ที่มาของ พระสมเด็จไกเซอร์

ที่มาของ พระสมเด็จไกเซอร์

เมื่อพูดถึงมรดกพระเครื่องของเมืองไทย ที่ได้สร้างขึ้นมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจากตระกูลพระเครื่องกรุงต่างๆ และจากเอกลักษณ์ของพระเถราคณาจารย์ และ พระเกจิอาจารย์ดังต่างๆ นั้น สังคมไทยทั่วไป รวมทั้งผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่อง ได้ยอมรับนับถือในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระสมเด็จ เมื่อนำไปใช้ได้ผลเป็นที่ประจักสืบทอดต่อเนื่องกันมานับเป็นเวลาอันยาวนานถึงตราบเท่าทุกวันนี้อย่างไม่เสื่อมคลาย จึงเห็นสมควรอย่างยิ่ง ที่จะธำรงส่งเสริมเพื่อป้องกันการสับสนกับนักสะสมรุ่นหลานเหลนในอนาคตกาลสืบไป
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 100 ปี แห่งการมรณภาพเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ปี 2515

ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 100 ปี แห่งการมรณภาพเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ปี 2515

ปีพุทธศักราช 2515 ที่จะมาถึงในขณะนั้น อันเป็นปีที่การมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เวียนมาบรรจบครบ 100 ปี ประกอบกับวัดระฆังโฆสิตารามเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ถาวรวัตถุและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากเกินกำลังของทางวัดที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์โดยลำพัง

ม.ล.เนื่องพร สุทัศน์ เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและส่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม จึงได้นำโครงการดังกล่าวเสนอต่อพระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามสมัยนั้น ใช้ชื่อโครงการดังกล่าวว่า โครงการสร้างปูชนียวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรํงสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นรับผิดชอบเป็นประธานกรรมการดำเนินงาน พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นประธานฝายสงฆ์ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส
อ่านเพิ่มเติม

‘หลวงพ่อซวง’ศิษย์’สมเด็จฯโต’วัดระฆัง

‘หลวงพ่อซวง’ศิษย์’สมเด็จฯโต’วัดระฆัง

หลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระเถราจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านไสยเวทเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ การสักยันต์ ตำรับยาสมุนไพร วิชาการเล่นแร่แปรธาตุ และด้านอื่นๆ อีกมากมาย

การที่หลวงพ่อซวงมีความเชี่ยวชาญทางด้านไสยเวทในหลายๆ ด้านนั้น เนื่องมาจากท่านได้ศึกษาวิชาไสยเวทมาจากพระเถระผู้เชี่ยวชาญถึง ๓ อาจารย์ด้วยกัน

ท่านแรก คือ พระอาจารย์คำ อดีตเจ้าอาวาสวัดสิงห์ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา

อาจารย์ท่านที่สอง คือ หลวงพ่อแป้น วัดเสาธงใหม่ ต.เสาธง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งหลวงพ่อแป้นเป็นศิษย์ของพระคณาจารย์ชื่อดังหลายท่าน อาทิ พระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม., หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส จ.สมุทรปราการ, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม, หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม และองค์บรมครูพระเทพโลกอุดร พระเถระที่เป็นอมตะอยู่เหนือกาลเวลา
อ่านเพิ่มเติม

สังฆราชสุก ไก่เถื่อน พระอาจารย์ของสมเด็จโต

สังฆราชสุก ไก่เถื่อน พระอาจารย์ของสมเด็จโต

สมัยเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พระอาจารย์โต พรหมรังสี) ท่านบวชเป็นพระภิกษุใหม่ ๆ ยังไม่มีสมณศักดิ์ใดๆ นั้น ท่านเรียนพระปริยัติจนแตกฉานที่วัดมหาธาตุ สนามหลวง โดยมีพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เป็นพระอาจารย์ วิธีการเรียนของท่านก็แปลกกว่าวิธีของพระภิกษุรูปใด ๆ นั่นคือ ท่านจะกำหนดล่วงหน้ามาว่า วันนี้ท่านจะเรียนจากหน้าไหนถึงหน้าไหนในหนังสือ พอมาถึงสำนักเรียน ก็จะเปิดหนังสือออกแล้วแปลไปเรื่อยโดยไม่ติดขัดจนจบหน้าที่กำหนดไว้ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ พอจบท่านก็กราบแล้วกลับวัดระฆัง จนกระทั่งวันหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชสุก ฯ มีรับสั่งว่า “พอแล้ว หยุดเรียนเสียที คุณแตกฉานพอแล้ว” เจ้าอาวาสวัดระฆัง คือสมเด็จพระพุทธโกษาจารย์ (นาค) สงสัยเห็นภิกษุโต ไม่ข้ามไปเรียนที่วัดมหาธาตุอีก ท่านก็ร้อนใจข้ามฝั่งมาเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชสุกฯ เพื่อถามสาเหตุ สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ มีรับสั่งว่า’ “ขรัวโต ลูกศิษย์เธอ เขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันหรอก” นี่แสดงถึงภูมิปัญญาของสมเด็จโตฯ ว่าเลิศเพียงใด และเมื่อไม่ได้ข้ามฝั่งไปเรียนพระปริยัติแล้ว ท่านก็เรียนด้วยตัวเองของท่านเองโดยวิธีพิศดารคือ ตอนสายของทุกวัน หลังจากเสร็จกิจทำวัตรแล้ว ท่านจะถือหนังสือเข้าไปในพระอุโบสถวัดระฆัง ไปถึงก็วางหนังสือกับพื้น แล้วกราบพระประธาน ๓ ครั้ง จากนั้นก็หยิบหนังสือออกมากาง เปิดหน้าที่กำหนดไว้แล้วแปลเรื่อยไปจนจบ ท่านก็ปิดหนังสือก้มกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วกลับขึ้นกุฏิ ท่านแตกฉานในพระปริยัติอย่างยิ่ง แต่ท่านไม่เคยคิดเข้าสอบเอาเปรียญ แต่กลับมุ่งศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งสมัยก่อนผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ก็มักจะมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนาธุระ ที่เต็มไปด้วยคาถาอาคม มีอภินิหารมหัศจรรย์ที่แสดงออกด้วยอิทธิวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ที่ท่านได้สร้างกันขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

พระสมเด็จ สุคโต วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2517

พระสมเด็จ สุคโต วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2517

พระสมเด็จ สุคโต วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2517 สภาพสวย คม ชัด มาก สมบูรณ์ครับ ห้อยคอแล้วสบายใจ เหมือนมีสมเด็จทั้ง ๓ องค์ติดตัวตลอดเวลา เพราะเป็นพระที่สร้างด้วยเจตนาดี บริสุทธิ์ และคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างเอง…ดูแค่ประวัติก็อุ่นใจแล้วครับ(มีผู้เช่าบูชาไปแล้ว)

ประวัติพระสมเด็จสุคโต

จัดสร้างเป็นที่ระลึก เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกนพปฎล พระมหาเศวตฉัตรที่เปลี่ยนใหม่ถวายพระพุทธชินสีห์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2517

ในครั้งนั้น คณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหารได้ดำเนินการจัดสร้างพระสมเด็จสุคโต โดยประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานฯ ในพิธีดังกล่าว มีการอาราธนาพระเถระคามวาสี และพระเถระอรัญวาสีที่ทรงกิติตคุณในทางพระกรรมฐาน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น

เป็นพระสมเด็จ ที่มีการจัดสร้างอย่างครบถ้วนตามโบราณ ประเพณี เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ องค์พระ จัดสร้างโดยมวลสารมงคลที่สำคัญมากมาย อาทิ นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระศกพระพุทธสุวรรณเขต พระโคนสมอ พระสมเด็จวังหน้า พระปิลันท์ วัดระฆังพิมพ์ต่างๆ ที่ชำรุดแตกหัก เส้นพระเกศาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และเส้นเกศาของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นต้น
วงการขนานพระนาม พระชุดนี้ว่าพระ 3 สมเด็จ เพราะ
1 เป็นพระที่ผสมผงพระปิลันท์ ซึ่ง ประกอบด้วยผงสมเด็จโต และสมเด็จปิลันท์
2 สร้างโดย สมเด็จพระสังฆราชฯ องค์ปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลจากเพื่อน ๆ ในเว็บไซต์สยามอมูเลทดอทคอม

ขอขอบคุณ : http://udommongkol.tarad.com/product.detail.php?id=3865945?lang=th&lang=th

พุทธประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

พุทธประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

นับเป็นเวลาช้านานแล้วนะครับที่บรรดาเซียนพระเครื่องได้แสวงหาพระเครื่องกรุเก่าในตำนานเพื่อมาบูชาเป็นของตัวเอง ซึ่งที่นิยมกันมากก็ไม่พ้นสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) วันนี้ผมจึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมศึกษาพุทธประวิตของท่านกันนะครับ

สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ชาติภูมิเดิมชื่อ โต เป็นบุตรของนางงุด บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตาชื่อผล ยายชื่อนางลา ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชกาลที่1 เมื่อวันพฤหัสที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช 1150 เวลาประมาณ 06.54 น. ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก

เดิมแม่เป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมือง ปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาเกิดฝนแล้งติดต่อกันหลาบปีทำนาไม่ได้ผลจึงย้ายมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร (และน่าจะได้พบกับบิดาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) ณ เมืองนี้) พอตั้งท้องก็ได้ไปอยู่กับยายที่เรือนแพหน้าวัดไก่ชน และวักสะดือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่งุดเมื่อคลอดเด็กชายโตแล้ว ขณะยังนอนเบาะอยู่ก็ได้ย้ายไปอยู่บริเวณวักไชโยระยะหนึ่ง ต่อมามารดาก็ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม และสอนยืนได้ที่บริเวณตำบลบางขุนพรหมนี้ เมื่อโตขึ้นแม่ได้มอบตัวเป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษาอักขรสมัย เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีวอก พ.ศ. 2342 โดยมีพระบวรวิริยเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำพูบน (วัดสังเวชวิศยาราม-ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร จนหมดความรู้ของครูอาจารย์ มีความประสงค์ที่จะศึกษาภาษาบาลีต่อ ท่านเจ้าคุณอรัญญิกจึงได้นำไปฝากอยู่กับสมเด็กพุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก) วักระฆังโฆสิดาราม
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิหลวงพ่อโต อ.สีคิ้ว

มูลนิธิหลวงพ่อโต อ.สีคิ้ว

มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมสี) หรือ วัดที่สรพงศ์ ชาตรี สร้างที่ อ. สีคิ้ว

มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ มูลนิธิหลวงพ่อโต หรือ วัดที่คุณสรพงศ์ ชาตรี สร้าง แต่คุณสรพงษ์ บอกว่าไม่ใช่วัด เป็นมูลนิธิ แต่บุคคลทั่วไปจะเรียกกันแบบเข้าใจง่ายๆว่า วัดหลวงพ่อโต อำเภอสีคิ้ว ซึ่งที่นี่เดิมคือ วัดโนนกุ่ม ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ(ทางหลวง หมายเลข 2 )อำเภอสีคิ้ว ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 42 กิโลเมตร หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปนครราชสีมาจะผ่าน และเห็นได้อย่างชัดเจนเพราะ สะดุดตาในความสวยงามของอาคารที่ก่อสร้างและการตกแต่งสถานที่โดยรอบ ตั้งแต่สวนหย่อมไม้ตะข่อยดัดในเกาะกลางถนนมิตรภาพตรงกับบริเวณมูลนิธิฯเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของ เมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

การสร้างพระเครื่องไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ได้มีมาแต่ครั้งสมัยทวาราวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณาจารย์ผู้ชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่องด้วยรูปแบบต่างๆ นานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้วยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้นนิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย
ดังนั้น ในชุมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฎว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวนมากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) (2)

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) (2)

ลุปีฉลู นพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ ปี ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระตำหนักใหม่ในวัดมหาธาตุ เพราะทูลกระหม่อมฝ้าพระองค์ใหญ่จะทรงพระผนวชเป็นสามเณร ครั้นทรงพระผนวชแล้วก็เสด็จมาประทับอยู่ พระมหาโตก็ได้เข้าเป็นพระพี่เลี้ยงและได้เป็นครูสอนอักขระขอม ตลอดจนถึงคัมภีร์มูลกัจจายน์ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชมีกิจ พระมหาโตก็ได้อธิบายขยายความแทน เป็นเหตุให้ทรงสนิทคุ้นเคยกันแต่นั้นมา

ครั้น ทูลกระหม่อมเณรทรงลาสิกขานิวัติกลับพระราชวังแล้ว ก็ทรงทำสักการะแก่พระมหาโตยิ่งขึ้น พระมหาโตเลยกว้างขวางยิ่งใหญ่ รู้จักคุณท้าวคุณนางฝ่ายใน ทั้งจ้าวนายฝ่ายนอกมากมาย บ้านขุนนางก็แยะ เมื่อมีงานต้องนิมนต์พระมหาโตมิได้ขาด

จุลศักราช ๑๑๘๖ ปีวอก ฉศก วันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำทูลกระหม่อมองค์ใหญ่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เสด็จขึ้นไปประทับวัดถมอราย (เปลี่ยนเป็นวัดราชาธิวาส) ภายหลังเสด็จกลับมาประทับ ณ ตำหนักเดิมวัดมหาธาตุ พระมหาโตก็ได้เป็นผู้บอกธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมอีก เป็นเหตุให้ทรงคุ้นเคยกันมากขึ้นเพราะมีอัธยาศัยตรงกัน

ในศกนี้ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ในวันพฤหัสบดีเดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ เสด็จขึ้นเถลิงราชย์ได้ ๑๔ ปี ๑๐ เดือน ศิริพระชนมายุได้ ๕๖ พระพรรษา
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ( 1 )

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ( 1 )

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วัดระฆังโฆสิตาราม
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม.

จากบันทึกของ
มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์)
ความนำ

คำ ปรารภ และอนุมานสันนิษฐานว่าประวัติเรื่องความเป็นไปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครั้งในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ นั้น มีความเป็นมาประการใด เพราะเจ้าพระคุณองค์นี้ เป็นที่ฤๅชาปรากฏ เกียรติศักดิ์เกียรติคุณเกียรติยศ ขจรขจายไปหลายทิศหลายแคว มหาชนพากันสรรเสริญออกเซ็งแซร่กึกก้องสาธุการ บางคนก็บ่นร่ำรำพรรณ ประสานขานประกาศกรุ่นกล่าวถึงบุญคุณสมบัติ จริยสมบัติของท่านเป็นนิตยกาลนานมา ทุกทิวาราตรีมิรู้มีความจืดจาง

อนึ่ง พระพุทธรูปของท่านที่สร้างไว้ในวัดเกตุไชโย ใหญ่ก็ใหญ่ โตก็โต วัดหน้าตักกว้างถึงแปดวาเศษนิ้ว เป็นพระก่อที่สูงลิ่ว เป็นพระนั่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ดูรุ่งเรืองกระเดื่องฤทธิ์มหิศรเดชานุภาพ พระองค์นี้เป็นที่ทราบทั่วกันตลอดประเทศแล้วว่า เป็นพระที่มีคุณพิเศษสามารถอาจจะดลบันดาลดับระงับทุกข์ภัยไข้ป่วยช่วย ป้องกันอันตรายได้ จึงดลอกดลใจให้ประชาชนคนเป็นอันมาก หากมาอภิวิวันทนาการ สักการบูชาพลีกรรม บรรณาการเส้นสรวงบวงบล บางคนมาเผดียงเสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ก็อาจสำเร็จสมปณิธานที่มุ่งมาตร์ปรารถนา จึงเป็นเหตุให้มีสวะนะเจตนาแก่มหาชนจำนวนมากว่าร้อยคน คิดใคร่รู้ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม บ้างก็คืบเที่ยวสืบถามความเป็นไปแต่หลังๆ แต่คราครั้งดั้งเดิมเริ่มแรก ต้นสกุลวงศ์เทือกเถาเหล่ากอ พงษ์พันธุ์ พวกพ้อง พื้นภูมิฐาน บ้านช่อง ข้องแขว แควจังหวัด เป็นบัญญัติของสมเด็จนั้นเป็นประการใด
อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง: สมเด็จโต สยบฤทธิ์ แม่นาคพระโขนง

เรื่อง: สมเด็จโต สยบฤทธิ์ แม่นาคพระโขนง

ครั้นเมื่อนางนาค บ้านพระโขนง เขาตายทั้งกลม ปีศาจของนางนาคกำเริบ เขาลือกันต่อมาว่า ปีศาจนางนาคมาเป็นรูปคน ช่วยผัววิดน้ำเข้านาได้ จนทำให้ชายผู้ผัวมีเมียใหม่ไม่ได้ ปีศาจนางนาคเที่ยวรังควานหลอนหลอก คนเดินเรือในคลองพระโขนงไม่ได้ ตั้งแต่เวลาเย็นตะวันรอนๆ ลงไป ต้องแลเห็นปีศาจนางนาคเดินห่มผ้าสีบ้าง โหนตัวบนต้นโพธิ์ต้นไทรบ้าง

พระสงฆ์ในวัดพระโขนงมันก็ล้อเล่น จนกลางคืนพระภิกษุสามเณรต้องนอนรวมกัน ถ้าปลีกไปนอนองค์เดียว เป็นต้องถูกปีศาจนางนาครบกวน จนเสียงกร๊อกแกร๊กอื่นๆ ก็เหมาว่าเป็นปีศาจนางนาคไปหมด พวกหมอผีไปทำเป็นผู้มีวิเศษตั้งพิธีผูกมัดเรียกภูตมัน มันก็เข้ามานั่งแลบลิ้นเหลือกตาเอา เจ้าหมอต้องเจ๊งมันมาหลายคน จนพวกแย่งพวกชิงล้วงลัก ปลอมตัวเป็นนางนาค หลอกลวงเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านกลัวนางนาค เลยมุดหัวเข้ามุ้ง ขโมยเก็บเอาของไปสบาย ค่ำลงก็ต้องล้อมต้องนั่งกองกันยันรุ่งก็มี
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพุฒาจารย์ อดีตชาติเดิมเป็นอำมาตย์เอกเมือง เวียงคำ แห่งลานนาไทย ชื่ออำมาตย์เอกวรฤทย์ เมื่อถึงอนิจกรรมแล้ว ไปอยู่เมืองสวรรค์ชั้น 16 เมืองสาคราชนครเป็นอำมาตย์เอกเมืองสาคราชนคร มีพระเจ้าเอกราช ซึ่งอดีตชาติเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำ แห่งลานนาไทยเดิม เป็น เทพกษัตริย์ปกครองเมืองนี้
สมเด็จพุฒาจารย์ กลับมาเกิดเมืองมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2333 ณ บ้านวาสุกรี อ.ศรีสาคร จ.ธนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชื่อว่า “โต” บิดาชื่อนายกัน มารดาชื่อนางตั้ง มีบุตร 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน คือ 1.นายต้อง 2.นายโต 3.นางแป้ว 4.นางหัส บิดารมารดาถึงแก่กรรมแล้วไปอยู่เมืองสวรรค์ชั้นที่ 4 เมืองซากังราว เป็นข้าราชบริพารในพระราชวังของพระเจ้ากรุงศรี และพระนางสุริยา ชื่อว่า เทพบุตรนัดดา และเทพธิดายุพิน บุตร 3 คน ไปอยู่เมืองสรรค์ 3 คน ส่วนบุตรคนที่ 2 คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์บารมีได้สรรค์ชั้นวิมาน หรือชั้นที่ 17 แต่ยังไม่ไปอยู่เมืองสรรค์ ยังดูแลเมืองมนุษย์ประเทศไทยให้อยู่เย็นเป็นสุข
สมเด็จพระพุฒาจารย์บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2344 ณ วัดอินทรวิหาร พระวิริยเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำภูบน (วัดสังเวชอิศยาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้วไปอยู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) 5 ปี แล้วไปอยู่วัดบวรนิเวศน์ 15 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระพุฒาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันพฤหัส ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2352 ณ วัดบวรนิเวศน์ พระพุทธโกศาจารย์ วัดบวรนิเวศน์เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่ได้เป็นนาคหลวง เพราะเป็นสามเณร อุปสมบทแล้วอยู่วัดนี้ 15 ปี แล้วไปอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ 15 ปี อยู่วัดนี้ศึกษาพระธรรมได้สำเร็จแล้วไปอยู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 15 ปี ต่อมาไปอยู่วัดสุทัศน์ 2 ปี ออกธุดงค์ 2 ปี ต่อมาก็ไปอยู่วัดระฆัง เมื่อ พ.ศ.2392 อายุได้ 60 ปี อยู่วัดนี้จนมรณภาพ อ่านเพิ่มเติม

บันทึกประวัติสมเด็จโต พรหมรังสี โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษาหรือสอน โลหนันทน์

บันทึกประวัติสมเด็จโต พรหมรังสี โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษาหรือสอน โลหนันทน์
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกประวัติสมเด็จโต พรหมรังสี โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษาหรือสอน โลหนันทน์ ตอนที่1-7
ตอนที่ 1

ความนำ

คำปรารภและอนุมานสันนิษฐานว่าประวัติเรื่องความเป็นไปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครั้งในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ นั้น มีความเป็นมาประการใด เพราะเจ้าพระคุณองค์นี้ เป็นที่ฤๅชาปรากฏ เกียรติศักดิ์เกียรติคุณเกียรติยศ ขจรขจายไปหลายทิศหลายแคว มหาชนพากันสรรเสริญออกเซ็งแซร่กึกก้องสาธุการ บางคนก็บ่นร่ำรำพรรณ ประสานขานประกาศกรุ่นกล่าวถึงบุญคุณสมบัติ จริยสมบัติของท่านเป็นนิตยกาลนานมา ทุกทิวาราตรีมิรู้มีความจืดจาง

อนึ่ง พระพุทธรูปของท่านที่สร้างไว้ในวัดเกตุไชโย ใหญ่ก็ใหญ่ โตก็โต วัดหน้าตักกว้างถึงแปดวาเศษนิ้ว เป็นพระก่อที่สูงลิ่ว เป็นพระนั่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ดูรุ่งเรืองกระเดื่องฤทธิ์มหิศรเดชานุภาพ พระองค์นี้เป็นที่ทราบทั่วกันตลอดประเทศแล้วว่า เป็นพระที่มีคุณพิเศษสามารถอาจจะดลบันดาลดับระงับทุกข์ภัยไข้ป่วยช่วยป้องกันอันตรายได้ จึงดลอกดลใจให้ประชาชนคนเป็นอันมาก หากมาอภิวิวันทนาการ สักการบูชาพลีกรรม บรรณาการเส้นสรวงบวงบล บางคนมาเผดียงเสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ก็อาจสำเร็จสมปณิธานที่มุ่งมาตร์ปรารถนา จึงเป็นเหตุให้มีสวะนะเจตนาแก่มหาชนจำนวนมากว่าร้อยคน คิดใคร่รู้ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม บ้างก็คืบเที่ยวสืบถามความเป็นไปแต่หลังๆ แต่คราครั้งดั้งเดิมเริ่มแรก ต้นสกุลวงศ์เทือกเถาเหล่ากอ พงษ์พันธุ์ พวกพ้อง พื้นภูมิฐาน บ้านช่อง ข้องแขว แควจังหวัด เป็นบัญญัติของสมเด็จนั้นเป็นประการใด
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จโตทำบุญก่อนวันตาย(อจินไตย)

ประวัติสมเด็จโตทำบุญก่อนวันตาย(อจินไตย)

[รายละเอียด] ราวปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ 2415 ท่านโตอายุครบ 85 ปี ใด้เลี้ยงพระและเณรหมดทั้งวัดเสร็จแล้วก็บอกลาพระทุกองค์ทำไห้พระทุกองค์แปลกใจไปตามๆกันบางองค์ถามว่าท่านจะไปอยู่ที่ใหน ฉันต้องไปอยู่ในที่ของฉันที่เขาจัดไว้ไห้ฉันแล้ว พวกโยมหลังวัดที่อยู่ที่บ้านช่างหล่อใด้ช่วยฉันมาโดยตลอดไม่ว่าวัดจะมีงานอะไรก็ใด้พวกโยมมาทำกิจการงานเสมอมา ถ้าพวกโยมไม่ช่ายวัดก็คงไม่สวยถึงขนาดนี้ฉะนั้นฉันไม่มีอะไรที่จะให้โยมนอกจากพระที่ฉันทำ ให้โยมเก็บรักษาใว้ให้ดี ปู่คำนั่งฟังอยู่นานก็เอ่ยกับนายเหลี่ยมกับคุณนายแป้นว่าวันนี้ท่านโตพูดจาแปลกเหมือนจะต้องตายจากกัน นายเหลี่ยมก็คิดเหมือนกับปู่คำเหมือนกัน แล้วท่านโตก็หันมาสั่งเณรช่วงว่าหย่าลืมไปนิมนต์ท่านเป้งวัดลครธรรมและหลวงพี่คำที่วัดอมรินทร์มาด้วย วันรุ้งขึ้นก่อนเพลพระและเณรมากันที่หอฉันท์เต็มไปหมดท่านเจ้าคุณสมเด็จโตก็ออกมานิมนต์พระและเณรมาฉันท์พร้อมๆกันรวมทั้งพระครูที่ท่านใด้แต่งตั้งอีก 8 รูป 1 พระครูปลัดมิศร์ 2พระครูวินัยทร นายปลื้มบ้ายทรายน้อย 3 พระครูศัทธาสุนทร นายหมาบ้านมะกอกน้อย 4 พระครูโฆสิทธิ์ นายแจ้บ้านลำละมาด 5 พระครูสมุ นายเดชบ้านช่างหล่อ 6 พระครูใบฎีกา นายเชื้อบ้านช่างหล่อ 7 พระธรรมรกิจ นายดีบ้านลานมะเกลือ 8 พระครูพิภัทรท่านเป้งวัดละครธรรม ท่านโตใด้ถามพระครูพิภัทรว่าอยู่ที่ดละครธรรมเป็นยังไงบ้างพระครูพิภัทรตอบก็สบายดีแต่ไม่ค่อยว่างพอดีโยมไห้สร้างศาลาไห้กับวัดหลังหนึ่งก็เลยไม่ใด้มาหาหลวงพ่อเลย พ่อจะให้ฉันทำอะไรหรือ พ่อไม่ได้ให้ท่านเป้งทำอะไรหรอก ปีนี้พ่ออายุ85ปีแล้ว ขอให้ท่านเป้งบูรณะวัดที่ท่านอยู่ให้สวยงาม และเจริญต่อไป อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและความเป็นมาของพระพิมพ์สมเด็จกรุวังหน้า และกรุวัดพระแก้ว

ประวัติและความเป็นมาของพระพิมพ์สมเด็จกรุวังหน้า และกรุวัดพระแก้ว

ตามประวัติของหลวงปู่สมเด็จโตนั้นท่านชอบธุดงค์เป็นเนืองนิจ การท่องเที่ยวของพระนั้นก็คือการออกธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ และมักจะเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธบาท พระฉาย และพระแท่นเป็นต้นกับเพื่อจาริกแสวงบุญหาความสงบ และฝึกฝนทดสอบสมรรถภาพวิชาของท่านไปเรื่อย โดยเฉพาะหลวงปู่สมเด็จโตท่านนั้นนับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระกับมีนิสัยชอบสันโดษ ไม่ปรารถนาใคร่แสวงหายศสมาณศักดิ์แต่อย่างใด กับเมื่อในแผ่นดินของรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว (ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗ ) ได้มีพระราชประสงค์แต่งตั้งหลวงพ่อท่านให้มีฐานุกรมสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะเพราะเห็นว่าหลวงพ่อท่านเป็นผู้มีความรอบรู้ และวิชาเชี่ยวชาญทั้งอักษรศาสตร์ และทางวิปัสสนาธุระยิ่งนัก แต่หลวงพ่อท่านได้ทูลขอตัวเสียมิได้ยอมรับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ในครั้งนั้น จึงได้ออกธุดงค์ท่องเที่ยวเพื่อจาริกแสวงบุญตามหัวเมืองต่างๆ และในการไปธุดงค์ของท่านนั้น เมื่อไปพำนักพักยังท้องที่เมืองใด ในแถบนั้นมีพระชนิดใดที่ผู้คนนิยมกันมาก ท่านก็ได้ให้ลูกศิษย์ลูกหาท่านสร้างล้อแบบพระพิมพ์ชนิดนั้นๆ ในแบบฉบับของท่านโดยเป็น เนื้อผง ,เนื้อกระเบื้อง (ดินเผา) ,เนื้อชิน ,เนื้อเงิน ,เนื้อตะกั่วถ่ำชา ตลอดจนพิมพ์บูชาขนาดใหญ่ด้วยเนื้อผงซึ่งบางพิมพ์มียันต์จารึก หรืออักขระขอมประเภทหัวใจพระคาถาต่างๆซึ่งอยู่ด้านหลังขององค์พระพิมพ์ กับทั้งได้สร้างในแบบพิมพ์ของท่าน.ด้วยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของท่านแล้วนำไปแจกจ่ายญาติโยม ส่วนที่เหลือก็บรรจุกรุเพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อไป โดยเพื่อจะได้เป็นทุนเพื่อทำนุบำรุงถาวรวัตถุในวัดนั้นๆ อ่านเพิ่มเติม

ร่วมบุญสร้างสมเด็จโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ร่วมบุญสร้างสมเด็จโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

สมเด็จโตใหญ่ที่สุดในโลกณ มูลนิธิพุทธคยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี :

ท่องไปในแดนธรรม เรื่องไตรเทพ ไกรงู ภาพ ประเสริฐ เทพศรี คมชัดลึก ฉบับวันที่ 21 มิถุนายน 2556

ประธานมูลนิธิ ให้สัมภาษณ์ กับหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่21 มิย.2556

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระสุปฏิปันโนและเป็นพระผู้คงแก่เรียน พร้อมทั้งบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์แก่สังคม มีเมตตาธรรม และพรหมวิหารจึงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และตลอดไปถึงกาลข้างหน้า

ปัจจุบันแม้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ กว่า ๑๔๑ ปีแล้วประชาชนก็ยังมิคลายความศรัทธาลงแต่ประการใด แต่ยังจะยิ่งความศรัทธามากขึ้น ดั่งปรากฏมีการสร้างสิ่งสักการะที่เกี่ยวข้องกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อย่างมากมาย โดยเฉพาะการจัดรูปหล่อขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ ๓ องค์ คือ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆษิตาราม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆษิตาราม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) ท่านคือพระอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยาวนานถึง 5 รัชสมัย นับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมระยะเวลาชีวิตของสมเด็จโต ๘๔ ปี อยู่ในร่มกาสาวพักตร์ ๗๓ พรรษา

รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์จักรีเสด็จขึ้นครองราช ในวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ สวรรคตในวันที่ ๗ กันยายน ๒๓๕๒ รวมระยะเวลาการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ ปี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี กำเนิดเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ มารดาชื่อนางเกศ *บางแห่งว่าชื่อนางงุด บิดาไม่ปรากฏนาม ตาชื่อนายผล ยายชื่อนางลา เป็นชาวเมืองกำแพงเพชร เมื่อแรกเกิดได้ชื่อว่า”บุญเรือง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โต ได้นำถูกไปถวายให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระอาจารย์แก้ว แห่งวัดบางขุนพรหม
อ่านเพิ่มเติม

คาถาสมเด็จโต

คาถาสมเด็จโต

เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ

ประวัติเจ้าประคุณสมเด็จโต

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า สมเด็จโต แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ท่านชื่อว่าเป็นสมเด็จ ๕ แผ่นดิน คือเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) และมรณภาพลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) สิริรวมอายุ ๘๔ ปี มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านปริยัติ (การศึกษา) และปฏิบัติ และยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
มนต์คาถาที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำนั้น มีหลายบทด้วยกัน แต่ละบทล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์และมีฤทธิ์อานุภาพแตกต่างกันไปดังต่อไปนี้
คาถาขอบุตร ขอทรัพย์
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ประวัติสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ชีวประวัติ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นามเดิมว่าโต ได้รับฉายา “พฺรหฺมรํงสี” ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ เวลาพระบิณฑบาต ๐๖.๔๕ น. (ย่ำรุ่ง ๙ บาท ) มารดาชื่อ เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)บวชเป็น สามเณร เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้๑๘ ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทรพระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ บวช เป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ อายุ ๒๑ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่งบวชตลอดรัชกาลที่ ๓ ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นานพอถึง พ.ศ. ๒๓๙๗ ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “สมเด็จพระ พุฒาจารย์” ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง” เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต” ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ ๗๘ ปี อายุ พรรษาได้ ๕๖ พรรษาแล้วมรณภาพสมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จ.ศ. ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ เวลาประมาณ ๒๔.๐๐ น.เศษ บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหมสรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ ๘๕ ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ ๗ ปี เศษ ๖๕ พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํน ที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .