ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๓)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๓)

เจโตปริยญาณ

มีอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับอำนาจทิพยจักษุและเจโตปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่น่าพิจารณาว่า น่ามหัศจรรย์เพียงไร….สมัยเมื่อพระอาจารย์มั่นไปพักบำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ท่านเล่าว่า ที่ชายเขาทางขึ้นไปถ้ำสาลิกาที่ท่านพักอยู่นั้น มีสำนักบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่แห่งหนึ่ง มีขรัวตาองค์หนึ่งพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรม คืนวันหนึ่งพระอาจารย์มั่นคิดถึงขรัวตาองค์นี้ว่า ขรัวตากำลังทำอะไรอยู่หนอเวลานี้

แล้วพระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตส่งกระแสจิตลงมาดู ขณะนั้นพอดีเป็นเวลาที่ขรัวตากำลังคิดวุ่นวายไปกับกิจการบ้านเมืองครอบครัวของตนให้ยุ่งไปหมด?

เรื่องที่ขรัวตาคิดเกี่ยวกับอดีตของตัวเอง พอตกดึกพระอาจารย์มั่นก็ส่งกระแสจิตลงมาดูขรัวตาอีกก็พบว่า ขรัวตากำลังคิดห่วงลูกคนนั้นหลานคนนี้อยู่ร่ำไป จวนสว่างท่านส่งกระแสจิตลงมาดูอีก ขรัวตาก็ยังไม่หลับไม่นอนกระสับกระส่ายคิดห่วงหน้าพะวงหลังห่วงลูกห่วงหลานให้วุ่นวายไปหมด
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๒)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๒)

ตาทิพย์

ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ อำนาจมหัศจรรย์ทางจิต ของท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องลี้ลับน่าพิจารณาและน่าสงสัยอยู่มากสำหรับเราท่านปุถุชน ผู้ยังคิดข้องอยู่ในข่ายแห่งความสงสัยไม่เชื่ออะไรที่พิสดารเอาง่าย ๆ ท่านพระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน เล่าว่าสมัยเมื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

พักอยู่วัดบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม สกลนคร บ้านหนองผือนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้งสี่ด้าน มีป่ามีเขามากไปจรดแดนกาฬสินธุ์ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งพระธุดงค์กรรมฐาน ในสมัยบั้นปลายชีวิตของท่านพระอาจารย์มั่น มีอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่งมีความเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์มั่นมาก มาเล่าเรื่องของตัวเองถวายท่านว่า
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

25570310-233718.jpg
ท่านเป็นพระมหาบูรพาจารย์ของพระกรรมฐานสายภาคอีสาน
มีข้อวัตรปฏิปทาเคร่งครัดในธุดงค์วัตร
มีลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติตามและมีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก
หลังจากท่านมรณภาพแล้วอัฐิธาตุส่วนต่าง ๆ
ในร่างกายของท่านได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ
มีลักษณะหลากหลายและงดงามยิ่งนัก

อ่านเพิ่มเติม

รวมคติธรรม คำสอนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

รวมคติธรรม คำสอนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่น่าเคารพสักการะเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่มีเมตตา ปฏิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม ท่านเป็รพระอริยสาวก ที่สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฎิปทา คุณธรรม ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไป ก่อให้เกิดแรงศรัทธาปสาทะ ผู้คนมากมายเดินทางเข้าไปกราบขอศีลขอพร ถึงแม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แล้ว ท่านก็ยังละคำสั่งสอนทางธรรม คติธรรม ไว้ให้เราได้ตระหนัก ให้เราได้พิจรณา ให้เราได้รู้

“บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตน มีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา
ไม่ใช่แก่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง”
การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้าง ต้องทำเอาเอง
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑)

เรื่องราวของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมานานแล้ว แต่ก็ยังมีท่านผู้อ่านอีกเป็นจำนวนมาก? ที่ยังไม่ได้ทราบ เรื่องราวชีวประวัติการปฏิบัติธรรมะขั้นสูงของท่านอย่างแจ่มแจ้งเท่าที่ควร จึงใคร่ขอนำเรื่องราวจริยธรรมของท่านมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อเป็นคติธรรมสำหรับท่านที่ใคร่สนในใจธรรมะ

ยอดอริยะแห่งยุค

เหตุไฉน พระอาจารย์มั่นถึงได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งนักว่า เป็นนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานผู้เยี่ยมยอดในยุคนี้ คุณสมบัติอันประเสริฐเลิศมนุษย์ของท่านก็คือ มีนิสัยพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละ มีความพากเพียรอย่างยอดยิ่งไม่ลดละท้อถอย ตลอดชีวิตการเป็นนักบวชอันยาวนาน 58 พรรษา
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนใช้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มากก็คือ อรัญญิกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรงไม่รบกวน
นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูงอันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอ ยังฯาวมูเซอซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร

ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ…

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ…

“คนเรามันไม่ได้วิเศษเพราะการกินผักกินเนื้อนะ
แต่มันวิเศษด้วยการกินเพราะการพินิจพิจารณาโดยแยบคาย อันผักหญ้าเนื้อนั้นมันไม่ได้รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว เหมือนคนเรา จิตเราดอก

พระธรรมคำสอนแง่หนักเบาต่างหาก ที่เรานำมาพินิจพิจารณา แล้วนำมาสอนตนจะทำให้เราดีขึ้นได้ เรื่องกิน อยู่หลับนอน อะไรๆ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรกับกินเจ ไม่กินเจ กินเนื้อ ไม่กินผัก กินแต่ผักไม่กินเนื้อ อันไหนกินได้ ฉันได้ ท่านก็บัญญัติไว้หมดแล้ว

ถ้าท่านคิดว่าการกินแต่ผักทำให้ท่านเลิศเลอเป็นผู้วิเศษขึ้นมาได้ อันนี้ผมก็สุดปัญญาที่จะสอนท่าน ถ้าการกินแต่ผักอย่างท่านว่า เป็นผู้บริสุทธิ์สิ้นกิเลสจบพรหมจรรย์ได้ มนุษย์ไม่ได้สิ้นกิเลสหรอกวัวควายเป็นต้นนั่นแหละมันจะสิ้นก่อน เพราะมันไม่ได้กินเนื้อ มันกินแต่ผักแต่หญ้า เต็มปากเต็มพุงมันกินแต่ผักแต่หญ้า ทำไมลูกมันถึงเต็มท้องไร่ทุ่งนา
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมพระบูรพาจารย์(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ธรรมพระบูรพาจารย์(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ธรรมพระบูรพาจารย์ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ใช้อบรมลูกศิษย์นั้น ได้มีพระภิกษุสงฆ์ในสมัยนั้นใช้อบรมพระ เณร และอุบาสก อุบาสิกกา มารดาของข้าพเจ้าได้นำกลับมายังที่บ้านในขณะที่ข้าพเจ้าอายุเพียง 7 ขวบ ข้าพเจ้าก็ได้ยึอตำราเล่มนั้นใช้ในการเจริญกรรมฐานมา โดยตลอด ข้าพเจ้าได้ขออนุญาติมาบอกเล่าสู่กันฟังแล้วกันครับ

“การบำรุงรักษาสิ่งใดๆในโลก การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม
จุดที่เป็นเยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี
ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจแล้วคือเห็นธรรม
รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจแล้วคือถึงพระนิพพาน”
อ่านเพิ่มเติม

ได้ฟังธรรมทุกเมื่อ

25570310-221941.jpg

พระครูอาทรธรรทวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน”

หลวงปู่จอม นาคเสโน
อายุ 90 ปี
เกิดเมื่อ7 ตุลาคม 2462
ที่จังหวัดอำนาจเจริญ

หลวงปู่จอม นาคเสโน

พระครูอาทรธรรทวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน”
วัดป่าบ้านดอนดู่ ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
เจ้าของพระคาถาอายุวัฒนะศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระครูอาทรธรรมวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน” เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2462 ในตระกูลชาวนา ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ศรัทธาเลื่อมใสพระปฏิบัติสายพระธรรมยุติ คือ สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างมาก จึงได้อุปสมบทในสายพระธรรมยุติ เมื่ออายุ 37 ปี หลังจากสำเร็จนักธรรมเอกแล้วพิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ การเดินธุดงควัตร เป็นหนทางแห่งความสงบ ความสำเร็จ จึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ ครูบาอาจารย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และตระเวรธุดงค์ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่แหวน สุจิณโน ได้ทราบข่าวว่า พระองค์ไหนมีชื่อเสียงก็เดินทางไปพบเพื่อศึกษาเวทย์วิทยาและได้รับพระคาถาอายุยืน “อายุวัฒนะ” จากหลวงปู่พลเอกหลวงศรี ที่ จังหวัดสกลนคร โดยได้ปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาอย่างเคร่งครัดกระทั่งปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร)

ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร)

……….พระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า
……….พระภิกษุ ที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่งกองทัพธรรม พระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด

………. พระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

………. สำหรับพระเถระผู้มีบทบาท ในการสร้างหลักปักธงชัย พระกรรมฐาน ในแผ่นดินที่ราบสูง แดนอีสานได้แก่
……….ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
……….หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยธรรม “หลวงปูมั่น” อิ่มบุญ อิ่มใจ

ตามรอยธรรม “หลวงปูมั่น” อิ่มบุญ อิ่มใจ

25570310-213224.jpg
หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์แห่งอีสาน

หลายคนมักจะหันหน้าเข้าหาวัด ก็ต่อเมื่อยามที่มีเรื่องทุกข์ร้อนใจ ไปไหว้พระ สงบสติหาความสงบ เพิ่มความสบายใจ แต่เมื่อยามที่มีความสุขกายสบายใจ กลับไม่ชอบเข้าวัดไหว้พระทำบุญสักเท่าไหร่ อันที่จริงแล้วการเข้าวัด ทำบุญ ถือศีลภาวนานั้นเป็นเรื่องที่ดี ที่เราชาวพุทธซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนควรยึดถือปฏิบัติ และช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
อ่านเพิ่มเติม

“ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ปฏิบัติ” : หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ปฏิบัติ” : หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขบถฟันน้ำนม:
ในโอกาสสัปดาห์แห่งพุทธศาสนา เราขอตามรอย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระนักปฏิบัติผู้เป็นปรมาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐานวัดป่า ศิษย์ของท่านล้วนเป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจารโร, หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต, หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, หลวงพ่อชา สุภัทโท ฯลฯ

อุบลราชธานี กำเนิดมหาบูรพาจารย์

บนขวาคือ หอห้าบูรพาจารย์ ในวัดบูรพาราม ล่างซ้าย วัดศรีอุบลรัตนารามที่หลวงปู่มั่นบรรพชาเป็นพระภิกษุ ซึ่งภายในมีพิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนารามที่เก็บโบราณวัตถุน่าสนใจไว้มากมาย ดั่งรูปล่างขวา เมื่อนายมั่น แก่นแก้ว (นามเดิมสมัยเป็นฆราวาสของหลวงปู่มั่น) อายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดศรีบุญเรือง (วัดบ้านคำบง) อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ความที่ท่านมีสติปัญญาดีมาแต่กำเนิดทำให้สามารถจดจำบทสวดมนต์และสูตรต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เอาใจใส่การเรียนดียิ่ง ผ่านไป 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขามาช่วยงานทางบ้าน ทว่าด้วยจิตใจที่ฝักใฝ่พุทธศาสนา และช่วยสร้างหลักปักฐานให้ครอบครัวมั่นคงแล้ว พออายุ 22 ปี ท่านจึงขออนุญาตบิดามารดาลาบวชอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม

ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคน – ธรรมคำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคน – ธรรมคำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคน – ธรรมคำสอนหลวงมั่น ภูริทัตโต

“ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคน ก็พากันปฏิบัติเอา ทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงวุ่นวายหานิมนต์พระมากุสลามาติกา ไม่ใช่เกาถูกที่คัน ต้องรีบแก้เสียบัดนี้ คือเร่งทำความดีแต่บัดนี้ จะได้หายห่วง อะไร ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช้สมบัติอันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามา หากทุจริตก็เป็นไฟเผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ

ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตนจนกลายเป็นสรณะของพวกเรา ท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทองเครื่องหวงแหน เป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะสมัย จึงพากันรักพากันห่วงจนไม่รู้จักเป็น รู้จักตาย สำคัญตนว่าจะไม่ตายและพากันประมาทจนลืมตัว เพลิดเพลินตักตวงเอาแต่สิ่งไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติโดยย่อ…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติโดยย่อ…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ. เมือง จ. สกลนคร

ชาติกาล ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓
ชาติภูมิ บ้านคำบง ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
บรรพชา เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี
มรณภาพ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

คติธรรมคำสอน
ของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติ อัน สวย ๆงามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดเป็นที่ทัดทรงของพระราชา อำมาตย์ อุปราช และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้น มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย อ่านเพิ่มเติม

ประวัติโดยย่อ…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติโดยย่อ…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส อ. เมือง จ. สกลนคร

ชาติกาล ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓
ชาติภูมิ บ้านคำบง ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
บรรพชา เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี
มรณภาพ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

คติธรรมคำสอน
ของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติ อัน สวย ๆงามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดเป็นที่ทัดทรงของพระราชา อำมาตย์ อุปราช และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้น มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต …จากหนังสือมุตโตทัย

ธรรมะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต …จากหนังสือมุตโตทัย

ธรรมะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
(สรุปจากหนังสือ “มุตโตทัย” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ผู้ใดสำรอกอวิชชาได้ ย่อมเข้าสู่แดนอันเกษม มีปรินิพพานเป็นที่สุด
ลูกของอวิชชา คือ สังขาร (การคิดปรุงแต่ง เป็นอาการของจิต)
หลานของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕ (กิเลส – ตัวปิดกั้นจิต มิให้บรรลุถึงความดี)
เหลนของอวิชชา คือ อโยนิโสมนสิการ (การไม่น้อมจิตคิดพิจารณาธรรม โดยแยบคาย)
โหลนของอวิชชา คือ วัฏกิเลส วัฏกรรม วัฏสังสาร

มนุษย์มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

…“รักษาใจ”…

…พอรถไฟถึงกรุงเทพฯ เข้าพักวัดบรมนิวาสตามคำสั่งทางโทรเลขของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ที่บอกไปว่าให้ท่าน (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) ไปพักวัดบรมฯ ก่อนเดินทางไปอุดรฯ ในระยะที่พักอยู่ที่นั้นปรากฏว่ามีคนมาถามปัญหากับท่านมาก มีปัญหาของบางรายที่แปลกกว่าปัญหาทั้งหลายจึงได้นำมาลงมีใจความว่า

ได้ทราบว่า…ท่านรักษาศีลองค์เดียว มิได้รักษาถึง ๒๒๗ องค์เหมือนพระทั้งหลาย ที่รักษากันใช่ไหม

ท่านตอบว่า…ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว

เขาถามว่า…ที่ท่านรักษาเพียงอันเดียวนั้น คือ อะไร

ท่านตอบว่า… คือ “ใจ”
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) [1] หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต”(20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า แก่ประชาชน ทำให้ท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน
ที่มา th.wikipedia.org

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.appbrain.com/

. . . . . . .