อธิษฐานเรียกน้ำ สร้างบูรณะวัดที่ อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

อธิษฐานเรียกน้ำ สร้างบูรณะวัดที่ อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง

ต่อมาครูบาเจ้าชุ่มท่านได้พิจารณาถึงหลักการปฏิบัติธุดงค์ว่า “เป็นธรรมดาของการธุดงค์ การอยู่ในสถานที่ใดนาน ๆ นั้น จะทำให้พระธุดงค์ติดถิ่นที่อยู่ อันอาจส่งผลให้เกิดการย่อหย่อนในการปฏิบัติธุดงควัตร และส่งผลให้การปฏิบัติธรรมขัดเกลากิเลสไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร” ดังนั้นท่านจึงลาศรัทธาญาติโยมออกธุดงค์ต่อไป ในครั้งนี้มีพระขอติดตามท่านออกธุดงค์ด้วย

สองข้างทางที่ธุดงค์ไป ทั้งผ่านป่าดงดิบ มีต้นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ใบไม้ปกคลุมหนาทึบ แสงแดดแทบไม่มีเล็ดลอดลงมาให้เห็น ทั้งมีลำต้นใหญ่โต ขนาดหลายคนโอบ บางครั้งก็ผ่านป่าโปร่ง มีต้นไม้ขึ้นแซมไม่ทึบนัก สลับกับทุ่งหญ้าบ้างในบางครั้ง ป่าทางภาคเหนือสมัยครูบาชุ่มเดินธุดงค์นั้น บางแห่งแทบจะไม่เคยมีพระธุดงค์รูปใดย่างกรายเข้ามาเลย สัตว์ป่าต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างชุกชุม โดยเฉพาะ เก้ง กวาง กระจง รวมไปถึง นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า รวมถึงสัตว์ประเภทอื่นๆ ล้วนมีอยู่อย่างดาษดื่น ซึ่งการเดินธุดงค์ในป่าดงพงไพรที่สัปปายะเช่นนี้ จิตของครูบาชุ่มรู้สึกแช่มชื่น และสุขใจเป็นอันมาก ท่านได้เดินธุดงค์ พร้อมเจริญพรหมวิหารสี่ พร้อมคำภาวนา “พุทโธ” ไปตลอดการเดินทาง อ่านเพิ่มเติม

แรงบุญหนุนนำจากทุกสารทิศ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

แรงบุญหนุนนำจากทุกสารทิศ

การที่ครูบาเจ้าชุ่มมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลประตูป่าอยู่ด้วย ทำให้ท่านมีภารกิจการปกครองคณะสงฆ์ในความรับผิดชอบ อีกประการหนึ่ง ท่านได้รับการแต่งตั้งจากทางการคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาพระภิกษุ-สามเณรด้วย

ด้วยภาระหน้าที่ที่มีมาก ท่านจึงต้องกลับวัดวังมุย เพื่อตรวจดูความเรียบร้อย และการงานของวัดเป็นระยะๆ การกลับวัดวังมุยครั้งหนึ่งๆ ท่านจะพักอยู่ประมาณเดือนเศษ หลังจากนั้น ท่านก็จะนำภิกษุสามเณรศิษยานุศิษย์ของท่านออกธุดงค์ เพื่อสอนธรรมะภาคปฏิบัติ และบำเพ็ญบารมีต่อไป

ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก นับได้ว่า เป็นพระภิกษุที่มีเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านเสียสละโดยประการต่างๆ เพื่อเกื้อกูลเหล่าชาวบ้านให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แล้วยังบำเพ็ญประโยชน์ให้บังเกิดแก่สาธารณะชนส่วนรวมอย่างแท้จริง เมื่อท่านจาริกไปถึงที่ใด จะปรากฏมีชาวบ้านมากราบสักการะน้อมรับธรรมะ และร่วมบริจาคทรัพย์ ทำบุญกับท่านเป็นจำนวนมาก ด้วยศรัทธาในปฏิปทาของครูบาเจ้าองค์นี้

ทุกครั้งครูบาเจ้าชุ่มก็ได้มอบทรัพย์เหล่านั้นกลับคืน เพื่อสร้างสิ่งอันเป็นสาธารณะประโยชน์ในชุมชน บางแห่งท่านก็เป็นประธานในการสร้างเหล่านั้นด้วยตนเอง ท่านปฏิบัติอยู่เช่นนั้นตลอดมาตั้งแต่ยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม จนล่วงเลยเข้าสู่ความเป็นพระมหาเถระผู้มีอายุ

ช่วงปัจฉิมวัย ครูบาเจ้าชุ่มไดกลับมายังวัดวังมุย และได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่ง เหลือเพียงตำแหน่งเจ้าอาวาส คล้ายเป็นการปลดระวางภารกิจบางประการลงบ้าง ครั้นทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ท่านก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยตั้งใจว่าจะขึ้นไปเหนือสุดของประเทศ โดยเริ่มออกเดินธุดงค์เข้าปักกลดในป่าช้าบ้านแม่ยิ่ง ต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ ท่านได้เห็นซากพระเจดีย์ปรักหักพัง ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พักอยู่ และดำริจะบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์ให้กลับมาดีดังเดิมให้จงได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย

ค่ำคืนหนึ่ง ในบรรยากาศอันวิเวกของป่าช้าวัดหนองบัวคำ ลมพัดเอื่อยๆ เย็นสบาย หลังจากที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ทำกิจวัตรส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้เข้าสู่กลด เพื่อนั่งสวดมนต์ไหว้พระทำจิตเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ รำลึกถึงแก้วสามดวงอันประเสริฐเป็นสรณะ และจากนั้นจึงได้เจริญสมาธิภาวนาตามแนวที่ได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์ ท่านรู้สึกจิตสงบดิ่งดีมาก ขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มกำลังนั่งสมาธิ ฉับพลันนั้น ก็ได้ปรากฏนิมิตเห็นชีปะขาว 5 ตน นำมงกุฎใส่พานมาถวายท่าน ในนิมิตท่านก็ได้ให้ศีลให้พร และแผ่เมตตาให้ หลังจากนั้น ชีปะขาวทั้ง 5 ตน ก็ได้กราบลาจากไป เมื่อครูบาเจ้าชุ่ม ถอนจิตออกจากสมาธิ รู้สึกจิตชุ่มชื่นดี สังเกตว่าเป็นเวลาตี 4 พอดี

ท่านครุ่นคิดถึงนิมิตเมื่อคืน รู้สึกว่าจะเป็นนิมิตที่มีความหมายดี ในคืนต่อมา ครูบาเจ้าชุ่มก็ได้เข้าสมาธิเจริญพระกรรมฐานอีกตามปกติ ก็เห็นนิมิตเช่นเดียวกับคืนก่อน โดยมีชีปะขาวนำมงกุฎใส่พานมาถวายท่านอีก แต่คราวนี้มาเพียง 4 ตนเท่านั้น ครูบาเจ้าชุ่มท่านก็ได้ให้ศีลให้พรไปเช่นเดิม และถอนจิตออกจากสมาธิ เป็นเวลาตี 4 เช่นคืนก่อน

อ่านเพิ่มเติม

บูรณะพระบรมธาตุดอยเกิ้ง (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

บูรณะพระบรมธาตุดอยเกิ้ง รับสัมผัสปาฏิหาริย์ขององค์พระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุดอยเกิ้ง

ต่อมาครูบาเจ้าชุ่มได้เดินธุดงค์จาก ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ตัดป่าเขาลำเนาไพรขึ้นไปทางทิศตะวันตก มุ่งหน้าสู่ อ.ฮอด ล่วงจนถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือของไทย พระบรมธาตุดอยเกิ้งนั้น มีความเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ เป็นเจดีย์ขนาดพอๆ กับพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ในขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ธุดงค์ไปพบนั้น พระบรมธาตุมีสภาพแตกร้าวและชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก ท่านรู้สึกสลดใจที่ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ ขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ท่านก็ได้น้อมนำคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาพิจารณา คือกฎไตรลักษณ์ ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุสิ่งของใดในโลก ต่างก็หลีกไม่พ้นกฎ 3 ข้อนี้ อันได้แก่ “อนิจจัง” ความไม่เที่ยง “ทุกขัง” เมื่อทรงตัวอยู่ก็เป็นทุกข์ และ “อนัตตา” มีความเสื่อมสลายส้นไปเป็นธรรมดา

ครูบาเจ้าชุ่มตั้งใจว่า จะพักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และคิดหาวิธีการที่บูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อธำรงรักษาพุทธสถานแห่งนี้ไว้ให้เป็นที่สักการบูชาสืบต่อไป

เมื่อท่านได้สำรวจรอบบริเวณองค์พระบรมธาตุ คำนวณวางแผนการบูรณะได้อย่างละเอียดแน่ชัดแล้ว จึงได้ไปพบนายอำเภอ แจ้งความประสงค์ว่า ท่านปรารถนาจะบูรณะองค์พระบรมธาตุ และจะสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุ นายอำเภอตอบตกลง และยินดีให้ความร่วมมือ

ครั้งนี้ ครูบาชุ่มได้พำนักอยู่ที่ป่าช้าวัดหนองบัวคำ ขณะที่พำนักอยู่ในป่าช้า ท่านก็ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ตามปกติ คือการทำวัตร สวดมนต์ เจริญพระกรรมฐานเป็นปฏิบัติบูชา เสร็จแล้วจึงแผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง ให้แก่สัตว์โลกที่เวียนว่ายตายเกิดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด

คืนหนึ่งมีชาวบ้านในละแวกนั้น ได้เห็นองค์พระบรมธาตุ สำแดงปาฏิหาริย์ โดยปรากฏรัศมีเรืองรองสว่างไสวไปทั่วบริเวณ ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นต่างปลื้มปีติยินดียิ่งนัก ด้วยว่าไม่เคยพบเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนในชีวิต

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

เทศน์โปรดชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง) (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เทศน์โปรดชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง)

ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปยังอำเภอลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง) ท่านได้อยู่อบรมธรรมเทศนาสั่งสอน โปรดพวกเขาเหล่านั้นจนมีผู้ศรัทธามากมาย ศิษยานุศิษย์ได้ร่วมใจกันปลูกกุฏิให้ครูบาเจ้าชุ่มอยู่ประจำ และจัดจังหัน (ภัตตาหาร) ถวายทุกวันมิได้ขาด ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พวกเขาจึงจัดเวรยามอยู่ปรนนิบัติครูบาชุ่ม ด้วยความเกรงกลัวว่าท่านจะหนีไปที่อื่น บางครั้ง ครูบาเจ้าชุ่มมีกิจธุระ ต้องกลับวัดวังมุย พวกเขาจะพากันมาส่งถึงวัด และรอรับครูบาเจ้าชุ่มกลับไปด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้ว ท่านจึงต้องกลับไปกับพวกเขา เป็นอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง 3 ครา โดยศรัทธาชาวเขาอ้างว่า หากครูบาเจ้าชุ่มไม่กลับไปกับพวกเขา จะพากันเผากุฏิครูบาให้ไหม้หมด เลิกกันเสียที

ครูบาเจ้าชุ่มต้องปลอบใจพวกเขา และต่อมาท่านจึงได้บวชชาวลัวะ และชาวกะเหรี่ยงผู้เป็นลูกศิษย์รวม 2 รูป ให้อยู่กับพวกเขา ในขณะที่ท่านต้องเดินทางไปยังสถานที่แห่งอื่นๆ เหตุการณ์ที่จะเผาที่พักจึงล่วงพ้นไปได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ธุดงควัตร (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ธุดงควัตร

ทางภาคเหนือนั้น มักนิยมเรียกพระภิกษุที่ตนเองเคารพนับถือว่า “ครูบาเจ้า” พระภิกษุชุ่ม โพธิโก ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านทั่วไป และชาวบ้านวังมุย นิยมเรียกท่านด้วยความเคารพอย่างสูงว่า “ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก”

ต่อมา ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ได้เกิดเบื่อหน่ายในการคลุกคลีของหมู่คณะ ท่านปรารภถึงความสงบวิเวก การปฏิบัติภาวนาอันจักเป็นหนทางนำไปสู่การหลุดพ้น และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดในสมณเพศ จึงได้ตัดสินใจที่จะออกธุดงค์จาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตออกเดินธุดงค์ พระอุปัชฌาย์ คือ ครูบาอินตา ก็ได้อนุโมทนา ในความตั้งใจครั้งนี้ จากนั้น ท่านก็ได้เดินทางไปล่ำลาบิตามารดาและญาติโยม เพื่ออกเดินทางสู่ราวป่าอันเงียบสงบ วิเวก เหมาะแก่การเจริญสมณธรรมต่อไป

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย

คราวหนึ่ง ครูบาชุ่มจาริกหลีกเร้นไปแสวงหาที่วิเวกเจริญพระกรรมฐาน และนั่งภาวนาอยู่ที่กระท่อมในบริเวณป่าช้า พอเริ่มมืดลง มีคนเมาสุราคนหนึ่ง เห็นท่านนั่งอยู่ในกระท่อมเพียงผู้เดียวในระยะไกล จึงได้เดินตรงเข้ามาหาด้วยเจตนาที่ไม่ดี ครูบาชุ่มท่านรู้ ท่านจึงหยิบไม้เท้าของครูบาศรีวิชัยขึ้นมาบริกรรมคาถา พร้อมกับขีดเป็นวงรอบตัว เมื่อชายผู้นั้นเดินเข้ามาใกล้กระท่อม ก็ต้องพบกับความแปลกใจ เพราะมองไม่เห็นใครอยู่ในกระท่อมเลย

ลูกศิษย์ทั่วไปต่างเชื่อว่าท่านเป็นพระที่ทรงอภิญญา สามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่ครูบาชุ่มท่านไม่เคยอวดตัว ยังคงทำตนเหมือนพระธรรมดาๆ ทั่วไปรูปหนึ่ง เสมือนช้างเผือกที่หลีกเร้นอยู่ในป่าลึก

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

บุญญาภินิหาร (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

บุญญาภินิหาร

ครูบาชุ่มมีเมตตาธรรมประจำใจ ไม่ค่อยขัดต่อผู้ใดที่มาขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ ถ้าไม่เกินขอบเขตแห่งพระธรรมวินัย โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยด้วยคุณไสยแล้ว เชือกและน้ำมนต์ของท่านขลังยิ่งนัก

มีอยู่ครั้งหนึ่งครูบาชุ่มได้ธุดงค์ไปถึงอำเภอฮอด เข้าพักแรมในป่าช้าบ้านบ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นมีด้วยกันหลายเผ่าหลายภาษา เช่น ลั๊วะ, ยาง (กระเหรี่ยง) ได้เอาเนื้อสด ๆ มาถวายโดยบอกว่า เป็นส่วนของวัดหนึ่งหุ้นที่ล่าสัตว์มาได้ ครูบาชุ่มไม่ยอมรับและบอกว่า หากจะนำมาถวายพระหรือสามเณร ควรจัดทำให้สุกเป็นอาหารมา จึงจะรับได้

และขอบิณฑบาตว่า อย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย พอตกค่ำ ครูบาชุ่มได้ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาจิตให้สรรพสัตว์ทั้งปวง จนใกล้สว่างจึงออกไปบิณฑบาต พวกชาวบ้านมาใส่บาตร แต่ได้ขอร้องครูบาชุ่มไม่ให้สวดมนต์อีกต่อไป โดยกล่าวหาว่าเป็นเพราะท่านสวดมนต์ พวกตนจึงเข้าป่าล่าสัตว์ไม่ได้สัตว์มาหลายวันแล้ว

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

โดนลองของ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

โดนลองของ

ครั้งหนึ่ง ครูบาชุ่มโดน “ลองของ” โดยพระรูปหนึ่งในจังหวัดลำพูนนั่นเอง พระผู้นั้นได้ปล่อยของทางไสยศาสตร์มายังกุฏิของท่าน ขณะนั้นครูบาชุ่มกำลังจำวัดอยู่ และทราบเหตุร้ายด้วยญาณ ท่านจึงลุกขึ้น และได้เรียกบอกพระเณรให้มานั่งอยู่ในกุฏิท่าน พร้องทั้งสั่งให้ทุกรูปสวดมนต์ ของที่ส่งมานั้นปรากฏเป็นตัวแมลงขนาดใหญ่ พวกมันได้แต่บินวนเวียนอยู่ด้านนอกกุฏิ เสียงชนฝาผนังดังปึงปังอยู่ตลอดเวลา และแล้วครูบาชุ่มก็ได้หยิบหมากขึ้นมาเคี้ยวพร้อมทั้งบริกรรมคาถา จากนั้นก็คายชานหมากลงในกระโถน สักพักต่อมา เหล่าแมลงได้บินฝ่าเข้ามาถึงด้านในกุฏิ พุ่งตรงเข้ามาหาท่านทันที

ท่านจึงบริกรรมคาถาจนหมู่แมลงอ่อนกำลังลง จากนั้นได้นำกระโถนที่คายชานหมากไว้มาครอบแมลงเหล่านั้น เมื่อเปิดกระโถนออกดู ปรากฏว่าแมลงได้กลับกลายเป็นตะปูไปจนหมด

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ผลของการปฏิบัติ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ผลของการปฏิบัติ

ครูบาชุ่มท่านเป็นพระผู้ทรงศีลาจารวัตร และมุ่งมั่นในการปฏิบัติอย่างแรงกล้า ครั้งหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่ในพระวิหารที่วัดวังมุย ได้เกิดมีเปลวไฟฉายโชนออกจากร่างกายของท่าน แลดูสว่างไสว มีผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์หลายคน “พ่อหนานปัน” ก็เป็นหนึ่งในนั้น ได้เห็นไฟลุกโพลนขึ้นท่วมร่างของครูบาชุ่ม จากนั้นเปลวไปได้เคลื่อนออกจากกาย ตรงขึ้นไปที่ปล่องด้านข้างของพระวิหาร พอครูบาชุ่มคลายออกจากสมาธิ ลูกศิษย์ที่เป็นห่วงได้รีบเข้าไปถามว่า “ครูบาเจ้าเป็นอะไรไปหรือเปล่า ทำไมไฟลุกขึ้นมา” ท่านได้เมตตาบอกว่า “เป็นเพราะผลของการปฏิบัติ”

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

สายสัมพันธ์ศิษย์ – อาจารย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

สายสัมพันธ์ศิษย์ – อาจารย์

ลูกศิษย์สายตรงของครูบาชุ่ม ในปัจจุบันพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้

1. หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดพรหมวนารามหรืออดีต ครูทองใบ สายพรหมมา เป็นศิษย์ผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญครูบาเจ้าชุ่มรุ่นแรกปี พ.ศ. 2517

2. พระอาจารย์หมื่น ญาณเมธี วัดพรหมวนาราม นอกจากเป็นศิษย์แล้วท่านยังเป็นหลานแท้ ๆ ของครูบาเจ้าชุ่ม คือ ตุ๊ลุงหมื่น เป็นบุตรของแม่อุ้ยแก้ว พี่สาวร่วมอุทรของครูบาเจ้าชุ่ม ตุ๊หมื่นได้เก็บรักษาเครื่องระลึกถึงครูบาเจ้าชุ่มไว้หลายอย่าง เช่นภาพถ่ายเก่าๆ, ดาบ, เล็บ และอัฐิ

3. พ่อหนานปัน จินา เป็นศิษย์ที่มีความสนใจในด้านวิชาอาคมขลังและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ในเรื่องตะกรุด ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูบาเจ้าชุ่มมาพอสมควร ปัจจุบันท่านเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน

4. พ่ออุ้ยตุ่น หน่อใจ เป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่สองอย่าง คือปลงเกศาให้ครูบาเจ้าชุ่ม และช่วยสร้างพระผงให้ท่าน

อ่านเพิ่มเติม

พระเดชลือชา (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พระเดชลือชา

ช่วงเย็น 18.00 น. พระเณรที่วัดวังมุยจะทำวัตรเย็นพร้อมกัน ต่อจากนั้นนั่งสมาธิอีกประมาณ 30 นาที แล้วจึงแยกย้ายกันไปทำกิจธุระส่วนตัวได้ จนใกล้เวลาจำวัด คือราว 20.10 น. ครูบาชุ่มท่านจะเรียกให้พระเณรทุกองค์มาสวดมนต์ร่วมกันก่อนจำวัดอีกครั้ง โดยท่านจะนั่งอยู่ด้านหน้า นำสวดบท นะโมฯ 3 จบ แล้วท่านจะเงียบ คอยฟังเสียงของพระเณร ว่าตั้งใจสวดมนต์กันหรือไม่ หากพบว่าองค์ไหนเงียบเสียงไป ท่านจะเมตตาตักเตือนให้ อย่างเบา คือโยนดินสอ หรือหนังสือไปสะกิด และก็มีบ้างที่ท่านต้อง “เมตตา” หนักเป็นกรณีพิเศษ คือสะกิดด้วยกระโถนบิน พระเณรที่ย่อหย่อนจากความเพียร อุตสาหะ วิริยะ ต่างหัวปูด หัวโน ไปตามกัน

แม้แต่ชาวบ้านที่พ้นวัยเด็กมานาน หากมาส่งเสียงดังในบริเวณวัด อย่างเบา ครูบาชุ่มท่านจะแค่ตวาด และอย่างหนักหน่อยอาจจะโดนท่านยิงด้วยหนังสติ้ก แล้วท่านก็ยิงได้แม่นยำอย่างยิ่ง โดยเล็งที่ขาหรือหลัง พอให้รู้ตัว

อ่านเพิ่มเติม

เสาะหาครูบาอาจารย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เสาะหาครูบาอาจารย์

ตั้งแต่ช่วงแรกที่บวชเป็นพระภิกษุ พระภิกษุชุ่มก็ได้พากเพียรฝึกกายฝึกจิตตามแนวทางสายเอกของพระพุทธศาสนา แล้วยังออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เอาเยี่ยงอย่างภูมิธรรมชั้นเลิศจากคณาจารย์หลายท่านคือ

ครูบาอริยะ ที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองหอย อ.หางดง จ.เชียงใหม่

ศึกษาศาสตรสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็น อรรถคาถา บาลีมูล กัจจายน์ จนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาต่าง ๆ ได้

พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

เป็นพระอาจารย์ พระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตอนที่ครูบาชุ่มไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง มีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรงดี ครูบาชุ่มได้อยู่ศึกษาปฏิบัติกับพระครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่ง เป็นเวลา 2 พรรษา

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

พระอริยเจ้าแห่งหริภุญชัย

วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

จากหนังสือ วังมุย แห่งหริภุญชัย

จัดทำโดย สมาชิกฯ อินทราพงษ์

หลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก แห่ง วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

นามเดิมชื่อ ชุ่ม ปลาวิน ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2442 เมื่อวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ปีกุน ณ บ้านวังมุย จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายมูล ปลาวิน มารดาชื่อ นางลุน ปลาวิน มีพี่น้องสืบสายโลหิตเดียวกัน 6 คน เป็นผู้หญิง 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5

บุตรคนหัวปี ชื่อ พี่เอ้ย (หญิง) บุตรคนรองชื่อ พี่เป็ง (หญิง) บุตรคนที่สามชื่อ พี่โต (ชาย) บุตรคนที่สี่ ชื่อพี่แก้ว (หญิง) บุตรคนที่ห้า คือ ครูบาชุ่ม และบุตรคนสุดท้องชื่อ นายเปา (ชาย)

บิดาของท่านเป็นคนบ้านวังมุยโดยกำเนิด ส่วนมารดาเป็นคนบ้านขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ระยะทางระหว่างบ้านวังมุยกับบ้านขุนคงอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร) บุพการีทั้ง 2 ท่าน เป็นคนเชื้อสาย ละ บางคนออกเสียง วะ หรือ ลัวะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

เมื่อเด็กชายชุ่ม ปลาวิน เจริญวัยขึ้นก็พอจะทำงานช่วยเหลือบิดา มารดา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการงานได้บ้าง เช่น ช่วยทำงานในทุ่งนา เท่าที่สามารถจะทำได้ทุกอย่าง เลิกงานก็ทำสวนทำไร่ ถางหญ้าพรวนดิน และงานบ้าน อย่างการปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของบิดา มารดาเท่าที่กำลังความสามารถของตนจะทำได้ อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

รวมคำสอนธรรมปฎิบัติ เล่ม 1 ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรเกินธรรมดา ท่านสอนให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาวางทุกข์เสีย ให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ดา อะไรก็ตามเถอะ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา มันเป็นธรรมดาของโลกทั้งนั้นในเมื่อร่างกาย เรามีอยู่ในโลกเท่านี้เอง หลักสูตร ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไร เบื้องสูงลงมา ท่านสอนตั้งแต่ ปลายผมลงมาถึงฝ่าเท้าเบื้องต่ำขึ้นไป ท่านสอนตั้ง แต่ปลายเท้าถึงปลายผม มีแค่นี้ ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่นว่า คนนั้นชั่วคนนี้ดีแสดงว่า เราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่าง หากว่าเรามันดี หรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ใครเขาจะเลวร้อยแปด พันเก้า ก็เรื่องของเขา ถ้าเราดีแล้ว ก็หาคน เลวไม่ได้ เพราะ เรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจากสัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดา ก็มี มาจากพรหมก็ มีมันจะเสมอกันไม่ได้ ถ้าพวกมาจากอบายภูมิ สอนยากป่วยการสอน คนใดก็ตามที่ประกาศตนเป็นอาจารย์พระพุทธเจ้า รู้ดีเกินพระพุทธเจ้า ที่บอกของพระพุทธเจ้าไม่ดีไม่ทันสมัย เอาอย่างโน้นดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า ผมไม่คบด้วย พวกจัญไรนี่ไม่คบ คบยังไง มันจะไปไหน ไอ้พวกนี้ โน่น อเวจีมหานรก เพราะทำคนทั้งหลายที่มีเจตนาดี ให้มีมิจฉาทิฎฐิ ปฎิบัติผิด ฟังความเห็นผิด กรรมมันมาก ของสงฆ์ที่ตากแดดตากฝนอยู่ ถ้าจะเกิดความเสียหาย ถ้าพระองค์ใดหรือว่าหลายองค์เดินหลีกไป ไม่เก็บของที่ควรจะเก็บ ปรับอาบัติ ทุกเที่ยวที่ผ่าน อาบัติที่ปรับนี่ ไม่ต้องรอพิพากษานะ มันล่อเลย ผ่านไปแบบไม่แยแส ไม่สนใจ เป็นโทษทันที นี่ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ เห็นของอะไรก็โยนทิ้งๆ ไม่ใช่ ท่านรักษากำลังใจของคนอื่น ที่มีศรัทธา ยิ่งกว่ากำลังใจของท่าน เพราะวัตถุทุกอย่างจะพึงมีได้ ก็ต้องอาศัยชาวบ้าน ชาวบ้านกว่าจะได้มาแต่ละชิ้น ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ อ่านเพิ่มเติม

อริยสัจ 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อริยสัจ 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อริยสัจ 4 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
อ่านเพิ่มเติม

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน

คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

สำหรับ การที่จะศึกษาต่อก็ขอทบทวนต้น เป็นการแนะนำตามวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง เพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานจริง ๆ เขาทำกันได้เมื่อเริ่มใหม่ ๆ เขาจะทวนจากของเก่าไปก่อน พยายามทรงอารมณ์ของเดิที่ได้แล้วตามลำดับไปถึงที่สุดที่เราพึงได้แล้วจึงจะ ทำต่อ

ขอเตือนให้ท่านทั้งหลายตามนึกถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอันดับแรกที่เราพึงปฏิบัติในเบื้องต้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า “จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจออก” นี่หมายถึงว่า ทรงสั่งสอนให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ สติ แปลว่า การระลึกนึกได้ ว่าเวลานี้เรามีภาวะเป็นอะไร นึกว่าเราจะทำอะไร สัมปชัญญะ ทราบดีว่ากิจนั้นเราทำแล้วหรือยัง เมื่ออารมณ์จิตคิดว่าเราจะทำอะไร การนั้นที่เราทำมันควรไม่ควร เราจะรู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะจะบอกได้เลยว่า ไอ้นี่เป็นกรรมที่เป็น กุศล หรือเป็นกรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นความดีหรือความชั่ว ทำตนให้ไม่ลืมสติสัมปะชัญยะ นึกไว้ในด้านของความดี ระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์ไม่ให้บกพร่องในด้านความดี พยายามริดรอนความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นกับจิต หรือว่าจริยาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ของจิต ทั้งวาจาและกาย เราจะต้องระมัดระวัง คือ ใช้สติสัมปชัญญะ ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง พวกเราระมัดระวังกันหรือเปล่า

ประการที่สอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำว่า “เราจงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์” ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้บุคคลอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .