็นสถานศึกษา โดยมีพระในวัดเป็นผู้อบรมสั่งสอน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับการศึกษาในสมัยนั้น วิชาที่เล่าเรียนประกอบไปด้วยการเรียนการสอนทางโลกที่พอให้อ่านออกเขียนได้ และศีลธรรมจรรยามารยาทอันควรประพฤติปฏิบัติ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

หลวงปู่ดูลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเจ้าเมื่ออุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล “ดีมาก” แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนักประจำอยู่ที่วัดสุดทัศนารามจังหวัด อุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่ง ซื่อพร้อม ไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า “เกษมสินธุ์” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” ไปด้วย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกันคือ คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน) คนที่ 3 เป็นชาย ชื่อ แดน คนที่ 4 เป็นหญิง ชื่อ รัตน์ คนที่ 5 เป็นหญิง ชื่อ ทอง พี่น้องของท่านตางพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวัยชรา และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปีทั้งหมด หลวงปู่ดุลย์ ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง 96 ปี ชีวิตของหลวงปู่ดุลย์ เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถูกำหนดให้อยู่ในเกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น เช่วยแบ่งเบาภระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นาแล้วเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าน่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้ว ยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ดุลย์ ก็มิได้หลงไหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้ามท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวชจึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านผู้มีพระคุณที่มีเมตตาชุบเลี้ยงแต่ก็ถูกท่านเหล่านั้นคัดค้านเรื่อยมา โดยเฉพาะฝ่ายบิดามารดาไม่อยากให้บวช เนื่องจากขาดกำลังทางบ้าน ไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ทั้งท่านก็เป็นบุตรชายคนโตด้วย อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและคำสอนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

ประวัติและคำสอนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันอังคารแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ตรงกับวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2430 เป็นปีที่ 20 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โยมบิดาของท่านชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก

อุปสมบท ณ วัดจุมพลสุทธาวาส อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในพ.ศ. 2453 โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อแรกบวช หลวงปู่ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรก ของจังหวัดอุบลราชธานี และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ เนื่องจากวัดสุทัศน์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตินิกาย หลวงปู่จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกายในพ.ศ. 2461 ณ วัดสุทัศน์โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในพรรษาต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสพบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก ต่อมาเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาขอให้หลวงปู่กลับ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อบูรณะวัดบูรพาราม หลวงปู่จึงจำต้องระงับกิจธุดงค์และเริ่มงานบูรณะตามที่ได้รับมอบหมาย หลวงปู่ได้อุทิศชีวิต เพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง จนได้รับการยอมรับจากสาธุชนทั้งหลาย ว่าเป็นอริยสงฆ์ที่หาได้ยากยิ่งองค์หนึ่ง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ธรรมะหลวงปู่ดุลย์ พระเครื่อง

ประวัติ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ธรรมะหลวงปู่ดุลย์ พระเครื่อง

ธรรมะหลวงปู่ดุลย์ ประวัติ หลวงปู่ดูลย์

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ดูลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเจ้าเมื่ออุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล “ดีมาก” แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนักประจำอยู่ที่วัดสุดทัศนารามจังหวัด อุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่ง ซื่อพร้อม ไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า “เกษมสินธุ์” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” ไปด้วย

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกัน คือ

คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง
คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)
คนที่ 3 เป็นชาย ชื่อ แดน
คนที่ 4 เป็นหญิง ชื่อ รัตน์
คนที่ 5 เป็นหญิง ชื่อ ทอง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล นับเป็นศิษย์อาวุโสรุ่นแรกสุดของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาจารย์ใหญ่ฝ่ายอรัญญวาสี ในยุคปัจจุบัน พระเถระที่เป็นสหธรรมิก และมีอายุรุ่นเดียวกับหลวงปู่ดูลย์ ได้แก่ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา และ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู

ด้วยความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของหลวงปู่ดูลย์ ท่านจึงมีศิษย์สำคัญๆ หลายองค์ ศิษย์รุ่นแรกๆ ก็มี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี หลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ และ พระเทพสุธาจารย์ (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

สำหรับศิษย์อาวุโสของหลวงปู่ดูลย์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระวิสุทธิธรรมรังสี (หลวงพ่อเปลี่ยน โอภาโส) วัดป่าโยธาประสิทธิ์ จ.สุรินทร์ พระชินวงศาจารย์ วัดกระดึงทอง จ.บุรีรัมย์ หลวงพ่อสุวัจน์ สุวโจ วัดถ้ำศรีแก้ว จ.สกลนคร และ พระโพธินันทมุนี (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ดูลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเจ้าเมื่ออุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล “ดีมาก” แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนักประจำอยู่ที่วัดสุดทัศนารามจังหวัด อุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่ง ซื่อพร้อม ไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า “เกษมสินธุ์” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” ไปด้วย

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกัน คือ

คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง
คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)
คนที่ 3 เป็นชาย ชื่อ แดน
คนที่ 4 เป็นหญิง ชื่อ รัตน์
คนที่ 5 เป็นหญิง ชื่อ ทอง

พี่น้องของท่านตางพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวัยชรา และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปีทั้งหมด หลวงปู่ดุลย์ ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง 96 ปี
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .