ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๙)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๙)

ต้นชาติ

แรกเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ ๆ ในสำนักพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี พระอาจารย์มั่นได้สุบินนิมิตในคืนวันหนึ่งว่า ท่านได้เดินทางเข้าไปในป่าใหญ่ อันรกชัฏเต็มไปด้วยขวากหนาม จนจะหาที่ดั้นด้นไปแทบไม่ได้ แต่ท่านก็พยายามซอกแซกฝ่าไปจนได้ พอพ้นป่าใหญ่ก็พบทุ่งกว้างใหญ่ไพศาล ได้พบต้นชาติล้มจมดินอยู่กลางทุ่ง เปลือกและกระพี้ผุพัง

ต้นชาตินี้ใหญ่โตมาก ท่านได้ปีนขึ้นไปบนขอนไม้ใหญ่นี้แล้วพิจารณาด้วยปัญญา?

พลันธรรมปัญญาก็ผุดขึ้นในใจว่าต้นไม้ใหญ่นี้ล้ม? แล้วเริ่มผุพังแล้ว ไม่มีทางจะงอกเงยขึ้นมาอีกได้ ชื่อต้นชาติก็เปรียบได้กับชาติภพของท่าน ต่อไปนี้ถ้าท่านไม่ลดละความเพียรเสียจักต้องตัดชาติภาพตัวเองให้สิ้นสุดลง ไม่มีการเกิดในสังสารวัฏ หรือกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกอีกต่อไป

อันว่าทุ่งกว้างเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตานี้? เปรียบได้กับความไม่มีสิ้นสุดของวัฏฏจักรของสัตว์โลกทั้งหลายนั่นเอง ขณะที่ท่านใช้อารมณ์วิปัสสนา? อยู่บนขอนชาตินี้ พลันทันใดก็มีม้าขาวตัวหนึ่งสูงใหญ่สง่างามมาจากไหนไม่รู้ เข้ามายืนเทียบขอนชาติ แสดงกิริยาอาการสนิทสนมคุ้นเคยกับท่านอย่างน่ารัก

ท่านจึงก้มลงเอามือลูบหัวมันด้วยความเอ็นดู พลันก็นึกอยากจะขี่มันเล่นจึงก้าวจากขอนชาติขึ้นไปนั่งบนหลังม้า ทันทีที่ท่านนั่งลงบนหลังมันก็พา ท่านห้อตะบึงไปอย่างรวดเร็วประดุจลมพัด ขณะที่ม้าพาวิ่งไปรู้สึกว่าท้องทุ่งกว้างใหญ่ไพศาล เหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด? ม้าวิ่งมาได้พักใหญ่ก็แลเห็นตู้พระไตรปิฎกสีขาว

สวยงามมากตั้งอยู่กลางทุ่งข้างหน้ามีประกายสุกสว่าง? คล้ายติดไฟนีออนไว้ฉะนั้น ม้าได้พาท่านวิ่งเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎกนี้โดยไม่ได้บังคับเลย ท่านได้กระโดดลงจากหลังม้า เดินตรงเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎก ตั้งใจว่าจะเปิดออกดู แต่มิทันได้เปิดพลันก็สะดุ้งตื่นขึ้น? ต่อมาเมื่อท่านมีกำลังจิตสมาธิมั่นคงพอสมควรบ้างแล้วได้ย้อนพิจารณา

สุบินนิมิตนี้อีกด้วยปัญญาอันแหลมคม ก็ได้ความว่า ชีวิตคนเรานี้เปรียบเหมือนบ้านเรือน อันเป็นที่รวมแห่งสรรพทุกข์ ป่ารกชัฏดงใหญ่ย่อมเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ร้าย อันมีภัยนานาชนิด ทำไฉนคนเราถึงจะไปให้พ้นจากที่รวมแห่งทุกข์ และไปให้พ้นจากภัยอันตรายของสัตว์ร้ายทั้งปวงอันหมายถึงกิเลสมาร

การสละเพศฆราวาสออกบวชเท่านั้นเป็นทางเดียวที่จะไปให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ เพราะการบวชประพฤติธรรมก็คือการบวชซักฟอกจิตให้พ้นจากความผิดมลทินโทษทั้งหลาย ม้าขาวสง่างามฝีเท้ากล้าก็คือ? พาหนะอันบริสุทธิ์ของผู้ทรงภูมิธรรม ที่จะขี่ข้ามทุ่งกว้างอันเปรียบได้กับสังสารวัฏ? การได้พบตู้พระไตรปิฏกอันวิจิตรสวยงาม

แต่ไม่ได้เปิดดูเพื่อศึกษาให้แตกฉานสมใจเต็มภูมิที่กระหายใคร่รู้ เป็นนิมิตแสดงว่า กว่าท่านจะบรรลุธรรมขั้นสูงสุด จะต้องฟันอุปสรรคนานานัปการ แสวงหาความรู้ ด้วยตนเองเป็นนักปราชญ์ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยตำรา แต่ก็จะทรงความเป็นปฏิสัมภิทานุศาสน์ มีเชิงฉลาดในเทศนาวิธีอันเป็นบาทวิถีแก่หมู่ชนพอเป็นแนวทางเท่านั้น

ไม่ลึกซึ้งเหมือนภูมิธรรมแห่งจตุปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ (หมายความว่าในสุบินนิมิตนั้น ถ้าท่านได้เปิดตู้พระไตรปิฏกอ่านแล้วจะทรงคุณธรรมพิเศษปฏิสัมภิทาญาณ อันเป็นคุณธรรมพิเศษยอดยิ่งครอบอภิญญา 6 ไว้ทั้งหมด แต่แล้วท่านก็ไม่ได้เปิดตู้พระไตรปิฏกออกศึกษา)

ศพเป็นดวงแก้ว

การเจริญวิปัสสนาระยะแรกที่วัดเลียบนี้ คืนวันหนึ่งท่านได้อุคหนิมิตในสมาธิ นิมิตนั้นเป็นภาพคนตายพุพองน้ำหนองไหลขึ้นอึดเต็มที่ มีแร้งกาและสุนัขมาเยื้อแย่งจิกกิน ลากไส้ออกมาน่าขยะแขยงยิ่งนัก เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสะอิดสะเอียนน่ารังเกียจ ชวนให้เบื่อหน่ายในสังขารและสละสังเวชไม่มีประมาณ

ท่านได้พยายามไม่สนใจภาพซากศพนี้ ใช้กระแสจิตขจัดให้หายไป แต่พอหายไปได้เล็กน้อย ภาพนี้ก็ปรากฏขึ้นในสมาธิอีกครั้งแล้วครั้งเล่าคล้ายจะหลอกหลอนอารมณ์ ท่านจึงเปลี่ยนอุบายวิธีใหม่เพ่งเอานิมิตซากศพนี้ยกขึ้นพิจารณาเจริญวิปัสสนาเต็มที่ บอกตัวเองว่า ดีแล้ว เมื่อซากศพนี้ไม่ยอมหนี มาหลอนอารมณ์อยู่เรื่อยๆ เราจะเอาซากศพเป็นครู

จากนั้นท่านก็เพิ่งพิจารณาซากศพโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ เดินจงกรมก็ยึดเอานิมิตซากศพเป็นเครื่องพิจารณา นั่งภาวนาก็ยึดเอาซากศพมาพิจารณา ไม่ว่าอยู่ในท่าอิริยาบถใดท่านไม่ยอมให้นิมิตภาพซากศพนี้ได้เลือนหายไปเลย แม้แต่เวลาเดินไปบิณฑบาตท่านก็พิจารณาถึงซากศพนี้? ในที่สุดหลังจากเพ่งซากศพนี้

พิจารณาโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ นิมิตซากศพอันน่ารังเกียจขยะแขยงก็แปรเปลี่ยนไปเป็นดวงแก้วสุกใสอยู่ตรงหน้า ท่านก็รู้สึกประทับใจในดวงแก้วนี้มากแทนที่จะกำจัดภาพนี้ ให้หายไปไม่สนใจท่านกลับรู้สึกชอบใจหลงใหลได้เพ่งแก้วดวงนี้ต่อไป ปรากฏว่าหนักๆ เข้าดวงแก้วได้แปรเปลี่ยนสภาพไปต่างๆ นานา อย่างพิสดารพันลึก

เป็นภูเขาบ้าง เป็นปราสาทราชวังบ้าง เป็นวัดวาอารามบ้าง และอะไรต่ออะไรพิลึกกึกกือร้อยแปดพันประการท่านพิจารณาแบบนี้อยู่สามเดือนทางสมาธิภาวนา ยิ่งพิจารณาไปเท่าไรก็เห็นสิ่งมาปรากฏมากมายไม่สิ้นสุด เมื่อออกจากสมาธิภาวนาแล้ว เวลาอารมณ์กระทบกับสิ่งแวดล้อมก็หวั่นไหว มีอารมณ์ดีใจ เสียใจ รักชอบและเกลียดชังไปตามเรื่อง

ทำให้ท่านฉุกใจคิดว่า การภาวนาสมาธิแบบนี้เห็นจะผิดทางแน่แล้ว สมาธิภาวนาย่อมจะยังใจให้สงบระงับมีแต่ความชุ่มชื่น

แต่นี่พอถอนจิตออกจากสมาธิภาวนาแล้วมีแต่? ความหวั่นไหวในอารมณ์ไปต่างๆ นานาตามแบบชาวโลก เราดำเนินผิดทางแน่แล้ว? เมื่อตรึกตรองรอบคอบแล้ว พระอาจารย์มั่นจึงได้เปลี่ยนอุบายเสียใหม่ เจริญวิปัสสนาย้อนจิตเข้ามาในวง แห่งร่างกายพิจารณาอยู่เฉพาะกายไม่ส่งจิตติดตามนิมิตออกไปภายนอกอย่างเตลิดเปิดเปิงหลงใหล

ในภาพนิมิตแปลกๆ อย่างแต่ก่อนการพิจารณากายนี้ พิจารณาตามเบื้องบน เบื้องล่าง ด้านขวางและสถานพลางโดยรอบ ใช้สติกำหนดรักษาโดยการเดินจงกรมไปมา มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งสมาธิภาวนาก็ไม่ยอม ให้จิตหลั่งลงสู่จุดสมาธิดังแต่ก่อน แต่ให้จิตท่องเที่ยวไปตามร่างกายส่วนต่าง ๆ

พินิจพิจารณาตามแนววิปัสสนาอย่างเต็มที่ ท่านได้ใช้อุบายวิธีพิจารณาแบบนี้อยู่หลายวัน เป็นการทดลองดูว่า

จิตจะสงบลงแบบไหนกันอีกแน่

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php/2013-12-10-21-32-04/2012-07-14-08-21-34/1271–m-m-s

. . . . . . .