ประวัติโดยสังเขป พระมงคลเทพมุนี (สด)

ประวัติโดยสังเขป พระมงคลเทพมุนี (สด)
หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ครบรอบ 120 ปีเกิด

เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด) ท่านเกิดวันที่ 10 ตุลาคม 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก
จุลศักราช 1246 ณ.บ้านสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตร
นายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย สกุลของท่านทำการค้ามีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน 1. นางดา เจริญเรือง 2. เจ้าคุณมงคล
เทพ มุนี (สด) มีแก้วน้อย 3. นายใส มีแก้วน้อย 4. นายผูก มีแก้วน้อย 5. นายสำรวย มีแก้วน้อย อุปสมบทเมื่ออายุย่าง 22 ป
ี เมื่อ เดือนกรกฏาคม 2449 ต้นเดือน 8 ณ. วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร พระอาจารย์ดี
วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูวิญญานุโยด (เนียง อินทรโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ โหน่งอินทร สุวรรณโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดอยู่วัดเดียวกันสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
เมื่ออุปสมบทแล้ว จำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษา ปวารณาพรรษาแล้วเดินทางมาจำพรรษา ณ.วัดพระเชตุพน
กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียน ธรรมวินัยต่อไป สมเด็จพระวันรัต (ติสสทตตเถร) วัดพระเชตุพน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ ภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ในยุคนั้นตรงกับ พ.ศ.2459 แต่งตั้งให้หลวงพ่อวัดปากน้ำเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ พัฒนาวัดปากน้ำภาษีเจริญให้เจริญเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อ
วัดปากน้ำ ได้สมณศักดิ์เป็น พระครูสัมณธรรมสมาทานตั้งแต่ พ.ศ. 2464 นับเป็นเวลา 28 ปี ได้รับพระราชทานสมณ ศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกสนเถระถือพัดยอดพี้นขาวอันเป็นตำแหน่งวิปัสสนาธุระ พ.ศ.2492
พ.ศ.2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ พ.ศ.2498 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้น ราชมีพระราชทินนามว่า พระมงคลเทพมุนี มรณภาพ พ.ศ. 2502 เวลา 15.05 น. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ อายุ 75 ปี
บวชอยู่ 53 พรรษา ในปี 2547 ครบรอบ 120 ปีเกิด
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

ประวัติวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2534

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีประวัติความเป็นมานับตั้งแต่ อาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ผู้ชำนาญการวิจัย (Research Specialist) สำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) กรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ หลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล) ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ศิษยานุศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย”* ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีที่ปฏิบัติได้ โดยได้มอบตัวเป็นศิษย์ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร (ปัจจุบันคือ พระราชพรหมเถร) รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกและศิษย์โดยตรง ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จากนั้นท่านได้ริเริ่มจัดตั้งและบริหาร โครงการให้การศึกษาอบรมและเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างกว้างขวาง ออกไปทั่วประเทศและในต่างประเทศ ได้แก่

โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2518
โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2524
มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2524 และ
สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ.2524 (ปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
ทั้ง 4 องค์กรได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมการให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2525 เป็นระยะเวลายาวนาน กว่า 25 ปีจนถึงปัจจุบัน

ในต้นปี พ.ศ.2528 เมื่ออาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิปัสสนาของสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย มีอายุย่าง 57 ปี ได้ตัดสินใจที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านจึงยื่นหนังสือขอลาออกจากสำนักข่าวสารอเมริกันล่วงหน้า 1 ปี อันเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนวันเกษียณอายุ เพื่อให้สำนักงานได้มีโอกาสหาคนมาทำหน้าที่แทน และให้ท่านได้มีโอกาสฝึกงานแก่พนักงานใหม่ได้ทันเวลา เพราะงานที่ท่านต้องรับผิดชอบทำอยู่ในตำแหน่ง Research Specialist นั้น ต้องรับผิดชอบงานถึง 3 อย่างคือ (1) งานวิจัยและประเมินผล (2) งานจัดการติดตั้งและจัดการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ (3) การจัดระบบข้อมูลข่าวสารด้วยคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีเวลาเพียงพอในการจัดหาบุคลากรและฝึกงานให้ผู้ที่เข้ามารับงานใหม่ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงได้รับอนุมัติให้ลาออกได้
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ธรรมะรักโข:
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน ท่านนับเป็นองค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน

ชีวิตในช่วงต้น
เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง

เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย ( 2 )

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย ( 2 )

ก่อนที่คุณผู้อ่านจะได้สัมผัสเรื่องราวที่อาจารย์การุณย์ บุญมานุชจะนำมาบอกเล่าถึง “ตำนานสถานที่แห่งการสร้างบารมีของหลวงพ่อท่านว่ามีอะไรบ้าง ผมขอคั่นเวลาและอารมณ์ของคุณผู้อ่านนิดหนึ่งก่อนนะครับ เพื่อนำพาคุณผู้อ่านย้อนภาพเหตุการณ์ตอนที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ฯ บรรลุธรรม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของท่านเช่นกันในสำนวนเชิงพรรณนาโวหาร ที่คณะมูลนิธิธรรมกายได้ทำการบันทึกไว้ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ“ทางไปสู่ความสุข” มีอยู่ตอนหนึ่งผมอ่านทีไรซึ้งใจทุกที เพราะมองเห็นภาพชัดเจนได้เป็นฉาก ๆ ไป จึงขอนำข้อความตอนนั้นมานำเสนอไว้ในที่นี้ ซึ่งมีใจความดังนี้ว่า “ จันทร์เพ็ญเดือน 10 ลอยฟ่องฟ้าอยู่ท่ามกลางดวงดาวที่ดารดาษระยิบระยับสาดแสงนวลลูบไล้ไปทั่ว กระทบพื้นน้ำคลองบางกอกน้อยที่มีลมอ่อน ๆ พัดละลอกให้พลิ้วเข้าสู่ฝั่งมิขาดสาย ฝนที่เพิ่งขาดเม็ดเมื่อตอนค่ำยังคงทิ้งหยาดละอองน้ำติดค้างอยู่ตามใบหญ้าสะท้อนรับแสงจันทร์ ดูแพรวพราวราวกับเพชรที่โปรยปรายเอาไว้ ภายในโบสถ์วัดบางคูเวียงดูเงียบสงัดวังเวงได้ยินแต่เสียงหรีดหริ่งเรไรดังแผ่ว ๆ มาจากข้างนอก แสงจันทร์ที่ส่องผ่านหน้าต่างบานใหญ่เข้ามา ช่วยให้มองเห็นพระปฏิมากรประดิษฐานอยู่บนแท่นและทุกสิ่งภายในโบสถ์ได้อย่างชัดเจน บนพื้นเบื้องล่างตรงพระพักตร์องค์พระปฏิมากร สมณะรูปหนึ่งนั่งสงบนิ่งอยู่ในท่าสมาธิคู้บัลลังก์ กายตั้งตรงไม่ไหวติงเสมือนสิ่งไร้ชีวิต นานแสนนานจวบจนแสงจากดวงจันทร์ที่เคลื่อนคล้อยหลังเที่ยงคืน สาดปะทะร่างจนเห็นได้ทั้งองค์ คะเนอายุราว 30 เศษ รูปร่างสันทัด หน้าผากกว้างบ่งถึงลักษณะของผู้ทรงปัญญาอันล้ำเลิศ ลมเย็นพัดมาวูบหนึ่งผ้ากาสาวพัสตร์ที่ครองอยู่สั่นพลิ้วน้อย ๆ พร้อมกับมีเสียงถอนลมหายใจยาวดังจนได้ยินชัด รอยยิ้มค่อย ๆ ปรากฏขึ้นบนมุมปาก ใบหน้าอิ่มเอิบเต็มไปด้วยความปรีดาปราโมทย์รำพึงออกมาเบา ๆ “ เออ…มันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงได้ไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับเมื่อดับแล้วจึงเกิด” เสียงรำพึงเงียบลงในฉับพลัน ขยับกายเล็กน้อยกลับคืนสู่ท่าสงบ ข้อความปีตีที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป หลับตาเพ่งพิจารณาธรรมทบทวนให้แน่ใจทั้งอนุโลมและปฏิโลม ความปีติเป็นศัตรูของสมาธิ แต่ก็เป็นการยากแก่พระภิกษุรูปนี้ที่จะระงับมิให้เกิดความปีติเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นความสำเร็จในความพากเพียรที่ได้พยายามมาเป็นเวลานานตลอดระยะเวลา 11 ปีในชีวิตสมณเพศ นับตั้งแต่ละฆราวาสวิสัยจากหนุ่มพ่อค้าข้าว
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย

ข้อสังเกตความรู้วิปัสสนาธุระที่หลวงพ่อค้นพบ

ความรู้ที่หลวงพ่อค้นพบไม่เหมือนความรู้ที่เคยเรียนมาจากอาจารย์ทั้งหลาย ความรู้ที่ได้พบเห็นเป็นคนละเรื่องกันทีเดียวกล่าวคือ ความรู้ของเกจิอาจารย์ครั้งนั้นเป็นความรู้ทางอานาปานัสสติ ( กำหนดลมหายใจ ) เป็นความรู้กำหนดสติ ( หนอ ) เป็นความรู้ทางกสิณ เช่น กสิณดิน น้ำ ไฟ ลม ความรู้เหล่านี้ไม่ได้กำหนดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเลย มีแต่กำหนดใจนอกศูนย์กลางกายทั้งนั้น แม้หลวงพ่อก็ได้รับการสอนมาอย่างนั้น แต่ความรู้ที่หลวงพ่อได้พบเห็นปรากฏว่าเห็นที่ศูนย์กลางกายสิ่งที่เห็นคือ” ดวงธรรม” และในที่สุดคือเห็น “ ธรรมกาย ” ตามรายละเอียดหนังสือมรรคผล 18 กายของหลวงพ่อนั้น ธรรมกายคือพระรัตนตรัย สรุปแล้วหลวงพ่อค้นพบพระรัตนตรัย นั่นคือรู้วิธีปฏิบัติทำใจว่าทำอย่างไรจึงเข้าถึงพระรัตนตรัย วิธีทำใจเช่นนั้น คือวิธีการทำใจให้ใสตามคำสอนของพระศาสดาข้อ 3 ที่ว่า สจิตฺตปริโยทปนํ ซึ่งแปลว่า การทำใจให้ใส นั้นมีวิธีการอย่างไร มีการปฏิบัติอย่างไร มีวิธีวัดผลอย่างไร ตั้งแต่ต้นจนปลาย การค้นพบ “ วิธีการทำใจให้ใส ” นับว่าแก้อวิชชาขนานสำคัญ เพราะคำสอนของพระศาสดาที่ว่าทำใจให้ใสนั้นคำสอนนี้เราทราบกันทั้งนั้น แต่เราไม่ทราบวิธีทำว่ามีวิธีอย่างไรและเราไม่ทราบว่าการปฏิบัติทางใจนั้นทำอย่างไร ทำให้การศึกษาด้านวิปัสสนาธุระสูญหายมานานแสนนาน ความประสงค์ที่เราต้องการให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอันแจ้งไม่ได้มานานแสนนานเช่นกัน อ่านเพิ่มเติม

ปฐมบทแห่งองค์ปฐมบรมครูผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย

ปฐมบทแห่งองค์ปฐมบรมครูผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนีหรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนาม “หลวงพ่อสดวัดปากน้ำฯ” ท่านเป็นพระอริยเจ้าที่ทรงฤทธิ์อภิญญา มีปาฏิหาริย์ที่ได้รับการเล่าขานผ่านห้วงเวลามาอย่างยาวนานมากมายหลากหลายเรื่องราว หากถามบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ศึกษาและปฏิบัติวิชาธรรมกาย คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ ศรัทธาท่านเพราะรู้ดีว่าท่านเป็นพระดีที่มีแต่ให้ไม่สะสม มรณภาพไปแล้วก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์ ใครกราบไหว้ขอพรให้ท่านช่วยแหลือย่อมสำเร็จผลเป็นอัศจรรย์ แม้แต่พระเครื่องคือพระของขวัญที่ท่านสร้าง ก็โด่งดังเด่นดีในด้านพุทธคุณเยี่ยมยอด ไม่ว่าจะไปที่ใด เห็นมีแต่ภาพถ่ายของหลวงพ่อประดิษฐานไว้ในที่สูงเกือบทุกบ้าน เพราะถือว่ามีไว้บูชาแล้วเกิดมงคล แต่สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรม บรรลุวิชาธรรมกายในขั้นต่างๆได้แล้วนั้น หลวงพ่อคือผู้ค้นพบวิธีทำใจให้เข้าถึงไตรสรณะคมน์ได้อย่างแยบยล ,เป็นผู้ค้นพบวิชาธรรมกายและวิชาอาสวักขยญาณ รวมถึงวิชาสะสางธาตุธรรม(วิชาปราบมาร) ท่านเป็นปฐมบรมครูผู้ทำวิชาปราบมารมาตลอดชีวิต,ผู้นำร่องวิชาปราบมารขนานแท้ และท่านเป็นผู้ที่“องค์ต้นธาตุต้นธรรม” ส่งลงมาเกิดในมนุษยโลกเพื่อปราบมารโดยเฉพาะฯลฯ ไม่ว่าใครก็ตามหากบรรลุ “ธรรมกาย”เป็นต้องเห็นซึ้งถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านทุกคนไป เขาว่ากันว่า ใครได้ยินคำว่า “ธรรมกาย “ มีบุญระดับหนึ่ง ใครได้ยินคำว่า”ธรรมกายและรู้เรื่องราวของผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย ตลอดจนปฏิบัติธรรมแล้วเข้าถึงธรรมกายภาคขาวเป็นผู้มีบุญมากที่สุด ดังนั้นขอเรียนเชิญคุณผู้อ่านที่มีบารมีธรรมทุกท่าน มาร่วมรับรู้เรื่องราวของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำกัน ว่าท่านเป็นใครมาจากไหน บรรลุธรรมได้อย่างไร แล้วทำไมผู้คนทั้งหลายถึงได้ศรัทราท่านกันนัก เรามาเริ่มต้นกันถึงที่มาที่ไปเกี่ยวกับประวัติของท่านกันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ และย้อนรอยธรรมด้วยเรื่องราวในแง่มุมต่างๆตามลำดับ คุณผู้อ่านพร้อมหรือยังครับ..ถ้าพร้อมแล้ว เรามาเรียนรู้ประวัติของหลวงพ่อไปด้วยกันได้เลยครับ

ประวัติของพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ )

หลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอกจุลศักราช 1246 ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง ท่านเป็นบุตรของนายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย ครอบครัวของท่านทำการค้าขายมีพี่น้องร่วมบิดา 5 คน ดังต่อไปนี้ครับ

1. นางดา เจริญเรือง

2. หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ( สด มีแก้วน้อย )

3. นายใส มีแก้วน้อย

4. นายผูก มีแก้วน้อย

5. นายสำรวย มีแก้วน้อย

เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากครับสำหรับครอบครัวของหลวงพ่อวัดปากน้ำคือ ญาติพี่น้องของท่านแทบทุกคนนั้น คนสุดท้องจะตายก่อนแล้วเลื่อนขึ้นมาตามลำดับชั้น คนหัวปีตายทีหลังแทบทุกคนเช่น พี่น้องของหลวงพ่อคนที่ 5 ตายก่อน แล้วก็คนที่ 4 จากนั้นก็คนที่ 3 ที่มาตายก่อนหน้าหลวงพ่อไม่กี่เดือน คล้ายกับว่าจะรักษาระเบียบแห่งความตายเอาไว้ ส่วนนางดา เจริญเรือง ซึ่งเป็นคนที่ 1 นั้นกลับตายเป็นคนสุดท้าย อ่านเพิ่มเติม

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้คนพบวิชชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้คนพบวิชชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรมและคุณวิเศษอย่างจะนับจะประมาณมิได้ดังนั้น ศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสท่านจากทั่วทุกมุมโลก จึงพร้อมใจกันหล่อรูปเหมือนท่านด้วยทองคำ มาแล้ว ถึง 6 องค์

หลวงปู่ทองคำ องค์ที่ 7 นี้ เป็นองค์ที่จะอัญเชิญไปบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ในการเดินธุดงค์ธรรมชัยทุกครั้ง เนื่องจากรูปหล่อหลวงปู่ทองคำที่หลอ่ไปแล้วทั้ง 6 องค์ จะประดิษฐานเป็นการถาวร ณ สถานที่ทั้ง 6 แห่ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในประวัติชีวิตของหลวงปู่ แต่องค์ที่ 7 ที่กำลังจะหล่อขึ้นนี้ จะเป็นองค์ที่ไปเปิดใจ ไปประกาศศาสนา และสร้างเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเศาสนาให้บังเกิดขึ้นกับผู้คนอีกเป็นจำนวนมหาศาล

ดังนั้น การหล่อหลวงปู่ด้วยทองคำในครั้งนี้ จึงถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ เพราะเราจะได้สืบทอดพระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายให้ยืนยาวที่สุด และที่สำคัญ การหล่อรูปเหมือนของหลวงปู่ด้วยทองคำ เป็นการประกาศให้โลกรับรู้ถึงคุณความดีของหลวงปู่ด้วยวิธีอันชาญฉลาด เพราะการหล่อท่่านด้วยทองคำ จะทำให้ชาวโลกต่างสงสัย และเกิดคำถามตามมาว่า ทำไมต้องหล่อท่านด้วยทองคำ และนั่นก็เป็นโอกาสที่เหล่าศิษยานุศิษย์จะได้เล่าถึงประวัติ คุณธรรม คุณวิเศษ และมโนปณิธานของท่าน และชักชวนให้บุคคลเหล่านั้น ทำตามข้อวัตรปฏิบัติอันดีงามของท่าน

อีกทั้งเมือระยะเวลาผ่านไป จนเข้าสู่ยุคทองที่ทองคำหายากและราคาสูงมากกว่านี้ หรืออีก 1,000 ปีข้างหน้า ก็จะเกิดคำถามให้โจษขานซ้ำๆ อย่างไม่รู้จบว่า ทำไมชาวโลกยุคหนึ่งจึงเกิดมหาศรัทธาอย่างแรงกล้า ร่วมใจกัหล่อรูปเหมือนของท่านด้วยทองคำแท้ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมูลค่ามหาศาลขนาดนั้น และปริศนาตรงนี้เอง จะตรึงให้ชาวโลกมุ่งค้นหาคำตอบว่า ท่านเป็นใคา สำคัญอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน

เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง

เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า “ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต”

การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเอาไว้ใช้เลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต

เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า สด จนฺทสโร

เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงเริ่มปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากับพระอนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากน้ำ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2427 ณ บ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ เงิน โยมมารดาชื่อ สุดใจ หลวงพ่อสดเริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุน้าชาย ที่วัดสองพี่น้อง แล้วย้ายมาอยู่ที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์จนสามารถอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านฝักใฝ่ในธรรมและตั้งใจแน่วแน่ว่าจะบวช พอถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2449 ท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง สุพรรณบุรี โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินานุโยค (หลวงพ่อเนี่ยง) วัดสองพี่น้อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์โหน่ง วัดสองพี่น้อง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษา แล้วย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม โดยกลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ กลางวันไปเรียนที่สำนักวัดอรุณฯ วัดมหาธาตุฯ วัดสุทัศน์ วัดจักรวรรดิฯ ตามแต่โอกาสอำนวย จนมีความแตกฉานในภาษาบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นอย่างดี

เมื่อหลวงปู่สดท่านได้ศึกษาคันถธุระจนเป็นที่พอใจแล้วท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์อีกหลายท่านคือ พระมงคลทิพยมุนี วัดจักรวรรดิฯ กทม. พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร สุพรรณบุรี พระอาจารย์โหน่ง วัดสองพี่น้อง สุพรรณบุรี พระอาจารย์เนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี พระสังวรานุวงษ์ วัดราชสิทธาราม กทม. พระครูญาณวิรัติ วัดพระเชตุพนฯ กทม. พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ กทม. พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี เป็นต้น เมื่อถึงพรรษาที่ 11 หลวงพ่อสด จึงกราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์เข้ม วัดพระเชตุพนฯ มาจำพรรษาที่วัดโบสถ์บน อำเภอบางกรวย นนทบุรี พอปีพ.ศ.2459 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำภาษีเจริญ โดยฉันทานุมัติของคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระวันรัต เผื่อน เป็นประธานโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และถาวรวัตถุในวัด ซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรมกึ่งวัดร้าง หลวงพ่อสด จึงได้เริ่มปรับปรุงวัดปากน้ำ จนเจริญรุ่งเรือง ทั้งในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นที่ศรัทธาของสาธุชนโดยทั่วไป

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 53 ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระของขวัญเนื้อผง เพื่อแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธา แต่พระของท่านนั้นจะต้องไปรับด้วยตัวเอง ใครไม่ไปรับกับมือหลวงพ่อก็เป็นอันว่าไม่ได้ มูลเหตุในการสร้างก็เนื่องจากมีผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งมีมูลค่าถึง สองล้านห้าแสนเก้าหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยสิบบาทสามสิบเก้าสตางค์ ในขณะนั้นถือว่าเป็นเงินจำนวนมากทีเดียว อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ บันทึกเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗

ชีวประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ บันทึกเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗

ชีวะประวัติหลวงพ่อวัดปากน้ำ

พระภาวนาโกศลเถร
(สมณศักดิ์ในขณะนั้น)

รวบรวมโดย
วิชัย วุฑฒสิล ป.

เนื่องจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ นี้ มีนวกะภิกษุถึง ๖๗ รูป ซึ่งนับว่ามีสถิติสูงกว่าทุกปีที่แล้ว ๆ มา ข้าพเจ้าในฐานะเป็นครูอบรมนวกะภิกษุ เห็นสมควรที่จะได้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวแก่นวกะภิกษุขึ้นจะเป็นประโยชน์มาก จึงได้ปรารภเรื่องการที่จะจัดทำหนังสือนวกะอนุสรณ์ประจำสำนักวัดปากน้ำขึ้น เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาทั้งคันถธุระและวิปัสสานาธุระที่มีอยู่ในวัดปากน้ำ และเผยแพร่กิจการของวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์ของนวกะภิกษุประจำปี ๒๔๙๗ อีกด้วย บรรดานวกะภิกษุส่วนมากลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าควรทำเป็นอย่างยิ่ง นวกะอนุสรณ์เล่มนี้จึงอุบัติขึ้นมาอยู่ในมือของท่านผู้อ่าน ณ บัดนี้
การทำหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าได้เป็นผู้เขียนชีวะประวัติของพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ตามคำเรียกร้องของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ซึ่งได้ปรารภกันว่าชีวะประวัติของพระคุณท่านเท่าที่มีผู้เขียนไว้บ้างแล้วนั้นยังน้อยนัก ยังไม่พอแก่ความต้องการของบรรดาศิษย์ที่อยากจะทราบรายละเอียดชีวะประวัติของท่านผู้สามารถสละชีวิตเข้าขุดค้นคุณธรรมพิเศษ และได้วางแบบฉบับออกเผยแพร่ให้ปฏิบัติกันเกือบทั่วประเทศไทย ยิ่งกว่านั้นยังได้แพร่ไปถึงต่างประเทศอีกด้วย ถ้าจะเปรียบกับชีวะประวัติของบุคคลสำคัญทางโลกแล้ว ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อก็จัดเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในพระพุทธศาสนา สมควรเขียนชีวะประวัติของท่านที่แล้วมาให้ละเอียดเป็นหลักฐานในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ใครสงสัยก็ยังสอบถามท่านได้ ทั้งนี้เพื่อประดับความรู้แก่ผู้สนใจ จะได้เป็นคติและแนวทางแห่งชีวิตของอนุชนรุ่นหลังต่อไป ก็จะเป็นที่พอใจของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายของท่าน ข้าพเจ้าจำต้องรับเขียนชีวะประวัตินี้ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็รู้ว่าคงทำให้ละเอียดไม่ได้ บังเอิญโชคเข้าข้างข้าพเจ้าอยู่ ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังสืบค้นชีวะประวัติของท่านเจ้าคุณพ่ออยู่นั้น ข้าพเจ้าได้ไปสอบถามคุณป้าดากับคุณปู่นะ ซึ่งเป็นโยมพี่และโยมน้าของท่าน ท่านทั้งสองยังจดจำได้บ้าง จึงเล่ารายละเอียดต่าง ๆ ให้ฟังบ้าง จากหลักฐานที่เคยบันทึกไว้บ้าง ประกอบกับคำบอกเล่าของท่านทั้งสองที่กล่าวมาแล้วนั้น ถึงแม้จะไม่เป็นชีวะประวัติที่ครบถ้วน ก็เป็นรายละเอียดเท่าที่ข้าพเจ้าสามารถจะค้นหามาเขียนได้ อนึ่ง ในบางเรื่องเช่นกาลเวลาจะเอาแน่นั้นไม่ได้เพราะไม่มีผู้ใดสามารถจดจำ แม้บันทึกของท่านเจ้าคุณพ่อก็เขียนไว้ไม่แน่ชัด ทั้งนี้หวังว่าท่านผู้อ่านคงเห็นใจผู้เขียนและอภัยให้ในเมื่อยังไม่พอแก่ความต้องการของท่าน ต่อไปนี้ขอได้โปรดอ่านชีวะประวัติของท่านเจ้าคุณหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรได้ อ่านเพิ่มเติม

พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด

พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด

พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพ เกิดเมื่อ วันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2427 ตรงกับ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาและมารดาชื่อ นายเงิน และ นางสุดใจ มีแก้วน้อย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 5 คน คือ นางดา เจริญเมือง พระมงคลเทพมุนี (สด มีแก้วน้อย) นายใส มีแก้วน้อย นายผูก มีแก้วน้อย และ นายสำรวย มีแก้วน้อย

ท่านประกอบอาชีพค้าขายมาตั้งแต่อายุ 14 ปี นับแต่สิ้นบุญบิดา และประกอบอาชีพดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งเมื่ออายุ 19 ปี ท่านเกิดมีความคิดเบื่อหนายชีวิตทางโลก ด้วยเห็ฯถึงวัฏจักรชีวิตของมนุษย์อย่างถ่องแท้แล้ว จึงตัดสินใจขอบวชไปตลอดชีวิตเพื่อศึกษาและรับใช้พระพุทธศาสนา

จากปฏิธานของท่านในวันนั้น ด้วยท่านมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ และเป็นห่วงมารดา จึงขมักเขม้นทำงานเก็บสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาสามารถเลี้ยงชีพได้ตลอดชีวิต เมื่อบรรบุความตั้งใจในส่วนนี้แล้ว ท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ.2449 ขณะอายุได้ 22 ปี โดยมี พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์โหน่ง อินทสุวรรณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า จนฺทสโร
อ่านเพิ่มเติม

ความสำคัญของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ

ความสำคัญของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้สอนให้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ท่านยืนยันการบรรลุธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยืนยันคำสอนของพระพุทธองค์ว่ามีจริง และดีจริง ดังนั้น หลวงปู่จึงเป็นผู้ทำให้เรามีความเชื่อมั่น และศรัทธาในคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก โดยเฉพาะคำว่า “ธรรมกาย” ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏก แต่ไม่ได้บอกวิธีการเข้าถึง พวกเราได้มีโอกาสรู้จักคำว่า “ธรรมกาย” และวิธีการเข้าถึงธรรมกาย ก็เพราะพระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านค้นพบวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายกลับคืนมาให้แก่ชาวโลก พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านยืนยันว่า ผู้ที่ได้เข้าถึงพระธรรมกายสามารถไปนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้ ไปจับมือถือแขนพูดคุยกับสัตว์นรก หรือเอาบุญไปให้ได้ บุคคลผู้รู้เห็นเช่นนี้ ย่อมยืนยันว่าสวรรค์ นรก มีจริง บาป บุญ มีจริง พระคุณบิดา มารดามีจริง ฯลฯ และกล้ากล่าวยืนยันพร้อมสอนวิธีการเข้าถึงพระธรรมกาย ที่ทำให้เราสามารถไปพิสูจน์คำพูดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ทำให้เราสามารถเลือกภพภูมิหลังความตายได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้เรายับยั้งชั่งใจ ละอายความชั่ว กลัวการทำบาป เนื่องจากเห็นว่า กรรมแม้เพียงเล็กน้อยก็มีผล บุคคลผู้เกรงกลัวต่อบาปจะเร่งทำความดีเพื่อให้ใจใสบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป บุคคลผู้ยืนยันคำสอนของพระพุทธองค์ เรื่องนรก สวรรค์ว่ามีจริงและสามารถไปถึงได้ด้วยพระธรรมกายนั้น จึงเป็นบุคคลพิเศษ คุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ท่านก็เชื่อเช่นนี้ เพราะท่านสามารถไปนรก สวรรค์ และไปช่วยพ่อของท่านมาแล้ว การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายจึงเป็นวิธีทำให้จิตของชาวโลกสว่างไสว นอกจากการค้นพบวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำยังเมตตาสอนให้เราพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสั่งสมบุญกุศล เพราะบุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข และความสำเร็จทุกประการ เมื่อท่านค้นพบวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายแล้วก็มีจิตเป็นกุศลไม่ได้คิดปิดบัง หรือหวงแหนความรู้อันบริสุทธิ์เหล่านี้ไว้ ท่านสอนการเข้าถึงพระธรรมกายภายในอย่างเปิดเผย เพียงแค่นี้ก็นับเป็นบุญคุณอันมหาศาลที่ไม่อาจประมาณได้ พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านยืนยันว่า พระรัตนตรัยนั้นอยู่ภายในตัวของมนุษย์ทุกคน สามารถเข้าถึงได้ด้วยการทำใจหยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด คุณยายอาจารย์ ท่านก็รับสืบทอดวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายมาจากพระเดชพระคุณหลวงปู่ และสืบต่อมาถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย การหล่อรูปเหมือนของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ เนื่องจากศิษยานุศิษย์มีความปรารถนาจะแสดงความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณเช่นท่าน ที่ท่านได้สละชีวิตค้นพบวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายกลับคืนมาให้แก่ชาวโลก ทำให้พวกเราได้รู้ความจริงของชีวิต รูปหล่อทองคำของหลวงปู่จะเป็นพยานหลักฐานการค้นพบพระธรรมกายของท่าน และจะทำให้อนุชนรุ่นหลังสามารถสืบค้นประวัติการสร้างคุณความดี และวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายของท่านสืบต่อไปในภายภาคหน้า

http://www.dhammakaya.net/

การสืบทอด หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

การสืบทอด หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านตระหนักถึงคุณค่าของการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นที่พึ่งแก่ชาวโลก ท่านจึงมีบัญชาให้ศิษย์ของท่านทุกรูปทุกคนเผยแผ่การปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงธรรมกายให้แก่ชาวโลก แม้ท่านจะละสังขารไปแล้วก็ตาม คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ศิษย์เอกท่านหนึ่งของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ เคารพและเชื่อฟังคำของพระอาจารย์ที่สั่งให้ท่านสอนสมาธิต่อไปที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ในวัดปากน้ำ เพื่อรอผู้ที่จะมาสืบทอดการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายในภายหลัง ตามคำบอกเล่าของท่าน ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และหลวงพ่อธัมมชโย (พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี ในปัจจุบัน) ได้สร้างวัดเพื่อสอนการปฏิบัติธรรมขึ้นแห่งหนึ่ง โดยมีหลวงพ่อธัมมชโยเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้สานต่อมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ด้วยการสอนการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายสืบไป วันมาฆบูชาปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ตรงกับวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย และคุณยายอาจารย์ ได้เชิญชวนศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำมาร่วมแสดงความกตัญญู และยกย่องเทิดทูนบูชาคุณธรรมและคุณวิเศษของหลวงปู่ ที่ค้นพบวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายให้กลับคืนมาเป็นประโยชน์ต่อชาวโลก ด้วยการหล่อรูปเหมือนของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ด้วยทองคำบริสุทธิ์ ในระหว่างปี.พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒ พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย, คุณยายอาจารย์ และศิษยานุศิษย์ ได้รวมใจกันสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ขณะเดียวกันศิษยานุศิษย์ภายนอกประเทศก็ได้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมตามประเทศต่างๆ ขึ้น เพื่อเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ตามมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ

http://www.dhammakaya.net/

การเผยแผ่หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

การเผยแผ่หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

หลังออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านไปพักที่วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมเพื่อไปสอนธรรมะครั้งแรก มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติธรรมและเข้าถึงพระธรรมกายจำนวน ๓ รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์ พระภิกษุแบน พระภิกษุอ่วม กับฆราวาสอีก ๔ คน เป็นพยานการบรรลุธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ต่อมาท่านส่งพระภิกษุสังวาลย์ไปสอนการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายที่วัดบางปลา ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และสอนการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายให้แก่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาและสาธุชนที่มาวัดทั้งภายในและต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๐ – ๒๕๐๒ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษาถึง ๕๐๐ รูป นับเป็นวัดที่มีการเรียนพระปริยัติและสอนปฏิบัติธรรมที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น จากการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชา ศิษยานุศิษย์จำนวนมากได้เข้าถึงพระธรรมกายและยืนยันว่า พระธรรมกายมีจริงและดีจริง ชาวต่างประเทศได้เดินทางมาศึกษาการปฏิบัติธรรมกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ และเมื่อได้รับผลการปฏิบัติธรรมเป็นที่น่าพอใจ จึงเดินทางกลับไปเผยแผ่วิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ณ ถิ่นกำเนิดของตน

http://www.dhammakaya.net/

ชาติภูมิ หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

ชาติภูมิ หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวของพ่อค้าข้าว เมื่อเยาว์วัยเป็นผู้ฝักใฝ่และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีได้บวชและตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย และพระบาลีจากพระไตรปิฏกอย่างจริงจัง ท่านเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ การบรรลุธรรม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาที่วัดโบสถ์ (บน) อำเภอบางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี และเพื่อสอนพระบาลีให้แก่ภิกษุสามเณรที่วัดนั้น จากคำกล่าวของพระครูไพโรจน์ธรรมคุณ ศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำท่านหนึ่ง ผู้จดจำคำของหลวงปู่เมื่อตั้งใจสละชีวิตเพื่อค้นหาธรรมะไว้ดังนี้ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านตั้งสัตยาธิษฐานต่อหน้าองค์พระปฏิมากรในวัดโบสถ์ว่า “ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้ว จักเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอรับเป็นทนายศาสนา ในศาสนาของพระองค์จนตลอดชีวิต” ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้ค้นพบวิธีการเข้าถึงธรรมกายซึ่งสูญหายไปหลังพุทธปรินิพพานได้ ๕๐๐ ปี หลังจากนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่สดได้เผยแผ่วิธีการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงธรรมกายที่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า เราเกิดมาทำไม? อะไรคือเป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์ ?

http://www.dhammakaya.net/

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 6

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 6

หน้า 6 จาก 6
ธรรมกาย

การปฏิบัติธรรมตามหลักพระกัมมัฏฐาน อันเป็นปฏิปทาสูงสุดในพระพุทธศาสนา ถ้าการปฏิบัตินั้นเข้าขั้นปรมัตถ์ ผู้ปฏิบัติก็ย่อมเข้าถึงอมตสุข แม้ยังไม่เข้าขั้นปรมัตถ์ก็ยังอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติให้มีกาย วาจา ใจ สงบระงับ อันผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมย่อมมีกาย วาจา ใจ ไกลจาก โลภ โกรธ หลง เป็นบุคคลคงที่ต่อหลักธรรมไม่ก่อกรรมทำเวร

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ปฏิบัติเพื่อกำกัดโทษเช่นนี้ มีปฏิปทาเดินสายกลาง ไม่ห่วงในลาภสักการะเพื่อตน แต่ขวนขวายเพื่อส่วนรวม กิจการนิมนต์ทางไกลถึงกับค้างคืนแล้วท่านรับนิมนต์น้อยนัก โดยท่านเคยแจ้งว่าเสียเวลาอบรมผู้ปฏิบัติ ท่านมีความมุ่งหมายใช้ความเพียรติดต่อกันทุกวัน ชีวิตไม่พอแก่การปฏิบัติ จึงมีบางท่านตำหนิหลวงพ่อว่าอวดดี อันความจริงคนเรานั้นถ้ามีดีจะอวดก็ควรเอาออกแสดงได้ เว้นไว้แต่ไม่มีดีจะอวดใครแล้วเอาเท็จมาอวดอ้างว่าเป็นของดีลวงผู้อื่นให้หลงเข้าใจผิด อันหลวงพ่อไม่ใคร่รับนิมนต์ใครนั้นเป็นปณิธานในใจของท่านเอง ลงได้ตั้งใจแล้วก็ต้องทำตามตั้งใจเสมอมา มิใช่ว่าเป็นผู้หมดแล้วจากความปรารถนา ยังอยู่ในกลุ่มแห่งความปรารถนา แต่ท่านไม่หลงจนประทุษร้ายให้เสียธรรมปฏิบัติ

ธรรมานุภาพให้ผลแก่หลวงพ่อทันตาเห็น ต้องการโรงเรียนประหนึ่งความฝัน ธรรมานุภาพก็ดลบันดาลให้สมประสงค์กลายเป็นความจริง ต้องการกุฏิ โรงฉันและการเลี้ยงพระวันละหลาย ๆ ร้อยรูปก็ได้สมความปรารถนา ต้องการให้มีผู้ปฏิบัติมาก ๆ นักปฏิบัติก็ติดตามมา ปัจจัยที่จ่ายเรื่องอาหาร เรื่องกุฏิ โรงเรียนในยุคของท่าน มีจำนวนมิใช่ล้านเดียว ถ้าคิดแต่ค่าอาหารอย่างหยาบ ๆ วันละ ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท ปีหนึ่งเป็นจำนวนเงิน ๓๖๐,๐๐๐ บาท (สามแสนหกหมื่นบาท) สิบปีเป็นเงินเท่าไร นี้คิดอย่างต่ำ ถ้าหลายสิบปีจะเป็นเงินเท่าไร หลวงพ่อท่านพูดว่า เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เมื่อกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์แล้ว ย่อมมีสิทธิ์ใช้มรดกของพระพุทธเจ้าได้ และใช้ได้จนตลอดชาติ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้ว แม้จะเอาไปใช้ก็ไม่ถาวรเท่าไร
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 5

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 5

หน้า 5 จาก 6
(พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ ต่อ)

แม้ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร แต่ไม่มีใครเรียกชื่อนั้น เรียกหลวงพ่อเสมอมา บางคนก็ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ เพราะภิกษุสามเณรในวัดและคนวัดก็เรียก “หลวงพ่อ” เสียหมด บางคนเรียกว่า “เจ้าคุณพ่อ”

นอกจากท่านจะสร้างคนให้เป็นคนแล้ว เสนาสนะก็ได้จัดทำรุดหน้าไป แต่เพราะท่านฝักใฝ่ในด้านกรรมฐานเสียมาก การก่อสร้างปฏิสังขรณ์ก็ไม่ใคร่สนใจมากนัก ท่านพูดว่าสร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่ความสำคัญต้องสร้างคนก่อน

๑. กุฏิ ๒ แถว สร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน สร้างคู่กับโรงเรียน

๒. พ.ศ.๒๔๙๓ สร้างโรงเรียนปริยัติเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๓ ชั้น ยาว ๒๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๕ วา ๒ ศอก สิ้นเงินค่าก่อสร้างประมาณ ๒,๕๙๘,๑๑๐.๓๙ บาท (สองล้านห้าแสนเก้าหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยสิบบาทสามสิบเก้าสตางค์)

๓. สร้างศาลาโรงฉันพอเหมาะแก่พระภิกษุสามเณร ๕๐๐ รูป ฉันภัตตาหารเช้า เพล เป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี พื้นลาดปูนซีเมนต์ ภายในยกเป็นอาสนสงฆ์ มีช่องเดินในระหว่างได้ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาทเศษ (สี่แสนบาทเศษ)

๔. สร้างกุฏิเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นตึก ๒ ชั้น พื้นฝ้าเพดานไม้สักทาสีขัดชันเล็ก มีห้องน้ำห้องส้วมและไฟฟ้า เป็นกุฏิทันสมัย ราคาก่อสร้างประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาทเศษ (แปดแสนบาทเศษ)

๕. ก่อนมรณภาพสัก ๔-๖ เดือน ได้สร้างกุฏิอีกหลังหนึ่งสูง ๓ ชั้น เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นเดียวกัน มีเครื่องประกอบพร้อม ราคาก่อสร้าง ๓๒๗,๘๔๓.๓๐ บาท (สามแสนสองหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยสี่สิบสามบาทสามสิบสตางค์)

สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ไม่มีงบประมาณ กุฏิบางหลังไม่มีแปลน ค่าก่อสร้างทวีขึ้นแล้วแต่ช่างจะเสนอ แต่เมื่อเสร็จแล้วก็ได้ของประณีตไว้สำหรับวัด หลวงพ่อก็ไม่ว่าไร สร้างกุฏิเสร็จแล้วหลวงพ่อสดได้สั่งให้พระรูปอื่นอยู่ต่อไป ตัวท่านเองหาได้อยู่อาศัยไม่ เช่นกุฏิหลังใหม่ให้พระศรีวิสุทธิโมลี และพระครูปลัดณรงค์เข้าอยู่อาศัย ใคร ๆ จะอาราธนาให้ขึ้นกุฏิใหม่ก็ไม่ฟังเสียง ท่านเพิ่งไปอยู่เมื่อก่อนมรณภาพสัก ๓-๔ เดือน ที่จำไปนั้นเนื่องด้วยที่อยู่เดิมมีการก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ใกล้ชิด ท่านไม่ได้ความสงบ จึงจำยอมมาพักที่กุฏิใหม่และมรณภาพที่กุฏินี้
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 4

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 4

หน้า 4 จาก 6

เท่าที่ข้าพเจ้าสืบสวนและสังเกตการณ์โดยใกล้ชิดมาเป็นเวลาเกือบปี ได้ข้อเท็จจริงพอแล้วที่จะชี้ขาดว่า ข่าวอกุศลต่าง ๆ นั้นไม่มีมูลเหตุแห่งความจริงเลย ในทางตรงกันข้าม ข้าพเจ้าเชื่อเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซนต์ว่า ท่านเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง และมีภูมิรู้ในทางปริยัติกว้างขวาง เป็นพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติอย่างดีเลิศ การปฏิบัติและแนวเทศนาของท่านดำเนินตามหลักในคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งสิ้น

เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องยาก ผู้ไม่ใช่นักปฏิบัติแล้ว ยากที่จะนำมาแสดงให้แจ่มแจ้ง ให้เป็นผลปฏิบัติได้ แต่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำแสดงได้แจ้งชัด และชี้ทางปฏิบัติให้โดยตรง จึงสมควรเถิดไว้ในฐานันดรพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ซึ่งข้าพเจ้าขอกราบแสดงความเคารพอย่างสูงต่อท่านไว้ในที่นี้ด้วย

ที่ข้าพเจ้าเอาเรื่องของวัดมาพูดโดยยืดยาวเช่นนี้ ความมุ่งหมายก็เพื่อบรรเทาบาปให้แก่ผู้แพร่ข่าวอกุศล เพราะการกล่าวเท็จใส่ไคล้ผู้มีศีลเช่นนี้เป็นบาปหนักหนา เพื่อว่าเขารู้ตัวจะยับยั้งกรรมอันชั่วนี้เสียได้ ข้าพเจ้าก็จะพลอยอนุโมทนา แล้วจะมีส่วนได้บุญอันนับเนื่องในปัตตานุโมทนามัยด้วย

ท่านทั้งหลาย การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ มิได้มาตัวเปล่า ต่างมีบุญและบาปที่ทำไว้ในอดีตติดมาทุกคน ต่างกันแต่มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ช้าเราก็ต้องตายดอก อย่ามาแบกเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย ลาภสักการะอันหมุนลงได้เป็นราคาเงินนั้น เป็นสมบัตินอกกายตายแล้วเอาไปไม่ได้ดอก มันเป็นของใช้สอยประจำโลก เราตายแล้วก็ตกเป็นของคนอื่น เขาอาศัยใช้ต่อไป ใครจะว่าเป็นของใครไม่ได้ทั้งนั้น โลกมนุษย์เป็นแหล่งกลางสำหรับอาศัยสร้างบุญ สร้างบาป โลกนรก โลกสวรรค์ เป็นเพียงโลกที่คอยรับรองผลบุญ – บาป เท่านั้น เราได้มาเกิดอยู่ในโลกอันเป็นแหล่งกลางเช่นนี้แล้ว นับว่าเราได้มีโอกาสที่จะเพิ่มบุญผ่อนบาปให้เบาลง ให้เบาลงกว่าที่เราแบกมาจากอดีตนั้นเถิด อย่าเติมเข้าไปอีกเลย ไหน ๆ เราก็ต้องตายแน่ อย่ามาหอบเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 3

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 3

หน้า 3 จาก 6

หลวงพ่อสด มีเมตตาปรานีเป็นนิสัย ใครเดือดร้อนมาไม่เคยปฏิเสธ ย่อมให้อุปการะตามสมควร แต่ไม่ชอบคนโกหก ถ้าจับโกหกได้แม้ครั้งเดียวท่านก็ว่าคนนี้เก๊ โกหกกระทั่งเรา ก็เป็นคนหมดดี เช่น คราวหนึ่งมีคนแก่มาเรียนกัมมัฏฐานมีศรัทธากล้า พอได้ผลแห่งการปฏิบัติบ้าง แต่ยังอ่อน กลับบ้านลาลูกเมียมาวัดปากน้ำอีก มีปลาแห้งตัวหนึ่งมาถวายหลวงพ่อ บอกว่ามีเท่านั้นเองเพราะเป็นความยากจน หลวงพ่อหัวเราะชอบใจ พูดว่า ” เออ ! ให้มันได้อย่างนี้ซีน่า นี่แหละเขาเรียกว่าคนรวยแล้ว มีเท่าไรถวายจนหมด เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า นางปุณณฑาสี ถวายแป้งจี่ทำด้วยรำแก่พระพุทธเจ้า ต่อมากลายเป็นคนมั่งมี ปลาแห้งของเราตัวหนึ่งราคาสูงกว่ารำมากนัก เป็นกุศลมากแล้วที่นำมาให้” พูดกันไปมา ในที่สุดก็ขอร้องให้หลวงพ่อบวชให้ เพราะไม่มีสมณบริขารจะบวช หลวงพ่อก็ได้จัดการให้ความปรารถนาของเขาเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

เมื่อพระศากยยุติวงศ์ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชสุธี พระสมุห์สด ได้เป็นพระครูสมุห์ตามขึ้นไป ท่านได้ปกครองวัดจนถึง พ.ศ.๒๔๖๔ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า “พระครูสมณธรรมสมาทาน”

เกียรติคุณขยายตัวกว้างออกไปเพียงไร ข่าวอกุศลก็ขยายเป็นเงาตามตนไป แต่เป็นของอัศจรรย์ที่ผู้นิยมการปฏิบัติก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ภิกษุสามเณรก็มากขึ้น การใช้จ่ายเรื่องภัตตาหาร ค่าน้ำค่าไฟก็ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว หลวงพ่อสด วัดปากน้ำก็ต้องสละสมณบริขาร สบง จีวร อุปการะแก่ภิกษุสามเณรมากขึ้น แต่ก็ไม่มีใครได้ยินท่านบ่นและท้อใจ ยิ่งมากยิ่งยินดี ท่านพูดว่าเขามาพึ่งพาอาศัย เราไม่ปฏิเสธ อุปการะเท่าที่มี

คำกล่าวร้ายป้ายสีที่เรียกว่า “อกุศล” รัดรึงตรึงตัวมากอยู่ แต่ก็ยังมีผู้มีใจเป็นกลางช่วยเหลือท่าน เช่น คุณพระทิพย์ปริญญา ได้สังเกตการณ์มาโดยลำดับและคุณพระได้เขียนหนังสือเกี่ยวแก่วัดปากน้ำเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นประหนึ่งเปิดภาชนะที่คว่ำให้หงายขึ้น ทำให้คำกล่าวร้ายฝ่ายอกุศลสงบตัวลง สงบอย่างไม่มีอิทธิพลมาประทุษร้ายวัดปากน้ำได้ หนังสือนั้นพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาพสงคราม ภิกษุสามเณรวัดปากน้ำได้อพยพออกไป เพราะกลัวภัยสงคราม ไปหลบอยู่ตามอัธยาศัย หนังสือนั้นได้นำมาพิมพ์ตามต้นฉบับเดิม และที่นำมาพิมพ์นี้เฉพาะคำนำเท่านั้น มีสำเนาความดังต่อไปนี้ ;-
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 2

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 2

หน้า 2 จาก 6

ต่อจากนั้นท่านก็มุ่งธรรมปฏิบัติ เบื้องต้นอ่านตำราก่อน โดยมากใช้วิสุทธิมรรค ท่านศึกษาตามแบบแผนเพื่อจับเอาหลักให้ได้ก่อน ประกอบกับนักศึกษาทางปฏิบัติกับอาจารย์ท่านได้ผ่านอาจารย์มามาก เช่นเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพน พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จังหวัดธนบุรี พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ใครว่าดีที่ไหนท่านพยายามเข้าศึกษา เมื่อมีความรู้พอสมควร ได้ออกจากวัดพระเชตุพนไปจำพรรษาต่างจังหวัดเพื่อเผยแพร่ธรรมวินัยตามอัธยาศัยของท่าน แต่ส่วนมากแนะนำทางปฏิบัติการเทศนาท่านใช้ปฏิภาณ

แหล่งสุดท้ายได้ไปอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี คราวหนึ่ง โดยเห็นว่าวัดนั้นเป็นที่สงัดสงบเหมาะสมแก่ผู้ที่ต้องการความเพียรทางใจ ไกลจากหมู่บ้านเป็นวัดโบราณมีลักษณะกึ่งวัดร้างอยู่แล้ว พระพุทธรูปศิลาองค์ใหญ่น้อยนับจำนวนร้อย ถูกทำร้ายเพราะอันธพาลบ้าง เพราะความเก่าคร่ำคร่าบ้าง พระเศียรหัก แขนหัก ดูเกลื่อนกล่นไปหมด ท่านเกิดความสังเวชในใจ ใช้วิชาพระกรรมฐานแนะนำประชาชน แนะนำผู้มีศรัทธาให้ช่วยปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเหล่านั้น พรรณนาอานิสงส์แห่งการเสียสละ พระพุทธรูปได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นบ้าง แต่เพราะมิใช่น้อยจึงต้องใช้เวลานาน การซ่อมนั้นยังไม่ทันสมความมุ่งหมาย ประชาชนได้เข้าปฏิบัติธรรมกันมาก

สมัยนั้น การปกครองประเทศจัดเป็นมณฑล เจ้าเมืองสุพรรณบุรีและสมุหเทศาภิบาลเกรงว่าเป็นการมั่วสุมประชาชน วันหนึ่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี ได้พบกับสมเด็จพระวันรัต (ติสฺสทตฺตเถร) วัดพระเชตุพน เวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาษีเจริญ ได้ปรารภถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไปทำพระกรรมฐานที่นั่นจะเป็นการไม่เหมาะสมแก่ฐานะ ขอให้ทางคณะสงฆ์พิจารณาเรียกกลับ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ จึงจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาด้วยความเคารพในการปกครอง แล้วมาอยู่วัดสองพี่น้อง จังหวัดเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .