ธรรมข้อคิด บางประการของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ธรรมข้อคิด บางประการของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
จากหนังสือ “อตุโล ไม่มีใดเทียม”

บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต)
รวบรวมและเรียบเรียงเป็นเล่มโดย รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์
ผู้เขียน(webmaster) ขอกราบอารธนาธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ด้วยเล็งเห็นว่าธรรมข้อคิดต่างๆของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอริยสงฆ์ แฝงไว้ด้วยแก่นธรรมที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจ และขันธ์๕ แต่เป็นไปในลักษณะปริศนาธรรม สั้น กระชับ มีคุณประโยชน์มากแก่ผู้ที่มีพื้นฐานทางธรรมอย่างแท้จริง แต่ยากเกินเข้าใจสําหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานในธรรม จึงได้พยายามอธิบายความหมายตามความเห็นตามความเข้าใจของผู้เขียน เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย อันอาจมีข้อผิดพลาดสื่อผิดจุดมุ่งหมายบางประการ ก็ต้องกราบขออภัยต่อท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล, ท่านผู้บันทึก และท่านผู้รวบรวมและเรียบเรียงหนังสือนี้ด้วย, เพราะผู้เขียนกระทําด้วยกุศลจิต และท่านนักปฏิบัติทั้งหลายต้องโยนิโสมนสิการด้วยตัวเองอีก จึงจักเกิดประโยชน์บริบูรณ์ ในคําสอนของท่านที่ได้บันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง

วิธีเจริญจิตภาวนา
หลวงปู่ฝากไว้
อเหตุกจิต
ประวัติ และปฏิปทา
อ่านเพิ่มเติม

พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)

พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันอังคารแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ตรงกับวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2430 เป็นปีที่ 20 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โยมบิดาของท่านชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก หลวงปู่มีพี่น้อง 5 คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ กลิ้ง คนที่สองคือตัวหลวงปู่เอง ชื่อ ดูลย์ คนที่สามเป็นชายชื่อ เคน คนที่สี่และห้าเป็นหญิงชื่อ รัตน์ และ ทอง พี่น้องทั้ง 4 คนของท่านมีชีวิตจนถึงวัยชรา และทุกคนเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปี มีเพียงหลวงปู่เท่านั้นที่ดำรงอายุขัยอยู่จนถึง 96 ปี

อุปสมบท[แก้]
อุปสมบท ณ วัดจุมพลสุทธาวาส อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในพ.ศ. 2453 โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อแรกบวช หลวงปู่ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรก ของจังหวัดอุบลราชธานี และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ เนื่องจากวัดสุทัศน์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตินิกาย หลวงปู่จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกายในพ.ศ. 2461 ณ วัดสุทัศน์โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในพรรษาต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสพบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก ต่อมาเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาขอให้หลวงปู่กลับ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อบูรณะวัดบูรพาราม หลวงปู่จึงจำต้องระงับกิจธุดงค์และเริ่มงานบูรณะตามที่ได้รับมอบหมาย หลวงปู่ได้อุทิศชีวิต เพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง จนได้รับการยอมรับจากสาธุชนทั้งหลาย ว่าเป็นอริยสงฆ์ที่หาได้ยากยิ่งองค์หนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

คาถาบารมี ๙ ชั้น บารมี ๓๐ ทัศ (ครูบาศรีวิชัย)

คาถาบารมี ๙ ชั้น บารมี ๓๐ ทัศ (ครูบาศรีวิชัย)

จากการบอกเล่ามีเนื้อความว่า …ครั้งหนึ่ง สมัยครูบาศรีวิชัยเจ้าออกเดินธุดงส์ไปตามตางแถบภาคเหนือ ในตอนท่านเดินตางผ่านโต้งนาแห่งหนึ่ง ท่านก็ได้ปะเถียงนาหรือห้างนาหลัง เถียงนาหลังนั้นถูกไฟไหม้แต่ไฟไหม้บ่หมด ยังเหลืออยูู่ตรงใจคา ท่านก็เข้าไปผ่หันใส่ปั๊บสาใบลานเหน็บอยู่ตั๊ดชายคา เขียนด้วยตั๋วเมือง ซึ่งเป็นคาถาบารมี ๓๐ ทัศ มาจนถึงปัจจุบันนี้…

สาธุ สาธุ สาธุ พระปัญญาปารมีสามสิบตั๊ด สาธุพระปัญญาปาระมีวังแวดล้อม วิริยะปาระมีล้อมระวังดี ศีลปาระมีบังหอกดาบ เมตตาปารมีผาบแป๊ทังปืน ทานนะปาระมีหื้อเป๋นผืนตั้งต่อ อุเบกขาปาระมีหื้อก่อเป๋นเวียง สัจจะปาระมีแวดระวังดีเป๋นใต้ ขันติปารมีก๋ายเป๋นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิฐานะปารมีผันผาบไปทุกแห่ง แข็งๆ แรงๆ ผายปราบฝูงหมู่มาร ผีสางพรายเผด ทุกทวีปภพถีบผั้งผายหนี นางธรณีอัศจรรย์ โสสะหมื่นผันอยู่ข้าง น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนานองนานอก เป๋นเข้าตอกดอกไม้ถวายบูชาพระแก้วแก่นไม้สะทัน พระพุทธังจุ่งมาผายโผดอนุญาโตดโผดผู้ข้าแต๊ดีหลี แม่ธรณีออกมารีดผมอยู่ที่ข้างธาตุจ้างร้ายข่ายคะจังงาสับดินพ่นน้ำนทีนองผัดผาย คอพรายหักทบท้าวพญามารอ่าวๆปูนกั๋วกราบยอมือขึ้นทูนหัวใส่เกล้า ผู้ข้านี้ได้จื่อว่าลูกศิษย์พระพุทธเจ้าต๋นมีบุญสมภารอันมากนัก พระพุทธเจ้าจึงจัดตั้งปารมีไว้เก้าจั้น ตั้งไว้ตั้งหน้าก่ได้เก้าจั้น ตั้งไว้ตังหลังก่าได้เก้าจั้น ตั้งแต่หัวแผวตีน ก่ได้เก้าจั้น ตั้งแต่ตีนแผวหัวก่าได้เก้าจั้นแสนวา ลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่า ก่จักบ่มาไก้ ข้าเจ้าก่เลยได้ว่า พุทธะคุนัง ธรรมมะคุนัง สังฆะคุนัง พุทธะอินทา ธรรมะอินทา สังฆะอินทา อัสอับอั้นแม่ธรณีผู้อยู่เหนือน้ำ ผู้อยู่ก้ำแผ่นดิน กอนข้าได้ระลึกกึ๊ดถึงคุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วตังสามผะกาน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณลม คุณกุศลราชเจ้าก่ดี คุณพรุะต๋นภาวนาก่ดี คุณนางอุตราก่ดี คุณธรณีเจ้าก่ดี ขอหื้อจุ่งมาจ่วยฮักษาตังก้ำหน้าและก้ำหลังตนตั๋วแห่งข้าพระเจ้าในคืนวันนี้ยามนี้จุ่งแต๊ดีหลีแด่เต๊อะ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะจากครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย

ธรรมะจากครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย

เมื่อได้เกิดมาพบคำสั่งสอนอันเป็นความจริงบริสุทธิ์
ที่จะนำตนให้พ้นทุกข์ได้ดังนี้
ก็เป็นมหาลาภอันประเสริฐแล้ว
เพราะว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
อันเป็นทรัพย์ภายนอกที่จะเอาไปไม่ได้นั้น
ยังพากันเร่งขวนขวายหาทั้งกลางวันกลางคืนนี้
ได้มาพบพระธรรมคำสั่งสอน
ที่แนะนำให้ผู้ปฏิบัติตามได้พ้นจากทุกข์
ในบัดนี้ไปตราบถึงนิพพาน
เป็นอริยทรัพย์สำหรับติดตามไปทุกชาติ
ประเสริฐกว่าทรัพย์สมบัติอันมีในโลกนี้
หมื่นเท่าแสนเท่า ดังนี้
ก็เป็นโอกาสอันดีวิเศษสำหรับในชั่วชีวิตนี้
ซึ่งจะหาโอกาสดีอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว

ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย
วัดบ้านปาง จ.ลำพูน

http://www.lotuscamp.com/

เปิดตำนาน”พระพุทธบาทสี่รอย” “ครูบาศรีวิชัย”สร้างวิหารครอบ

เปิดตำนาน”พระพุทธบาทสี่รอย” “ครูบาศรีวิชัย”สร้างวิหารครอบ

ข่าวสด โดย กรรณิการ์ เทพสนิท

“วัดพระพุทธบาทสี่รอย” ตั้งอยู่ในหุบเขาป่าลึก เขตต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และจากตัวอำเภอแม่ริม จนถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอย มีระยะทาง 50 กิโลเมตร ถือเป็นวัดที่มีปูชนียสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์

รวมทั้งเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ ที่ล่วงเลยมาในภัทรกัปป์

ประกอบด้วย รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ขนาดใหญ่ ยาว 12 ศอก, รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ยาว 9 ศอก, รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสโป ยาว 7 ศอก และรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตโม (องค์ปัจจุบัน) ยาวเล็กสุด 4 ศอก

โดยได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนก้อนหินใหญ่ริม หรือเรียกว่า หินมหาศิลา จำนวน 4 รอยซ้อนไว้บนพื้นที่เดียวกัน

พระพุทธบาทสี่รอย ได้รับการสักการบูชาจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาหลายยุคสมัย และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เสมอมา

ล่าสุด ครูบาศรีวิชัย ได้มาสร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้จนถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

มหานักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัย

มหานักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัย

ประวัติ

ครูบาศรีวิชัย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือของประเทศไทย (ล้านนา) ว่าเป็น “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ตุ๊เจ้าสิลิ

ครูบาศรีวิชัย เดิมชื่อ เฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ที่หมู่บ้านชื่อ “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน (ปัจจุบันคือตำบลศรีวิชัย) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของนายควาย นางอุสา

ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมาก มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยง ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ 17 ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัตติยะ เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ 18 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ อ่านเพิ่มเติม

ครูบาศรีวิชัย (พระนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย)

ครูบาศรีวิชัย (พระนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย)

ครูบาศรีวิชัย เป็นตัวอย่างบุคคลสำคัญในภาคเหนือ ที่ได้อุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนา และงานสาธารณะประโยชน์ด้านต่าง ๆ ในดินแดนภาคเหนือ จนได้รับการยกย่องว่า “พระนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย” หรือ “นักบุญแห่งล้านนา”
ประวัติ
ครูบาศรีวิชัย เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ที่บ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายควาย และนางอุสา ตอนเกิดมีเหตุการณ์ฝนฟ้าคะนอง และแผ่นดินไหว พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า อินตาเฟือน (ฟ้าร้อง)
เมื่ออายุได้ 17 ปี ท่านได้ไปศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัติ อยู่ที่วัดบ้างปาง เมื่ออายุ 21 ปี ได้อุปสมบทที่วัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโป่ง จ.ลำพูน ได้รับฉายาว่า “สิริวิชโยภิกขุ” แต่คนทั่วไปเรียกว่า “พระศรีวิชัย”
ครูบาศรีวิชัยได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักปฏิบัติธรรมที่มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดถือความสันโดษ และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ ทำให้เป็นที่เคารพรักและศรัทธาของชาวบ้านมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ในล้านนาเกิดความหวาดระแวงและไม่พอใจในตัวท่าน จึงกล่าวหาเอาผิดท่านถึง 3 ครั้ง แต่เมื่อมีการไต่สวน ผลปรากฏว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์
ครูบาศรีวิชัยมรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 ขณะอายุได้ 60 ปี อ่านเพิ่มเติม

ปาฏิหาริย์เกศาครูบาศรีวิชัย

ปาฏิหาริย์เกศาครูบาศรีวิชัย

เรื่องราวปาฏิหารย์เกี่ยวกับครูบาศรีวิชัยที่พวกเราเพิ่งได้ประสบมาก็เริ่มจาก ในงานนิทรรศการพระบรมธาตุที่จัดร่วมกับวัดสวนดอกในครั้งนี้ ได้มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีพระเครื่องและเกศาของครูบาศรีวิชัย ได้กรุณานำวัตถุมงคลทั้งหลายเหล่านี้มาให้ประชาชนได้รวมสักการะด้วยในวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ณ วิหารหลวงวัดสวนดอก พวกเราจึงได้เห็นเกศาของครูบาศรีวิชัยเป็นครั้งแรกที่นี่
ในวันนั้น ท่านอาจารย์ผู้นี้ได้แบ่งเส้นเกศาของครูบาศรีวิชัยจำนวน 3 เส้น ให้กับท่านผู้หนึ่งที่อาศัยอยู่ในจ.เชียงใหม่ และ ท่านได้กรุณาให้ทางชมรมฯ ถ่ายภาพไว้ในเย็นวันนั้นด้วย
ต่อมาในวันที่ 3 มกราคม 2548 ท่านที่ได้รับแบ่งเส้นเกศาครูบาศรีวิชัยท่านนี้ คิดว่าอยากจะแบ่งเส้นเกศาไว้ให้กับทางชมรมฯเพื่อให้ประชาชนสามารถมาสักการะได้อย่างใกล้ชิดในการจัดงานนิทรรศการพระธาตุครั้งต่างๆ แต่ใจของท่านนั้นก็คิดว่า จะแบ่งอย่างไรดีให้ได้เท่าๆกัน เพราะมีอยู่ 2 เส้น แต่เมื่อนำมาให้แบ่งจริงๆก็พบว่า ปรากฎมีเส้นเกศาอยู่ในผอบนั้น 4 เส้น ทั้งๆที่ท่านไม่ได้เปิดผอบอีกเลยหลังจากที่ให้ทางชมรมฯได้ถ่ายรูปในเย็นวันที่ 26 ธ.ค.47 สร้างความประหลาดใจให้กับคุณปราโมช รองประธานชมรมฯเป็นอย่างมาก แต่เหตุการณ์นี้มีประจักษ์พยานอยู่หลายคน ในที่สุด ทางชมรมฯจึงได้รับแบ่งเส้นเกศามาจำนวน 2 เส้น ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงเชื่อว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องราวปาฎิหารย์อย่างหนึ่งของเส้นเกศาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาก็เป็นได้ สาธุ สาธุ สาธุ อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์บริขารครูบาศรีวิชัยกับรถคันแรก

พิพิธภัณฑ์บริขารครูบาศรีวิชัยกับรถคันแรก

พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย กับ…รถยนต์คันแรกที่ขึ้นดอยสุเทพ ที่วัดบ้านปาง จ.ลำพูน : ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

วัดบ้านปาง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘๑ หมู่ ๑ ต.ศรีวิชัย บนเนินเขาบ้านปาง ห่างจากตัวอำเภอลี้ประมาณ ๓๘ กิโลเมตร เป็นวัดซึ่งครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรก ภายในบริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโบสถ์วิหารสวยงาม พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาศรีวิชัย ซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ สบง จีวร หมอน กระโถน แจกัน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสิ่งของหาชมที่อื่นไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่มีที่ใดมี นอกจากที่นี่เท่านั้น เช่น รถยนต์คันแรกที่เปิดทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ เห็นโลโก้หน้ารถแล้วไม่รู้ว่าเป็นรถยี่ห้ออะไร รถคันนี้มีป้ายทะเบียนดำ ช.ม. 0175, อย่างของแปลกที่ผมเองได้เห็นก็ต้องเกิดสงสัย อย่างเครื่องซักผ้าของท่านครูบาศรีวิชัย และรถสามล้อ พาหนะส่งภัตตาหารของครูบา ในช่วงสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

เหลือเชื่อ! รูปหล่อครูบาศรีวิชัย ลอยตามน้ำโผล่เกาะเทโพ

เหลือเชื่อ! รูปหล่อครูบาศรีวิชัย ลอยตามน้ำโผล่เกาะเทโพ

กลายเป็นเรื่องราวฮือฮาทั่วบ้านเกาะเทโพ ตำบลเกาะเทโพ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เลยทีเดียว เนื่องจากเมื่อช่วงเย็นของวานนี้ (14 มกราคม) มีชาวบ้านพบรูปหล่อจำลองเนื้อขี้ผึ้ง ครูบาศรีวิชัย “นักบุญแห่งล้านนา” พระคู่บ้านคู่เมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และมาโผล่ที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับแพอาหารเกาะเทโพ
โดย นางวรรณี อ่อนอุทัย อายุ 64 ปี เจ้าของแพอาหาร ได้สั่งให้ลูกน้องนำรูปหล่อดังกล่าวขึ้นแพ และตั้งหิ้งจุดธูปบูชา พร้อมกับเผยว่า พระรูปหล่อดังกล่าวปั้นเป็นหุ่นขี้ผึ้งหรือหล่อด้วยเรซิน องค์รูปหล่อหน้าตักกว้าง 10 นิ้ว สูง 11 นิ้ว น้ำหนัก 3 กิโลกรัม ใต้ฐานสลักคำว่า “ครูบาศรีวิชัย” มีความสวยงาม และใบหน้าเหมือนมีชีวิตจริง โดยเชื่อกันว่า จะเกิดสิริมงคลและให้โชคให้ลาภกับคนอุทัยธานี รวมทั้งนำความเจริญมาสู่หมู่บ้านเกาะเทโพ
นางวรรณี เล่าให้ฟังด้วยว่า ระหว่างที่บริการแขกอยู่บนแพนั้น มีลูกค้าบอกว่าเห็นอะไรไม่รู้ลอยอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือห่างจากแพประมาณ 100 เมตร ลักษณะคล้าย ๆ เต่าสีทองเหลืองอร่าม ซึ่งวัตถุชิ้นดังกล่าวก็ลอยเข้ามาใกล้แพเรื่อย ๆ และลอดใต้แพไป ตนจึงให้ลูกน้องพายเรือออกไปตรวจสอบว่าเป็นอะไรกันแน่ และหลังจากที่ลูกน้องไปหยิบวัตถุชิ้นนั้นมาได้ก็ต้องประหลาดใจ เพราะวัตถุชิ้นดังกล่าวเป็นพระรูปหล่อมีตะไคร่น้ำเกาะ จึงอัญเชิญขึ้นไปบนแพอาหาร พร้อมทั้งเช็ดล้างทำความสะอาด จึงได้รู้ว่าเป็นรูปหล่อของครูบาศรีวิชัยซึ่งสลักชื่อไว้ใต้ฐานพระ ซึ่งต้องรอตรวจสอบจากเซียนพระอีกทีว่าเป็นพระรุ่นใด
อย่างไรก็ตาม นางวรรณี กล่าวว่า เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ และเชื่อว่ารูปหล่อดังกล่าวจะให้โชคลาภกับตน นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่หมู่บ้านเกาะเทโพ และจังหวัดอุทัยธานี และหลังจากที่ข่าวแพร่สะพัดออกไปแล้ว ก็มีประชาชนเดินทางมาที่แพอาหารดังกล่าว เพื่อกราบไหว้ขอพร ขอเลขเด็ดกันถ้วนหน้า

http://lottery.kapook.com/view54533.html

อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย จ.เชียงใหม่

อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย จ.เชียงใหม่

อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
ตั้งอยู่ทางขึ้นดอยสุเทพ ก่อนถึงน้ำตกห้วยแก้ว ครูบาศรีวิชัยเป็นนักบุญแห่งล้านนาไทยผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงใหม่และประชาชนโดยทั่วไป ผู้ที่จะขึ้นดอยสุเทพมักจะแวะนมัสการอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงร่วมใจกีนสร้างถนนจากเชิงดอยขึ้นไปสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยเริ่มลงมือ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2478 รวมระยะทาง 10 กม. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู้ด้านล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กม. ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน หากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลง ดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30 – 19.30 น.นักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น.

http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/chiangmai/data/khruba_srivichai.html

เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก พระเกจิอาจารย์ของทางภาคเหนือ

เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก พระเกจิอาจารย์ของทางภาคเหนือ

เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก พระเกจิอาจารย์ของทางภาคเหนือ เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก ปี 2482
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึง เหรียญพระเกจิอาจารย์ของทางภาคเหนือที่เป็นเหรียญเก่าแก่ และเป็นที่เคารพนับถือกันมากในจังหวัดทางภาคเหนือก็คือ เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน ปี พ.ศ.2482

วัดบ้านปาง เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียก กันทั่วๆ ไปมานานแล้ว โดยเรียกกันตามชื่อของหมู่บ้าน ประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2439 ครูบาขัติยะ เป็นพระที่อยู่ในเมืองลำพูน ได้เดินธุดงค์มาถึงบ้านปางและพักที่เชิงเขาทางทิศเหนือ ประชาชนถิ่นนั้นเคารพเลื่อมใสท่านมาก และได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักเพื่อจะได้ให้ท่านได้พักจำพรรษา และจะได้ใช้ประกอบกุศลทำบุญ ต่อมาในปีนั้นเอง ครูบาศรีวิชัยก็ได้มาฝากตัวเป็นศิษย์และบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ.2441 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบ้านปางนั่นเอง ต่อมาภายหลังครูบาขัติยะท่านได้ธุดงค์ไปถิ่นฐานอื่น ท่านครูบาศรีวิชัยจึงได้เป็นเจ้าอาวาสแทน แต่ท่านได้เห็นว่า ที่ตั้งวัดไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2446 ท่านจึงได้ย้ายวัดจากที่เดิมไปสร้างวัดขึ้นบนเนินภูเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน แล้วขนานนามวัดใหม่ว่า “วัดศรีจอมสหรีศรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกกันติดปากว่า “วัดบ้านปาง” กิตติคุณของท่านแพร่หลายเป็นที่ศรัทธาเคารพนับถือของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม

ครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อ้ายฟ้าร้อง เพราะในขณะที่ท่านเกิด อากาศวิปริตมีลมฝน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จึงถือเอานิมิตนั้นมาตั้งชื่อ ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ใต้) ตรงกับวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ปีขาล เวลาพลบค่ำ บิดาชื่อ นายควาย มารดา ชื่อ นางอุสา
การบรรพชา อุปสมบท
ครูบาศรีวิชัย ได้เริ่มบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๘ ปี ณ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ ซึ่งเป็นอารามเล็กๆ ประจำหมู่บ้าน มี ครูบาขัติยะ วัดบ้านปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ อายุครบ ๒๐ ปี ก็อุปสมบท มี พระครูสุมโณ วัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริวิชโย ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก ครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา (ปัจจุบันอยู่ในตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน) ด้วยเหตุที่มีอุปนิสัยชอบสงบเสงี่ยม เจียมตัว พูดน้อย กินน้อย และรู้แนวทางปฏิบัติธรรมบ้างแล้ว จึงถือโอกาศขึ้นไปอยู่ปฏิบัติกัมมัฏฐานบนดอยทิศใต้ของหมู่บ้าน (ที่ท่านสร้างเป็นวัดบ้านปางเดี๋ยวนี้)เมื่อท่านได้วิเวกทางกาย จิตใจก็หยั่งรู้เข้าสู่สมาธิหยั่งลงสู่วิปัสสนาญาณ ท่านก็ยิ่งมีความพากเพียรในการปฏิบัติกัมมัฏฐานมากขึ้นเคร่งครัดในวินัย ไม่แตะต้องลาภสักการะปัจจัย ฉันอาหารมังสะวิรัติ ประชาชนจึงเกิดความเลื่อมใส ชื่อเสียงของท่านก็ยิ่งโด่งดังไกลออกไป ชาวบ้านหลั่งไหลเข้ามาเคารพบูชาท่านมากขึ้น ต่อมา ครูบาขัติยะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น ท่านจึงรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง และบุกเบิกป่านั้นสร้างเป็นวัดขึ้น ไม่นานก็สร้างเสร็จมีงานฉลอง (ปอยหลวง) ถึง ๗ วัน ๗ คืน และได้ตั้งชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดศรีดอนชัยทรายมูลบุญเรืองบ้านปาง ชาวบ้านเรียกว่า วัดบ้านปาง ส่วนวัดเดิมที่มีอยู่ในหมู่บ้านก็หมดสภาพไป นับเป็นวัดแรกที่ท่านได้สร้างขึ้นมา (พ.ศ. ๒๔๔๔) ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๖๓ ต้องอธิกรณ์ถูกกล่าวหาในหลายกรณี เช่นเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ไม่ประพฤติตนให้ เป็นไปตามคำสั่งของคณะสงฆ์ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ตามพ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ ฯลฯ ครูบาศรีวิชัยถูกกักบริเวณให้อยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ๑ ปี(พ.ศ.๒๔๕๔) ถูกกักบริเวณอยู่ในวัดศรีดอนชัยเชียงใหม่ ๓ เดือน สุดท้ายจึงถูกนิมนต์ให้เข้าไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๓) แต่ทุกคดีก็ได้รับการวินิจฉัยจากสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้นว่าไม่มีความผิดครูบาศรีวิชัยจึงเดินทางกลับจังหวัดลำพูน บรรดาสานุศิษย์จัดขบวนต้อนรับ ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ประชาชนก็เพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้น (ถูกอธิกรณ์ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘) จึงทำให้ศรัทธาสาธุชนทั่วสารทิศมาเฝ้าชื่นชมบารมี ร่วมทำบุญกับครูบาศรีวิชัยที่ถือว่าเป็นพระอริยสงฆ์มาโปรดสัตว์โลกในยุคกึ่งพุทธกาล ท่านมักจะรับนิมนต์ไปเป็นประธาน (นั่งหนัก)ในการบูรณะศาสนสถานทั่วภาคเหนือไม่ต่ำกว่า ๑๐๘ แห่ง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติโดยย่อครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา

ประวัติโดยย่อครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา

ครูบาศรีวิชัย เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในขณะเกิดปรากฎว่าฝนตกหนักฟ้าร้องดังกึกก้องตลอดเวลา บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อว่า”อินทะเฟือน” ซึ่งแปลว่า “ฟ้าร้อง” เมื่ออายุได้ ๑๘ ปีได้บวชเณรตั้งแต่ยังเล็กได้บุญยิ่งกว่าบวชพระ เพราะเด็กยังมีความบริสุทธิ์อยู่ต่อมาจึงได้อุปสมบทเป็นพระ”ศรีวิชัย”ได้ศึกษาเล่าเรียนทางวิปัสสนาจนมีความ
รู้แตกฉานเป็นที่เคารพของชาวเมืองทั่วไปจนพากันเรียกว่า”ครูบา”ซึ่งหมายถึงพระภิกษุอาวุโส ตลอดชีวิตของครูบาศรีวิชัยได้บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากเป็นที่ศรัทธาของ
สานุศิษย์ เพียงออกปากก็ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือเป็นอย่างดีเช่นการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพการบูรณะ
วัดสวนดอก บูรณะวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นต้นครูบาศรีวิชัย ถึงมรณภาพลงเมื่อวนัที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน อายุ ๖๐ ปีเศษพรรษได้ ๔๐ พรรษา

http://www.med.cmu.ac.th/secret/admin/web/custom21.html

ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน

ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ”อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่ได้สร้างประโยนช์แก่สังคมมากมายอาจพบว่ามีการเรียกอีกหลายอย่างว่า เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย, พระครูบาศรีวิชัย,ครูบาศีลธรรม หรือตุ๊เจ้าสิริ แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองว่า พระชัยยาภิกขุหรือพระศรีวิชัยชนะภิกขุครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย มีนามเดิมว่า “เฟือน” หรือ
“อินท์เฟือน” บ้างก็ว่า “อ้ายฟ้าร้อง” เนื่องจากในขณะที่ท่านได้ถือกำเนิดนั้น ปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาท หวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์
ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสามีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีลำดับดังนี้ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา ทั้งนี้นายควายผู้เป็นบิดาของท่านได้ ติดตามผู้เป็นพ่อตาคือ หมื่นปราบ(ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑) ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูนเดิม ในสมัยนั้นหมู่บ้านแถบนั้นยังทุลกันดารอยู่มากมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะชาวปกาเกอญอ
(กะเหรี่ยง) และในหมู่บ้านปางก็ ยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้านเลย จนเมื่อท่านมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่าครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปางแล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้นเด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขันติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในพระอุโบสถ
วัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า “พระศรีวิชัย” ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย อ่านเพิ่มเติม

135 ปี “ครูบาศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนา ศรัทธาไม่เคยจางหาย

135 ปี “ครูบาศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนา ศรัทธาไม่เคยจางหาย

ครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่วัดบ้านปาง

ช่วงนี้มีข่าวไม่ดีในวงการผ้าเหลืองหลายเรื่องชวนให้หลายๆ คนเสื่อมศรัทธากับวัดและพระสงฆ์ไปตามๆ กัน

แม้ศรัทธาในวัดหรือในพระสงฆ์จะเสื่อม แต่ศรัทธาในธรรมและการทำความดีจงอย่าเสื่อม พระพุทธเจ้าเองก่อนปรินิพพานก็ตรัสสั่งให้พระธรรมคำสั่งสอนเป็นศาสดาแทนพระองค์ มิใช่ให้ยึดถือตัวบุคคล

วันนี้ “ตะลอนเที่ยว” จึงอยากพาไปรู้จักกับพระสงฆ์ดีๆ ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วแต่เราก็สามารถเรียนรู้ประวัติของท่านเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ นั่นก็คือ “ครูบาศรีวิชัย” พระสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักบุญแห่งล้านนา” เป็นพระนักพัฒนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของผู้คนในภาคเหนือมาจนถึงทุกวันนี้

พิพิธภัณฑ์ครูบาศรีวิชัยที่วัดบ้านปาง

“ตะลอนเที่ยว” จะพาไปตามรอยครูบาศรีวิชัยในสถานที่สำคัญต่างๆ พร้อมกับเล่าประวัติของท่านให้ฟังไปพร้อมๆ กัน

ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดในฐานะที่เป็นผู้นำในการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จนหลายๆ คนอาจคิดว่าท่านเป็นชาวเชียงใหม่ แต่แท้จริงแล้ว ครูบาศรีวิชัยมีถิ่นกำเนิดและเริ่มชีวิตภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ที่จังหวัดลำพูน โดยท่านถือกำเนิดขึ้นที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2421 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อ่านเพิ่มเติม

วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย

วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย

ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ “ตนบุญ”เป็นสำคัญ
(เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)

http://www.oceansmile.com/N/Chianmai/Chiangmai2.htm

พระครูบาศรีวิชัย เชียงใหม่

พระครูบาศรีวิชัย เชียงใหม่

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน”ตุ๊เจ้าสิลิ”) แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา
ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน
ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย อ่านเพิ่มเติม

ครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัย

บทความนี้เกี่ยวกับพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือและประเทศไทย สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ศรีวิชัย

พระศรีวิชัย ( ชนะภิกขุ)
ครูบาศรีวิชัย

เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421
อุปสมบท พ.ศ. 2442
มรณภาพ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481
พรรษา 39
อายุ 59
จังหวัด เชียงใหม่
ครูบาศรีวิชัย หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ (คำเมือง: ) พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2477 จนได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา[1] หมายถึงนักบุญแห่งล้านนา
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 วัยเยาว์
1.2 หลังอุปสมบท
2 คำสอนที่สำคัญ
3 ทำดีไม่ได้ดี
4 บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานแผ่นดินล้านนา
5 การเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ในล้านนา
6 ความขัดแย้งของคณะสงฆ์ในล้านนา
7 การถูกจับกุม
7.1 การจับกุมในช่วงแรก พ.ศ. 2451-2453
7.2 การถูกจับกุมในระยะที่สอง พ.ศ. 2454-2464
7.3 การจับกุมในช่วงที่สาม พ.ศ. 2478-2479
8 สิ้นแห่งตนบุญล้านนา
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลอื่น อ่านเพิ่มเติม

วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

จะแสดงวิธีเจริญกรรมฐานภาวนา เพื่อโยคาวจรกุลบุตรได้ศึกษาและปฏิบัติสืบไป โยคาวจรผู้ใดจะเจริญกรรมฐานภาวนา พึงตรวจดูจริตของตนให้รู้ชัด ว่า ตนเป็นคนมีจริตอย่างใดแน่นอนก่อนแล้วพึงเลือกเจริญกรรมฐานอันเป็นที่สบายแก่จริตนั้นๆ ดังได้แสดงไว้แล้วนั้นเถิด

อนึ่ง พึงทราบคำกำหนดความดังต่อไปนี้ไว้เป็นเบื้องต้นก่อน คือบริกรรมนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานที่นำมากำหนดพิจารณา อุคคหนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานอันปรากฏขึ้นในมดนทวาร ขณะที่กำลังทำการเจริญภาวนาอยู่อย่างชัดแจ้ง คล้ายเห็นด้วยตาเนื้อ ปฏิภาคนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานอันปรกฏแจ่มแจ้งแก่ใจของผู้เจริญภาวนายิ่งขึ้นกว่าอุคคหนิมิต และพึงทราบลำดับแห่งภาวนาดังนี้ บริกรรมภาวนา หมายการเจริญกรรมฐานในระยะแรกเริ่มใช้สติประคองใจกำหนดพิจารณาในอารมณ์ กรรมฐานอันใดอันหนึ่ง อุปจารภาวนา หมายการเจริญกรรมฐานในขณะเมื่ออุคคหนิมิตเกิดปรากฏในมโนทวาร อัปปนาภาวนา หมายการเจริญภาวนาในขณะเมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตเป็นสมาธิแนบเนียน มีองค์ฌาณปรากฏขึ้นครบบริบูรณ์ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .