สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

เกร็ดประวัติบางส่วนของ…. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

บวชมาตั้งแต่เป็นเณร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ชอบพูดถ้อยคำไพเราะระรื่นหูคน
และก็ออกจะแผลงๆ เช่น ท่านไปพบสุนัขนอนขวางทางอยู่
ท่านพูดกับสุนัขนั้นว่า
“โยมจ๋า ขอฉันไปทีเถิดจ๊ะ” แล้วก็ก้มกายหลีกทางไป

มีผู้ถามท่านว่า ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น ท่านตอบว่า
“ฉันไม่รู้ได้ว่า สุนัขนี้จะเคยเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่”

ท่านเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
แต่ไม่เป็นที่เปิดเผย ท่านจึงอยู่ในฐานะกำพร้าบิดาตั้งแต่เกิดมา
ข้อยืนยันนี้มีปรากฎใน จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ว่า…..

“วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จศ. ๑๒๓๔ เวลา ๒ ยาม สมเด็จพระพุฒาจารย์ ถึงชีพพิตักษัย” คำว่าชีพพิตักษัย ส่อว่าท่านเป็นเชื้อพระวงศ์

<!–more–

สมัยเมื่อท่านเป็นสามเณรอยู่นั้นปรากฏว่า สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมื่อยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โปรดปรานมาก
ทรงรับไว้ในราชูปถัมภ์ และพระราชทานเรือกันยาหลังคากระแชง
ให้ท่านขี่ไปเทศน์และไปในกิจอื่นๆ

อันเรือกันยาหลังคากระแชงนี้ เป็นเรือประจำยศเจ้านายชั้นพระองค์เจ้า
และเมื่ออายุครบอุปสมบทเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้บวชเป็นนาคหลวง ที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

นี่ก็พอจะมองเห็นความเร้นลับในประวัติส่วนตัวของท่าน
ซึ่งเกี่ยวพันกับพระราชวงศ์อย่างลับๆ
และก็เป็นที่เปิดเผยโดยพฤตินัยอันเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว

ท่านเป็นคนครึกครื้นมองโลกในแง่ดีและมีอารมณ์ขันเกิดขึ้นเสมอ
ท่านสามารถเทศน์ให้คนฮากันตึงอยู่บ่อยๆ นับว่ามีวาทะศิลป์อย่างเลศ

ครั้งหนึ่งมีการเทศน์ปุจฉาวิสัชนาในพระบรมมหาราชวัง
โปรดเกล้าให้อาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดระฆัง
กับ พระธรรมอุดมวัดพระเชตุพนเป็นผู้แสดงธรรม
ทรงติดเทียนประจำกัณฑ์เทศน์เป็นเงินสลึงเฟื้อง
เจ้าประคุณสมเด็จฯชวนเทศน์ออกนอกเรื่อง
ถามเจ้าคุณธรรมอุดมว่า

“ท่านทราบไหมว่า ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเราทั้งสอง สลึงเฟื้องนั้นอย่างไร”

เจ้าคุณธรรมอุดมตอบว่า “ไม่ทราบ”
สมเด็จฯจึงว่า “อ้าวท่านหัวล้าน ข้าพเจ้าหัวเหลือง
ก็หัวละเฟื้องสองไพ ๒ หัวก็เป็นสลึงเฟื้องนะสิ”

ผู้ฟังต่างหัวเราะกันฮาใหญ่ แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ก็ทรงกลั้นพระสรวลมิได้ แล้วพระราชทานเงินติดเทียนถวายอีก

เจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นคนไม่มีบ้าน
ท่านต้องร่อนเร่พเนจรมากับมารดาตลอด ท่านเกิดที่อยุธยา
ต่อมามารดาของท่านพามาอยู่ ณ ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร
ต่อมาท่านได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นอนุสรณ์ที่ตำบลนั้น

แม้เมื่อสมัยท่านเป็นสมภารวัดระฆังแล้ว ท่านก็อยู่ไม่ติดที่
ไม่มีเวลาว่าง เนื่องจากไปในกิจนิมนต์บ้าง
ไปดูแลควบคุมการก่อสร้างต่างจังหวัดบ้าง
หรือบางทีก็ไปธุดงค์เนืองๆ

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมอบการวัดให้พระครูปลัดปกครองดูแลแทน
และท่านได้กำชับกำชาพระในวัดว่า หากมีกิจไปนอกวัด
ให้บอกลาท่านพระครูปลัดก่อน แม้ตัวท่านเองจะไปไหนมาไหน
ก็บอกลาท่านพระครูปลัดเหมือนกัน

ครั้งหนึ่งท่านไม่ทันในงานพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ดำรัสถาม ท่านถวายพระพรว่า เพราะต้องคอยลาท่านพระครูปลัด
ซึ่งจำวัดยังไม่ตื่น ก็เลยช้าไป……………..

เจ้าประคุณสมเด็จฯมีอุปนิสัยทางศิลปและรักการก่อสร้าง
ท่านได้สร้างถาวรวัตถุไว้หลายแห่ง สร้างพระและปฏิสังขรณ์-
วัดวาอารามไว้มากมาย จัดเป็นงานใหญ่แทบทุกวัด
แม้เมื่อชราภาพมากแล้วท่านไปสร้างวัดวาอารามไกลๆไม่ไหว
ท่านก็จะสร้างพระเครื่องไว้มากมายหลายรุ่น และปลุกเสกด้วย-
อาคมขลัง ซึ่งกิตติคุณ “พระสมเด็จฯ” นั้นเป็นที่ทราบร่ำลือกันดีอยู่แล้ว

เจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นคนกล้าพูดกล้าทำโดยไม่เกรงกลัวผู้ใด
เป็นนักปราชญ์สนใจทางธรรม มีอุปนิสัยรักความยุติธรรมยิ่ง
และเป็นบรมครูทางด้านโหราศาสตร์แด่นักโหราศาสตร์ทั่วๆไป
และทรงแตกฉานในพระคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาอย่างที่ยากจะหาตัวจับ

ท่านเป็นคนเพียบพร้อมทุกๆด้าน แต่ก็ไม่ค่อยชอบแสดงตัว-
แสดงอำนาจราชศักดิ์แก่ใคร ชอบทำการพื้นๆจนคนมองเห็นเป็นแผลง
และนี่เองคือบุคลิกของสมเด็จพระราชาคณะผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ต่อมา

เจ้าประคุณสมเด็จฯไม่โปรดยศศักดิ์ แม้เรียนรู้พระปริยัตธรรมก็ไม่เข้าแปลเปรียญ
และไม่รับฐานานุกรมในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้ง
ให้เป็นพระราชาคณะครั้งใด ท่านก็บ่ายเบี่ยงปฏิเสธเสีย
และมักจะหลบไปพักแรมต่างจังหวัดเนืองๆ
ท่านเพิ่งจะมายอมรับสมณศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี่เอง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงมีพระราชดำรัสถามว่า
“เมื่อรัชกาลก่อนทำไมท่านจึงไม่ยอมรับยศศักดิ์ ที่นี้ทำไมจึงยอมรับ-
ไม่คิดหนีอีก”
สมเด็จฯถวายพระพรว่า “ในหลวงรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้เป็นเจ้าฟ้า
เป็นแต่เจ้าแผ่นดินเท่านั้นท่านจึงหนีได้ ส่วนมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เป็นทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านจะหนีไปไหนพ้น”
คำตอบอันนี้ทำเอาทรงพระสรวลออกมาได้

ความไม่ถือตนของเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น มีเรื่องเล่ากันมาก
เช่น คราวหนึ่งท่านถูกนิมนต์ไปเทศน์ เรือติดโคลนในคลอง-
ท่านก็ลงไปเข็นเรือเอง บางครั้งท่านไปธุระท่านเห็นศิษย์แจวเรือระยะทางไกล
เหนื่อยมากก็ให้นั่งเสีย แล้วท่านไปแจวแทน

ครั้งหนึ่งพระในวัดระฆังกำลังสวดตลกคะนอง
ท่านจึงแวะเข้าไป นั่งยองๆ ประนมมือกล่าว
“สาธุๆๆ” แล้วลุกเดินหลีกไป

อีกคราวหนึ่งพระในวัดระฆังสององค์ทุ่มเถียงกัน
องค์หนึ่งว่า “พ่อไม่กลัว”
อีกองค์หนึ่งว่า “พ่อก็ไม่กลัว”

การเถียงชักรุนแรงขึ้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้ยินเข้า
จึงเอาดอกไม้ธุปเทียนเข้าไปหาพระที่ทุ่มเถียงกันนั้น
นั่งประนมมือพูดว่า “พ่อเจ้าประคุณฉันขอฝากตัวกับพ่อด้วย-
ฉันเห็นแล้วว่าพ่อเจ้าประคุณเก่งนัก นึกว่าเอ็นดูต่อฉันเถิดพ่อคุณ”

พระสององค์ได้ฟังดังนั้นก็เลิกทะเลาะกลับกุฏิ…….

สมเด็จพระพุฒาจารย์สิ้นพระชนม์เมื่อคืนวันศุกร์
โดยเป็นวันใหม่ของวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๐๒.๒๐ น.

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การสอบเปรียญจะต้องสอบกันต่อหน้าพระที่นั่งในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จะเสด็จมาเป็นองค์ประธานการสอบ

มหาทองเป็นมหาเปรียญที่เก่งที่สุด บวชมาตั้งแต่เป็นเณร พอได้มหาเปรียญกลับสึกออกมาครองเรือน แต่กลับมาก่อกรรมทำชั่วหลังจากที่ออกมาครองเรือนแล้ว เพราะความละโมบโลภโมโทสันในทรัพย์ของหลานเมีย โดยปลอมแปลงเอกสารมาให้หลานเซนต์ บอกว่าแบ่งสมบัติกัน แต่จริงๆแล้วความมาปรากฏภายหลังว่าเป็นสัญญาเงินกู้และใบยินยอมยกที่สวนให้เป็นการใช้หนี้
พอมหาทองสึกก็ยังคงระลึกถึงท่านอยู่ ครั้นมหาทองอายุครบ ๕๐ ก็คิดจะทำบุญฉลองวันเกิด จึงนิมนต์สมเด็จฯเป็นองค์ประธานและนิมนต์ท่านเทศน์ด้วย
สมัยเมื่อบวชอยู่นั้น มหาทองสนิทสนมกับสมเด็จฯเป็นอย่างดี ถึงขนาดเคยเจรจาโต้ตอบกันเป็นภาษาบาลี จะเรียกว่าเป็นคู่แข่งกันก็คงจะได้ เพราะสมเด็จฯท่านเก่งภาษาบาลี มหาทองก็เก่งบาลี

มหาทองก็ไม่คิดว่าท่านจะเทศน์อย่างนั้น ด้วยสมเด็จฯท่านทราบความเป็นมาของมหาทองเป็นอย่างดีทั้งที่ไม่ได้มีผู้ใดเล่าถวายมาก่อน

พอขึ้นธรรมาสน์ สมเด็จฯท่านขึ้นนะโม ๓ จบเสร็จแล้ว จึงว่า
" ตาทองนะตาทอง เสียดายที่สอบได้เปรียญต่อหน้าพระที่นั่งในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่พอสึกออกมากลับมาทำชั่ว มัวเมาในอบายมุข
แกจะต้องได้รับกรรมเพราะโกงที่สวนของหลานเมีย"
พอท่านเทศน์อย่างนั้นทุกคนพากันตกตลึง ด้วยไม่คาดคิดมาก่อนว่าท่านจะกล้าดึงหน้ากากของมหาทองออกมาต่อหน้าผู้คน
มหาทองโกรธมาก ขู่ว่าให้เทศน์ใหม่มิฉะนั้นจะไม่ถวายกัณฑ์เทศน์
สมเด็จฯก็ตำหนิมหาทองว่าติดสินบนท่าน มหาทองโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงลุกขึ้นได้ก็ลงเรือนไป

ญาติโยมท่านอื่นต้องมากราบขอโทษสมเด็จฯและนิมนต์ให้เทศน์ต่อ

ท่านก็เทศน์เรื่องบาปบุญคุณโทษ สอนญาติโยมไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างมหาทอง

ท่านกำมือทั้งสองตั้งเหนือท้อง มือขวาอยู่ข้างบนมือซ้าย(ดังรูปหล่อสมเด็จฯที่รู้จักกันดี) แล้วสอนว่า….
คนเรามีสองกำ คือกำปากกับกำท้อง เพราะ ๒ กำนี้ทำให้มนุษย์ทำกรรม บางคนทำกรรมชั่วเพื่อปากท้อง แต่บางคนทำกรรมดีแม้ท้องจะหิวปานใดก็ไม่ยอมที่จะทำชั่ว กรรมจึงมี ๒ คือกรรมดี-กรรมชั่ว
และกรรมนั้นมีผลวิบาก เพราะหลังจากนั้นมาอีก ๗ วัน มหาทองก็เป็นลมตายอยู่ในท้องร่องสวนที่แกโกงจากหลานเมียนั่นเอง….

เรื่องที่จะเล่านี่ อ่านมาจากหนังสือเรื่อง สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ของสุทัสสา อ่อนค้อม
เนื้อหามีดังนี้ค่ะ

สมเด็จฯสอนกรรมฐานให้แม่นาค

ในสมัยที่สมเด็จฯท่านเป็นเจ้าอาวาสที่วัดระฆังใหม่ๆ ตอนนั้นท่านดำรงสมณะเป็นเจ้าคุณธัมมกิตติ ยังไม่ได้เป็นสมเด็จฯ

ท่านบอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ความจริงคิดว่าแม่นาคเป็นผีดุ ความจริงแล้วแม่นาคไม่ใช่ผีดุ แต่คนไปทำให้แกดุ

ตอนแม่นาคตายใหม่ๆ แม่นาคไม่เคยหลอกใคร แต่คนที่เดินผ่านไปผ่านมานั่นแหละที่ชอบหลอกกันเองว่า ผีแม่นาคมาโว้ย แล้วก็พากันวิ่ง แม่นาครำคาญที่คนเอาแกมาล้อเล่น ก็เลยลุกขึ้นมาหลอกจริงๆซะเลย

พอแม่นาคออกอาละวาดหนักเข้า คนก็หาหมอผีมาปราบ แต่กี่หมอกี่หมอก็ปราบไม่สำเร็จ แถมยังถูกแม่นาคปราบเสียอีก ผู้คนก็ขวัญหนีดีฝ่อ นิมนต์พระวัดไหนไปปราบก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดจึงมานิมนต์สมเด็จฯท่านไปปราบ

สมเด็จฯท่านไม่ได้ไป แต่ก็รับปากว่าจะปราบให้ ท่านไม่ได้ไปที่วัดมหาบุศย์หรอก ท่านบอกว่าพอตกกลางคืนท่านก็นั่งสมาธิแล้วแผ่เมตตาไปเรียกแม่นาค คาถาที่ท่านใช้เรียกแม่นาคคือ "เมตตาคุณนัง อรหัง เมตตา"

พอท่านแผ่เมตตาไป ผีแม่นาคก็มา เป็นผู้หญิงสวย รูปร่างงดงามผมยาว ท่านก็ต่อว่าแม่นาคที่ไปก่อกรรมทำเข็ญ และถามว่าทำไมถึงได้ไปทำเช่นนั้น

แม่นาคจึงกราบเรียนท่านว่า แรกๆแกไม่ได้เป็นผีดุ แต่คนมาหลอกกันบ่อยๆโดยเอาชื่อแกไปอ้าง แกก็เลยรำคาญ แกยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่าผีก็เหมือนสุนัข ที่สุนัขดุก็เพราะคนไปแกล้งไปแหย่มัน เลยทำให้มันนิสัยเสียกลายเป็นสุนัขดุไป จากไม่เคยกัดก็กัดไม่เลือกหน้า ผีก็เหมือนกันไม่ชอบให้ใครเอาชื่อไปล้อเล่น ก็เลยกลายเป็นผีดุ

เจ้าคุณธัมมกิตติ(สมเด็จฯ) ท่านก็อบรมสั่งสอนแม่นาคแล้วก็ขอบิณฑบาตไม่ให้แม่นาคหลอกหลอนใครอีก แม่นาคก็ให้สัญญา และขอให้ท่านสอนกรรมฐานให้เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี ท่านก็สอนให้ทุกคืนจนกระทั่งเกิดเรื่อง…………

คือมีพระเณรกลุ่มหนึ่งที่มีจิตริษยาเจ้าคุณธัมมกิตติ และต้องการให้ท่านสึก ด้วยหวังจะได้ตำแหน่งสมภารวัดระฆังมาให้กับพวกตน จึงถือโอกาสใส่ร้ายป้ายสีว่า ท่านเอาผู้หญิงมาไว้ในกุฏิ แล้วพากันแอบดูอยู่ใต้ถุน

วันหนึ่งจึงพร้อมใจกันล้อมกุฏิ เพื่อจะจับให้ได้คาหนังคาเขา เจ้าคุณธัมมกิตติท่านทราบแต่ไม่ว่ากระไร พระเณรเหล่านั้นได้ใจจึงพากันตะโกน "สมภารปาราชิก"

เจ้าคุณฯจึงบอกแม่นาคให้จัดการ แม่นาคกราบเรียนว่า ดิฉันทำไม่ได้เพราะท่านเจ้าคุณสอนดิฉันให้มีเมตตาและดิฉันก็ตั้งใจแล้วว่าจะเลิกก่อกรรมทำเข็ญ

เจ้าคุณธัมมกิตติจึงอธิบายว่า คนพวกนี้เป็นคนชั่ว ตั้งใจจะทำลายพระพุทธศาสนา จึงเป็นหน้าที่ของสาธุชนที่จะต้องปราบให้ราบคาบ

แม่นาคจึงเอื้อมมือยาวๆลงไปตามร่องกระดาน ไปจับหัวเณรรูปหนึ่ง จับแล้วก็ปล่อย แล้วไปจับหัวเณรอีกองค์ ทั้งพระทั้งเณรพากันหนีกระเจิดกระเจิง

แต่นั้นมาก็ไม่มีผู้ใดกล้ามาลองดีกับท่านอีก หลังจากนั้นไม่นาน ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ แต่คนนิยมเรียกท่านว่า สมเด็จโต พรหมรังสี

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รั๙กาลที่ ๔ ทรงเรียกสมเด็จว่า "ขรัวโต" และก็ดูเหมือนว่าท่านชอบให้เรียกอย่างนี้ เวลาคนไม่รู้จักท่าน ท่านก็จะแนะนำตัวเองว่าท่านคือ ขรัวโต เพราะความไม่ถือตัวของท่านนั่นเอง

พระสมเด็จฯ

พระสมเด็จฯที่เล่าลือกันว่าขลังนัก ท่านเล่าเอาไว้ว่า…..
เวลาท่านบิณฑบาต คนถวายดอกไม้ธูปเทียนมา ท่านจะนำมาบูชา โดยเฉพาะดอกไม้ท่านจะไม่ทิ้ง ท่านจะนำมาตากแห้งแล้วโขลกให้เป็นผง เวลาลูกศิษย์ลูกหาจะสร้างพระก็จะมาขอผงจากสมเด็จฯ

มีอยู่รายหนึ่งคือ "ยายแฟง" ท่านเล่าถึงยายแฟงว่า ยายแฟงแกขายใส่บาตรสมเด็จฯทุกวันจนรู้จักกันดี ยายแฟงมีอาชีพขายผักอยู่ในตลาด

วันหนึ่งแกก็บ่นให้สมเด็จฯฟังว่าขายไม่ใคร่ดี อยากขอพระสมเด็จฯสักองค์เผื่อจะขายของดีขึ้น สมเด็จฯท่านก็บอกว่า " อยากร่ำรวยก็ต้องทำต้องสร้างขึ้นมาเอง ไม่ใช่เที่ยวไปขอคนอื่น"

คือท่านต้องการสอนยายแฟงให้สร้างความเพียรพยายามด้วยตนเอง แต่ยายแฟงไปเข้าใจว่า สมเด็จฯให้แกไปสร้างพระเอง ก็เลยขอผงไปจากท่าน ท่านก็ให้ไป ยายแฟงก็เอาไปทำโดยใช้ส่วนผสมต่างๆตามที่สมเด็จฯบอกว่ามีอะไรบ้าง

แต่ความที่แกแก่แล้วก็เลยโขลกไม่ละเอียดแล้วก็ปั้นบูดๆเบี้ยวๆ พอตากแห้งแล้วก็นำมาถวายสมเด็จฯจำนวนหนึ่ง ที่เหลือแกก็เก็บไว้บูชาและแจกลูกหลานไปบ้าง ผลปรากฏว่าพระบูดๆเบี้ยวๆของยายแฟงกลับขลัง ใครได้ไปบูชาเขาพากันร่ำรวยทันตาเห็น โดยเฉพาะยายแฟงที่เป็นคนสร้าง จากขายของไม่ดีกลายเป็นขายดิบขายดี

ต่อมาแกเลิกขายผักมาเปิดร้านเสริมสวย ร้านเสริมสวยของแกก็คือสำนักนางคณิกา แกก็รวยขึ้นๆ จนกระทั่งเก็บเงินสร้างวัดได้วัดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จท่านประทานชื่อว่า "วัดคณิกาผล" เพราะได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของเหล่านางคณิกา

วันทำบุญฉลองวัด ยายแฟงก็นิมนต์สมเด็จฯไปเทศน์ สมเด็จท่านก็รับนิมนต์
พอขึ้นธรรมาน์ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วเทศน์ว่า
"ยายแฟงเอ๋ยยายแฟง
ขายผักขายแตงอยู่ในตลาด
ต่อมาก็มาทำร้านเสริมสวยร่ำรวยเงินทอง
กระทั่งสร้างวัดคณิกาผลขึ้น
อานิสงฆ์ที่ยายแฟงได้ในครั้งนี้คิดเป็นเงินสลึงเฟื้อง…"

ยายแฟงได้ฟังก็ค้านสมเด็จฯว่า แกสร้างวัดหมดเงินไปหลายร้อยชั่ง
ทำไมได้บุญแค่สลึงเฟื้อง

สมเด็จตอบว่า "ก็แกเป็นแม่เล้า เอาเปรียบคนอื่น หากินด้วยเรี่ยวแรงคนอื่น เมื่อแกเอาเงินนั้นมาทำบุญ ก็เลยเป็นบุญของคนอื่น ส่วนแกได้แค่ค่านายหน้าราคาสลึงเฟื้อง…"

ยายแฟงได้ฟังก็โกรธ สมเด็จฯเห็นยายแฟงโกรธก็หัวเราะชอบใจ เพราะคุ้นเคยกันมาตั้งแต่แกเป็นแม่ค้าขายผัก…..

หลวงปู่นาค….เล่าถึงสมเด็จฯโต
หลวงปู่นาคเล่าว่า ท่านมาอยู่วัดระฆังตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ
มาเป็นลูกศิษย์รับใช้สมเด็จโต และเมื่อสมเด็จฯมรณภาพ
ท่านก็ได้บวชเป็นเณรอยู่ที่วัดนี้
และได้เก็บรักษาเครื่องอัฐบริขารของสมเด็จฯไว้

นอกจากนี้ท่านยังได้ "มรดก" จากสมเด็จเป็นสร้อยลูกประคำ ๙ สี
มี ๑๐๘ เม็ด
แต่ละเม็ดแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
หลวงปู่บอกว่า ลูกประคำเหล่านี้ สมเด็จฯท่านแกะสลักจากกิ่งโพธิ์
ที่หล่นอยู่เกลื่อนลานวัด แกะแล้วท่านก็นำไปย้อมสีก่อนจะร้อยเป็นสาย

เคยมีผู้ถามว่าทำไมจึงมี ๙ สี ท่านตอบว่า ท่านย้อมสีตามสีของแต่ละวัน
และเพิ่มสีขาวและดำ อันเป็นสีแทนข้างขึ้นและข้างแรม

นอกจากนี้ยังมี ผงสมเด็จฯ อีกหลายโถ เวลาทำท่านจะสวดคาถาชินบัญชรซึ่งท่านเป็นผู้รจนาขึ้นเพื่อบูชาพระอรหันต์
เมื่อสวดชินบัญชรแล้วท่านจะสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพาหุงมหาการุณิโก แล้วจบด้วยคาถาชินบัญชรอีกครั้งเป็นลำดับสุดท้าย

ผงที่โขลกจากดอกไม้แห้ง พวงมาลัยแห้ง หลวงปู่นาคจะมีหน้าที่โขลกให้ท่าน
นอกจากนั้นยังมีแผ่นกระดาษสีทอง ที่มีตัวอักษรขยุกขยิก ซึ่งก็คืออักษรภาษาสิงหล ที่สมเด็จท่านพูด อ่าน เขียนได้เป็นอย่างดี และได้สอนหลวงปู่นาคด้วย
ในกระดาษแผ่นนั้นท่านเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น คล้ายกับบันทึกประจำวัน ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง…………

ขอขอบคุณ : http://www.pantown.com/board.php?id=12241&name=board4&topic=4&action=view

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง คือพระที่หลวงปู่โต หรือบรรดาสานุศิษย์ของพระคุณท่านสร้างขึ้นมาต่อหน้าท่านที่วัดระฆัง โดยอยู่ในการควบคุมของท่าน ซึ่งทราบจากประวัติการบอกเล่าจากหลาย ๆ ที่ว่าแทบทุกวันจะมีการตำโขกมวลสารต่าง ๆ และอัดเป็นองค์พระกันที่หน้ากุฏิของท่าน เมื่อตากแห้งดีแล้วก็นำขึ้นไปเก็บไว้ที่หอสวดมนต์ของท่าน ซึ่งท่านจะนั่งสวดมนต์ภาวนาปลุกเสกพระของท่านทุกวัน

แม่แบบหรือแม่พิมพ์พระก็มีมากมายหลายแบบ มีทั้งที่ช่างจากวังหลวงบ้าง วังหน้าบ้าง วังหลังบ้าง ชาวบ้านผู้มีฝีมือในการแกะพิมพ์บ้าง ลูกหลานของท่านบ้าง ช่วยกันแกะแม่พิมพ์ถวาย ถ้าเป็นชาวบ้านแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ธรรมดา ถ้าเป็นช่างหลวงแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน หรือใช้หินอ่อนบ้าง หินลับมีดโกนหรือหินทรายบ้าง เครื่องแกะสลักก็มีมาตรฐาน ก็จะได้แม่พิมพ์ที่สวยงาม มาตรฐาน

ดังนั้นพระสมเด็จวัดระฆังจึงมีมากมาย ซึ่งจากการบันทึกย่อประวัติหลวงปู่โตและพระสมเด็จของท่านมีรายละเอียดไว้พอสมควรทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระสมเด็จ|พระสมเด็จ วัดระฆัง โฆสิตาราม

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

การสร้างพระเครื่องไว้ เพื่อสืบทอดพระพุทธ ศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระ พุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย

ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวน มากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม

พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๓๑ เวลา ๑๖.๓๕ นาฬิกา

ท่านเป็นบุตรนอกเศวตรฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่๒ แห่งราชวงศ์จักรี กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่๑ นั้น ได้เกิดศึกขึ้นทางภาคเหนือของไทย โดยกองทัพเวียงจันทน์จะยกมาตีเมืองโคราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ) จึงทรงมีรับสั่งให้รัชกาลที่๒ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า ไปปราบศึกที่ยกมา รัชกาลที่๒ ซึ่งขณะนั้นเพิ่งมีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษาเท่านั้น ก็ได้ยกทัพไปทางเรือ ครั้นไปถึงจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้มีชาวบ้านจัดสินค้าต่างๆมาขายแก่พวกทหารในกองทัพ ในจำนวนแม่ค้าพายเรือมาขายของนั้น ได้มีมารดาของท่านซึ่งเป็นสาวงามชาวกำแพงเพชรด้วยผู้หนึ่ง( ท่านเล่าว่ามารดาของท่านชื่อ แม่งุด ) มารดาของท่านพายเรือขายผลกระท้อนแก่พวกทหาร ด้วยบุพเพสันนิวาส พวกนายทหารเห็นเป็นบุญว่ามารดาของท่านเป็นคนสวยจึงชักพาให้ได้กับเจ้าฟ้าแม่ทัพ และได้อยู่ร่วมกันคืนหนึ่ง ก่อนที่จะจากไปท่านแม่ทัพบิดาของท่านได้ประทานรัดประคดอันหนึ่งแก่มารดาของท่านไว้ เพื่อมอบให้บุตรที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทั้งรับสั่งไว้ด้วยว่าถ้ามารดาของท่านคลอดบุตรเป็นชายให้ตั้งชื่อว่า “โต” ถ้าคลอดบุตรเป็นหญิง ให้ตั้งชื่อว่า “เกตุแก้ว”หลังจากนั้นก็เดินทัพต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

คาถาสมเด็จโต

คาถาสมเด็จโต
เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ
ประวัติเจ้าประคุณสมเด็จโต

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า สมเด็จโต แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ท่านชื่อว่าเป็นสมเด็จ ๕ แผ่นดิน คือเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) และมรณภาพลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) สิริรวมอายุ ๘๔ ปี มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านปริยัติ (การศึกษา) และปฏิบัติ และยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

มนต์คาถาที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำนั้น มีหลายบทด้วยกัน แต่ละบทล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์และมีฤทธิ์อานุภาพแตกต่างกันไปดังต่อไปนี้
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จโต

ประวัติสมเด็จโต

พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชา เป็นสามเณร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่า เกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอด จนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๐๗
อ่านเพิ่มเติม

‘อกาลิโก’หยิบประวัติ’สมเด็จโต’ สร้างหนังเผยแผ่พระพุทธศาสนา

‘อกาลิโก’หยิบประวัติ’สมเด็จโต’ สร้างหนังเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บันเทิงไทย 10 July 2556 – 00:00

มีการนำประวัติและเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี หรือ “สมเด็จโต” วัดระฆังโฆสิตาราม มาจัดสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยฟอร์มยักษ์ ชื่อเรื่องว่า “ขรัวโต” ในนามบริษัท “อกาลิโก” โดยมีคุณสมเกียรติ เรือนประภัสสร์ เป็นโต้โผใหญ่ และพันเอกศักดิ์สุธี-คุณจรัลรัตน์ คงพ่วงพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง พร้อมทุ่มงบเบื้องต้นประมาณ 30 ล้านบาท โดยจะเริ่มเปิดกล้องถ่ายทำและเปิดตัวนักแสดงในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตสมเด็จโตไปแล้วเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
พันเอกศักดิ์สุธี คงพ่วงพันธุ์ ผู้อำนวยการสร้าง กล่าวว่า นับถือสมเด็จโตมาตั้งแต่เป็นหนุ่ม เลื่อมใสมานาน ลูกสาวและลูกเขยชอบด้านธรรมะ เขาจะสร้างหนังขรัวโตก็อยากจะสนับสนุนและเห็นด้วย เพื่อจะให้เยาวชนเรียนรู้หลักธรรมะของท่าน อยากนำเสนอผลงานที่ท่านได้สร้างความดี คำสั่งสอนต่างๆ อยากให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามารับรู้และมีสิ่งบันเทิงเป็นส่วนประกอบ ไม่ได้เน้นว่าจะได้กำไรร้อยล้านพันล้าน แต่ขอให้งานประสบผลสำเร็จ อ่านเพิ่มเติม

ละครชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ละครชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ละครชีวประวัติสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง (แจกเพื่อธรรมทานเท่านั้น ห้ามจำหน่าย) ละครชุดนี้แสดงประวัติ ปฎิปทาและธรรมะของท่าน ละครแสดงถึงเมตตาธรรม ปฏิภาณในการสอนธรรมะอันเป็นลักษณะที่โดดเด่นของสมเด็จโต ทั้งยังแทรกเรื่องราวความเสื่อมของพุทธศาสนาในยุคนั้น ซึ่งทำให้เข้าใจเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เกิดเป็นนิกายธรรมยุตในพ.ศ. 2379

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญหนึ่งในสององค์ในประวัติศาสตร์ (อีกองค์คือหลวงปู่ทวด จากสมัยอยุุธยา) ที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทยมาอย่างข้ามยุคข้ามสมัย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่พระราชทินนาม “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ในสมัยรัชกาลที่ 4
อ่านเพิ่มเติม

– ประวัติย่อ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

– ประวัติย่อ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ตอนที่ 1 ประวัติย่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

สถานที่เกิด

1.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้เป็นความย่อๆเรียกว่า “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” พิมพ์ขึ้นปีพ.ศ. 2466 กล่าวว่า “…สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า “โต” เมื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ได้นามฉายาว่า “พรหมรังสี” อุบัติขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ที่บ้านท่าหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา…”

2.มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) รวบรวมประวัติเจ้าประคุณสมเด็จฯพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเรียบเรียงเรื่องปีพ.ศ. 2473 กล่าวว่า “…สมเด็จฯพระพุฒาจารย์ (โต) อุบัติขึ้นบนบ้านที่ปลูกใหม่บางขุนพรหม กรุงเทพ…”

บรรพชาและอุปสมบท

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาปรากฎว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปีพ.ศ. 2350 ได้โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ทรงโปรดฯรับไว้ในพระราชูปถัมภ์
อ่านเพิ่มเติม

กำเนิดพระคาถาชินบัญชร

กำเนิดพระคาถาชินบัญชร

กำเนิดพระคาถาชินบัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญา นี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร จากรายการชินบัญชรทางวิทยุ นานแล้ว ก็ขอจะเล่าประวัติดังนี้
เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไปในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน
สมเด็จ (โต) จึงถามว่า “ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด” ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน “ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก” อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

“สังฆราชสุก” องค์ไหนที่เป็นพระอาจารย์ “สมเด็จโต” องค์ที่ ๒ หรือ ๔..??

“สังฆราชสุก” องค์ไหนที่เป็นพระอาจารย์ “สมเด็จโต” องค์ที่ ๒ หรือ ๔..??

พระสมเด็จอรหังเนื้อขาว

พระสมเด็จอรหัง กับ พระสมเด็จโต

ประวัติพระ
พระสมเด็จอรหังเป็นพระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมบูรณ์ ไม่ใช่แบบพระสมเด็จโตที่ด้านกว้างจะสอบลงเล็กน้อยทำให้ด้านบนจะแคบกว่าด้านล่าง ซึ่งเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมไทยที่ส่วนสูงจะสอบแคบลง เช่น เสาตามบ้านทรงไทยที่สอบลงเล็กน้อย พระสมเด็จอรหังจะมีด้านบนกับด้านล่างเท่ากันเหมือนกระจกเงา

องค์พระจะมีสองเนื้อด้วยกัน คือเนื้อขาว และเนื้อแดง เนื้อขาวเป็นพระเนื้อผงทั่วไปที่ใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ส่วนเนื้อแดงเข้าใจว่ามีการผสมขมิ้นลงไป ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับปูนทำให้เนื้อปูนเปลี่ยนเป็นสีแดง แบบปูนกินหมาก ซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยว่า “ขมิ้นกับปูน”

ส่วนด้านหลังองค์พระจะมีสองแบบ แบบแรกจะเป็นรอยจารเป็นอักษรเขมรว่า “อรหัง” แบบที่สองจะเป็นปั๊มตัว “อรหัง” ลึกลงไปด้านหลัง ที่เรียกกันว่า “หลังแบบ” ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ร้านทองตั้งโต๊ะกังจะตอกโค้ตย่อของร้านหลังทองรูปพรรณ จึงเรียกกันว่า “หลังโต๊ะกัง”
เชื่อกันว่าพระสมเด็จอรหังเนื้อขาวมาจากวัดมหาธาตุ ส่วนเนื้อแดงเป็นของวัดสร้อยทอง

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)๑

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)๑

วันนี้ผมจะขออนุญาติหยิบยก ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)หรือที่เรียกสั้นๆว่า “สมเด็จโต” ผู้ให้กำเนิดพระพิมพ์สมเด็จวัดระฆังครับ
วัดระฆังโฆสิตารามเดิมมีชื่อว่า “วัดบางหว้าใหญ่” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่อยุธยาเป็นราชธานี และที่พระอารามแห่งนี้สมเด็จโต อมตะเถราจารย์แห่งกรุ่งรัตนโกสินทร์ได้จำพรรษาอยู่และสร้างพระเครื่องพิมพ์ที่เรื่องชื่อ นั่นก็คือพระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี ที่ในปัจจุบันหายากมากและมีราคามิใช่น้อย และเป็นที่ต้องการในวงการพระเครื่อง
สมเด็จโตท่านถือกำเนิดในสมัยกรุ่งรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ท่านสมภพเมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 หลักฐานเกี่ยวกับบิดาและมารดาไม่แน่ชัดและเชื่อกันว่ามารดาชื่อ “เกตุ” ในวัยเด็กท่านอาศัยอยู่กับแม่ที่ บ้านตำบลสระเกศ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติที่มาของ สมเด็จโต วัดปากน้ำโพเหนือ จ.นครสวรรค์

ประวัติที่มาของ สมเด็จโต วัดปากน้ำโพเหนือ จ.นครสวรรค์

วัดปากน้ำโพเหนือ

เดิมชื่อวัดทองธรรมชาติ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดปากน้ำโพ ก่อนจะมีสะพานป้อม1 ต้องเดินทางโดยทางเรือ หรืออ้อมไปทางสะพานพิษณุโลก เป็นวัด 1 ใน 3 ของประเทศไทย ที่ได้รับประทานรูปเหมือนที่สมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง ในโอกาสที่ครบ 100 ปี ในปี 2515 ที่มรณภาพของสมเด็จโต ทางวัดและกรรมการวัดได้จัดสร้างมณฑปเพื่อประดิษฐ์เก็บรักษารูปเหมือนบูฃา (พิมพ์หน้าหนุ่ม) โดยจัดสร้างวัตถุมงคล รูปเหมือนสมเด็จโตมีกริ่งขนาดห้อยคอเนื้อทองเหลืองรมดำ,เหรียญอาร์มใหญ่,เหรียญสี่เหลื่ยมเล็ก กรรมการ (หัวหน้านายสถานีรถไฟปากน้ำโพ)ได้นำพระชุดนี้ไปให้หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ปลุกเสก (พร้อมกับเหรียญรุ่นแจกทานที่โด่งดัง) โดยเหรียญสี่เหลี่ยมเล็ก ขนาดจะพอกลับเหรียญแจกทาน และทางวัดปากน้ำโพเหนือก็ได้แจกให้กับผู้มาร่วมงาน โดยรูปเหมือนปั๊มจัดให้เฉพาะผู้ทำบุญกับทางวัด 100 บาท ส่วนก้นอุดเงินให้กับกรรมการวัด เหรียญอาร์มใหญ่ให้กับผู้ที่ทำบุญ ทุกองค์ตอกโค๊ตกำกับ พระชุดนี้หมดไปอย่างรวดเร็จพร้อมประสบการณ์ที่มีอย่างต่อเนื้อง จนต้องออกรุ่นสอง โดยโค๊ตจะมี ว ท และเพิ่มเลข 2 ในปี 2518 ยังได้ออกพระบูชา และเหรียญ ปี 2518 หลังหลวงพ่อสิน พระชุดหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ราคา ขึ้นจนติดลมบนแล้ว ทำให้พระชุดนี้ ราคาเริ่มขยับ (อย่างแรงด้วย) ไม่รู้ว่าลงประวัติแล้วจะหาเก็บได้อยู่หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี

ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆอย่างสูงสุดไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้วอาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนเอง…

คาถาบูชาสมเด็จโตตั้งนะโม ๓ จบ
อิติปิโสภะคะวา พรหมรังสี นามะโต อะระหัง พุทธะโต นะโม พุท ธา ยะ
สัจธรรมแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

“พิจารณา มหาพิจารณา”
การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปลาะๆ เข้าไป ตั้งแต่หยาบๆ และปูนกลางๆ และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้า จนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแห่งกรณีให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆ คนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตนตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้า จะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดปรากฏแก่คนก็ด้วยการพิจารณาของตนนั่นเอง ถ้าคนใดสติน้อยถ่อยปัญญาพิจารณาเหตุผล เรื่องราวกิจการงานของโลก ของธรรม แต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังปริยายมาทุกประการ
อ่านเพิ่มเติม

พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๓๑ เวลา ๑๖.๓๕ นาฬิกา
ท่านเป็นบุตรนอกเศวตรฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่๒ แห่งราชวงศ์จักรี กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่๑ นั้น ได้เกิดศึกขึ้นทางภาคเหนือของไทย โดยกองทัพเวียงจันทน์จะยกมาตีเมืองโคราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ) จึงทรงมีรับสั่งให้รัชกาลที่๒ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า ไปปราบศึกที่ยกมา รัชกาลที่๒ ซึ่งขณะนั้นเพิ่งมีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษาเท่านั้น ก็ได้ยกทัพไปทางเรือ ครั้นไปถึงจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้มีชาวบ้านจัดสินค้าต่างๆมาขายแก่พวกทหารในกองทัพ ในจำนวนแม่ค้าพายเรือมาขายของนั้น ได้มีมารดาของท่านซึ่งเป็นสาวงามชาวกำแพงเพชรด้วยผู้หนึ่ง( ท่านเล่าว่ามารดาของท่านชื่อ แม่งุด ) มารดาของท่านพายเรือขายผลกระท้อนแก่พวกทหาร ด้วยบุพเพสันนิวาส พวกนายทหารเห็นเป็นบุญว่ามารดาของท่านเป็นคนสวยจึงชักพาให้ได้กับเจ้าฟ้าแม่ทัพ และได้อยู่ร่วมกันคืนหนึ่ง ก่อนที่จะจากไปท่านแม่ทัพบิดาของท่านได้ประทานรัดประคดอันหนึ่งแก่มารดาของท่านไว้ เพื่อมอบให้บุตรที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทั้งรับสั่งไว้ด้วยว่าถ้ามารดาของท่านคลอดบุตรเป็นชายให้ตั้งชื่อว่า “โต” ถ้าคลอดบุตรเป็นหญิง ให้ตั้งชื่อว่า “เกตุแก้ว”หลังจากนั้นก็เดินทัพต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

คำทำนาย ชะตาเมืองไทย ของสมเด็จโต”

คำทำนาย ชะตาเมืองไทย ของสมเด็จโต”

จากหนังสือจุลสาร ” 1999 โลกพินาศ 2542 แผนอยู่รอด ”

รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์

ในหนังสือ “ปัญญาไทย 1” ที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับประวัติ ผลงานอภินิหาร และ เกียรติคุณ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ของ มหาอำมาตย์ ตรีพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ซึ่งเป็นฉบับที่ ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ รวบรวมในปี พ.ศ.2493 โดยไม่มีการแก้ไขข้อความเดิม ในหน้า 27 มีการพยากรณ์ ถึงชะตาเมือง ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

หลังจากที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ได้มรณภาพลง เมื่อวันเสาร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415

ตอนเที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้น นายอาญาราช ( อิ่ม ) ศิษย์ก้นกุฏิ ของเจ้าประคุณสมเด็จ เข้าไปเก็บกวาด ในกุฏิของท่าน ขณะทำความสะอาดพื้นกุฏิ นายอาญาราชได้พบ เศษกระดาษชิ้นหนึ่งซุก อยู่ใต้เสื่อเป็นลายมือของเจ้าประคุณสมเด็จ เขียนสั้นๆ โดยสังเขป เป็นคำทำนายชะตาเมือง มีความว่า
อ่านเพิ่มเติม

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ทรงคุ้นเคยมาทั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาโตเป็นผู้ไม่ปรารถนาลาภ ยศ สมณศักดิ์ใดๆ เมื่อเรียนรู้พระปริยัติมาแล้วก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญและไม่รับเป็นฐานานุกรม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ พระมหาโตได้ทูลขอตัวมิยอมรับตำแหน่ง หรือเลี่ยง โดยออกธุดงค์ไปตามวัดในชนบทห่างไกลทุกคราวไป จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอด จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาโตจึงยอมรับพระมหากรุณา

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี มีอัธยาศัยมักน้อยเป็นปกติ ลาภสักการะที่ได้มาในทางเทศนาก็นำไปสร้างสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนา จึงมีผู้นับถือศรัทธามาก บางคนเรียกท่านว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอย่างไรก็ทำตามความพอใจไม่ถือตามความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่
อ่านเพิ่มเติม

การก่อสร้างพระพุทธรูปสมเด็จ

การก่อสร้างพระพุทธรูปสมเด็จ

อนุสรณ์การสร้างพระพุทธรูปของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

สถานที่ที่มีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) มีด้วยกันมากมาย หลายแห่งซึ่งสถานที่เหล่านั้นมีความ ผูกผันกับ ชีวิตของสมเด็จโตฯตั้งแต่เกิดจนกระทั่งมรณภาพ ท่านก็มักจะสร้างอะไร ๆ ที่ใหญ่ ๆ โต ๆ สมกับชื่อของท่าน ส่วนใหญ่แล้วท่านก็จะสร้างเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตัวท่านเอง จึงได้สร้างปรากฏไว้เป็นหลักฐาน
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) ราชสกุลวงษ์ของเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) มารดาชื่อ เกตุ (ธิดานายไชย) เดิมเป็นชาวบ้าน ต.ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์) ส่วนบิดาจะมีนามใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่ารับราชการเป็นชาวเมืองอื่น แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็น “ราชสกุลวงษ์” ต่อมาการทำนาไม่ได้ผลเพราะฝนแล้งมาหลายปี โยมมารดาท่านจึงคิดย้ายภูมิลำเนาโดยการออกทำมาค้าขายโดยทางเรือและตามหาโยมพ่อด้วย จนกระทั่งเดินทางมาถึง บ้านไก่โจน (ต่อมาแผลงเป็น “ไก้จ้น”) ตำบลไก่จ้น อำเภอนครน้อย (อ.ท่าเรือ) แขวงเมืองกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา) จึงได้จอดเรือในคลองป่าสัก ใต้ต้นสะตือ ที่ริมตลิ่งหน้าวัดท่างาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสะตือ) โยมเกตุได้คลอดบุตรเป็นชาย ณ ที่แห่งนั้น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาบิณฑบาต ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 7 ปี) และตั้งชื่อว่า “โต” เมื่อท่านเกิดแล้ว (ยังเป็นทารกแบเบาะ) มารดาก็พาท่านไปอยู่ที่ตำบลไชโย จ.อ่างทอง จนกระทั่งท่านนั่งได้ มารดาก็พามาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร จนกระทั่งยืนเดินได้ (ภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ ที่ตำบลทั้ง 3) ดังจะกล่าวไปข้างหน้า
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จโตกับการเลิกทาส

สมเด็จโตกับการเลิกทาส

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) กับการเลิกทาส

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) มารดาชื่อ เกตุ (ธิดานายไชย) เดิมเป็นชาวบ้าน ต.ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์) ส่วนบิดาจะมีนามใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่าเป็นชาวเมืองอื่น แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็น “ราชสกุลวงษ์” ต่อมาการทำนาไม่ได้ผลเพราะฝนแล้งมาหลายปี โยมมารดาท่านจึงคิดย้ายภูมิลำเนาโดยการออกทำมาค้าขายโดยทางเรือและตามหาโยมพ่อด้วย จนกระทั่งเดินทางมาถึง บ้านไก่โจน (ต่อมาแผลงเป็น “ไก้จ้น”) ตำบลไก่จ้น อำเภอนครน้อย (อ.ท่าเรือ) แขวงเมืองกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา) จึงได้จอดเรือในคลองป่าสัก ใต้ต้นสะตือ ที่ริมตลิ่งหน้าวัดท่างาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสะตือ) โยมเกตุได้คลอดบุตรเป็นชาย ณ ที่แห่งนั้น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๕๐ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลาบิณฑบาต ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๗ ปี) และตั้งชื่อว่า “โต” เมื่อท่านเกิดแล้ว (ยังเป็นทารกแบเบาะ) มารดาก็พาท่านไปอยู่ที่ตำบลไชโย จ.อ่างทอง จนกระทั่งท่านนั่งได้ มารดาก็พามาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร จนกระทั่งยืนเดินได้ (ภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ ที่ตำบลทั้งสาม)
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .